ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๑๖ พฤศจิกายน.. ๒๕๖๒
๑. สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์เรียกว่าอะไร?ทรงบัญญัติไว้ เพื่อประโยชน์อะไร?
ตอบ เรียกว่า อภิสมาจาร ฯ
ทรงบัญญัติไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของภิกษุ แ
ความงามของพระศาสนา เช่นเดียวกับตระกูลใหญ่ จำต้อง
มีขนบธรรมเนียมและระเบียบไว้รักษาเกียรติและความเป็นผู้ดี
ของตระกูล ฯ
๒. เปลือยกายอย่างไรต้องอาบัติถุลลัจจัย?อย่างไรต้องอาบัติทุกกฏ?
ตอบ เปลือยกายเป็นวัตรเอาอย่างเดียรถีย์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯ
เปลือยกายทำกิจแก่กัน เช่น ไหว้ รับไหว้ ให้ของรับของทำบริกรรม และเปลือยกายในเวลาฉัน ในเวลาดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
๓. บริขาร ๘อย่างไหนจัดเป็นบริขารบริโภค อย่างไหนจัดเป็น
บริขารอุปโภค?
ตอบ ไตรจีวร บาตร ประคตเอว รวม ๕ อย่าง จัดเป็นบริขารบริโภค ฯ เข็ม มีดโกน และผ้ากรอกน้ำ จัดเป็นบริขารอุปโภค ฯ
๔. ภิกษุเช่นไรควรได้นิสัยมุตตกะ?
ตอบ ภิกษุผู้ควรได้นิสัยมุตตกะ คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ สติ
๒. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อาจาระ ความเห็นชอบ เคยได้ยิน ได้ฟังมามาก มีปัญญา
๓. รู้จักอาบัติ มิใช่อาบัติ อาบัติเบา อาบัติหนัก จำพระปา ได้แม่นยำ
ทั้งมีพรรษาพ้น ๕ ฯ
๕. ภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ ไปสู่อาวาสอื่น พึงประพฤติอย่า ธรรมเนียมตามพระวินัย?
ตอบ พึงประพฤติดังนี้
๑. ทำความเคารพในท่าน
๒. แสดงความเกรงใจเจ้าของถิ่น ๓. แสดงอาการสุภาพ
๔. แสดงอาการสนิทสนมกับเจ้าของถิ่น
๕. ถ้าจะอยู่ที่นั่น ฤติให้ถูกธรรมเนียมของเจ้าของถิ่นควรประพ ๖. ถือเสนาสนะแล้วอย่าดูดาย เอาใจใส่ชำระปัดกวาดให้หมดจด
จัดตั้งเครื่องเสนาสนะให้เป็นระเบียบ ฯ
๖. ภิกษุอยู่ในกุฎีเดียวกันกับภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า คว อย่างไรจึงชื่อว่าแสดงความเคารพท่านตามพระวินัย?
ตอบ ควรปฏิบัติตนอย่างนี้ คือ จะทำสิ่งใด ๆ ควรขออนุญาตท่านก่อ เช่น จะสอนธรรมจะอธิบายความ จะสาธยาย จะแสดงธรรม จะจุดจะดับไฟ จะเปิดจะปิดหน้าต่าง ห้ามมิให้ทำตามอำเภอใจ ฯ
๗. ดิถีที่กำหนดให้เข้าจำพรรษาในบาลีกล่าวไว้เท่าไร?อะไรบ้าง?
ตอบ กล่าวไว้ ๒ ฯ คือ
๑. ปุริมิกาวัสสูปนายิกา วันเข้าพรรษาต้น คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือ ๒. ปัจฉิมิกาวัสสูปนายิกา วันเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม ๑ ค่ำ เด
๘. ปวารณา คืออะไร? มีพระพุทธานุญาตให้ทำในวันไหน?
ตอบ คือ การบอกให้โอกาสแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อปรารถนาตักเตือนว
กล่าวตนได้ ฯ
มีพระพุทธานุญาตให้ทำในวันขึ้น๑๕ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันเต็ม
๓ เดือนแต่วันจำพรรษา ฯ
๙. ดิรัจฉานวิชาไม่ดีอย่างไร พระศาสดาจึงตรัสห้ามไว้ ไม่ให้ ไม่ให้เรียน?
ตอบ เป็นความรู้ที่เขาสงสัยว่าลวงหรือหลง ไม่ใช่ความรู้จริงจัง ผู้ลวง ผู้เรียนก็เป็นผู้หัด เพื่อจะลวงหรือเป็นผู้หลงงมงาย ฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสห้ามไว้ ไม่ให้บอกไม่ให้เรียน ฯ
๑๐. ยาวกาลิก กับ ยาวชีวิก ต่างกันอย่างไร?
ตอบ ยาวกาลิก คือ ของที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร บริโภคได้ชั่ว
คือตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวันโภชะได้แก่๕นมสด นมส้ม ของขบเคี้ยว
เป็นต้น ฯ
ส่วนยาวชีวิก เป็นของที่ให้ประกอบเป็นยา บริโภคได้เสมอไป ไม่มีจำกัดเวลา แต่เมื่อมีเหตุจึงบริโภคได้ ได้แก่ รากไม้ น้ำฝาดใบไ ผลไม้ ยางไม้ เกลือ เป็นต้น ฯ
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง