วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความเป็นมาของวันธรรมสวนะ

ความเป็นมาของวันธรรมสวนะ
วันธรรมสวนะ มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในคัมภีร์วินัยปิฎก ตอนว่าด้วยอุโบสถขันธกะ
กล่าวว่า พวกปริพาชกและเดียรถีย์ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา ประชุมกันทุกวัน ๘ ค่า ๑๔ ค่า
และ ๑๕ ค่า ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม เพื่อสนทนาเกี่ยวกับลัทธิคาสอนของตน ครั้นต่อมา
พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ พระคันธกุฎี เขาคิชฌกูฏ
ใกล้เมืองราชคฤห์ กราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าเป็นเรื่องดี
มีประโยชน์ จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์มาประชุมกันในวัน ๘ ค่า ๑๔ ค่า และ ๑๕ ค่า
ดังนั้น วันประชุมของพระสงฆ์ในยุคพุทธกาล จึงมีเดือนละ ๔ ครั้ง
เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาประชุมในวันดังกล่าว ก็ไม่ได้ทาอะไร พากันนิ่งเฉย ไม่ได้
สนทนาธรรม ชาวบ้านที่พากันไปวัดเพื่อฟังธรรม จึงรู้สึกผิดหวัง และกล่าวติเตียนพระภิกษุสงฆ์
พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสนทนาธรรมและแสดงธรรมในวันดังกล่าว
ดังนั้น จึงเรียกว่า วันธรรมสวนะ ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ได้สืบทอดต่อกันมาด้วยคาพูด การฟังและการท่องจา ที่เรียกว่า มุขปาฐะ ดังนั้น การแสดง
ธรรมและการฟังธรรม จึงเป็นเครื่องมือสาคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นแล้ว ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทาอุโบสถ
สังฆกรรมสวดพระปาติโมกข์ในวันธรรมสวนะด้วย ยุคแรกพระภิกษุสงฆ์สวดพระปาติโมกข์
ทุกวันธรรมสวนะ แต่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ลดการสวดพระปาติโมกข์เหลือเดือนละ
๒ ครั้ง คือ วันขึ้น ๑๕ ค่าและแรม ๑๕ หรือ ๑๔ ค่า ในเดือนขาด เรียกว่า วันอุโบสถ หรือ
วันพระใหญ่สาหรับในประเทศไทย วันธรรมสวนะหรือวันพระ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามหลักฐาน
ที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหงหลักที่ ๑ ความว่า “พ่อขุนรามคาแหง เจ้าเมือง
ศรีสัชชนาลัย สุโขทัย ปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า จึงให้ช่างฟันขดานหิน ตั้งหว่างกลางไม้
ตาลนี้ วันเดือนดับ เดือนโอก แปดวัน วันเดือนเต็มเดือนบ้าง แปดวัน ฝูงปู่ครู มหาเถร
ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูดธรรมแก่อุบาสก ฝูงท่วยจาศีล” และยังถือปฏิบัติมาจนกระทั่ง
ปัจจุบัน คือ กาหนดวันธรรมสวนะ เดือนละ ๔ วัน เหมือนสมัยสุโขทัย คือ วันขึ้นและแรม ๘ ค่า
๑๕ ค่า หรือแรม ๑๔ ค่า ในเดือนขาด
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เห็นความสาคัญของพระพุทธศาสนา
จึงได้ประกาศให้วันพระและวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ ซึ่งใช้ถือปฏิบัติอยู่ระยะหนึ่ง
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ประกาศให้วันเสาร์และวันอาทิตย์เป็นหยุดราชการตามหลักสากล
อย่างไรก็ตาม วันธรรมสวนะหรือวันพระ คงยังเป็นวันสาคัญสาหรับพุทธศาสนิกชนชาวไทย
จนถึงปัจจุบัน
วันโกน
วันโกน คือ วันพระภิกษุสงฆ์ปลงผม (โกนผม) รวมถึงโกนคิ้วด้วย (เฉพาะพระสงฆ์ไทย)
เป็นวันก่อนวันพระ ๑ วัน เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๗ ค่า ๑๔ ค่า และวันแรม ๗ ค่า
๑๔ ค่า หรือแรม ๑๓ ค่า ในเดือนขาด วันโกนดังกล่าวมานี้ ถือตามกาหนดวันโกนผมของ
พระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ บางท้องถิ่นยังถือปฏิบัติอยู่บ้าง แต่มีจานวนน้อย ปัจจุบันกาหนด
เพียงวันขึ้น ๑๔ ค่า เป็นวันโกนเพียงวันเดียว เดิมวันโกนเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่า วันรุ่งขึ้นจะ
เป็นวันพระ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนจะได้เตรียมตัวไปทาบุญในวันรุ่งขึ้น เพราะสมัยโบราณ
ปฏิทินเป็นของหายาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น