แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรีย้อนหลัง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรีย้อนหลัง แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2544

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2544

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันจันทร์ ที่  ๕  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๔๔

๑.

๑.๑

พุทธบัญญัติ  มูลบัญญัติ  อนุบัญญัติ  คืออะไร ?


๑.๒

อกรณียกิจคืออะไร ?  มีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

๑.

๑.๑

พุทธบัญญัติ คือข้อที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้เป็นบทบังคับให้ภิกษุประพฤติ

มูลบัญญัติ  คือข้อที่ทรงบัญญัติไว้เดิม

อนุบัญญัติ  คือข้อที่ทรงบัญญัติเพิ่มเติมภายหลัง


๑.๒

อกรณียกิจ  คือกิจที่บรรพชิตไม่ควรทำ มี ๔ อย่างคือ

           เสพเมถุน ๑               

           ลักของเขา ๑  

           ฆ่าสัตว์ ๑  

           พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ๑

๒.

๒.๑

คำว่า  ต้องอาบัติ  หมายความว่าอย่างไร ?


๒.๒

อาบัติมีโทษกี่สถาน ?  อะไรบ้าง ?

๒.

๒.๑

หมายความว่า ต้องโทษคือมีความผิดฐานละเมิดข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม


๒.๒

มี  ๓  สถานคือ

           อย่างหนัก

           อย่างกลาง

          อย่างเบา


๓.

๓.๑

ท่านเปรียบพระวินัยเหมือนด้ายร้อยดอกไม้  หมายความว่าอย่างไร ?


๓.๒

ภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้ว  ย่อมได้อานิสงส์อย่างไร ?

๓.

๓.๑

หมายความว่า ด้ายร้อยดอกไม้ควบคุมดอกไม้ไว้ไม่ให้กระจัดกระจายฉันใด  พระวินัยย่อมรักษาสงฆ์ให้ตั้งอยู่เป็นอันดีฉันนั้น


๓.๒

ย่อมได้อานิสงส์ คือไม่ต้องเดือดร้อนใจ ได้รับความแช่มชื่นว่า ได้ประพฤติดีงาม  จะเข้าหมู่ภิกษุผู้มีศีลก็องอาจไม่สะทกสะท้าน

๔.

๔.๑

อาบัติที่เป็นโลกวัชชะหมายความว่าอย่างไร ?  จงยกตัวอย่างประกอบ


๔.๒

อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่าอย่างไร ? จงยกตัวอย่างประกอบ

๔.

๔.๑

หมายความว่า อาบัติที่มีโทษซึ่งภิกษุทำเป็นความผิดความเสีย

คนสามัญทำ ก็เป็นความผิดความเสียเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม เป็นต้น


๔.๒

หมายความว่า  อาบัติที่มีโทษเฉพาะภิกษุทำ  แต่คนสามัญทำไม่เป็นความผิดความเสีย  เช่น ขุดดิน เป็นต้น

๕.

๕.๑

ภิกษุฆ่าสัตว์ให้ตายเป็นอาบัติอะไร ?


๕.๒

ภิกษุพยายามจะฆ่าตนเองเป็นอาบัติอะไร ?

๕.

๕.๑

ถ้าเป็นสัตว์มนุษย์  เป็นอาบัติปาราชิก     

สัตว์ที่เรียกว่าอมนุษย์  เช่นยักษ์ เปรต และดิรัจฉานมีฤทธิ์จำแลงกายเป็นมนุษย์ได้ เป็นอาบัติถุลลัจจัย ดิรัจฉานทั่วไป เป็นอาบัติปาจิตตีย์ 


๕.๒

เป็นอาบัติทุกกฏ

๖.

๖.๑

พูดอย่างไรเรียกว่า  อวดอุตตริมนุสสธรรม ?


๖.๒

ภิกษุพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมซึ่งไม่มีจริงในตน เมื่อคนอื่นฟังแล้วเข้าใจแต่ไม่เชื่อ  ภิกษุนี้จะต้องอาบัติอะไร ?

๖.

๖.๑

พูดอวดคุณพิเศษอันยิ่งของมนุษย์  เช่น ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล นิพพาน เรียกว่า  อวดอุตตริมนุสสธรรม


๖.๒

ต้องอาบัติปาราชิก

๗.

๗.๑

จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้  อเตกิจฉา  อจิตตกะ


๗.๒

คำว่า มาตุคาม (หญิง) ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒, ๓, ๔, ต่างกันอย่างไร ?

๗.

๗.๑

อเตกิจฉา  อาบัติที่แก้ไขไม่ได้

อจิตตกะ  อาบัติที่ไม่จงใจ


๗.๒

มาตุคาม ในสิกขาบทที่ ๒ หมายถึง หญิงมนุษย์โดยที่สุดเกิดในวันนั้น

มาตุคาม  ในสิกขาบทที่  ๓, ๔  หมายถึง  หญิงผู้รู้เดียงสา

๘.

๘.๑

คำว่า  นิสสัคคิยปาจิตตีย์  หมายความว่าอย่างไร ?


๘.๒

ปาจิตตีย์แบ่งเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์ และสุทธิกปาจิตตีย์ เพราะเหตุไร ?

๘.

๘.๑

หมายความว่า  อาบัติปาจิตตีย์ที่จำต้องสละสิ่งของ


๘.๒

เพราะว่านิสสัคคิยปาจิตตีย์นั้น จำต้องเสียสละวัตถุอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้นเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้   ส่วนสุทธิกปาจิตตีย์นั้น ภิกษุพึงแสดงอาบัติได้เลย  ไม่มีวัตถุใด ๆ  ที่จำต้องสละ

๙.

๙.๑

ภิกษุนำ เตียง ตั่ง ฟูก เก้าอี้ ของสงฆ์ ไปใช้ในที่แจ้งแล้ว  ครั้นหลีกไปจากที่นั้น ไม่เก็บหรือไม่มอบหมายให้ผู้อื่นเก็บให้เรียบร้อย  ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?


๙.๒

ภิกษุเข้าบ้านในเวลาวิกาล โดยไม่บอกลาภิกษุอื่นในวัด ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?

๙.

๙.๑

ต้องอาบัติปาจิตตีย์


๙.๒

ต้องอาบัติปาจิตตีย์  เว้นไว้แต่มีกิจรีบด่วน

๑๐.

๑๐.๑

เสขิยวัตรคืออะไร ?  มีกี่สิกขาบท ?


๑๐.๒

ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตร  ปฏิบัติผิดธรรมเนียม  ต้องอาบัติอะไร ?

๑๐.

๑๐.๑

คือวัตรหรือธรรมเนียมที่ควรศึกษา ,  มี ๗๕ สิกขาบท


๑๐.๒

ต้องอาบัติทุกกฏ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2545

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2545

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่  ๒๔  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

 ๑.    ๑.๑ พระวินัย คืออะไร ?

        ๑.๒ สิกขา ๓  เมื่อศึกษาแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร ?

 ๑.    ๑.๑ คือพระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร ฯ

        ๑.๒ ย่อมได้ประโยชน์ดังนี้ ศึกษาเรื่องศีล ทำให้เป็นผู้มีกาย วาจาเรียบร้อย ศึกษา

             เรื่องสมาธิทำให้ใจสงบมั่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน ศึกษาเรื่องปัญญา ทำให้รอบรู้ในกอง

             สังขาร ฯ

 ๒.    ๒.๑ สิกขากับสิกขาบทต่างกันอย่างไร ?

        ๒.๒ สิกขาบทที่มาในพระปาฏิโมกข์มีเท่าไร ?  อะไรบ้าง ?

 ๒.    ๒.๑ สิกขา  คือข้อที่ภิกษุต้องศึกษา

             สิกขาบท  คือพระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ เป็นสิกขาบทอันหนึ่งๆ ฯ

        ๒.๒ มี ๒๒๗ ฯ  

             คือปาราชิก ๔  สังฆาทิเสส ๑๓  อนิยต ๒  นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐

             ปาจิตตีย์ ๙๒  ปาฏิเทสนียะ ๔  เสขิยะ ๗๕  อธิกรณสมถะ ๗

             รวมเป็น ๒๒๗ ฯ

 ๓.    ๓.๑ คำต่อไปนี้มีความหมายอย่างไร ?

                   ก) อาทิกัมมิกะ                                                  

                   ข) อเตกิจฉา

        ๓.๒ อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติมีเท่าไร ?  อะไรบ้าง ?

 ๓.    ๓.๑       ก) ภิกษุผู้ก่อเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้น ฯ

                   ข) อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ ฯ

        ๓.๒ มี ๖ อย่าง คือ

                   ๑. ต้องด้วยไม่ละอาย

                   ๒. ต้องด้วยไม่รู้ว่า สิ่งนี้จะเป็นอาบัติ

                   ๓. ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง

                   ๔. ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร

                   ๕. ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร

                   ๖. ต้องด้วยลืมสติ ฯ

 ๔.    ๔.๑ คำว่า "ไถยจิต" หมายถึงอะไร ?

        ๔.๒ ในอทินนาทานสิกขาบท กำหนดราคาทรัพย์เป็นวัตถุแห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง ?

 ๔.    ๔.๑ หมายถึงจิตคิดจะลัก คือจิตคิดถือเอาของที่เจ้าของไม่ให้ด้วยอาการแห่งขโมย ฯ

        ๔.๒ กำหนดไว้อย่างนี้

                 ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสก ขึ้นไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก

                 ทรัพย์มีราคาต่ำกว่า ๕ มาสก แต่สูงกว่า ๑ มาสก เป็นวัตถุแห่งอาบัติถุลลัจจัย

                 ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสก ลงไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ ฯ

 ๕.    ๕.๑ สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์เช่นไร ?

        ๕.๒ การถือเอาทรัพย์ทั้ง ๒ อย่างนั้น   กำหนดว่าถึงที่สุดไว้อย่างไร ?

 ๕.    ๕.๑ สังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์หรือสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้ ทั้งที่มีวิญญาณและไม่มี

             วิญญาณ เช่นสัตว์และเงินทองเป็นต้น ฯ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์

             หรือสิ่งของที่เคลื่อนที่ไม่ได้ โดยตรงได้แก่ที่ดิน โดยอ้อมนับของที่ติดเนื่องอยู่

             กับที่นั้นด้วย เช่น ต้นไม้และเรือนเป็นต้น ฯ

        ๕.๒ สังหาริมทรัพย์  กำหนดว่าถึงที่สุดด้วยทำให้เคลื่อนจากฐาน ฯ   

             อสังหาริมทรัพย์ กำหนดว่าถึงที่สุดด้วยขาดกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของ ฯ

 ๖.    ๖.๑ ปาราชิก ๔   สิกขาบทไหนที่ภิกษุใช้ให้เขาทำก็ต้องอาบัติถึงที่สุด ?

        ๖.๒ สังฆาทิเสส ๑๓  สิกขาบทไหนบ้างต้องอาบัติตั้งแต่แรกทำ ?  มีชื่อเรียกอย่างไร ?

 ๖.    ๖.๑ สิกขาบทที่ ๒ และสิกขาบทที่ ๓ ฯ

        ๖.๒ สิกขาบทที่ ๑ ถึงที่ ๙ ฯ    เรียกว่า ปฐมาปัตติกะ ฯ

 ๗.    ๗.๑ ภิกษุมีความกำหนัด จับต้องกะเทย บุรุษ และสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นอาบัติ

             อะไร ?

        ๗.๒ อาบัติไม่มีมูล กำหนดโดยอาการอย่างไร ? โจทด้วยอาบัติไม่มีมูลเป็นอาบัติ

             อะไร ?

 ๗.    ๗.๑ จับต้อง กะเทย เป็นอาบัติถุลลัจจัย  บุรุษ เป็นอาบัติทุกกฏ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้

             เป็นอาบัติทุกกฏ ฯ

        ๗.๒ กำหนดโดยอาการ ๓ คือ ไม่ได้เห็นเอง ๑  ไม่ได้ยิน ๑  ไม่ได้รังเกียจ ๑  ว่า

             ภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อนั้น ฯ  โจทด้วยอาบัติปาราชิกต้องสังฆาทิเสส โจทด้วย

             อาบัติสังฆาทิเสสต้องปาจิตตีย์ โจทด้วยอาบัติอื่นจากนี้ต้องปาจิตตีย์

             ในมุสาวาทสิกขาบท ฯ

 ๘.    ๘.๑ ผ้าจีวรที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ทำด้วยวัตถุกี่ชนิด ?  อะไรบ้าง ?

        ๘.๒ จีวร ผ้านิสีทนะ อังสะ ผ้าเช็ดหน้า ย่ามผ้า เมื่อจะใช้สอย อย่างไหนควรพินทุ

             อย่างไหนไม่ควร ?  เพราะเหตุใด ?

 ๘.    ๘.๑ ๖ ชนิด คือ

                   ๑. ทำด้วยเปลือกไม้ เช่น ผ้าลินิน

                   ๒. ทำด้วยฝ้าย คือ ผ้าสามัญ

                   ๓. ทำด้วยไหม คือ ผ้าแพร

                   ๔. ทำด้วยขนสัตว์ เช่น ผ้าสักหลาด

                   ๕. ทำด้วยเปลือกไม้ เช่น ผ้าป่าน (สาณะ)

                   ๖. ทำด้วยสัมภาระเจือกัน ฯ

        ๘.๒ จีวร และอังสะ  ควรพินทุ  เพราะใช้ห่ม

             ผ้านิสีทนะ ผ้าเช็ดหน้า และย่ามผ้า ไม่ต้องพินทุ เพราะไม่ได้ใช้นุ่งห่ม ฯ

 ๙.    ๙.๑  ภิกษุพูดปดต้องอาบัตินั้นทราบแล้ว แต่ถ้าพูดเรื่องจริง จะต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?

        ๙.๒ ปฏิสสวะทุกกฏ คืออะไร ?

 ๙.    ๙.๑ ต้องอาบัติเหมือนกันคือ บอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ต้อง

             อาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๘ แห่งมุสาวาทวรรค บอกอาบัติชั่วหยาบของ

             ภิกษุแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ได้รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ตามสิกขาบทที่

             ๙ แห่งมุสาวาทวรรค ฯ

        ๙.๒ คืออาบัติทุกกฏที่เกิดจากการรับคำด้วยจิตบริสุทธิ์ แต่ภายหลังไม่ได้ทำตามคำ

             ที่รับปากไว้ ฯ

๑๐. ๑๐.๑ การนุ่งเป็นปริมณฑล คือการนุ่งอย่างไร ?

      ๑๐.๒ เสขิยวัตรว่าด้วยการรับบิณฑบาตมีหลายข้อ  จงระบุมาเพียง ๒ ข้อ

๑๐. ๑๐.๑ คือนุ่งเบื้องบนปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก เบื้องล่างปิดหัวเข่าทั้ง ๒ ลงมา

             เพียงครึ่งแข้ง ไม่ถึงกรอมข้อเท้า ฯ

      ๑๐.๒ (เลือกตอบเพียง ๒ ข้อ)

                   ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ

                   ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อรับบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร

                   ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก

                   ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร ฯ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2546

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2546

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๖

๑.

๑.๑

ข้อความว่า  “ พระศาสดาทรงตั้งอยู่ในที่เป็นพระธรรมราชาผู้ปกครอง ” หมายความว่าอย่างไร ?

๑.๒

พระบัญญัติที่ทรงตั้งไว้เดิมเรียกว่าอะไร ?

๑.

๑.๑

หมายความว่า ทรงตั้งพระพุทธบัญญัติเพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย  และวางโทษแก่ผู้ล่วงละเมิด ด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง  อย่างเดียวกับพระเจ้าแผ่นดินทรงตราพระราชบัญญัติ ฯ

๑.๒

เรียกว่า มูลบัญญัติ ฯ

๒.

๒.๑

การปลงชีวิตอย่างไร ต้องอาบัติถุลลัจจัย  ?

๒.๒

“ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อ

ที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละต้องสังฆาทิเสส” คือสิกขาบทที่เท่าไร ทรงบัญญัติเพื่อประสงค์ใด ?

๒.

๒.๑

การปลงชีวิตมนุษย์แต่ไม่สำเร็จ คือไม่ตาย เป็นแค่บาดเจ็บ ๑

ปลงชีวิตอมนุษย์ มียักษ์ เปรต เป็นต้น ๑ ฯ

๒.๒

สิกขาบทที่  ๑๒  แห่งสังฆาทิเสส  เพื่อป้องกันไม่ไห้ภิกษุดื้อด้าน ฯ

๓.

๓.๑

คำว่า  “ภิกษุประทุษร้ายตระกูล”  ในสิกขาบทที่ ๑๓  แห่งสังฆาทิเสส  หมายถึงการทำอย่างไร ?


๓.๒

สังฆาทิเสส  ๑๓  สิกขาบท ที่ชื่อว่า ยาวตติยกะ หมายความว่าอย่างไร ?

๓.

๓.๑

หมายถึงการที่ภิกษุประจบคฤหัสถ์ ยอมตนให้เขาใช้สอย  เช่นเดินส่งข่าว

ให้เขาเป็นต้น หรือ ด้วยการเอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งเล็กน้อยด้วยหวัง

ได้มาก ฯ

๓.๒

ที่ชื่อว่า ยาวตติยกะ เพราะให้ต้องอาบัติต่อเมื่อสงฆ์ประกาศห้ามครบ

๓ ครั้ง ฯ

๔.

๔.๑

คำว่า  “ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ”  หมายความว่าอย่างไร ?

๔.๒

ภิกษุต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แล้ว  ทำอย่างไรจึงจะพ้น ?

๔.

๔.๑

หมายความว่า  อาบัติปาจิตตีย์  ที่จำต้องสละสิ่งของ ฯ

๔.๒

ภิกษุต้องสละสิ่งของอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้นก่อน แล้วแสดงอาบัติ 

จึงพ้นจากอาบัตินั้นได้ ฯ

๕.

๕.๑

อติเรกจีวร  ได้แก่จีวรเช่นไร ?

๕.๒

การที่ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุเก็บอติเรกจีวร  ด้วยมีพระพุทธประสงค์อย่างไร ?

๕.

๕.๑

ได้แก่  จีวรนอกจากจีวรอธิษฐาน ฯ

๕.๒

ด้วยมีพระพุทธประสงค์เพื่อป้องกันความสุรุ่ยสุร่าย และความมักมาก

ของภิกษุ ฯ

๖.

๖.๑

ภิกษุรู้อยู่  น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน  ต้องอาบัติอะไร ?

๖.๒

คำว่า  “ ลาภ ”  ในข้อ  ๖.๑  นั้น  ได้แก่อะไรบ้าง ?

๖.

๖.๑

ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ฯ

๖.๒

ได้แก่  จีวร  บิณฑบาต  เสนาสนะ  และเภสัช  ซึ่งเรียกว่า  ปัจจัย  ๔  และของที่เป็นกัปปิยะอย่างอื่น ๆ อีก ฯ

๗.

จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้

๗.๑

โอมสวาท  ?

๗.๒

อักโกสวัตถุ  ?

๗.

๗.๑

คือ  คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจ ฯ

๗.๒

คือ  เรื่องสำหรับด่า  ๑๐  อย่าง ฯ

๘.

๘.๑

ภิกษุต้องอาบัติเพราะความซุกซน  มีอย่างไรบ้าง ?

๘.๒

ภิกษุซ่อนบาตร ซ่อนปากกาของภิกษุอื่นเพื่อล้อเล่น ต้องอาบัติอะไร ?

๘.

๘.๑

มีอย่างนี้  คือ  เล่นจี้  เล่นน้ำ  หลอนภิกษุ  ซ่อนของเพื่อล้อเล่น  พูดเย้าให้เกิดรำคาญ ฯ

๘.๒

ซ่อนบาตร  ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ซ่อนปากกา ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

๙.

๙.๑

เสขิยวัตร  คืออะไร ?  หมวดที่  ๒  ว่าด้วยเรื่องอะไร ?

๙.๒

ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตร  ปฏิบัติผิดธรรมเนียม  ต้องอาบัติอะไร ?

๙.

๙.๑

คือ  วัตรหรือธรรมเนียมที่ควรศึกษา ฯ

หมวดที่  ๒  ว่าด้วยธรรมเนียมรับบิณฑบาตและฉันอาหาร ฯ

๙.๒

ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

๑๐.

๑๐.๑

อธิกรณ์  คืออะไร ?  อธิกรณ์ย่อมระงับได้ด้วยอะไร ?

๑๐.๒

การแสดงอาบัติจัดเข้าในอธิกรณสมถะข้อไหน ?  สำหรับระงับอธิกรณ์อะไร ?

๑๐.

๑๐.๑

คือ  เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ ฯ

ระงับได้ด้วยอธิกรณสมถะ คือธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ฯ

๑๐.๒

จัดเข้าในปฏิญญาตกรณะ ฯ  สำหรับระงับอาปัตตาธิกรณ์  ฯ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2547

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2547

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๗


   ๑.  อุปสัมปทา (การอุปสมบท) มี ๓ วิธี  ในปัจจุบันใช้วิธีไหน ?  กำหนดสงฆ์อย่างต่ำ

        ไว้เท่าไร ?

   ๑.  ใช้ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา  การอุปสมบทด้วยกรรมมีญัตติเป็นที่ ๔ ฯ

        กำหนดสงฆ์อย่างต่ำไว้คือ  ในมัธยมประเทศ ๑๐ รูป  ในปัจจันตชนบท ๕ รูป ฯ

   ๒.  พระวินัย คืออะไร ?  พระภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์อย่างไร ?

   ๒.  คือ พระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร ฯ

        พระภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้วย่อมได้รับอานิสงส์คือ ความไม่ต้องเดือดร้อนใจ ได้รับ                ความแช่มชื่นว่า ได้ประพฤติดีงาม เข้าหมู่สงฆ์ก็อาจหาญ ฯ

   ๓.  นิสสัยและอกรณียกิจคืออะไร ?   ทั้ง ๒ อย่างรวมเรียกว่าอะไร ?

   ๓.  นิสสัยคือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต  อกรณียกิจคือ กิจที่บรรพชิตไม่ควรทำ ฯ

        ทั้ง ๒ อย่าง รวมเรียกว่า อนุศาสน์ ฯ

   ๔.  สิกขา กับ สิกขาบท ต่างกันอย่างไร ?

   ๔.  ต่างกันอย่างนี้ สิกขา ได้แก่ข้อที่ควรศึกษา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา  สิกขาบท

        ได้แก่ พระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ ฯ

   ๕.  อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติข้อที่ว่า ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง มีอธิบายอย่างไร ?

   ๕.  มีอธิบายว่า ภิกษุสงสัยอยู่ว่า ทำอย่างนั้นๆ ผิดพระบัญญัติหรือไม่ แต่ขืนทำ

        ด้วยความสะเพร่าเช่นนี้ ถ้าการที่ทำนั้นผิดพระบัญญัติก็ต้องอาบัติตามวัตถุ ถ้าไม่ผิด

        ก็ต้องอาบัติทุกกฏเพราะสงสัยแล้วขืนทำ ฯ

   ๖.  คำว่า มาตุคาม ในสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒, ๓, ๔ และ ๕  ต่างกันอย่างไร ?

   ๖.  มาตุคามในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ หมายรวมทั้งหญิงที่รู้เดียงสาและไม่รู้เดียงสา

        โดยที่สุดแม้เกิดในวันนั้น  ส่วนมาตุคามในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓, ๔ และ ๕

        หมายเฉพาะหญิงผู้รู้เดียงสาแล้วเท่านั้น ฯ

   ๗.  ในอนิยต ที่ลับตา และที่ลับหู ได้แก่ที่เช่นไร ?  ภิกษุอยู่กับมาตุคามสองต่อสองในที่

        เช่นนั้น เป็นทางปรับอาบัติอะไรได้บ้าง ?

   ๗.  ที่ลับตา ได้แก่ ที่มีวัตถุกำบัง แลเห็นไม่ได้  ที่ลับหู ได้แก่ ที่แจ้ง แลเห็นได้ แต่ห่าง

        ไม่ได้ยินเสียงพูด ฯ

        ในที่ลับตา เป็นทางปรับอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส และ ปาจิตตีย์

        ในที่ลับหู เป็นทางปรับอาบัติสังฆาทิเสส และ ปาจิตตีย์ ฯ

   ๘.  จีวรที่เป็นนิสสัคคีย์แล้ว ควรสละให้แก่ใคร ?  ถ้าจีวรนั้นสูญหาย พึงปฏิบัติเช่นไร ?

   ๘.  ควรสละให้แก่สงฆ์ก็ได้ แก่คณะก็ได้ แก่บุคคลก็ได้ ฯ

        ถ้าจีวรนั้นสูญหาย พึงแสดงอาบัติเท่านั้น ฯ

   ๙.  ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภสงฆ์ไปเพื่อตนก็ดี เพื่อบุคคลก็ดี เพื่อสงฆ์อื่นก็ดี ต้องอาบัติอะไร ?

   ๙.  น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพื่อบุคคล ต้องปาจิตตีย์

        เพื่อสงฆ์อื่น ต้องทุกกฏ ฯ

๑๐.  ข้อว่า ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ นั้น มีอธิบายอย่างไร ?

๑๐.  มีอธิบายว่า ภิกษุฉันบิณฑบาต แม้เป็นของเลว ก็ไม่แสดงอาการวิการ คือฉันโดยปกติ

        และเมื่อฉัน ก็ไม่ฉันพลางทำกิจอื่นพลาง ฯ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2549

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2549

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันพุธ ที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

   ๑.  พระศาสดาผู้เป็นสังฆบิดรดูแลภิกษุสงฆ์ ทรงทำหน้าที่ทางพระวินัยอย่างไร ?

   ๑.  ทรงทำหน้าที่ ๒ ประการ คือ

              ๑.  ทรงตั้งพุทธบัญญัติเพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และ

                   วางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง

            ๒.  ทรงตั้งขนบธรรมเนียม ซึ่งเรียกว่าอภิสมาจารเพื่อชักนำความ

                   ประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ฯ

  ๒.  ทำไมต้องมีพระวินัยสำหรับปกครองหมู่ภิกษุ และหมู่ภิกษุทำไมต้อง

        ประพฤติตามพระวินัย ?

  ๒.  หากจะไม่มีพระวินัยสำหรับปกครอง หรือหมู่ภิกษุจะไม่ประพฤติตาม

        พระวินัย ก็จะเป็นหมู่ภิกษุที่เลวทราม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาและ

        เลื่อมใส แต่ถ้าต่างรูปประพฤติตามพระวินัย ก็จะเป็นหมู่ภิกษุที่ดี ทำให้

        เกิดศรัทธาเลื่อมใส พระวินัยจึงรักษาหมู่ภิกษุให้ตั้งอยู่เป็นอันดี และ

        ทำให้เป็นหมู่ที่งดงาม ฯ

  ๓.  คำว่า ต้องอาบัติ หมายความว่าอย่างไร ?  อาบัติมีโทษกี่สถาน ?  อะไรบ้าง ?

  ๓.  หมายความว่า ต้องโทษ คือมีความผิดฐานละเมิดข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม ฯ 

        มี ๓ สถาน คือ อย่างหนัก อย่างกลาง และ อย่างเบา

        (หรือจะตอบว่า มี ๒ สถาน คือ แก้ไขได้ และแก้ไขไม่ได้ ก็ได้)

   ๔.  กิจที่บรรพชิตไม่ควรทำซึ่งเรียกว่า อกรณียกิจ มีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

   ๔.  มี ๔ อย่าง คือ

              ๑.  เสพเมถุน

              ๒.  ลักของเขา

              ๓.  ฆ่าสัตว์

              ๔.  พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน ฯ

   ๕.  อุตตริมนุสสธรรม คืออะไร ?  มีอะไรบ้าง ?

   ๕.  คือ ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ หรือคุณอย่างยวดยิ่งของมนุษย์ ฯ 

        มี ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล นิพพาน ฯ

   ๖.  ในอทินนาทานสิกขาบท กำหนดราคาทรัพย์ เป็นวัตถุแห่งอาบัติไว้

        อย่างไรบ้าง ?

   ๖.  ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสก ขึ้นไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก

        ทรัพย์มีราคาต่ำกว่า ๕ มาสก แต่สูงกว่า ๑ มาสก เป็นวัตถุแห่งอาบัติ

        ถุลลัจจัย

        ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสก ลงไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ ฯ

  ๗.  ภิกษุมีความกำหนัดจับต้องกายหญิง กะเทย บุรุษ สัตว์ดิรัจฉานเพศผู้

        สัตว์ดิรัจฉานเพศเมีย ต้องอาบัติอะไร ?

  ๗.  ภิกษุมีความกำหนัดจับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส

        จับต้องกายกะเทย ต้องถุลลัจจัย

        จับต้องกายบุรุษ จับต้องสัตว์ดิรัจฉานทั้งเพศผู้เพศเมีย ต้องทุกกฏ ฯ

  ๘.  นิสสัคคิยปาจิตตีย์ หมายความว่าอย่างไร ?  ภิกษุต้องอาบัตินี้แล้ว  ทำ

        อย่างไรจึงจะพ้น ?

  ๘.  นิสสัคคิยปาจิตตีย์ หมายความว่า อาบัติปาจิตตีย์ ที่จำต้องสละสิ่งของ ฯ 

        ภิกษุต้องอาบัตินี้แล้วต้องสละสิ่งของอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้นก่อน

        แล้วแสดงอาบัติจึงพ้นจากอาบัตินั้นได้ ฯ

   ๙.  ภิกษุกำลังฟังพระปาฏิโมกข์อยู่ กล่าวขึ้นว่า “จะสวดไปทำไม ฟังก็ไม่

        รู้เรื่อง น่าเบื่อน่ารำคาญ”  เช่นนี้ต้องอาบัติอะไร ?  เพราะเหตุไร ?

   ๙.  ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ  เพราะก่นสิกขาบท ฯ

๑๐.  เสขิยวัตร คืออะไร ?  มีกี่ข้อ ?  ภิกษุละเมิดต้องอาบัติอะไร ?

๑๐.  คือวัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา ฯ

       มี ๗๕ ข้อ ฯ 

       ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ


**********

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2550

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2550

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันอังคาร ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

๑.     พระศาสดาทรงบัญญัติพระวินัยไว้เพื่ออะไร ?

๑.     เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหายของภิกษุสงฆ์ และเพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ฯ

๒.    สิกขาบทที่มีมาในพระปาติโมกข์ มีเท่าไร ?   ว่าโดยหมวดมีอะไรบ้าง ?

๒.    มี ๒๒๗ สิกขาบท ฯ

มี  ปาราชิก ๔   สังฆาทิเสส ๑๓   อนิยต ๒   นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐   ปาจิตตีย์ ๙๒   ปาฏิเทสนียะ ๔   เสขิยะ ๗๕   อธิกรณสมถะ ๗ ฯ

๓.    อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติ มีเท่าไร ?   ต้องด้วยไม่ละอาย มีอธิบายอย่างไร ?

๓.    มี ๖ อย่าง ฯ

ภิกษุรู้อยู่แล้ว และละเมิดพระบัญญัติด้วยใจด้านไม่รู้จักละอาย

ชื่อว่าต้องด้วยไม่ละอาย ฯ

๔.     เมื่อภิกษุต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไร ?

๔.     พึงบอกภิกษุด้วยกันในวันนั้น และพึงแก้ไขตามวิธีนั้น ๆ ฯ 

๕.     สังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์คือทรัพย์เช่นไร ?

        ภิกษุจะต้องอาบัติถึงที่สุดในเพราะลักทรัพย์ทั้ง ๒ อย่างนั้นเมื่อใด ?

๕.   สังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ อสังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ฯ

สำหรับสังหาริมทรัพย์ ภิกษุจะต้องอาบัติถึงที่สุด ในเมื่อทำให้ทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่เดิม   ส่วนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องอาบัติถึงที่สุด ในเมื่อเจ้าของทอดกรรมสิทธิ์ ฯ

๖.     ภิกษุรู้ตัวว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส จึงแสดงอาบัตินั้นต่อภิกษุอีกรูปหนึ่ง อย่างนี้จะพ้นจากอาบัตินั้นได้หรือไม่  เพราะเหตุไร ?

๖.   พ้นไม่ได้ เพราะอาบัติสังฆาทิเสสนั้น ภิกษุผู้ต้องจะพ้นได้ด้วยอยู่กรรม ฯ

๗.    ที่ลับตา กับที่ลับหู ต่างกันอย่างไร ?   ที่ลับทั้ง ๒ นั้น เป็นทางให้ปรับ   

     อาบัติได้มากน้อยกว่ากันอย่างไร ?

๗.    ต่างกันอย่างนี้ ที่ที่มีสิ่งกำบัง เห็นกันไม่ได้ เรียกว่า ที่ลับตา   ที่ที่ไม่มีสิ่งกำบัง เห็นกันได้ แต่ฟังเสียงพูดกันไม่ได้ยิน เรียกว่า ที่ลับหู ฯ

        ที่ลับตา เป็นทางให้ปรับอาบัติได้มากกว่า คือตั้งแต่ปาราชิก สังฆาทิเสส ถึง ปาจิตตีย์

        ส่วนที่ลับหู เป็นทางให้ปรับอาบัติตั้งแต่สังฆาทิเสสลงมา ฯ

๘.    ภิกษุรับนิมนต์แล้ว จะไปที่อื่นก่อนหรือหลังฉัน ต้องปฏิบัติอย่างไร ?   ถ้าไม่ทำเช่นนั้น ต้องอาบัติอะไร ?

๘.    ต้องปฏิบัติอย่างนี้ คือ ต้องบอกลาภิกษุอื่นก่อน ฯ

ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

๙.     ผ้าอาบน้ำฝนมีกำหนดขนาดไว้เท่าใด ?   ถ้าทำเกินกว่าขนาดนั้นต้องอาบัติ  ก่อนจะแสดงอาบัตินั้น ต้องทำอย่างไร ?

๙.     ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง โดยคืบพระสุคต ฯ   ต้องตัดให้ได้ขนาดเสียก่อน ฯ

๑๐.  หมวดสารูปในเสขิยวัตร ว่าด้วยเรื่องอะไร ?  ข้อว่า  “ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน”  คือไม่ทำอย่างไร ?

๑๐.  ว่าด้วยธรรมเนียมควรประพฤติในเวลาเข้าบ้าน ฯ

คือ ไม่นั่งเท้าแขนข้างเดียวก็ตาม สองข้างก็ตามในบ้าน ฯ

***********

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2551

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2551

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

๑.     อรณียกิจ ๔ คืออะไร ? ข้อที่ ๓ ว่าอย่างไร

๑.     คือ กิจที่ไม่ควรทำ ๔ ฯ ว่า ฆ่าสัตว์ ฯ

๒.    อะไรเรียกว่า สิกขาบท ?  มาจากไหน ?

๒.    พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ เรียกว่า สิกขาบท ฯ

มาในพระปาติโมกข์ ๑ มานอกพระปาติโมกข์ ๑ ฯ

๓.    สังฆาทิเสส มีกี่สิกขาบท ? ภิกษุต้องอาบัตินี้จะพ้นได้ด้วยวิธีอย่างไร ?

๓.    มี ๑๓ สิกขาบท ฯ

ด้วยวิธีอยู่กรรม ที่เรียกว่า วุฏฐานคามินี ฯ

๔.     เภสัช ๕ ในปัตตวรรคที่ ๓ ได้แก่อะไรบ้าง ? รับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้กี่วัน ?

๔.     ได้แก่ เนยใน เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ฯ เก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน   เป็นอย่างยิ่ง ฯ

๕.     ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกับอนุปสัมบัน เป็นอาบัติหรือไม่อย่างไร ?

๕.     ถ้าเป็นผู้ชาย เกินกว่า ๓ คืน เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าเป็นผู้หญิง       แม้ในคืนแรก เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

๖.     ภิกษุซ่อนผ้าอาบน้ำฝน บาตร จีวร กล่องเข็ม ด้าย ของเพื่อนภิกษุหรือสามเณรเพื่อล้อเล่น เป็นอาบัติอะไรบ้าง ?

๖.   ซ่อนผ้าอาบน้ำฝน ด้าย ของเพื่อนภิกษุ เป็นอาบัติทุกกฏ 

ซ่อนบาตร จีวร กล่องเข้ม ของเพื่อนภิกษุ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

ซ่อนของสามเณรทุกอย่างเป็นทุกกฏ ฯ

๗.    คำว่า ปวารณากำหนดปัจจัย หมายความว่าอย่างไร ?

๗.    หมายความว่า ปวารณาที่กำหนดชนิดสิ่งของ เช่นจีวร หรือบิณฑบาตเป็นต้น หรือกำหนดจำนวนสิ่งของ เช่น ผ้ากี่ผืน บิณฑบาตมีราคา    เท่าไร เป็นต้น ฯ

๘.    เสขิยวัตร คืออะไร ? มีทั้งหมดกี่ข้อ ?

๘.    คือ ธรรมเนียมหรือวัตรที่ภิกษุต้องศึกษา ฯ มี ๗๕ ข้อ ฯ

๙.     วิวาทาธิกรณ์กับอนุวาทาธิกรณ์ ต่างกันอย่างไร ?

๙.     วิวาทาธิกรณ์ คือการเถียงว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ส่วนอนุวาทาธิกรณ์ คือการโจทกันด้วยอาบัติ ฯ

๑๐.  อธิกรณสมถะ คืออะไร ? มีกี่อย่าง ? การตัดสินตามเสียงข้างมาก  เรียกว่าอะไร ?

๑๐.  คือ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ ฯ มี  อย่าง ฯ

เรียกว่า เยภุยยสิกา ฯ

***********

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2552

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2552

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันพฤหัสบดี ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒


๑.     พุทธบัญญัติและอภิสมาจาร คืออะไร ?  ทั้ง ๒ รวมเรียกว่าอะไร ?

๑.      พุทธบัญญญัติ  คือข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น  เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง ส่วนอภิสมาจาร คือขนบธรรมเนียมที่ทรงแต่งตั้งขึ้น เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ฯ ทั้ง ๒ นี้รวมเรียกว่า พระวินัย ฯ

๒.     อาบัติ คืออะไร ? อาบัติที่เป็นโลกวัชชะและที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่าอย่างไร ?  จงยกตัวอย่างประกอบด้วย

๒.      คือ  โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ฯ

          อาบัติที่เป็นโลกวัชชะหมายความว่า อาบัติที่มีโทษซึ่งภิกษุทำเป็นความผิดความเสีย คนสามัญทำก็เป็นความผิดความเสียเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม เป็นต้น ส่วนที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่า อาบัติที่มีโทษเฉพาะภิกษุทำ แต่คนสามัญทำไม่เป็นความผิดความเสีย เช่น ขุดดิน เป็นต้น ฯ




๓.     สิกขากับสิกขาบท  ต่างกันอย่างไร ? อย่างไหนมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?

๓.      สิกขา  คือ ข้อที่ภิกษุต้องศึกษา  มี ๓  ได้แก่ สีลสิกขา จิตตสิกขา

          ปัญญาสิกขา ส่วนสิกขาบท  คือ พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ เป็นสิกขาบท

          หนึ่ง ๆ  มี ๒๒๗ สิกขาบท  ได้แก่ ปาราชิก ๔  สังฆาทิเสส ๑๓ 

          อนิยต ๒  นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐  ปาจิตตีย์ ๙๒  ปาฏิเทสนียะ ๔ 

          เสขิยะ ๗๕  และ อธิกรณสมถะ ๗ ฯ 

๔.     คำว่า  อาบัติที่ไม่มีมูล  กำหนดโดยอาการอย่างไร ?   ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติไม่มีมูลต้องอาบัติอะไร ?

๔.      กำหนดโดยอาการ ๓  คือ ไม่ได้เห็นเอง ๑  ไม่ได้ยินเอง ๑  ไม่ได้เกิด รังเกียจสงสัย ๑  ว่าภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อนั้น ฯ   โจทด้วยอาบัติปาราชิกต้องอาบัติสังฆาทิเสส  โจทด้วยอาบัติอื่นจากอาบัติปาราชิกต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

๕.     ในสิกขาบทที่ ๒ แห่งอาบัติปาราชิก  ทรัพย์เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก อาบัติถุลลัจจัย และอาบัติทุกกฏ มีกำหนดราคาไว้เท่าไร ?

๕.      มีกำหนดราคาไว้ดังนี้

ทรัพย์ มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก

ทรัพย์ มีราคาไม่ถึง ๕ มาสก แต่มากกว่า ๑ มาสก เป็นเหตุให้ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ทรัพย์ มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา เป็นเหตุให้ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ



๖.     ผ้าไตรครอง  มีอะไรบ้าง ? ต่างจากอติเรกจีวรอย่างไร ?

๖.     มี  สังฆาฏิ  อุตตราสงค์  อันตรวาสก ฯ   ต่างกันอย่างนี้  ผ้าไตรครองเป็นผ้าที่ภิกษุอธิษฐาน  มีจำนวนจำกัด คือ ๓ ผืน   ส่วนอติเรกจีวร คือผ้าที่นอกเหนือจากผ้าไตรครอง  มีได้ไม่จำกัดจำนวน ฯ

๗.     พระ ก. นำเบียร์มาให้พระ ข. ดื่ม  โดยหลอกว่าเป็นน้ำอัดลม  พระ ข. หลงเชื่อจึงดื่มเข้าไป ถามว่า พระ ก. และพระ ข. ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?  

๗.      พระ ก. เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะพูดปด

          พระ ข. เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะดื่มน้ำเมา   แม้ไม่รู้ก็ต้องอาบัติ

          เพราะสิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ ฯ

๘.     ภิกษุนำตั่งของสงฆ์ไปตั้งใช้ในที่แจ้ง จะหลีกไปสู่วัดอื่นต้องทำอย่างไร จึงจะไม่เป็นอาบัติ ?

๘.      ต้องเก็บด้วยตนเอง  หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือมอบหมายให้ผู้อื่น 

จึงจะไม่เป็นอาบัติ ฯ

๙.     ลักษณะการประเคนประกอบด้วยองค์อะไรบ้าง ?   การช่วยกันยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนก็ดี  การจับผ้าปูโต๊ะประเคนก็ดี   ทั้ง ๒ วิธีนี้ถูกต้องหรือไม่ ?  เพราะเหตุไร ?

๙.      ประกอบด้วยองค์ต่อไปนี้

          ๑.  ของที่จะพึงประเคนนั้นไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป  พอคนปานกลาง

              ยกได้คนเดียว

๒. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส

๓. เขาน้อมเข้ามา

๔. กิริยาที่น้อมเข้ามาให้นั้น ด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้

     ด้วยโยนให้ก็ได้

๕. ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ ฯ

     ไม่ถูกทั้ง ๒ วิธี  เพราะไม่ต้องลักษณะองค์ประเคน  คือ การช่วยกัน

     ยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนผิดลักษณะองค์ที่ ๑  

     การจับผ้าปูโต๊ะประเคนผิดลักษณะองค์ที่ ๓ ฯ

๑๐.   อธิกรณ์ คืออะไร ? เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร ?

๑๐.    คือ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ ฯ  

          ต้องระงับด้วยอธิกรณสมถะอย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรแก่อธิกรณ์นั้น ๆ ฯ

***********

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2553





ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง

วันพุธ ที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓

 พระวินัย ได้แก่อะไร ? สิกขาบทที่เป็นอเตกิจฉา คือที่ภิกษ แล้วไม่สามารถจะแก้ไขได้ ได้แก่อะไร ?

 ได้แก่ พระพุทธบัญญัติ และอภิสมาจาร ฯ ได้แก่ ปาราชิก ๔ ฯ

 นิสสัย  คืออะไร ?  มีเท่าไร ?  อะไรบ้าง ?

 คือ  ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ฯ มี ๔ อย่าง ฯ

คือ ๑. เที่ยวบิณฑบาต ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล

๓. อยู่โคนไม้ ๔. ฉันยาดองด้วยน ้ำมูตรเน่า ฯ

๓. อาบัติว่าโดยชื่อมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?

๓. มี  ๗  อย่าง ฯ คือ  ๑. ปาราชิก ๒. สังฆาทิเสส ๓. ถุลลัจ

๔. ปาจิตตีย์ ๕. ปาฏิเทสียะ ๖. ทุกกฏ ๗. ทุพภาสิต ฯ

 ภิกษุโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติไม่มีมูล  เป็นอาบัติอะไรบ้าง ?

 โจทด้วยอาบัติปาราชิก เป็นอาบัติสังฆาทิเสส โจทด้วยอาบัตินอกนี้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

 ไตรจีวร  มีอะไรบ้าง ? ภิกษุอยู่ปราสจากแม้คืนหนึ่ง  ต้องอาบัติ

 มี สังฆาฏิ คือผ้าคลุม อุตตราสงค์ คือผ้าห่ม และอันตรวาส ผ้านุ่ง ฯ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

 ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์ มาเพื่อตน เพื เพื่อเจดีย์ เพื่อสงฆ์หมู่อื่น จะเป็นอาบัติอะไรได้บ้าง ?

 น้อมมาเพื่อตน เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ น้อมมาเพื่อบุคคลอื่น เป็นอาบัติปาจิตตีย์ น้อมมาเพื่อเจดีย์และเพื่อสงฆ์หมู่อื่น เป็นอาบัติทุกกฏ ฯ

 ภิกษุนอนในที่มุงที่บังเดียวกันกับสามเณร  จะเป็นอาบัติอะไรหร

 นอนได้ ๓ คืน  ไม่เป็นอาบัติ  เกินกว่านั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์

 ภิกษุ ก อาพาธ ได้รับค ำแนะน ำให้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเพื่อช่วย ป่วยเร็ว แล้วฉันตามค ำแนะน ำนั้น มีวินิจฉัยตามพระวินัยอย่

 มีวินิจฉัยว่า  ภิกษุ  ก  ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

 เสขิยวัตร  คืออะไร ?  แบ่งเป็นกี่หมวด ?  หมวดที่ ๒ ว่าด้วยเรื่

 คือ ธรรมเนียมหรือวัตรที่ภิกษุพึงศึกษา ฯ แบ่งเป็น ๔ หมวด ฯ ว่าด้วยเรื่อง โภชนปฏิสังยุต คือธรรมเนียมว่าด้วยเรื่องการขบฉั

๑๐. ข้อว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ นั้นมีอธิบายอย่างไร ?


๑๐. มีอธิบายว่า รับโดยแสดงความเอื้อเฟื้อในบุคคลผู้ให้ ไม่ดูหมิ่น ความเอื้อเฟื้อในของที่เขาให้  ไม่ท ำดังรับเอามาเล่นหรือเอามาทิ


*********

 

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2554



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์      ที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔

              พระภิกษุผู้รักษาพระวินัยดีโดยถูกทางแล้ว  ย่อมได้อานิสงส์อะไ

            ย่อมได้อานิสงส์  คือ  ความไม่ต้องเดือดร้อนใจ ฯ 

            สิกขา  สิกขาบท  และอาบัติได้แก่อะไร ?

            สิกขา  ได้แก่  ข้อที่ภิกษุควรศึกษา  มี ๓ อย่าง  คือ  สีลสิกขา

และปัญญาสิกขา

สิกขาบท  ได้แก่  พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ

อาบัติ  ได้แก่  โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้ 

๓.    อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติมีอะไรบ้าง ?

๓.    มี         ต้องด้วยไม่ละอาย ๑                     ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบ

ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนท ำ ๑                        ต้องด้วยส ำคัญว่าควรในของที่ไม่

ต้องด้วยส ำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ๑                             ต้องด้วยลืมสติ ๑ ฯ

            ครุกาบัติ ที่แก้ไขได้ก็มี ที่แก้ไขไม่ได้ก็มีที่แก้ไข ที่แก้ไขไม่ได้ได้แก่อาบัติอะไร ?

            ที่แก้ไขได้   ได้แก่อาบัติสังฆาทิเสส

ที่แก้ไขไม่ได้                 ได้แก่อาบัติปาราชิก ฯ

            ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ให้องอาบัติอะไรตาย ?

            ฆ่ามนุษย์ให้ตายต้องอาบัติปาราชิก

ฆ่าอมนุษย์ให้ตายต้องอาบัติถุลลัจจัย ฆ่าสัตว์เดรัจฉานให้ต้องอาบัติปาจิตตีย์าย ฯ

            ไตรจีวรประกอบด้วยผ้าอะไรบ้าง ? ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ต้อง อย่างไร ?

            ประกอบด้วย  ผ้าสังฆาฏิ  ผ้าอุตตราสงค์  และผ้าอันตรวาสก ฯ

ต้องสละไตรจีวรผืนที่อยู่ปราศจากนั้น แล้วแสดงอาบัตินิสสัค เมื่อได้รับผ้ากลับคืนมาแล้ว ต้องอธิษฐานใหม่ ฯ

๗.     จงให้ความหมายของค ำต่อไปนี้

๑. อติเรกจีวร                        ๒จีวรกาล.                ๓.อนุปสัมบัน

๗.    ๑. อติเรกจีวร           หมายถึงจีวรที่ไม่ใช่จีวรอธิษฐาน

๒. จีวรกาล      หมายถึงคราวที่เป็นฤดูถวายจีวร                (คืออยู่จ ำพรรษาแล้ว

ถ้าไม่ได้กรานกฐิน           นับแต่วันปวารณาไป ๑ เดือน

ถ้าได้กรานกฐิน        เพิ่มออกไปอีก ๔ เดือนในฤดูหนาว)

๓. อนุปสัมบัน             หมายถึงบุคคลที่มิใช่ภิกษุ ฯ 

            เภสัช ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันไ เป็นอย่างยิ่ง ?  

            ได้แก่ เนยใส เนยข้น น ้ำมัน น ้ำผึ้ง น ้ำอ้อย ฯ เก็บไว้ได้ ๗ วัน ฯ

            ภิกษุฉันพลางท ำกิจอื่นพลาง  จะต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ? 

            ต้องอาบัติทุกกฎ ฯ

๑๐.  อธิกรณ์         คืออะไร ?     การตัดสินอธิกรณ์ตามเสียงข้างมาก                 เรียกว่าอ

๑๐.  คือ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องท ำ ฯ เรียกว่าเยภุยยสิกา ฯ


*********



 

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2555

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2555

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

๑.      ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่ามีศีล?

ตอบ ภิกษุสำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย เว้นข้อที่ทรงห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต จึงชื่อว่ามีศีล

๒.     นิสสัย ๔ ในอนุศาสน์ ๘ อย่าง หมายถึงอะไร? มีอะไรบ้าง?

ตอบ หมายถึง ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ฯ มี

๑.เที่ยวบิณฑบาต

๒.นุ่งห่มผ้าบังสกุล

๓.อยู่โคนไม้

๔.ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฯ

๓.     อเตกิจฉา และสเตกิจฉา ได้แก่อาบัติอะไร? ทั้ง ๒ อย่างนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้ว จะเกิดโทษอย่างไร?

ตอบ อเตกิจฉา อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ คือ ปาราชิก ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ ฯ

สเตกิจฉา อาบัติที่แก้ไขได้ คือ สังฆาทิเสส และอาบัติอีก ๕ ที่เหลือ ฯ สังฆาทิเสสต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้ อาบัติอีก ๕ ที่เหลือพึงแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือรูปใดรูปหนึ่งจึงพ้นได้ ฯ

๔.     ภิกษุจับต้องกายมารดาในเวลาพยาบาลไข้ด้วยจิตกตัญญู ปรับเป็นอาบัติทุกฏฏผิดหรือถูก

เพราะเหตุไร?

ตอบ เป็นอาบัติทุกกฏ เพราะมารดาเป็นวัตถุอนามาส

๕.      อติเรกจีวร อติเรกบาตร ได้แก่จีวรและบาตรเช่นไร? จีวรและบาตรชนิดนี้ ภิกษุเก็บไว้ได้กี่วัน?

ตอบ ได้แก่ จีวรและบาตรนอกจากจีวรและบาตรที่อธิษฐานฯ เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่งฯ

๖.      ภิกษุนำเก้าอี้ของสงฆ์ไปใช้ที่กลางแจ้งแล้ว เมื่อจะหลีกไป พึงปฏิบัติอย่างไร? ถ้าไม่ปฏิบัติเช่นนั้น ต้องอาบัติอะไร?

ตอบ พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ เก็บเอง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือมอบหมายแก่ผู้อื่น ฯ

ถ้าไม่ปฏิบัติเช่นนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

๗.     ภิกษุขอปัจจัย ๔ ต่อผู้ที่ปวารณาไว้ มีพระพุทธานุญาตให้ปฏิบัติอย่างไร?

ตอบ ให้ปฏิบัติดังนี้ ถ้าเขาปวารณาโดยมีกำหนดเวลา พึงขอได้เพียงกำหนดเวลานั้น แต่ถ้าเขาปวารณาโดยไม่ได้กำหนดเวลา พึงขอได้เพียง ๔ เดือนเท่านั้น เว้นไว้แต่เขาปวารณาอีก หรือปวารณาเป็นนิตย์ ฯ

๘.     ภิกษุเข้าบ้านโดยไม่ได้บอกลาภิกษุอื่นผู้มีอยู่ในอาวาส ต้องอาบัติอะไรหรือไม่? จงอธิบาย

ตอบ ถ้าเข้าบ้านในเวลาที่เป็นกาล ตั้งแต่เช้าถืงเวลาก่อนเที่ยงวัน ไม่ต้องอาบัติ ถ้าเข้าบ้านในเวลาวิกาล คือตั้งแต่หลังเที่ยงวันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีกิจด่วน (หรือผู้อยู่ในนิสสัย)

๙.     ภิกษุนั่งในบ้านพูดเสียงดังจะต้องอาบัติอะไร?

ตอบ ต้องอาบัติทุกกฎ ฯ

๑๐. ในเสขิยวัตรมีสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้ภิกษุช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมโดยอนุโลมไว้อย่างไร?

ตอบ ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ และบ้วนน้ำลายลงในของเขียว และในน้ำ ฯ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2556




 


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัตินักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖

๑. อกรณียกิจ คือกิจที่บรรพชิตไม่ควรท ำ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? เฉลย มี ๔ อย่าง ฯ คือ

๑. เสพเมถุน ๒. ลักของเขา
๓. ฆ่าสัตว์ พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน๔.ฯ

๒. อาบัติ คืออะไร ?าการที่ภิกษุต้องอาบัติมีอ ๖ งอย่าจงบอกมาสัก
๓ อย่าง ฯ

เฉลย คือ โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามฯ (เลือกตอบเพียง๓ ข้อ)
๑. ต้องด้วยไม่ละอาย

  ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบัติ ๓. ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนท ำลง ๔. ต้องด้วยส ำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร

๕. ต้องด้วยส ำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ๖. ต้องด้วยลืมสติฯ


  ภิกษุพยายามฆ่าตนเอง แต่ท ำไม่ส ำเร็จ จะต้องอาบัติอะไร ? เฉลย ต้องอาบัติทุกกฏฯ

  ข้อความว่า ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ตามสิกขาบท สังฆาทิเสสนั้น หมายถึงการท ำอย่างไร ?

เฉลย หมายถึงการที่ภิกษุบอกความประสงค์ของชายแก่หญิง หรือบอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายในความเป็นผัวเมียฯ

๕. ไตรจีวร อติเรกจีวร ได้แก่จีวรเช่นไร ?

เฉลย ไตรจีวร ได้แก่จีวร๓ ผืน ประกอบด้วย อุตตราสงค์(ผ้าห่ม)

อันตรวาสก (ผ้านุ่ง)และสังฆาฏิ(ผ้าคลุมหรือผ้าทาบ)ฯ อติเรกจีวรได้แก่ผ้ามีขนาดกว้าง๔นิ้วยาว๘ นิ้วซึ่งอาจน ำไปท ำเป็น เครื่องนุ่งห่มได้นอกจากผ้าที่อธิษฐานฯ

๖. ภิกษุขอจีวรต่อสามีของน้องสาวแล้วได้มา เธอจะต้องอาบัติอะไรหรื

เฉลย ถ้าสามีของน้องสาวเป็นญาติก็ดีมิใช่ญาติแต่ปวารณาก็ดีไม่ต้องอาบัติ ถ้ามิใช่ญาติและมิได้ปวารณาเป็นเพียงน้องเขยต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย เว้นไว้แต่สมัย(คือในเวลาจีวรถูกขโมยหรือเสียหาย)ฯ

  มีผู้นหารบิณฑบาตมาถวายแก่สงฆ์ ำอา ภิกษุแนะน ำให้ถวายแก่ตนเองและ ได้มา เช่นนี้จะต้องอาบัติหรือไม่ ? ถ้าต้อง จะต้องอาบัติอะไร ?

เฉลย ต้องอาบัติฯ
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ฯ

๘. เสขิยวัตร คืออะไร ? โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยเรื่องอะไร ?

เฉลย คือ วัตรหรือธรรมเนียมที่ภิกษุจ ำต้องศึกษาฯ ว่าด้วยเรื่องการรับและการฉันอาหารฯ

  ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตร ปฏิบัติผิดธรรมเนียมไป ต้องอาบั เฉลย ต้องอาบัติทุกกฏฯ

๑๐. ภิกษุเถียงกันด้วยเรื่องอะไร จึงเรียกว่า วิวาทาธิกรณ์ ?

เฉลย เถียงกันด้วยเรื่องสิ่นั้นเป็นธรรมเป็นวิสิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัยฯ

*********

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2557

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

๑.    สิกขา และ สิกขาบท ได้แก่อะไร?
เฉลย สิกขา ได้แก่ข้อที่ควรศึกษา
สิกขาบท ได้แก่พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ ฯ
๒.   อาบัติ คืออะไร? ว่าโดยชื่อมีอะไรบ้าง?
เฉลย อาบัติ คือโทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ฯ
มี ๑. ปาราชิก            ๒. สังฆาทิเสส        ๓. ถุลลัจจัย          ๔. ปาจิตตีย์
๕. ปาฏิเทสนียะ      ๖. ทุกกฏ             ๗. ทุพภาสิต ฯ
๓.    จงอธิบายความหมายของอาบัติต่อไปนี้
ก. สเตกิจฉา             ข. สจิตตกะ
เฉลย     ก. ได้แก่อาบัติที่แก้ไขได้
           ข. ได้แก่อาบัติที่ต้องเพราะมีเจตนา ฯ
๔.    ภิกษุฆ่ามนุษย์ ฆ่าสัตว์เดียรัจฉาน ต้องอาบัติอะไร?
เฉลย ฆ่ามนุษย์ ต้องอาบัติปาราชิก
ฆ่าสัตว์เดียรัจฉาน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๕.    สังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์เช่นไร?
เฉลย สังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์หรือสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้ เช่น สัตว์ เงินทอง เป็นต้น ฯ
อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์หรือสิ่งของที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ดิน ต้นไม้ เรือน เป็นต้น ฯ
๖.     ภิกษุมีความกำหนัด จับต้องกายอนุปสัมบัน ต้องอาบัติอะไร?
เฉลย อนุปสัมบันเป็นหญิง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อนุปสัมบันเป็นบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
อนุปสัมบันเป็นชาย ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
๗.   อติเรกจีวร และผ้าจำนำพรรษา ได้แก่ผ้าเช่นไร?
เฉลย อติเรกจีวร ได้แก่ผ้ายาว ๘ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้วขึ้นไป พอใช้ประกอบเข้าเป็นเครื่องนุ่งห่มได้ นอกจากผ้าที่อธิษฐาน
ผ้าจำนำพรรษา ได้แก่ผ้าที่ทายกถวายแก่ภิกษุผู้ปวารณาออกพรรษาแล้ว ฯ
๘.    เภสัช ๕ ได้แก่อะไรบ้าง?
เฉลย ได้แก่เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ฯ
๙.   วัตรที่ภิกษุสามเณรจะต้องศึกษา เรียกว่าอะไร? มีทั้งหมดกี่ข้อ?
เฉลย เรียกว่าเสขิยวัตร ฯ มี ๗๕ ข้อ ฯ
๑๐.         อธิกรณ์ อธิกรณสมถะ คืออะไร?
เฉลย อธิกรณ์ คือเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ
อธิกรณสมถะ คือธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ ฯ





 

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2558



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัตินักธรรมชันตรี้

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่๒๔ ตุลาคมพุทธศักราช๒๕๕๘






๑.    พระวินัย คืออะไร ?   ภิกษุรักษาพระวินัยแล้ว  ย่อมได้อานิสงส์อะไร ?


เฉลย คือพระพุทธบัญญัติและอภิสมาจารได้อานิสงส์ฯ คือไม่ต ้องเดือดรได้อนใจ้รับ ความแช่มชื่นว่า ได ้ประพฤติดีงาม จะเข ้าหมู่ภิกษุผู ้มีศีลก็องอาจไม่สะทกส


๒. ปัจจัยเครืองอาศัยของบรรพชิตเรียกว่าอะไร่ ?   มีกี่อย่าง ?     อะไรบ้าง ?

เฉลย       เรียกว่า นิสสัย ฯ ๔ มีอย่าง ฯ       คือ

๑. เที่ยวบิณฑบาต                 ๒. นุ่งห่มผ ้าบังสุกุล

๓.  อยู่โคนต ้นไม ้๔. ฉันยาดองด ้วยน ้ามูตรเน่า ฯ


๓.   สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์มีเท่าไร ? สิกขาบทว่าด้วยปาราชิกมีอะไรบ้าง ? เฉลย มี๒๒๗ สิกขาบท ฯ มี


๑.  เสพเมถุน

๒.  ภิกษุถือเอาของที่เจ ้าของเขาไม่ได ้ให๕้ ไดมาสก้ราคา

๓.    ภิกษุแกล ้งฆ่ามนุษย์ให ้ตาย

๔.       ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม(คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์)ที่ไม่มีในตน ฯ


๔.   ในอทินนาทานสิกขาบท ก าหนดราคาทรัพย์ เป็ นวัตถุแห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง ? เฉลย ทรัพย์มีราคาตั้งแต่๕มาสก ขึ้นไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก


ทรัพย์มีราคาตว่า่าก๕มาสก แต่สูงกว่า๑มาสก เป็นวัตถุแห่งอาบัติถุลลัจจัย ทรัพย์มีราคาตั้งแต่๑มาสก ลงไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ ฯ


๕. ภิกษุโจทภิกษุอืนด้วยอาบัติปาราชิกอย่างไร่   ภิกษุผู้โจทจึงต้องอาบัติสังฆาทิเสส ?


เฉลย       ภิกษุโกรธเคืองแกล ้งโจทภิกษุอื่นด ้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล และภิกษุโกรธเคือง แกล ้งหาเลสโจทภิกษุอื่นด ้วยอาบัติปาราชิก ฯ


๖.    ภิกษุประพฤติอย่างไร ชื่อว่าประทุษร้ายตระกูล ? เฉลย ประจบคฤหัสถ์ ฯ


๗.   พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา ได้ ใดบ้าง ?


เฉลย   ในสมัยที่ภิกษุมีจีวรอันโจรลักไป  หรือมีจีวรอันฉิบหายเสีย ฯ


๘.   ภิกษุน าเก้าอี้ของสงฆ์ไปใช้ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไปจากที่นั้น พึงปฏิบัติอย่างไร ? ถ้าไม่ ปฏิบัติอย่างนั้น ต้องอาบัติอะไร ?

เฉลย       พึงเก็บเอง หรือใช ้ให ้ผู ้อื่นเก็บหรือมอบหมายแก่ผู ้อื่น ฯ ต ้องอาบัติปาจิตตียฯ


๙.    ในการรับบิณฑบาต ภิกษุพึงปฏิบัติอย่างไรจึงถูกต้องตามเสขิยวัตร ? ๒จงตอบมาเพีข้อ


เฉลย รับโดยเคารพ แลดูแต่ในบาตร รับแกงพอสมควรแก่ข ้าวสุก รับแต่พอเสมอขอบ ปากบาตร ฯ (เลือกตอบเพียง๒ ข ้อ)


๑๐. การเถียงกันด้วยเรืองอะไรจึงจัดเป็นวิวาทาธิกรณ์่?

เฉลย       การเถียงกันว่า     สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัยสิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัยฯ




*********



 

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2559

 




ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี
                                  สอบในสนามหลวง
                                  วันพฤหัสบดีที่๑๓ ตุลาคมพุทธศักราช๒๕๕๙




๑.            กิจที่บรรพชิตไม่ควรท า เรียกว่าอะไร?มีอะไรบ้าง?

ตอบ เรียกว่า อกรณียกิจ ฯ มี๔ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์

๓.  ฆ่าสัตว์ ๔. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน ฯ

๒.     อาบัติคืออะไร?อาการที่ภิกษุต้องอาบัติ๖อย่างนั้น อย่างไหนเสียหายมากที่สุด?

ตอบ คือ โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้ามฯ ต้องด้วยไม่ละอาย จัดว่าเสียหายมากที่สุด ฯ

๓.           ภิกษุปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญาดีแล้ว จะได้รับประโยชน์อย่า?

ตอบ ย่อมได้รับประโยชน์ คือ ปฏิบัติศีล ท นผูาให้มีกายเป็ วาจาเรียบร้อย

ปฏิบัติสมาธิห้ใจสงบมั่นคงทาใ ไม่ฟุูงซ่าน ปฏิบัติปัญญา ท าใหรู้นกองสังขารรอบใ ฯ

๔.           ปาราชิกทั้ง๔สิกขาบท เป็นสจิตตกะหรืออจิตตกะ?เพราะเหตุใด?

ตอบ ปาราชิกทั้ง๔สิกขาบท เป็นสจิตตกะ ฯ เพราะต้องด้วยจงใจเกิดขึ้นโดยมีเจตนาเป็นสมุฏฐาน ฯ

๕.     ภิกษุท าคนอื่นให้ถึงแก่ความตาย ต้องอาบัติอะไรหรือไม่?
ตอบ ถ้าไม่จงใจ ไม่เป็นอาบัติ แต่ถ้าจงใจประสงค์จะให้เขาตาย เป็นอา

๖.      ภิกษุมีความก าหนัดจับต้องอนุปสัมบันต้องอาบัติอะไร?

ตอบ ภิกษุมีความก าหนัดจับต้องอนุปสัมบันที่เป็นหญิง ต้องอาบั อนุปสัมบันที่เป็นบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย อนุปสัมบันที่เป็นชาย ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

๗.     ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนต้องอาบัต?
ลาภนั้น ได้แก่อะไรบ้าง?
ตอบ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ฯ
ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ซึ่งเรียกว่าปัจจัย๔
และของที่เป็นกัปปิยะอย่างอื่นอีก ฯ

๘.            ผ้าไตรจีวร ที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐานไว้ใช้มีกี่อย่าง?อะไรบ้าง?

ตอบ มี๓ อย่าง ฯ คือ ๑. สังฆาฏิ (ผ้าคลุม)

๒.  อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) ๓. อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) 

๙.      พูดอย่างไร ชื่อว่าส่อเสียดภิกษุ?ภิกษุพูดอย่างนั้นต้องอาบัติอะไร?

ตอบ เก็บความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น เก็บความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ ด้วยประสงค์จะให้เขารักตนหรือให้เขาแตกกัน ชื่อว่าส่อเสียดภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

๑๐. เสขิยวัตร คืออะไร?ภิกษุไม่ปฏิบัติตาม ต้องอาบัติอะไร? ตอบ คือธรรมเนียมที่ภิกษุต้องศึกษา ฯ
ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ




--------------------

ให้เวลา๓ ชั่วโมง


วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2560

 

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัตินักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง

วันจันทร์๒ ที่ตุลาคม พุทธศักราช๒๕๖๐ 
๑.            นิสสัย และ อกรณียกิจ คืออะไร?ทั้ง๒ อย่างรวมเรียกว่าอะไร?

เฉลย นิสสัย คือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต อกรณียกิจ คือกิจที่บรรพชิตไม่ควรท า ฯ ทั้ง๒ อย่าง รวมเรียกว่าอนุศาสน์ ฯ

๒.     อาบัติคืออะไร?อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติ๖อย่างนั้น อย่างไหน เสียหายมากที่สุด?

เฉลย คือโทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ฯ ต้องด้วยไม่ละอาย จัดว่าเสียหายมากที่สุด ฯ

๓.     สิกขา กับ สิกขาบท ต่างกันอย่างไร?

เฉลย ต่างกันอย่างนี้
สิกขา ได้แก่ข้อที่ควรศึกษา คือศีล สมาธิ และปัญญา
สิกขาบท ได้แก่พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ ฯ

๔.     พูดอย่างไรเรียกว่า อวดอุตตริมนุสสธรรม?
เฉลย พูดอวดคุณพิเศษอันยิ่งของมนุษย์ คือพูดว่าข้าพเจ้าได้ฌาน
วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติมรรค ผล เรียกว่า อวดอุตตริมนุสสธรรม ฯ

๕.     อาบัติไม่มีมูล ก าหนดโดยอาการอย่างไร?โจทด้วยอาบัติไม่มีมูลเป็น อาบัติอะไร?

เฉลย ก าหนดโดยอาการ๓ คือ
ไม่ได้เห็นเอง๑ไม่ได้ยิน๑ไม่ได้รังเกียจ๑ว่าภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อ
โจทด้วยอาบัติปาราชิกต้องสังฆาทิเสส
โจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสสต้องปาจิตตีย์
โจทด้วยอาบัติอื่นจากนี้ต้องปาจิตตีย์ ในสัมปชานมุสาวาทสิก

๖.      ค าว่า มาตุคาม ในสังฆาทิเสส สิกขาบทที่๒และ๓ต่างกันอย่างไร?

เฉลย ในสิกขาบทที่๒หมายรวมทั้งหญิงที่รู้เดียงสาและไม่รู้เดียงสาโดยที่สุด
แม้เกิดในวันนั้น
ส่วนในสิกขาบทที่๓หมายเฉพาะหญิงที่รู้เดียงสาแล้วเท่านั้น ฯ

๗.           ภิกษุต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ หรืออาบัติปาจิตตีย์ ต่างกันอย่างไร ?

 เฉลย นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ต้องเสียสละวัตถุอันเป็นเหตุให้ต้องอาบั จึงแสดงอาบัติได้ส่วนอาบัติปาจิตตีย์นั้นภิกษุพึงแสดงอาบัติได้เลย ไม่มีวัตถุใด ๆ ที่ต้องสละ ฯ

๘.            ในปาจิตตีย์ ภิกษุต้องอาบัติเพราะพูดเรื่องจ?ราะเหตุใดิงมีหรือไม่? เฉลย มี ฯ

เพราะบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ๘ตามสิกขาบท แห่งมุสาวาทวรรคและเพราะบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบ เว้นไว้แต่ได้รับสมมติ ตามสิกขาบทที่๙แห่งมุสาวาทวรรค ฯ

๙.      การนุ่งเป็นปริมณฑล คือการนุ่งอย่างไร?

เฉลย คือนุ่งเบื้องบนปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก เบื้องล่างปิดหั๒ ลงมาเพียงครึ่งแข้งไม่คลุมข้อเท้า ฯ

๑๐.  ภิกษุฉันพลางพูดพลาง จะต้องอาบัติอะไรหรือไม่?

เฉลย พูดทั้งที่ยังมีอาหารอยู่ในปาก ต้องอาบัติทุกกฏ พูดไม่มีอา ไม่ต้องอาบัติ ฯ









--------------------


ให้เวลา๓ ชั่วโมง





วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2561

 


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง


วันอาทิตย์ที่๒๑ ตุลาคมพุทธศักราช๒๕๖๑ 

๑.          กิจที่บรรพชิตไม่ควรท า เรียกว่าอะไร?มีอะไรบ้าง?

เฉลย  เรียกว่า อกรณียกิจ ฯ มีดังนี้ คือ


๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่าสัตว์


๔. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน ฯ


๒. อาบัติ คืออะไร?มีโทษกี่สถาน?อะไรบ้าง?

เฉลย    คือ โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม ฯ

มี๓ สถาน ฯ

คืออย่างหนัก ยังผู้ต้องให้ขาดจากความเป็นภิกษุ


อย่างกลางยังผู้ต้องให้อยู่กรรม คือประพฤติวัตรอย่างห เพื่อทรมานตน

อย่างเบา ยังผู้ต้องให้ประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน ฯ


๓.         สิกขา คืออะไร?มีอะไรบ้าง?

เฉลย    คือ ข้อที่ภิกษุต้องศึกษา ฯ

มี ๑. ศีล                 ความรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย

๒. สมาธิ  ความรักษาใจมั่น

๓.        ปัญญา ความรอบรู้ในกองสังขาร ฯ


๔.    เภสัช๕ มีอะไรบ้าง?น้ าตาลทรายจัดเข้าในเภสัชประเภทใด?


เฉลย เภสัช๕ มี เนยใส เนยข้น น้ ามัน น้ าผึ้ง น้ าอ้อย ฯ น้ าตาลทราย จัดเข้าในน้ าอ้อย ฯ


๕.   ผ้าไตรจีวร ที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐานไว้ใช้มีกี่อ?

อะไรบ้าง?

เฉลย    มี๓ อย่าง ฯ

คือ๑. สังฆาฏิ                (ผ้าคลุม)


๒.         อุตตราสงค์(ผ้าห่ม) ๓. อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) ฯ


๖.   ภิกษุนอนในที่มุงที่บังเดียวกันกับสามเณร จะเป็นอาบัติอ?

เฉลย    นอนได้๓ คืน ไม่เป็นอาบัติ เกินกว่านั้นต้องอาบัติปาจิตตีย


๗.    ภิกษุซ่อนบาตร จีวรและรองเท้าของเพื่อนภิกษุเพื่อล้อเล่นร่ม

ต้องอาบัติอะไรบ้าง?


เฉลย    ซ่อนบาตร จีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ซ่อนร่ม รองเท้าต้องอาบัติทุกกฏ ฯ



๘.  เสขิยวัตร คืออะไร?ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตรนั้น?ต้องอาบ เฉลย คือวัตรหรือธรรมเนียมที่ภิกษุต้องศึกษา ฯ


ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ


๙.  ในการรับบิณฑบาต ภิกษุพึงปฏิบัติอย่างไรจึงถูกต้องตามเสข?

จงตอบมาเพียง๒ ข้อ

เฉลย    รับโดยเคารพ แลดูแต่ในบาตร รับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก

รับแต่พอเสมอขอบปากบาตร ฯ(เลือกตอบเพียง๒ ข้อ)


๑๐.      ภิกษุเถียงกันด้วยเรื่องอะไร จึงเรียกว่า ?วิวาทาธิกรณ์


เฉลย    เถียงกันด้วยเรื่อง สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ เป็นต้น ฯ








--------------------


ให้เวลา๓ ชั่วโมง