แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ จตุกกะ คือ หมวด ๔ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ จตุกกะ คือ หมวด ๔ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จตุกกะ คือ หมวด ๔

วุฑฒิ  คือ  ธรรมเป็นเครื่องเจริญ    อย่าง
          ๑.  สัปปุริสูปสังเสวะ  คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกาย  วาจา  ใจ  ที่เรียกว่า  สัตบุรุษ
          ๒.  สัทธัมมัสสวนะ  ฟังคำสอนของท่านโดยเคารพ
          ๓.  โยนิโสมนสิการ  ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ
          ๔.  ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ  ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมที่ได้ตรองเห็นแล้ว       
จักร  ๔
          ๑.  ปฏิรูปเทสวาสะ  อยู่ในประเทศอันสมควร  ๒.  สัปปุริสูปัสสยะ  คบสัตบุรุษ
          ๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน
อคติ  ๔
           ๑.  ลำเอียง เพราะรักใคร่กัน เรียกฉันทาคติ  ๒.  ลำเอียง  เพราะไม่ชอบกัน  เรียกโทสาคติ
            ๓.  ลำเอียง  เพราะเขลา  เรียกโมหาคติ    ๔.  ลำเอียง  เพราะกลัว  เรียกภยาคติ
               อคติ  ๔  ประการนี้  ไม่ควรประพฤติ
ปธาน  คือความเพียร  ๔  อย่าง
           ๑.  สังวรปธาน  เพียรระวังบาปไม่ให้เกิดขึ้นในสันดาน  ๒.  ปหานปธาน  เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
            ๓.  ภาวนาปธาน  เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน   ๔.  อนุรักขนาปธาน  เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม
อธิษฐานธรรม    ๔   คือธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ  ๔  อย่าง
            ๑.  ปัญญา  รอบรู้สิ่งที่ควรรู้    ๒.  สัจจะ  ความจริงใจ  คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
๓.  จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ  สละกิเลส   ๔.  อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ
อิทธิบาท   คือ  คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์  ๔  อย่าง
           ๑.  ฉันทะ  พอใจรักใคร่ ในสิ่งนั้น  ๒.  วิริยะ  เพียรประกอบสิ่งนั้น
           ๓.  จิตตะเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
          คุณ  ๔  อย่างนี้  มีบริบูรณ์แล้วอาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์  ซึ่งไม่เหลือวิสัย
ควรทำความไม่ประมาทในที่  ๔  สถาน
         ๑.  ในการละกายทุจริต  ประพฤติกายสุจริต  ๒.  ในการละวจีทุจริต  ประพฤติวจีสุจริต
         ๓. ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต    ๔. ในการละความเห็นผิด ทำความเห็นให้ถูก
อีกอย่างหนึ่ง
             ๑.  ระวังใจไม่ให้กำหนัด  ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
             ๒.  ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
             ๓.  ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
             ๔.  ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา
ความประมาท  คือความขาดสติอันก่อให้เกิดผลเสีย  ๓  ประการ  คือ
             ๑.  ให้เกิดการทำความชั่ว     ๒.  ให้หลงลืมทำความดี   ๓.  ไม่ทำความดีอย่างต่อเนื่อง
ความไม่ประมาท  คือความมีสติกำกับใจอยู่เสมอ ให้เกิดความคิดเป็นกุศล  ดังนี้
            ๑.  ไม่ทำความชั่ว  ๒.  ไม่ลืมทำความดี  ๓.  ทำความดีให้ดียิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
เมื่อสรุปคำสอนทั้ง  ๒  นัย  นี้  ย่อมได้ความไม่ประมาท  ๓  ประการ  คือ
            ๑. ระวังอย่าไปทำความชั่ว  ๒. อย่าลืมทำความดี  ๓.  อย่าปล่อยใจให้ไปคิดเรื่องบาปเรื่องอกุศล
พรหมวิหาร  ๔
           ๑. เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข  ๒. กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์
           ๓.  มุทิตา ความพลอยยินดี  เมื่อผู้อื่นได้ดี  ๔. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ
อริยสัจ  ๔
          ๑.  ทุกข์  ความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ  ๒.  สมุทัย  คือเหตุให้ทุกข์เกิด

          ๓.  นิโรธ  คือความดับทุกข์    ๔.  มรรค  คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์