พิธีทำบุญอายุ
พิธีทาบุญอายุ เริ่มมีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
โดยถือเป็นธรรมเนียมว่า เมื่อมีอายุเจริญวัยพอสมควร นิยมทาบุญอายุของตน อาจทาทุกปี
ในวันคล้ายวันเกิด เรียกว่า ทาบุญคล้ายวันเกิด มักเริ่มทาเมื่อมีอายุ ๒๕ ปีเป็นต้นไป หรืออาจเป็นบางครั้งบางปีก็ได้ แต่ถ้าทาบุญในวันครบรอบใหญ่ คือ ๕ รอบเป็นต้นไป ได้แก่ อายุ
ครบ ๖๐ ปี ๗๒ ปี ๘๐ ปี ๘๔ ปี เรียกว่า ทาบุญอายุใหญ่ นิยมเรียกในปัจจุบันว่า ทาบุญ
อายุวัฒนมงคล
พิธีทาบุญวันเกิดประจาปี จัดเหมือนการทาบุญโดยทั่วไป พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
บทเจ็ดตานาน ถ้าเจ้าภาพมีศรัทธาให้สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ก็สามารถทาได้ หรือจะ
สวดบทย่อของธัมมจักกัปปวัตนสูตร เฉพาะตั้งแต่ ภุมมานัง เทวานัง เป็นต้น ก็ได้เช่นเดียวกัน
ธรรมเนียมโบราณ ถ้าอายุไม่ถึง ๕ รอบ ไม่นิยมสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แต่ไม่ใช่ข้อห้าม
ตายตัวแต่อย่างใด ส่วนการนิมนต์พระสงฆ์ ถ้าเป็นงานใหญ่จะนิมนต์พระสงฆ์เท่าอายุ
บวกอีก ๑ หรือนิมนต์ ๙ รูปตามปกติก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความศรัทธาความพร้อมของเจ้าภาพพิธีทาบุญอายุครบรอบใหญ่
การทาบุญอายุครบรอบใหญ่ มี ๒ อย่าง คือ งานทาบุญอายุตามปกติทั่วไป และ
งานทาบุญอายุประกอบพิธีโหรหรือพิธีนพเคราะห์
งานทาบุญอายุตามปกติ
การทาบุญอายุตามปกติทั่วไป แต่เดิมจัดงาน ๒ วัน คือ เจริญพระพุทธมนต์เย็น
ก่อนวันเกิดวันหนึ่ง รุ่งขึ้นทาบุญเลี้ยงพระวันเกิดอีกวันหนึ่ง ปัจจุบันนิยมจัดงานภายในวันเดียว
เรียกทั่วไปว่า สวดมนต์ฉันเช้า หรือ สวดมนต์ฉันเพล มีระเบียบพิธีเหมือนการทาบุญทั่วไป
งานทาบุญอายุจัดพิธีนพเคราะห์
พิธีสวดนพเคราะห์ เป็นการทาบุญอายุ นาเอาคติทางพระพุทธศาสนา คือ การทาบุญ
อายุมาผนวกกับคติพราหมณ์ หรือคติโหรเข้าด้วยกัน ประกอบพิธีรวมเป็นพิธีเดียวกัน โดยปฏิบัติ
ตามคติพุทธเป็นแกนหลัก มีคติพราหมณ์หรือคติโหรเป็นส่วนประกอบ ปัจจุบันพิธีสวด
นพเคราะห์จัดเป็นส่วนบุคคลมีน้อย เพราะต้องใช้งบประมาณและเตรียมการมาก ทั้งคน
เข้าใจในวิธีปฏิบัติก็มีอยู่น้อย จึงนิยมทาพิธีรวมเป็นหมู่คณะตามสถานที่ต่าง ๆ ส่วนมากจะ
จัดในวัดดาวนพเคราะห์ทั้ง ๙
คติโหรเชื่อว่า โลกจักรวาลอันมนุษย์และสัตว์เวียนว่ายตายเกิดอยู่นี้ นอกจากเป็นไป
ตามคติกรรมทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังหมุนเวียนไปตามอิทธิพลของดวงดาว ๙ ดวง
รวมกันเป็นกลุ่มจักรวาลนี้ เรียกว่า นพเคราะห์ แปลว่า กลุ่มดาวทั้ง ๙ เรียงลาดับตามวิถี
โคจรรอบโลกของเรา จัดลาดับจากเห็นก่อนและหลังตามหลักคัมภีร์ทักษาของโหร คือ อาทิตย์
จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ มีชื่อเรียกและลาดับปรากฏในวงโคจร
ดังกล่าวข้างต้น ฉะนั้น บทสวดมนต์กาหนดเป็นบทประจาพระเคราะห์นั้น ๆ จึงนามาสวด
ตามลาดับการปรากฏของพระเคราะห์ทั้ง ๙ และคัมภีร์ทักษาได้กาหนดกาลังนพเคราะห์แต่
ละดวงไว้ ตามกาลังรอบที่หมุนเวียนรอบจักรวาล คือ พระอาทิตย์ มีกาลัง ๖ พระจันทร์ ๑๕
พระอังคาร ๘ พระพุทธ ๑๗ พระเสาร์ ๑๐ พระพฤหัสบดี ๑๙ พระราหู ๑๒ พระศุกร์ ๒๑
พระเกตุ ๙
วัตถุประสงค์ของพิธีนพเคราะห์
พิธีนพเคราะห์เป็นพิธีโบราณ กระทาสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน จัดขึ้น
ตามความเชื่อทางหลักโหราศาสตร์ว่า ชีวิตของคนเรามีเทวดานพเคราะห์ผลัดเปลี่ยนเข้ามา
เสวยอายุตั้งแต่แรกเกิด เมื่อเทวดานพเคราะห์คู่เป็นมิตรกัน เข้ามาเสวยอายุ ก็จะทาให้บุคคลนั้น
มีความสุขความเจริญมีโชคลาภ แต่เมื่อเทวดาเข้ามาเสวยอายุเป็นคู่ศัตรูกัน ก็จะทาให้บุคคล
นั้น ประสบอุปสรรคหรือบางครั้งอาจถึงเสียชีวิต ตามคาพูดว่าพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก
โบราณาจารย์และโหราศาสตร์ได้หาวิธีแก้ไข เพื่อสร้างขวัญกาลังใจแก่บุคคลเจ้าของชะตา
โดยรวบรวมหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้บุคคลเจ้าของชะตานาไปประพฤติปฏิบัติใน
การดาเนินชีวิต จึงจัดทาพิธีบูชานพเคราะห์ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องบูชาเทวดาที่ผลัดเปลี่ยนกันมา
เสวยอายุ ให้เมตตาปรานีและอดโทษ เพื่อทุเลาความเลวร้ายลงและดลบันดาลประทาน
ความสุขความเจริญให้
การจัดพิธีสวดนพเคราะห์
เนื่องจากพิธีสวดนพเคราะห์นี้เป็นพิธีใหญ่ มีระเบียบพิธีและลาดับขั้นตอนมาก
ยากที่บุคคลทั่วไปจะนาไปปฏิบัติ การทาพิธีต้องอาศัยบุคคลมีความรู้ความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะเท่านั้น จึงสามารถปฏิบัติให้ถูกต้องสมบูรณ์ สาหรับบุคคลทั่วไป เพียงศึกษา
อย่างกว้าง ๆ เพื่อเป็นความรู้ ก็เพียงพอแล้ว ฉะนั้น ในที่นี้จะกล่าวพอเป็นแนวปฏิบัติ ไม่ลง
ลึกรายละเอียดมากนัก
อุปกรณ์เครื่องประกอบพิธี
พิธีสวดนพเคราะห์เป็นพิธีพิเศษ พระสงฆ์และโหราจารย์ประกอบพิธีร่วมกัน
การจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ในพิธี เจ้าภาพต้องจัดให้ครบ ตามคาแนะนาของโหราจารย์
ที่เชิญมาประกอบพิธีทุกประการ ในปัจจุบันเพื่ออานวยความสะดวกแก่เจ้าภาพ บางสานัก
รับจัดอุปกรณ์พิธีนพเคราะห์ให้ครบถ้วน ส่วนค่าใช้จ่ายตกลงกันทั้ง ๒ ฝ่าย อุปกรณ์เครื่องใช้
สาคัญพอสรุปได้ ดังนี้
๑. เทียนชัย เป็นเทียนเล่มใหญ่ ใช้ฟั่นด้วยขี้ผึ้งอย่างดี มีความสูงเท่ากับตัวเจ้าภาพ
ไส้เทียนใช้ด้ายดิบเท่ากับอายุเจ้าภาพ บวก ๑ ตั้งไว้ในตู้เทียนชัย ต้องดูแลรักษาไม่ให้ดับ
จนกว่าเสร็จพิธี
๒. เทียนมงคล ใช้ขี้ผึ้งหนัก ๙ บาท ความยาวเท่ากับความยาวรอบศีรษะเจ้าภาพ
ไส้เทียนเท่ากับอายุของเจ้าภาพบวก ๑
๓. เทียนประจาบัตร ๑๑ เล่ม หนักเล่มละ ๒ บาท ไส้เทียน ๑๖ เส้น ความยาว ๑ คืบ
๔. เทียนขี้ผึ้งหนัก ๑ สลึง ไส้เทียน ๙ เส้น จานวน ๑๑๗ เล่ม ใช้จุดบูชาเทวดา
พระเคราะห์
๕. เทียนหนัก ๑ บาท ประมาณ ๕ เล่ม
๖. ขันน้ามนต์ชนิดขันเชิงใหญ่ ๑ ใบ ถ้าไม่มีใช้กระถางแทนได้ ใส่น้าสาหรับ
ทาน้ามนต์ ใส่ใบไม้มงคล ๙ ชนิด และมีดอกบัวลอยไว้ ๕ ดอก
๗. พระพุทธรูปปางประจาวันเกิด สาหรับตั้งเป็นประธานบนโต๊ะหมู่บูชา
๘. ของใช้อื่น ๆ เช่น สายสิญจน์ ธูปหอมประมาณ ๑๕๐ ดอก บัตรพลี เครื่อง
กระยาบวช สาหรับบูชาเทวดา จะจัดหาวงปี่พาทย์มาบรรแลงประกอบพิธี เพื่อรับส่งเทวดา
นพเคราะห์ทั้ง ๙ ตามกาลังวันพระเคราะห์เสวยอายุนั้น ๆ ด้วยก็ได้ลาดับขั้นตอนพิธี
เมื่อได้เวลาประกอบพิธี เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนชัย ในขณะ
จุดเทียนชัยพระสงฆ์จะสวดคาถาจุดเทียนชัย เทียนชัยนี้ ต้องระวังรักษาไม่ให้ดับจนกว่าจะ
เสร็จพิธี ต่อจากนั้น จุดเทียนบูชานพเคราะห์ตามโหราจารย์กาหนด โหราจารย์อาราธนาศีล
ทุกคนรับศีลโหราจารย์อัญเชิญเทวดาตามลัทธิ จบแล้วอาราธนาพระปริตร
พระสงฆ์ดาเนินพิธีสวดนพเคราะห์ เริ่มต้นด้วยพระสงฆ์รูปที่ ๓ ชุมนุมเทวดา
(ขัดสัคเค) ประธานสงฆ์นาสวดบทต้นตานาน ต่อด้วยมงคลสูตร จบแล้วโหราจารย์ประกาศ
คาอานวยพร และประกาศคาบูชาพระอาทิตย์ พระสงฆ์สวดโมรปริตรประจาวันอาทิตย์
โหราจารย์ประกาศคาบูชาพระจันทร์ พระอังคาร พระพุทธ พระเสาร์ พระพฤหัสบดี
พระราหู พระศุกร์ และพระเกตุ สลับกับการสวดของพระสงฆ์ทุกพระเคราะห์ตามลาดับ
ดังกล่าวแล้ว ซึ่งแต่ละพระเคราะห์มีบทสวดกาหนดเป็นการเฉพาะ จากนั้นสวดบทท้าย
ตานาน จนจบภะวะตุ สัพพะมังคะลัง ต่อด้วยบท นักขัตตะยักขะภูตานัง จึงเสร็จพิธีการสวด
นพเคราะห์ สุดท้ายเป็นพิธีดับเทียนชัย โดยพระสงฆ์หรือโหราจารย์เป็นผู้ดับ ในขณะดับ
เทียนชัยพระสงฆ์สวดคาถาดับเทียนชัย ปะพรมน้ามนต์ให้เจ้าภาพและผู้เข้าร่วมพิธีทุกคน
ถวายไทยธรรมพระสงฆ์ กรวดน้ารับพร เป็นอันเสร็จพิธี
พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์
พิธีนวัคคหายุสมธัมม์ (อ่านว่า นะ-วัค-คะ-หา-ยุ-สะ-มะ-ทา) แปลว่า ธรรมเสมอด้วย
อายุพระเคราะห์ทั้ง ๙ มีระเบียบพิธีและขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับพิธีนพเคราะห์
เป็นพิธีจัดขึ้นสาหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เริ่มจัดเป็นครั้งแรก ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(สา ปุสสเทวมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงคัดเลือก
หัวข้อธรรมจากพระสูตรต่าง ๆ กาหนดเป็นบทสวดบูชาพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดังปรากฏใน
หนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง จึงถือเป็นธรรมเนียมว่าในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การจัดพิธีนวัคคหายุสมธัมม์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตน-
ศาสดาราม จะต้องนิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์จากวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีรามเท่านั้น
จานวน ๕ รูป มาประกอบพิธีในวันที่ ๕ ธันวาคม และรับพระราชทานฉันเพล ในวันที่ ๖ธันวาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในส่วนพิธีพราหมณ์ พระครูพราหมณ์สานักพระราชวัง
จัดเตรียมเครื่องใช้ในพิธี และประกอบพิธีร่วมกับพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ การอาราธนา
พระปริตรในพิธีนี้ เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธีกองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา
กระทรวงวัฒนธรรม
พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ นอกจากจะจัดในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังเคยจัดในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จ
พระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ วันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ
สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส
ราชนครินทร์ อีกด้วย
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น