แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พุทธประวัติชั้นโท แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พุทธประวัติชั้นโท แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

๒๕. มัลลิกาเทวี

๒๕. มัลลิกาเทวี
พระนางมัลลิกาเทวี เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ขณะนั้น นางมีอายุ
ได้ ๑๖ ปี เป็นธิดาของนายมาลาการ หรือช่างดอกไม้ อาศัยอยู่ที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล
มีนามเดิมว่า สิรจิต นางเป็นผู้มีบุญมาก มีรูปร่างผิวพรรณงดงามรวมถึงเป็นผู้มีปัญญา
เฉลียวฉลาด และมีความกตัญญูกตเวที ทุก ๆ วัน นางจะช่วยการงานของบิดาโดยไปเก็บ
ดอกไม้มาให้บิดาทาพวงมาลัย
อยู่มาวันหนึ่ง นางได้นาเอาขนมถั่วใส่กระเช้าดอกไม้ ไปยังสวนดอกไม้ ได้พบ
พระพุทธเจ้ากับทั้งพระภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ก็ดีใจ ได้เอาขนมเหล่านั้น
ใส่ลงในบาตรของพระพุทธเจ้า เมื่อไหว้แล้ว ก็เกิดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์แล้วยืนนิ่งอยู่
เมื่อพระพุทธองค์ทอดพระเนตรแล้วก็ทรงแสดงอาการแย้มให้ปรากฏ พระอานนท์จึง
ทูลถามถึงสาเหตุที่ทรงแย้ม พระองค์ตรัสว่า อานนท์ กุมาริกานี้จะได้เป็นอัครมเหสีของ
พระราชาโกศลในวันนี้ ด้วยผลที่ถวายขนมถั่ว จากนั้นธิดาของช่างดอกไม้ไปถึงสวนดอกไม้
ร้องเพลงไปพลางเก็บดอกไม้ ขณะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลสู้รบพ่ายแพ้พระเจ้าอชาตศัตรู
แล้วทรงม้าเสด็จหนีมาถึงสวนดอกไม้ ได้สดับเสียงเพลง ก็เกิดความพอพระทัยต่อเจ้าของ
เสียง เสด็จเข้าไปที่สวนดอกไม้สนทนาจนได้ความว่า กุมาริกานั้นยังไม่มีสามี จึงโปรดให้ขึ้น
หลังม้า เข้าสู่พระนคร และโปรดให้พานางไปสู่เรือนตระกูล พอถึงเวลาเย็นก็โปรดให้มารับ
ด้วยสักการะใหญ่ อภิเษกบนกองแก้วแล้วตั้งให้เป็นพระอัครมเหสี ด้วยความเป็นผู้มีปัญญา
และความเฉลียวฉลาด ทาให้พระนางมัลลิกาทรงเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าปเสนทิโกศล
เป็นอย่างมาก ได้ถวายทานที่ไม่มีใครเหมือน เรียกทานนี้ว่า อสทิสทานสมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงจาริกพร้องทั้งพระภิกษุบริวารจานวน ๕๐๐ รูป
เสด็จเข้าไปถึงวัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เข้าเฝ้า
กราบทูลอาราธนาเพื่อจะถวายอาคันตุกทาน ในวันรุ่งขึ้น ( อาคันตุกะ คือ ผู้มา ) คือถวาย
ทานแด่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดที่ตามเสด็จมาด้วย แล้วตรัสเรียกชาวนครว่า
จงมาดูทานของเราเถิด เมื่อชาวบ้านได้เห็นทานของพระราชา ก็ได้อาราธนาพระพุทธเจ้า
เพื่อเตรียมถวายทานบ้าง โดยถวายทานอันประณีตและมากยิ่งกว่าพระราชา ชาวบ้านและ
พระราชาทาสลับกันไปมา กลายเป็นการแข่งกันทาบุญไปโดยไม่รู้ตัว พระเจ้าปเสนทิโกศล
ก็ไม่อาจจะหาของแปลก ๆ พิสดารกว่าชาวบ้าน เพราะว่าชาวบ้านมีมาก ย่อมหาของพิสดารกว่า
เมื่อเป็นดังนี้ ทาให้เกิดความวิตกว่า จะทาอย่างไรจึงจะให้ทานได้แปลกและดีกว่าชาวบ้าน
ทาให้พระเจ้าปเสนทิโกศลกลุ้มพระทัยมาก เวลานั้นพระนางมัลลิกาได้มาเข้าเฝ้า พระราชา
จึงตรัสถามขอความช่วยเหลือจากพระนาง พระนางมัลลิกาเทวีต้องการที่จะถวายอสทิสทาน
(ทานที่ไม่มีใครเหมือน) อยู่แล้ว เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระประสงค์จะถวายทาน
อันยิ่งกว่าชาวนคร จึงกราบทูลให้พระองค์รับสั่งทาดังนี้ คือ
๑) ให้ทามณฑปด้วยไม้สาละไว้สาหรับพระสงฆ์ ๕๐๐ รูปนั่ง และใช้ไม้ขานางเอาไว้
ถ่างขาทาเป็นโต๊ะ ส่วนพระที่เกินจาก ๕๐๐ รูปนั้น นั่งอยู่นอกวงเวียน
๒) ให้ทาเศวตฉัตร ๕๐๐ คัน
๓) ให้ใช้ช้าง ๕๐๐ เชือก ถือเศวตฉัตรกั้นอยู่เบื้องหลังพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป
๔) ให้ทาเรือที่ทาจากทองคาแท้ ๆ ๘ ลา หรือ ๑๐ ลา เรือเหล่านี้จะอยู่ท่ามกลาง
มณฑป
๕) ให้เจ้าหญิง ๑ องค์ นั่งบดของหอมท่ามกลางพระภิกษุ ๒ รูป และเจ้าหญิง ๑ องค์
จะถือพัดถวายแด่พระภิกษุ ๒ รูป ดังนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูป ก็มีเจ้าหญิง ๕๐๐ องค์
๖) เจ้าหญิงที่เหลือ จะทาของหอมที่บดแล้วไปใส่ในเรือนท่ามกลางมณฑปทุก ๆ ลา
เจ้าหญิงบางพวกจะถือดอกอุบลเขียวหรือดอกบัวเขียวเคล้าของหอม เพื่อให้ภิกษุรับเอากลิ่นอบ
(เจ้าหญิง ส่วนใหญ่จะเป็นธิดาของกษัตริย์ และเป็นธิดาของกษัตริย์ข้างเคียง คือ น้อง ๆ
รองลงไป ซึ่งสมัยนั้น พระราชามีพระมเหสีถึง ๑๐๐ กว่าพระองค์ จึงไม่เป็นที่ประหลาดใจ
หากว่าจะมีเจ้าหญิงถึง ๑,๐๐๐ กว่าพระองค์)ทาเช่นนี้แล้ว ก็จะชนะประชาชนชาวพระนคร เนื่องด้วยชาวพระนครไม่มีเจ้าหญิง
ไม่มีเศวตฉัตร และไม่มีช้างมากเทียบกับพระราชาได้ เมื่อพระราชาได้สดับเช่นนั้นแล้ว
ก็ทรงดีพระทัย รับสั่งให้ตามที่พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลทุกประการ
เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งให้จัดเตรียมทุกอย่างแล้ว ปรากฏว่านับช้างอย่างไร
ก็ไม่พอสาหรับพระภิกษุ ๑ รูป กล่าวคือ ช้างมีมาก แต่ช้างเซื่องนั้นมีไม่พอ จะเหลือก็แต่ช้าง
ที่ดุร้าย พระราชาจึงตรัสแก่พระนางมัลลิกาให้ทราบความตลอดแล้ว ตรัสถามว่า จะทา
อย่างไรดี เพราะพระองค์เกรงว่า ช้างดุร้ายจะเข้าทาร้ายพระสงฆ์ พระนางมัลลิกาได้กราบทูลว่า
ทราบว่ามีช้างดุร้ายเชือกหนึ่งที่ถึงแม้จะดุร้าย ก็สามารถจะปรามได้ด้วยกาลังใจ เมื่อพระราชา
ยังไม่ทรงทราบว่าจะทาได้อย่างไร นางจึงกราบทูลอีกว่า ให้ช้างที่ดุร้ายนั้นยืนใกล้ ๆ
พระผู้เป็นเจ้า นามว่าองคุลิมาล เนื่องด้วยช้างเชือกนี้ เคยต่อสู้กับองคุลิมาลมามิใช่น้อย
แต่เวลานี้ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ได้อาศัยบารมีของท่านทาให้ลูกช้างอยู่ในอาการสงบ
ใช้หางสอดเข้าไปในระหว่างขา ตั้งหูทั้งสองขึ้น ยืนหลับตาอยู่
มหาชนได้แลดูช้างที่ดุร้าย ยืนทรงเศวตฉัตรเพื่อพระองคุลิมาลเถระ ก็มีความคิดว่า
ช้างดุร้ายปานนั้น พระองคุลิมาลเถระ ย่อมปราบพยศได้ เมื่อจัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว
พระราชาได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า หม่อมฉันขอถวายสิ่งของทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรือนทอง
เตียง ตั่ง รวมทรัพย์ทั้งหมดที่พระราชาถวายในวันเดียวถึง ๑๔ โกฏิ รวมทั้งเศวตฉัตรหนึ่ง
บัลลังก์สาหรับนั่งหนึ่ง เชิงบาตรหนึ่ง ตั่งสาหรับ เช็ดเท้าหนึ่งซึ่งเป็นของมีราคาสูง ประมาณ
ค่าไม่ได้ อสทิสทานเป็นทานอันยิ่งใหญ่ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า พระพุทธเจ้า ๑ องค์ จะมีคน
ถวายอสทิสทานครั้งเดียวในชีวิต และคนที่จะถวายอสทิสทานได้นั้น ต้องเป็นผู้หญิง
พระนางมัลลิกาเทวีนั้น ไม่มีพระราชโอรส เมื่อทรงพระครรภ์ใกล้คลอด พระเจ้า
ปเสนทิโกศลปรารถนาจะได้พระราชโอรส เมื่อประสูติแล้ว ปรากฏว่าเป็นพระราชธิดา
ยังความผิดหวังมาแด่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์จึงทรงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อปรับทุกข์
พระองค์ตรัสปลอบพระทัยว่า พระโอรสหรือธิดานั้น ไม่สาคัญ เพศไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความ
แตกต่างในด้านความสามารถ สตรีที่มีความเฉลียวฉลาดประพฤติธรรม และเป็นมารดาของ
บุคคลสาคัญ ย่อมประเสริฐกว่าบุรุษ ด้วยพระดารัสนี้ ยังความพอพระทัยแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล
เป็นอย่างมาก
ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ตรัสถามพระนางมัลลิกาเทวีว่า พระนางรักพระองค์
หรือไม่รักมากเพียงใด พระนางมัลลิกาตอบว่า พระนางรักตนเองมากกว่าสิ่งใด เมื่อได้สดับเช่นนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เกิดความน้อยพระทัย ทรงคิดว่า พระนางไม่ได้รักพระองค์
เสมอชีวิตนาง เมื่อได้โอกาส ได้กราบทูลพระพุทธเจ้าด้วยเรื่องนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า
ที่พระนางมัลลิกาเทวีตอบมานั้น ถูกต้องแล้ว เพราะความรักทั้งหลายในโลกย่อมไม่มีความรักใด
เทียมความรักที่มีต่อตนเองได้ พระนางมัลลิกาเทวีทรงยึดมั่นในสัจจะ ตรัสความจริงเช่นนี้แล้ว
พระราชาควรจะชื่นชมยินดี พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ฟังแล้วจึงคลายความน้อยพระทัยลง
ครั้นอยู่ต่อมา วันหนึ่ง พระนางมัลลิกาเทวี เสด็จเข้าไปยังซุ้มสาหรับสรงสนาน
ทรงชาระพระโอษฐ์แล้ว ทรงน้อมพระสรีระลงปรารภเพื่อจะชาระพระชงฆ์ มีสุนัขตัวโปรด
ตัวหนึ่ง เข้าไปพร้อมกับพระนางทีเดียว มันเห็นพระนางน้อมลงเช่นนั้น จึงเริ่มจะทา
อสัทธรรมสันถวะ มันเห็นพระนางทรงยินดีผัสสะของมัน จึงได้ประทับยืนอยู่ พระราชา
ทรงทอดพระเนตรทางพระแกลในปราสาทชั้นบน ทรงเห็นกิริยานั้น ในเวลาพระนางเสด็จ
มาจากซุ้มน้านั้น จึงตรัสว่า หญิงถ่อย จงฉิบหาย เพราะเหตุไร เจ้าจึงได้ทากรรมเห็นปานนี้
พระนางทูลว่า ผู้ใดผู้หนึ่งเข้าไปซุ้มน้านี้ ผู้เดียวเท่านั้น ก็ปรากฏเป็น ๒ คน แก่ผู้ที่
แลดูทางพระแกลนี้ พระเจ้าข้า ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อหม่อมฉัน ขอเชิญพระองค์เสด็จเข้าไป
ยังซุ้มน้านั้น หม่อมฉันจะแลดูพระองค์ทางพระแกลนี้
พระราชาติดจะเขลา จึงทรงเชื่อถ้อยคาของพระนาง แล้วเสด็จเข้าไปยังซุ้มน้า
ฝ่ายพระนางเทวีนั้น ทรงยืนทอดพระเนตรอยู่ที่พระแกล ทูลว่า มหาราชผู้มืดเขลา ชื่ออะไรนั้น
พระองค์ทรงทาสันถวะกับนางแพะ แม้เมื่อพระราชาจะตรัสว่า นางผู้เจริญฉันมิได้ทากรรม
เห็นปานนั้น ก็ทูลว่า แม้หม่อมฉันเห็นเองหม่อมฉันจะเชื่อพระองค์ไม่ได้ พระราชทรงสดับ
คานั้นแล้ว ก็ทรงเชื่อว่า ผู้เข้าไปซุ้มน้านี้ ผู้เดียวเท่านั้น ก็ย่อมปรากฏเป็น ๒ คนแน่
พระนางมัลลิกา ทรงดาริว่า พระราชานี้ อันเราลวงได้แล้ว ก็เพราะพระองค์โง่เขลา
เราทากรรมชั่วแล้ว ก็พระราชานี้ เรากล่าวตู่ด้วยคาไม่จริง แลแม้พระพุทธเจ้า จะทรงทราบ
กรรมนี้ของเรา พระอัครสาวกทั้ง ๒ ก็ดี พระอสีติมหาสาวกก็ดี ย่อมทราบ ตายจริง เราทา
กรรมหนักแล้ว
ในเวลาจะสิ้นพระชนม์ พระนางมัลลิกานั้น มิได้ทรงนึกถึงการบริจาคใหญ่เห็นปานนั้น
ทรงระลึกถึงกรรมอันลามกนั้นอย่างเดียว สิ้นพระชนม์แล้ว ก็บังเกิดในอเวจี ไหม้ในนรก
ตลอด ๗ วันเท่านั้น ในวันที่ ๘ จุติจากที่นั้นแล้ว เกิดในดุสิตภพเมื่อพระนางได้สิ้นพระชนม์ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ทรงบันดาลด้วยฤทธิ์ให้พระเจ้าปเสนทิโกศลลืมที่ถามเรื่องพระนางมัลลิกาเทวี
เพราะหากว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลทราบว่า พระนางบังเกิดในอเวจีนรกก็จะไม่อยากทาบุญ
อีกต่อไป เพราะพระนางมัลลิกาเทวีนั้น ทาบุญไว้มากยังตกนรก พอผ่านไป ๗ วันแล้ว
พระพุทธองค์ทรงคลายฤทธิ์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงถามว่า ณ เวลานี้ พระนางมัลลิกาเทวี
ไปเกิดที่ไหน พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า ณ เวลานี้พระนางไปบังเกิดในดุสิตภพ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ฟังพระพุทธดารัสแล้ว ทรงหายจากความเศร้าโสกเสียใจ
กลับได้รับความปีติเอิบอิ่มใจขึ้นมาแทน เมื่อควรแก่เวลาแล้ว ก็กราบทูลลากลับสู่พระราชนิเวศน์

๒๔. วิสาขามหาอุบาสิกา

๒๔. วิสาขามหาอุบาสิกา
นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ บิดาชื่อว่า ธนัญชัย
มารดาชื่อว่า สุมนาเทวี และปู่ชื่อ เมณฑกเศรษฐี ขณะที่เธอมีอายุ ๗ ขวบ เป็นที่รักดุจแก้วตา
ดวงใจของเมณฑกะผู้เป็นปู่ยิ่งนัก
เมื่อเมณฑกเศรษฐีได้ทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จานวนมาก
กาลังเสด็จมาสู่เมืองภัททิยะ จึงได้มอบหมายให้วิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ออกไปรับเสด็จที่
นอกเมือง ขณะที่พระพุทธองค์ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถอยู่นั้น วิสาขาพร้อมด้วยบริวาร
เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควรแก่ตน พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา
ให้พวกเธอฟัง เมื่อจบลงก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด
ส่วนเมณฑกเศรษฐี เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงแล้วจึงรีบเข้าไปเฝ้า ได้ฟังพระธรรม
เทศนา ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน แล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ที่ติดตามเสด็จทั้งหมดเข้าไปรับอาหารบิณฑบาต ณ ที่บ้านของตน ตลอดระยะเวลา
๑๕ วัน ที่ประทับอยู่ที่ภัททิยนครนั้น
พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งเมืองสาวัตถี และพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์
มีความเกี่ยวดองกันโดยต่างก็ได้ภคินี (น้องสาว) ของกันและกันมาเป็นมเหสี แต่เนื่องจากใน
เมืองสาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ไม่มีเศรษฐีตระกูลใหญ่ ๆ ผู้มีทรัพย์สมบัติมาก และ
ได้ทราบข่าวว่า ในเมืองราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารมีเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติมากอยู่ถึง ๕ คน
ดังนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จมายังเมืองราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร
แล้วแจ้งความประสงค์ที่มาในครั้งนี้ ก็เพื่อขอพระราชทานตระกูลเศรษฐีในเมืองราชคฤห์ไป
อยู่ในเมืองสาวัตถีสักตระกูลหนึ่ง
พระเจ้าพิมพิสารได้สดับแล้วตอบว่า การโยกย้ายตระกูลใหญ่ ๆ เพียงหนึ่งตระกูล
ก็เหมือนกับแผ่นดินทรุด แต่เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันไว้ หลังจากที่ได้ปรึกษากับอามาตย์
ทั้งหลายแล้ว เห็นพ้องต้องกันว่า สมควรยกตระกูลธนัญชัยเศรษฐี ให้ไปอยู่เมืองสาวัตถีกับ
พระเจ้าปเสนทิโกศล
ธนัญชัยเศรษฐี ได้ขนย้ายทรัพย์สมบัติพร้อมทั้งบริวารและสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย
เดินทางสู่พระนครสาวัตถีพร้อมกับพระเจ้าปเสนทิโกศล และเมื่อเดินทางเข้าเขตแคว้นของ
พระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว ขณะที่พักค้างแรมระหว่างทางก่อนเข้าเมือง เขาเห็นว่าภูมิประเทศบริเวณที่พักนั้นเป็นชัยภูมิเหมาะสมดี อีกทั้งตนเองก็มีบริวารติดตามมาเป็นจานวนมาก ถ้าไป
ตั้งบ้านเรือนภายในเมืองก็จะคับแคบ จึงขออนุญาตพระเจ้าปเสนทิโกศลก่อตั้งบ้านเมือง
ณ ที่นั้น และได้ชื่อว่าเมืองใหม่นี้ว่า สาเกต ซึ่งห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์
ในเมืองสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีตระกูลหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า มิคารเศรษฐี มีบุตร
ชื่อว่าปุณณวัฒนกุมาร เมื่อเจริญวัยสมควรที่จะมีภรรยาได้แล้ว บิดามารดาขอให้เขาแต่งงาน
เพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล แต่เขาเองไม่มีความประสงค์จะแต่ง เมื่อบิดามารดารบเร้ามากขึ้น
จึงหาอุบายเลี่ยงโดยบอกแก่บิดามารดาว่า ถ้าได้หญิงที่มีความงามครบทั้ง ๕ อย่าง ซึ่งเรียกว่า
เบญจกัลยาณีแล้วจึงจะยอมแต่งงาน
เบญจกัลยาณี ความงามของสตรี ๕ อย่าง คือ
๑. เกสกลฺยาณ ผมงาม คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น
๒. ม สกลฺยาณ เนื้องาม คือ หญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตาลึงสุกและเรียบชิดสนิทดี
๓. อฏฐิ กลฺยาณ กระดูกงาม คือ หญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์และเรียบเสมอกัน
๔. ฉวิกลฺยาณ ผิวงาม คือ หญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดาก็ดาดังดอกบัวเขียว
ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิกา
๕. วยกลฺยาณ วัยงาม คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง ๑๐ ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกาย
สวยดุจคลอดครั้งเดียว
บิดามารดาเมื่อได้ฟังแล้ว จึงให้เชิญพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอิตถีลักษณะมาถาม
ว่าหญิงผู้มีความงามดังกล่าวนี้มีหรือไม่ เมื่อพวกพราหมณ์ตอบว่ามี จึงส่งพราหมณ์เหล่านั้น
ออกเที่ยวแสวงหาตามเมืองต่าง ๆ พร้อมทั้งมอบพวงมาลัยและเครื่องทองหมั้นไปด้วย
พวกพราหมณ์เที่ยวแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ ทั้งเมืองเล็กเมืองใหญ่ จนมาถึง
เมืองสาเกต ได้พบนางวิสาขากับหญิงบริวารออกมาเที่ยวเล่นน้ากันที่ท่าน้า ซึ่งมีลักษณะ
ภายนอกถูกต้องตามตาราอิตถีลักษณะ ๔ ประการ ขาดอีกอย่างเดียว ขณะนั้น ฝนตกลงมา
อย่างหนัก หญิงบริวารทั้งหลายพากันวิ่งหลบหนีฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขายังคงเดิน
ด้วยอาการปกติ ทาให้พวกพราหมณ์ทั้งหลายรู้สึกแปลกใจ ประกอบกับต้องการจะเห็น
ลักษณะฟันของนางด้วย จึงถามว่า ทาไม เธอจึงไม่วิ่งหลบหนีฝนเหมือนกับหญิงอื่น ๆ
นางวิสาขาตอบว่า ชน ๔ พวก เมื่อวิ่งจะดูไม่งาม ได้แก่
๑. พระราชา ผู้ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์พร้อมสรรพ
๒. บรรพชิต ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์๓. สตรี ผู้ชื่อว่าเป็นหญิงทั้งหลาย (นอกจากจะดูไม่งามแล้วอาจเกิดอุบัติเหตุ
จนเสียโฉมหรือพิการ จะทาให้เสื่อมเสียและหมดคุณค่า)
๔. ช้างมงคล ตัวประดับด้วยเครื่องอาภรณ์สาหรับช้าง
พวกพราหมณ์ได้เห็นปัญญาอันฉลาดและคุณสมบัติเบญจกัลยาณี ครบทุกประการ
แล้ว จึงขอให้นางพาไปที่บ้านเพื่อทาการสู่ขอต่อพ่อแม่ตามประเพณี เมื่อสอบถามถึง
ชาติตระกูลและทรัพย์สมบัติก็ทราบว่า มีเสมอกัน จึงสวมพวงมาลัยทองให้นางวิสาขาเป็น
การหมั้นหมายและกาหนดวันอาวาหมงคล
ธนัญชัญเศรษฐี ได้สั่งให้ช่างทองทาเครื่องประดับ ชื่อ มหาลดาปสาธน์ เพื่อมอบ
ให้แก่ลูกสาว ซึ่งเป็นเครื่องประดับชนิดพิเศษ เป็นชุดยาวติดต่อกันตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า
ประดับด้วยเงินทองและรัตนอันมีค่าถึง ๙ โกฏิกหาปณะ ค่าแรงฝีมือช่างอีก ๑ แสน เป็น
เครื่องประดับที่หญิงอื่น ๆ ไม่สามารถจะประดับได้ เพราะมีน้าหนักมาก นอกจากนี้
ธนัญชัยเศรษฐียังได้มอบทรัพย์สินเงินทองของใช้ต่าง ๆ รวมทั้งข้าทาสบริวารและฝูงโคอีก
จานวนมากมายมหาศาล อีกทั้งส่งกุฏุมพีผู้มีความชานาญพิเศษด้านต่าง ๆ ไปเป็นที่ปรึกษา
ดูแลประจาตัวอีก ๘ นายด้วย
ก่อนที่นางวิสาขาจะไปสู่ตระกูลของสามี ธนัญชัยเศรษฐีได้อบรมมารยาทสมบัติ
ของกุลสตรีผู้จะไปสู่ตระกูลของสามี โดยให้โอวาท ๑๐ ประการ เป็นแนวปฏิบัติ คือ
โอวาทข้อที่ ๑ ไฟในอย่านาออก หมายความว่า อย่านาความไม่ดีของพ่อผัว
แม่ผัว และสามีออกไปพูดให้คนภายนอกฟัง
โอวาทข้อที่ ๒ ไฟนอกอย่านาเข้า หมายความว่า เมื่อคนภายนอกตาหนิพ่อผัว
แม่ผัว และสามีอย่างไร อย่านามาพูดให้คนในบ้านฟัง
โอวาทข้อที่ ๓ ควรให้แก่คนที่ให้เท่านั้น หมายความว่า ควรให้แก่คนที่ยืมของไป
แล้วแล้วนามาส่งคืน
โอวาทข้อที่ ๔ ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายความว่า ไม่ควรให้แก่คนที่ยืมของ
ไปแล้วแล้วไม่นามาส่งคืน
โอวาทข้อที่ ๕ ควรให้ทั้งแก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายความว่า เมื่อญาติมิตร
ผู้ยากจนมาขอความช่วยเหลือพึ่งพาอาศัย เมื่อให้ไปแล้วจะให้คืนหรือไม่ให้คืน ก็ควรให้
โอวาทข้อที่ ๖ พึงนั่งให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่นั่งในที่กีดขวางพ่อผัว แม่ผัว
และสามีโอวาทข้อที่ ๗ พึงนอนให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่ควรนอนก่อนพ่อผัว แม่ผัว
และสามี
โอวาทข้อที่ ๘ พึงบริโภคให้เป็นสุข หมายความว่า ควรจัดให้พ่อผัว แม่ผัว และ
สามีบริโภคแล้ว ตนจึงบริโภคภายหลัง
โอวาทข้อที่ ๙ พึงบาเรอไฟ หมายความว่า ให้มีความสานึกอยู่เสมอว่า พ่อผัว
แม่ผัว และสามีเป็นเหมือนกองไฟ และพญานาคที่จะต้องบารุงดูแล
โอวาทข้อที่ ๑๐ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน หมายความว่า ให้มีความสานึกอยู่
เสมอว่าพ่อผัว แม่ผัว และสามีเป็นเหมือนเทวดาที่จะต้องให้ความนอบน้อม
เมื่อนางวิสาขา เข้ามาสู่ตระกูลของสามีแล้ว เพราะความที่เป็นผู้ได้รับการอบรม
สั่งสอนเป็นอย่างดีตั้งแต่วัยเด็ก และเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีน้าใจเจรจาไพเราะ
ให้ความเคารพผู้ที่มีวัยสูงกว่าตน จึงเป็นที่รักใคร่และชอบใจของคนทั่วไป ยกเว้นมิคารเศรษฐี
ผู้เป็นบิดาของสามีซึ่งมีจิตฝักใฝ่ในนักบวชอเจลกชีเปลือย โดยให้ความเคารพนับถือว่าเป็น
พระอรหันต์และนิมนต์ให้มาบริโภคโภชนาหารที่บ้านของตนแล้ว สั่งให้คนไปตามนางวิสาขา
มาไหว้พระอรหันต์ และให้มาช่วยจัดเลี้ยงอาหารแก่อเจลกชีเปลือยเหล่านั้นด้วย
นางวิสาขา ผู้เป็นอริยสาวิกาชั้นพระโสดาบัน พอได้ยินคาว่าพระอรหันต์ ก็รู้สึกปีติ
ยินดี รีบมายังเรือนของมิคารเศรษฐี แต่พอได้เห็นอเจลกชีเปลือย ก็ตกใจ จึงกล่าวว่า ผู้ไม่มี
ความละอายเหล่านี้ จะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ พร้อมทั้งกล่าวติเตียนมิคารเศรษฐีแล้วกลับที่
อยู่ของตน ต่อมาอีกวันหนึ่ง ขณะที่มิคารเศรษฐีกาลังบริโภคอาหารอยู่ โดยมีนางวิสาขาคอย
ปรนนิบัติอยู่ใกล้ ๆ ได้มีพระเถระเที่ยวบิณฑบาตผ่านไปมา หยุดยืนที่หน้าบ้านของมิคาร
เศรษฐี นางวิสาขาทราบดีว่า เศรษฐีแม้จะเห็นพระเถระแล้วก็ทาเป็นไม่เห็น นางจึงกล่าวกับ
พระเถระว่า นิมนต์พระคุณเจ้าไปข้างหน้าก่อนเถิด ท่านเศรษฐีกาลังบริโภคของเก่าอยู่
เศรษฐี ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงโกรธเป็นที่สุด หยุดบริโภคอาหารทันที แล้วสั่งให้บริวาร
จับและขับไล่นางวิสาขาให้ออกจากบ้านไป แต่ก็ไม่มีใครกล้าเข้ามาจับ นางวิสาขาขอชี้แจง
แก่กุฏุมพีทั้ง ๘ จึงกล่าวกับเศรษฐีว่า เรื่องนี้นางวิสาขาไม่มีความผิด
เมื่อมิคารเศรษฐี ฟังคาชี้แจงของลูกสะใภ้แล้วก็หายโกรธขัดเคือง และกล่าวขอโทษ
นางพร้อมทั้งอนุญาตให้นางนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุมารับอาหารบิณฑบาต
ในเรือนตน นางวิสาขาจึงกล่าว คุณพ่อ ดิฉันยกโทษที่ควรยกให้แก่คุณพ่อ แต่ดิฉันเป็นธิดาของตระกูลผู้มีความเลื่อมใสอันไม่ง่อนแง่นในพระพุทธศาสนา พวกดิฉันเว้นภิกษุสงฆ์แล้ว
เป็นอยู่ไม่ได้ หากให้ดิฉันได้มีโอกาสเพื่อบารุงภิกษุสงฆ์ตามความพอใจของดิฉัน ดิฉันจึงจักอยู่
เศรษฐีกล่าวว่า แม่ เจ้าจงบารุงพวกสมณะของเจ้า ตามความชอบใจเถิด
นางวิสาขา ให้คนไปทูลนิมนต์พระทศพล แล้วเชิญเสด็จให้เข้าไปสู่นิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น
ฝ่ายพวกสมณะเปลือย เมื่อรู้ว่าพระศาสดาเสด็จไปยังเรือนของมิคารเศรษฐี จึงไปนั่งล้อม
เรือนไว้
ฝ่ายนางวิสาขาเมื่อถวายน้าทักษิโณทกแล้วก็ส่งข่าวไปยังมิคารเศรษฐีว่า ดิฉัน
ตกแต่งเครื่องสักการะทั้งปวงไว้แล้ว เชิญพ่อผัวของดิฉันมาอังคาสพระทศพลเถิด ครั้งนั้น
พวกอาชีวกห้ามมิคารเศรษฐีผู้อยากจะมาว่า คฤหบดี ท่านอย่าไปสู่สานักของพระสมณโคดม
เลย เศรษฐี ส่งข่าวไปว่า สะใภ้ของฉัน จงอังคาสเองเถิด นางวิสาขาจึงอังคาสภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว ได้ส่งข่าวไปอีกว่า เชิญพ่อผัวของดิฉัน มาฟัง
ธรรมกถาเถิด เศรษฐีนั้นคิดว่า การไม่ไปคราวนี้ ไม่สมควรอย่างยิ่ง และเพราะความที่ตน
อยากฟังธรรมด้วย จึงออกเดินทางไปยังเรือนของสะใภ้
ครานั้น พวกอาชีวกเห็นว่าห้ามมิคารเศรษฐีไว้ไม่ได้แล้ว จึงกล่าวกะเศรษฐีที่กาลัง
จะออกเดินทางว่า ถ้ากระนั้น ท่านเมื่อฟังธรรมของพระสมณโคดม จงนั่งฟังภายนอกม่าน
ดังนี้ แล้วจึงรีบล่วงหน้าไปก่อนเศรษฐีนั้น แล้วก็ไปจัดแจงกั้นม่านไว้เพื่อให้เศรษฐีนั้นนั่ง
ภายนอกม่านที่ตนกั้นไว้นั้น เศรษฐีเมื่อไปถึงก็นั่งอยู่ภายนอกม่าน
พระศาสดา ตรัสว่า “ท่านจะนั่งนอกม่านก็ตาม ที่ฝาเรือนคนอื่นก็ตาม ฟากภูเขาหิน
โน้นก็ตาม ฟากจักรวาลโน้นก็ตาม เราชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า ย่อมอาจจะให้ท่านได้ยินเสียง
ของเราได้” ดังนี้แล้ว ทรงเริ่มอนุปุพพีกถาเพื่อแสดงธรรม ดุจจับต้นหว้าใหญ่สั่น และดุจยัง
ฝนคืออมตธรรมให้ตกอยู่
ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมอยู่ ชนผู้ยื่นอยู่ข้างหน้าก็ตาม ข้างหลัง
ก็ตาม อยู่เลยร้อยจักรวาล พันจักรวาลก็ตาม อยู่ในภพอกนิษฐ์ก็ตาม ย่อมกล่าวกันว่า
“พระศาสดา ย่อมทอดพระเนตรดูเราคนเดียว ทรงแสดงธรรมโปรดเราคนเดียว แท้จริง
พระศาสดาเป็นดุจทอดพระเนตรดูชนนั้น ๆ และเป็นดุจตรัสกับคนนั้น ๆ โดยเจาะจง”
นัยว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย อุปมาดังพระจันทร์ ย่อมปรากฏเหมือนประทับยืนอยู่
ตรงหน้าแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยืนอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเหมือนพระจันทร์ลอยอยู่แล้วในกลางหาวย่อมปรากฏแก่ปวงสัตว์ว่า พระจันทร์อยู่บนศีรษะของเรา พระจันทร์อยู่บนศีรษะของเรา
ฉะนั้น ได้ยินว่า นี้เป็นผลแห่งทานที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตัดพระเศียรที่ประดับแล้ว
ทรงควักพระเนตรที่หยอดดีแล้ว ทรงชาแหละเนื้อหทัยแล้วทรงบริจาคโอรสเช่นกับพระชาลี
ธิดาเช่นกับนางกัณหาชินา ปชาบดีเช่นกับนางมัทรี ให้แล้ว เพื่อเป็นทาสของผู้อื่น
ส่วนมิคารเศรษฐีแม้จะหลบอยู่หลังม่านก็มีโอกาสได้ฟังธรรมด้วยจนจบ และได้สาเร็จ
เป็นพระโสดาบันบุคคล เป็นสัมมาทิฏฐิบุคคลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงได้ออกจากม่านตรงเข้า
ไปหานางวิสาขาใช้ปากดูดถันลูกสะใภ้และประกาศให้ได้ยินทั่วกัน ณ ที่นั้นว่า ตั้งแต่บัดนี้
เป็นต้นไป ขอเธอจงเป็นมารดาของข้าพเจ้า และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นางวิสาขาก็ได้นามว่า
มิคารมารดา คนทั่วไปนิยมเรียกนางว่า วิสาขามิคารมารดา
ในบรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย นางวิสาขานับว่าเป็นผู้มีบุญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติมา
เป็นพิเศษกว่าอุบาสิกาคนอื่น ๆ หลายประการ เช่น
๑. ลักษณะของผู้มีวัยงาม คือ แม้ว่านางจะมีอายุมาก มีลูกชาย-หญิง ถึง ๒๐ คน
ลูกเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางก็มีหลานนับได้ ๔๐๐ คน หลานเหล่านั้น
แต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางวิสาขามีเหลนนับได้ ๘,๐๐๐ คน ดังนั้น คนจานวน
๘,๔๒๐ คน มีต้นกาเนิดมาจากนางวิสาขา นางมีอายุยืน ได้เห็นหลาน ได้เห็นเหลนทุกคน
แม้นางมีอายุถึง ๑๒๐ ปี แต่ขณะเมื่อนั่งอยู่ในกลุ่มลูก หลาน เหลน นางจะมีลักษณะวัย
ใกล้เคียงกับคนเหล่านั้น คนพวกอื่นจะไม่สามารถทราบได้ว่านางวิสาขาคือคนไหน แต่จะ
สังเกตได้เมื่อเวลาจะลุกขึ้นยืน ธรรมดาคนหนุ่มสาวจะลุกได้ทันที แต่สาหรับคนแก่จะต้องใช้
มือยันพื้นช่วยพยุงกายและจะยกก้นขึ้นก่อน นั่นแหละจึงจะทราบว่านางวิสาขาคือคนไหน
๒. นางมีกาลังมากเท่ากับช้าง ๕ เชือกรวมกัน ครั้งหนึ่ง พระราชามีพระประสงค์
จะทดลองกาลังของนางจึงรับสั่งให้ปล่อยช้างพลายตัวที่มีกาลังมากเพื่อให้วิ่งชน นางวิสาขา
เห็นช้างวิ่งตรงเข้ามา จึงคิดว่า ถ้ารับช้างนี้ด้วยมือข้างเดียวแล้วผลักไป ช้างก็จะเป็นอันตราย
ถึงชีวิต เราก็จะเป็นบาป ควรจะรักษาชีวิตช้างไว้จะดีกว่า นางจึงใช้นิ้วมือเพียงสองนิ้วจับช้าง
ที่งวงแล้วเหวี่ยงไป ปรากฏว่าช้างถึงกับล้มกลิ้งแต่ไม่เป็นอันตราย
โดยปกติ นางวิสาขาจะไปวัดวันละ ๒ ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า
ถ้าไปเวลาเช้าก็จะมีของเคี้ยวของฉันเป็นอาหารถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้าปานะไป
ถวาย เพราะนางมีปกติทาอย่างนี้เป็นประจา จนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่า ๆ เพราะละอายที่
พระภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา และก่อนที่นางจะออกจาก
วัดกลับบ้าน นางจะเดินเยี่ยมเยือนถามไถ่ความสุข ความทุกข์ และความประสงค์ของ
พระภิกษุสามเณร และเยี่ยมภิกษุไข้จนทั่วถึงทุก ๆ รูปก่อนแล้วจึงกลับบ้าน
วันหนึ่ง เมื่อนางมาถึงวัด ได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ มอบให้หญิงสาว
ผู้ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมและเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้ว ขณะเดิน
กลับบ้าน ได้บอกหญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงให้
กลับไปนามา แต่สั่งว่า ถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอาคืนมา ให้มอบถวายท่านไป
เพราะนางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสัมผัสแล้วซึ่งพระอานนท์
ท่านก็มักจะเก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลืมไว้เสมอ และก็เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริง ๆ
แต่นางก็กลับคิดได้อีกว่า เครื่องประดับนี้ไม่มีประโยชน์แก่พระเถระ ดังนั้น นางจึงขอรับคืน
มาแล้วนามาขายในราคา ๙ โกฏิ กับ ๑ แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทาไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใด
มีทรัพย์พอที่จะซื้อไว้ได้ จึงซื้อเอาไว้เองซึ่งการนาทรัพย์เท่าจานวนนั้นมาซื้อที่ดินและวัสดุ
ก่อสร้างดาเนินการสร้างวัด ถวายเป็นพระอารามประทับของพระพุทธเจ้า และเป็นที่อยู่
อาศัยจาพรรษาของพระภิกษุสงฆ์สามเณร พระพุทธเจ้ารับสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะ เป็น
ผู้อานวยการดูแลการก่อสร้างซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาท ๒ ชั้น มีห้องสารับพระภิกษุพักอาศัย
ชั้นละ ๕๐๐ ห้อง โดยใช้เวลาในการก่อสร้างถึง ๙ เดือน และเมื่อสาเร็จเรียบร้อยแล้ว
ได้นามว่า วัดบุพพาราม
โดยปกติ นางวิสาขาจะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มา
ฉันภัตตาหารที่บ้านเป็นประจา เมื่อการจัดเตรียมภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะให้สาวใช้
ไปกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง วันหนึ่ง
สาวใช้ได้มาตามปกติเหมือนทุกวันแต่วันนั้นมีฝนตกลงมา พระสงฆ์จึงพากันเปลือยกาย
อาบน้าฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจ เพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็นนักบวชชีเปลือย
จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ากันอยู่
นางวิสาขาได้ฟังคาบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้น
โสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์จึงทราบเหตุการณ์โดยตลอดว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสาหรับใช้สอย
เพียง ๓ ผืน คือ ผ้าจีวรสาหรับห่ม ผ้าสังฆาฏิสาหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสาหรับนุ่ง ดังนั้น
เมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้า จึงไม่มีผ้าสาหรับผลัด ก็จาเป็นต้องเปลือยกาย อาศัยเหตุนี้
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่บ้านและเสร็จภัตกิจแล้ว นางจึงได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อ
ถวายผ้าอาบน้าฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาตตามที่ขอนั้น และนางเป็น
บุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้าฝนแก่พระภิกษุสงฆ์
นางวิสาขา ได้ชื่อว่าเป็นมหาอุบาสิกาผู้ยิ่งใหญ่ เป็นยอดแห่งอุปัฏฐายิกา ทะนุบารุง
พระพุทธศาสนาด้วยวัตถุจตุปัจจัยไทยทานต่าง ๆ ทั้งที่ถวายเป็นของสงฆ์ส่วนรวม และถวาย
เป็นของส่วนบุคคล คือแก่พระภิกษุแต่ละรูป ๆ การทาบุญของนางนับว่าครบถ้วนทุกประการ
ตามหลักของบุญกริยาวัตถุ ดังคาที่นางเปล่งอุทานในวันฉลองวัดบุพพาราม ที่นางสร้างถวาย
นั้นด้วยคาว่า
ความปรารภใด ๆ ที่เราตั้งไว้ในกาลก่อน ความปรารถนานั้น ๆ ทั้งหมดของเราได้
สาเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ทุกประการแล้ว
ความปรารถนาเหล่านั้น คือ
๑. ความปรารถนาที่จะสร้างปราสาทฉาบด้วยปูนถวายเป็นวิหารทาน
๒. ความปรารถนาที่จะถวายเตียง ตั่ง ฟูก หมอน เป็นเสนาสนภัณฑ์
๓. ความปรารถนาที่จะถวายสลากภัตเป็นโภชนทาน
๔. ความปรารถนาที่จะถวายผ้ากาสาวพัสตร์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย เป็นจีวรทาน
๕. ความปรารถนาที่จะถวายเนยใส เนยข้น น้ามัน น้าผึ้ง น้าอ้อย เป็นเภสัชทาน
ความปรารถนาเหล่านั้นของนางวิสาขาสาเร็จครบถ้วนทุกประการ สร้างความเอิบ
อิ่มใจแก่นางยิ่งนักนางจึงเดินเวียนเทียนรอบปราสาทอันเป็นวิหารทานพร้อมทั้งเปล่งอุทาน
ดังกล่าว พระภิกษุทั้งหลายได้เห็นกิริยาอาการของนางแล้ว ต่างก็รู้สึกประหลาดใจไม่ทราบว่า
เกิดอะไรขึ้นกับนาง จึงพร้อมใจกันเข้าไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ตั้งแต่ได้พบเห็นและรู้จักนางวิสาขาก็เป็นเวลานาน พวกข้าพระองค์ ไม่เคยเห็นนางขับร้อง
เพลงและแสดงอาการอย่างนี้มาก่อน แต่วันนี้นางอยู่ในท่ามกลางการแวดล้อมของบรรดา
บุตรธิดาและหลาน ๆ ได้เดินเวียนรอบปราสาทและบ่นพึมพาคล้ายกับร้องเพลง เข้าใจว่าดี
ของนางคงจะกาเริบ หรือไม่นางก็คงจะเสียจริตไปแล้วหรืออย่างไรพระเจ้าข้าพระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ธิดาของเรามิได้ขับร้องเพลง
หรือเสียจริตอย่างที่พวกเธอเข้าใจ แต่ที่ธิดาของเราเป็นอย่างนั้น ก็เพราะความปีติยินดี
ที่ความปรารถนาของตนที่ตั้งไว้นั้นสาเร็จลุล่วงสมบูรณ์ทุกประการ นางจึงเดินเปล่งอุทาน
ออกมาด้วยความอิ่มเอมใจ
ด้วยเหตุที่นางได้อุปถัมภ์บารุงพระภิกษุสงฆ์ และได้ถวายวัตถุจตุปัจจัยในระพุทธศาสนา
เป็นจานวนมาก ดังกล่าวมา พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงประกาศยกย่องนางในตาแหน่งเอตทัคคะ
เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้เป็นทายิกา

๒๓. ธัมมิกอุบาสก

๒๓. ธัมมิกอุบาสก
ในเมืองสาวัตถี ได้มีอุบาสกผู้ปฏิบัติธรรมประมาณ ๕๐๐ คน บรรดาอุบาสกเหล่านั้น
คนหนึ่ง ๆ มีอุบาสกเป็นบริวารคนละ ๕๐๐ อุบาสกที่เป็นหัวหน้าแห่งอุบาสกเหล่านั้นมีบุตร
๗ คน ธิดา ๗ คนบรรดาบุตรและธิดาเหล่านั้น คนหนึ่ง ๆ ได้มีสลากยาคู สลากภัต ปักขิกภัต
สังฆภัต อุโปสถิกภัต อาคันตุกภัต วัสสาวาสิกภัต อย่างละที่ ชนแม้เหล่านั้น ได้เป็นผู้ชื่อว่า
อนุชาตบุตรด้วยกันทั้งหมดทีเดียว
เป็นอันว่า สลากยาคูเป็นต้น ๑ ที่ คือ ของบุตร ๑๔ คน ของภรรยาหนึ่ง ของ
อุบาสกหนึ่ง ย่อมเป็นไปอย่างนี้ เขาพร้อมทั้งบุตรและภรรยา ได้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
มีความยินดีในอันจาแนกทาน ด้วยประการฉะนี้ ต่อมา ในกาลอื่น โรคเกิดขึ้นแก่เขา อายุ
สังขารเสื่อมรอบแล้ว เขาใคร่จะสดับธรรมจึงส่ง (คน) ไปสู่สานักพระศาสดา ด้วยกราบทูลว่า
ขอพระองค์ได้โปรดส่งภิกษุ ๘ รูปหรือ ๑๖ รูป ประทานแก่ข้าพระองค์เถิด
พระศาสดาทรงส่งภิกษุทั้งหลายไป ภิกษุเหล่านั้นไปแล้วนั่งบนอาสนะที่ตบแต่งไว้
ล้อมเตียงของเขา อันเขากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ การเห็นพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จักเป็นของ
อันกระผมได้โดยยาก กระผมเป็นผู้ทุพพลภาพ ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงสาธยาย
พระสูตร ๆ หนึ่ง โปรดกระผมเถิด
พวกภิกษุจึงถามว่า ท่านประสงค์จะฟังสูตรไหน อุบาสก
เขาเรียนว่า สติปัฏฐานสูตร ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละแล้วพระภิกษุก็เริ่มสวดสาธยายเรื่องสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาตาม
เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แล้วก็ชี้บอกหนทางสายกลาง อันเป็น
ทางสายเอก ซึ่งเรียกว่า เอกายนมรรค เป็นเส้นทางแห่งความบริสุทธิ์ไปสู่พระนิพพาน
ในขณะที่พระภิกษุกาลังสวดสาธยายอยู่นั้น ได้มีชาวสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ประดับเครื่อง
ทรงอันเป็นทิพย์ พร้อมด้วยราชรถมารออยู่ เทวดาที่ยืนอยู่ตรงราชรถของชาวสวรรค์แต่ละ
ชั้น ต่างก็เชื้อเชิญธัมมิกอุบาสกให้ไปเป็นสหายของตน โดยบอกว่า ข้าพเจ้าจะนาท่านไปยัง
เทวโลกชั้นของข้าพเจ้า ท่านจงละภาชนะดินแล้วถือเอาภาชนะทองคาเถิด มาอยู่ร่วมกับ
ข้าพเจ้าที่สวรรค์ชั้นนี้เถิด ชาวสวรรค์ทุกชั้นต่างก็เชื้อเชิญเขาให้เป็นสหายในชั้นของตน ๆ
ฝ่ายอุบาสกซึ่งเป็นผู้เคารพในธรรม เมื่อกาลังฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อยากให้การฟังธรรม
หยุดชะงักไป จึงได้กล่าวกับเทวดาทั้งหลายว่า ขอท่านจงรอก่อน ๆ พระภิกษุซึ่งกาลังสวด
สาธยายธรรมอยู่ เข้าใจว่าอุบาสกให้หยุด จึงได้หยุดสวดและปรึกษากันว่า คงไม่เป็นโอกาส
เหมาะในการสาธยายธรรมเสียแล้ว ดังนั้น ลุกจากอาสนะแล้วเดินทางกลับวัด ฝ่ายบุตรและ
ธิดาของเขานึกว่าพ่อห้ามพระสวดมนต์ก็รู้สึกเสียใจว่า เมื่อก่อนพ่อของเราเป็นผู้ไม่อิ่มในธรรม
แต่ขณะนี้ถูกทุกขเวทนาครอบงา จนกระทั่งเพ้อ ห้ามพระสวดมนต์ แล้วต่างก็ร้องไห้เสียใจ
พอเวลาผ่านไปสักครู่หนึ่ง อุบาสกก็ถามลูก ๆ ว่า พระคุณเจ้าไปไหนหมดแล้ว
ลูกบอกว่า ก็พ่อนิมนต์พระมาแล้วก็ห้ามพระสวดมนต์เสียเอง พระท่านจึงกลับวัด
หมดแล้ว
ธัมมิกอุบาสกบอกว่า พ่อไม่ได้พูดกับพระ แต่พ่อพูดกับเทวดา เขาเอาราชรถมาเชิญ
ให้พ่อกลับวิมาน พ่อจึงบอกให้เขารอก่อน พ่อจะฟังธรรม
บุตรก็ถามว่า ราชรถที่ไหนล่ะพ่อ พวกผมไม่เห็นเลย
พ่อจึงบอกว่า ถ้าอย่างนั้น ลูกจงเอาดอกไม้มาร้อยเป็นพวงมาลัย แล้วถามลูกต่อว่า
ลูกคิดว่าสวรรค์ชั้นไหนน่ารื่นรมย์ล่ะ ลูก ๆ ก็บอกว่า ชั้นดุสิตซิพ่อ เพราะเป็นที่ประทับของ
พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ของพุทธมารดาและของพุทธบิดาเป็นที่รื่นรมย์สิพ่อ
ธัมมิกอุบาสกจึงบอกว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงอธิษฐานจิตไปที่เทวดาชั้นดุสิต แล้วโยน
พวงมาลัยขึ้นไปบนอากาศ
ลูก ๆ ได้โยนพวงมาลัยขึ้นไป พวงมาลัยก็ไปคล้องกับแอกของราชรถชั้นดุสิต พวก
ลูก ๆ มองไม่เห็นราชรถ เห็นแต่พวงมาลัยลอยอยู่ในอากาศ มีแต่ธัมมิกอุบาสกเห็นคนเดียว
จึงบอกว่า ลูกเห็นพวงดอกไม้ที่ลอยอยู่นั่นไหม ลูกก็บอกว่า เห็นแต่พวงดอกไม้ ไม่เห็นรถฝ่ายพ่อจึงกล่าวว่า ขณะนี้พวงดอกไม้นั้น ได้ห้อยอยู่ที่ราชรถซึ่งมาจากชั้นดุสิตแล้ว
พ่อกาลังจะไปอยู่ภพดุสิต พวกเจ้าอย่าได้วิตกไปเลย ถ้าพวกเจ้ามีความปรารถนาจะไป
อยู่ร่วมกับพ่อ ก็จงหมั่นทาบุญให้มาก ๆ อย่างที่พ่อได้ทาไว้แล้วเถิด
ธัมมิกอุบาสกกล่าวเสร็จแล้วก็ได้ทากาละ คือ ถึงแก่กรรมลงในเวลานั้น ละจาก
อัตภาพมนุษย์ไปเป็นเทพบุตร มีกายทิพย์ที่สวยงาม สว่างไสว นั่งอยู่บนราชรถซึ่งมาจาก
ชั้นดุสิต เหล่าเทวดาทั้งหลายก็นาเขาไปสู่วิมาน เป็นวิมานแก้ว มีความอลังการสวยงามมาก
เต็มไปด้วยบริวาร เหล่าบริวารที่แวดล้อมเทพบุตรธัมมิกะ ต่างก็ปลื้มปีติดีใจ ที่นายของตน
กลับมาสู่วิมานอย่างผู้มีชัยชนะ เต็มเปี่ยมด้วยบุญบารมี ต่างก็อนุโมทนาบุญกับท่านธัมมิก
อุบาสก ที่ได้ทาบุญไว้ดีแล้ว
พระพุทธเจ้าตรัสถามภิกษุแม้เหล่านั้น ผู้มาถึงวิหารแล้วโดยลาดับว่า ภิกษุทั้งหลาย
อุบาสกได้ฟังธรรมเทศนาแล้วหรือ
พวกภิกษุกราบทูลว่า ฟังแล้ว พระเจ้าข้า แต่อุบาสกได้ห้ามเสียในระหว่างนั่นแลว่า
ขอท่านจงรอก่อน ลาดับนั้น บุตรและธิดาของอุบาสกคร่าครวญกันแล้ว พวกข้าพระองค์
ปรึกษากันว่า บัดนี้ ไม่เป็นโอกาส จึงลุกจากอาสนะออกมา
พระพุทธเจ้าตรัสว่าภิกษุทั้งหลาย อุบาสกนั้นหาได้กล่าวกับพวกเธอไม่ ก็เทวดา
ประดับรถ ๖ คัน นามาจากเทวโลก ๖ ชั้น เชื้อเชิญอุบาสกนั้นแล้ว อุบาสกไม่ปรารถนาจะทา
อันตรายแก่การแสดงธรรม จึงกล่าวกับเทวดาเหล่านั้น
พวกภิกษุกราบทูลว่า อย่างนั้นหรือ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อพวกภิกษุกราบทูลถามว่า บัดนี้เขาเกิดแล้ว ณ ที่ไหน
ทรงตอบว่า ในภพดุสิต ภิกษุทั้งหลาย
พวกภิกษุทูลถามต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกนั้นเที่ยวชื่นชมในท่ามกลาง
ญาติในโลกนี้แล้ว เกิดในฐานะเป็นที่ชื่นชมอีกหรือ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะคนผู้ไม่ประมาทแล้วทั้งหลาย
เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ย่อมบันเทิงในที่ทั้งปวงทีเดียว ดังนี้แล้วตรัสพระคาถา
นี้ว่า ผู้ทาบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้วก็ย่อมบันเทิง ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง
เขาเห็นความหมดจดแห่งกรรมของตน ย่อมบันเทิงเขาย่อมรื่นเริง

๒๒. จิตตคฤหบดี

๒๒. จิตตคฤหบดี
จิตตคฤหบดี เป็นบุตรใครไม่ปรากฏ แต่ท่านมีบุญได้ทาไว้ดีในปางก่อน ส่งผลให้
ท่านหลายชาติ ตลอดถึงชาตินี้ ในวันท่านเกิด มีฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงจากฟากฟ้ากองที่พื้นดิน
หนาขึ้นเพียงเข่าในเมืองมัจฉิกาสณฑ์
วันหนึ่งได้พบพระมหานามะ หนึ่งในหมู่ปัญจวัคคีย์ภิกษุ เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในเมือง
มัจฉิกาสณฑ์ เกิดความเลื่อมใสในอิริยาบถ จึงนิมนต์ให้ฉันในบ้าน ได้ฟังธรรมกถาจาก
พระเถระแล้ว ได้บรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหว ได้หลั่งน้าในมือพระเถระอุทิศ
ถวายอัมพาฏกวันของตนให้เป็นสังฆาราม และต่อมาก็สร้างวิหารใหญ่มีประตูเปิดไว้รับพระสงฆ์
มาจากทิศทั้ง ๔ มี พระสุธรรมเถระเป็นเจ้าอาวาส
โดยสมัยอื่น พระอัครสาวกทั้งสอง สดับกถาพรรณนาคุณของจิตตคฤหบดีแล้ว
ใคร่จะทาความสงเคราะห์แก่คฤหบดีนั้น จึงได้ไปสู่มัจฉิกาสณฑนคร จิตตคฤหบดีทราบ
การมาของพระอัครสาวกทั้งสองนั้น จึงไปต้อนรับสิ้นทางประมาณกึ่งโยชน์ พาพระอัครสาวก
ทั้งสองนั้นมาแล้ว นิมนต์ให้เข้าไปสู่วิหารของตน ทาอาคันตุกวัตรแล้วอ้อนวอนพระธรรม
เสนาบดีว่า ท่านผู้เจริญ กระผมปรารถนาฟังธรรมกถาสักหน่อย
ครั้งนั้น พระเถระกล่าวกับเขาว่า อุบาสก อาตมะทั้งหลายเหน็ดเหนื่อยแล้วโดยทางไกล
อนึ่ง ท่านจงฟังเพียงนิดหน่อยเถิด ดังนี้แล้ว ก็กล่าวธรรมกถาแก่เขา
คฤหบดีฟังธรรมกถาของพระเถระอยู่แล บรรลุอนาคามิผลแล้ว เขาไหว้พระอัครสาวก
ทั้งสองแล้วนิมนต์ว่า ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้ ขอท่านทั้งสองกับภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป รับภิกษาที่เรือน
กระผม แล้วจึงมานิมนต์พระสุธรรมเถระเจ้าอาวาสภายหลังว่า ท่านขอรับพรุ่งนี้ แม้ท่านก็พึง
มากับพระเถระทั้งหลาย
พระสุธรรมเถระนั้นก็โกรธว่า อุบาสกนี้ มานิมนต์เราภายหลัง จึงปฏิเสธ แม้อัน
คฤหบดีอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ก็ปฏิเสธแล้วนั่นแหละ
ในวันรุ่งขึ้น จิตตคฤหบดีได้จัดแจงทานใหญ่ไว้ในที่อยู่ของตน ในเวลาใกล้รุ่ง
ฝ่ายพระสุธรรมเถระก็คิดจะไปดูว่า พรุ่งนี้คฤหบดีจะจัดแจงสักการะ เพื่อพระอัครสาวก
ทั้งสองไว้เช่นไร รุ่งขึ้นจึงได้ถือบาตรและจีวรไปสู่เรือนของคฤหบดีนั้นแต่เช้าตรู่เมื่อไปถึงเรือนคฤหบดีแล้ว แม้คฤหบดีจะกล่าวนิมนต์ให้นั่ง พระสุธรรมเถระนั้น
ก็ปฏิเสธว่า เราไม่นั่ง เราจะเที่ยวบิณฑบาต แล้วก็เที่ยวตรวจดูสักการะที่คฤหบดีเตรียมไว้
เพื่อพระอัครสาวกทั้งสอง เมื่อเห็นแล้วก็ใคร่จะเสียดสีคฤหบดีโดยชาติ จึงกล่าวว่า คฤหบดี
สักการะของท่านล้นเหลือ แต่ก็ขาดอยู่อย่างเดียวเท่านั้น
คฤหบดี อะไร ขอรับ
พระเถระ ตอบว่า "ขนมแดกงา คฤหบดี
ครั้นพระเถระรุกรานคฤหบดีด้วยอุปมาต่าง ๆ แล้วกล่าวว่า คฤหบดี อาวาสนี้เป็น
ของท่าน เราจักหลีกไป คฤหบดีจะห้ามถึง ๓ ครั้ง แต่พระเถระก็ไม่ฟัง หลีกไปสู่สานัก
พระพุทธเจ้ากราบทูลคาที่จิตตคฤหบดีและตนโต้เถียงกัน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อุบาสกถูกเธอด่าด้วยคาเลว เป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส ดังนี้แล้ว
ทรงปรับโทษแก่พระสุธรรมเถระนั้น แล้วรับสั่งให้สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม (กรรมอันให้ระลึก
ถึงความผิด) แล้วส่งไปว่า เธอจงไป แล้วให้จิตตคฤหบดียกโทษเสีย
พระเถระไปในที่นั้นแล้ว กล่าวแสดงโทษของตน พร้อมกับขอให้คฤหบดียกโทษให้
แต่คฤหบดีนั้นปฏิเสธการยกโทษแก่พระเถระ ครั้นเมื่อไม่อาจให้คฤหบดีนั้นยกโทษให้ตนได้
พระเถระจึงกลับมาสู่สานักพระพุทธเจ้า
แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบว่าอุบาสกจักไม่ยกโทษแก่พระสุธรรมนั้น ทรงดาริว่า
ภิกษุนี้ กระด้างเพราะมานะ จึงไม่ทรงบอกอุบายเพื่อให้คฤหบดียกโทษให้เลย ทรงส่งให้กลับ
ไปใหม่ โดยประทานภิกษุผู้อนุทูตแก่เธอผู้นามานะออกแล้วตรัสว่า เธอจงไปเถิดไปกับภิกษุนี้
จงให้อุบาสกยกโทษ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า ธรรมดาสมณะไม่ควรทามานะหรือริษยาว่า วิหาร
ของเรา ที่อยู่ของเรา อุบาสกของเรา อุบาสิกาของเรา เพราะเมื่อสมณะทาอย่างนั้น เหล่ากิเลส
มีริษยาและมานะเป็นต้น ย่อมเจริญ
เมื่อจะทรงแสดงธรรมต่อไป จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ภิกษุผู้พาล พึงปรารถนา
ความยกย่องอันไม่มีอยู่ ความแวดล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่ในอาวาส และการบูชา
ในตระกูลแห่งชนอื่น ความดาริ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พาลว่า คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสอง
จงสาคัญกรรม อันเขาทาเสร็จแล้วเพราะอาศัยเราผู้เดียว จงเป็นไปในอานาจของเราเท่านั้น
ในกิจน้อยใหญ่ กิจไร ๆ ริษยาและมานะย่อมเจริญแก่เธอ ดังนี้แม้พระสุธรรมเถระฟังพระโอวาทนี้แล้ว ถวายบังคมพระพุทธเจ้าลุกขึ้นจากอาสนะ
กระทาประทักษิณแล้ว ไปกับภิกษุผู้เป็นอนุทูตนั้น แสดงอาบัติต่อหน้าอุบาสก ขออุบาสกให้
ยกโทษแล้ว พระสุธรรมเถระนั้นเมื่ออุบาสกยกโทษให้ด้วยการกล่าวว่า กระผมยกโทษให้ขอรับ
ถ้าโทษของกระผมมี ขอท่านจงยกโทษแก่กระผม แล้วพระสุธรรมเถระก็ตั้งอยู่ในพระโอวาท
ที่พระพุทธเจ้าประทานแล้ว ๒-๓ วันเท่านั้น ก็บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ฝ่ายอุบาสกคิดว่า เรายังไม่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้าเลย เมื่อบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว
ยังไม่ได้เฝ้าพระศาสดาเหมือนกัน เมื่อดารงอยู่ในอนาคามิผล เราควรเฝ้าพระพุทธองค์
โดยแท้ แล้วให้เทียมเกวียน ๕๐๐ เล่มเต็มด้วยวัตถุ มีงา ข้าวสาร เนยใส น้าอ้อย และผ้านุ่งห่ม
เป็นต้น แล้วให้แจ้งแก่หมู่ภิกษุว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย รูปใด ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา
เราก็จะไปเฝ้าพร้อมกัน จักไม่ลาบากด้วยบิณฑบาตเป็นต้น ดังนี้แล้ว ก็ให้แจ้งทั้งแก่หมู่
ภิกษุณี ทั้งแก่พวกอุบาสก ทั้งแก่พวกอุบาสิกา ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ภิกษุณีประมาณ
๕๐๐ รูป อุบาสกประมาน ๕๐๐ คน อุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน ออกไปกับคฤหบดีนั้น
เขาตระเตรียมแล้วโดยประการที่จะไม่มีความบกพร่องสักน้อยหนึ่ง ด้วยข้าวยาคูและภัตเป็น
ต้นในหนทาง ๓๐ โยชน์ เพื่อชนสามพันคน คือ เพื่อภิกษุเป็นต้นเหล่านั้น และเพื่อบริษัท
ของตน
ฝ่ายเทวดาทั้งหลาย เมื่อทราบความที่อุบาสกนั้นออกเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว
ก็ไปเนรมิตค่ายที่พักไว้ตามระยะทางทุก ๆ โยชน์ (๑๖ กิโลเมตร) แล้วบารุงชนเหล่านั้นด้วย
อาหารวัตถุ มีข้าวยาคู ของควรเคี้ยว ภัตและน้าดื่มเป็นต้น อันเป็นทิพย์ ความบกพร่องด้วย
วัตถุอะไร ๆ มิได้เกิดขึ้นแก่ใคร ๆ
มหาชนอันเทวดาทั้งหลายบารุงอยู่อย่างนั้น เดินทางได้วันละโยชน์ ๆ โดยเดือนหนึ่ง
ก็ถึงเมืองสาวัตถี เกวียนทั้ง ๕๐๐ เล่ม ก็ยังเต็มบริบูรณ์เช่นเดิมนั้นแหละ คฤหบดีได้สละ
บรรณาการที่พวกเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนามา
พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนทเถระว่า อานนท์ ในเวลาบ่ายวันนี้ จิตตคฤหบดี
พร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ ผู้แวดล้อมอยู่ จักมาไหว้เรา
พระอานนท์ พระเจ้าข้า ก็ในกาลที่จิตตคฤหบดีนั้นถวายบังคมพระองค์ ปาฏิหาริย์
ไร ๆ จักมีหรือ
พระศาสดาตรัสว่า จักมี อานนท์อานนท์ทูลถามว่า ปาฏิหาริย์อะไร พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ในกาลที่จิตตคฤหบดีมาไหว้เรา ฝนดอกไม้ทิพย์ ๕ สี จะตก
โดยประมาณเพียงเข่า ในบริเวณประมาณ ๘ กรีส (ประมาณ ๕๐๐ เมตร)
ชาวเมือง เมื่อได้ฟังข่าวนั้นแล้วก็คิดว่า ได้ยินว่า จิตตคฤหบดีผู้มีบุญมากถึงอย่างนั้น
จะมาถวายบังคม พระพุทธเจ้าในวันนี้ เขาว่าปาฏิหาริย์อย่างนี้จะเกิดขึ้น พวกเราจะได้เห็น
ผู้มีบุญมากนั้น ดังนี้แล้วได้ถือเอาเครื่องบรรณาการไปยืนอยู่สองข้างทาง
ในกาลที่จิตตคฤหบดีมาใกล้วิหาร ภิกษุ ๕๐๐ รูป มาถึงก่อน จิตตคฤหบดีกล่าวกับ
พวกอุบาสิกาว่า ท่านทั้งหลาย จงตามมาข้างหลัง ส่วนตนกับอุบาสก ๕๐๐ ก็ได้ไปสู่สานัก
ของพระพุทธเจ้า ท่ามกลางสายตาของมหาชนทั้งหลาย ผู้เข้าเฝ้าอยู่ในที่เฉพาะพระพักตร์
ของพระพุทธเจ้า
จิตตคฤหบดีนั้นเข้าไปภายในพระพุทธรัศมี มีวรรณะ ๖ จับพระบาทพระพุทธเจ้าที่
ข้อถวายบังคมแล้วในขณะนั้น ฝนดอกไม้ทิพย์ก็ตกลงมา มหาชนเปล่งเสียงสาธุการขึ้นพร้อมกัน
พระพุทธเจ้าจึงตรัสสฬายตนวิภังค์ โปรดคนเหล่านั้น
จิตตคฤหบดี อยู่ในสานักพระพุทธเจ้าสิ้นเดือนหนึ่ง ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้น
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้นั่งในวิหารนั่นแหละ ถวายทานใหญ่แล้ว นิมนต์ภิกษุแม้ที่มา
พร้อมกับตนให้อยู่ภายในอารามนั้นแหละบารุงแล้วไม่ต้องหยิบอะไร ๆ ในเกวียนของตนแม้
สักวันหนึ่ง ได้ทากิจทุกอย่างด้วยบรรณาการที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนามาเท่านั้น
จิตตคฤหบดีนั้น ถวายบังคมพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์
มาด้วยตั้งใจว่า จะถวายทานแด่พระองค์ ได้พักอยู่ในระหว่างทางเดือนหนึ่ง และในที่นี้เวลา
เดือนหนึ่งของข้าพระองค์ก็ได้ล่วงไปแล้ว สิ่งของที่ข้าพระองค์ตั้งใจจะนามาถวายนั้น ข้าพระองค์
ยังมิได้ต้องนาออกมาถวายทานเลย ด้วยว่าของอะไร ๆ ที่ได้ถวายทานตลอดเวลาที่ผ่านมานี้
เป็นสิ่งของที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนามาทั้งนั้น ข้าพระองค์นั้น แม้ถ้าจะอยู่ในที่นี้ไปอีก
ตลอดปีหนึ่ง ก็จะไม่ได้โอกาสเพื่อจะถวายไทยธรรมของข้าพระองค์แน่แท้ ข้าพระองค์
ปรารถนาจักนาของในเกวียนออกถวายเป็นทานแล้วกลับไป ขอพระองค์ จงโปรดให้บอกที่
สาหรับเก็บของนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด
พระพุทธเจ้า ตรัสกับพระอานนทเถระว่า อานนท์ เธอจงให้จัดที่แห่งหนึ่งให้ว่าง
ให้แก่อุบาสกพระเถระ ได้กระทาอย่างนั้นแล้ว ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตกัปปิยภูมิ
แก่จิตตคฤหบดีแล้ว
ฝ่ายอุบาสกกับชนทั้งสามพันคน ซึ่งมาพร้อมกับตน ก็เดินทางกลับด้วยเกวียนเปล่าแล้ว
พวกเทวดาก็ได้เนรมิตรัตนะ ๗ ประการบรรจุไว้เต็มเกวียนนั้น
ในครั้งนั้น พระอานนทเถระ ถวายบังคมพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลถามว่า สักการะ
ที่เกิดขึ้นแก่คฤหบดีนั้น จะเกิดเฉพาะเมื่อคฤหบดีนั้นมาเฝ้าพระองค์เท่านั้น หรือแม้ไปในที่อื่น
ก็เกิดขึ้นเหมือนกัน
พระพุทธเจ้า ตรัสว่า อานนท์ จิตตคฤหบดีนั้นมาสู่สานักของเราก็ดี ไป ณ ที่อื่นก็ดี
สักการะย่อมเกิดขึ้นทั้งนั้น เพราะอุบาสกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เลื่อมใส มีศีลสมบูรณ์ อุบาสก
เช่นนี้ ไปประเทศใด ๆ ลาภสักการะ ย่อมเกิดแก่เขาในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว ดังนี้แล้ว
ตรัสพระคาถาว่า ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยยศ และโภคะ ย่อมคบ
ประเทศใด ๆ ย่อมเป็นผู้อันเขาบูชาแล้ว ในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว
จิตตคฤหบดีได้เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการแสดงธรรม โดยมีเรื่องที่เป็นเค้ามูล
ที่แสดงให้เห็นว่าท่านเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นอยู่หลายเรื่อง เช่น
ท่านได้แสดงธรรมแก้ปัญหาที่เหล่าภิกษุที่อัมพาฏการามได้สงสัยในเรื่อง ธรรมเหล่านี้
คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกันหรือว่ามีอรรถหมือนกัน
พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ซึ่งท่านก็ได้แสดงธรรมแก้ข้อสงสัยนั้นจนเป็นที่พอใจของพระสงฆ์
เหล่านั้น
อีกครั้งหนึ่งท่านได้แสดงธรรมโดยละเอียดในเรื่องที่พระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน
ใกล้ราวมัจฉิกาสณฑ์ ได้ขอให้ท่านขยายความภาษิตที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้โดยย่อว่า
เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย
ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน ซึ่งคฤหบดีก็ได้ขยายให้พระกามภูฟังจน
พระกามภูได้ชมเชย
ท่านได้แสดงธรรมแก้ปัญหาที่ท่านพระโคทัตตะได้สงสัยในเรื่องธรรมเหล่านี้ คือ
อัปปมาณาเจโตวิมุติ อากิญจัญญาเจโตวิมุติ สุญญตาเจโตวิมุติ และอนิมิตตาเจโตวิมุติ
มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่า มีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ซึ่งท่านก็ได้แสดงธรรมแก้ข้อสงสัยนั้นจนเป็นที่พอใจแก่ท่านพระโคทัตตะท่านคฤหบดีได้แสดงธรรมให้อเจลกัสสปผู้สหายให้เลื่อมใสพระพุทธศาสนา จนขอบวช
และต่อมาได้เป็นพระอรหันต์
ท่านคฤหบดีได้มีหนังสือพรรณนาพระพุทธคุณส่งไปให้อิสิทัตตะผู้เป็นสหาย
ที่ไม่เคยเห็นกันของตน จนอิสิทัตตะเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า บวชในสานักของ
พระมหากัจจายนเถระ ได้บาเพ็ญวิปัสสนาแล้ว ต่อกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหันต์
ต่อมาภายหลัง พระพุทธเจ้า เมื่อทรงสถาปนาเหล่าอุบาสกไว้ในตาแหน่งต่าง ๆ
ตามลาดับ ทรงทากถาชื่อจิตตสังยุตให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาท่านไว้ใน
ตาแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้เป็นธรรมกถึก

๒๑. อนาถบิณฑิกเศรษฐี

๒๑. อนาถบิณฑิกเศรษฐี
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี บิดาชื่อว่า สุมนะมี
ทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล เมื่อเกิดมาแล้วบรรดาหมู่ญาติได้ตั้งชื่อให้ว่า สุทัตตะ เป็นคน
มีจิตเมตตาชอบทาบุญให้ทานแก่คนยากจนอนาถา
เมื่อบิดามารดาของท่านล่วงลับไปแล้ว ได้ดารงตาแหน่งเศรษฐีแทน ให้ตั้งโรงทาน
ที่หน้าบ้านแจกอาหารแก่คนยากจนทุกวัน จนกระทั่งประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามลักษณะ
นิสัยว่า อนาถบิณฑิกะ ซึ่งหมายถึง ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา และได้เรียกกันต่อมา จนบางคน
ก็ลืมชื่อเดิมของท่านไป ท่านอนาถบิณฑิกะ ทาการค้าขายระหว่างเมืองสาวัตถีกับเมืองราชคฤห์
เป็นประจา จนมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับเศรษฐีเมืองราชคฤห์ นามว่า ราชคหกะ และต่อมา
เศรษฐีทั้งสองก็มีความเกี่ยวดองกันมากขึ้น โดยต่างฝ่ายก็ได้น้องสาวของกันและกันมาเป็น
ภรรยา ดังนั้น เมื่ออนาถบิณฑิกะ นาสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์ จึงได้มาพักอาศัยที่บ้าน
ของราชคฤหเศรษฐีผู้ซึ่งมีฐานะเป็นทั้งน้องเขยและพี่เมียอยู่เป็นประจา
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ดารงชีวิตอยู่ในเมืองสาวัตถี โดยมิได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเกิดขึ้น
แห่งพระพุทธศาสนาเลย จวบจนวันหนึ่ง ท่านได้นาสินค้ามาขายในเมืองราชคฤห์ และได้เข้า
พักในบ้านของราชคหกเศรษฐีตามปกติ แต่ในวันนั้น เป็นวันที่ราชคหกเศรษฐี ได้กราบทูล
อาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นจานวนมากมาฉันภัตตาหารที่เรือนของตน
ในวันรุ่งขึ้น
ราชคหกเศรษฐีมัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานแก่ข้าทาสบริวาร จึงไม่มีเวลามาปฏิสันถาร
ต้อนรับ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเหมือนเช่นเคย เพียงแต่ได้ทักทายปราศัยเล็กน้อยเท่านั้น
แล้วก็สั่งงานต่อไป แม้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็เกิดความสงสัยขึ้นเช่นกัน จึงคิดอยู่ในใจว่า
ราชคหกเศรษฐี คงจะมีงานบูชายัญหรือไม่ก็คงจะกราบทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสาร
เสด็จมายังเรือนของตนในวันพรุ่งนี้
เมื่อสั่งงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ราชคหกเศรษฐี จึงได้มีเวลามาต้อนรับพูดคุยกับ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี และท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ได้ไต่ถามข้อข้องใจสงสัยนั้น ซึ่งได้รับ
คาตอบว่าที่มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานนั้นก็เพราะได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วย
พระภิกษุสงฆ์มาฉันภัตตาหารที่เรือนของตนในวันพรุ่งนี้
อนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ฟังคาว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง ก็รู้สึกแปลกประหลาด
ใจ จึงย้อนถามถึงสามครั้งเพื่อให้แน่ใจ เพราะคาว่า พระพุทธเจ้า นี้เป็นการยากยิ่งนักที่จะได้ยินในโลกนี้ เมื่อราชคหกเศรษฐีกล่าวยืนยันว่า ขณะนี้ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
เกิดขึ้นแล้วในโลก จึงเกิดปีติและศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ปรารถนาจะไปเข้าเฝ้า
พระพุทธองค์ในทันที แต่ราชคหกเศรษฐียับยั้งไว้ว่ามิใช่เวลาแห่งการเข้าเฝ้า จึงรอจนรุ่งเช้า
ก็รีบไปเข้าเฝ้าก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จไปยังบ้านราชคหกเศรษฐี ได้ฟังอนุบุพพิกถาและ
อริยสัจ ๔ จากพระพุทธเจ้าแล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคลในพระพุทธศาสนา
ประกาศตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ช่วยอังคาสถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์
ครั้นเสร็จภัตกิจแล้ว ก็ได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเพื่อเสด็จไปประกาศ พระศาสนาใน
เมืองสาวัตถี พร้อมทั้งกราบทูลว่า จะสร้างพระอารามถวายในเมืองสาวัตถีนั้น พระพุทธเจ้า
ทรงรับอาราธนาตามคากราบทูล
อนาถบิณฑิกเศรษฐี รู้สึกปลาบปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง รีบเดินทางกลับสู่เมือง
สาวัตถีโดยด่วน ในระหว่างทางจากเมืองราชคฤห์ถึงเมืองสาวัตถี ระยะทาง ๕๔ โยชน์
ได้บริจาคทรัพย์จานวนมาก ให้สร้างวิหารที่ประทับเป็นที่พักทุก ๆ ระยะหนึ่งโยชน์ เมื่อถึง
เมืองสาวัตถีแล้ว ได้ติดต่อขอซื้อที่ดินจากเจ้าชายเชตราชกุมาร โดยได้ตกลงราคาด้วยการนาเงิน
ปูลาดให้เต็มพื้นที่ตามที่ต้องการ ปรากฏว่าเศรษฐีใช้เงินถึง ๒๗ โกฏิ เป็นค่าที่ดินและอีก
๒๗ โกฏิ เป็นค่าก่อสร้างพระคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้า และเสนาสนะสงฆ์ รวมเป็น
เงินทั้งสิ้น ๕๔ โกฏิ แต่ยังขาดพื้นที่สร้างซุ้มประตูพระอาราม ขณะนั้น เจ้าชายเชตราชกุมาร
ได้แสดงความประสงค์ขอเป็นผู้จัดสร้างถวาย โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ที่ซุ้ม
ประตูพระอาราม ดังนั้น พระอารามนี้จึงได้ชื่อว่า เชตวนาราม
เมื่อการก่อสร้างพระอารามเสร็จแล้ว ได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วย
พระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าประทับจัดพิธีฉลองพระอารามอย่างมโหฬารนานถึง ๙ เดือนได้จัด
ถวายอาหารบิณฑบาตอันประณีตแก่พระพุทะเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพิธีฉลองพระอาราม
เสร็จสิ้นลงแล้วได้ กราบอาราธนาพระภิกษุจานวนประมาณ ๒,๐๐๐ รูป ไปฉันภัตตาหาร
ที่บ้านของตนทุกวันตลอดกาล
สมัยหนึ่ง ท่านได้สิ้นเนื้อประดาตัว เพราะต้องเสียทรัพย์ไปครั้งใหญ่ถึง ๒ ครั้ง คือ
พวกพ่อค้าผู้เป็นสหายได้ขอยืมเงินไป ๑๘ โกฏิแล้วไม่ใช้คืน ทรัพย์อีกส่วนหนึ่งซึ่งฝังไว้ที่ริมฝั่ง
แม่น้า จานวน ๑๘ โกฏิ ได้ถูกน้าเซาะตลิ่งพัง ทรัพย์ก็ถูกน้าพัดไปในมหาสมุทร แม้ท่านจะตก
อับอย่างนี้ก็ตาม ท่านก็ยังคงให้ทานอยู่เสมอวันละ ๕๐๐ รูป เพียงแต่ภัตตาหารที่จัดถวายพระภิกษุสงฆ์ลดลงทั้งคุณภาพและปริมาณ จนที่สุดข้าวที่หุงถวายพระก็จาเป็นต้องใช้ข้าว
ปลายเกวียนกับข้าวก็เหลือเพียงน้าผักเสี้ยนดอง ตนเองก็พลอยอดอยากลาบากไปด้วย
ถึงกระนั้น เศรษฐีก็ยังไม่ลดละการทาบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ ได้แต่กราบเรียน
ให้พระภิกษุสงฆ์ทราบว่า ตนเองไม่สามารถจะจัดถวายอาหารอันประณีตมีรสเลิศเหมือน
เมื่อก่อนได้ เพราะขาดปัจจัยที่จะจัดหา พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นปุถุชนก็พากันไปรับอาหาร
บิณฑบาตที่ตระกูลอื่นที่ถวายอาหารมีรสเลิศกว่า
ในคราวที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ตกอับลงนั้น พระพุทธองค์ได้เสด็จไปยังนครสาวัตถี
อีกครั้งหนึ่ง เสด็จประทับ ณ วัดพระเชตวัน เมื่อท่านเศรษฐีเข้าเฝ้าก็ตรัสถามว่า ในตระกูล
ของท่าน ยังมีการให้ทานอยู่หรือคฤหบดี ท่านทูลตอบว่า ยังให้ทานอยู่ พระเจ้าข้า แต่ทานนั้น
เป็นของเศร้าหมอง เป็นปลายข้าว มีน้าผักดองเป็นที่สอง
พระพุทธองค์ตรัสว่า วัตถุที่ให้นั้น จะเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม แต่ถ้าผู้ให้เทให้
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรม ทานนั้นย่อมให้ผลไม่ดี แต่ถ้าผู้ให้ทาน ให้ด้วยความเคารพ
ให้ด้วยความนอบน้อม ให้ด้วยมือของตนเอง ไม่ทิ้งให้เทให้ ให้เพราะเชื่อกรรมและผลของกรรม
ทานนั้นย่อมให้ผลดี
ขณะนั้น เทวดาตนหนึ่งผู้เป็นมิจฉาทิฎฐิ ซึ่งสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของท่านอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี ไม่เลื่อมใสพุทธศาสนา เบื่อระอาที่พระภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูเข้าออกทุกวัน
เพราะในขณะที่ภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูนั้นตนไม่สามารถจะอยู่บนซุ้มประตูได้ เมื่อเห็น
เศรษฐีกลับกลายมีฐานะยากจนลงเพราะทาบุญแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงปรากฎ
กายต่อหน้าท่านเศรษฐีกล่าวห้ามปรามให้เศรษฐีเลิกทาบุญเสียเถิด แล้วทรัพย์สินเงินทอง
ก็จะเพิ่มพูนขึ้นเหมือนเดิม ท่านเศรษฐีจึงถามว่า ท่านเป็นใคร
เทวดาตอบว่า ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูเรือนของท่าน เศรษฐีจึง
กล่าวว่า ดูก่อนเทวดาอันธพาล เราไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการฟังคาพูดของท่าน ขอท่าน
จงออกไปจากซุ่มประตูเรือนของเรา อย่ามาให้ข้าพเจ้าเห็นอีกเป็นอันขาด
เทวดาตกใจ ไม่สามารถจะอยู่ที่ซุ่มประตูเรือนของเศรษฐีได้อีกต่อไป กลายเป็น
เทวดาไร้ที่สิงสถิต ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เข้าไปหาเทวดาผู้มีศักดิ์สูงกว่าตนให้
ช่วยเหลือแต่ไม่มีเทวดาองค์ใดจะสามารถช่วยได้ เพียงแต่บอกอุบายให้ว่า ทรัพย์เก่าของ
เศรษฐีทั้งหมดมีจานวน ๕๔ โกฏิ ซึ่งรวมทั้งทรัพย์ที่ใส่ภาชนะฝังไว้ที่ริมฝั่งแม่น้าถูกน้าเซาะ
ตลิ่งพังจมหายไปในสายน้า ท่านจงไปนาทรัพย์เหล่านั้นกลับคืนมามอบให้ท่านเศรษฐี
แล้วท่านเศรษฐีก็จะหายโกรธยกโทษให้ และอนุญาตให้อยู่อาศัยที่ซุ้มประตูบ้านดังเดิมได้เทวดาทาตามนั้น ได้นาทรัพย์เหล่านั้นมามอบให้เศรษฐีด้วยอานาจฤทธิ์เทวดา
เมื่อเศรษฐียกโทษให้แล้วได้อยู่ ณ สถานที่เดิมของตนสืบไป
อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นแบบการทาบุญอุทิศให้ผู้ตาย โดยปรารภเหตุเล็ก ๆ
น้อย ๆ ขึ้นมาเป็นเรื่องทาบุญได้เสมอ เช่น วันหนึ่งหลานของท่านเล่นตุ๊กตาที่ทาจากแป้งแล้ว
หล่นลงแตก หลานร้องไห้ด้วยความเสียดายตุ๊กตา เพราะไม่มีตุ๊กตาจะเล่น ท่านเศรษฐีได้
ปลอบโยนหลานว่า ไม่เป็นไร เราช่วยกันทาบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตากันเถิด ปรากฏว่า
หลานหยุดร้องไห้ รุ่งเช้า ท่านจึงพาหลายช่วยกันทาบุญเลี้ยงพระแล้วกรวดน้าอุทิศส่วนกุศล
ไปให้ตุ๊กตาข่าวการทาบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตาของท่านเศรษฐี แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว
ประชาชนชาวพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเป็นเรื่องแปลกและเป็นสิ่งที่ดีที่ควรกระทา ดังนั้น
เมื่อญาติผู้เป็นที่รักของตนตายลงก็พากันทาบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เหมือนอย่างที่ท่านเศรษฐี
กระทานั้น และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ตามปกติทุก ๆ วัน ภิกษุทั้งหมดผู้อยู่ในเมืองสาวัตถีจะรับนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหาร
ในบ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และในบ้านของนางวิสาขา ดังนั้น บุคคลอื่น ๆ ผู้ประสงค์จะ
ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ ก็ต้องมาขอโอกาสจากท่านทั้งสองนี้ เมื่อนิมนต์พระได้แล้วก็ต้องเชิญ
ท่านทั้งสองนี้ไปเป็นประธานที่ปรึกษาด้วย ทั้งนี้ก็เพราะท่านทั้งสองทราบดีว่า ควรประกอบ
ควรปรุงอาหารอย่างไรให้ต้องกับอัธยาศัยและวินัยของพระ ควรจัดสถานที่อย่างไรจึงจะ
เหมาะสม นอกจากนี้ก็เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านเรือนที่จัดงานอีกด้วย ดังนั้น ท่านทั้ง
สองจึงไม่ค่อยมีเวลาอยู่ปฏิบัติเลี้ยงดูพระภิกษุที่นิมนต์มาฉันที่บ้านของตน นางวิสาขาจึงได้
มอบหมายภารกิจหน้าที่นี้แก่หลานสาวส่วนอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้มอบให้แก่ลูกสาวคนโต
ชื่อว่า มหาสุภัททา นางได้ทาหน้าที่นี้อยู่ระยะหนึ่ง ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุ
เป็นพระโสดาบัน ต่อมาได้แต่งงานแล้วก็ติดตามไปอยู่ในสกุลของสามีจากนั้นอนาถบิณฑิก
เศรษฐีก็ได้มอบหมายให้ลูกสาวคนที่สองชื่อว่า จุลสุภัททา นางก็ทาหน้าที่แทนบิดาด้วยดี
โดยตลอด และก็ได้สาเร็จเป็นพระโสดาบันเช่นกันต่อจากนั้นไม่นาน นางก็ได้แยกไปอยู่กับ
ครอบครัวของสกุลสามี อนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงได้มอบหน้าที่ให้ลูกสาวคนเล็กชื่อว่า สุมนาเทวี
กระทาแทนสืบมา
สุมนาเทวี ทาหน้าที่ด้วยความขยันเข้มแข็ง งานสาเร็จลงด้วยความเรียบร้อยทุกวัน
ทั้ง ๆ ที่นางอายุยังน้อย จากการที่นางได้ทาบุญถวายภัตตาหาร แด่พระภิกษุสงฆ์และได้ฟัง
ธรรมเป็นประจา นางก็ได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี แต่ต่อมานางได้ล้มป่วยลงมีอาการหนัก
ใคร่อยากจะพบบิดา จึงให้คนไปเชิญบิดามาท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ทราบว่าลูกสาวป่วยหนักก็รีบมาเยี่ยมโดยเร็ว พอมาถึง
ได้ถามลูกสาวว่า แม่สุมนา เจ้าเป็นอะไร
อะไรเล่า น้องชาย ลูกสาวตอบ
เจ้าเพ้อหรือ แม่สุมนา บิดาถาม
ไม่เพ้อหรอก น้องชาย ลูกสาวตอบ
แม่สุมนา ถ้าอย่างนั้น เจ้ากลัวหรือ บิดาถาม
ไม่กลัวหรอก น้องชาย
นางสุมนาเทวี พูดโต้ตอบกับบิดาได้เพียงเท่านั้นก็ถึงแก่กรรม
อนาถปิณฑิกเศรษฐี แม้จะเป็นพระโสดาบัน ก็ไม่อาจจะกลั้นความเศร้าโศกเสียใจ
เพราะการจากไปของธิดาได้ เมื่อเสร็จงานศพได้ร้องไห้น้าตานองหน้าไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ตรัสปลอบว่า
อนาถปิณฑิกเศรษฐี ก็ความตายเป็นสิ่งเที่ยงแท้ของสรรพสัตว์มิใช่หรือ เหตุไฉนท่าน
จึงร้องไห้อย่างนี้
อนาถปิณฑิกเศรษฐี กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นข้าพระองค์ทราบดี
แต่นางสุมนาเทวีธิดาของข้าพระองค์ เมื่อใกล้เวลาจวนจะตาย นางไม่สามารถคุมสติได้เลย
นางบ่นเพ้อจนกระทั่งตาย ข้าพระองค์โทมนัสร้องไห้เพราะเหตุนี้ พระเจ้าข้าพร้อมทั้งได้
กราบทูลถ้อยคาที่นางสุมนาเทวีเรียนตนเองว่าน้องชาย ถวายให้พระพุทธองค์ทรงทราบ
พระพุทธเจ้าได้สดับแล้วตรัสว่า
ดูก่อนมหาเศรษฐี บุตรของท่านมิได้เพ้อหลงสติอย่างที่ท่านเข้าใจ แต่ที่นางเรียก
ท่านว่าน้องชายนั้น ก็เพราะท่านเป็นน้องของนางจริง ๆ นางเป็นใหญ่กว่าท่านโดยมรรคและผล
เพราะท่านเป็นเพียงพระโสดาบัน แต่ธิดาของท่านเป็นพระสกทาคามี เป็นอริยบุคคลสูงกว่าท่าน
และบัดนี้ นางได้ไปเกิดเสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว นี่แหละคฤหบดี ธรรมดาบุคคล
ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ถ้าอยู่ด้วยความไม่ประมาท ประพฤติดีปฏิบัติชอบ
ก็ย่อมเสวยสุขเพลินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระพุทธดารัสแล้วหายจากความเศร้าโศกเสียใจกลับ
ได้รับความปีติเอิบอิ่มใจขึ้นมาแทน เมื่อควรแก่เวลาแล้ว ก็กราบทูลลากลับสู่เคหสถานของ
ตน เพราะความที่อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นผู้มีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหว ฝักใฝ่ในการทาบุญให้ทาน ไม่มีผู้ใดจะเปรียบเทียบได้ พระพุทธองค์ยกย่องท่านในตาแหน่ง เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศ
กว่าอุบาสกทั้งหลาย ในฝ่ายผู้เป็นทายก

๒๐. สุมนสามเณร

๒๐. สุมนสามเณร
พระอนุรุทธเถระ เป็น ๑ ใน ๘๐ พระอัครสาวกผู้ใหญ่ ที่ได้รับการยกย่องจาก
พระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีทิพยจักษุญาณ เป็นโอรสที่พระบิดา
ถวายให้เป็นบริวารแด่เจ้าชายสิทธัตถะ ในคราวที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ
ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์ เสด็จออกทรงผนวชและตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
อนุรุทธะพร้อมกับพระโอรสของเจ้าศากยะห้าพระองค์ มีเจ้าภัททิยะเป็นประมุข เข้าไปเฝ้า
พระศาสดาที่ อนุปิยอัมพวัน ทรงผนวชแล้ว
ก็ครั้นผนวชแล้ว พระอนุรุทธะเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ทาให้แจ้งวิชชา ๓ โดยลาดับ นั่งอยู่
บนอาสนะเดียว สามารถเล็งดูโลกธาตุพันหนึ่งได้ด้วยทิพยจักษุ ดุจผลมะขามป้อมที่บุคคลวาง
ไว้บนฝ่ามือฉะนั้น จึงเปล่งอุทานขึ้นว่า
เราย่อมระลึกได้ซึ่งบุพเพนิวาส ทิพยจักษุ เราก็ชาระแล้ว
เราเป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นผู้ถึงฤทธิ์ คาสอนของพระพุทธเจ้า อันเราทาแล้ว
พิจารณาดูว่า เราทากรรมอะไรหนอ จึงได้สมบัตินี้ ทราบได้ว่า เราได้ตั้งความปรารถนา
ไว้แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ ทราบต่อไปอีกว่า เราท่องเที่ยวอยู่
ในสงสาร ในกาลชื่อโน้น ได้อาศัยสุมนเศรษฐี ในเมืองพาราณสีเลี้ยงชีพ เป็นผู้ชื่อว่าอันนภาระ
ดังนี้แล้ว กล่าวว่า
ในกาลก่อน เราเป็นผู้ชื่อว่าอันนภาระ เป็นคนเข็ญใจ ขนหญ้า
เราถวายบิณฑบาตแก่พระอุปริฏฐปัจเจกพุทธะ ผู้มียศ
ครั้งนั้น ท่านได้มีความปริวิตกว่า สุมนเศรษฐีผู้เป็นสหายของเรา ได้กหาปณะแล้ว
รับเอาส่วนบุญจากบิณฑบาตซึ่งเราถวายแก่พระอุปริฏฐปัจเจกพุทธะในกาลนั้น บัดนี้ เกิดใน
ที่ไหนหนอแล
ทีนั้น ท่านได้เล็งเห็นเศรษฐีนั้นว่า บ้านชื่อว่ามุณฑนิคม มีอยู่ที่เชิงเขาใกล้ดงไฟไหม้
อุบาสกชื่อมหามุณฑะ ในมุณฑนิคมนั้น มีบุตรสองคน คือมหาสุมนะและจูฬสุมนะ ในบุตร
สองคนนั้น สุมนเศรษฐีเกิดเป็นจูฬสุมนะ ก็ครั้นเห็นแล้ว คิดว่า เมื่อเราไปในที่นั้น อุปการะ
จะมีหรือไม่มีหนอ ท่านใคร่ครวญอยู่ได้เห็นเหตุนี้ว่า เมื่อเราไปในที่นั้น จูฬสุมนะนั้นมีอายุ
๗ ขวบเท่านั้นจะขอออกบวช และจะบรรลุอรหัตผลในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเองก็แลท่านครั้นเห็นแล้ว เมื่อกาลฝนใกล้เข้ามา จึงไปทางอากาศลงที่ประตูบ้าน
ส่วนมหามุณฑอุบาสกเป็นผู้คุ้นเคยของพระเถระแม้ในกาลก่อนเหมือนกัน เขาเห็นพระเถระ
ครองจีวรในเวลาบิณฑบาต จึงกล่าวกับมหาสุมนะผู้บุตรว่า พ่อ พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธเถระ
ของเรามาแล้ว เจ้าจงไปรับบาตรของท่านให้ทันเวลาที่ใคร ๆ คนอื่นยังไม่รับบาตรของท่านไป
พ่อจะให้เขาปูอาสนะไว้
มหาสุมนะได้ทาอย่างนั้นแล้ว อุบาสกอังคาสพระเถระภายในเรือนโดยเคารพแล้ว
รับปฏิญญาเพื่อต้องการแก่การอยู่จาพรรษาตลอดไตรมาส พระเถระรับนิมนต์แล้ว
ครั้งนั้น อุบาสกปฏิบัติพระเถระตลอดไตรมาส เป็นเหมือนปฏิบัติอยู่วันเดียว ในวัน
มหาปวารณา จึงนาไตรจีวรและอาหารวัตถุมีน้าอ้อย น้ามัน และข้าวสารเป็นต้นมาแล้ว
วางไว้ใกล้เท้าของพระเถระ เรียนว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงรับเถิด ขอรับ
พระเถระกล่าวว่า อย่าเลยอุบาสก ความต้องการด้วยวัตถุนี้ของฉัน ไม่มี
อุบาสกเรียนว่า ท่านผู้เจริญ นี่ชื่อว่า วัสสาวาสิกลาภ (คือลาภอันเกิดแก่ผู้อยู่จาพรรษา)
ขอพระผู้เป็นเจ้าจงรับวัตถุนั้นไว้เถิด
พระเถระกล่าวว่า ช่างเถิด อุบาสก
อุบาสกถามว่า ท่านย่อมไม่รับเพื่ออะไร ขอรับ
พระเถระตอบว่า แม้สามเณรผู้เป็นกับปิยการก ในสานักของฉันก็ไม่มี
อุบาสกเรียนว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น มหาสุมนะผู้เป็นบุตรของกระผมจักเป็น
สามเณร
พระเถระกล่าวว่า อุบาสก ความต้องการด้วยมหาสุมนะของฉัน ก็ไม่มี
อุบาสกเรียนว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าจงให้จูฬสุมนะ บวชเถิด
พระเถระกล่าวว่า ดีละ แล้วให้จูฬสุมนะบวช จูฬสุมนะนั้นบรรลุอรหัตในเวลาปลงผม
เสร็จนั่นเอง
พระเถระอยู่ในที่นั้นกับจูฬสุมนสามเณรนั้นประมาณกึ่งเดือนแล้ว ลาพวกญาติ
ของเธอว่า พวกฉันจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้วไปทางอากาศ ลงที่กระท่อมอันตั้งอยู่ในป่า
ในหิมวันตประเทศ
ดึกคืนนั้น ท่านพระอนุรุทธเถระเกิดปวดท้องด้วยกาลังลมเสียดท้อง สามเณรจึงถาม
ว่ากระผมควรจะทายาเช่นไรดีขอรับพระเถระกล่าวว่า เอาเนยใสผสมกับน้าจากสระอโนดาตจึงจะหาย เธอถือเอาขวด
น้านี้ไปใส่มาเถิด พญานาคที่อยู่ที่สระนั้นเป็นเพื่อนกับเรา เธอบอกเขาว่าฉันใช้ให้มาเอา
เขาก็ถวาย ขอรับ
สามเณรรับคาแล้วเหาะไป พอดีวันนั้นเป็นวันจัดงานเลี้ยงของพญานาคพอดี และ
นาคก็กาลังดูนางราฟ้อนราอย่างสบายอารมณ์ พอเห็นสามเณรเหาะข้ามหัวตัวเองไปก็โกรธ
เพราะปกติพวกพญานาคนั้นขี้โกรธอยู่แล้ว จึงอยากลองฤทธิ์สามเณร จึงแผ่ขยายพังพานเจ็ด
หัวของตัวเองปิดสระอโนดาตกว้าง ๑๕๐ โยชน์จนหมด (๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๖ กิโลเมตร)
สามเณรรู้ว่านาคโกรธจึงกล่าวว่า
ดูก่อนท่านพญานาค อาตมา มาตักน้าตามคาสั่งของอุปัชฌาย์ ขอท่านจงให้น้าแก่
อาตมาเถิด พญานาคกล่าวว่า แม่น้าใหญ่มีตั้งห้าสาย ทาไมท่านไม่ไปเอา ทาไมต้องมาเอาที่นี่
สามเณรตอบว่า อาตมาต้องนาน้าจากที่นี่ไปผสมยา อาการของอุปัชฌาย์จึงจะหาย
ขอท่านจงให้น้าเถิด พญานาคกล่าวว่า ถ้าท่านมีปัญญาท่านก็เอาไปสิ
สามเณรรู้ว่าพญานาคโกรธและกลั่นแกล้ง จึงเข้าฌานแยกร่างไปหาท้าวมหาพรหม
ชั้นต่าง ๆ ๑๖ ชั้น ยกเว้นพรหมที่ไม่มีสัญญี (รูปร่าง) จากนั้นก็เชิญพรหมทั้งหมดมาดูศึกของ
ตนเองและพญานาคที่หลังสระน้า สามเณรถามพญานาคอีกว่า
ท่านจะให้น้าแก่อาตมาได้หรือไม่
พญานาคตอบว่า ถ้าท่านมีปัญญาก็เอาไป
สามเณรเณรถามสามครั้งเพื่อยืนยันตามธรรมเนียม จึงเนรมิตร่างให้ใหญ่กว่าพรหม
ที่มาประชุมกันทั้งหมดแล้วเอาเท้าเหยียบหัวพญานาคจากขนาด ๑๕๐ โยชน์ พญานาคถูกกด
จนเหลือเท่าฝาทัพพี จมลงไปในน้า เกลียวน้าพุ่งขึ้นสูงจนเท่าลาตาลเจ็ดต้น สามเณรเอาขวด
รองรับน้าที่ตกลงมา เหล่าพรหมทั้งหลายสาธุการจนดังก้องไปทั่วบริเวณ พญานาคเห็นพรหม
ก็รู้ว่าเรื่องของตนกระจายแน่ๆ จึงโกรธสามเณรยิ่งกว่าเดิมและเหาะตามสามเณรไป แต่เหาะ
อย่างไรก็เหาะไม่ทัน สามเณรเหาะมาถึงและถวายน้าแก่พระเถระ พญานาคร้องห้ามว่า
อย่าฉันนะท่าน น้านี่ไม่สมควรจะฉัน สามเณรเรียนว่า ฉันเถอะขอรับ พญานาค
อนุญาตแล้ว พระเถระรู้ว่าสามเณรใช้ฤทธิ์ปราบนาค จึงฉันน้าผสมเนยใส อาพาธก็ระงับ
แล้วถามพญานาคว่า ท่านมาทาไม
พญานาคตอบว่า กระผมจะฆ่าเณรนี่ ฉีกอก ควักหัวใจแล้วโยนไปภูเขาหิมาลัยโน่นพระเถระกล่าวว่า มหาราช สามเณรมีอานุภาพมาก ท่านไม่สามารถสู้รบกับสามเณรได้
ควรให้สามเณรนั้นอดโทษแล้วกลับไปเสียเถิด พญานาคนั้นย่อมรู้อานุภาพของสามเณรได้ดี
แต่ติดตามมาเพราะความละอาย
ลาดับนั้น พญานาคให้สามเณรนั้นอดโทษตามคาของพระเถระ ทาความชอบพอกัน
ฉันมิตรกับเธอ จึงกล่าวว่า จาเดิมแต่กาลนี้ เมื่อความต้องการด้วยน้าในสระอโนดาตมีอยู่
กิจด้วยการมาแห่งพระผู้เป็นเจ้าย่อมไม่มี พระผู้เป็นเจ้าพึงส่งข่าวไปถึงข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเอง
จะนาน้ามาถวาย ดังนี้แล้วหลีกไป แม้พระเถระก็พาสามเณรไปแล้ว
พระพุทธเจ้าทรงทราบการมาแห่งพระเถระ ประทับนั่งทอดพระเนตรอยู่บนปราสาท
ของมิคารมารดา ถึงพวกภิกษุก็เห็นพระเถระซึ่งกาลังมา ลุกขึ้นต้อนรับ รับบาตรและจีวร
ครั้งนั้น ภิกษุบางพวกจับสามเณรที่ศีรษะบ้าง ที่หูทั้ง ๒ บ้าง ที่แขนบ้าง พลางเขย่า
กล่าวว่า ไม่กระสันหรือ สามเณร
พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นกิริยาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ทรงดาริว่า กรรมของ
ภิกษุเหล่านี้หยาบจริง ภิกษุเหล่านี้จับสามเณรเป็นดุจจับอสรพิษที่คอ พวกเธอหารู้อานุภาพ
ของสามเณรไม่ วันนี้ การที่เราทาคุณของสุมนสามเณรให้ปรากฏ สมควรอยู่
แม้พระเถระก็มาถวายบังคมพระพุทธเจ้า แล้วนั่ง
พระพุทธเจ้าทรงทาปฏิสันถารกับท่านแล้ว ตรัสเรียกพระอานนทเถระมาว่า อานนท์
เรามีความประสงค์จะล้างเท้าทั้งสองด้วยน้าในสระอโนดาต เธอจงให้หม้อแก่พวกสามเณร
แล้วให้นาน้ามาเถิด พระเถระให้สามเณรประมาณ ๕๐๐ ในวิหารประชุมกันแล้ว
บรรดาสามเณรเหล่านั้น สุมนสามเณรได้เป็นผู้ใหม่กว่าสามเณรทั้งหมด พระเถระ
กล่าวกะสามเณรผู้แก่กว่าสามเณรทั้งหมดว่า สามเณร พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์จะทรงล้าง
พระบาททั้งสองด้วยน้าในสระอโนดาต เธอจงถือหม้อน้าไปนาน้ามาเถิด สามเณรนั้น
ไม่ปรารถนา ด้วยกล่าวว่า กระผมไม่สามารถ ขอรับ พระเถระถามสามเณรทั้งหลายแม้ที่เหลือ
โดยลาดับ แม้สามเณรเหล่านั้น ก็พูดปลีกตัวทานองเดียวกัน
ในที่สุด เมื่อวาระถึงแก่สุมนสามเณรเข้า พระเถระกล่าวว่า สามเณร พระพุทธเจ้า
มีพระประสงค์จะทรงล้างพระบาททั้งสองด้วยน้าในสระอโนดาต ได้ยินว่า เธอจงถือเอาหม้อ
ไปตักน้ามาสุมนสามเณรเรียนว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงให้นามา กระผมจะนามา ดังนี้แล้ว
ถวายบังคมพระพุทธเจ้าแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า พระองค์ให้
ข้าพระองค์นาน้ามาจากสระอโนดาตหรือ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อย่างนั้น สุมนะ
สุมนสามเณรเอามือจับหม้อใหญ่ใบหนึ่ง ซึ่งจุน้าได้ตั้ง ๖๐ หม้อ ในบรรดาหม้อ
สาหรับเสนาสนะ ซึ่งเลี่ยมดาดด้วยทองแท่ง อันนางวิสาขาให้สร้างไว้ หิ้วไปด้วยคิดว่า ความ
ต้องการของเราด้วยหม้อ อันเรายกขึ้นตั้งไว้บนจะงอยบ่านี้ ย่อมไม่มี เหาะขึ้นสู่เวหาส บ่ายหน้า
ต่อหิมวันตประเทศ รีบไปแล้ว
นาคราชเห็นสามเณรซึ่งกาลังมาแต่ไกล จึงต้อนรับ แบกหม้อด้วยจะงอยบ่า กล่าวว่า
ท่านเจ้าข้า เมื่อผู้รับใช้เช่นข้าพเจ้ามีอยู่ เพราะอะไร พระคุณเจ้าจึงมาเสียเอง เมื่อความ
ต้องการน้ามีอยู่ เหตุไร พระคุณเจ้าจึงไม่ส่งเพียงข่าวสาสน์มา ดังนี้แล้ว เอาหม้อ ตักน้า
แบกเองกล่าวว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าล่วงหน้าไปก่อนเถิดขอรับ ข้าพเจ้าเองจะนาไป
สามเณรกล่าวว่า มหาราช ท่านจงหยุด ข้าพเจ้าเองเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าใช้มา ดังนี้
ให้พญานาคกลับแล้ว เอามือจับที่ขอบปากหม้อ เหาะมาทางอากาศ
ลาดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงแลดูเธอซึ่งกาลังมา ตรัสเรียกพวกภิกษุมาแล้ว ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูการเยื้องกรายของสามเณร เธอย่อมงดงามดุจพระยาหงส์
ในอากาศฉะนั้น แม้สามเณรนั้นวางหม้อน้าแล้ว ได้ถวายบังคมพระพุทธเจ้าแล้วยืนอยู่
ลาดับนั้น พระพุทธเจ้าตรัสถามเธอว่า สุมนะ เธอมีอายุได้เท่าไร สามเณรกราบทูลว่า
มีอายุ ๗ ขวบ พระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า สุมนะ ถ้ากระนั้น ตั้งแต่วันนี้ เธอจงเป็นภิกษุ
เถิด ดังนี้แล้ว ได้ประทานทายัชชอุปสมบท
ได้ยินว่า สามเณรผู้มีอายุ ๗ ปี ๒ รูปเท่านั้น ได้อุปสมบท คือสุมนสามเณรนี้รูปหนึ่ง
โสปากสามเณร อีกรูปหนึ่ง
เมื่อสุมนสามเณรนั้นอุปสมบทแล้วอย่างนั้น พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมนี้น่าอัศจรรย์ อานุภาพของสามเณรน้อย แม้เห็นปานนี้ก็มีได้ อานุภาพ
เห็นปานนี้ พวกเราไม่เคยเห็นแล้ว ในกาลก่อนแต่กาลนี้
พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วย
เรื่องอะไรหนอ เมื่อพวกเธอกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
ในศาสนาของเรา บุคคลแม้เป็นเด็ก ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมได้สมบัติเห็นปานนี้เหมือนกัน

๑๙. วนวาสีติสสสามเณร

๑๙. วนวาสีติสสสามเณร
ในอดีตกาล วนวาสีติสสสามเณร เกิดเป็น สหายของวังคันตพราหมณ์ ผู้บิดาของ
พระสารีบุตรเถระ ชื่อ มหาเสนพราหมณ์ อยู่ในเมืองราชคฤห์ วันหนึ่ง พระสารีบุตรเถระ
เที่ยวบิณฑบาต ได้ไปยังประตูเรือนของพราหมณ์นั้น เพื่ออนุเคราะห์เขา
แต่พราหมณ์นั้นมีสมบัติหมดเสียแล้ว กลับเป็นคนยากจน เขาคิดว่า บุตรของเรามา
เพื่อเที่ยวบิณฑบาตที่ประตูเรือนของเรา แต่เราเป็นคนยากจน บุตรของเราเห็นจะไม่ทราบ
ความที่เราเป็นคนยากจน ไทยธรรมอะไร ๆ ของเราก็ไม่มี เมื่อไม่อาจจะเผชิญหน้าพระเถระ
นั้นได้จึงหลบเสีย ถึงในวันอื่น แม้พระเถระได้ไปอีก พราหมณ์ก็ได้หลบเสียอย่างนั้นเหมือนกัน
เขาคิดอยู่ว่า เราได้อะไร ๆ แล้วนั่นแหละจะถวาย แต่ก็ไม่ได้อะไร ๆ
ภายหลังวันหนึ่ง เขาได้ถาดเต็มด้วยข้าวปายาสพร้อมกับผ้าสาฎกเนื้อหยาบ ในที่
บอกลัทธิของพราหมณ์แห่งหนึ่ง ถือไปถึงเรือน นึกถึงพระเถระขึ้นได้ว่า การที่เราถวาย
บิณฑบาตนี้แก่พระเถระ ควร
ในขณะนั้นนั่นเอง แม้พระเถระเข้าฌาน ออกจากสมาบัติแล้ว เห็นพราหมณ์นั้น
คิดว่า พราหมณ์ได้ไทยธรรมแล้ว หวังอยู่ซึ่งการมาของเรา การที่เราไปในที่นั้น ควร ดังนี้แล้ว
จึงห่มผ้าสังฆาฏิ ถือบาตร แสดงตนยืนอยู่ที่ประตูเรือนของพราหมณ์นั้น พอเห็นพระเถระ
เท่านั้น จิตของพราหมณ์เลื่อมใสแล้ว
ลาดับนั้น เขาเข้าไปหาพระเถระ ไหว้แล้ว ทาปฏิสันถาร นิมนต์ให้นั่งภายในเรือน
ถือถาดอันเต็มด้วยข้าวปายาส เกลี่ยลงในบาตรของพระเถระ พระเถระรับกึ่งหนึ่งแล้วจึงเอา
มือปิดบาตร
ทีนั้น พราหมณ์กล่าวกับพระเถระว่า ท่านผู้เจริญ ข้าวปายาสนี้สักว่าเป็นส่วนของ
คนเดียวเท่านั้น ขอท่านจงทาความสงเคราะห์ในปรโลกแก่กระผมเถิด อย่าทาความสงเคราะห์
ในโลกนี้เลย กระผมปรารถนาถวายไม่ให้เหลือทีเดียว ดังนี้แล้ว จึงเกลี่ยลงทั้งหมด พระเถระ
ฉันในที่นั้นนั่นเอง ครั้นในเวลาเสร็จภัตกิจ เขาถวายผ้าสาฎกแม้นั้นแก่พระเถระ ไหว้แล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอให้กระผมพึงบรรลุธรรมที่ท่านเห็นแล้วเหมือนกันพระเถระทาอนุโมทนาแก่พราหมณ์นั้นว่า จงสาเร็จอย่างนั้น พราหมณ์ ลุกขึ้นจาก
อาสนะหลีกไป เที่ยวจาริกโดยลาดับ ได้ถึงวัดพระเชตวันแล้ว
ก็ทานที่บุคคลถวายแล้วในคราวที่ตนตกยาก ย่อมทาผู้ถวายให้ร่าเริงอย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้น แม้พราหมณ์ถวายทานนั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส เกิดโสมนัสแล้ว ได้ทาความสิเนหา
มีประมาณยิ่งในพระเถระ ด้วยความสิเนหาในพระเถระ พราหมณ์นั้นทากาละแล้ว ถือปฏิสนธิ
ในสกุลอุปัฏฐากของพระเถระในเมืองสาวัตถี
ก็ในขณะนั้น มารดาของเขาบอกแก่สามีว่า สัตว์เกิดในครรภ์ตั้งขึ้นในท้องของฉัน
สามีได้ให้เครื่องบริหารครรภ์แก่มารดาของทารกนั้นแล้ว เมื่อนางเว้นการบริโภคอาหารวัตถุ
มีของร้อนจัด เย็นนัก และเปรี้ยวนัก เป็นต้น รักษาครรภ์อยู่โดยสบาย ความแพ้ท้องเห็น
ปานนี้เกิดขึ้นว่า ไฉนหนอ เราพึงนิมนต์ภิกษุ ๕๐๐ รูป มีพระสารีบุตรเถระเป็นประธานให้นั่ง
ในเรือน ถวายข้าวปายาสเจือด้วยน้านมล้วน แม้ตนเองนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ถือขันทอง นั่งใน
ที่สุดแห่งอาสนะ แล้วบริโภคข้าวปายาสอันเป็นเดนของภิกษุประมาณเท่านี้
ได้ยินว่า ความแพ้ท้องในเพราะการนุ่งห่มผ้ากาสาวะนั้นของนาง ได้เป็นบุรพนิมิต
แห่งการบรรพชาในพระพุทธศาสนาของบุตรในท้อง
ลาดับนั้น พวกญาติของนางคิดว่า ความแพ้ท้องของธิดาพวกเราประกอบด้วยธรรม
ดังนี้แล้ว จึงถวายข้าวปายาสเจือด้วยน้านมล้วน แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป มีพระสารีบุตรเถระเป็น
ประธาน แม้นางก็นุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ถือขันทองนั่งในที่สุดแห่งอาสนะ บริโภค
ข้าวปายาสอันเป็นเดนของภิกษุความแพ้ท้องสงบแล้ว
ในมงคลที่เขากระทาแล้วในระหว่าง ๆ แก่นางนั้น ตลอดเวลาสัตว์เกิดในครรภ์
คลอดก็ดี ในมงคลที่เขากระทาแก่นางผู้คลอดบุตร โดยล่วงไป ๑๐ เดือนก็ดี พวกญาติก็ได้
ถวายข้าวมธุปายาสมีน้าน้อยแก่ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป มีพระสารีบุตรเถระเป็นประธาน
เหมือนกัน
ได้ยินว่า นี่เป็นผลแห่งข้าวปายาสที่ทารกถวายแล้วในเวลาที่ตนเป็นพราหมณ์
ในกาลก่อน
ก็ในวันมงคลที่พวกญาติกระทาในวันที่ทารกเกิด พวกญาติให้ทารกนั้นอาบน้าแต่
เช้าตรู่ ประดับแล้วให้นอนเบื้องบนผ้ากัมพลมีค่าแสนหนึ่ง บนที่นอนอันมีสิริทารกนั้นนอนอยู่บนผ้ากัมพล แลดูพระเถระแล้ว คิดว่า พระเถระนี้เป็นบุรพาจารย์
ของเรา เราได้สมบัตินี้เพราะอาศัยพระเถระนี้ การที่เราทาการบริจาคอย่างหนึ่งแก่ท่านผู้นี้
ควร อันญาตินาไปเพื่อประโยชน์แก่การรับสิกขาบท ได้เอานิ้วก้อยเกี่ยวผ้ากัมพลนั้นยึดไว้
ครั้งนั้น ญาติทั้งหลายของทารกนั้นคิดว่า ผ้ากัมพลคล้องที่นิ้วมือแล้ว จึงปรารภจะ
นาออก ทารกนั้นร้องไห้ พวกญาติกล่าวว่า ขอพวกท่านจงหลีกไปเถิด ท่านทั้งหลายอย่ายัง
ทารกให้ร้องไห้เลย ดังนี้แล้ว จึงนาไปพร้อมกับผ้ากัมพล ในเวลาไหว้พระเถระ ทารกนั้น
ชักนิ้วมือออกจากผ้ากัมพล ให้ผ้ากัมพลตกลง ณ ที่ใกล้เท้าของพระเถระ
ลาดับนั้น พวกญาติไม่กล่าวว่า เด็กเล็กไม่รู้กระทาแล้ว กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ผ้าอัน
บุตรของพวกข้าพเจ้าถวายแล้ว จงเป็นอันบริจาคแล้วเถิด ดังนี้แล้ว กล่าวต่อไปว่า ท่านเจ้าข้า
ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้สิกขาบทแก่ทาสของท่าน ผู้ทาการบูชาด้วยผ้ากัมพลนั่นแหละ อันมี
ราคาแสนหนึ่ง
พระเถระถามว่า เด็กนี้ชื่ออะไร พวกญาติตอบว่า ชื่อเหมือนกับพระคุณเจ้า ขอรับ
พระเถระอุทานว่า นี่ชื่อ ติสสะ ได้ยินว่า พระเถระ ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ ได้มีชื่อว่า
อุปติสสมาณพ แม้มารดาของเด็กนั้น ก็คิดว่า เราไม่ควรทาลายอัธยาศัยของบุตร พวกญาติ
ครั้นกระทามงคลต่าง ๆ มีการตั้งชื่อ การบริโภคอาหาร การเจาะหู การนุ่งผ้าการโกนจุกของ
เด็กนั้นก็ได้ถวายข้าวมธุปายาสมีน้าน้อยแก่ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป มีพระสารีบุตรเถระเป็น
ประธาน
เด็กน้อยเจริญวัยแล้ว ในเวลามีอายุ ๗ ขวบ กล่าวกับมารดาว่า แม่ ฉันขอบวชใน
สานักของพระเถระ มารดารับว่า ดีละ ลูก เมื่อก่อนแม่ก็ได้หมายใจไว้ว่า เราไม่ควรทาลาย
อัธยาศัยของลูก เจ้าจงบวชเถิดลูก ดังนี้แล้ว ให้คนนิมนต์พระเถระมา ถวายภิกษาแก่
พระเถระแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ทาสของท่านกล่าวว่า ขอบวช พวกดิฉันจะพาทาสของ
ท่านนี้ไปสู่วิหารในเวลาเย็นแล้วส่งพระเถระกลับไป ในเวลาเย็นพาบุตรไปสู่วิหารด้วย
สักการะและสัมมานะเป็นอันมากแล้วก็มอบถวายพระเถระ
พระเถระกล่าวกับเด็กนั้นว่า ติสสะ ชื่อว่าการบวชเป็นของที่ทาได้ยาก เมื่อความ
ต้องการด้วยของร้อนมีอยู่ ย่อมได้ของเย็น เมื่อความต้องการด้วยของเย็นมีอยู่ ย่อมได้ของร้อน
ชื่อว่า นักบวชทั้งหลายย่อมเป็นอยู่โดยลาบาก ก็เธอเสวยความสุขมาแล้ว
ติสสะเรียนว่า ท่านขอรับ ผมสามารถทาได้ทุกอย่าง ตามที่ท่านบอกแล้ว พระเถระ
กล่าวว่า ดีละ แล้วบอกตจปัญจกกัมมัฏฐาน ด้วยสามารถแห่งการกระทาไว้ในใจโดยความเป็นของปฏิกูลแก่เด็กนั้น ให้บวชแล้ว มารดาบิดาทาสักการะแก่บุตรผู้บวชแล้ว ได้ถวายข้าว
มธุปายาสมีน้าน้อยแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ในวิหารนั่นเองสิ้น ๗ วัน ฝ่าย
ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า เราทั้งหลายไม่สามารถจะฉันข้าวมธุปายาสมีน้าน้อยเป็นนิตย์ได้
มารดาบิดาแม้ของสามเณรนั้น ได้ไปสู่เรือนในเวลาเย็นในวันที่ ๗ ในวันที่ ๘ สามเณรเข้าไป
บิณฑบาตกับภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสามเณรนั้นอยู่ในวัดพระเชตวัน พวกเด็กที่เป็นญาติมาสู่สานักพูดจาปราศรัย
เนือง ๆ สามเณรคิดว่า เราเมื่ออยู่ในที่นี้ เด็กที่เป็นญาติมาพูดอยู่ ไม่อาจที่จะไม่พูดได้ ด้วยการ
เนิ่นช้า คือ การสนทนากับเด็กเหล่านี้ เราไม่อาจทาที่พึ่งแก่ตนได้ ไฉนหนอ เราเรียนกัมมัฏฐาน
ในสานักของพระพุทธเจ้าแล้ว พึงเข้าไปสู่ป่า
ติสสสามเณรเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้ว ทูลขอให้พระองค์ตรัสบอก
กัมมัฏฐานจนถึงอรหัตผล ไหว้พระอุปัชฌายะแล้ว ถือบาตรและจีวรออกไปจากวิหาร คิดว่า
ถ้าเราอยู่ในที่ใกล้ไซร้ พวกญาติจะร้องเรียกเราไป จึงได้ไปสิ้นทางประมาณ ๑๒๐ โยชน์ ครั้งนั้น
สามเณรเดินไปทางประตูบ้านแห่งหนึ่ง เห็นชายแก่คนหนึ่ง จึงถามว่า อุบาสก วิหารในป่า
ของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในประเทศนี้มีไหม
อุบาสกตอบว่า มี ขอรับ สามเณรกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ขอท่านช่วยบอกทางแก่ฉัน
ก็ความรักเพียงดังบุตรเกิดขึ้นแล้วแก่อุบาสก เพราะเห็นสามเณรนั้น ลาดับนั้น อุบาสก
ยืนอยู่ในที่นั้นนั่นเอง ไม่บอกแก่สามเณร กล่าวว่า มาเถิดขอรับ ผมจะบอกแก่ท่าน ได้พา
สามเณรไปแล้ว สามเณร เมื่อไปกับอุบาสกแก่นั้น เห็นประเทศ ๖ แห่ง ๕ แห่ง อันประดับ
ด้วยดอกไม้และผลไม้ต่าง ๆ ในระหว่างทาง จึงถามว่า ประเทศนี้ชื่ออะไร อุบาสก
ฝ่ายอุบาสกนั้นบอกชื่อประเทศเหล่านั้นแก่สามเณร ถึงวิหารอันตั้งอยู่ในป่าแล้ว
กล่าวว่า ท่านขอรับ ที่นี่เป็นที่สบาย ขอท่านจงอยู่ในที่นี้เถิด แล้วถามชื่อว่า ท่านชื่ออะไร
ขอรับ เมื่อสามเณรบอกว่า ฉันชื่อวนวาสีติสสะ อุบาสก จึงกล่าวว่า พรุ่งนี้ ท่านควรไปเที่ยว
บิณฑบาตในบ้านของพวกกระผม แล้วกลับไปสู่บ้านของตน บอกแก่พวกมนุษย์ว่า สามเณร
ชื่อวนวาสีติสสะมาสู่วิหารแล้ว ขอท่านจงจัดแจงอาหารวัตถุมียาคูและภัตเป็นต้น เพื่อ
สามเณรนั้น
ครั้งแรกทีเดียว สามเณรเป็นผู้ชื่อว่า ติสสะ แต่นั้นได้ชื่อ ๓ ชื่อเหล่านี้คือ ปิณฑปาต
ทายกติสสะ กัมพลทายกติสสะ วนวาสีติสสะ ได้ชื่อ ๔ ชื่อภายในอายุ ๗ ปี รุ่งขึ้น สามเณร
เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้นแต่เช้าตรู่ พวกมนุษย์ถวายภิกษา ไหว้แล้ว สามเณรกล่าวว่าขอท่านทั้งหลายจงถึงซึ่งความสุข จงพ้นจากทุกข์เถิด แม้มนุษย์คนหนึ่งถวายภิกษาแก่
สามเณรแล้ว ก็ไม่สามารถจะกลับไปยังเรือนได้อีก ทุกคนได้ยืนแลดูอยู่ แม้สามเณรนั้นก็รับ
อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไปเพื่อตน ชาวบ้านทั้งสิ้นหมอบลง แทบเท้าของสามเณรแล้ว
กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อท่านอยู่ในที่นี้ตลอดไตรมาสนี้ พวกกระผมขอรับสรณะ ๓ ตั้งอยู่
ในศีล ๕ จะทาอุโบสถกรรม ๘ ครั้งต่อเดือน ขอท่านจงให้ปฏิญญาแก่กระผมทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์แห่งการอยู่ในที่นี้
สามเณรกาหนดอุปการะ จึงให้ปฏิญญาแก่มนุษย์เหล่านั้น เที่ยวบิณฑบาตในบ้านนั้น
เป็นประจา ก็ในขณะที่เขาไหว้แล้ว ๆ กล่าวเฉพาะ ๒ บทว่า ขอท่านทั้งหลายจงถึงซึ่งความสุข
จงพ้นจากทุกข์ ดังนี้แล้ว หลีกไป สามเณรให้เดือนที่ ๑ และเดือนที่ ๒ ล่วงไปแล้ว ณ ที่นั้น
เมื่อเดือนที่ ๓ ล่วงไป ก็บรรลุอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ครั้นเวลาปวารณาออกพรรษาแล้ว พระอุปัชฌายะของสามเณรเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะไปยังสานักติสสสามเณร
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไปเถิด สารีบุตร
พระสารีบุตรเถระ เมื่อพาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นบริวารของตนหลีกไป
กล่าวว่า โมคคัลลานะผู้มีอายุ กระผมจะไปยังสานักติสสสามเณร พระโมคคัลลานเถระกล่าวว่า
ท่านผู้มีอายุ แม้กระผมก็จะไปด้วย ดังนี้แล้ว ก็ออกไปพร้อมกับภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
พระมหาสาวกทั้งปวง คือพระมหากัสสปเถระ พระอนุรุทธเถระ พระอุบาลีเถระ
พระปุณณเถระเป็นต้น ออกไปพร้อมกับภิกษุประมาณรูปละ ๕๐๐ รูป โดยอุบายนั้นแล
บริวารของพระมหาสาวกแม้ทั้งหมด ได้เป็นภิกษุประมาณ ๔ หมื่นรูป
พระพุทธเจ้าเสด็จไปเหมือนกัน เมื่อถึงป่าที่สามเณรพานักอยู่ จึงเสด็จขึ้นบนยอด
ภูเขาแล้วตรัสถามสามเณรว่า เห็นอะไรบ้าง ได้รับคาตอบว่า เห็นมหาสมุทร ตรัสถามต่อว่า
คิดอย่างไร ได้รับคาตอบว่า น้าตาของคนเราที่ร้องไห้ในเมื่อถึงทุกข์ยังมากกว่าน้าในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ จึงตรัสว่า ถูกต้องแล้ว ติสสะ พระพุทธองค์ตรัสถามถึงที่พักอาศัยของสามเณร
เมื่อทราบว่า อยู่ที่เงื้อมเขา จึงตรัสถามสามเณรว่า เมื่ออยู่ที่เงื้อมเขาคิดอย่างไร สามเณร
กราบทูลว่า สถานที่ที่สัตว์ไม่เคยตายไม่มีในโลก พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ถูกต้องแล้ว ติสสะ
ชื่อว่าสถานที่แห่งสัตว์เหล่านี้ผู้ที่ไม่นอนตายบนแผ่นดินไม่มี
ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จหลีกไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ส่วนวนวาสีติสสสามเณร
ได้พานักอยู่ในป่านั้นต่อไป