ความเป็นมาของวันเทโวโรหณะ
ลุถึงพรรษาที่ ๗ แต่วันตรัสรู้ ในวันเพ็ญเดือน ๘ เวลาบ่าย พระพุทธเจ้าทรงแสดง
ยมกปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์แสดงเป็นคู่) ณ ต้นมะม่วงในเมืองสาวัตถี เพื่อปราบมานะของ
พวกเดียรถีย์ นับเป็นความอัศจรรย์ยิ่ง ทาให้มหาชนได้ทราบถึงพระพุทธานุภาพอย่างถ่องแท้
วันรุ่งขึ้นจากวันแสดงยมกปาฏิหาริย์เป็นวันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่า
เดือน ๘ พระพุทธเจ้าทรงประกาศแก่พุทธบริษัทว่า พระองค์จะขึ้นไปอยู่จาพรรษาในสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ ตามธรรมเนียมของอดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นที่อาลัยแก่พุทธบริษัทที่ชุมนุม
อยู่ในสถานที่นั้น พระองค์เสด็จพระพุทธดาเนินไปยังดาวดึงส์พิภพ ประทับนั่งเหนือ
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ภายใต้ต้นปาริฉัตร เมื่อเทวดาทั้งหลายและสิริมหามายาเทพบุตร
พุทธมารดามาพร้อมกันแล้ว ทรงยกพระมารดาให้เป็นประธานแห่งเทพบริษัททั้งปวง
ตรัสเทศนาพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ประกอบด้วย สังคิณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ
กถาวัตถุ ยมกและมหาปัฏฐาน เป็นเวลา ๓ เดือนติดต่อกัน โดยมิได้หยุดพัก เมื่อจบ
พระธรรมเทศนา สิริมหามายาเทพบุตรพุทธมารดา บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคล
ในพระพุทธศาสนา และเทวดาทั้งหลายได้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่ตน ๆ
เมื่อเหลืออยู่ ๗ วัน จะถึงวันปวารณาออกพรรษา มหาชนพากันเข้าไปหาพระโมค-
คัลลานะ กราบเรียนถามถึงวันเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า พระโมคคัลลานะ
แสดงฤทธิ์เหาะขึ้นไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามถึงวัน เวลา และสถานที่ ในการเสด็จลงจาก
เทวโลก พระพุทธเจ้าตรัสแจ้งแก่พระโมลคัลลานะ เพื่อนาความไปบอกแก่มหาชนว่า พระองค์
จะเสด็จลงจากเทวโลก ในวันปวารณาขึ้น ๑๕ ค่าเดือน ๑๑ ใกล้ประตูเมืองสังกัสสะ เมื่อท้าว
สักกเทวราชทรงทราบ ในวันเสด็จลงจากเทวโลก จึงเนรมิตบันไดทิพย์ ๓ บันได คือ บันไดทอง
อยู่เบื้องขวา ให้เทวดาทั้งหลายลง บันไดเงินอยู่เบื้องซ้าย ให้หมู่พรหมทั้งหลายลง และบันไดแก้ว
อยู่ตรงกลาง เป็นที่เสด็จลงของพระพุทธเจ้า เชิงบันไดทั้ง ๓ ตั้งลงใกล้ประตูเมืองสังกัสสะสถานที่นั้นได้ชื่อว่า อจลเจดีย์ ส่วนหัวบันไดเบื้องบนจรดยอดเขาสิเนรุ เป็นที่ตั้งของสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์
ขณะพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกสู่ภพมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ
ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวดาและมนุษย์ถวายการบูชาสักการะอย่างมโหฬาร พระองค์ทรง
แสดงวิวรณปาฏิหาริย์ ให้เทวดามนุษย์และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกันตลอด ๓ โลก
การลงโทษในเมืองนรกหยุดชั่วคราวในวันนี้ ดังนั้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้า
เปิดโลก
เช้าวันรุ่งขึ้น พุทธบริษัทพร้อมใจกันทาบุญตักบาตร ด้วยเสบียงสาหรับบริโภคของ
ตน ๆ ถวายพระสงฆ์ทั้งหมดที่อยู่ในที่นั้น มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน โดยมิได้นัดหมายกัน
ปรากฏว่า การทาบุญตักบาตรในวันนั้น ผู้คนแออัดมาก จึงเอาข้าวสาลีของตนห่อบ้าง ทาเป็น
ปั้น ๆ บ้าง โยนเข้าไปถวายพระ เป็นต้นเหตุให้คนสมัยก่อน นิยมทาข้าวต้มลูกโยนเป็นส่วน
สาคัญในการตักบาตรเทโวโรหณะ ปัจจุบันการทาข้าวต้มลูกโยน ยังพอมีอยู่บ้างในชนบท
แต่ในส่วนกลางหรือในตัวเมืองเลือนหายไปมากแล้ว เพราะขาดอุปกรณ์และผู้มีความรู้
ในการทาข้ามต้มลูกโยน แต่ใช้สิ่งของที่หาได้สะดวกไปตักบาตรแทน ถึงอย่างไร พิธีตักบาตร
เทโวโรหณะ ก็ยังเป็นที่รู้จักและนิยมจัดกันแทบทุกวัด โดยถือเป็นประเพณีสาคัญอย่างหนึ่ง
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น