ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.
๑. พระพุทธเจ้าสืบเชื้อสายมาจากชนชาติใด ? ชนชาตินั้นมาตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปได้อย่างไร ? 2547ตอบ ชนชาติ อริยกะ
ชาวอริยกะนั้นเป็นผู้เจริญด้วยความรู้และขนบธรรมเนียม
มีฤทธิ์มีอำนาจมากกว่าพวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม เมื่อข้ามภูเขาหิมาลัยมาก็รุกไล่พวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม ให้ถอยเลื่อนลงมาทางใต้ แล้วเข้าตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปแทน
๒.อะไรเป็นมูลเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช ?
ตอบ ทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ คือคนเเก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ
๓.อาฬารดาบสและอุทกดาบส มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร ?
ตอบ อาฬารดาบส เกี่ยวข้องโดยเป็นอาจารย์ที่พระมหาบุรุษเข้าไปศึกษาลัทธิของท่านและได้สมาบัติ ๗ อุทกดาบส เป็นอาจารย์ที่พระมหาบุรุษเข้าไปศึกษาในลัทธิของท่านและได้สมาบัติ ๘
๔.พระพุทธเจ้าเสด็จออกผนวช ตรัสรู้ และปรินิพพาน เมื่อมีพระชนมายุเท่าไรบ้าง ?
ตอบ ออกผนวช เมื่อพระชนมายุ ๒๙ ปี ตรัสรู้ เมื่อพระชนมายุ ๓๕ ปี ปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ ๘๐ ปี
๕. พระอัญญาโกณฑัญญะได้ชื่อว่าเป็นปฐมสาวก เพราะเหตุไร ?
ตอบ ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” จบโกณฑัญญะพราหมณ์ ก็เกิดดวงตาเห็นธรรม คือ บรรลุพระโสดาบันว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา” ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงเปล่งพระอุทานว่า“โกณฑัญญะรู้แล้วหนอๆ” จากนั้นท่านจึงได้ชื่อใหม่ว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” เพราะเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมก่อนใครทั้งหมดนั้นเอง
๖. คำว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” เป็นคำอุทานของใคร ? เพราะเหตุใดจึงอุทานเช่นนั้น ? 2544
ตอบ ของยสกุลบุตร
เพราะเห็นอาการพิกลต่าง ๆ ของหมู่ชนบริวารที่นอนหลับ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีเหมือนเมื่อก่อน หมู่ชนบริวารเหล่านั้นปรากฏแก่ยสกุลบุตร ดุจซากศพที่ทิ้งอยู่ในป่าช้า ครั้นเห็นแล้วเกิดความสังเวชสลดใจ คิดเบื่อหน่าย จึงได้ออกอุทานเช่นนั้น
๗. ครั้งพุทธกาล วัดเชตวัน ตั้งอยู่ที่เมืองอะไร ?ใครเป็นผู้สร้างถวาย ?
ตอบ วัดพระเชตวัน ตั้งอยู่ เมืองสาวัตถี ผู้สร้างถวายอนาถบิณฑิกเศรษฐี
๘.การปลงอายุสังขารของพระพุทธองค์ ถือโดยใจความว่าอย่างไร ? และทรงปลงอายุสังขารเมื่อใด ? 2547
ตอบ ถือโดยใจความว่า พระองค์ทรงปลงพระทัยว่าจะทรงบำเพ็ญพุทธกิจต่อไปอีกไม่ได้
แล้ว เพราะปรารภถึงสังขารของพระองค์ว่า ทรงพระชราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล
ผ่านวัยเสียแล้ว ที่ทรงเปรียบว่ากายของพระองค์เป็นประหนึ่งเกวียนชำรุดที่ซ่อมแซม
ด้วยไม้ไผ่ มิใช่สัมภาระเกวียนฉะนั้น ฯ
เมื่อวันเพ็ญ เดือน ๓ ก่อนวันปรินิพพาน ๓ เดือน ฯ
ศาสนพิธี
๙. ศาสนพิธี คืออะไร ?ผู้ที่ได้เรียนรู้แล้วได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง ?ตอบ พิธีกรรมที่มีขึ้นเพื่อเป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนเพื่อแสดงออกถึงความเชื่อทางพุทธศาสนา การประพฤติปฏิบัติศาสนพิธี ต้องทำอย่างถูกต้องเป็นระเบียบ เกิดความสบายใจ ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนดีเป็นแบบอย่างที่ดีได้
ประโยชน์ของศาสนพิธี
๑ เป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีให้มีสืบไป
๒ เป็นการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
๓ ทำให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะที่ร่วมทำพิธีกัน
๔ เป็นสิ่งชักนำให้พุทธศาสนิกชน เว้นจากการทำชั่ว ทำความดีมีจิตใจผ่องใส
๕ แสดงถึงความร่วมมือ ความเจริญทางจิตใจของคนในสังคม
๖ เกิดความสุขใจ อิ่มเอมใจและเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของผู้ประพฤติปฏิบัติ
๑๐.วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กำหนดไว้กี่วัน ? มีวันอะไรบ้าง ?
ตอบ กำหนดไว้ ๔ วัน คือ
๑.วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๒.วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
๓.วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖
๔.วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘