หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2543
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2543
ปัญหาและเฉลยธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
------------------------------
๑.
๑.๑
ปริเยสนา ๒ อย่างตามความในพระสูตรท่านแสดงไว้อย่างไร ?
๑.๒
ภิกษุควรแสวงหาเลี้ยงชีพอย่างไรจึงเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ ?
๑.
๑.๑
แสดงว่า แสวงหาสิ่งอันมิใช่ของมีชรา พยาธิ มรณะ โสกะและสังกิเลส เป็นธรรมดา คือธรรมอันเกษมมีพระนิพพานเป็นอย่างสูง จัดเป็นอริย ปริเยสนา แสวงหาสิ่งอันมีชรา พยาธิ มรณะ โสกะและสังกิเลสเป็นธรรมดา ทั้งที่สภาพเช่นนั้นก็มีในตนอยู่พร้อมแล้ว จัดเป็นอนริยปริเยสนา
๑.๒
ภิกษุแสวงหาเลี้ยงชีพโดยอุบายอันสมควร ทั้งไม่เป็นโลกวัชชะมีโทษทางโลกและไม่เป็นปัณณัตติวัชชะ มีโทษทางพระบัญญัติ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนและผู้อื่นจึงจะเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ
๒.
๒.๑
ปรีชาหยั่งรู้อะไรจัดเป็นกิจจญาณ ?
๒.๒
สิกขาคืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๒.
๒.๑
ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยเป็นสภาพที่ควรละเสีย ทุกขนิโรธเป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นธรรมชาติที่ควรทำให้เกิด จัดเป็นกิจจญาณ
๒.๒
ปฏิปทาที่ตั้งไว้เพื่อศึกษา คือฝึกหัดไตรทวารไปตาม ชื่อว่าสิกขา มี ๓ อย่างคือ อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลยิ่ง ๑ อธิจิตตสิกขา สิกขาคือจิตยิ่ง ๑
อธิปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญายิ่ง ๑
๓.
๓.๑
อัปปมัญญา ๔ กับพรหมวิหาร ๔ ต่างกันอย่างไร ?
๓.๒
อะไรเรียกว่า อริยวงศ์ ? แจกออกเป็นเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๓.
๓.๑
ต่างกันอย่างนี้คือ อัปปมัญญาได้แก่การแผ่โดยไม่เจาะจงตัว และไม่มีจำกัด ส่วนพรหมวิหารได้แก่การแผ่โดยเจาะจงตัว หรือโดยไม่เจาะจงตัวแต่ยังจำกัดมุ่งเอาหมู่นี้หมู่นั้น
๓.๒
ปฏิปทาของพระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะเรียกว่า อริยวงศ์ แจกออกเป็น ๔ คือ
๑) สันโดษด้วยจีวรตามมีตามเกิด
๒) สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามเกิด
๓) สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามเกิด
๔) ยินดีในการเจริญกุศลและในการละอกุศล
๔.
๔.๑
อุปาทานคืออะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
๔.๒
กำเนิด ๔ มีอะไรบ้าง ?
๔.
๔.๑
คือการถือมั่นข้างเลว ได้แก่การถือรั้น มี ๔ คือ
กามุปาทาน ถือมั่นในกาม ๑ ทิฏฐุปาทาน ถือมั่นทิฏฐิ ๑
สีลัพพตุปาทาน ถือมั่นศีลพรต ๑ อัตตวาทุปาทาน ถือมั่นวาทะ
ว่าตน ๑
๔.๒
คือ
ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ ๑ อัณฑชะ เกิดในไข่ ๑
สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ๑ โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น ๑
๕.
๕.๑
การสำรวมระวังปิดกั้นอกุศลเรียกว่าอะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๕.๒
สติสังวร สำรวมด้วยสตินั้น มีอธิบายอย่างไร ?
๕.
๕.๑
เรียกว่า สังวร มี ๕ คือ
๑) สีลสังวร สำรวมด้วยศีล
๒) สติสังวร สำรวมด้วยสติ
๓) ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ
๔) ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ
๕) วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร
๕.๒
มีอธิบายว่า สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้นระวังรักษามิให้อกุศลธรรมเข้า ครอบงำ เมื่อเห็นรูปเป็นต้น ทั้งมีสติไม่ฟั่นเฟือนลืมหลง ระลึกได้ก่อนแต่ทำ พูด คิด ไม่ให้ผิดทางกาย วาจา ใจ ไม่ประมาทหลงทำกรรมชั่ว
๖.
๖.๑
ทำไมท่านจึงเปรียบวิสุทธิ ๗ เหมือนรถ ๗ ผลัด ?
๖.๒
อะไรจัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ?
๖.
๖.๑
เพราะวิสุทธิ ๗ นี้ เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุพระนิพพาน ท่านจึงเปรียบเหมือนรถ ๗ ผลัดต่างส่งต่อซึ่งคนผู้ไปให้ถึงสถานที่ปรารถนา
๖.๒
วิปัสสนาญาณ ๙ จัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
๗.
จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้
๗.๑
ภควา ๗.๒ โอปนยิโก
๗.
๗.๑
ภควา คือพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้มีโชค คือจะทรงทำการใด ก็ ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ อีกอย่างหนึ่งเป็นผู้จำแนกแจกธรรม
๗.๒
โอปนยิโก คือพระธรรมมีคุณควรน้อมเข้ามาในใจของตนหรือควรน้อมใจเข้าไปหาพระธรรมนั้นด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ
๘.
๘.๑
บารมีคืออะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
๘.๒
สังโยชน์อะไรเรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ ? มีอะไรบ้าง ?
๘.
๘.๑
คือคุณสมบัติหรือปฏิปทาอันยวดยิ่ง
มี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ๑ ศีล ๑ เนกขัมมะ ๑ ปัญญา ๑ วิริยะ ๑
ขันติ ๑ สัจจะ ๑ อธิษฐาน ๑ เมตตา ๑ อุเบกขา ๑
๘.๒
สังโยชน์เบื้องต่ำคืออย่างหยาบเรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ มี ๕ อย่างคือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามราคะ ๑ ปฏิฆะ ๑
๙.
จงอธิบายคำต่อไปนี้
๙.๑
มิจฉาสมาธิ ๙.๒ สัมมาสมาธิ
๙.
๙.๑
มิจฉาสมาธิ คือการตั้งจิตไว้ผิด โดยนำสมาธิที่ได้นั้นไปใช้ในผิดทาง เช่น สะกดจิตในทางหาลาภให้แก่ตนเอง ในทางหาผลประโยชน์ ทำให้ผู้อื่นหลงงมงายในวิชาความรู้ ในทางให้ร้ายผู้อื่นและในทางนำให้หลง
๙.๒
สัมมาสมาธิ คือการตั้งจิตไว้ชอบในองค์ฌาน ๔ หรือมีนัยตรงกันข้ามกับ มิจฉาสมาธิข้างต้น
๑๐.
๑๐.๑
ธุดงค์ ๑๓ ท่านกล่าวว่า เป็นวัตรจริยาพิเศษอย่างหนึ่งไม่ใช่ศีลนั้น
คืออย่างไร ?
๑๐.๒
ธุดงค์นั้น ท่านบัญญัติไว้เพื่ออะไร ?
๑๐.
๑๐.๑
คือการสมาทานหรือข้อที่ถือปฏิบัติจำเพาะผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติไม่มีโทษ มีแต่ให้คุณแก่ผู้ถือปฏิบัติ
๑๐.๒
เพื่อเป็นอุบายบรรเทาขัดเกลาและกำจัดกิเลส เป็นไปเพื่อความมักน้อยและสันโดษ เป็นต้น
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2545
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2545
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕
๑. ๑.๑ ปฏิสันถาร คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
๑.๒ มีประโยชน์แก่ผู้ทำอย่างไรบ้าง ?
๑. ๑.๑ คือการต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่น ฯ มี ๒ อย่าง
๑) อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ
๒) ธัมมปฏิสันถาร ต้อนรับโดยธรรม ฯ
๑.๒ อย่างนี้ คือ
๑) เป็นอุบายสร้างความสามัคคีและยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน
๒) เป็นการรักษาไมตรีจิตระหว่างกันและกันให้มั่นคงยิ่งขึ้น ฯ
๒. ๒.๑ วิมุตติคืออะไร ? วิมุตติ ๒ อย่าง มีอะไรบ้าง ?
๒.๒ วิมุตติ ๒ กับวิมุตติ ๕ จัดเป็นโลกิยะและโลกุตตระอย่างไร ?
๒. ๒.๑ คือความหลุดพ้น มี
๑) เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ
๒) ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา ฯ
๒.๒ วิมุตติ ๒ เป็นโลกุตตระอย่างเดียว
ส่วนวิมุตติ ๕ เป็นได้ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ฯ
๓. ๓.๑ ความเห็นว่า "ถึงคราวเคราะห์ดีก็ดีเอง ถึงคราวเคราะห์ร้ายก็ร้ายเอง" อย่างนี้
เป็นทิฏฐิอะไร ? จงอธิบาย
๓.๒ คติทางพระพุทธศาสนาต่างจากความเห็นนี้อย่างไร ?
๓. ๓.๑ เป็นอเหตุกทิฏฐิ คือเห็นว่า สิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย คนเราจะได้ดีหรือได้ร้าย
ตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดีก็ดีเอง ถึงคราวจะร้ายก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุปัจจัยอื่น ฯ
๓.๒ พระพุทธศาสนาถือว่าสังขตธรรมทั้งปวงเกิดแต่เหตุ ฯ
๔. ๔.๑ อาหารของสัตว์นรก และเปรต คืออะไร ?
๔.๒ คนจำพวกไหนเปรียบเหมือนอสุรกาย ในอบาย ๔ ?
๔. ๔.๑ อาหารของสัตว์นรกคือกรรม ส่วนของเปรตคือกรรมและผลทานที่ญาติมิตร
ทำบุญอุทิศให้ ฯ
๔.๒ คนลอบทำโจรกรรม หลอกลวงฉกชิงเอาทรัพย์ของผู้อื่น เปรียบเหมือนอสุรกาย ฯ
๕. ๕.๑ กุลมัจฉริยะ ตระหนี่ตระกูล คืออย่างไร ?
๕.๒ ครูสอนศิษย์ ปิดบังอำพรางความรู้ ไม่บอกให้สิ้นเชิง จัดเข้าในมัจฉริยะข้อไหน ?
๕. ๕.๑ คือหวงแหนตระกูลไม่ยอมให้ตระกูลอื่นมาเกี่ยวดองด้วย ถ้าเป็นบรรพชิตก็
หวงอุปัฏฐาก ไม่พอใจให้ไปบำรุงภิกษุอื่น ฯ
๕.๒ ธัมมมัจฉริยะ
๖. ๖.๑ ญาณ ๓ ที่เป็นไปในจตุราริยสัจ มีอะไรบ้าง ?
๖.๒ ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสมุทัยมีอธิบายอย่างไร ?
๖. ๖.๑ ๑) สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
๒) กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ
๓) กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว ฯ
๖.๒ ๑) ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย จัดเป็นสัจจญาณ
๒) ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสมุทัย เป็นสภาพที่ควรละเสีย จัดเป็นกิจจญาณ
๓) ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสมุทัยที่ควรละๆ ได้แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
๗. ๗.๑ วิญญาณฐิติต่างจากสัตตาวาสอย่างไร ?
๗.๒ สัญญาเวทยิตนิโรธกับนิโรธสมาบัติต่างกันหรือเหมือนกัน ?
๗. ๗.๑ ต่างกันอย่างนี้ ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณเรียกว่า วิญญาณฐิติ
ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์ เรียกว่า สัตตาวาส ฯ
๗.๒ ต่างกันโดยพยัญชนะ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน คือท่านผู้เข้าถึงสมาบัติ
ชนิดนี้แล้วย่อมไม่มีสัญญาและเวทนา ฯ
๘. ๘.๑ ในพระพุทธคุณ บทว่า อรหํ ที่แปลว่า เป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักรนั้น กำแห่ง
สังสารจักร ได้แก่อะไร ?
๘.๒ พระพุทธคุณต่อไปนี้มีคำแปลว่าอย่างไร ?
ก) สุคโต
ข) อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
๘. ๘.๑ ได้แก่อวิชชา ตัณหา อุปาทานและกรรม ฯ
๘.๒ ก) เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
ข) เป็นสารถีแห่งบุรุษพึงฝึกได้ ไม่มีบุรุษอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
๙. ๙.๑ ในกรรม ๑๒ กรรมที่ให้ผลตามลำดับ ได้แก่กรรมอะไรบ้าง ?
๙.๒ อุปฆาตกกรรม มีอธิบายอย่างไร ?
๙. ๙.๑ ได้แก่
๑) ครุกรรม กรรมหนัก
๒) พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมชิน
๓) อาสันนกรรม กรรมเมื่อจวนเจียน
๔) กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ ฯ
๙.๒ อุปฆาตกกรรมเป็นกรรมที่แรง ซึ่งตรงกันข้ามกับชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม
เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้นให้ขาดไปเสียทีเดียว เช่น เกิดใน
ตระกูลสูงมั่งคั่ง แต่อายุสั้น เป็นต้น ฯ
๑๐. ๑๐.๑ ในธุดงค์ ๑๓ นั้น ธุดงค์ที่ถือได้เฉพาะกาลมีอะไรบ้าง ?
๑๐.๒ การถือธุดงค์ ย่อมสำเร็จด้วยอาการอย่างไร ?
๑๐. ๑๐.๑ ๑) รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร
๒) อัพโภกาสิกังคะ ถืออยู่ในที่แจ้งๆ เป็นวัตร ฯ
๑๐.๒ สำเร็จด้วยการสมาทาน คือด้วยอธิษฐานใจหรือแม้ด้วยเปล่งวาจา ฯ
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2546
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2546
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
๑.
๑.๑
เทสนา ๒ มีอะไรบ้าง ?
๑.๒
เทสนา ๒ อย่างนั้นต่างกันอย่างไร จงอธิบาย ?
๑.
๑.๑
มี ปุคคลาธิฏฐานา มีบุคคลเป็นที่ตั้ง ๑ ธัมมาธิฏฐานา มีธรรมเป็น
ที่ตั้ง ๑ ฯ
๑.๒
ต่างกันอย่างนี้
การสอนที่ยกบุคคลมาเป็นตัวอย่าง เช่น ในมหาชนกชาดก สอนเรื่องความเพียร โดยกล่าวถึงพระมหาชนกโพธิสัตว์ว่า ทรงมีความเพียรอย่างยิ่ง พยายามว่ายน้ำในท่ามกลางมหาสมุทรที่กว้างใหญ่มองไม่เห็นฝั่งอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยความุ่งมั่นที่จะถึงฝั่งให้ได้ เป็น ปุคคลาธิฏฐานา ฯ
ส่วนการยกธรรมแต่ละข้อมาอธิบายความหมายอย่างเดียว เช่น สติ แปลว่า ความระลึกได้ หมายความว่า ก่อนจะทำ ก่อนจะพูดอะไร ต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อน จึงทำ จึงพูดออกไป เป็นต้น เป็น ธัมมาธิฏฐานา ฯ
๒.
๒.๑
ญาณ ๓ ที่เป็นไปในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ?
๒.๒
ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขนิโรธ มีอธิบายอย่างไร ?
๒.
๒.๑
มี ๑) สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
๒) กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ
๓) กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว ฯ
๒.๒
มีอธิบายอย่างนี้
๑) ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธ จัดเป็นสัจจญาณ
๒) ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธ เป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง
จัดเป็นกิจจญาณ
๓) ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธ เป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง
ทำให้แจ้งแล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
๓.
๓.๑
คำว่า “ โสดาบัน ” แปลว่าอะไร ?
๓.๒
พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันนี้ ท่านละกิเลสอะไรได้ขาดบ้าง ?
๓.
๓.๑
โสดาบัน แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา จะต้องตรัสรู้ในภายภาคหน้า ฯ
๓.๒
ท่านละสังโยชน์ได้ขาด ๓ อย่าง คือ
๑) สักกายทิฏฐิ
๒) วิจิกิจฉา
๓) สีลัพพตปรามาส ฯ
๔.
๔.๑
ในอปัสเสนธรรม ข้อว่า “ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง ” คำว่า
“ ของอย่างหนึ่ง ” ในข้อนี้ได้แก่อะไร ?
๔.๒
ผู้พิจารณาตามข้อ ๔.๑ นั้น ได้ประโยชน์อย่างไร ?
๔.
๔.๑
ได้แก่ ปัจจัย ๔ บุคคล และธรรม เป็นต้น ที่ทำให้เกิดความสบาย ฯ
๔.๒
ได้ประโยชน์อย่างนี้ คือ ทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น ทำกิเลสและอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เสื่อมไป ฯ
๕.
๕.๑
คำว่า ทักขิณา ในทักขิณาวิสุทธินั้น หมายถึงอะไร ?
๕.๒
ทักขิณาจะไม่บริสุทธิ์ และบริสุทธิ์ กำหนดรู้ได้อย่างไร ?
๕.
๕.๑
หมายถึง ของทำบุญ ฯ
๕.๒
กำหนดรู้ได้อย่างนี้
ทั้งทายก ทั้งปฏิคาหกเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ทักขิณานั้น ชื่อว่า
ไม่บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบริสุทธิ์ ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายเดียว
ทั้งสองฝ่ายบริสุทธิ์ ชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย ฯ
๖.
๖.๑
ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่า มาร เพราะเหตุไร ?
๖.๒
กิเลสมาร และมัจจุมาร จัดเข้าในอริยสัจข้อใดได้หรือไม่ ?
เพราะเหตุไร ?
๖.
๖.๑
เพราะบางทีทำความลำบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี ฯ
๖.๒
ได้ ฯ กิเลสมาร จัดเข้าในทุกขสมุทัยสัจ เพราะกิเลสเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มัจจุมาร จัดเข้าในทุกขสัจ เพราะเป็นตัวทุกข์ ฯ
๗.
บุคคลผู้มีปกติต่อไปนี้ จัดเข้าในจริตอะไร ? จะพึงแก้ด้วยธรรมข้อใด ?
๗.๑
ผู้มีปกติรักสวยรักงาม
๗.๒
ผู้มีปกตินึกพล่าน
๗.
๗.๑
จัดเข้าในราคจริต ฯ จะพึงแก้ด้วยเจริญกายคตาสติ หรืออสุภกัมมัฏฐาน ฯ
๗.๒
จัดเข้าในวิตักกจริต ฯ จะพึงแก้ด้วยเพ่งกสิณ หรือเจริญอานาปานสติ ฯ
๘.
๘.๑
พระสงฆ์ ในบทสังฆคุณ ๙ ท่านหมายถึงพระสงฆ์เช่นไร ?
๘.๒
คำว่า “อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง” คือปฏิบัติเช่นไร ?
๘.
๘.๑
หมายถึง พระสาวกผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษ ฯ
๘.๒
คือไม่ปฏิบัติลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ประพฤติตรง ตรงต่อพระศาสดาและเพื่อนสาวกด้วยกัน ไม่อำพรางความในใจ ไม่มีแง่มีงอน ฯ
๙.
จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ?
๙.๑
อโหสิกรรม
๙.๒
กตัตตากรรม
๙.
๙.๑
คือกรรมให้ผลสำเร็จแล้ว เป็นกรรมล่วงคราวแล้วเลิกให้ผล เปรียบเหมือนพืชสิ้นยางแล้ว เพาะไม่ขึ้น ฯ
๙.๒
คือ กรรมสักว่าทำ ได้แก่กรรมอันทำด้วยไม่จงใจ ฯ
๑๐.
๑๐.๑
ปังสุกูลิกังคะ องค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คืออย่างไร ?
๑๐.๒
ธุดงค์ข้อใด ที่ภิกษุสมาทานสำเร็จด้วยอิริยาบถ ๓ คือ ยืน เดิน นั่ง ?
๑๐.
๑๐.๑
คือไม่รับจีวรจากทายก เที่ยวแสวงหาและใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสุกุลมาเย็บย้อมทำจีวรใช้เอง ฯ
๑๐.๒
คือ เนสัชชิกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ถือเฉพาะอิริยาบถ ๓ คือ ยืน เดิน และนั่งเท่านั้น ฯ
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2547
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2547
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๗
๑. วิมุตติ คืออะไร ? ตทังควิมุตติ มีอธิบายอย่างไร ?
๑. คือ ความทำจิตใจให้หลุดพ้นจากกิเลสาสวะ ฯ
มีอธิบายว่า ความพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว เช่นเกิดเหตุเป็นที่ตั้งแห่งสังเวชขึ้น
หายกำหนัดในกาม เกิดเมตตาขึ้น หายโกรธ แต่ความกำหนัดและความโกรธนั้น
ไม่หายทีเดียว ทำในใจถึงอารมณ์งาม ความกำหนัดกลับเกิดขึ้นอีก ทำในใจถึงวัตถุ
แห่งอาฆาต ความโกรธกลับเกิดขึ้นอีก อย่างนี้จัดเป็นตทังควิมุตติ ฯ
๒. สังขารทั้งหลายไม่เป็นอนัตตาหรือ เพราะเหตุไรในธรรมนิยามจึงใช้คำว่า ธรรมทั้งหลาย
เป็นอนัตตา ? จงอธิบาย
๒. สังขารทั้งหลายก็เป็นอนัตตา แต่ที่ใช้คำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา นั้น เพราะ
ธรรมนั้นหมายเอาธรรมคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม สังขตธรรมได้แก่สังขารนั่นเอง
อสังขตธรรมได้แก่วิสังขารคือพระนิพพาน ฯ
๓. ความรู้ชั้นวิปัสสนาภาวนา หมายถึงความรู้อย่างไร ?
๓. หมายถึง ความรู้เท่าทันสภาวธรรมตามความเป็นจริง เห็นอาการแห่งสภาวธรรม
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ซึ่งเรียกว่าสามัญญลักษณะ ฯ
๔. ภิกษุผู้ได้รับการสรรเสริญว่าดำรงอยู่ในอริยวงศ์ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติอย่างไร ? เมื่อ
ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ถูกต้องดีแล้วจะได้รับผลอย่างไร ?
๔. เพราะเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะตามมีตามได้ และยินดีในการเจริญ
กุศลและในการละอกุศล ไม่ยกตนข่มผู้อื่น ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติ ฯ
ย่อมได้รับผลคือความสุขใจและปลอดโปร่งใจเพราะความประพฤติดีปฏิบัติชอบของตน
และไม่ต้องเดือดร้อนใจเพราะความเดือดร้อนเนื่องด้วยการแสวงหาไม่สมควรและ
ประพฤติเสียหายโดยประการต่างๆ ย่อมครอบงำความยินดีและความไม่ยินดีเสียได้
ความยินดีและความไม่ยินดีก็ไม่อาจครอบงำท่านได้ และใครๆ ก็ไม่อาจติเตียนท่านได้ ฯ
๕. วิญญาณกับสัญญา ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?
๕. ทำหน้าที่ต่างกันอย่างนี้คือ วิญญาณทำหน้าที่รู้แจ้งอารมณ์ที่เกิดขึ้น เมื่ออายตนะภายใน
และอายตนะภายนอกมากระทบกัน เช่น เมื่อรูปมากระทบตา เกิดการเห็นขึ้นเป็นต้น
ส่วนสัญญา ทำหน้าที่จำได้หมายรู้เท่านั้น คือหมายรู้ไว้ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบาเป็นต้น ฯ
๖. พระธรรมคุณบทว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ดีแล้ว ที่ว่า ดีแล้ว นั้นมีอธิบายอย่างไร ?
๖. มีอธิบายอย่างนี้คือ ดีทั้งในส่วนปริยัติและดีทั้งในส่วนปฏิเวธ ในส่วนปริยัติ ได้ชื่อว่าดี
เพราะตรัสไม่วิปริต เพราะแสดงข้อปฏิบัติโดยลำดับกัน มีความไพเราะในเบื้องต้น
ท่ามกลาง ที่สุด มีทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง และเพราะประกาศ
พรหมจรรย์อย่างนั้น ส่วนในปฏิเวธนั้น ได้ชื่อว่าดี เพราะปฏิปทากับพระนิพพาน
ย่อมสมควรแก่กันและกัน ฯ
๗. อายตนะภายใน อายตนะภายนอกเป็นต้น ได้ชื่อว่า ปิยรูป สาตรูป เพราะเหตุไร ?
โดยตรง เป็นที่เกิดเป็นที่ดับแห่งกิเลสอะไร ?
๗. เพราะเป็นสภาวะที่รักที่ชื่นใจ ด้วยเพ่งอิฏฐารมณ์เป็นที่ตั้ง ฯ เป็นที่เกิด เป็นที่ดับ
แห่งตัณหา ฯ
๘. อริยบุคคล ๘ ได้แก่ใครบ้าง ? จัดเข้าในพระเสขะและพระอเสขะได้อย่างไร ?
๘. ได้แก่ พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ๑
พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ๑
พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค ๑
พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล ๑
พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค ๑
พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล ๑
พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ๑
พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล ๑ ฯ
จัดเข้าได้อย่างนี้ อริยบุคคล ๗ ประเภทแรก เรียกว่า พระเสขะ อริยบุคคล ๑
ประเภทหลัง เรียกว่า พระอเสขะ ฯ
๙. อัตตกิลมถานุโยค กับ การบำเพ็ญธุดงควัตร ต่างกันอย่างไร ? เตจีวริกังคธุดงค์
หมายความว่าอย่างไร ?
๙. ต่างกันอย่างนี้ อัตตกิลมถานุโยค การทรมานตนให้ลำบากเพื่อให้บาปกรรมหมดไป
เพราะการทรมานนั้น หรือเพื่อบูชาพระเจ้า ซึ่งเมื่อทราบแล้วจะทรงโปรดให้ประสบผล
ที่น่าปรารถนา ส่วนการบำเพ็ญธุดงควัตร บัญญัติขึ้นเพื่อจะให้เป็นอุบายขัดเกลากิเลส
และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
เตจีวริกังคธุดงค์ หมายถึง ธุดงค์ของภิกษุผู้ถือเตจีวริกังคะ ย่อมไม่ใช้จีวรผืนที่ ๔
นุ่งห่มเฉพาะไตรจีวรอันเป็นผ้าอธิษฐาน ฯ
๑๐. คำว่า ทิพพจักษุ คือ ตาทิพย์ ในนิทเทสแห่งวิชชา ๓ หมายถึงเห็นอย่างไร ?
๑๐. หมายถึง การเห็นเหล่าสัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด เลว ดี มีผิวพรรณงาม มีผิวพรรณ
ไม่งาม ได้ดี ตกยาก รู้ชัดว่าเหล่าสัตว์เป็นไปตามกรรม ฯ
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2549
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2549
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
๑. มูลกัมมัฏฐาน คืออะไร ? เจริญอย่างไรเป็นอารมณ์ของสมถะ ?
เจริญอย่างไรเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ?
๑. คือ กัมมัฏฐานเดิม ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ที่พระอุปัชฌาย์
สอนก่อนบรรพชา ฯ
ถ้าเพ่งกำหนดให้จิตสงบด้วยภาวนา จัดเป็นอารมณ์ของสมถะ ถ้ายกขึ้น
พิจารณาแยกออกเป็นส่วนๆ ให้เห็นตามความเป็นจริงโดยสามัญลักษณะ
จัดเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ฯ
๒. ปฏิสันถาร คืออะไร ? จงแสดงวิธีปฏิสันถารตามความรู้ที่ได้ศึกษามา ?
๒. คือ การต้อนรับผู้มาเยือนด้วยการพูดจาปราศรัย หรือด้วยการรับรอง
ด้วยของ ต้อนรับตามสมควรด้วยไมตรีจิต ฯ
ปฏิสันถารที่ได้ศึกษามามี ๒ อย่าง คือ
๑. อามิสปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยสิ่งของ ได้แก่การจัดหาวัตถุ
สิ่งของต้อนรับ เช่น ข้าว น้ำ หรือที่พัก เป็นต้น
๒. ธัมมปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยธรรม ได้แก่การแสดงการ
ต้อนรับตามความเหมาะสมแก่ผู้มาเยือน หรือการให้คำแนะนำ
ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น ฯ
๓. อกุศลวิตก ๓ มีโทษอย่างไร ? แก้ด้วยวิธีอย่างไร ?
๓. กามวิตก ทำใจให้เศร้าหมอง เป็นเหตุให้มัวเมาติดอยู่ในกามสมบัติ
พยาบาทวิตก ทำให้เดือดร้อนกระวนกระวายใจ คิดทำร้ายผู้อื่น
วิหิงสาวิตก ย่อมครอบงำจิต ให้คิดเบียดเบียนผู้อื่นโดยเห็นแก่
ประโยชน์สุขส่วนตัว ฯ
กามวิตก แก้ด้วยการเจริญกายคตาสติและอสุภกัมมัฏฐาน
พยาบาทวิตก แก้ด้วยการเจริญเมตตาพรหมวิหาร
วิหิงสาวิตก แก้ด้วยการเจริญกรุณาพรหมวิหารและโยนิโสมนสิการ ฯ
๔. พรหมวิหารกับอัปปมัญญา ต่างกันอย่างไร ? อย่างไหนเป็นปฏิปทา
โดยตรงของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ?
๔. ต่างกันโดยวิธีแผ่ คือ แผ่โดยเจาะจงตัวก็ดี โดยไม่เจาะจงตัวก็ดี แต่
ยังจำกัดหมู่นั้นหมู่นี้จัดเป็นพรหมวิหาร ถ้าแผ่โดยไม่เจาะจงไม่จำกัด
จัดเป็นอัปปมัญญา ฯ
อัปปมัญญาเป็นปฏิปทาของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ฯ
๕. ทักขิณา คืออะไร ? ทักขิณานั้น จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ มีอะไร
เป็นเครื่องหมาย ?
๕. คือ ของทำบุญ ฯ
มีกัลยาณธรรมของทายก หรือปฏิคาหกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นเครื่องหมาย
ให้รู้ว่า บริสุทธิ์ และมีความเป็นผู้ทุศีลและอธรรม ของทายกหรือ
ปฏิคาหกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า ไม่บริสุทธิ์ ฯ
๖. มาร คืออะไร ? เฉพาะอภิสังขารมาร หมายถึงอะไร ?
๖. คือ สิ่งที่ล้างผลาญทำลายความดี ชักนำให้ทำบาปกรรม ปิดกั้นไม่ให้ทำ
ความดี จนถึงปิดกั้นไม่ให้เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ฯ
หมายถึง อกุศลกรรม ฯ
๗. พระธรรมคุณบทใด มีความหมายตรงกับคำว่า “ท้าให้มาพิสูจน์ได้” ?
พระธรรมคุณบทนั้น มีอธิบายว่าอย่างไร ?
๗. บทว่า เอหิปัสสิโก ฯ
มีอธิบายว่า พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถที่จะให้พิสูจน์
ได้ทุกเวลาและสามารถนำไปประพฤติในชีวิตประจำวันเพื่อประโยชน์
สุขได้ ฯ
๘. บารมี คืออะไร ? อธิษฐานบารมี คือการทำอย่างไร ?
๘. ปฏิปทาอันยิ่งยวด หรือคุณธรรมที่ประพฤติอย่างยิ่งยวด ได้แก่ ความดี
ที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด ฯ
คือความตั้งใจมั่นตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตน
ไว้แน่นอนและดำเนินตามนั้นอย่างแน่วแน่ ฯ
๙. คำต่อไปนี้มีความหมายอย่างไร ?
ก. ชนกกรรม
ข. อุปัตถัมภกกรรม
ค. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม
ง. อุปปัชชเวทนียกรรม
จ. กตัตตากรรม
๙. ก. กรรมแต่งให้เกิด
ข. กรรมสนับสนุน
ค. กรรมให้ผลในภพนี้
ง. กรรมให้ผลในภพหน้า
จ. กรรมสักว่าทำ คือกรรมที่ทำด้วยไม่จงใจ ฯ
๑๐. ธุดงค์ ท่านบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? อารัญญิกังคธุดงค์ คือการ
ถือปฏิบัติอย่างไร ?
๑๐. เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
คือ การถืออยู่ป่าเป็นวัตร หมายถึงการพักอาศัยปฏิบัติธรรมอยู่ในป่า
หรือ บริเวณป่าและจะต้องห่างจากบ้านคนอย่างน้อย ๒๕ เส้น หรือ
๕๐๐ ชั่วธนู ฯ
*********
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2550
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2550
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
๑. พระเสขะ ผู้ยังต้องศึกษา คือศึกษาอะไร ? ชื่อว่าพระอเสขะ เพราะอะไร ?
๑. ศึกษาสิกขา ๓ คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา ฯ
เพราะเสร็จกิจอันจะต้องทำแล้ว ฯ
๒. ความเห็นว่าเที่ยงและเห็นว่าขาดสูญ คือเห็นอย่างไร ? มติในทางพระพุทธศาสนาเป็นเช่นไร จงอธิบาย ?
๒. เห็นว่าเที่ยง คือเห็นว่า คนและสัตว์ตายแล้ว ชีวะไม่สูญ ต้องเกิดอีกต่อไป หรือเคยเป็นอะไร ก็เป็นอย่างนั้นตลอดไปหรือมีสภาพอย่างนั้นไม่แปรผัน เป็นต้น ส่วนเห็นว่าขาดสูญ คือเห็นว่า อัตภาพจุติแล้วเป็นอันสูญสิ้นไป หรือคนสัตว์ตายแล้วขาดสูญไปโดยประการทั้งปวง ฯ
พระพุทธศาสนาปฏิเสธความเห็นทั้ง ๒ นั้น มีความเห็นประกอบด้วยสัมมาญาณ อิงเหตุผล ยึดเหตุผลเป็นที่ตั้ง โดยเห็นว่า คนและสัตว์ตายแล้วจะเกิดอีกหรือ ไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ฯ
๓. ปาพจน์ ๒ ได้แก่อะไรบ้าง ? ถ้าแจกเป็น ๓ จะได้อะไรบ้าง ?
๓. ได้แก่ พระธรรม และ พระวินัย ฯ
ถ้าแจกเป็น ๓ จะได้ พระวินัย ๑ พระสูตร ๑ พระอภิธรรม ๑ ฯ
๔. พระพุทธเจ้าทรงอุปมากิเลสเหล่าไหนว่ามีลักษณะเหมือนกับไฟ ?
ที่ทรงอุปมาเช่นนั้นเพราะเหตุไร ?
๔. กิเลสเหล่านี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ฯ
เพราะเมื่อกิเลสทั้ง ๓ กองนี้ กองใดกองหนึ่งเกิดขึ้นภายในใจของบุคคล จะแผดเผาก่อให้เกิดความเร่าร้อนขึ้นภายในใจ ฯ
๕. กรรมและทวาร คืออะไร ? อภิชฌาเป็นกรรมใดและเกิดทางทวารใดบ้าง จงอธิบาย ?
๕. กรรม คือ การกระทำ ส่วนทวาร คือ ทางเกิดของกรรม ฯ
อภิชฌา ความอยากได้ เป็นมโนกรรมได้อย่างเดียว และเกิดได้ทั้ง ๓ ทวาร เป็นกายทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วลูบคลำพัสดุที่อยากได้นั้น แต่ไม่มีไถยจิต เป็นวจีทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วบ่นว่า ทำอย่างไรดีหนอ จักได้พัสดุนั้น และเป็นมโนทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วรำพึงในใจ ฯ
๖. วิโมกข์ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
๖. คือ ความพ้นจากกิเลส ฯ
มี สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯ
๗. พระอริยบุคคล ๔ ได้แก่ใครบ้าง ? พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรได้บ้าง ?
๗. ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ฯ
พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ฯ
๘. โยนิ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? เทวดา และสัตว์นรก จัดอยู่ในโยนิไหน ?
๘. คือ กำเนิด ฯ
มี ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ อัณฑชะ เกิดในไข่
สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น ฯ
จัดอยู่ใน โอปปาติกะ ฯ
๙. เวทนา ๓ และเวทนา ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? จัดกลุ่มเทียบกันได้อย่างไร ?
๙. เวทนา ๓ ได้แก่ สุข ทุกข์ เฉย ๆ คือไม่สุขไม่ทุกข์ ส่วนเวทนา ๕ ได้แก่ สุข โสมนัส ทุกข์ โทมนัส อุเบกขา ฯ
ในเวทนา ๓ สุข คือ สุขกายและสุขใจ ซึ่งในเวทนา ๕ สุขกายก็คือสุข และสุขใจก็คือโสมนัส
ในเวทนา ๓ ทุกข์ คือ ทุกข์กายและทุกข์ใจ ซึ่งในเวทนา ๕ ทุกข์กายก็คือทุกข์ และทุกข์ใจก็คือโทมนัส
ส่วนในเวทนา ๓ เฉย ๆ คือไม่สุขไม่ทุกข์ ในเวทนา ๕ ก็คืออุเบกขานั่นเอง ฯ
๑๐. ในกรรม ๑๒ อุปัตถัมภกกรรม กับ อุปปีฬกกรรม ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?
๑๐. อุปัตถัมภกกรรม ทำหน้าที่สนับสนุนผลแห่งชนกกรรม
อุปปีฬกกรรม ทำหน้าที่บีบคั้นผลแห่งชนกกรรม ฯ
***********
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2551
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2551
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
๑. รูปในขันธ์ ๕ แบ่งเป็น ๒ ได้แก่อะไรบ้าง ? จงอธิบายมาสั้น ๆ พอเข้าใจ
๑. ได้แก่ มหาภูตรูป และ อุปาทายรูป
มหาภูตรูป คือ รูปใหญ่ อันได้แก่ ธาตุ ๔ มีดิน น้ำ ไฟ ลม
อุปาทายรูป คือ รูปอาศัย เป็นอาการของมหาภูตรูป เช่น ประสาท ๕ มีจักขุประสาทเป็นต้น โคจร ๕ มีรูปารมณ์เป็นต้น ฯ
๒. เจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ ต่างกันอย่างไร ?
๒. เจโตวิมุตติ เป็นวิมุตติของท่านผู้ได้บรรลุฌานมาก่อนแล้ว จึงบำเพ็ญวิปัสสนาต่อ ส่วนปัญญาวิมุตติ เป็นวิมุตติของท่านผู้ได้บรรลุด้วยลำพังบำเพ็ญวิปัสสนาล้วน
อีกนัยหนึ่ง เรียกเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ เรียกปัญญาวิมุตติเพราะพ้นจากอวิชชา ฯ
๓. กิจจญาณ คืออะไร ? เป็นไปในอริยสัจ ๔ อย่างไร ?
๓. คือ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ ฯ
ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยเป็นธรรมชาติที่ควรละ ทุกขนิโรธเป็นธรรมชาติที่ควรทำให้แจ้ง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นธรรมชาติที่ควรทำให้เกิด ฯ
๔. ปาฏิหาริย์ ๓ มีอะไรบ้าง ? อย่างไหนเป็นอัศจรรย์ที่สุด ?
๔. มี อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์ ฯ
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอัศจรรย์ที่สุด ฯ
๕. กิเลส กรรม วิบาก เรียกว่าวัฏฏะ เพราะเหตุไร ? จงอธิบาย
๕. เพราะวน คือหมุนเวียนกันไป ฯ อธิบายว่า กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม ครั้นทำกรรมแล้ว ย่อมได้รับวิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ
๖. คำว่า พระโสดาบัน และ สัตตักขัตตุปรมะ มีอธิบายอย่างไร ?
๖. พระโสดาบัน คือพระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอริยผลขั้นแรก ฯ
สัตตักขัตตุปรมะ คือพระโสดาบันผู้จะเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง ฯ
๗. อบาย ได้แก่อะไร ? มีอะไรบ้าง ?
๗. ได้แก่ ภูมิ กำเนิดหรือพวก อันหาความเจริญมิได้ ฯ
มี นิรยะ คือนรก ติรัจฉานโยนิ คือกำเนิดดิรัจฉาน
ปิตติวิสัย คือภูมิแห่งเปรต อสุรกาย คือพวกอสุระ ฯ
๘. มานะ คืออะไร ? ว่าโดยย่อ ๓ อย่าง ได้แก่อะไรบ้าง ?
๘. คือ ความสำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ฯ
ได้แก่ ๑. สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
๒. สำคัญตัวว่าเสมอเขา
๓. สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา ฯ
๙. สมุทัยวาร กับ นิโรธวาร ในปฏิจจสมุปบาท ต่างกันอย่างไร ?
๙. สมุทัยวาร คือการแสดงความเกิดแห่งผล เพราะเกิดแห่งเหตุ
ส่วนนิโรธวาร คือการแสดงความดับแห่งผล เพราะดับแห่งเหตุ ฯ
๑๐. ธุดงค์ คืออะไร ? ข้อใดของปัจจัย ๔ ไม่มีในธุดงค์ ?
๑๐. คือ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง บัญญัติขึ้นด้วยหมายจะให้เป็นอุบาย ขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
ข้อ ยารักษาโรค ฯ
***********
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2552
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2552
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๕๒
๑. ตจปัญจกกัมมัฏฐานเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร มีอะไรบ้าง จัดเป็นสมถกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน?
ตอบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามูลกัมมัฏฐาน มีเกสา ผม, โลมา ขน, นขา เล็บ, ทันตา ฟัน และตโจ หนัง เป็นได้ทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ฯ
๒. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความดับไป เป็นลักษณะของธรรมอะไร สัตว์บุคคลมีลักษณะเช่นนั้นหรือไม่? จงอธิบาย
ตอบ เป็นลักษณะของสังขตธรรม มีลักษณะเช่นนั้นคือเมื่อสัตว์บุคคลเกิดมาแล้วก็เป็นความเกิดขึ้น ต่อมาก็เจริญเติบโตผ่านวัยทั้ง ๓ ก็เป็นความตั้งอยู่ เมื่อตายก็เป็นความดับไป ฯ
๓. ปิฎก ๓ ได้แก่อะไรบ้าง แต่ละปิฎกว่าด้วยเรื่องอะไร?
ตอบ ได้แก่พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
พระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับที่นำความประพฤติให้สม่ำเสมอกัน หรือเป็นเครื่องบริหารคณะ
พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยคำสอนยกบุคคลเป็นที่ตั้ง
พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยคำสอนยกธรรมล้วนๆ ไม่เจือด้วยสัตว์หรือบุคคลเป็นที่ตั้ง ฯ
๔. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น อธิบายอย่างไร?
ตอบ มีอธิบายอย่างนี้ รู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้จิตพ้นแล้วจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ
๕. มารมีอะไรบ้าง อกุศลกรรมจัดเป็นมารประเภทใด?
ตอบ มีดังนี้
๑)ขันธมาร มารคือปัญจขันธ์
๒)กิเลสมาร มารคือกิเลส
๓)อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร
๔)เทวปุตตมาร มารคือเทวดา
๕)มัจจุมาร มารคือความตาย
อกุศลกรรมเป็นมารประเภทอภิสังขารมาร ฯ
๖. สวรรค์มีกี่ชั้น อะไรบ้าง?
ตอบ มี ๖ ชั้นได้แก่
๑. ชั้นจาตุมหาราชิกา
๒. ชั้นดาวดึงส์
๓. ชั้นยามา
๔. ชั้นดุสิต
๕. ชั้นนิมมานรดี
๖. ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯ
๗. พระพุทธคุณบทหนึ่งว่า เป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร ถามว่ากำได้แก่อะไร สังสารจักรได้แก่อะไร?
ตอบ กำ ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม
สังสารจักร ได้แก่ กิเลส กรรม วิบาก ฯ
๘. มิจฉัตตะคืออะไร มีอะไรบ้าง มิจฉาวายามะได้แก่พยายามผิดอย่างไร?ตอบ ความเป็นสิ่งที่ผิด มี
๑.มิจฉาทิฏฐิ ๒.มิจฉาสังกัปปะ
๓.มิจฉาวาจา ๔.มิจฉากัมมันตะ
๕.มิจฉาอาชีวะ ๖.มิจฉาวายามะ
๗.มิจฉาสติ ๘.มิจฉาสมาธิ
๙.มิจฉาญาณะ ๑๐.มิจฉาวิมุตติ
มิจฉาวายามะ ได้แก่ พยายามในทางยังบาปธรรมให้เกิดขึ้นและให้เจริญ และในทางยังกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้นและให้เสื่อมสิ้น ฯ
๙. สังโยชน์คืออะไร พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรได้ขาดบ้าง?
ตอบ คือ กิเลสอันผูกใจสัตว์ไว้ ละสังโยชน์ ๓ เบื้องต้นได้ขาด คือ
๑) สักกายทิฏฐิ
๒) วิจิกิจฉา
๓) สีลัพพตปรามาส ฯ
๑๐. ธุดงค์ได้แก่อะไร การสมาทานธุดงค์ด้วยการฉันมื้อเดียวเป็นวัตรที่เรียกกันทั่วไปว่า “ฉันเอกา” จัดเข้าในธุดงค์ข้อไหน?
ตอบ ได้แก่ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง เป็นอุบายขัดเกลากิเลสและเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ จัดเข้าในข้อ เอกาสนิกังคะ คือถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร ฯ
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2553
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓
สังขตธรรม คืออะไร ? มีลักษณะอย่างไร ?
คือธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง ฯ
มีลักษณะ คือ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความดับไปในที เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ฯ
วิมุตติ กับ วิโมกข์ ต่างกันอย่างไร ? สมุจเฉทวิมุตติ มีอธิ
ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ แต่ก็พ้นจาก ราคะ โทสะ โมหะได้เท่ โดยอรรถ ฯ
มีอธิบายว่า ความพ้นจากกิเลสด้วยอ ำนาจอริยมรรค กิเลสเหล่านั้นข ไม่กลับเกิดอีก ฯ
ญาณ ๓ ที่เป็นไปในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ญาณ ๓ ที่เป็น ทุกขนิโรธสัจมีอธิบายอย่างไร ?
มี ๑. สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรท ำ ๓. กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันท ำแล้ว ฯ
มีอธิบายว่า
๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธสัจ จัดเป็นสัจจญาณ
๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธสัจเป็นสภาพที่ควรท ำให้แจ้ง จัด ๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธสัจที่ควรท ำให้แจ้ง ๆ แล้ว จัดเป
ภพกับภูมิต่างกันอย่างไร ? มีอย่างละเท่าไร ?
ภพ หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ต่างชั้นแห่งหมู่สัตว์ มี ๓ ฯ ภูมิ อันประณีตขึ้นไปเป็นชั้น ๆ แห่งจิตและเจตสิก มี ๔ ฯ
กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา ได้ชื่อว่า โอฆะ โยคะ และอาสวะ เพราะเหตุไร ?
ได้ชื่อว่าโอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสนำอันท่วมใจสัตว์ ้ ได้ชื่อว่าโยค เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ ได้ชื่อว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักห อยู่ในสันดาน ฯ
จริต ๖ ได้แก่อะไรบ้าง ? คนมีจริตมักนึกพล่านจะพึงแก้ด้วยกั อะไร ?
๖. ได้แก่๑. ราคจริต ๒. โทสจริต ๓. โมหจริต
๔. วิตักกจริต ๕. สัทธาจริต ๖. พุทธิจริต ฯ
พึงแก้ด้วยวิธีเพ่งกสิณ หรือเจริญอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน ฯ
พระพุทธคุณ ๙ บท คืออะไรบ้าง ? บทไหนจัดเป็นอัตตหิตสมบัต ปรหิตปฏิบัติ ?
คือ อรหํ, สมฺมาสมฺพุทฺโธ, วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน, สุคโต, โลกวิทู, ปุริสทมฺมสารถิ, สตฺถา เทวมนุสฺสานํ, พุทฺโธ, ภควา ฯ ๕ บทเบื้องต้นเป็นอัตตหิตสมบัติ ๔ บทเบื้องปลายเป็นปรหิตปฏ
พระโสดาบัน แปลว่าอะไร ? หมายถึงพระอริยบุคคลผู้ละสังโยชน์อ ได้ขาดบ้าง ?
แปลว่าผู้แรกเข้าถึงกระแสพระนิพพาน ฯ
ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ขาด ฯ
ธุดงค์ท่านบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? ธุดงค์ที่ภิกษุหนด เฉพาะกาล คือข้อใด ? เพราะเหตุใด ฯ
เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ ข้อ รุกขมูลิกังคะ และ อัพโภกาสิกังคะ ฯ
ธุดงค์ ๒ ข้อนี้ภิกษุถือได้เฉพาะกาลนอกพรรษา เพราะในพรรษาภิก ถือเสนาสนะเป็นที่อยู่อาศัยประจ ำ ตามพระวินัยนิยม ฯ
๑๐. บุคคลผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพหูสูต เพราะประกอบด้วยคุณ อะไรบ้าง ?
๑๐. ประกอบด้วย
พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก ๒. ธตา ทรงจ ำได้ ๓. วจสา ปริจิตา ท่องไว้ด้วยวาจา
๔. มนสานุเปกฺขิตา เอาใจจดจ่อ
๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบด้วยทิฏฐิ ฯ
*********
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2554
วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2555
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2555
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕
๑. กัมมัฏฐานที่พระอุปัชฌาย์สอนแก่ผู้ขอบรรพชาอุปสมบทว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา นั้นเรียกชื่อว่าอะไร เป็นสมถกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน?
ตอบ ชื่อว่า ตจปัญจกกรรมฐาน หรือมูลกัมมัฏฐาน ฯ
เป็นได้ทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ
๒. แสวงหาอะไรเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ แสวงหาอะไรเป็นการแสวงหาไม่ประเสริฐ?
ตอบ ในพระสูตรแสดงว่า แสวงหาสภาพอันมิใช่ของมีชรา พยาธิ มรณะ คือคุณธรรมมีพระนิพพานเป็นอย่างสูง เป็นการแสวงหาอย่างประเสร็ฐ เรียกว่าอริยปริเยสนา ฯ
แสวงหาของมีชรา พยาธิ มรณะ เช่นหาของเล่น เป็นการแสวงหาไม่ประเสริฐ เรียกว่าอนริยปริเยสนา ฯ
๓. ผู้มีอัตตาธิปเตยยะกับผู้มีธัมมาธิปเตยยะ มีความมุ่งหมายในการทำงานต่างกันอย่างไร?
ตอบ ผู้มีอัตตาธิปเตยยะปรารภภาวะของตนเป็นใหญ่ ทำด้วยมุ่งให้สมภาวะของตน ผู้ทำมุ่งผลอันจะได้แก่ตน หรือมุ่งความสะดวกแห่งตน
ส่วนผู้มีธัมมาธิปเตยยะ ทำด้วยไม่มุ่งหมายอย่างอื่น เป็นแต่เห็นสมควรเห็นว่าถูกก็ทำ หรือทำด้วยอำนาจเมตตากรุณาเป็นอาทิ ฯ
๔. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสัจ มีอธิบายอย่างไร?
ตอบ มีอธิบายว่า
๑) ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสัจ จัดเป็นสัจจญาณ
๒) ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสัจเป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้ จัดเป็นกิจจญาณ
๓) ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสัจที่ควรกำหนดรู้ ได้กำหนดรู้แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
๕. อปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นที่พึงพิง) ข้อที่ ๒ ว่า พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง นั้นมีอธิบายอย่างไร?
ตอบ มีอธิบายว่า อดกลั้นอารมณ์อันไม่เป็นที่เจริญใจ ต่างโดยหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำเสียดแทง และทุกขเวทนาอันแรงกล้า ฯ
๖. อริยวงศ์คืออะไร มีกี่อย่าง ข้อที่ ๔ ว่าอย่างไร?
ตอบ คือ ปฏิปทาของพระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ มี ๔ อย่าง ฯ
ข้อที่ ๔ ว่า ยินดีในการเจริญกุศลและในการละอกุศล ฯ
๗. ปัญจขันธ์ได้ชื่อว่าเป็นมาร เพราะเหตุไร?
ตอบ เพราะปัญจขันธ์นั้น บางทีทำความลำบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่ายจนถืงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี
๘. สมาธิระดับไหนจึงจัดเป็นจิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต?
ตอบ สมาธิทั้งที่เป็นอุปจาระทั้งที่เป็นอัปปนา โดยที่สุดขณิกสมาธิ คือสมาธิชั่วขณะพอเป็นรากฐานแห่งวิปัสสนา จัดเป็นจิตตวิสุทธิ ฯ
๙. สังฆคุณ ๙ มีอะไรบ้าง จะย่นให้เหลือเพียง ๒ ได้อย่างไร?
ตอบ มี
๑) สุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
๒) อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
๓) ญายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
๔) สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
๕) อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรของคำนับ
๖) ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรของต้อนรับ
๗) ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรของทำบุญ
๘) อญฺชลิกรณีโย เป็นผู้ควรทำอัญชลี (ประณมมือไหว้)
๙) อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
ข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ เป็นอัตตหิตคุณ คือคุณเกื้อกูลแก่ตนเอง
ข้อ ๕ ถึงข้อ ๙ เป็นปรหิตคุณ คือคุณเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ฯ
๑๐. กรรมที่บุคคลทำไว้ ทำหน้าที่อย่างไรบ้าง?
ตอบ ทำหน้าที่ คือ
๑) แต่ง (วิบาก) ให้เกิด เรียกว่า ชนกกรรม
๒) สนับสนุน (วิบากของกรรมอื่น) เรียกว่า อุปัตถัมภกกรรม
๓) บีบคั้น (วิบากของกรรมอื่น) เรียกว่า อุปปีฬกกรรม
๔) ตัดรอน (วิบากของกรรมอื่น) เรียกว่า อุปฆาตกกรรม ฯ
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2556
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2557
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2557
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗
๑. ตจปัญจกกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง? เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร? เป็นอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐานหรือของวิปัสสนากัมมัฏฐาน?
เฉลย มีเกสา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทนฺตา ฟัน และตโจ หนัง ฯ
เรียกอีกอย่างว่ามูลกัมมัฏฐาน ฯ เป็นอารมณ์ได้ทั้งสมถกัมมัฏฐาน และ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ
๒. สังขตธรรม และ อสังขตธรรม ต่างกันอย่างไร? สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา เป็นสังขตธรรม เพราะมีลักษณะอย่างไร?
เฉลย สังขตธรรม คือธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง ส่วนอสังขตธรรม คือธรรมอันปัจจัยไม่ได้ปรุงแต่ง ฯ เพราะมีลักษณะ คือมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความดับในที่สุด และเมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรผันปรากฏ ฯ
๓. มหาภูตรูป คืออะไร? มีความเกี่ยวเนื่องกับอุปาทายรูปอย่างไร?
เฉลย คือรูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน อันประกอบด้วยธาตุ ๔ ได้แก่ดิน น้ำ ไฟ ลม ฯ
เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งอุปาทายรูปหรือรูปย่อย เมื่อรูปใหญ่แตกทำลายไป อุปาทายรูปที่อิงอาศัยมหาภูตรูปนั้นก็แตกทำลายไปด้วย ฯ
๔. กิเลส กรรม วิบาก ได้ชื่อว่า วัฏฏะ เพราะเหตุไร? จะตัดให้ขาดได้ด้วยอะไร?
เฉลย เพราะหมุนเวียนกันไป คือกิเลสเกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุให้ทำกรรม ครั้นทำกรรมแล้ว ย่อมได้รับวิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสเกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ
ด้วยอรหัตตมรรค ฯ
๕. กตญาณ เป็นไปในอริยสัจ ๔ อย่างไร?
เฉลย ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ได้กำหนดรู้แล้ว ทุกขสมุทัยที่ควรละได้ละแล้ว ทุกขนิโรธที่ควรทำให้แจ้งได้ทำให้แจ้งแล้ว ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาที่ควรเจริญได้เจริญแล้ว ฯ
๖. ความรู้สึกเฉยๆ ทางกาย กับความรู้สึกเฉยๆ ทางใจ จัดเข้าในเวทนา ๕ อย่างไร?
เฉลย ความรู้สึกเฉยๆ ทางกาย จัดเป็นสุข
ความรู้สึกเฉยๆ ทางใจ จัดเป็นอุเบกขา ฯ
๗. กิเลส ชื่อว่าโอฆะ โยคะ และอาสวะ เพราะเหตุไร?
เฉลย ชื่อว่าโอฆะ เพราะดุจเป็นกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์
ชื่อว่าโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ
ชื่อว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน ฯ
๘. การแผ่เมตตาในพรหมวิหาร กับในอัปปมัญญา ต่างกันอย่างไร?
เฉลย ในพรหมวิหาร เป็นการแผ่เมตตาโดยเจาะจงตัว หรือเจาะจงหมู่คณะ
ส่วนในอัปปมัญญา เป็นการแผ่มเตตาโดยไม่เจาะจงตัวไม่มีจำกัด ฯ
๙. ผู้บริจาคทานระดับใดจัดเป็นทานบารมี ทานอุปบารมี และทานปรมัตถบารมี?
เฉลย บริจาคพัสดุภายนอก จัดเป็นทานบารมี
บริจาคอวัยวะ จัดเป็นทานอุปบารมี
บริจาคชีวิต จัดเป็นทานปรมัตถบารมี ฯ
๑๐. บุคคลผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพหุสุต เพราะประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง?
เฉลย ประกอบด้วย
๑. ได้ยินได้ฟังมาก (พหุสสุตา)
๒. ทรงจำได้ (ธตา)
๓. ท่องไว้ด้วยวาจา (วจสา ปริจิตา)
๔. เอาใจจดจ่อ (มนสานุเปกขิตา)
๕. ขบด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา) ฯ
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2558
วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2559