อนันตริยกรรม ๕
๑.
มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒.
ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓.
อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔.
โลหิตุปบาท
ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
๕.
สังฆเภท ยังสงฆ์ให้เแตกจากกัน
อภิณหปัจจเวกขณะ ๕
๑.
ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า
เรามีความแก่เป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒.
ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า
เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕.
ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า
เรามีกรรมเป็นของตัว
เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
ธัมมัสสวนานิสงส์ คือ อานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๕
อย่าง
๑.
ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด ๓.
บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔.
ทำความเห็นให้ถูกต้องได้ ๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
พละ คือธรรมเป็นกำลัง ๕
อย่าง
๑.
สัทธา ความเชื่อ ๒.
วิริยะ ความเพียร ๓. สติ
ความระลึกได้ ๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๕.
ปัญญา ความรอบรู้ อินทรีย์
๕ ก็เรียก เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน
ขันธ์ ๕
กายกับใจนี้แบ่งออกเป็น ๕
กอง เรียกว่า ขันธ์
๕ คือ ๑.
รูป ๒. เวทนา
๓. สัญญา ๔. สังขาร ๕. วิญญาณ