วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พิธีทำบุญต่อนาม

พิธีทำบุญต่อนาม
       พิธีทาบุญต่อนาม เป็นการทาบุญของญาติผู้ป่วย ต้องการให้ผู้ป่วยได้ทาบุญกุศล
ในช่วงสุดท้ายของชีวิต เพื่อเป็นพลวปัจจัยนาไปสู่สุคติในสัมปรายภพ เสมือนเป็นการเตรียม
เสบียงเดินทางให้ผู้ป่วยหนักนาไปใช้สอย เมื่อจะต้องละโลกนี้ หรือเพื่อให้บุญกุศลช่วยให้หาย
หรือบรรเทาจากอาการเจ็บป่วยนั้น มีชีวิตอยู่ต่อไป จึงเรียกทาบุญต่อนาม หมายถึง สืบต่อ
ขันธ์ ๕ ส่วนนาม ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้กลับมาดาเนินต่อไป โดยปราศจาก
อันตรายถึงเสียชีวิต หรือเมื่อไม่สามารถหายจากอันตรายนั้นได้ ก็ให้สืบต่อไปสู่ภพใหม่เป็น
สุคติ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าทาบุญต่ออายุ เป็นพิธีไม่ค่อยมีให้เห็นบ่อยนักในปัจจุบัน
พิธีทาบุญต่อนาม เป็นพิธีจัดขึ้นแบบกะทันหันเร่งด่วน ระเบียบพิธีไม่มีอะไรมากมายนัก
มักจัดในห้องผู้ป่วยตามมีตามได้ ตั้งพระพุทธรูปบูชาด้านหัวนอนของผู้ป่วยตามความเหมาะสม
นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ต่อนาม จานวน ๕ รูป ไม่เกิน ๗ รูป เนื่องจากเป็น
กิจนิมนต์กะทันหันและรับพระสงฆ์มาสวดเดี๋ยวนั้นก็มี พระสงฆ์อาจนั่งหรือยืนสวดก็ได้
ขึ้นอยู่กับสถานที่ ถ้าผู้ป่วยอาการไม่หนักไม่ใกล้สิ้นชีวิต แต่ญาติต้องการจัดเป็นขวัญกาลังใจ
แก่ผู้ป่วยก็ทาได้เช่นกัน การทาบุญต่อนาม มีลาดับพิธีโดยย่อ ดังนี้
เมื่อมีความพรั่งพร้อมแล้ว ผู้ป่วยหรือผู้แทนก็ได้ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
อาราธนาศีล รับศีล อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ตามบทนิยม... พุทธัง
สะระณัง คัจฉามิ และสวดโพชฌงคสูตรทั้ง ๓ คือ มหากัสสปโพชฌงค์ มหาโมคคัลลาน-
โพชฌงค์ มหาจุนทโพชฌงค์ หรือจะสวดคิริมานนทสูตรแทนโพชฌงคสูตรทั้ง ๓ ก็ได้พิธีทาบุญต่อนามนี้ จัดติดต่อกัน ๓ วัน ๓ คืนก็มี เพื่อเพิ่มบุญกุศลแก่ผู้ป่วย
ฝ่ายพระสงฆ์ก็สวดพระสูตรไม่ซ้ากันทั้ง ๓ วัน โดยวันแรกสวดโพชฌงคสูตร วันที่ ๒ คิริมา
นนทสูตร วันสุดท้ายมหาสติปัฏฐานสูตร จบแล้วพระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุลให้ผู้ป่วยด้วย
เรียกว่า พิจารณาผ้าบังสุกุลเป็น
พิธีวางศิลาฤกษ์
พิธีวางศิลาฤกษ์ เป็นพิธีจัดขึ้นตามธรรมเนียมประเพณีไทย เกิดขึ้นจากความเชื่อ
ทางโหราศาสตร์ ซึ่งต้องเลือกหาฤกษ์ยามอันเป็นมงคล เพื่อความมั่งมีศรีสุข มีโชคลาภ
เจริญรุ่งเรืองในการดารงชีวิต และสุขกายสบายใจแก่ผู้อยู่อาศัยหรือกิจการ สิ่งก่อสร้างควร
วางศิลาฤกษ์ ได้แก่ พระบรมราชานุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ
สถานที่ราชการรัฐวิสาหกิจ สานักงานใหญ่ของบริษัท ถ้าเป็นอาคารบ้านเรือน ไม่นิยม
ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ แต่จะทาพิธี ยกเสาเอก เสาโทของบ้านแทน
พิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างสถานที่ดังกล่าวข้างต้น นิยมจัดให้มีพิธีสงฆ์และ
พิธีพราหมณ์รวมอยู่ในพิธีเดียวกัน จะนามากล่าวพอเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
อุปกรณ์ประกอบพิธีต้องจัดเตรียม
การประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ มีอุปกรณ์เครื่องประกอบพิธีมาก นับตั้งแต่โต๊ะหมู่
เครื่องบูชา สาหรับประดิษฐานพระพุทธรูป โต๊ะวางแผ่นศิลาฤกษ์ อิฐทอง นาค เงิน ไม้มงคล
โถกระแจะเจิม พานข้าวตอกดอกไม้ ขุดหลุมศิลาฤกษ์ ขนาดกว้าง x ยาว ๕๐ x ๕๐ เซนติเมตร
ลึก ๗๐ เซนติเมตร หรือให้ใหญ่กว่าแผ่นศิลาฤกษ์ประมาณ ๑๐ นิ้ว วัดโดยรอบ ให้ขอบปาก
หลุมสูงจากพื้น ๗๐ เซนติเมตร เตรียมไม้มงคล คือ ไม้กันเกรา ไม้ชัยพฤกษ์ ไม้ทรงบาดาล
(บุนนาค) ไม้ทองหลาง ไม้พยุง ไม้ราชพฤกษ์ ไม้ไผ่สีสุก ไม้ขนุนและไม้สัก จะอยู่ตรงกลาง
หลุมเนื่องจากถือว่าเป็นพญาไม้ ค้อนสาหรับตอกไม้มงคลทั้ง ๙ ปูนซีเมนต์ผสมทรายเรียบร้อย
เกรียงสาหรับปาดปูนให้เรียบร้อย นพรัตน์หรือพลอย ๙ สี ดอกไม้ฉีกกลีบ นิยมดอกดาวเรือง
หรือดอกกุหลาบ
ก่อนถึงเวลาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ จะประกอบพิธีบวงสรวงสังเวยก่อน เครื่อง
สังเวย ได้แก่ บายศรีปากชามซ้ายขวา เครื่องประกอบฤกษ์ ขนมสดทั้ง ๕ คือ ขนมต้มแดง
ขนมต้มขาว ขนมมีชื่อเป็นมงคลอีก ๓ ชนิด เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู
น้าชาจีน กล้วยน้าว้า มะพร้าวอ่อน มัจฉามังสาหารทั้ง ๕ คือ หัวหมู เป็ด ไก่ ปลา ปูหรือกุ้ง
ทุกอย่างต้องสะอาด ต้มสุก ผลไม้ต่าง ๆ ให้มากอย่าง มีทั้งผลใหญ่ ผลกลาง ผลเล็ก ข้าวตอก
ดอกไม้ ๑ พาน สาหรับโปรยหลุม พวงมาลัย ๑ พวง สาหรับวางบนแผ่นศิลาฤกษ์ โต๊ะปูด้วย
ผ้าขาว สาหรับตั้งเครื่องสังเวย ธูป เทียน แจกันดอกไม้จัดให้สวยงาม
เมื่อได้ฤกษ์ทาพิธีบวงสรวง โหรหรือพราหมณ์ จะเชิญประธานพิธีจุดธูปเทียนที่โต๊ะ
สังเวย จากนั้นโหรหรือพราหมณ์ จะทาพิธีบวงสรวงตามเวลาเหมาะสม หลังจากเสร็จพิธี
บวงสรวงแล้ว จะเป็นพิธีเจริญพระพุทธมนต์ การประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีวาง
ศิลาฤกษ์ พึงกระทาเช่นเดียวกับพิธีมงคลอื่น ๆ โดยนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นนั่งบนอาสนะ ประธาน
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พิธีกรอาราธนาศีล ประธานสงฆ์ให้ศีล อาราธนาพระปริตร
พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้ว ถ้ามีการรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง ก็กล่าว
รายงานในช่วงนี้ เจ้าหน้าที่เชิญเครื่องประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ไปยังจุดวางศิลาฤกษ์ เมื่อถึง
เวลาฤกษ์และกล่าวรายงานเสร็จแล้ว พิธีกรเรียนเชิญประธานพิธีไปยังบริเวณวางศิลาฤกษ์
และประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา วงดุริยางค์บรรเลงเพลง
มหาฤกษ์ ประธานหยิบไม้มงคล ปักลงตรงจุดทั้ง ๙ ตอกลงในทราย หยิบแผ่นอิฐเงิน นาก
ทอง อย่างละ ๓ แผ่น วางบนหลักไม้มงคล ใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายและน้าแล้วก่ออิฐเงิน นาก
ทอง เป็นชั้น ๆ ให้ครบทั้ง ๙ แผ่น วางแผ่นศิลาฤกษ์บนแผ่นอิฐทอง นาก เงิน วางพวงมาลัย
ลงบนแผ่นศิลาฤกษ์ โปรยข้าวตอกดอกไม้ลงในหลุมศิลาฤกษ์ หลังจากนั้นเชิญผู้มีเกียรติท่าน
อื่น ๆ โปรยดอกไม้ด้วย นิมนต์ประธานสงฆ์พรมน้าพระพุทธมนต์ ประธานกลับเข้ามาใน
มณฑลพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา กรวดน้า รับพร

เป็นอันเสร็จพิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น