แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ศาสนพิธี ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับอุดมศึกษา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ศาสนพิธี ธรรมศึกษาชั้นโท ระดับอุดมศึกษา แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พิธีทำบุญฉลองอัฐิ

พิธีทำบุญฉลองอัฐิ
เจ้าภาพบางรายจัดพิธีบาเพ็ญกุศลฉลองอัฐิ หลังจากเก็บอัฐิเรียบร้อยแล้ว โดยนิมนต์
พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เหมือนพิธีทาบุญทั่วไป แต่ตั้งโกศบรรจุอัฐิ รูปถ่ายของผู้ตายและ
ขันน้ามนต์ไว้ด้วย ไม่วงสายสิญจน์ ตามความเชื่อว่า ถ้าวงสายสิญจน์ วิญญาณผู้ตายไม่
สามารถเข้าร่วมพิธีได้ น้ามนต์ใช้ประพรมให้แก่ญาติผู้ตาย นัยว่าเป็นการปลดทุกข์โศกต้อง
พลัดพรากจากบุคคลที่รัก สร้างขวัญกาลังใจในการดารงชีวิตสืบไป และเจ้าภาพถือเป็นวัน
ในการออกทุกข์ด้วย พิธีนี้จะจัดที่บ้านหรือวัดก็ได้ ตามความสะดวกของเจ้าภาพ
พิธีเก็บอัฐิและพิธีสามหาบ
วันรุ่งขึ้นต่อจากวันฌาปนกิจศพหรือพระราชทานเพลิงศพ จะมีพิธีเก็บอัฐิและ
พิธีสามหาบ คาว่า สามหาบ เป็นชื่อภัตตาหารสาหรับถวายพระสงฆ์ในพิธีเก็บอัฐิ โดยจัด
อาหารคาวหวานใส่สารับอย่างละ ๑ สารับ จานวน ๓ ชุด สาหรับพระสงฆ์ ๓ รูป ใส่หาบเดิน
ร้องกู่รอบฌาปนสถาน เพื่อเรียกวิญญาณผู้ตายมาร่วมพิธีทาบุญ นาถวายพระสงฆ์หลังเสร็จ
พิธีเก็บอัฐิ ปัจจุบันอาจจัดอาหารใส่ปิ่นโตแทนหรือไม่จัดเลยก็ได้ ถวายแต่ดอกไม้ธูปเทียน
และไทยธรรมเท่านั้น
เจ้าภาพจัดเตรียมเครื่องประกอบพิธีให้พร้อม คือ โกศบรรจุอัฐิ ลุ้งบรรจุเถ้ากระดูก
ที่เหลือ ผ้าขาว ควรเตรียม ๒ ผืน สาหรับห่อลุ้งและเถ้ากระดูกที่เหลือ ผ้าทอดบังสุกุลก่อน
เก็บอัฐิ ๓ ชุด อาหารคาวหวาน ๓ ชุด เครื่องทองน้อยหรือกระถางธูปเชิงเทียน ดอกไม้
สาหรับโปรยลงบนอัฐิ น้าอบน้าหอมสาหรับพรมกระดูก เงินเหรียญสาหรับโปรยอัฐิและ
บริจาคทาน สิ่งของเหล่านี้จะมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฌาปนสถานจัดเตรียมก็ได้
ก่อนประกอบพิธีเก็บอัฐิ เจ้าหน้าที่ฌาปนสถานจะทาการแปรรูปอัฐิ โดยนาอัฐิของ
ผู้ตายออกมาจากเตาเผา จัดเป็นโครงร่างของคน หันศีรษะไปทางทิศตะวันตก เมื่อถึงเวลา
ตามกาหนด เจ้าภาพจุดเครื่องทองน้อย ทาความเคารพอัฐิ เจ้าหน้าที่นาผ้าขาวคลุมอัฐิ
ให้เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุล นิมนต์พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล ๓ รูป เสร็จแล้วนิมนต์กลับไป
นั่งในศาลาบาเพ็ญกุศล เจ้าภาพพรมน้าอบน้าหอม โปรยดอกไม้ลงบนอัฐิและเถ้ากระดูก
โปรยทาน เก็บอัฐิบรรจุลงโกศ โดยเลือกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามความต้องการ คือ
กะโหลกศีรษะ กระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก กระดูกแขนสองข้าง กระดูกขาสองข้าง สาหรับ
อัฐิที่เหลือและเถ้ากระดูกห่อด้วยผ้าขาวบรรจุลงในลุ้ง หีบหรือกล่อง ห่อด้วยผ้าขาวให้เรียบร้อย
เชิญเครื่องทองน้อย โกศอัฐิ และลุ้งไปยังศาลาบาเพ็ญกุศล ประเคนภัตตาหารสามหาบแด่
พระสงฆ์ กรวดน้าอุทิศกุศลให้ผู้ตาย กราบลาพระรัตนตรัย เป็นอันเสร็จพิธี

พิธีสวดแจง

พิธีสวดแจง
พิธีฌาปนกิจศพช่วง ๓๐ ถึง ๕๐ ปีที่ผ่านมา เจ้าภาพนิยมจัดให้มีการเทศน์สังคีติกถา
คือจาลองการปฐมสังคายนามาเป็นรูปแบบการเทศน์ เรียกว่า เทศน์แจง แต่ปัจจุบันเริ่ม
เลือนหายไป ยังพอมีให้เห็นอยู่ในส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัดเพชรบุรี คนรุ่นใหม่จึงไม่ค่อยรู้จัก
เทศน์แจง
การเทศน์แจง เป็นธรรมเนียมเฉพาะงานฌาปนกิจศพบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่
พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ดารงตาแหน่งเจ้าอาวาสเป็นต้น ไม่นิยมจัดในพิธีฌาปนกิจศพผู้น้อย
เช่น บุตรธิดาของเจ้าภาพ การเทศน์แจงธรรมาสน์เดียวก็มี ๒ ธรรมาสน์ก็มี ๓ ธรรมาสน์ก็มี
แต่นิยมเทศน์ ๓ ธรรมาสน์ การนิมนต์พระสงฆ์มาสวดแจง เจ้าภาพมีศรัทธามาก จะนิมนต์
พระสงฆ์สวดแจงเต็มจานวน ๕๐๐ รูป เท่ากับพระอรหันต์เข้าร่วมทาปฐมสังคายนา หรือ
นิมนต์พระสงฆ์เหลือเพียง ๕๐ รูป ๒๕ รูป ตามความต้องการของเจ้าภาพก็ได้
การเทศน์แจงหรือสังคีติกถา นิยมจัดตอนบ่าย ก่อนพิธีฌาปนกิจศพ ถือเป็นการ
ทาบุญมีอานิสงส์มากและเป็นการตอบแทนพระคุณบิดามารดาอย่างสูงยิ่ง เช่นเดียวกับ
พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การทาปฐมสังคายนา การเทศน์แจงรูปเดียว เบื้องต้น
พระเทศน์ให้ศีลและบอกศักราช แสดงอานิสงส์การฟังเทศน์แจง แสดงปฐมสังคายนาโดยย่อ
ทั้งส่วนพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก จบแล้วเผดียงพระสงฆ์ขึ้นนั่ง
ประจาอาสนะ สวดแจงตามลาดับ คือ บทนมัสการ นะโม ตัสสะ ต่อด้วยบทสวดพระวินัย
ปิฎก พระสุตตันตะปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกตามลาดับ จบแล้วทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล พระเทศน์ ยถา อนุโมทนาบนธรรมาสน์ พระสงฆ์ทั้งหมดรับสัพพี
ต่อด้วยบท อะทาสิ เม จบด้วยบท ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง กราบลาพระรัตนตรัย เป็นอัน
เสร็จพิธี
การเทศน์แจง ๒ ธรรมาสน์ เป็นการเทศน์แบบถามตอบ นิยมเรียกว่า เทศน์ปุจฉา
วิสัชนา โดยสมมุติพระรูปหนึ่งเป็นผู้ถาม อีกรูปหนึ่งเป็นผู้ตอบ จะถามตอบกันเรื่องการทา
ปฐมสังคายนา เริ่มต้นด้วยพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เมื่อจบ
แต่ละปิฎก องค์เทศน์จะเผดียงให้พระสงฆ์นั่งแจงสวดบทบาลีแต่ละปิฎก สลับกับการเทศน์
ปุจฉาวิสัชนา จนครบ ๓ ปิฎก จบแล้วทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์ทั้งนั้นพิจารณาผ้าบังสุกุล
พระเทศน์ ยะถา อนุโมทนาบนธรรมาสน์ พระสงฆ์ทั้งหมดรับสัพพี ต่อด้วยบท อะทาสิ เม
จบด้วยบท ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง ต่อจากนั้น กราบลาพระรัตนตรัย เป็นอันเสร็จพิธี
การเทศน์แจง ๓ ธรรมาสน์ เป็นการเทศน์ถามตอบหรือปุจฉาวิสัชนาเหมือน
๒ ธรรมาสน์แต่มีการสมมุติตนเป็นพระมหากัสสปะ พระอุบาลี และพระอานนท์โดยพระ
มหากัสสปะมีหน้าที่ปุจฉา คือถามสาเหตุการทาสังคายนาปิฎกทั้ง ๓ พระอุบาลีมีหน้าที่วิสัชนา
คือตอบพระวินัยปิฎก พระอานนท์มีหน้าที่วิสัชนาทั้งพระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก
ส่วนการสวดบทบาลีของปิฎกทั้ง ๓ พระสงฆ์รับนิมนต์มานั่งแจง จะสวดตามพระเทศน์เผดียง
ให้สวด หลังจากเทศน์จบ ปิฎกนั้น ๆ ก็ได้ หรือรวมสวดครั้งเดียว ๓ ปิฎก ตอนเทศน์จบก็ได้
พิธีกรรมที่เหลือปฏิบัติเช่นเดียวกับการเทศน์แจง ๒ ธรรมาสน์ข้างต้น

พิธีสวดมาติกาบังสุกุล

พิธีสวดมาติกาบังสุกุล
การสวดมาติกา คือ การสวดบทมาติกาของพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ มีชื่อเรียก
อีกอย่างว่า สัตตัปปกรณาภิธรรม เป็นประเพณีนิยมในการทาบุญหน้าศพอย่างหนึ่ง เรียกว่า
สวดมาติกา การสวดมาติกาในพิธีบาเพ็ญพระกุศลศพ พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
เรียกว่า สดับปกรณ์ โดยมากเป็นพิธีช่วงบ่าย ก่อนพิธีฌาปนกิจศพหรือพระราชทานเพลิงศพ
พิธีสวดมาติกาไม่มีกาหนดตายตัวว่า ต้องนิมนต์พระสงฆ์จานวนเท่าไร ส่วนใหญ่
จะนิมนต์เท่าอายุของผู้ตาย หรือหรือเท่าจานวนพระสงฆ์ในวัด แต่ในเมืองนิยม ๑๐ รูป
เหมือนพิธีหลวง การสวดมาติกาก็ดี การสวดพระอภิธรรมก็ดี ตามธรรมเนียมโบราณไม่มี
การอาราธนาธรรมและพิธีหลวงก็ไม่มีการอาราธนาธรรมเช่นกัน ควรทราบระเบียบพิธีปฏิบัติ
ดังนี้
การสวดมาติกาต่อจากสวดพระพุทธมนต์หรือแสดงพระธรรมเทศนา ไม่ต้องจุดธูป
เทียน และไม่ต้องอาราธนาศีล เพราะได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาก่อนแล้ว ถ้าเว้นช่วงเวลา จัดพิธี
มาติกาเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงเริ่มต้นด้วยเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยอาราธนา
ศีล รับศีลแล้ว พระสงฆ์ขึ้นต้นบท นะโม ต่อด้วยบท กุสะลา ธัมมา จบด้วยบท เหตุปัจจะโยทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุลและอนุโมทนา ยะถา สัพพี ต่อด้วยบท อะทาสิ เม
จบด้วยบท ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง กราบลาพระรัตนตรัย เป็นอันเสร็จพิธี
กรณีเจ้าภาพนิมนต์พระสงฆ์จานวนมาก ต้องจัดพระสงฆ์เป็นชุด เมื่อพิธีกรเก็บ
ภูษาโยง และพระสงฆ์ชุดแรกลงจากอาสน์สงฆ์แล้ว นิมนต์พระสงฆ์ชุดที่ ๒ ขึ้นสู่อาสน์สงฆ์
ไม่ต้องสวดมาติกาอีก พิธีกรลาดภูษาโยงให้เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์พิจารณาผ้า
บังสุกุลอย่างเดียวไม่ต้องอนุโมทนา ปฏิบัติเช่นนี้จนหมดพระสงฆ์ที่อาราธนามา
การสวดมาติกาในพิธีหลวงต่างจากพิธีฌาปนกิจศพของคนทั่วไป กล่าวคือ งานศพ
ได้รับพระบรมราชานุเคราะห์ พระสงฆ์ต้องใช้พัดยศและในเวลาอนุโมทนา ต้องถวายอดิเรก
คือ บทถวายพระพรเป็นพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


พิธีทาบุญงานฌาปนกิจศพ
เจ้าภาพตั้งศพบาเพ็ญกุศลตามวันที่กาหนดแล้ว ส่วนใหญ่จะทาพิธีฌาปนกิจศพตาม
ธรรมเนียมชาวพุทธ การจัดงานฌาปนกิจศพ นิยมจัดงานเป็น ๒ เวลา คือ ภาคเช้ากับภาคบ่าย
มีระเบียบพิธีควรทราบ ดังนี้
ภาคเช้า เมื่อได้เวลาตามกาหนดแล้ว ประธานหรือเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชา
พระรัตนตรัย จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยเคารพศพ อาราธนาศีล รับศีล อาราธนาพระปริตร
พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ จบแล้วถวายภัตตาหารเพล ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ทอดผ้า
บังสุกุล พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุลและอนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้าอุทิศกุศลให้แก่ผู้ตาย
เป็นอันเสร็จพิธี

พิธีบาเพ็ญกุศล ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน

พิธีบาเพ็ญกุศล ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน
การทาบุญอุทิศให้ผู้ตายมีตลอดการตั้งศพบาเพ็ญกุศล พิธีทาบุญให้ผู้ตายหลังจาก
ตายได้ ๗ วัน เรียกว่า สัตตมวาร พิธีทาบุญให้ผู้ตายหลังจากตายได้ ๕๐ วัน เรียกว่า ปัญญา
สมวาร พิธีทาบุญให้คนตายหลังจากตายได้ ๑๐๐ วัน เรียกว่า สตมวาร การบาเพ็ญกุศลตาม
วันดังกล่าว มีระเบียบวิธีปฏิบัติเหมือนงานทาบุญทั่วไป มีความต่างกันอยู่บ้าง คือ ไม่ต้องวง
สายสิญจน์และไม่ต้องตั้งขันน้ามนต์ในการสวดมนต์ เมื่อพิธีกรอาราธนาพระปริตรแล้ว
พระสงฆ์ไม่ต้องชุมนุมเทวดาหรือขัดสัคเค สวดพระพุทธมนต์ต่อเลย จบแล้วถวายภัตตาหาร
พระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล
และอนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้าอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย กราบลาพระรัตนตรัย เป็นอันเสร็จพิธี
บทสวดมนต์ในพิธีบาเพ็ญกุศลให้ผู้วายชนม์ ๗ วัน สมัยโบราณนิยมสวดอนัตต-
ลักขณสูตร ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร ๑๐๐ วัน สวดธัมมนิยามสูตร แต่ในยุคปัจจุบัน
พระสงฆ์ส่วนใหญ่จะสวดธรรมนิยามสูตรทุกงาน ยกเว้นงานเจ้าภาพนิมนต์ระบุพระสูตรให้สวด แต่มีธรรมเนียมว่า ไม่สวดเจ็ดตานาน สิบสองตานาน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และ
มหาสมัยสูตร ในงานทาบุญเกี่ยวข้องด้วยคนตายไปสู่สัมปรายภพแล้ว
การจัดพิธีบาเพ็ญกุศลในวันดังกล่าว ถือเป็นวันสาคัญในการทาบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย
ดังนั้น จึงนิยมทากันโดยทั่วไป การกาหนดวันจัดงานให้นับวันตายเป็นหลัก คือ ตายลงวันไหน
ให้ถือวันนั้นเป็นวันสาคัญในการอุทิศผลบุญเป็นกรณีพิเศษ เช่น ตายวันอาทิตย์ ถ้าจัดงาน
๒ วัน นิยมนิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ในวันเสาร์ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ใน
วันอาทิตย์ กรณีทาบุญวันเดียว พิธีสวดพระพุทธมนต์และการถวายภัตตาหารพระสงฆ์ นิยม
ทาในวันอาทิตย์ ซึ่งตรงกับวันตายของผู้วายชนม์
การจัดพิธีบาเพ็ญกุศล ๒ วัน ในวันแรก นิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ แสดง
พระธรรมเทศนาพระสงฆ์ ๔ รูป สวดรับเทศน์ พิจารณาผ้าบังสุกุล ตกกลางคืนพระสงฆ์สวด
พระอภิธรรม ในวันรุ่งขึ้นพระสงฆ์ที่สวดพระพุทธมนต์ในวันแรก สวดถวายพรพระ ฉันภัตตาหาร
เรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพถวายเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุลและอนุโมทนา
เจ้าภาพกรวดน้าอุทิศกุศลให้แก่ผู้ตาย เป็นอันเสร็จพิธี
การจัดพิธีบาเพ็ญกุศลวันเดียว นิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ แสดงพระธรรม
เทศนา ถวายภัตตาหารเพล หลังจากพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพถวาย
เครื่องไทยธรรม ทอดผ้าบังสุกุล (ถ้ามี) พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุลและอนุโมทนา เจ้าภาพ
กรวดน้าอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย เป็นอันเสร็จพิธี

พิธีสวดพระอภิธรรมศพ

พิธีสวดพระอภิธรรมศพ
       การบาเพ็ญกุศลศพ นิยมจัด ๓ คืน ๕ คืน ๗ คืน หรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับความ
พร้อมของเจ้าภาพ แต่ละคืนจะมีพิธีสวดพระอภิธรรม ญาติเป็นเจ้าภาพบ้าง คนอื่นรับเป็น
เจ้าภาพบ้าง เมื่อถึงเวลาตามกาหนด ประธานหรือเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
จุดเครื่องสักการบูชาหน้าตู้พระอภิธรรม จุดเครื่องทองน้อยหน้าศพ หันพุ่มดอกไม้เข้าหาศพ
จุดเครื่องทองน้อยอีกชุดหนึ่ง หันพุ่มดอกไม้ออกด้านนอก สาหรับให้ผู้วายชนม์บูชาพระธรรม
ถ้าเป็นศพคฤหัสถ์หรือฆราวาสจะจุดในคราวเดียวกัน ถ้าเป็นศพพระสงฆ์ จะเชิญประธาน
หรือเจ้าภาพจุดเครื่องทองน้อยหน้าศพ ประธานหรือเจ้าภาพนั่งประจาที่แล้ว อาราธนาศีล
ประธานสงฆ์ให้ศีลจบ พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมประจาคืน การสวดพระอภิธรรมพิธีกร
ไม่ต้องอาราธนาธรรมเพราะการอาราธนาธรรม ถือเป็นการอาราธนาพระสงฆ์แสดงพระธรรม
เทศนา หรือเทศน์ มิใช่เป็นการอาราธนาพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม ส่วนภูมิภาคนิยม
อาราธนาธรรมด้วย เมื่อพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมจบ ประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม ทอดผ้า
บังสุกุล พระสงฆ์พิจารณา ผ้าบังสุกุลและอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพกรวดน้าอุทิศกุศล
ให้ผู้ตาย กราบลาพระรัตนตรัย เป็นอันเสร็จพิธีสวดพระอภิธรรมประจาคืน

พิธีสวดพระพุทธมนต์

พิธีสวดพระพุทธมนต์ เป็นวิธีการบาเพ็ญกุศลปรารภผู้ตาย เช่น บุพการี คนเคารพ
นับถือ คนมีพระคุณ ญาติสนิทมิตรสหาย ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ใต้บังคับบัญชา แม้กระทั่ง
ศพคนไร้ญาติ เพื่ออุทิศกุศลให้คนเหล่านั้นได้รับความสุขในสัมปรายภพได้แก่ พิธีเกี่ยวกับ
การบาเพ็ญกุศลศพ เช่น การสวดพระอภิธรรม การทาบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน
การฌาปนกิจศพ การเก็บอัฐิ และการทาบุญครบรอบวันตาย มีการเตรียมงานและขั้นตอน
ประกอบพิธีเหมือนงานทาบุญทั่วไป ต่างกันเพียงรายละเอียดบางประการ
พิธีสวดพระพุทธมนต์ เริ่มต้นด้วยเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดธูปเทียน
เครื่องทองน้อยเคารพศพหรืออัฐิ ใช้ธูปเทียนธรรมดาแทนก็ได้ อาราธนาศีล รับศีล อาราธนา
พระปริตร ฟังพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหาร ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ลาดภูษา
โยงหรือสายโยง ทอดผ้าบังสุกุล เป็นผ้าไตรหรือผ้าอื่นสาหรับพระสงฆ์ใช้สอยก็ได้ พระสงฆ์
พิจารณาผ้าบังสุกุลและอนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้าอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย เป็นอันเสร็จพิธี
การจัดพิธีกรรมดังกล่าว อาจแตกต่างกันบางโอกาสบางสถานที่ สามารถปรับได้
ตามความเหมาะสม เช่น ถวายพัดรองที่ระลึก แสดงพระธรรมเทศนาก่อนหรือหลังการสวด
พระพุทธมนต์ มีสวดรับเทศน์ สวดมาติกา และสวดพระอภิธรรม เป็นหน้าที่ของพิธีกรของ
งานจะต้องพิจารณาดาเนินการให้เหมาะสมกับคนตายและความศรัทธาของเจ้าภาพ
การจัดงานศพ
การจัดงานศพมีอุปกรณ์ประกอบพิธีเหมือนงานทาบุญตามปกติทั่วไป เจ้าภาพ
จัดงานที่วัด ทางวัดจะจัดเตรียมให้ความต้องการของเจ้าภาพ ถ้าจัดพิธีที่บ้าน มีอุปกรณ์ต้อง
จัดเตรียม ได้แก่ ภูษาโยงหรือสายโยง สาหรับใช้ในงานศพเครื่องทองน้อย ตู้พระอภิธรรม
เครื่องบูชากะบะมุก สามารถใช้กระถางธูป เชิงเทียน และแจกันดอกไม้แทนก็ได้
การจัดงานศพมีหลายขั้นตอน ขั้นตอนแรก คือ พิธีรดน้าศพ การรดน้าศพมีหลังแต่ง
ศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีการจัดเตรียมเตียงประดิษฐานศพ สาหรับให้ผู้มาร่วมพิธีได้รดน้าศพ
ถือเป็นการขอขมาโทษให้พ้นจากเวรกรรมที่มีต่อกัน ถ้าเป็นบุตรหลาน ก็แสดงถึงการสนอง
คุณและแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ตายอีกด้วย เตียงตั้งศพนิยมวางทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยหรือตาแหน่งอันเหมาะสม นามือขวาของศพออกมาอยู่ด้านนอก เพื่อรด
น้าศพได้สะดวก ห้ามมิให้ผู้ใดเดินผ่านด้านศีรษะของศพ เพราะถือเป็นกิริยาอาการไม่เคารพ
ต่อศพ จัดร่างศพให้นอนหงายเหยียดยาว จัดมือขวาให้เหยียดออกห่างจากตัวเล็กน้อย
โดยให้หงายแบออกมาคอยรับการรดน้า ซึ่งการจัดลักษณะเช่นนี้ เป็นปริศนาธรรมให้ผู้มา
รดน้าพิจารณาว่า มนุษย์เรานั้น เมื่อตายไปแล้ว ไม่สามารถจะนาสิ่งใดติดตัวไปได้ นอกจาก
คุณความดีเท่านั้น ใช้ผ้าห่มแพรคลุมตลอดร่างศพ เปิดหน้าและมือขวาเท่านั้น จัดเตรียมขัน
น้ารองรับน้าจากมือศพ น้าอบน้าหอมผสมน้าอีกขันหนึ่ง พร้อมภาชนะเล็ก ๆ ให้บุตรหลาน
ตักน้ามอบให้ผู้มาร่วมพิธีได้รดน้าศพ จุดเครื่องบูชา เช่น ธูปหอม ด้านศีรษะศพ เป็นการ
สักการบูชาพระรัตนตรัยก่อนเริ่มทาพิธีรดน้าศพ เมื่อถึงเวลาตามกาหนด บุตรหลานวงศา-
คณาญาติจะรดน้าศพก่อน จากนั้นเชิญแขกผู้มาร่วมพิธีรดน้าตามลาดับ ถ้าได้รับพระราชทาน
น้าหลวงอาบศพ ให้เชิญผู้อาวุโสหรือผู้เคารพนับถือของบุตรหลาน เป็นประธานพิธีอาบน้า
หลวงพระราชทานเป็นท่านสุดท้ายซึ่งจะไม่มีการรดน้าศพอีกต่อไป นาศพบรรจุในหีบศพ
นาขึ้นตั้ง ณ สถานที่จัดเตรียมไว้พร้อมตั้งเครื่องสักการะศพ เป็นอันเสร็จพิธี
สถานที่ตั้งศพบาเพ็ญกุศล
สถานที่ตั้งศพ ควรคานึงถึงการจัดตั้งและส่วนประกอบของพิธีศพ คือ
๑. สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย
๒. สถานที่ตั้งอาสน์สงฆ์ สาหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมและพิธีอื่น ๆ
๓. สถานที่ตั้งเครื่องประกอบศพ เช่น เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ถ้ามี) รูปถ่ายผู้ตาย
๔. สถานที่ตั้งพวงหรีดของผู้นามาแสดงความอาลัยต่อผู้ตาย
๕. สถานที่ตั้งเครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์และอุปกรณ์เครื่องใช้ในพิธีศพ
การจัดสถานที่สวดพระอภิธรรมศพ
การจัดสถานที่สวดพระอภิธรรมศพ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่ นิยมตั้ง
โต๊ะหมู่ด้านศีรษะของศพ หันพระพักตร์พระพุทธรูปไปทางทิศตะวันออก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
ไม่นิยมหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก เว้นแต่ข้อจากัดของสถานที่ตั้งอาสนะสาหรับ
พระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรม ตั้งตู้คัมภีร์พระอภิธรรมด้านหน้าพระสงฆ์ ให้สูงกว่าอาสนะ
เล็กน้อย
อุปกรณ์เครื่องใช้ต้องจัดเตรียมในพิธีศพ
๑. ผ้าภูษาโยงหรือด้ายสายโยง
๒. เครื่องทองน้อย
๓. ชุดกรวดน้า
๔. กระถางธูป พร้อมตะเกียงเล็ก
๕. โต๊ะรองกราบหรือหมอนรองกราบ
ผ้าภูษาโยง ใช้ต่อเชื่อมกับด้ายสายโยงจากมือของศพ ทอดลงมาจากปากหีบศพ
วางอยู่หัวอาสน์สงฆ์ ถัดจากโต๊ะหมู่บูชา สาหรับลาดด้านหน้าพระสงฆ์ในเวลาทอดผ้าบังสุกุล
เช่น สบง จีวร ผ้าไตร หรือผ้าอื่น ๆ ให้พระสงฆ์ใช้สอยได้
เครื่องทองน้อย นิยมใช้ ๒ ชุด ตั้งหน้าหีบศพชุดหนึ่ง สาหรับให้ผู้วายชนม์บูชา
พระธรรม โดยหันธูปเทียนเข้าหาหีบศพ พุ่มดอกไม้อยู่ด้านนอกหีบศพ อีกชุดหนึ่งสาหรับ
ประธานพิธีหรือเจ้าภาพจุดเคารพศพ หันธูปเทียนเข้าหาคนจุด หันพุ่มดอกไม้เข้าหาหีบศพ
มีข้อควรสังเกต คือ การตั้งเครื่องทองน้อย จะให้ใครจุดสักการะสิ่งใด ให้หันธูปเทียนเข้า
หาคนจุดและเทียนต้องอยู่ขวามือคนจุดเสมอไป
กระถางธูป พร้อมธูปและตะเกียงขนาดเล็ก วางเบื้องหน้าเครื่องตั้งประดับศพ
ให้คนมาในงานจุดเคารพศพตามประเพณีนิยม
พิธีบังสุกุลปากหีบ
เมื่อจัดพิธีการตั้งแต่ต้น กระทั้งนาศพบรรจุลงหีบ และนาหีบศพขึ้นตั้งบนโต๊ะเครื่องตั้ง
พร้อมประดับตกแต่งเรียบร้อยแล้ว ถ้าเจ้าภาพมีความประสงค์ทอดผ้าบังสุกุลปากหีบ พึงนิมนต์
พระสงฆ์ ๕ รูป หรือ ๑๐ รูป นั่งบนอาสนสงฆ์ ประธานหรือเจ้าภาพจุดเครื่องบูชาพระรัตนตรัย
จุดเครื่องทองน้อยหรือธูปเทียนหน้าหีบศพ อาราธนาศีล รับศีล ลาดผ้าภูษาโยงหรือสายโยง
ประธานหรือเจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุล โดยวางขวางทับผ้าภูษาโยงหรือสายโยง พระสงฆ์

พิจารณาผ้าบังสุกุลและอนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้าอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย เป็นอันเสร็จพิธี

พิธีทำบุญต่อนาม

พิธีทำบุญต่อนาม
       พิธีทาบุญต่อนาม เป็นการทาบุญของญาติผู้ป่วย ต้องการให้ผู้ป่วยได้ทาบุญกุศล
ในช่วงสุดท้ายของชีวิต เพื่อเป็นพลวปัจจัยนาไปสู่สุคติในสัมปรายภพ เสมือนเป็นการเตรียม
เสบียงเดินทางให้ผู้ป่วยหนักนาไปใช้สอย เมื่อจะต้องละโลกนี้ หรือเพื่อให้บุญกุศลช่วยให้หาย
หรือบรรเทาจากอาการเจ็บป่วยนั้น มีชีวิตอยู่ต่อไป จึงเรียกทาบุญต่อนาม หมายถึง สืบต่อ
ขันธ์ ๕ ส่วนนาม ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้กลับมาดาเนินต่อไป โดยปราศจาก
อันตรายถึงเสียชีวิต หรือเมื่อไม่สามารถหายจากอันตรายนั้นได้ ก็ให้สืบต่อไปสู่ภพใหม่เป็น
สุคติ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าทาบุญต่ออายุ เป็นพิธีไม่ค่อยมีให้เห็นบ่อยนักในปัจจุบัน
พิธีทาบุญต่อนาม เป็นพิธีจัดขึ้นแบบกะทันหันเร่งด่วน ระเบียบพิธีไม่มีอะไรมากมายนัก
มักจัดในห้องผู้ป่วยตามมีตามได้ ตั้งพระพุทธรูปบูชาด้านหัวนอนของผู้ป่วยตามความเหมาะสม
นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ต่อนาม จานวน ๕ รูป ไม่เกิน ๗ รูป เนื่องจากเป็น
กิจนิมนต์กะทันหันและรับพระสงฆ์มาสวดเดี๋ยวนั้นก็มี พระสงฆ์อาจนั่งหรือยืนสวดก็ได้
ขึ้นอยู่กับสถานที่ ถ้าผู้ป่วยอาการไม่หนักไม่ใกล้สิ้นชีวิต แต่ญาติต้องการจัดเป็นขวัญกาลังใจ
แก่ผู้ป่วยก็ทาได้เช่นกัน การทาบุญต่อนาม มีลาดับพิธีโดยย่อ ดังนี้
เมื่อมีความพรั่งพร้อมแล้ว ผู้ป่วยหรือผู้แทนก็ได้ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
อาราธนาศีล รับศีล อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ตามบทนิยม... พุทธัง
สะระณัง คัจฉามิ และสวดโพชฌงคสูตรทั้ง ๓ คือ มหากัสสปโพชฌงค์ มหาโมคคัลลาน-
โพชฌงค์ มหาจุนทโพชฌงค์ หรือจะสวดคิริมานนทสูตรแทนโพชฌงคสูตรทั้ง ๓ ก็ได้พิธีทาบุญต่อนามนี้ จัดติดต่อกัน ๓ วัน ๓ คืนก็มี เพื่อเพิ่มบุญกุศลแก่ผู้ป่วย
ฝ่ายพระสงฆ์ก็สวดพระสูตรไม่ซ้ากันทั้ง ๓ วัน โดยวันแรกสวดโพชฌงคสูตร วันที่ ๒ คิริมา
นนทสูตร วันสุดท้ายมหาสติปัฏฐานสูตร จบแล้วพระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุลให้ผู้ป่วยด้วย
เรียกว่า พิจารณาผ้าบังสุกุลเป็น
พิธีวางศิลาฤกษ์
พิธีวางศิลาฤกษ์ เป็นพิธีจัดขึ้นตามธรรมเนียมประเพณีไทย เกิดขึ้นจากความเชื่อ
ทางโหราศาสตร์ ซึ่งต้องเลือกหาฤกษ์ยามอันเป็นมงคล เพื่อความมั่งมีศรีสุข มีโชคลาภ
เจริญรุ่งเรืองในการดารงชีวิต และสุขกายสบายใจแก่ผู้อยู่อาศัยหรือกิจการ สิ่งก่อสร้างควร
วางศิลาฤกษ์ ได้แก่ พระบรมราชานุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ
สถานที่ราชการรัฐวิสาหกิจ สานักงานใหญ่ของบริษัท ถ้าเป็นอาคารบ้านเรือน ไม่นิยม
ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ แต่จะทาพิธี ยกเสาเอก เสาโทของบ้านแทน
พิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างสถานที่ดังกล่าวข้างต้น นิยมจัดให้มีพิธีสงฆ์และ
พิธีพราหมณ์รวมอยู่ในพิธีเดียวกัน จะนามากล่าวพอเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
อุปกรณ์ประกอบพิธีต้องจัดเตรียม
การประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ มีอุปกรณ์เครื่องประกอบพิธีมาก นับตั้งแต่โต๊ะหมู่
เครื่องบูชา สาหรับประดิษฐานพระพุทธรูป โต๊ะวางแผ่นศิลาฤกษ์ อิฐทอง นาค เงิน ไม้มงคล
โถกระแจะเจิม พานข้าวตอกดอกไม้ ขุดหลุมศิลาฤกษ์ ขนาดกว้าง x ยาว ๕๐ x ๕๐ เซนติเมตร
ลึก ๗๐ เซนติเมตร หรือให้ใหญ่กว่าแผ่นศิลาฤกษ์ประมาณ ๑๐ นิ้ว วัดโดยรอบ ให้ขอบปาก
หลุมสูงจากพื้น ๗๐ เซนติเมตร เตรียมไม้มงคล คือ ไม้กันเกรา ไม้ชัยพฤกษ์ ไม้ทรงบาดาล
(บุนนาค) ไม้ทองหลาง ไม้พยุง ไม้ราชพฤกษ์ ไม้ไผ่สีสุก ไม้ขนุนและไม้สัก จะอยู่ตรงกลาง
หลุมเนื่องจากถือว่าเป็นพญาไม้ ค้อนสาหรับตอกไม้มงคลทั้ง ๙ ปูนซีเมนต์ผสมทรายเรียบร้อย
เกรียงสาหรับปาดปูนให้เรียบร้อย นพรัตน์หรือพลอย ๙ สี ดอกไม้ฉีกกลีบ นิยมดอกดาวเรือง
หรือดอกกุหลาบ
ก่อนถึงเวลาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ จะประกอบพิธีบวงสรวงสังเวยก่อน เครื่อง
สังเวย ได้แก่ บายศรีปากชามซ้ายขวา เครื่องประกอบฤกษ์ ขนมสดทั้ง ๕ คือ ขนมต้มแดง
ขนมต้มขาว ขนมมีชื่อเป็นมงคลอีก ๓ ชนิด เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู
น้าชาจีน กล้วยน้าว้า มะพร้าวอ่อน มัจฉามังสาหารทั้ง ๕ คือ หัวหมู เป็ด ไก่ ปลา ปูหรือกุ้ง
ทุกอย่างต้องสะอาด ต้มสุก ผลไม้ต่าง ๆ ให้มากอย่าง มีทั้งผลใหญ่ ผลกลาง ผลเล็ก ข้าวตอก
ดอกไม้ ๑ พาน สาหรับโปรยหลุม พวงมาลัย ๑ พวง สาหรับวางบนแผ่นศิลาฤกษ์ โต๊ะปูด้วย
ผ้าขาว สาหรับตั้งเครื่องสังเวย ธูป เทียน แจกันดอกไม้จัดให้สวยงาม
เมื่อได้ฤกษ์ทาพิธีบวงสรวง โหรหรือพราหมณ์ จะเชิญประธานพิธีจุดธูปเทียนที่โต๊ะ
สังเวย จากนั้นโหรหรือพราหมณ์ จะทาพิธีบวงสรวงตามเวลาเหมาะสม หลังจากเสร็จพิธี
บวงสรวงแล้ว จะเป็นพิธีเจริญพระพุทธมนต์ การประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีวาง
ศิลาฤกษ์ พึงกระทาเช่นเดียวกับพิธีมงคลอื่น ๆ โดยนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นนั่งบนอาสนะ ประธาน
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พิธีกรอาราธนาศีล ประธานสงฆ์ให้ศีล อาราธนาพระปริตร
พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้ว ถ้ามีการรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง ก็กล่าว
รายงานในช่วงนี้ เจ้าหน้าที่เชิญเครื่องประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ไปยังจุดวางศิลาฤกษ์ เมื่อถึง
เวลาฤกษ์และกล่าวรายงานเสร็จแล้ว พิธีกรเรียนเชิญประธานพิธีไปยังบริเวณวางศิลาฤกษ์
และประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา วงดุริยางค์บรรเลงเพลง
มหาฤกษ์ ประธานหยิบไม้มงคล ปักลงตรงจุดทั้ง ๙ ตอกลงในทราย หยิบแผ่นอิฐเงิน นาก
ทอง อย่างละ ๓ แผ่น วางบนหลักไม้มงคล ใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายและน้าแล้วก่ออิฐเงิน นาก
ทอง เป็นชั้น ๆ ให้ครบทั้ง ๙ แผ่น วางแผ่นศิลาฤกษ์บนแผ่นอิฐทอง นาก เงิน วางพวงมาลัย
ลงบนแผ่นศิลาฤกษ์ โปรยข้าวตอกดอกไม้ลงในหลุมศิลาฤกษ์ หลังจากนั้นเชิญผู้มีเกียรติท่าน
อื่น ๆ โปรยดอกไม้ด้วย นิมนต์ประธานสงฆ์พรมน้าพระพุทธมนต์ ประธานกลับเข้ามาใน
มณฑลพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา กรวดน้า รับพร

เป็นอันเสร็จพิธี

พิธีทำบุญอายุ

พิธีทำบุญอายุ
พิธีทาบุญอายุ เริ่มมีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
โดยถือเป็นธรรมเนียมว่า เมื่อมีอายุเจริญวัยพอสมควร นิยมทาบุญอายุของตน อาจทาทุกปี
ในวันคล้ายวันเกิด เรียกว่า ทาบุญคล้ายวันเกิด มักเริ่มทาเมื่อมีอายุ ๒๕ ปีเป็นต้นไป หรืออาจเป็นบางครั้งบางปีก็ได้ แต่ถ้าทาบุญในวันครบรอบใหญ่ คือ ๕ รอบเป็นต้นไป ได้แก่ อายุ
ครบ ๖๐ ปี ๗๒ ปี ๘๐ ปี ๘๔ ปี เรียกว่า ทาบุญอายุใหญ่ นิยมเรียกในปัจจุบันว่า ทาบุญ
อายุวัฒนมงคล
พิธีทาบุญวันเกิดประจาปี จัดเหมือนการทาบุญโดยทั่วไป พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
บทเจ็ดตานาน ถ้าเจ้าภาพมีศรัทธาให้สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ก็สามารถทาได้ หรือจะ
สวดบทย่อของธัมมจักกัปปวัตนสูตร เฉพาะตั้งแต่ ภุมมานัง เทวานัง เป็นต้น ก็ได้เช่นเดียวกัน
ธรรมเนียมโบราณ ถ้าอายุไม่ถึง ๕ รอบ ไม่นิยมสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แต่ไม่ใช่ข้อห้าม
ตายตัวแต่อย่างใด ส่วนการนิมนต์พระสงฆ์ ถ้าเป็นงานใหญ่จะนิมนต์พระสงฆ์เท่าอายุ
บวกอีก ๑ หรือนิมนต์ ๙ รูปตามปกติก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความศรัทธาความพร้อมของเจ้าภาพพิธีทาบุญอายุครบรอบใหญ่
การทาบุญอายุครบรอบใหญ่ มี ๒ อย่าง คือ งานทาบุญอายุตามปกติทั่วไป และ
งานทาบุญอายุประกอบพิธีโหรหรือพิธีนพเคราะห์
งานทาบุญอายุตามปกติ
การทาบุญอายุตามปกติทั่วไป แต่เดิมจัดงาน ๒ วัน คือ เจริญพระพุทธมนต์เย็น
ก่อนวันเกิดวันหนึ่ง รุ่งขึ้นทาบุญเลี้ยงพระวันเกิดอีกวันหนึ่ง ปัจจุบันนิยมจัดงานภายในวันเดียว
เรียกทั่วไปว่า สวดมนต์ฉันเช้า หรือ สวดมนต์ฉันเพล มีระเบียบพิธีเหมือนการทาบุญทั่วไป
งานทาบุญอายุจัดพิธีนพเคราะห์
พิธีสวดนพเคราะห์ เป็นการทาบุญอายุ นาเอาคติทางพระพุทธศาสนา คือ การทาบุญ
อายุมาผนวกกับคติพราหมณ์ หรือคติโหรเข้าด้วยกัน ประกอบพิธีรวมเป็นพิธีเดียวกัน โดยปฏิบัติ
ตามคติพุทธเป็นแกนหลัก มีคติพราหมณ์หรือคติโหรเป็นส่วนประกอบ ปัจจุบันพิธีสวด
นพเคราะห์จัดเป็นส่วนบุคคลมีน้อย เพราะต้องใช้งบประมาณและเตรียมการมาก ทั้งคน
เข้าใจในวิธีปฏิบัติก็มีอยู่น้อย จึงนิยมทาพิธีรวมเป็นหมู่คณะตามสถานที่ต่าง ๆ ส่วนมากจะ
จัดในวัดดาวนพเคราะห์ทั้ง ๙
คติโหรเชื่อว่า โลกจักรวาลอันมนุษย์และสัตว์เวียนว่ายตายเกิดอยู่นี้ นอกจากเป็นไป
ตามคติกรรมทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังหมุนเวียนไปตามอิทธิพลของดวงดาว ๙ ดวง
รวมกันเป็นกลุ่มจักรวาลนี้ เรียกว่า นพเคราะห์ แปลว่า กลุ่มดาวทั้ง ๙ เรียงลาดับตามวิถี
โคจรรอบโลกของเรา จัดลาดับจากเห็นก่อนและหลังตามหลักคัมภีร์ทักษาของโหร คือ อาทิตย์
จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ มีชื่อเรียกและลาดับปรากฏในวงโคจร
ดังกล่าวข้างต้น ฉะนั้น บทสวดมนต์กาหนดเป็นบทประจาพระเคราะห์นั้น ๆ จึงนามาสวด
ตามลาดับการปรากฏของพระเคราะห์ทั้ง ๙ และคัมภีร์ทักษาได้กาหนดกาลังนพเคราะห์แต่
ละดวงไว้ ตามกาลังรอบที่หมุนเวียนรอบจักรวาล คือ พระอาทิตย์ มีกาลัง ๖ พระจันทร์ ๑๕
พระอังคาร ๘ พระพุทธ ๑๗ พระเสาร์ ๑๐ พระพฤหัสบดี ๑๙ พระราหู ๑๒ พระศุกร์ ๒๑
พระเกตุ ๙
วัตถุประสงค์ของพิธีนพเคราะห์
พิธีนพเคราะห์เป็นพิธีโบราณ กระทาสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน จัดขึ้น
ตามความเชื่อทางหลักโหราศาสตร์ว่า ชีวิตของคนเรามีเทวดานพเคราะห์ผลัดเปลี่ยนเข้ามา
เสวยอายุตั้งแต่แรกเกิด เมื่อเทวดานพเคราะห์คู่เป็นมิตรกัน เข้ามาเสวยอายุ ก็จะทาให้บุคคลนั้น
มีความสุขความเจริญมีโชคลาภ แต่เมื่อเทวดาเข้ามาเสวยอายุเป็นคู่ศัตรูกัน ก็จะทาให้บุคคล
นั้น ประสบอุปสรรคหรือบางครั้งอาจถึงเสียชีวิต ตามคาพูดว่าพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก
โบราณาจารย์และโหราศาสตร์ได้หาวิธีแก้ไข เพื่อสร้างขวัญกาลังใจแก่บุคคลเจ้าของชะตา
โดยรวบรวมหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้บุคคลเจ้าของชะตานาไปประพฤติปฏิบัติใน
การดาเนินชีวิต จึงจัดทาพิธีบูชานพเคราะห์ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องบูชาเทวดาที่ผลัดเปลี่ยนกันมา
เสวยอายุ ให้เมตตาปรานีและอดโทษ เพื่อทุเลาความเลวร้ายลงและดลบันดาลประทาน
ความสุขความเจริญให้
การจัดพิธีสวดนพเคราะห์
เนื่องจากพิธีสวดนพเคราะห์นี้เป็นพิธีใหญ่ มีระเบียบพิธีและลาดับขั้นตอนมาก
ยากที่บุคคลทั่วไปจะนาไปปฏิบัติ การทาพิธีต้องอาศัยบุคคลมีความรู้ความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะเท่านั้น จึงสามารถปฏิบัติให้ถูกต้องสมบูรณ์ สาหรับบุคคลทั่วไป เพียงศึกษา
อย่างกว้าง ๆ เพื่อเป็นความรู้ ก็เพียงพอแล้ว ฉะนั้น ในที่นี้จะกล่าวพอเป็นแนวปฏิบัติ ไม่ลง
ลึกรายละเอียดมากนัก
อุปกรณ์เครื่องประกอบพิธี
พิธีสวดนพเคราะห์เป็นพิธีพิเศษ พระสงฆ์และโหราจารย์ประกอบพิธีร่วมกัน
การจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ในพิธี เจ้าภาพต้องจัดให้ครบ ตามคาแนะนาของโหราจารย์
ที่เชิญมาประกอบพิธีทุกประการ ในปัจจุบันเพื่ออานวยความสะดวกแก่เจ้าภาพ บางสานัก
รับจัดอุปกรณ์พิธีนพเคราะห์ให้ครบถ้วน ส่วนค่าใช้จ่ายตกลงกันทั้ง ๒ ฝ่าย อุปกรณ์เครื่องใช้
สาคัญพอสรุปได้ ดังนี้
๑. เทียนชัย เป็นเทียนเล่มใหญ่ ใช้ฟั่นด้วยขี้ผึ้งอย่างดี มีความสูงเท่ากับตัวเจ้าภาพ
ไส้เทียนใช้ด้ายดิบเท่ากับอายุเจ้าภาพ บวก ๑ ตั้งไว้ในตู้เทียนชัย ต้องดูแลรักษาไม่ให้ดับ
จนกว่าเสร็จพิธี
๒. เทียนมงคล ใช้ขี้ผึ้งหนัก ๙ บาท ความยาวเท่ากับความยาวรอบศีรษะเจ้าภาพ
ไส้เทียนเท่ากับอายุของเจ้าภาพบวก ๑
๓. เทียนประจาบัตร ๑๑ เล่ม หนักเล่มละ ๒ บาท ไส้เทียน ๑๖ เส้น ความยาว ๑ คืบ
๔. เทียนขี้ผึ้งหนัก ๑ สลึง ไส้เทียน ๙ เส้น จานวน ๑๑๗ เล่ม ใช้จุดบูชาเทวดา
พระเคราะห์
๕. เทียนหนัก ๑ บาท ประมาณ ๕ เล่ม
๖. ขันน้ามนต์ชนิดขันเชิงใหญ่ ๑ ใบ ถ้าไม่มีใช้กระถางแทนได้ ใส่น้าสาหรับ
ทาน้ามนต์ ใส่ใบไม้มงคล ๙ ชนิด และมีดอกบัวลอยไว้ ๕ ดอก
๗. พระพุทธรูปปางประจาวันเกิด สาหรับตั้งเป็นประธานบนโต๊ะหมู่บูชา
๘. ของใช้อื่น ๆ เช่น สายสิญจน์ ธูปหอมประมาณ ๑๕๐ ดอก บัตรพลี เครื่อง
กระยาบวช สาหรับบูชาเทวดา จะจัดหาวงปี่พาทย์มาบรรแลงประกอบพิธี เพื่อรับส่งเทวดา
นพเคราะห์ทั้ง ๙ ตามกาลังวันพระเคราะห์เสวยอายุนั้น ๆ ด้วยก็ได้ลาดับขั้นตอนพิธี
เมื่อได้เวลาประกอบพิธี เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนชัย ในขณะ
จุดเทียนชัยพระสงฆ์จะสวดคาถาจุดเทียนชัย เทียนชัยนี้ ต้องระวังรักษาไม่ให้ดับจนกว่าจะ
เสร็จพิธี ต่อจากนั้น จุดเทียนบูชานพเคราะห์ตามโหราจารย์กาหนด โหราจารย์อาราธนาศีล
ทุกคนรับศีลโหราจารย์อัญเชิญเทวดาตามลัทธิ จบแล้วอาราธนาพระปริตร
พระสงฆ์ดาเนินพิธีสวดนพเคราะห์ เริ่มต้นด้วยพระสงฆ์รูปที่ ๓ ชุมนุมเทวดา
(ขัดสัคเค) ประธานสงฆ์นาสวดบทต้นตานาน ต่อด้วยมงคลสูตร จบแล้วโหราจารย์ประกาศ
คาอานวยพร และประกาศคาบูชาพระอาทิตย์ พระสงฆ์สวดโมรปริตรประจาวันอาทิตย์
โหราจารย์ประกาศคาบูชาพระจันทร์ พระอังคาร พระพุทธ พระเสาร์ พระพฤหัสบดี
พระราหู พระศุกร์ และพระเกตุ สลับกับการสวดของพระสงฆ์ทุกพระเคราะห์ตามลาดับ
ดังกล่าวแล้ว ซึ่งแต่ละพระเคราะห์มีบทสวดกาหนดเป็นการเฉพาะ จากนั้นสวดบทท้าย
ตานาน จนจบภะวะตุ สัพพะมังคะลัง ต่อด้วยบท นักขัตตะยักขะภูตานัง จึงเสร็จพิธีการสวด
นพเคราะห์ สุดท้ายเป็นพิธีดับเทียนชัย โดยพระสงฆ์หรือโหราจารย์เป็นผู้ดับ ในขณะดับ
เทียนชัยพระสงฆ์สวดคาถาดับเทียนชัย ปะพรมน้ามนต์ให้เจ้าภาพและผู้เข้าร่วมพิธีทุกคน
ถวายไทยธรรมพระสงฆ์ กรวดน้ารับพร เป็นอันเสร็จพิธี
พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์
พิธีนวัคคหายุสมธัมม์ (อ่านว่า นะ-วัค-คะ-หา-ยุ-สะ-มะ-ทา) แปลว่า ธรรมเสมอด้วย
อายุพระเคราะห์ทั้ง ๙ มีระเบียบพิธีและขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับพิธีนพเคราะห์
เป็นพิธีจัดขึ้นสาหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เริ่มจัดเป็นครั้งแรก ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(สา ปุสสเทวมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงคัดเลือก
หัวข้อธรรมจากพระสูตรต่าง ๆ กาหนดเป็นบทสวดบูชาพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดังปรากฏใน
หนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง จึงถือเป็นธรรมเนียมว่าในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การจัดพิธีนวัคคหายุสมธัมม์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตน-
ศาสดาราม จะต้องนิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์จากวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีรามเท่านั้น

จานวน ๕ รูป มาประกอบพิธีในวันที่ ๕ ธันวาคม และรับพระราชทานฉันเพล ในวันที่ ๖ธันวาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในส่วนพิธีพราหมณ์ พระครูพราหมณ์สานักพระราชวัง
จัดเตรียมเครื่องใช้ในพิธี และประกอบพิธีร่วมกับพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ การอาราธนา
พระปริตรในพิธีนี้ เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธีกองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา
กระทรวงวัฒนธรรม
พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ นอกจากจะจัดในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังเคยจัดในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จ
พระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ วันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ
สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส
ราชนครินทร์ อีกด้วย

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พิธีมงคลสมรส

พิธีมงคลสมรส
พิธีมงคลสมรส เรียกอย่างสามัญว่า งานแต่งงาน หรือ งานแต่ง เป็นประเพณีของ
พุทธศาสนิกชนชาวไทย นิยมให้มีพิธีสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาวด้วย
สมัยพุทธกาล เรียกพิธีนี้ว่า วิวาหมงคล หรืออาวาหมงคล คนไทยนิยมนามาใช้แบบกึ่ง
ทางการว่า งานวิวาห์ ปกติงานมงคลสมรสของไทย จะจัดพิธีที่บ้านเจ้าสาว ถ้ามีบ้านหรือ
เรือนหอโดยเฉพาะ นิยมจัดที่บ้านหรือเรือนหอนั้น
พิธีทาบุญงานมงคลสมรส ประเพณีไทยโบราณนิยมจัดงานให้เสร็จภายในวันเดียว
แบ่งเป็น ๒ ช่วงเวลา คือ ตอนเช้ามีพิธีทาบุญเลี้ยงพระ ให้คู่บ่าวสาวทาบุญตักบาตรร่วมก่อน
เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ช่วงเช้าแล้ว ตอนสายจะเป็นประเพณียกขันหมาก ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้พ่อแม่
ญาติผู้ใหญ่ และอื่น ๆ ตอนบ่ายมีพิธีสงฆ์อีกวาระหนึ่ง จะนิมนต์พระสงฆ์ชุดเดิมมาเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อทาน้ามนต์ใช้หลั่งน้าสังข์ โดยพระสงฆ์จะประพรมน้าพระพุทธมนต์ให้เพื่อ
เป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว บ้านหรือเรือนหอด้วย จากนั้นเป็นพิธีหลั่งน้าสังข์ของบิดา มารดา
และญาติผู้ใหญ่ของคู่บ่าวสาว ตลอดถึงแขกผู้มีเกียรติรับเชิญมาร่วมงาน จะไม่ขอลงรายละเอียด
พิธีแบบโบราณนี้ เพราะปัจจุบันแทบจะไม่มีการจัดพิธีรูปแบบนี้แล้ว สาหรับพิธีทาบุญ
งานมงคลสมรสในปัจจุบัน นิยมจัดพิธีสงฆ์ให้เสร็จช่วงเช้า เสร็จพิธีสงฆ์แล้ว จึงประกอบพิธี
ทางโลกต่อไป ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะพิธีสงฆ์เท่านั้น
การเตรียมการต่าง ๆ ก็คล้ายกับการทาบุญในพิธีทั่วไป การนิมนต์พระสงฆ์ นิยม
นิมนต์ ๙ รูป สมัยโบราณนิมนต์พระสงฆ์เป็นคู่ คือ ๘ รูป ๑๐ รูป เพื่อให้คู่บ่าวสาวนิมนต์
นิมนต์เท่า ๆ กัน สาหรับเครื่องประกอบพิธี นอกจากอุปกรณ์ทั่วไป เช่น พระพุทธรูป โต๊ะหมู่
ยังมีเครื่องประกอบพิธีโดยเฉพาะอีก คือ มงคลแฝด กระแจะ สาหรับเจิมคู่บ่าวสาว เตรียม
นาเข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติตามลาดับ ดังนี้
ครั้นได้เวลาตามกาหนดแล้ว คู่บ่าวสาวจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยร่วมกัน
โดยเจ้าสาวนั่งด้านซ้ายของเจ้าบ่าว สมาทานศีล ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อถึงบท
พาหุง คู่บ่าวสาวตักบาตรร่วมกัน โดยทั้งคู่จับทัพพีเดียวกัน พระสงฆ์สวดมนต์จบ ประเคน
ภัตตาหารร่วมกันพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม และประพรมน้าพระพุทธมนต์
กรณีมีพิธีหลั่งน้าสังข์ในภายหลัง ประธานพิธีจะเป็นผู้เจิมหน้าคู่บ่าวสาว
เมื่อพิธีสงฆ์เสร็จสิ้นแล้ว จะมีพิธีตามประเพณีต่อไป สุดแต่เจ้าภาพจะกาหนด
การเจริญพระพุทธมนต์ในสมัยก่อน นิยมสวดมหาสมัยสูตร ปัจจุบันสวดเจ็ดตานานเหมือน
การทาบุญทั่วไป แต่จะสวดอังคุลิมาลปริตรและวัฏฏกปริตรเพิ่มด้วย โดยความหมายว่า
อังคุลิมาลปริตรจะช่วยให้คลอดบุตรง่าย และวัฏฏกปริตรเป็นการคุ้มครองบ้านหรือเรือนหอ
จากอัคคีภัย

พิธีเจริญพระพุทธมนต์

พิธีเจริญพระพุทธมนต์
คาว่า เจริญพระพุทธมนต์และสวดพระพุทธมนต์ เป็นศัพท์บัญญัติใช้กับพิธีทาบุญ
ทางพระพุทธศาสนา การเจริญพระพุทธมนต์ใช้กับงานพิธีปรารภเหตุ คือ ความสุข ความ
เจริญของตนเอง ครอบครัวบ้าง สังคมบ้าง นิยมเรียกว่า งานมงคล การสวดพระพุทธมนต์
ใช้กับงานปรารภเหตุ คือ การตาย นิยมเรียกว่า งานอวมงคล
แต่กิริยาสาธยายว่า เจริญหรือสวดนั้น ต่างกันเพียงประเภทของงานเท่านั้น เมื่อใช้
ภาษาให้เข้าใจง่าย เรียกรวมกันว่า สวดมนต์ ไม่ว่าจะเป็นงานใดก็ตาม
พิธีมงคลจัดขึ้นเพื่อความสุขความเจริญ นิยมสวดพระปริตรและพระสูตรเหล่านี้ คือ
๑. เจ็ดตานาน หรือ จุลราชปริตร
๒. สิบสองตานาน หรือ มหาราชปริตร
๓. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
๔. มหาสมัยสูตร
๕. โพชฌงคสูตร
๖. คิริมานนทสูตร
๗. มหาสติปัฏฐานสูตร
๘. ชยมงคลคาถา
๙. คาถาจุดเทียนชัยและคาถาดับเทียนชัย
เจ็ดตานานและสิบสองตานาน
พิธีทาบุญเนื่องด้วยการเฉลิมฉลองและปรารภความสุขความเจริญ ทาให้เกิดความ
เป็นสิริมงคลแก่เจ้าภาพ เช่น งานฉลองพระบวชใหม่ งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานวันเกิด
การเจริญพระพุทธมนต์ นิยมใช้เจ็ดตานานเป็นพื้น บทสวดมนต์เจ็ดตานาน พระโบราณาจารย์
ท่านกาหนดพระสูตร คาถา และหัวข้อพุทธภาษิต บรรดาที่มีอานุภาพในทางแนะนาและ
ป้องกันสรรพภัยพิบัติ รวมเรียกว่า พระปริตร แปลว่า เครื่องป้องกันหรือเครื่องต้านทาน
เจ็ดตานานหรือจุลราชปริตร ประกอบด้วย
๑. มงคลสูตร
๒. รตนสูตร
๓. กรณียเมตตสูตร
๔. ขันธปริตร
๕. โมรปริตร
๖. ธชัคคปริตร หรือ ธชัคคสูตร
๗. อาฏานาฏิยปริตร
๘. โพชฌงคปริตร
เมื่อรวมโมรปริตรเข้ากับธชัคคปริตร เหลือเพียง ๗ ปริตร จึงเรียกว่า เจ็ดตานาน
สิบสองตานาน หรือ มหาราชปริตร ประกอบด้วย
๑. มงคลสูตร
๒. รตนสูตร
๓. กรณียเมตตสูตร
๔. ขันธปริตร
๕. โมรปริตร
๖. วัฏฏกปริตร
๗. ธชัคคปริตร หรือ ธชัคคสูตร
๘. อาฏานาฏิยปริตร
๙. องคุลิมาลปริตร
๑๐. โพชฌังคปริตร
๑๑. อภยปริตร
๑๒. ชยปริตร
ในการสวดทั่วไป นิยมใช้เพียง ๗ หัวข้อหรือน้อยกว่า พิธีที่ใช้สวดทั้ง ๘ หรือ ๑๒
หัวข้อก็มีทั้งนี้ ขึ้นกับความสาคัญของงานและมีเวลาอานวยในการสวด ดังนั้น ปัจจุบันจึง
มีสวดอยู่ ๓ แบบ คือแบบเต็ม แบบย่อและแบบลัด
อนึ่ง พิธีเจริญหรือสวดพระพุทธมนต์ในพิธีการต่าง ๆ พระสงฆ์จะสวดบทเบื้องต้นก่อน
เรียกว่า ต้นสวดมนต์ หรือต้นตานาน แล้วจึงสวดพระปริตรหรือพระสูตรต่าง ๆ ตามกาหนด
เรียกว่าตัวตานาน สุดท้ายเป็นเบื้องปลายบทสวดมนต์ เรียกว่า ท้ายสวดมนต์ หรือ ท้ายตานาน
ต้นตานาน เริ่มด้วยบทชุมนุมเทวดา เรียกอย่างสามัญว่า ขัดสัคเค พระสงฆ์รูปที่ ๓ จะเป็น
ผู้ขัด จากนั้นสวดบทนมัสการ คือ นโม ตัสสะ จนถึงบทนมการอัฏฐกคาถา หรือนโม ๘ บท

แล้วจึงสวดบทพระปริตรหรือพระสูตรเป็นลาดับต่อไปบทชุมนุมเทวดาหรือขัดสัคเค เป็นบทขัดเพื่อเชิญเทวดาผู้สถิตอยู่ ณ สถานที่ต่าง ๆ
ให้มาร่วมประชุมฟังธรรม คือ การเจริญพระพุทธมนต์ การขัดสัคเค มีบทนาขัดอยู่ ๓ แบบ
ใช้ในพิธีแตกต่างกัน ดังนี้
แบบที่ ๑ ใช้ในงานพระราชพิธีและรัฐพิธี มีบทนาในการขัดสัคเคว่า สะรัชชัง
สะเสนัง สะพันธุง นรินทัง ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา
ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ แล้วว่าบทขัดสัคเคที่เหลือต่อไปจนจบ
แบบที่ ๒ ใช้ขัดในการสวดพระพุทธมนต์ ๑๒ ตานาน เริ่มต้นคาว่า สะมันตา
จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา สัททัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง แล้วว่า
บทขัดสัคเค ที่เหลือต่อไปจนจบ
แบบที่ ๓ ใช้ขัดในการสวดพระพุทธมนต์ ๗ ตานาน เริ่มต้นคาว่า ผะริตวานะ เมตตัง
สะเมตตา ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ แล้วว่าบทขัดสัคเคที่เหลือ
ต่อไปจนจบ
ท้ายตานาน คือบท นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ... ต่อกับบท ยังกิญจิ ระตะนัง
โลเก ...และต่อด้วยบท ทุกขัปปัตตา ถ้ามีการถวายภัตตาหารด้วย จะสวดบทถวายพรพระ
จบด้วยบท ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง ... เป็นอันเสร็จพิธีเจริญพระพุทธมนต์ สาหรับการสวด
มนต์เย็น ไม่มีบทสวดถวายพรพระและจบด้วยบท ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง ... เช่นเดียวกัน

ความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธมนต์

ความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธมนต์
การเจริญหรือการสวดพระพุทธมนต์ จะเกิดพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ
และปริตตานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์สมบูรณ์ ผู้ร่วมประกอบพิธีกรรมต้องมีความพร้อม ๓ ประการ คือ
๑. ผู้ฟังมีศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใสในพระพุทธมนต์
๒. ผู้เจริญหรือสวดพระพุทธมนต์มีจิตสงบนิ่ง เป็นสมาธิแน่วแน่

๓. สวดด้วยจิตเมตตา หวังให้ผู้ฟังได้รับอานิสงส์เต็มที่
เพิ่มเติมความรู้ โดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ
จิตที่สงบราบเรียบละเอียดอ่อนจากการสวดมนต์ จะทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดที่เปี่ยมล้นด้วยพลังแห่งความดีงาม ย่อมส่งผลดีต่อร่างกายได้ จิตที่สงบสุขย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง  ปราศจากความอ่อนแอ ในขณะเดียวกันร่างกายที่มีโรคภัยไข้เจ็บ  ย่อมจะทำให้จิตใจอ่อนแอตามไปด้วย 
ผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำ  มักจะมีสุขภาพที่ดีภายใต้จิตใจที่เบิกบานแจ่มใส  อยู่ในโลกได้อย่างมีความสุข  การสวดมนต์เป็นประจำมีอานิสงส์  ดังนี้
  ๏ ทำให้เป็นคนไม่เคร่งเครียด  หากความเคียดเกิดขึ้นก็จะคลายลงได้ จนกระทั่งความเครียดนั้นจางหายไปในที่สุด
  ๏ ทำให้จิตใจสงบนิ่งเยือกเย็น ผู้ที่มีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เสมอ การสวดมนต์จะช่วยให้ความเร่าร้อนทางอารมณ์ที่โหมไปด้วยเพลิงโทสะ เพลิงโมหะ เพลิงอิจฉาริษยาลดลงได้  ทำให้เป็นสุภาพชนที่มีลักษณะสุขุมเยือกเย็น ภายใต้จิตใจที่อ่อนโยนงดงาม
  ๏ ทำให้หลับสบายตื่นก็เป็นสุข ผู้ที่นอนหลับยาก  การสวดมนต์จะช่วยปรับความสมดุลทางจิตให้ก้าวลงสู่ความหลับอย่างสบายไม่กระสับกระส่าย  เพราะจิตใจไม่แปรปรวน  ตื่นขึ้นมาก็สดชื่นไม่ง่วงซึม 
   ทำให้อาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารหมดไป ความเครียดทำให้เกิดระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เพราะน้ำย่อยหรือน้ำดีจะหลั่งออกมาจากตับแล้วทำให้ระคายเคืองผนังกระเพราะอาหาร  ผู้ที่มีเครียดมักจะปวดท้อง หรืออาเจียน
การสวดมนต์ช่วยให้ลดระดับการเกร่งของประสาททุกส่วนในร่างกาย  จึงทำให้ความเคียดลดลง และทำให้อาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารหายไปด้วย  เมื่อไม่มีความเครียดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารก็หมดไป  เท่ากับว่าการสวดมนต์ช่วยปรับความสมดุลของระบบทางเดินอาหารในกระเพาะ
   ทำให้ปฏิบัติหน้าที่การงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากร่างกายมีสุขภาพดี จิตใจก็ย่อมปลอดโปร่งมีความสุข  จิตใจที่ปลอดโปร่งย่อมทำงานได้ผลอย่าง มีประสิทธิภาพ
  ๏ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์   ผู้ที่มีจิตปลอดโปร่งเป็นสมาธิ ย่อมมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ มากมาย   
  ๏ ครอบครัวมีความสุข มีอนาคต เป็นทรัพยากรบุคคลของชาติที่มีค่ายิ่ง ประเทศชาติจะกว้าไปข้างหน้าด้วยดีทุกวิถีทาง คนที่มีคุณงามความดีขนาดนี้แล้ว เรื่องที่ไม่ดีย่อมจะไม่มีให้เห็นได้เลย เพราะการสวดมนต์บำบัดนั้นมีผลดีมากมายและแปลกประหลาด
  ๏ ผู้คนก็เมตตาเทวดาก็รัก เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จะอยู่ที่ไหน เทวดาก็ให้การคุ้มครองรักษา

ความเป็นมาของพิธีเจริญพระพุทธมนต์

ความเป็นมาของพิธีเจริญพระพุทธมนต์
      การเจริญหรือการสวดพระพุทธมนต์ มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพื่อป้องกันอันตราย
และให้เกิดความสุขสวัสดีแก่ผู้ประกอบพิธี การเจริญพระพุทธมนต์นั้น เมื่อเจริญหรือสวดด้วย
จิตเมตตาว่า ขออานุภาพพระปริตร จงคุ้มครองปกปักรักษาทุกเมื่อ มีจิตเป็นสมาธิแน่วแน่
ย่อมทาให้พระปริตรมีพลังและอานุภาพยิ่งขึ้น ดังเช่นการสวดพระปริตรในสมัยพุทธกาล
สมัยหนึ่ง ได้เกิดภัย คือความแห้งแล้งขึ้นในเมืองเวสาลี ทาให้พืชพันธุ์ธัญญาหาร
เสียหายมาก เป็นเหตุให้ข้าวยากหมากแพง เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง ชาวเมืองเวสาลี
ล้มตายจานวนมาก ซ้าวิญญาณที่ยังไม่ได้ไปเกิดใหม่ ก็มาทาร้ายชาวเมืองให้ล้มตายมากยิ่งขึ้น
ชาวเมืองจึงไปกราบทูลกษัตริย์ลิจฉวี ให้หาผู้วิเศษมาช่วยขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ กษัตริย์ลิจฉวี
ทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่า ทรงช่วยขจัดปัดเป่าภัยพิบัตินั้นได้ ทรงทราบว่าพระพุทธเจ้า
ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ จึงแต่งตั้งเจ้าลิจฉวี ๒ องค์ พร้อมเครื่องบรรณาการไปถวาย
พระเจ้าพิมพิสารที่เมืองราชคฤห์ทันที
เจ้าลิจฉวีทั้ง ๒ องค์ เสด็จถึงเมืองราชคฤห์ ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร กราบทูล
เรื่องราวความเดือดร้อนของชาวเมืองเวสาลี และมีความประสงค์จะกราบทูลนิมนต์
พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดชาวเมืองเวสาลี จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อกราบทูล
อาราธนา พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาว่า ถ้าพระองค์เสด็จไป ภัยทั้งปวงจะสงบลง เป็นประโยชน์
แก่ชาวเมืองเวสาลี จึงทรงรับการอาราธนาของเจ้าลิจฉวี กษัตริย์ลิจฉวีทรงทราบว่าพระพุทธเจ้า
ทรงรับนิมนต์แล้ว ทรงประกาศให้ชาวเมืองทราบ และให้จัดเตรียมการรับเสด็จพระพุทธดาเนิน
โปรดชาวเมืองเวสาลีอย่างยิ่งใหญ่ตลอดระยะทาง ๓ โยชน์
         เมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก ๕๐๐ รูป เสด็จถึงเมืองเวสาลี ด้วยเรือแพ
ที่พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้ต่อถวาย เพื่อเสด็จข้ามแม่น้าคงคา กษัตริย์ลิจฉวีทรงลุยน้า
ไปรับเสด็จพระพุทธเจ้าด้วยความปลื้มปีติ กราบทูลอาราธนาให้เสด็จเข้าเมืองเวสาลี
ด้วยพระพุทธานุภาพบันดาลให้ฝนตกกระหน่าอย่างหนัก น้าท่วมทั่วเมืองเวสาลี เพื่อล้างสิ่งสกปรกและซากศพทั่วเมืองให้หมดไป ทาให้เมืองเวสาลีกลับมาสะอาดสงบดังเดิม
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จพระพุทธดาเนินถึงประตูเมืองเวสาลี ท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วย
เทพบริวารเสด็จมาชุมนุมอยู่ ณ ที่นั้นด้วย ทาให้อมนุษย์เป็นอันมากพากันหลบหนีไป แต่ยังมี
หลงเหลืออยู่บ้าง
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ประตูเมืองเวสาลี ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์
เธอจงเรียนเอารตนสูตรนี้ จาริกไปภายในกาแพงเมือง ๓ ชั้นกับพวกกุมารลิจฉวี ทาพระปริตร
ให้ทั่วเมืองเถิด แล้วตรัสรตนสูตรแก่พระอานนท์
           พระอานนท์เถระ เรียนพระพุทธมนต์บทรตนสูตรที่พระพุทธองค์ทรงประทาน
ให้แล้ว นาบาตรศิลาของพระพุทธเจ้ามาใส่น้า ถือไปยืนที่หน้าประตูเมือง น้อมราลึกถึง
พระคุณของพระพุทธเจ้า จากนั้นเข้าไปภายในพระนคร เดินประพรมน้าพระพุทธมนต์ไป
ทั่วเมืองเวสาลี ภัยทั้งหลายและอมนุษย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ก็หายไปหมดสิ้น โรคภัยไข้เจ็บ
ของชาวเมือง ก็สงบลง ชาวเมืองเวสาลีต่างพากันออกมาจากบ้านเรือน นาดอกไม้ของหอม
เดินตามบูชาพระอานนท์เถระซึ่งเดินประพรมน้าพระพุทธมนต์ไปทั่วเมืองตลอดคืน
พระโบราณาจารย์พิจารณาเห็นความศักดิ์สิทธ์แห่งพระพุทธมนต์ จึงได้รวบรวม
พระพุทธมนต์บทรตนสูตรและบทอื่น ๆ มาเป็นพระปริตร เรียกว่า เจ็ดตานานบ้าง สิบสอง
ตานานบ้าง หรือเรียกชื่อตามพระสูตรนั้น ๆ บ้าง เพื่อให้พุทธศาสนิกชนสวดหรือเจริญ เป็น
เครื่องป้องกันภัยอันตราย และเกิดความสุขสวัสดีแก่ชีวิต
อนึ่ง พระอานนท์เถระนาบาตรศิลาของพระพุทธเจ้า บรรจุน้าพระพุทธมนต์จนเต็ม
บาตร เดินประพรมทั่วเมืองเวสาลีในคราวนั้น ถือเป็นแบบอย่างในการทาน้าพระพุทธมนต์
และประพรมน้าพระพุทธมนต์ปัจจุบันนี้


วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ประโยชน์ของวันธรรมสวนะ

ประโยชน์ของวันธรรมสวนะ
๑. เป็นวันทาบุญ สมัยก่อนเมื่อถึงวันพระ พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะหยุดการงาน
ของตนไว้ จัดเตรียมอาหารคาวหวาน เพื่อไปทาบุญร่วมกันที่วัด
๒. เป็นวันรักษาศีล พุทธศาสนิกชนในสมัยก่อนจะหยุดใช้แรงงานสัตว์ แม้ฆ่าสัตว์
นาไปประกอบอาหารก็จะหยุด ชาวประมงจะหยุดออกเรือจับปลา แม้แต่โรงฆ่าสัตว์ก็ห้ามฆ่าหมู โค กระบือ เพื่อเข้าวัดทาบุญสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ ตามศรัทธาของตน
อย่างเคร่งครัด
๓. เป็นวันฟังธรรม ทุกวัดที่ชาวบ้านไปทาบุญก็จะมีการแสดงธรรมหรือมีเทศน์
อย่างน้อย ๑ กัณฑ์ ถ้ามีผู้สมาทานรักษาศีลอุโบสถ ก็จะมีเทศน์ ๒ หรือ ๓ กัณฑ์ คือ รอบเช้า
หลังพระฉันเช้าและผู้ไปร่วมทาบุญรับประทานอาหารแล้ว ๑ กัณฑ์ ตอนบ่าย ๑ กัณฑ์ และ
ตอนหัวค่าอีก ๑ กัณฑ์
๔. เป็นวันปฏิบัติธรรม พุทธศาสนิกชนที่ไปทาบุญในวันธรรมสวนะ นอกจากได้
ถวายทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ตามปกติแล้ว ยังมีโอกาสได้สวดมนต์ เจริญสมาธิ หรือปฏิบัติ
ธรรมอื่น ๆ ตามที่วัดหรือสานักนั้น ๆ กาหนดอีกด้วย
๕. เป็นวันสวดพระปาฏิโมกข์ ทาสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์
การเข้าวัดทาบุญและการปฏิบัติตนของชาวพุทธในปัจจุบัน แม้จะไม่เคร่งครัด
เหมือนสมัยก่อน แต่เป็นการฝึกฝนอบรมจิตใจของตน ให้น้อมไปในพระรัตนตรัยได้เป็นอย่างดี
และมีผู้ถือปฏิบัติกันมากในชนบท แต่ในส่วนกลางกาลังลดน้อยถอยลง คนรู้ว่าวันนี้เป็น
วันพระมีจานวนน้อย จึงควรส่งเสริมให้คนเข้าใจถึงประโยชน์ของเข้าวัดฟังเทศน์ในวันพระ
จะทาให้ประชาชนเป็นคนดี มีศีลธรรมประจาใจ สังคมมีความร่มเย็นเป็นสุขตลอดกาล

ความเป็นมาของวันธรรมสวนะ

ความเป็นมาของวันธรรมสวนะ
วันธรรมสวนะ มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในคัมภีร์วินัยปิฎก ตอนว่าด้วยอุโบสถขันธกะ
กล่าวว่า พวกปริพาชกและเดียรถีย์ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา ประชุมกันทุกวัน ๘ ค่า ๑๔ ค่า
และ ๑๕ ค่า ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม เพื่อสนทนาเกี่ยวกับลัทธิคาสอนของตน ครั้นต่อมา
พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ พระคันธกุฎี เขาคิชฌกูฏ
ใกล้เมืองราชคฤห์ กราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าเป็นเรื่องดี
มีประโยชน์ จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์มาประชุมกันในวัน ๘ ค่า ๑๔ ค่า และ ๑๕ ค่า
ดังนั้น วันประชุมของพระสงฆ์ในยุคพุทธกาล จึงมีเดือนละ ๔ ครั้ง
เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาประชุมในวันดังกล่าว ก็ไม่ได้ทาอะไร พากันนิ่งเฉย ไม่ได้
สนทนาธรรม ชาวบ้านที่พากันไปวัดเพื่อฟังธรรม จึงรู้สึกผิดหวัง และกล่าวติเตียนพระภิกษุสงฆ์
พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสนทนาธรรมและแสดงธรรมในวันดังกล่าว
ดังนั้น จึงเรียกว่า วันธรรมสวนะ ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ได้สืบทอดต่อกันมาด้วยคาพูด การฟังและการท่องจา ที่เรียกว่า มุขปาฐะ ดังนั้น การแสดง
ธรรมและการฟังธรรม จึงเป็นเครื่องมือสาคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นแล้ว ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทาอุโบสถ
สังฆกรรมสวดพระปาติโมกข์ในวันธรรมสวนะด้วย ยุคแรกพระภิกษุสงฆ์สวดพระปาติโมกข์
ทุกวันธรรมสวนะ แต่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ลดการสวดพระปาติโมกข์เหลือเดือนละ
๒ ครั้ง คือ วันขึ้น ๑๕ ค่าและแรม ๑๕ หรือ ๑๔ ค่า ในเดือนขาด เรียกว่า วันอุโบสถ หรือ
วันพระใหญ่สาหรับในประเทศไทย วันธรรมสวนะหรือวันพระ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามหลักฐาน
ที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหงหลักที่ ๑ ความว่า “พ่อขุนรามคาแหง เจ้าเมือง
ศรีสัชชนาลัย สุโขทัย ปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า จึงให้ช่างฟันขดานหิน ตั้งหว่างกลางไม้
ตาลนี้ วันเดือนดับ เดือนโอก แปดวัน วันเดือนเต็มเดือนบ้าง แปดวัน ฝูงปู่ครู มหาเถร
ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูดธรรมแก่อุบาสก ฝูงท่วยจาศีล” และยังถือปฏิบัติมาจนกระทั่ง
ปัจจุบัน คือ กาหนดวันธรรมสวนะ เดือนละ ๔ วัน เหมือนสมัยสุโขทัย คือ วันขึ้นและแรม ๘ ค่า
๑๕ ค่า หรือแรม ๑๔ ค่า ในเดือนขาด
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เห็นความสาคัญของพระพุทธศาสนา
จึงได้ประกาศให้วันพระและวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ ซึ่งใช้ถือปฏิบัติอยู่ระยะหนึ่ง
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ประกาศให้วันเสาร์และวันอาทิตย์เป็นหยุดราชการตามหลักสากล
อย่างไรก็ตาม วันธรรมสวนะหรือวันพระ คงยังเป็นวันสาคัญสาหรับพุทธศาสนิกชนชาวไทย
จนถึงปัจจุบัน
วันโกน
วันโกน คือ วันพระภิกษุสงฆ์ปลงผม (โกนผม) รวมถึงโกนคิ้วด้วย (เฉพาะพระสงฆ์ไทย)
เป็นวันก่อนวันพระ ๑ วัน เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๗ ค่า ๑๔ ค่า และวันแรม ๗ ค่า
๑๔ ค่า หรือแรม ๑๓ ค่า ในเดือนขาด วันโกนดังกล่าวมานี้ ถือตามกาหนดวันโกนผมของ
พระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ บางท้องถิ่นยังถือปฏิบัติอยู่บ้าง แต่มีจานวนน้อย ปัจจุบันกาหนด
เพียงวันขึ้น ๑๔ ค่า เป็นวันโกนเพียงวันเดียว เดิมวันโกนเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่า วันรุ่งขึ้นจะ
เป็นวันพระ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนจะได้เตรียมตัวไปทาบุญในวันรุ่งขึ้น เพราะสมัยโบราณ
ปฏิทินเป็นของหายาก

วันธรรมสวนะ

วันธรรมสวนะ
วันธรรมสวนะ แปลว่า วันฟังธรรม หรือรู้จักกันโดยทั่วไปว่า วันพระ คือ วันประเสริฐ
พุทธศาสนิกชนกาหนดว่า เป็นวันประชุมทาบุญ สมาทานศีล ฟังพระธรรมเทศนา มักเรียกว่า
ไปวัดทาบุญฟังเทศน์ วันธรรมสวนะหรือวันพระ ตามประเพณีไทย คือ วันตรงกับวันขึ้น ๘ ค่า
ขึ้น ๑๕ ค่า แรม ๘ ค่า และแรม ๑๕ ค่า หรือแรม ๑๔ ค่า ในเดือนขาด (เดือนทางจันทรคติ)
ในเดือนหนึ่งจะมีวันพระ ๔ วัน

การจัดพิธีตักบาตรเทโวโรหณะ

การจัดพิธีตักบาตรเทโวโรหณะ
การจัดพิธีตักบาตรเทโวโรหณะในประเทศไทย จัดกันมาแต่โบราณ โดยจาลองเหตุการณ์
วันเทโวโรหณะ ถ้าวัดใดอยู่ใกล้ภูขา มีอุโบสถ วิหาร หรือสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ
อยู่บนยอดเขา และมีบันไดหรือทางเดินสาหรับขึ้นลงเขา จะจัดพิธีโดยอัญเชิญพระพุทธรูป
ลงมาจากยอดเขา นาหน้าแถวพระภิกษุสงฆ์ ส่วนประชาชนที่มาตักบาตร จะยืนหรือนั่งหันหน้า
เข้าหากัน โดยเว้นระหว่างกลางไว้ สาหรับพระภิกษุสงฆ์เดินรับบิณฑบาต ส่วนสิ่งของที่นามา
ตักบาตร ก็อาจแตกต่างกันบ้าง ซึ่งในเมืองนิยมใช้อาหารแห้ง ส่วนในชนบทนิยมอาหารสด
เป็นไปตามศรัทธา
พิธีตักบาตรเทโวโรหณะ จัดเป็นงานประเพณีประจาจังหวัด คือ พิธีตักบาตรเทโวโรหณะ
ณ วัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสะแกกรัง มีบันไดทอดลงจากยอดเขา
ถึงพื้นราบจานวน ๔๙๙ ขั้น ส่วนทางภาคใต้ จะมีพิธีชักพระ ทั้งทางบกและทางน้า โดยทาง
บก พุทธศาสนิกชนจะประดับตกแต่งรถทรง ด้วยราชวัตรฉัตรธงอย่างสวยงาม อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐาน ช่วยกันชักหรือลากไปตามถนน เพื่อให้ประชาชนสักการะและ
ทาบุญ ส่วนทางน้าก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่ใช้เรือแห่ไปตามแม่น้าลาคลองเท่านั้น สาหรับที่
จังหวัดอุทัยธานี เดิมก็จัดในลักษณะเป็นประเพณีท้องถิ่น ต่อมาได้รับการสนับสนุนการจัดงาน
จากภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันเป็นงานมีชื่อเสียงเป็นที่รู้กันทั่วไป แต่ละปีมีผู้ไปร่วมพิธีเป็น
จานวนมาก เพราะสถานที่สวยงาม เหมาะสม สร้างศรัทธาให้แก่ผู้ไปร่วมพิธีเป็นอย่างดี
พิธีดังกล่าวจัดวันแรม ๑ ค่า เดือน ๑๑ ทุกปี
ระเบียบพิธีตักบาตรเทโวโรหณะ
ก่อนวันแรม ๑ ค่าเดือน ๑๑ เป็นกาหนดพิธีตักบาตรเทโวโรหณะ ทางวัดจะ
จัดเตรียม คือ
๑. พระพุทธรูปยืน ๑ องค์ ขนาดพอสมควร ประดิษฐานบนรถทรงหรือคานหาม
สาหรับชักหรือหามนาหน้าพระสงฆ์เวลารับบิณฑบาต ประดับด้วยดอกไม้ราชวัตรฉัตรธง
ตามความเหมาะสม มีที่ตั้งบาตรตรงหน้าพระพุทธรูปด้วย ถ้าพระพุทธรูปเป็นปางอุ้มบาตร
ก็จะเหมาะกับพิธีถ้าไม่มี จะใช้ปางอื่นก็ได้ แต่ควรเป็นพระพุทธรูปยืน
๒. เตรียมสถานที่สาหรับทายกทายิกาตั้งของนามาตักบาตร โดยจะจัดบริเวณรอบ
อุโบสถ ลานวัดหรือบันไดลงจากภูเขา ตามความเหมาะสมของแต่ละวัด
๓. แจ้งกาหนดการพิธีให้ทายกทายิกาทราบล่วงหน้า
สาหรับทายกทายิกาผู้มีศรัทธาทาบุญตักบาตรเทโวโรหณะ เมื่อทราบกาหนดการ
จากทางวัดแล้ว ควรเตรียมการ ดังนี้
๑. เตรียมภัตตาหารหรือสิ่งของสาหรับตักบาตร ตามกาลังศรัทธา นอกจากอาหาร
หวานคาวสาหรับตักบาตรแล้ว มีสิ่งเป็นสัญลักษณ์ของพิธี คือ ข้าวต้มลูกโยน ปัจจุบันมีน้อยมาก
๒. ถึงกาหนดวันตักบาตร นาเครื่องตักบาตรไปจัดตั้งตามสถานที่ทางวัดจัดให้
๓. เมื่อตักบาตรเสร็จแล้ว เป็นอันเสร็จพิธี
บางวัดให้มีพิธีสมาทานศีลก่อน จากนั้นพระภิกษุสามเณรสวดถวายพรพระ อนุโมทนา
ยะถา สัพพี จบแล้ว จึงรับอาหารบิณฑบาต

ความเป็นมาของวันเทโวโรหณะ

ความเป็นมาของวันเทโวโรหณะ
ลุถึงพรรษาที่ ๗ แต่วันตรัสรู้ ในวันเพ็ญเดือน ๘ เวลาบ่าย พระพุทธเจ้าทรงแสดง
ยมกปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์แสดงเป็นคู่) ณ ต้นมะม่วงในเมืองสาวัตถี เพื่อปราบมานะของ
พวกเดียรถีย์ นับเป็นความอัศจรรย์ยิ่ง ทาให้มหาชนได้ทราบถึงพระพุทธานุภาพอย่างถ่องแท้
วันรุ่งขึ้นจากวันแสดงยมกปาฏิหาริย์เป็นวันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่า
เดือน ๘ พระพุทธเจ้าทรงประกาศแก่พุทธบริษัทว่า พระองค์จะขึ้นไปอยู่จาพรรษาในสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ ตามธรรมเนียมของอดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นที่อาลัยแก่พุทธบริษัทที่ชุมนุม
อยู่ในสถานที่นั้น พระองค์เสด็จพระพุทธดาเนินไปยังดาวดึงส์พิภพ ประทับนั่งเหนือ
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ภายใต้ต้นปาริฉัตร เมื่อเทวดาทั้งหลายและสิริมหามายาเทพบุตร
พุทธมารดามาพร้อมกันแล้ว ทรงยกพระมารดาให้เป็นประธานแห่งเทพบริษัททั้งปวง
ตรัสเทศนาพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ประกอบด้วย สังคิณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ
กถาวัตถุ ยมกและมหาปัฏฐาน เป็นเวลา ๓ เดือนติดต่อกัน โดยมิได้หยุดพัก เมื่อจบ
พระธรรมเทศนา สิริมหามายาเทพบุตรพุทธมารดา บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคล
ในพระพุทธศาสนา และเทวดาทั้งหลายได้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่ตน ๆ
เมื่อเหลืออยู่ ๗ วัน จะถึงวันปวารณาออกพรรษา มหาชนพากันเข้าไปหาพระโมค-
คัลลานะ กราบเรียนถามถึงวันเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า พระโมคคัลลานะ
แสดงฤทธิ์เหาะขึ้นไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามถึงวัน เวลา และสถานที่ ในการเสด็จลงจาก
เทวโลก พระพุทธเจ้าตรัสแจ้งแก่พระโมลคัลลานะ เพื่อนาความไปบอกแก่มหาชนว่า พระองค์
จะเสด็จลงจากเทวโลก ในวันปวารณาขึ้น ๑๕ ค่าเดือน ๑๑ ใกล้ประตูเมืองสังกัสสะ เมื่อท้าว
สักกเทวราชทรงทราบ ในวันเสด็จลงจากเทวโลก จึงเนรมิตบันไดทิพย์ ๓ บันได คือ บันไดทอง
อยู่เบื้องขวา ให้เทวดาทั้งหลายลง บันไดเงินอยู่เบื้องซ้าย ให้หมู่พรหมทั้งหลายลง และบันไดแก้ว
อยู่ตรงกลาง เป็นที่เสด็จลงของพระพุทธเจ้า เชิงบันไดทั้ง ๓ ตั้งลงใกล้ประตูเมืองสังกัสสะสถานที่นั้นได้ชื่อว่า อจลเจดีย์ ส่วนหัวบันไดเบื้องบนจรดยอดเขาสิเนรุ เป็นที่ตั้งของสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์
ขณะพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกสู่ภพมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ
ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวดาและมนุษย์ถวายการบูชาสักการะอย่างมโหฬาร พระองค์ทรง
แสดงวิวรณปาฏิหาริย์ ให้เทวดามนุษย์และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกันตลอด ๓ โลก
การลงโทษในเมืองนรกหยุดชั่วคราวในวันนี้ ดังนั้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้า
เปิดโลก
เช้าวันรุ่งขึ้น พุทธบริษัทพร้อมใจกันทาบุญตักบาตร ด้วยเสบียงสาหรับบริโภคของ
ตน ๆ ถวายพระสงฆ์ทั้งหมดที่อยู่ในที่นั้น มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน โดยมิได้นัดหมายกัน
ปรากฏว่า การทาบุญตักบาตรในวันนั้น ผู้คนแออัดมาก จึงเอาข้าวสาลีของตนห่อบ้าง ทาเป็น
ปั้น ๆ บ้าง โยนเข้าไปถวายพระ เป็นต้นเหตุให้คนสมัยก่อน นิยมทาข้าวต้มลูกโยนเป็นส่วน
สาคัญในการตักบาตรเทโวโรหณะ ปัจจุบันการทาข้าวต้มลูกโยน ยังพอมีอยู่บ้างในชนบท
แต่ในส่วนกลางหรือในตัวเมืองเลือนหายไปมากแล้ว เพราะขาดอุปกรณ์และผู้มีความรู้
ในการทาข้ามต้มลูกโยน แต่ใช้สิ่งของที่หาได้สะดวกไปตักบาตรแทน ถึงอย่างไร พิธีตักบาตร
เทโวโรหณะ ก็ยังเป็นที่รู้จักและนิยมจัดกันแทบทุกวัด โดยถือเป็นประเพณีสาคัญอย่างหนึ่ง

วันเทโวโรหณะ

วันเทโวโรหณะ
เทโวโรหณะ แปลว่า การลงจากเทวโลก หมายถึง วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจาก
เทวโลกหลังจากเสด็จไปจาพรรษาที่ ๗ ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และ
แสดงพระอภิธรรม โปรดพระพุทธมารดาตลอด ๓ เดือน ออกพรรษาแล้ว เสด็จกลับลงมายัง
มนุษยโลกโดยบันไดสวรรค์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ เมืองสาวัตถี เมื่อวันเพ็ญเดือน ๑๑จึงเรียกว่า วันเทโวโรหณะ ในวันนั้นพระพุทธองค์แสดงวิวรณปาฏิหาริย์บันดาลให้โลกสวรรค์
มนุษย์และสัตว์นรกมองเห็นกัน จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก วันรุ่งขึ้นเป็น
วันแรม ๑ ค่า เดือน ๑๑ จึงมีการทาบุญตักบาตรเทโวโรหณะเป็นการใหญ่ เพื่อเฉลิมฉลองวัน
เสด็จกลับลงมาจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า บางแห่งเรียก ตักบาตรดาวดึงส์ เรียกย่อ ๆ ว่า
ตักบาตรเทโว

ประโยชน์ของวันออกพรรษา

ประโยชน์ของวันออกพรรษา
๑. พระภิกษุสงฆ์ได้รับอานิสงส์การจาพรรษา ๕ ประการ
๒. พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปค้างแรมในสถานที่อื่นได้
๓. พระภิกษุสงฆ์ได้นาความรู้จากการศึกษาปฏิบัติธรรมไปสั่งสอนประชาชนดีขึ้น
๔. พระภิกษุสงฆ์ได้ทาปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนสหธรรมิกว่ากล่าวตักเตือนกันได้
๕. พุทธศาสนิกชนได้แบบอย่างการปวารณา นาไปใช้ในชีวิตประจาวัน และมีโอกาส
เข้าวัดทาบุญ สมาทานศีล ฟังธรรม เจริญจิตภาวนา

ความเป็นมาของการปวารณา

ความเป็นมาของการปวารณา
เมื่อพระพุทธเจ้าประทับจาพรรษา ณ พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี มีพระภิกษุ
กลุ่มหนึ่งแยกย้ายกันจาพรรษา ณ อารามรอบ ๆ พระนคร พระภิกษุเหล่านั้นมีความคิดว่า
เพื่อไม่ให้เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นระหว่างกัน สมควรจะปฏิบัติมูควัตร คือ การตั้งปฏิญาณ
ไม่พูดจากันตลอดพรรษา เมื่อออกพรรษาแล้ว พระภิกษุเหล่านั้นพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่
พระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องการปฏิบัติมูควัตรให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตาหนิว่า
เป็นการอยู่ร่วมกันเหมือนปศุสัตว์ แล้วทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ทาปวารณาต่อกันว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จาพรรษาแล้ว ปวารณาต่อกันใน ๓ ฐานะ คือ
ด้วยการได้เห็น ด้วยการได้ยิน หรือด้วยการรังเกียจสงสัย ดังนั้น วันออกพรรษา จึงได้ชื่ออีก
อย่างหนึ่งว่า วันปวารณา