วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความเป็นมาของพิธีเจริญพระพุทธมนต์

ความเป็นมาของพิธีเจริญพระพุทธมนต์
      การเจริญหรือการสวดพระพุทธมนต์ มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพื่อป้องกันอันตราย
และให้เกิดความสุขสวัสดีแก่ผู้ประกอบพิธี การเจริญพระพุทธมนต์นั้น เมื่อเจริญหรือสวดด้วย
จิตเมตตาว่า ขออานุภาพพระปริตร จงคุ้มครองปกปักรักษาทุกเมื่อ มีจิตเป็นสมาธิแน่วแน่
ย่อมทาให้พระปริตรมีพลังและอานุภาพยิ่งขึ้น ดังเช่นการสวดพระปริตรในสมัยพุทธกาล
สมัยหนึ่ง ได้เกิดภัย คือความแห้งแล้งขึ้นในเมืองเวสาลี ทาให้พืชพันธุ์ธัญญาหาร
เสียหายมาก เป็นเหตุให้ข้าวยากหมากแพง เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง ชาวเมืองเวสาลี
ล้มตายจานวนมาก ซ้าวิญญาณที่ยังไม่ได้ไปเกิดใหม่ ก็มาทาร้ายชาวเมืองให้ล้มตายมากยิ่งขึ้น
ชาวเมืองจึงไปกราบทูลกษัตริย์ลิจฉวี ให้หาผู้วิเศษมาช่วยขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ กษัตริย์ลิจฉวี
ทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่า ทรงช่วยขจัดปัดเป่าภัยพิบัตินั้นได้ ทรงทราบว่าพระพุทธเจ้า
ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ จึงแต่งตั้งเจ้าลิจฉวี ๒ องค์ พร้อมเครื่องบรรณาการไปถวาย
พระเจ้าพิมพิสารที่เมืองราชคฤห์ทันที
เจ้าลิจฉวีทั้ง ๒ องค์ เสด็จถึงเมืองราชคฤห์ ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร กราบทูล
เรื่องราวความเดือดร้อนของชาวเมืองเวสาลี และมีความประสงค์จะกราบทูลนิมนต์
พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดชาวเมืองเวสาลี จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อกราบทูล
อาราธนา พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาว่า ถ้าพระองค์เสด็จไป ภัยทั้งปวงจะสงบลง เป็นประโยชน์
แก่ชาวเมืองเวสาลี จึงทรงรับการอาราธนาของเจ้าลิจฉวี กษัตริย์ลิจฉวีทรงทราบว่าพระพุทธเจ้า
ทรงรับนิมนต์แล้ว ทรงประกาศให้ชาวเมืองทราบ และให้จัดเตรียมการรับเสด็จพระพุทธดาเนิน
โปรดชาวเมืองเวสาลีอย่างยิ่งใหญ่ตลอดระยะทาง ๓ โยชน์
         เมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก ๕๐๐ รูป เสด็จถึงเมืองเวสาลี ด้วยเรือแพ
ที่พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้ต่อถวาย เพื่อเสด็จข้ามแม่น้าคงคา กษัตริย์ลิจฉวีทรงลุยน้า
ไปรับเสด็จพระพุทธเจ้าด้วยความปลื้มปีติ กราบทูลอาราธนาให้เสด็จเข้าเมืองเวสาลี
ด้วยพระพุทธานุภาพบันดาลให้ฝนตกกระหน่าอย่างหนัก น้าท่วมทั่วเมืองเวสาลี เพื่อล้างสิ่งสกปรกและซากศพทั่วเมืองให้หมดไป ทาให้เมืองเวสาลีกลับมาสะอาดสงบดังเดิม
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จพระพุทธดาเนินถึงประตูเมืองเวสาลี ท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วย
เทพบริวารเสด็จมาชุมนุมอยู่ ณ ที่นั้นด้วย ทาให้อมนุษย์เป็นอันมากพากันหลบหนีไป แต่ยังมี
หลงเหลืออยู่บ้าง
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ประตูเมืองเวสาลี ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์
เธอจงเรียนเอารตนสูตรนี้ จาริกไปภายในกาแพงเมือง ๓ ชั้นกับพวกกุมารลิจฉวี ทาพระปริตร
ให้ทั่วเมืองเถิด แล้วตรัสรตนสูตรแก่พระอานนท์
           พระอานนท์เถระ เรียนพระพุทธมนต์บทรตนสูตรที่พระพุทธองค์ทรงประทาน
ให้แล้ว นาบาตรศิลาของพระพุทธเจ้ามาใส่น้า ถือไปยืนที่หน้าประตูเมือง น้อมราลึกถึง
พระคุณของพระพุทธเจ้า จากนั้นเข้าไปภายในพระนคร เดินประพรมน้าพระพุทธมนต์ไป
ทั่วเมืองเวสาลี ภัยทั้งหลายและอมนุษย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ก็หายไปหมดสิ้น โรคภัยไข้เจ็บ
ของชาวเมือง ก็สงบลง ชาวเมืองเวสาลีต่างพากันออกมาจากบ้านเรือน นาดอกไม้ของหอม
เดินตามบูชาพระอานนท์เถระซึ่งเดินประพรมน้าพระพุทธมนต์ไปทั่วเมืองตลอดคืน
พระโบราณาจารย์พิจารณาเห็นความศักดิ์สิทธ์แห่งพระพุทธมนต์ จึงได้รวบรวม
พระพุทธมนต์บทรตนสูตรและบทอื่น ๆ มาเป็นพระปริตร เรียกว่า เจ็ดตานานบ้าง สิบสอง
ตานานบ้าง หรือเรียกชื่อตามพระสูตรนั้น ๆ บ้าง เพื่อให้พุทธศาสนิกชนสวดหรือเจริญ เป็น
เครื่องป้องกันภัยอันตราย และเกิดความสุขสวัสดีแก่ชีวิต
อนึ่ง พระอานนท์เถระนาบาตรศิลาของพระพุทธเจ้า บรรจุน้าพระพุทธมนต์จนเต็ม
บาตร เดินประพรมทั่วเมืองเวสาลีในคราวนั้น ถือเป็นแบบอย่างในการทาน้าพระพุทธมนต์
และประพรมน้าพระพุทธมนต์ปัจจุบันนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น