แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ศาสนพิธี ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับอุดมศึกษา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ศาสนพิธี ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับอุดมศึกษา แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา
วันออกพรรษา คือ วันสุดท้ายของการอยู่จาพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ เรียกอีก
อย่างหนึ่งว่า วันปวารณา เป็นวันพระสงฆ์ทาสังฆปวารณา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑
อยู่ระหว่างเดือนตุลาคม ส่วนวันออกพรรษาหลัง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๒
พิธีปวารณาออกพรรษา เป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่ง กาหนดโดยพระวินัยบัญญัติ
เพื่อให้โอกาสพระสงฆ์ที่อยู่จาพรรษาร่วมกันตลอดไตรมาส หรือ ๓ เดือน สามารถว่ากล่าว
ตักเตือนและชี้บอกข้อผิดพลาดแก่กันและกันได้ โดยความเสมอภาค ด้วยจิตตั้งอยู่บนพื้นฐาน
แห่งความเมตตาปรารถนาดีต่อกัน เป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่ง
ประชาธิปไตยมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งการปวารณาออกพรรษาของพระสงฆ์ดังกล่าว
พุทธศาสนิกชนสามารถนามาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี ในการที่อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว
หมู่บ้าน หรือสังคม เพราะถ้ากลุ่มชนที่อยู่ร่วมกัน สามารถว่ากล่าวตักเตือนแนะนากันได้
เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งทาผิด ก็จะช่วยแก้ไขความผิดพลาดนั้นได้ทันท่วงที ไม่กลายเป็นเรื่องเสียหาย
ใหญ่โต จนยากจะแก้ไข

ประโยชน์ของวันเข้าพรรษา

ประโยชน์ของวันเข้าพรรษา
๑. ในสมัยพุทธกาล ป้องกันไม่ให้พระภิกษุจาริกไปเหยียบย่าข้าวกล้าพืชพันธุ์ของ
ชาวบ้าน เป็นเหตุให้ได้รับการติเตียน
๒. พระภิกษุได้หยุดพักผ่อน บรรเทาความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการจาริกไป
เผยแผ่พระพุทธศาสนา เพราะในสมัยก่อน ใช้วิธีเดินเท้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ เนื่องจากยังไม่มี
ถนนหนทางและพาหนะที่สะดวกเหมือนปัจจุบัน
๓. พระภิกษุได้อยู่ประจา เพื่อศึกษาปฏิบัติธรรมเพิ่มเติม และเตรียมความพร้อมจะ
จาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาหลังออกพรรษาแล้ว
๔. พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบาเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น ทาบุญตักบาตร
รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข เช่น คนเคยดื่มสุราเป็นประจา
ก็อธิษฐานจิตงดเว้นการดื่มตลอดพรรษา
๕. ทาให้มีพิธีทาบุญอื่น ๆ เกิดขึ้น คือ พิธีถวายเทียนพรรษาและพิธีถวายผ้าอาบน้าฝน
พิธีถวายดอกไม้ธูปเทียนวันเข้าพรรษา
การถวายดอกไม้ธูปเทียนแก่พระภิกษุในวันเข้าพรรษา เพื่อให้พระภิกษุนาไปบูชา
พระรัตนตรัย ได้มีมาแต่โบราณ แต่เป็นเพียงการปฏิบัติเฉพาะบุคคล เฉพาะที่ โดยพุทธศาสนิกชน
ที่อยู่ใกล้วัดจะนาธูปเทียนและดอกไม้ตามที่หาได้ในชุมชนไปถวายพระภิกษุในวัดใกล้บ้าน
ของตนพระราชพิธีทรงบาเพ็ญพระราชกุศลในวันเข้าพรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้ผู้แทนพระองค์ไปถวายพุ่มเทียนพรรษาในพระอารามหลวงสาคัญ เช่น วัดเบญจมบพิตร
ดุสิตวนาราม เมื่อผู้แทนพระองค์ถวายพุ่มเทียนพรรษาแล้ว ก็มีพิธีถวายดอกไม้ (ดอกบัว)
ธูปเทียน แด่พระภิกษุทั้งวัด เพื่อให้นาไปบูชาพระรัตนตรัยอีกด้วย
สาหรับพิธีตักบาตรดอกไม้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบัน คือ พิธีตักบาตร
ดอกไม้ที่วัดพระพุทธบาท อาเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เดิมนั้นชาวบ้านจะนาดอกไม้
ที่เรียกกันว่า ดอกเข้าพรรษาไปถวายพระสงฆ์ ดอกไม้ชนิดนี้จะออกดอกเฉพาะช่วงเข้าพรรษา
ปีหนึ่งเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และเกิดอยู่ตามธรรมชาติบริเวณพื้นที่ใกล้ ๆ วัด โดยมารอถวาย
พระสงฆ์ที่จะไปยังพระอุโบสถเพื่อประกอบพิธีอธิษฐานเข้าพรรษา และได้ปฏิบัติเช่นนี้มาเป็น
เวลานาน จนเป็นที่ทราบไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ จึงได้เริ่มมีพิธีตักบาตรดอกไม้ขึ้น ต่อมาภาครัฐ
และเอกชนได้สนับสนุนให้มีการจัดพิธีตักบาตรดอกไม้ขึ้น เป็นงานประเพณีประจาจังหวัด
สระบุรี มีประชาชนจากจังหวัดอื่น ไปร่วมพิธีจานวนมาก ต้องเพิ่มการตักบาตรดอกไม้เป็น
๒ วัน คือ วันขึ้น ๑๕ ค่า และแรม ๑ ค่า เดือน ๘ โดยจัดพิธีตักบาตรวันละ ๒ รอบ เพื่อรองรับ
ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ปัจจุบันมีวัดหลายแห่ง ได้เห็นความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่สนใจพิธีตักบาตร
ดอกไม้ จึงได้จัดพิธีตักบาตรดอกไม้ขึ้นในวัดของตนบ้าง โดยจาลองแบบพิธีกรรมมาจากวัด
พระพุทธบาท เพื่ออานวยความสะดวกแก่พุทธศาสนิกชนในพื้นที่ใกล้เคียง

ความเป็นมาของวันเข้าพรรษา

ความเป็นมาของวันเข้าพรรษา
การเข้าพรรษา เป็นพุทธานุญาตกาหนดให้พระภิกษุอธิษฐานอยู่ประจาสถานที่
ไม่จาริกไปค้างแรมในสถานที่อื่น เว้นแต่มีเหตุจาเป็น ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ช่วงฤดูฝน
คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่า เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑
ก่อนพุทธกาล การอยู่จาพรรษา เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา
ในชมพูทวีปถือปฏิบัติกันมาก่อนแล้ว แต่คงไม่ได้ปฏิบัติกันเคร่งครัดนัก จึงเป็นเรื่องคุ้นชิน
ของคนในยุคนั้น สมัยต้นพุทธกาล ขณะพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
เมื่อถึงฤดูฝน ภิกษุส่วนมากอยู่ประจาสถานที่เช่นเดียวกับนักบวชนอกศาสนา แต่มีกลุ่มพระภิกษุฉัพพัคคีย์ คือ พระภิกษุ ๖ รูป ได้แก่ พระมัณฑุกะ พระโลหิตกะ พระเมตติยะ
พระกุมมชกะ พระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะ พร้อมทั้งพระภิกษุที่เป็นสานุศิษย์ประมาณ
๑,๕๐๐ รูป เที่ยวจาริกไปตามสถานที่ต่าง ๆ เนื่องจากขณะนั้น ยังมิได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุ
อยู่จาพรรษา การจาริกของท่านเหล่านั้น มีผลกระทบต่อการทาเกษตรกรรมของชาวบ้าน
ทาให้ข้าวกล้าและพืชผักเสียหาย พวกชาวบ้าน จึงพากันตาหนิติเตียนถึงการไม่หยุดจาริก
ในฤดูฝนของภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงให้ประชุมสงฆ์และทรงบัญญัติ
ให้พระภิกษุอยู่จาพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน
ชาวพุทธในประเทศไทย ได้มีการบาเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ตั้งแต่สมัย
สุโขทัย ดังความในศิลาจารึก หลักที่ ๑ ว่า “พ่อขุนรามคาแหงพ่อเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาว
แม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนางลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธา
ในพระพุทธศาสน์ ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน” และได้มีการบาเพ็ญกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษา
สืบทอดมาถึงปัจจุบัน แม้จะปฏิบัติแตกต่างกันบ้างตามยุคสมัย แต่หลักการใหญ่ที่ไม่แตกต่าง
กันคือ การทาบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา การปฏิบัติธรรม และการทา
ความดีอื่น ๆ
การอยู่จาพรรษามี ๒ อย่าง
๑. การจาพรรษาต้น เรียก ปุริมิกาวัสสูปนายิกา เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่า เดือน ๘
ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ ในปีที่มีอธิกมาส คือ เดือน ๘ สองหน ให้เลื่อนการจาพรรษาไป
เป็นวันแรม ๑ ค่าเดือน ๘ หลัง
๒. การจาพรรษาหลัง เรียก ปัจฉิมิกาวัสสูปนายิกา เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่าเดือน ๙
ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๒ ปัจจุบันไม่ค่อยมีปฏิบัติ จึงไม่เป็นที่รู้จักกัน
สัตตาหกรณียะ
การอยู่จาพรรษา มิใช่เป็นข้อห้ามเด็ดขาดว่า ให้พระภิกษุต้องอยู่ประจาตลอด
๓ เดือน โดยไม่สามารถเดินทางไปไหนได้เลย มีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุไปค้างคืน
ในสถานที่อื่นได้คราวละไม่เกิน ๗ วัน เรียกว่า สัตตาหกรณียะ หรือเหตุพิเศษ ๔ ประการ คือ
๑. เพื่อนสหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร และสามเณรีป่วย
หรือบิดามารดาป่วย ไปเพื่อดูแลพยาบาลได้
๒. ไปเพื่อจะยับยั้งเพื่อนสหธรรมิกที่อยากสึก มิให้สึกได้
๓. ไปเพื่อกิจของสงฆ์ เช่น กุฏีวิหารชารุดเสียหาย ไปเพื่อหาอุปกรณ์มาสร้างซ่อมแซมได้
๔. ไปเพื่อฉลองศรัทธาพุทธศาสนิกชน นิมนต์ไปในพิธีบาเพ็ญบุญได้ หรือไปด้วย
เหตุอื่น ๆ อนุโลมเข้ากับทั้ง ๔ ข้อข้างต้นข้อใดข้อหนึ่งก็ได้
พระภิกษุผู้มีกิจธุระ ประสงค์จะสัตตาหะไปกระทากิจนั้น พึงบอกลาพระภิกษุที่มีอยู่
และเปล่งวาจาแสดงเจตนาเป็นภาษามคธว่า อัตถิ เม กิจจัง อิมัสมิง สัตตาหัพภันตะเร
นิวัตติสสามิ แปลว่า ข้าพเจ้ามีกิจต้องไป จะกลับมาภายใน ๗ วัน หรือเพียงผูกใจอธิษฐาน

ด้วยตนเองก็ได้

พิธีบาเพ็ญพระราชกุศลวันเข้าพรรษา

พิธีบาเพ็ญพระราชกุศลวันเข้าพรรษา
ในวันแรม ๑ ค่า เดือน ๘ ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา มีหมายกาหนดการบาเพ็ญพระราชกุศล
พอสรุปได้ ดังนี้เวลาเช้า ประมาณ ๐๗.๐๐ น. เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา
นิมนต์พระสงฆ์จานวน ๑๕๐ รูป เข้ารับพระราชทานอาหารบิณฑบาตของหลวง ณ บริเวณ
พระวิหารคด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
ครั้นเวลาบ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดาเนินไปยังพระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จขึ้นไปหลังบุษบก ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณี-
รัตนปฏิมากร ทรงประกอบพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากเครื่องทรง
ฤดูร้อนเป็นเครื่องทรงฤดูฝน และทรงถอดยอดพระรัศมีพระสัมพุทธพรรณีประจาฤดูร้อน
ออก ทรงเปลี่ยนส่วนยอดพระรัศมีประจาฤดูฝนถวาย (พระสัมพุทธพรรณี ประดิษฐานอยู่
หน้าบุษบก ที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร) ทรงพระสุหร่าย ทรงวางกระทง
ดอกไม้และจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการตามที่กล่าวแล้วข้างต้น ทรงรับพระมหาสังข์เพชรน้อย
บรรจุน้าที่ซับองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สรงพระเศียร เสด็จไปทรงสุหร่ายน้า
พระพุทธมนต์แก่ข้าราชการที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระอุโบสถ หลังพราหมณ์เบิกแว่น
เวียนเทียน ๓ รอบแล้ว เสด็จพระราชดาเนินออกจากพระอุโบสถ ทรงพระสุหร่ายน้า
พระพุทธมนต์แก่ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จ ฯ บริเวณลานพระอุโบสถ สองข้างทางเสด็จ
พระราชดาเนิน จากนั้น เสด็จไปวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงถวายพุ่มเทียนพรรษาเป็นพุทธบูชา
ณ พระอุโบสถ เป็นอันเสร็จพระราชพิธี
อนึ่ง ในพระอารามหลวงสาคัญอื่น ๆ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปถวายพุ่ม
เทียนพรรษาอีกส่วนหนึ่ง

พิธีบาเพ็ญกุศลในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา

พิธีบาเพ็ญกุศลในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา
ทุกศาสนาล้วนมีวันสาคัญ เพื่อระลึกเหตุการณ์สาคัญที่เคยเกิดขึ้นแก่ศาสดา ผู้ก่อตั้ง
และเกี่ยวเนื่องในพิธีกรรมหรือกิจกรรมที่เหล่าศาสนิกชนของศาสนานั้น ๆ จัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆ
พระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน มีวันสาคัญที่กาหนดขึ้นสาหรับให้พุทธศาสนิกชน
ปฏิบัติ เพื่อน้อมราลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยและบาเพ็ญกุศลเป็นกรณีพิเศษด้วยอามิสบูชา
และปฏิบัติบูชา วันสาคัญทางพระพุทธศาสนา พอสรุปได้ ดังนี้
๑. วันเข้าพรรษา
๒. วันออกพรรษา
๓. วันเทโวโรหณะ
๔. วันธรรมสวนะ (วันพระ)
วันเข้าพรรษา
คาว่า พรรษา มาจากศัพท์บาลีว่า วสฺส ศัพท์สันสกฤตว่า วรฺษ แปลว่า ฝนหรือฤดูฝน
ภาษาไทยใช้ศัพท์ สันสกฤต แผลงเป็น พรรษา การเข้าพรรษาหรือจาพรรษา หมายถึง การที่
พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานจิตอยู่ประจาในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งในฤดูฝน โดยจะไม่ไปค้างแรม
ในที่อื่น พิธีเข้าพรรษา จึงเป็นข้อปฏิบัติของพระสงฆ์โดยตรง จะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติ
ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเป็นการเฉพาะสาหรับพระสงฆ์สาวก โดยกาหนดให้ทาพิธีอธิษฐาน
เข้าพรรษาในวันแรม ๑ ค่า เดือน ๘ ของทุกปี หรือเดือน ๘ หลัง ในปีที่มีเดือน ๘ สองหน
เป็นวันสาคัญต่อเนื่องจากวันอาสาฬหบูชา ในส่วนที่เป็นงานพระราชพิธี ได้รวมวันสาคัญ
ทั้ง ๒ เข้าเป็นพระราชพิธีเดียวกัน เรียกว่า พระราชพิธีทรงบาเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวัน
อาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา ทางราชการกาหนดให้เป็นวันหยุดราชการประจาปี

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

องค์ประกอบของศาสนา ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับอุดมศึกษา (ธศ 323) ชั้นโท

องค์ประกอบของศาสนา
ศาสนา แปลว่า คาสอน หมายถึง หลักธรรมคาสอนของศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนานั้น ๆ
รวมทั้งหลักธรรมคาสอนของศาสนาที่ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง ศาสนาโดยทั่วไป มีองค์ประกอบที่
สาคัญ ๕ ประการ คือ๑. ศาสดา ผู้ก่อตั้งศาสนา ศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย
และได้รับการรับรองจากทางราชการ คือ ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม สิกข์หรือซิกข์ ล้วนมี
ศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาทั้งสิ้น ยกเว้นศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเท่านั้น ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง เป็น
ศาสนาที่นับถือสืบต่อกันมาแต่โบราณ
๒. ศาสนธรรม หลักธรรมคาสอน ที่ศาสดาประกาศเผยแผ่แก่ชาวโลก
๓. ศาสนิกหรือสาวก คือ ผู้รับฟังหลักธรรมคาสั่งสอนที่ศาสดาประกาศแล้ว มีศรัทธา
เลื่อมใสและปฏิบัติตาม
๔. ศาสนสถานหรือศาสนวัตถุ คือ สถานที่ใช้ประกอบพิธีของศาสนานั้น ๆ หรือ
รูปเคารพของศาสดา เป็นต้น
๕. ศาสนพิธี คือ พิธีกรรมทางศาสนาซึ่งแตกต่างกันไปตามความเชื่อในหลักธรรม
คาสอน

ศาสนพิธี ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับอุดมศึกษา (ธศ 323) ชั้นโท

ศาสนพิธี แปลตามศัพท์ว่า พิธีทางศาสนา หมายถึง วิธี ระเบียบ แบบแผน หรือ
แบบอย่างที่ใช้ปฏิบัติทางศาสนา เมื่อนามาใช้ในพระพุทธศาสนา จึงหมายถึง ระเบียบแบบ
แผน หรือแบบอย่างที่พึงปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ศาสนพิธี เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกศาสนา แต่มีความแตกต่างกันไปตามความเชื่อและ
คาสอนของศาสนาหรือลัทธินั้น ๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง เมื่อมีศาสนาเกิดขึ้นแล้ว จึงมี
พิธีกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นตามมา เมื่อศาสนานั้น ๆ มีผู้นับถือมากขึ้น พิธีกรรมชนิดเดียวกัน
อาจมีการปฏิบัติเหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้างในศาสนิกชนต่างกลุ่มต่างพื้นที่ ต่อมา
นักปราชญ์ทางศาสนานั้น ๆ จึงได้วางระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติพิธีกรรมแต่ละพิธีไว้เป็น
แบบอย่าง เพื่อให้การปฏิบัติพิธีกรรมเรื่องนั้น ๆ เป็นไปในทางเดียวกัน เรียกชื่อว่า ศาสนพิธี
ท่านผู้รู้บางท่านเปรียบพิธีกรรมหรือศาสนพิธีว่าเป็นเหมือนเปลือก หรือกระพี้ที่ห่อหุ้มแก่น
ของต้นไม้ คือ แก่นแท้ของศาสนาไว้ แต่ความจริงทั้งสองส่วนนี้จะต้องอาศัยกันและกัน
กล่าวคือ หากไม่มีแก่นแท้ของศาสนา ศาสนพิธีก็อยู่ได้ไม่นาน หรือหากมีเฉพาะแก่นแท้ของ
ศาสนา แต่ไม่มีศาสนพิธี แก่นแท้ของศาสนาก็อยู่ได้ไม่นาน เช่นเดียวกับต้นไม้ที่มีแต่เปลือก
ไม่มีแก่น หรือมีแต่แก่น ไม่มีเปลือก ฉะนั้น ปัจจุบันได้มีจุดหักเหในการประกอบพิธีกรรม
ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา อาจทาให้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจแก่นแท้ของหลักธรรมไปยึดถือว่า
ศาสนพิธีนั้น คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา
ดังนั้น จึงต้องศึกษาทาความเข้าใจให้ถูกต้องว่า อะไรคือเปลือก อะไรคือแก่น แท้ของ
พระพุทธศาสนา เพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามความมุ่งหมายของหลักธรรมคาสอน

ศาสนพิธี ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับอุดมศึกษา (ธศ 323) ชั้นโท

-ศาสนพิธี
-องค์ประกอบของศาสนา
-ประโยชน์ของศาสนพิธี
บทที่ ๑ พิธีบาเพ็ญกุศลในทางพระพุทธศาสนา
-วันเข้าพรรษา
-พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวันเข้าพรรษา
-ความเป็นมาของวันเข้าพรรษา
-ประโยชน์ของวันเข้าพรรษา
-วันออกพรรษา
-ความเป็นมาของการปวารณา
-ประโยชน์ของวันออกพรรษา
-วันเทโวโรหณะ
-ความเป็นมาของวันเทโวโรหณะ
-การจัดพิธีตักบาตรเทโวโรหณะ
-วันธรรมสวนะ
-ความเป็นมาของวันธรรมสวนะ
-ประโยชน์ของวันธรรมสวนะ
บทที่ ๒ พิธีเจริญพระพุทธมนต์
-ความเป็นมาของพิธีเจริญพระพุทธมนต์
-อานิสงส์ของการเจริญพระพุทธมนต์
-พิธีเจริญพระพุทธมนต์
-ตัวอย่างการเจริญพระพุทธมนต์
-พิธีมงคลสมรส
-พิธีทำบุญอายุ
-พิธีทำบุญต่อนาม
บทที่ ๓ พิธีสวดพระพุทธมนต์
-ตัวอย่างงานสวดพระพุทธมนต์
-พิธีสวดพระอภิธรรมศพ
-พิธีบำเพ็ญกุศล ๗ วัน ๕๐ วัน๑๐๐ วัน
-พิธีสวดมาติกาบังสุกุล
-พิธีสวดแจง
-พิธีทำบุญฉลองอัฐิ
บทที่ ๔ เทศกาลสาคัญทางพระพุทธศาสนา
-พิธีลอยกระทงตามประทีป
-คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
-ความเป็นมาของพิธีลอยกระทงตามประทีป
-พิธีถวายผ้าป่า
-ประเภทของผ้าป่า
-คำถวายผ้าป่า
-พิธีถวายผ้ากฐิน
-ความหมายของกฐิน
-ความเป็นมาของกฐิน
-ประเภทของกฐินในประเทศไทย
-คำถวายผ้ากฐิน
บทที่ ๕ ประเพณีสาคัญทางพระพุทธศาสนา
-พิธีบรรพชาสามเณร
-ความเป็นมาของการบรรพชาในประเทศไทย
-การเตรียมบรรพชาสามเณร
-สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในพิธีบรรพชาสามเณร
-ระเบียบพิธีบรรพชาสามเณร
-พิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
-สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในพิธีอุปสมบท
-การเวียนนาครอบอุโบสถ
-การอุปสมบท
-พิธีฉลองพระบวชใหม่
-ประโยชน์ของการบวช