Ø
ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง ๑. สติ ความระลึกได้ ๒. สัมปชัญญะ ความรตัว
สติ และ สัมปชัญญะ ทั้งสองนี้ ชื่อว่า มีอุปการะมาก เพราะเป็นคุณธรรมอุดหนุนให้สําเร็จกิจในทางดี ไม่หลงลืม ไม่ผิดพลาด, เป็นเครื่องนํามาซึ่ง
ประโยชน์เกื้อกูลในกิจการทั้งปวง และเป็นอุปการะให้ธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้น
(ปี
63, 60) สติ
แปลว่าอะไร? เพราะเหตุไรจึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก?
ตอบ
สติ แปลว่า ความระลึกได้ ฯ เพราะช่วยให้สําเร็จกิจในทางที่ดี ฯ
(ปี 62, 45) คนที่ทําอะไรมักพลั้งพลาด เพราะขาดธรรมอะไร?
ตอบ เพราะขาดสติ ความระลึกได้ก่อนแต่จะทํา และขาดสมปชัญญะ ความรู้ตัวในขณะทํา ฯ
(ปี
57) ธรรมที่ได้ชื่อว่ามีอุปการะมาก คือธรรมอะไร? เพราะเหตไุ รจึงจัดว่ามีอุปการะมาก?
ตอบ คือ สติ
ความระลึกได้ และสมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ เพราะเป็นคุณธรรมอุดหนุนให้สําเร็จประโยชน์เกื้อกูลในกิจทั้งปวง ฯ
(ปี 55) สัมปชัญญะ หมายความว่าอย่างไร ตอบ สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ตัว
(ปี 53) ธรรมมีอุปการะมากมีอะไรบ้าง?
ที่ว่าอุปการะมากนั้นเพราะเหตุไร? ตอบ มี สติ
ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ
ที่ว่าอุปการะมากนั้นเพราะทําให้เป็นผู้ไม่ประมาทในการทํากิจกรรมงานใดๆและเป็นอุปการะให้ธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้น ฯ
(ปี 48) ธรรมมีอุปการะมาก ได้แก่อะไรบ้าง? บุคคลผู้ขาดธรรมนี้จะเป็นเช่นไร?
ตอบ
ได้แก่ สติ ความระลึกได้ และ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ จะเป็นคนหลงลืม จะทําจะพูดหรือจะคิดอะไรมักผดพลาด ฯ
Ø ธรรมเป็นโลกบาล คือ ธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่าง
๑.หิริ ความละอายแก่ใจ ได้แก่ความละอายใจในการประพฤติชั่ว ๒.โอตตัปปะ ความเกรงกลัว
ได้แก่ความเกรงกลัวผลชั่ว ไม่กล้าทําเหตุชั่ว
ธรรมเป็นโลกบาล (เป็นธรรมคุ้มครองโลก) เพราะเป็นคุณธรรมทําบุคคลให้รังเกียจ และเกรงกลัวต่อความชั่ว ไม่กล้าทําชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง (ปี 64, 61) ธรรมคุ้มครองโลก มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? ตอบ มี ๒ อย่าง ฯ คือ ๑. หิริ ความละอายบาป ๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป
(ปี 63, 51) การที่บุคคลพบงูพิษแล้วสะดุ้งกลัวว่าจะถูกกดตาย จัดเป็นโอตตัปปะ ได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
ตอบ ไม่ได้ ฯ เพราะโอตตัปปะ หมายความว่าความเกรงกลัวต่อบาปฯ
(ปี 62, 60, 46, 43) โลก (สังคม) เดือดร้อนวุ่นวาย (ในปัจจุบันนี้) เพราะขาดธรรมอะไร?
ตอบ
เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่าง คือ ๑.หิริ ความละอายแก่ใจ ๒.โอตตัปปะ ความเกรงกลัว
ฯ
(ปี
56) หิริ และ โอตตัปปะ ได้ชื่อว่า
ธรรมเป็นโลกบาล เพราะเหตุไร?
ตอบ เพราะเป็นคุณธรรมทําบุคคลให้รังเกียจ และเกรงกลัวต่อบาปทุจริต ไม่กล้าทําความชั่วทั้งในที่ลับ และที่แจ้ง ฯ
(ปี 55) พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมอะไรไว้สําหรับคุ้มครองโลก?
ตอบ ทรงสอนไว้ ๒ คือ
๑. หิริ ความละอายต่อบาป ๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลบาป ฯ
(ปี 49) หิริกับโอตตัปปะ ต่างกันอย่างไร?
ตอบ ต่างกันอย่างนี้ หิริ คือความละอายใจตนเองที่จะประพฤติชั่ว ส่วนโอตตัปปะ คือความเกรงกลัวผลของความชั่วที่ตนจะได้รับ ฯ
(ปี 44) ธรรมข้อนี้จะคุ้มครองโลกได้อย่างไร?
ตอบ ธรรมข้อนี้จะคุ้มครองโลกได้ เนื่องจากปัจจุบันโลกที่เกิดวิกฤตการณ์ในด้านต่าง ๆ ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะชาวโลกละทิ้งธรรม คือ
หิริ และ โอตตัปปะ ไม่ละอายแก่ใจ ไม่เกรงกลัวต่อผลแห่งความชั่ว ขาดเมตตา
Ø
ธรรมอันทําให้งาม ๒ อย่าง ๑. ขนติ ความอดทน ๒. โสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม
เป็นธรรมทําให้งาม เพราะผู้ที่สมบูรณ์ด้วยขันติและโสรัจจะ ย่อมมีใจหนักแน่น ไม่แสดงอาการสูง ๆ ตํ่า ๆ แม้จะประสบความดีใจหรือเสยใจก็อด
กลั้นได้ รักษากาย วาจา ใจ ให้สภาพเรียบร้อยเป็นปกติ
(ปี 59, 50) ในทางโลก ดูคนงามที่รูปร่างหน้าตา ส่วนในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามที่ไหน ?
ตอบ ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่มีคุณธรรมอันทําให้งาม ๒ ประการ คือ
๑.ขันติ ความอดทน ๒.โสรัจจะ
ความเสงี่ยม ฯ
(ปี
47) ขันติ กับ โสรัจจะ เป็นธรรมทําให้งามได้อย่างไร?
ตอบ
ขันติ ความอดทน โสรัจจะ ความเสงี่ยม ผู้ที่สมบูรณด้วยธรรมทั้ง ๒ นี้ ย่อมมีใจหนักแน่นไม่แสดงความวิการออกมาให้ปรากฏ แม้จะ ประสบความดีใจ เสียใจ ก็อดกลั้นได้ รักษากาย วาจา ใจให้สุภาพ
สงบเสงี่ยมเป็นปกติไว้ได้ จึงทําให้งาม ฯ
(ปี
46) บุคคลมีกาย วาจา ใจ งดงาม เพราะปฏิบัติธรรมอะไร?
ตอบ เพราะปฏิบัติธรรมอันทําให้งาม ๒ อย่าง คือ ๑. ขันติ ความอดทน ๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม
ฯ
Ø บุคคลหาได้ยาก ๒ อย่าง ๑.บุพพการี บุคคลผู้ทําอุปการะก่อน ๒.กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทําแล้วและตอบแทน.
(ปี 64, 59) ในโลกนี้ มีบุคคลประเภทใดบ้างที่หาได้ยาก ?
ตอบ มีบุคคลที่หาได้ยาก ๒ ประเภท คือ
๑. บุพพการี บุคคลผู้ทําอุปการะก่อน ๒. กตัญญูกตเวที บุคคลผรู้อุปการะที่ท่านทําแล้ว และทําตอบแทนท่าน ฯ
(ปี 62, 54, 52, 48) บุพพการีและกตัญญูกตเวทีได้แก่บุคคลเช่นไร ?
ตอบ บุพพการี ได้แก่ บุคคลผู้ทําอปการะก่อน กตัญญูกตเวที
ได้แก่ บุคคลผรู้อุปการะที่ผู้อื่นทําแก่ตน แล้วทําตอบแทน ฯ
(ปี 61, 47) บุพพการี ได้แก่บุคคลเช่นไร? พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุพพการีของพุทธบริษัทอย่างไร ? จงอธิบาย
ตอบ ได้แก่ บุคคลผู้ทําอุปการะก่อน
ฯ พระพุทธเจ้าทรงกระทําอุปการะแก่พุทธบริษัทก่อน ด้วยการทรงแนะนําสั่งสอนให้รู้ดีรู้ชอบตามพระองค์ เพื่อให้ได้บรรลุประโยชน์ ทั้ง ๓ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน จึงชื่อว่าเป็นบุพพการี ฯ
(ปี
58) บุพพการี และ กตัญญูกตเวที หมายถึงบุคคลเช่นไร ?
ตอบ บุพพการี หมายถึงบุคคลผู้ทําอุปการะก่อน กตัญญูกตเวที หมายถึงบุคคลผรู้ อุปการะที่ทานทําแล้ว และ ตอบแทน ฯ
(ปี 55) กตัญญูกตเวที หมายความว่าอย่างไร? ตอบ
กตัญญูกตเวที หมายถึง บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทําแล้ว และตอบแทน ฯ
(ปี
54, 52, 48) บุพพการีและกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร? จงยกตัวอย่างมาสัก ๒ คู่
ตอบ
บุพพการี ได้แก่บุคคลผู้ทําอปการะก่อน กตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลผรู้อุปการะที่ท่านทําแล้ว และตอบแทน ฯ
(ตอบเพียง ๒ คู่) คู่ที่ ๑ มารดาบิดากับบุตรธิดา คู่ที่ ๒ ครูอาจารย์กับศิษย์ คู่ที่ ๓ พระราชากับราษฎร คู่ที่ ๔ พระพุทธเจ้ากับพุทธบริษัทฯ
(ปี 45) ได้ชื่อว่ากตัญญูกตเวทีบุคคล เพราะปฏิบัติตนอย่างไร? ตอบ เพราะเป็นผู้รู้อุปการะที่ท่านทําแล้ว และตอบแทน ฯ
หมวด ๓
Ø
รัตนะ ๓ คือ แก้ว ๓ ดวง
๑. พระพุทธ ท่านผู้สอนให้ประชาชนประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย
๒. พระธรรม พระธรรมวินัยที่เป็นคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
๓. พระสงฆ์ หมู่ชนที่ฟังคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะเป็นของมีคุณค่าและหาได้ยาก เหมือนเพชรนิลจินดามีค่ามาก นําประโยชน์และ ความสุขมาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ
Ø
ของรตนะ
๓ อย่าง
๑. พระพุทธเจ้า รู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รตามด้วย.
๒. พระธรรม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว.
๓. พระสงฆ์ ปฏิบัติชอบตามคําสั่งสอนของพระพุทธแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทําตามด้วย.
Ø
อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ อย่าง
๑. ทรงสั่งสอนเพื่อให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้.
๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ.
(ปี 64, 57) รัตนะ
๓ อย่าง
คืออะไรบ้าง? รัตนะที่ ๒ มีคุณอย่างไร?
ตอบ คือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สงฆรัตนะ ฯ ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
(ปี 63, 58, 53, 49) พระธรรม คืออะไร? มีคุณต่อผู้ปฏิบัติอย่างไร?
ตอบ พระธรรม คือคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ มีคุณ คือย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
(ปี 62, 46) รัตนะ ๓ มีอะไรบ้าง? รัตนะ ๓ นั้น มีคุณอย่างไร?
ตอบ มี
พระพุทธ ๑ พระธรรม ๑
พระสงฆ์ ๑ ฯ มีคุณอย่างนี้ คือ ๑.พระพุทธเจ้ารู้ดรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม
๒. พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ๓. พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคําสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทําตาม ฯ
(ปี 60, 48) พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะเหตุไร ?
ตอบ เพราะเป็นของมีคุณค่าและหาได้ยาก เหมือนเพชรนิลจินดามีค่ามาก นําประโยชน์และความสุขมาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ฯ
(ปี 59, 44)
พระรัตนตรัย กับไตรสรณคมน์ เป็นอย่างเดียวกัน หรือต่างกันอย่างไร? การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๓ เป็นที่พึ่ง จัดเป็นอย่างไหน ใน ๒ อย่างนั้น ?
ตอบ ต่างกัน คือ พระรัตนตรัย หมายถึง สิ่งที่เป็นที่พึ่ง ๓
ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ส่วนไตรสรณคมน์ หมายถึง การยอมรับนับถือพระรัตนตรัยไว้เป็นทพึ่งของตน หรือการถึง(เข้าถึง) พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ฯ จัดเป็นไตรสรณคมน์ ฯ
(ปี 54) พระพุทธเจ้าคือใคร? ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์อย่างไร?
ตอบ พระพุทธเจ้า คือท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วยกาย วาจา
ใจ ตามพระธรรมวินัย ฯ
ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือ ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ
(ปี 52) อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมีกี่อย่าง? ข้อที่ว่า “ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์” นั้นคืออย่างไร?
ตอบ มี ๓ อย่าง ฯ คือ ผู้ปฏิบัตตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ
(ปี 51) พระสงฆ์ในรัตนตรัยมีคุณอย่างไร?
ตอบ พระสงฆ์ในรัตนตรยมีคุณ คือ ท่านปฏิบัติชอบตามคําสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนให้ผู้อื่นกระทําตามด้วย ฯ
(ปี 45) รัตนะที่ ๑ หมายถึงใคร? จงอธิบาย
ตอบ หมายถึงพระพุทธเจ้าฯ ได้แก่ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัยที่ท่านเรียกว่าพระพุทธศาสนาฯ
Ø โอวาท ๓ คือ ๑.เว้นจากทุจริต ๒.ประกอบสุจริต ๓.ทําจิตใจให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น
·
พระพุทธศาสนาสอนเรื่องการทําใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง เพราะใจเป็นธรรมชาติสาคัญ ถ้าใจเศราหมอง ก็เป็น เหตุให้ทําชั่ว การทําชั่วมีผลเป็นความทุกข์ ถ้าใจผ่องแผ้ว ก็เป็นเหตใุ ห้ทําดี การทําดีมีผลเป็นความสขุ
·
ทุจริต ๓ คือ ประพฤติชั่วทางกาย วาจา ใจ
กายทุจริต ๓
ประพฤติชั่วทางกาย คือ ฆ่าสตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติทางกาม
วจีทุจริต ๔ ประพฤติชั่วทางวาจา คือ พูดเท็จ, พูดส่อเสยด, พูดคําหยาบ, พูดเพ้อเจ้อ
มโนทุจริต ๓ ประพฤติชั่วทางใจ คือ โลภอยากได้ของเขา, พยาบาทปองร้ายเขา,
เห็นผิดจากคลองธรรม(เช่น เห็นว่า บุญบาปไม่มี บิดามารดาไม่มีพระคุณ คุณบิดามารดาครูบาอาจารย์ไม่มี)
·
สุจริต ๓ คือ ประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ
กายสุจริต ๓ ประพฤติชอบทางกาย คือ เว้นจากฆ่าสัตว์, เว้นจากลกทรัพย์, เว้นจากประพฤติทางกาม
วจีสุจริต ๔ ประพฤติชอบทางวาจา คือ เว้นจากพูดเท็จ, เว้นจากพูดส่อเสยด, เว้นจากพูดคําหยาบ, เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
มโนสุจริต ๓ ประพฤติชอบทางใจ คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา, ไม่พยาบาทปองร้ายเขา, เห็นชอบตามคลองธรรม (ปี 64, 61) ทุจริต คืออะไร? พูดใส่ร้ายผู้อื่น จัดเข้าในทุจริตข้อไหน? ตอบ ทุจริต คือ ความประพฤติชั่ว ฯ จัดเข้าในวจีทุจริต ฯ (ปี 55) กายทุจริต หมายความว่าอย่างไร? ตอบ กายทุจริต หมายถึง
ความประพฤติชั่วทางกาย
(ปี 54) เห็นผดจากคลองธรรม คือเห็นอย่างไร? จัดเข้าในทุจรตข้อไหน?
ตอบ เห็นผิดจากคลองธรรม คือเห็นผิดจากความจริง เช่น เห็นว่า บุญบาปไม่มี บิดามารดาไม่มีพระคุณเป็นต้นฯ จัดเข้าในมโนทุจริตฯ
(ปี 53) พระโอวาทของพระพุทธเจ้า หรือทเรียกกันว่าหัวใจพระศาสนา มีกี่ข้อ? อะไรบ้าง?
ตอบ มี
๓ ข้อ
ฯ คือ
๑. เว้นจากทุกจริต คือประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติดีด้วยกาย วาจา
ใจ
๓. ทําใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง มีโลภ
โกรธ หลง
เป็นต้น ฯ
(ปี 53) ทุจริตคือะไร? ความเห็นว่าคุณของบิดามารดาครูบาอาจารยไ์ ม่มี
บุญบาปไม่มี จัดเป็นทุจริตข้อไหน?
ตอบ
ทุจริต คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ฯ จัดเป็นมโนทุจรต ฯ
(ปี 51, 49, 45) โอวาทของพระพุทธเจ้ามีกี่อย่าง? อะไรบ้าง?
ตอบ มี ๓ อย่าง คือ ๑. เว้นจากทจริต คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ๒. ประกอบสุจรต
๓. กระทําใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ
โกรธ หลงเป็นต้น ฯ
คือ
ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา
ใจ
(ปี 50) มโนสจุ
ตอบ มโนสุจรต
ริตคืออะไร? มีอะไรบ้าง?
คือ
การประพฤติชอบด้วยใจ ฯ มี ๑.ไม่โลภอยากได้ของเขา ๒.ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๓.เห็นชอบตามคลองธรรม ฯ
(ปี 47) เพราะเหตไุ ร หลักคําสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงสอนเรื่องการทําใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง?
ตอบ เพราะใจเป็นธรรมชาติสําคัญ ถ้าใจเศร้าหมอง ก็เป็นเหตุให้ทําชั่ว การทําชั่วมีผลเป็นความทุกข์ ถ้าใจผ่องแผ้ว ก็เป็นเหตุให้ทําดี การทําดีมี ผลเป็นความสุข ฯ
(ปี 43) คนที่รับปากรับคําเขาไว้แล้ว แต่ไม่ทําตามนั้นจัดเข้าในทุจรตข้อไหน? ตอบ จัดเข้าในวจีทุจรติ
Ø
อกุศลมล ๓ รากเหง้าของอกุศล
๑. โลภะ อยากได้ของเขา
๒. โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๓.โมหะ หลงไม่รู้จริง
เมื่ออกุศลมลเหล่านี้มีอยู่แล้ว อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เจรญมากขึ้น เหตุนั้น
ควรละเสีย.
(ปี 63, 52, 43) มูลเหตุที่ทําให้บุคคลทําความชั่ว เรยกว่าอะไร? มีอะไรบ้าง? เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ เรียกว่า อกุศลมูลฯ มี
๑. โลภะ อยากได้ ๒. โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๓. โมหะ
หลงไม่รู้จริงฯ
เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรละเสียด้วย ทาน ศีล ภาวนา ฯ
(ปี
56) จงให้ความหมายของคําว่า อกุสลมูล ตอบ หมายถึง รากเหง้าของอกุศล (ปี
54) รากเหง้าของอกุศลเรียกวาอะไร? มีอะไรบ้าง?
เพราะเหตุใดจึงควรละเลีย? ตอบ เรียกว่า อกุศลมูล
ฯ มี
โลภะ โทสะ
โมหะ ฯ
เหตุที่ต้องละเสียเพราะเมื่ออกุศลมูลเหล่านี้มีอยู่ อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น ฯ
Ø กุศลมูล ๓ รากเหง้าของกุศล ๑. อโลภะ ไม่อยากได้ของเขา ๒. อโทสะ ไม่คิดประทุษร้ายเขา ๓. อโมหะ ไม่หลงงมงาย ถ้ากุศลมูลเหล่านี้มีอยู่แล้ว กุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้น ควรให้เกิดมีในสันดาน.
(ปี 49) คนเราจะประพฤติดีหรือประพฤติชั่วมีมลเหตุมาจากอะไร?
ตอบ คนประพฤติดีมีมูลเหตมาจากอโลภะ อโทสะ อโมหะ ส่วนคนประพฤติชั่วมีมูลเหตุมาจากโลภะ โทสะ โมหะ ฯ
Ø สัปปุริสบัญญัติ ๓ ข้อที่สัตบุรุษตั้งไว้ หรือเรียกอีกอย่างว่า บัณฑิตบัญญัติ
๑. ทาน
สละสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒. ปัพพัชชา ถือบวช เป็นอุบายเว้นจากเบียดเบียนกันและกัน
๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน การบํารุงบิดามารดาของตนให้เป็นสุข
(ปี 55) มาตาปิตุอุปัฏฐาน หมายความว่าอย่างไร? ตอบ มาตาปิตุอุปัฏฐาน หมายถึง
การบํารุงบิดามารดาของตนให้เป็นสุข
Ø บุญกิริยาวัตถุ ๓ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบําเพ็ญบุญ
๑. ทานมัย บุญสําเร็จด้วยการบริจาคทาน ๒. สีลมัย บุญสําเร็จด้วยการรักษาศีล ๓.ภาวนามัย บุญสําเร็จด้วยการเจริญภาวนา
(ปี 62, 43) สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบําเพ็ญบุญเรียกว่าอะไร? โดยย่อมีเท่าไร? อะไรบ้าง?
ตอบ เรียกว่า บุญกิรยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ คือ ๑. ทานมัย
บุญสําเร็จด้วยการบริจาคทาน ๒. สีลมัย บุญสําเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสําเรจด้วยการเจริญภาวนา
(ปี 58) บุญกิรยาวัตถุ คืออะไร ? โดยย่อมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? ตอบ
คือสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบําเพ็ญบุญ ฯ มี ๓ ฯ
คือ ๑. ทานมัย บุญสําเร็จด้วยการบริจาคทาน ๒. สีลมัย
บุญสําเรจด้วยการรักษาศีล ๓. ภาวนามัย บุญสําเร็จด้วยการเจรญภาวนา ฯ
(ปี 56) การทําบุญโดยย่อมีกี่อย่าง? อะไรบ้าง? ตอบ มี ๓ อย่าง ฯ คือ ทาน ศีล
ภาวนา ฯ
(ปี 47) บุญกิริยาวัตถุ คืออะไร? ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ นั้น
ข้อไหนกําจัดความโลภ ความโกรธ และ ความหลง?
ตอบ คือ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบําเพ็ญบุญ ฯ ทานมัยกําจัดความโลภ สีลมัยกําจัดความโกรธ ภาวนามัยกําจัดความหลง ฯ
Ø สามัญลักษณะ ๓ (ไตรลักษณะ ๓) คือ ลักษณะ ๓ ประการของสงั ขารทั้งปวง ได้แก่
๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ ๓. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน
(ปี 60, 53) ไตรลักษณ์ ได้แก่อะไรบ้าง? ตอบ ๑.อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์ ๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน
(ปี 56) จงให้ความหมายของคําว่า อนัตตตา ตอบ อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน