๒๕. มัลลิกาเทวี
พระนางมัลลิกาเทวี เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ขณะนั้น นางมีอายุ
ได้ ๑๖ ปี เป็นธิดาของนายมาลาการ หรือช่างดอกไม้ อาศัยอยู่ที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล
มีนามเดิมว่า สิรจิต นางเป็นผู้มีบุญมาก มีรูปร่างผิวพรรณงดงามรวมถึงเป็นผู้มีปัญญา
เฉลียวฉลาด และมีความกตัญญูกตเวที ทุก ๆ วัน นางจะช่วยการงานของบิดาโดยไปเก็บ
ดอกไม้มาให้บิดาทาพวงมาลัย
อยู่มาวันหนึ่ง นางได้นาเอาขนมถั่วใส่กระเช้าดอกไม้ ไปยังสวนดอกไม้ ได้พบ
พระพุทธเจ้ากับทั้งพระภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ก็ดีใจ ได้เอาขนมเหล่านั้น
ใส่ลงในบาตรของพระพุทธเจ้า เมื่อไหว้แล้ว ก็เกิดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์แล้วยืนนิ่งอยู่
เมื่อพระพุทธองค์ทอดพระเนตรแล้วก็ทรงแสดงอาการแย้มให้ปรากฏ พระอานนท์จึง
ทูลถามถึงสาเหตุที่ทรงแย้ม พระองค์ตรัสว่า อานนท์ กุมาริกานี้จะได้เป็นอัครมเหสีของ
พระราชาโกศลในวันนี้ ด้วยผลที่ถวายขนมถั่ว จากนั้นธิดาของช่างดอกไม้ไปถึงสวนดอกไม้
ร้องเพลงไปพลางเก็บดอกไม้ ขณะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลสู้รบพ่ายแพ้พระเจ้าอชาตศัตรู
แล้วทรงม้าเสด็จหนีมาถึงสวนดอกไม้ ได้สดับเสียงเพลง ก็เกิดความพอพระทัยต่อเจ้าของ
เสียง เสด็จเข้าไปที่สวนดอกไม้สนทนาจนได้ความว่า กุมาริกานั้นยังไม่มีสามี จึงโปรดให้ขึ้น
หลังม้า เข้าสู่พระนคร และโปรดให้พานางไปสู่เรือนตระกูล พอถึงเวลาเย็นก็โปรดให้มารับ
ด้วยสักการะใหญ่ อภิเษกบนกองแก้วแล้วตั้งให้เป็นพระอัครมเหสี ด้วยความเป็นผู้มีปัญญา
และความเฉลียวฉลาด ทาให้พระนางมัลลิกาทรงเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าปเสนทิโกศล
เป็นอย่างมาก ได้ถวายทานที่ไม่มีใครเหมือน เรียกทานนี้ว่า อสทิสทานสมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงจาริกพร้องทั้งพระภิกษุบริวารจานวน ๕๐๐ รูป
เสด็จเข้าไปถึงวัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เข้าเฝ้า
กราบทูลอาราธนาเพื่อจะถวายอาคันตุกทาน ในวันรุ่งขึ้น ( อาคันตุกะ คือ ผู้มา ) คือถวาย
ทานแด่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดที่ตามเสด็จมาด้วย แล้วตรัสเรียกชาวนครว่า
จงมาดูทานของเราเถิด เมื่อชาวบ้านได้เห็นทานของพระราชา ก็ได้อาราธนาพระพุทธเจ้า
เพื่อเตรียมถวายทานบ้าง โดยถวายทานอันประณีตและมากยิ่งกว่าพระราชา ชาวบ้านและ
พระราชาทาสลับกันไปมา กลายเป็นการแข่งกันทาบุญไปโดยไม่รู้ตัว พระเจ้าปเสนทิโกศล
ก็ไม่อาจจะหาของแปลก ๆ พิสดารกว่าชาวบ้าน เพราะว่าชาวบ้านมีมาก ย่อมหาของพิสดารกว่า
เมื่อเป็นดังนี้ ทาให้เกิดความวิตกว่า จะทาอย่างไรจึงจะให้ทานได้แปลกและดีกว่าชาวบ้าน
ทาให้พระเจ้าปเสนทิโกศลกลุ้มพระทัยมาก เวลานั้นพระนางมัลลิกาได้มาเข้าเฝ้า พระราชา
จึงตรัสถามขอความช่วยเหลือจากพระนาง พระนางมัลลิกาเทวีต้องการที่จะถวายอสทิสทาน
(ทานที่ไม่มีใครเหมือน) อยู่แล้ว เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระประสงค์จะถวายทาน
อันยิ่งกว่าชาวนคร จึงกราบทูลให้พระองค์รับสั่งทาดังนี้ คือ
๑) ให้ทามณฑปด้วยไม้สาละไว้สาหรับพระสงฆ์ ๕๐๐ รูปนั่ง และใช้ไม้ขานางเอาไว้
ถ่างขาทาเป็นโต๊ะ ส่วนพระที่เกินจาก ๕๐๐ รูปนั้น นั่งอยู่นอกวงเวียน
๒) ให้ทาเศวตฉัตร ๕๐๐ คัน
๓) ให้ใช้ช้าง ๕๐๐ เชือก ถือเศวตฉัตรกั้นอยู่เบื้องหลังพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป
๔) ให้ทาเรือที่ทาจากทองคาแท้ ๆ ๘ ลา หรือ ๑๐ ลา เรือเหล่านี้จะอยู่ท่ามกลาง
มณฑป
๕) ให้เจ้าหญิง ๑ องค์ นั่งบดของหอมท่ามกลางพระภิกษุ ๒ รูป และเจ้าหญิง ๑ องค์
จะถือพัดถวายแด่พระภิกษุ ๒ รูป ดังนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูป ก็มีเจ้าหญิง ๕๐๐ องค์
๖) เจ้าหญิงที่เหลือ จะทาของหอมที่บดแล้วไปใส่ในเรือนท่ามกลางมณฑปทุก ๆ ลา
เจ้าหญิงบางพวกจะถือดอกอุบลเขียวหรือดอกบัวเขียวเคล้าของหอม เพื่อให้ภิกษุรับเอากลิ่นอบ
(เจ้าหญิง ส่วนใหญ่จะเป็นธิดาของกษัตริย์ และเป็นธิดาของกษัตริย์ข้างเคียง คือ น้อง ๆ
รองลงไป ซึ่งสมัยนั้น พระราชามีพระมเหสีถึง ๑๐๐ กว่าพระองค์ จึงไม่เป็นที่ประหลาดใจ
หากว่าจะมีเจ้าหญิงถึง ๑,๐๐๐ กว่าพระองค์)ทาเช่นนี้แล้ว ก็จะชนะประชาชนชาวพระนคร เนื่องด้วยชาวพระนครไม่มีเจ้าหญิง
ไม่มีเศวตฉัตร และไม่มีช้างมากเทียบกับพระราชาได้ เมื่อพระราชาได้สดับเช่นนั้นแล้ว
ก็ทรงดีพระทัย รับสั่งให้ตามที่พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลทุกประการ
เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งให้จัดเตรียมทุกอย่างแล้ว ปรากฏว่านับช้างอย่างไร
ก็ไม่พอสาหรับพระภิกษุ ๑ รูป กล่าวคือ ช้างมีมาก แต่ช้างเซื่องนั้นมีไม่พอ จะเหลือก็แต่ช้าง
ที่ดุร้าย พระราชาจึงตรัสแก่พระนางมัลลิกาให้ทราบความตลอดแล้ว ตรัสถามว่า จะทา
อย่างไรดี เพราะพระองค์เกรงว่า ช้างดุร้ายจะเข้าทาร้ายพระสงฆ์ พระนางมัลลิกาได้กราบทูลว่า
ทราบว่ามีช้างดุร้ายเชือกหนึ่งที่ถึงแม้จะดุร้าย ก็สามารถจะปรามได้ด้วยกาลังใจ เมื่อพระราชา
ยังไม่ทรงทราบว่าจะทาได้อย่างไร นางจึงกราบทูลอีกว่า ให้ช้างที่ดุร้ายนั้นยืนใกล้ ๆ
พระผู้เป็นเจ้า นามว่าองคุลิมาล เนื่องด้วยช้างเชือกนี้ เคยต่อสู้กับองคุลิมาลมามิใช่น้อย
แต่เวลานี้ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ได้อาศัยบารมีของท่านทาให้ลูกช้างอยู่ในอาการสงบ
ใช้หางสอดเข้าไปในระหว่างขา ตั้งหูทั้งสองขึ้น ยืนหลับตาอยู่
มหาชนได้แลดูช้างที่ดุร้าย ยืนทรงเศวตฉัตรเพื่อพระองคุลิมาลเถระ ก็มีความคิดว่า
ช้างดุร้ายปานนั้น พระองคุลิมาลเถระ ย่อมปราบพยศได้ เมื่อจัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว
พระราชาได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า หม่อมฉันขอถวายสิ่งของทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรือนทอง
เตียง ตั่ง รวมทรัพย์ทั้งหมดที่พระราชาถวายในวันเดียวถึง ๑๔ โกฏิ รวมทั้งเศวตฉัตรหนึ่ง
บัลลังก์สาหรับนั่งหนึ่ง เชิงบาตรหนึ่ง ตั่งสาหรับ เช็ดเท้าหนึ่งซึ่งเป็นของมีราคาสูง ประมาณ
ค่าไม่ได้ อสทิสทานเป็นทานอันยิ่งใหญ่ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า พระพุทธเจ้า ๑ องค์ จะมีคน
ถวายอสทิสทานครั้งเดียวในชีวิต และคนที่จะถวายอสทิสทานได้นั้น ต้องเป็นผู้หญิง
พระนางมัลลิกาเทวีนั้น ไม่มีพระราชโอรส เมื่อทรงพระครรภ์ใกล้คลอด พระเจ้า
ปเสนทิโกศลปรารถนาจะได้พระราชโอรส เมื่อประสูติแล้ว ปรากฏว่าเป็นพระราชธิดา
ยังความผิดหวังมาแด่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์จึงทรงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อปรับทุกข์
พระองค์ตรัสปลอบพระทัยว่า พระโอรสหรือธิดานั้น ไม่สาคัญ เพศไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความ
แตกต่างในด้านความสามารถ สตรีที่มีความเฉลียวฉลาดประพฤติธรรม และเป็นมารดาของ
บุคคลสาคัญ ย่อมประเสริฐกว่าบุรุษ ด้วยพระดารัสนี้ ยังความพอพระทัยแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล
เป็นอย่างมาก
ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ตรัสถามพระนางมัลลิกาเทวีว่า พระนางรักพระองค์
หรือไม่รักมากเพียงใด พระนางมัลลิกาตอบว่า พระนางรักตนเองมากกว่าสิ่งใด เมื่อได้สดับเช่นนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เกิดความน้อยพระทัย ทรงคิดว่า พระนางไม่ได้รักพระองค์
เสมอชีวิตนาง เมื่อได้โอกาส ได้กราบทูลพระพุทธเจ้าด้วยเรื่องนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า
ที่พระนางมัลลิกาเทวีตอบมานั้น ถูกต้องแล้ว เพราะความรักทั้งหลายในโลกย่อมไม่มีความรักใด
เทียมความรักที่มีต่อตนเองได้ พระนางมัลลิกาเทวีทรงยึดมั่นในสัจจะ ตรัสความจริงเช่นนี้แล้ว
พระราชาควรจะชื่นชมยินดี พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ฟังแล้วจึงคลายความน้อยพระทัยลง
ครั้นอยู่ต่อมา วันหนึ่ง พระนางมัลลิกาเทวี เสด็จเข้าไปยังซุ้มสาหรับสรงสนาน
ทรงชาระพระโอษฐ์แล้ว ทรงน้อมพระสรีระลงปรารภเพื่อจะชาระพระชงฆ์ มีสุนัขตัวโปรด
ตัวหนึ่ง เข้าไปพร้อมกับพระนางทีเดียว มันเห็นพระนางน้อมลงเช่นนั้น จึงเริ่มจะทา
อสัทธรรมสันถวะ มันเห็นพระนางทรงยินดีผัสสะของมัน จึงได้ประทับยืนอยู่ พระราชา
ทรงทอดพระเนตรทางพระแกลในปราสาทชั้นบน ทรงเห็นกิริยานั้น ในเวลาพระนางเสด็จ
มาจากซุ้มน้านั้น จึงตรัสว่า หญิงถ่อย จงฉิบหาย เพราะเหตุไร เจ้าจึงได้ทากรรมเห็นปานนี้
พระนางทูลว่า ผู้ใดผู้หนึ่งเข้าไปซุ้มน้านี้ ผู้เดียวเท่านั้น ก็ปรากฏเป็น ๒ คน แก่ผู้ที่
แลดูทางพระแกลนี้ พระเจ้าข้า ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อหม่อมฉัน ขอเชิญพระองค์เสด็จเข้าไป
ยังซุ้มน้านั้น หม่อมฉันจะแลดูพระองค์ทางพระแกลนี้
พระราชาติดจะเขลา จึงทรงเชื่อถ้อยคาของพระนาง แล้วเสด็จเข้าไปยังซุ้มน้า
ฝ่ายพระนางเทวีนั้น ทรงยืนทอดพระเนตรอยู่ที่พระแกล ทูลว่า มหาราชผู้มืดเขลา ชื่ออะไรนั้น
พระองค์ทรงทาสันถวะกับนางแพะ แม้เมื่อพระราชาจะตรัสว่า นางผู้เจริญฉันมิได้ทากรรม
เห็นปานนั้น ก็ทูลว่า แม้หม่อมฉันเห็นเองหม่อมฉันจะเชื่อพระองค์ไม่ได้ พระราชทรงสดับ
คานั้นแล้ว ก็ทรงเชื่อว่า ผู้เข้าไปซุ้มน้านี้ ผู้เดียวเท่านั้น ก็ย่อมปรากฏเป็น ๒ คนแน่
พระนางมัลลิกา ทรงดาริว่า พระราชานี้ อันเราลวงได้แล้ว ก็เพราะพระองค์โง่เขลา
เราทากรรมชั่วแล้ว ก็พระราชานี้ เรากล่าวตู่ด้วยคาไม่จริง แลแม้พระพุทธเจ้า จะทรงทราบ
กรรมนี้ของเรา พระอัครสาวกทั้ง ๒ ก็ดี พระอสีติมหาสาวกก็ดี ย่อมทราบ ตายจริง เราทา
กรรมหนักแล้ว
ในเวลาจะสิ้นพระชนม์ พระนางมัลลิกานั้น มิได้ทรงนึกถึงการบริจาคใหญ่เห็นปานนั้น
ทรงระลึกถึงกรรมอันลามกนั้นอย่างเดียว สิ้นพระชนม์แล้ว ก็บังเกิดในอเวจี ไหม้ในนรก
ตลอด ๗ วันเท่านั้น ในวันที่ ๘ จุติจากที่นั้นแล้ว เกิดในดุสิตภพเมื่อพระนางได้สิ้นพระชนม์ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ทรงบันดาลด้วยฤทธิ์ให้พระเจ้าปเสนทิโกศลลืมที่ถามเรื่องพระนางมัลลิกาเทวี
เพราะหากว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลทราบว่า พระนางบังเกิดในอเวจีนรกก็จะไม่อยากทาบุญ
อีกต่อไป เพราะพระนางมัลลิกาเทวีนั้น ทาบุญไว้มากยังตกนรก พอผ่านไป ๗ วันแล้ว
พระพุทธองค์ทรงคลายฤทธิ์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงถามว่า ณ เวลานี้ พระนางมัลลิกาเทวี
ไปเกิดที่ไหน พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า ณ เวลานี้พระนางไปบังเกิดในดุสิตภพ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ฟังพระพุทธดารัสแล้ว ทรงหายจากความเศร้าโสกเสียใจ
กลับได้รับความปีติเอิบอิ่มใจขึ้นมาแทน เมื่อควรแก่เวลาแล้ว ก็กราบทูลลากลับสู่พระราชนิเวศน์
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น