ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2544
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔
๑.
๑.๑
กาม และกามคุณ มีอธิบายอย่างไร ?
๑.๒
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้ง ๕ นี้ เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า กามคุณ ?
๑.
๑.๑
กาม ได้แก่ ความใคร่ ความน่าปรารถนา ความพอใจ แบ่งเป็น
กิเลสกาม และวัตถุกาม
ส่วนกามคุณ ได้แก่อารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นวัตถุกามนั่นเอง
๑.๒
เพราะเป็นกลุ่มแห่งกาม และเป็นสิ่งที่ให้เกิดความสุข ความพอใจได้
๒.
๒.๑
คำว่า อธิปเตยยะ แปลว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
๒.๒
บุคคลผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ ทำด้วยอำนาจเมตตา กรุณา เป็นต้น
จัดเข้าในอธิปเตยยะข้อไหนได้หรือไม่ ?
๒.
๒.๑
แปลว่า ความเป็นใหญ่ มี ๓ คือ
๑) อัตตาธิปเตยยะ ความมีตนเป็นใหญ่
๒) โลกาธิปเตยยะ ความมีโลกเป็นใหญ่
๓) ธัมมาธิปเตยยะ ความมีธรรมเป็นใหญ่
๒.๒
จัดเข้าในธัมมาธิปเตยยะได้
๓.
๓.๑
ปาฏิหาริย์คืออะไร ? พระพุทธเจ้าทรงยกย่องปาฏิหาริย์อะไรว่าเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าปาฏิหาริย์อื่น ?
๓.๒
พุทธจริยา และพุทธิจริต ต่างกันอย่างไร ?
๓.
๓.๑
คือ การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์ ทรงยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริย์ว่าเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าปาฏิหาริย์อื่น
๓.๒
พุทธจริยา คือพระจริยาของพระพุทธเจ้า
พุทธิจริต คือผู้มีความรู้เป็นปกติ
๔.
๔.๑
กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า โอฆะ โยคะ อาสวะ ?
๔.๒
กิจในอริยสัจแต่ละอย่างนั้นมีอะไรบ้าง ?
๔.
๔.๑
เรียกว่า โอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์
เรียกว่า โยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ
เรียกว่า อาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน
๔.๒
มี ๔ คือ
๑) ปริญญา กำหนดรู้ทุกขสัจ
๒) ปหานะ ละสมุทัยสัจ
๓) สัจฉิกรณะ ทำให้แจ้งนิโรธสัจ
๔) ภาวนา ทำมัคคสัจให้เกิด
๕.
๕.๑
กรรมฝ่ายอกุศลจัดเป็นมารอะไรในมาร ๕ ? เพราะเหตุไรจึงได้ชื่อว่ามาร ?
๕.๒
สุทธาวาสมีกี่ชั้น ? อะไรบ้าง ? เป็นที่เกิดของใคร ?
๕.
๕.๑
จัดเป็นอภิสังขารมาร, ที่ได้ชื่อว่ามารเพราะทำให้เป็นผู้ทุรพล
๕.๒
มี ๕ ชั้นคือ
๑) อวิหา
๒) อตัปปา
๓) สุทัสสา
๔) สุทัสสี
๕) อกนิฏฐา
เป็นที่เกิดของพระอนาคามี
๖.
๖.๑
อัญญสัตถุทเทสคืออะไร ? หมายถึงผู้ประพฤติเช่นไร ?
๖.๒
อัญญสัตถุทเทสต่างจากสังฆเภทอย่างไร ?
๖.
๖.๑
คือถือศาสดาอื่น หมายถึงภิกษุผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ คือหันเหไปนับถือศาสนาอื่นทั้งที่ยังถือเพศบรรพชิตอยู่ ต้องห้ามมิให้อุปสมบทอีก
๖.๒
ต่างกัน คืออัญญสัตถุทเทสนั้น ละทิ้งศาสนาเดิมของตน เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น แต่ไม่ทำลายพวกเดิมของตน
ส่วนสังฆเภทนั้น ยังอยู่ในศาสนาเดิมของตน แต่ทำลายพวกตนเองให้แตกแยกเป็นพรรคเป็นพวก
๗.
๗.๑
อะไรเรียกว่า อนุสัย ? เพราะเหตุไรจึงได้ชื่อเช่นนั้น ?
๗.๒
การจ้องตาต่อตากับหญิงสาวแล้วชื่นใจ จัดเป็นเมถุนสังโยคได้หรือไม่ ? เพราะเหตุไร ?
๗.
๗.๑
กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน เรียกว่าอนุสัย เพราะกิเลสทั้ง ๗ อย่างล้วนเป็นกิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน บางทีไม่แสดงอาการที่แท้จริงออกมาให้ปรากฏ ต่อเมื่อมีอารมณ์ภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่งมายั่วยวน ก็แสดงออกมาให้ปรากฏและทำจิตให้ขุ่นมัว เมื่อไม่มีอารมณ์มายั่วยวน ก็นอนสงบนิ่งอยู่ประหนึ่งว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลส เป็นอยู่เช่นนี้ จึงได้ชื่อว่าอนุสัย
๗.๒
ได้ เพราะอาการเช่นนั้นอิงอาศัยกาม
๘.
๘.๑
พระพุทธคุณ บทว่า อรหํ แปลว่าอย่างไรได้บ้าง ?
๘.๒
พระสงฆ์ดีอย่างไร จึงจัดว่าเป็นนาบุญของโลก ?
๘.
๘.๑
แปลว่า เป็นผู้เว้นไกลจากกิเลสและบาปธรรม
เป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร
เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนเขา
เป็นผู้ควรรับความเคารพนับถือของเขา
เป็นผู้ไม่มีข้อลับ ไม่ได้ทำความเสียหายอันจะพึงซ่อนเพื่อ
มิให้คนอื่นรู้
๘.๒
พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์ ทักขิณาที่บริจาคแก่ท่าน ย่อมมีผลานิสงส์
ดุจนาที่มีดินดีและไถดี พืชที่หว่านที่ปลูกลงย่อมเผล็ดผลไพบูลย์ จึง
ชื่อว่านาบุญของโลก
๙.
๙.๑
กรรมหมายถึงการกระทำเช่นไร ?
๙.๒
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม และอุปปัชชเวทนียกรรม คือกรรมเช่นไร ?
๙.
๙.๑
หมายถึงการกระทำทางกาย วาจา ใจ ที่มีเจตนาจงใจทำ เป็นได้
ทั้งฝ่ายดี ฝ่ายชั่วหรือเป็นกลาง ๆ
๙.๒
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือกรรมให้ผลในภพปัจจุบัน
อุปปัชชเวทนียกรรม คือกรรมให้ผลในภพที่จะเกิดถัดไป
๑๐.
๑๐.๑
สัทธรรมในจรณะ ๑๕ คืออะไรบ้าง ?
๑๐.๒
พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ฟังมาก หมายถึงฟังอะไร ? ประกอบด้วยองค์เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๑๐.
๑๐.๑
คือ สัทธา ความเชื่อ
หิริ ความละอายแก่ใจ
โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผิด
พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ฟังมาก
วิริยะ ความเพียร
สติ ความระลึกได้
ปัญญา ความรอบรู้
๑๐.๒
หมายถึงฟังธรรม ซึ่งไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกอบด้วยอรรถ ด้วยพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑) พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก
๒) ธตา ทรงจำได้
๓) วจสา ปริจิตา ท่องไว้ด้วยวาจา
๔) มนสานุเปกฺขิตา เอาใจจดจ่อ
๕) ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบด้วยทิฏฐิ