อธิกรณ์ ๔
๑.ความเถียงกันว่า
สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย เรียกวิวาทาธิกรณ์.
๒.ความโจทกันด้วยอาบัตินั้น
ๆ เรียกอนุวาทาธิกรณ์.
๓.อาบัติทั้งปวง
เรียกอาปัตตาธิกรณ์.
อธิกรณสมถะ มี ๗
ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ทั้ง
๔ นั้น เรียกอธิกรณสมถะ มี ๗ อย่าง คือ
๑. ความระงับอธิกรณ์ทั้ง ๔ นั้น
ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ในที่พร้อมหน้าบุคคล ในที่พร้อมหน้าวัตถุ ในที่พร้อมหน้าธรรม
เรียก สัมมุขาวินัย.
๒.
ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ว่า เป็นผู้มีสติเต็มที่
เพื่อจะไม่ให้ใครโจทด้วยอาบัติ เรียกสติวินัย.
๓.
ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุ
ผู้หายเป็นบ้าแล้วเพื่อจะไม่ให้ใครโจทด้วยอาบัติที่เธอทำในเวลาเป็นบ้า
เรียกอมูฬหวินัย.
๔.
ความปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์ เรียกปฏิญญาตกรณะ
๕.
ความตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ เรียกเยภุยยสิกา.
๖.
ความลงโทษแก่ผู้ผิด เรียกตัสสปาปิยสิกา.
๗.
ความให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระความเดิม เรียกติณวัดถารกวินัย.
สิกขาบทนอกนี้
ที่ยกขึ้นเป็นอาบัติถุลลัจจัยบ้าง ทุกกฎบ้าง ทุพภาสิตบ้าง
เป็นสิกขาบทไม่ได้มาในพระปาติโมกข์.