แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอกย้อนหลัง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอกย้อนหลัง แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

พุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2543

ปัญหาและเฉลยพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓

วันศุกร์ ที่  ๑๗  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓

------------------------------

๑.

๑.๑

ลักษณะทั้ง ๒ ที่พระพุทธองค์ทรงเห็นในมัชฌิมยามแห่งราตรีตรัสรู้คือ    อะไรบ้าง ?


๑.๒

พระอุทานที่พระพุทธองค์ทรงเปล่งในปัจฉิมยามมีความว่าอย่างไร ?

๑.

๑.๑

คือ

     ๑) ปัจจัตตลักษณะ ได้แก่การกำหนดโดยความเป็นกอง

     ๒) สามัญลักษณะ ได้แก่การกำหนดโดยความเป็นสภาพเสมอกัน  

         คือ ความเป็นของไม่เที่ยง


๑.๒

มีความว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏชัดแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดเสนามาร คือ ชรา พยาธิ มรณะเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น

๒.

๒.๑

ที่สุดโต่งอันบรรพชิตไม่ควรเสพนั้นคืออะไรบ้าง ?


๒.๒

ที่สุดโต่งนั้นมีโทษอย่างไร ?

๒.

๒.๑

คือ

     ๑) กามสุขัลลิกานุโยค

     ๒) อัตตกิลมถานุโยค


๒.๒

มีโทษดังนี้



     กามสุขัลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยสุขในกาม เป็นธรรมอันเลว  เป็นเหตุตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่ของคนอริยะคือ   ผู้บริสุทธิ์ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์



     อัตตกิลมถานุโยค คือการประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่ทำผู้ประกอบให้เป็นอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

๓.

๓.๑

พระอัครสาวก ๒ รูปมีชื่อเรียกอะไรบ้าง ?  เหตุไรจึงเรียกอย่างนั้น ?


๓.๒

พระอัสสชิแสดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชกมีความว่าอย่างไร ?  และมีผล   อย่างไร?


๓.

๓.๑

มีชื่อเรียก อุปติสสะ หรือสารีบุตร ๑ เรียก โกลิตะ หรือ  โมคคัลลานะ ๑  ที่เรียกว่า อุปติสสะ เพราะเรียกตามโคตร ที่เรียกว่า สารีบุตร เพราะเป็นบุตรของ นางสารีพราหมณี  ส่วนที่เรียกว่า โกลิตะ เพราะเรียกตามโคตร ที่เรียกว่า    โมคคัลลานะ เพราะเป็นบุตรของนางโมคคัลลานีพราหมณี


๓.๒

มีความว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุของธรรมนั้นและความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาทรงสอนอย่างนี้ มีผล คือ อุปติสสปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใด  สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา

๔.

๔.๑

พระมหากัสสปเถระประพฤติธุดงควัตรเพราะเห็นอำนาจประโยชน์   อย่างไร ?


๔.๒

เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านเป็นกำลังสำคัญแก่พระพุทธศาสนา  อย่างไร ?

๔.

๔.๑

เพราะเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ อย่างคือ

     ๑) การอยู่เป็นสุขในบัดนี้ของตน

     ๒) เพื่ออนุเคราะห์ประชุมชนในภายหลัง จะได้เป็นทิฏฐานุคติแห่ง

          คนผู้มาเกิดในภายหลัง เมื่อทราบว่า สาวกของพระพุทธเจ้าได้

               ประพฤติอย่างนี้ เขาจะได้ประพฤติตาม ซึ่งเป็นทางอำนวยสุขแก่

          เขาเอง


๔.๒

ท่านได้เป็นประธานทำสังคายนาเป็นครั้งแรก

๕.

๕.๑

คำว่า “ภทฺเทกรตฺโต”  ผู้มีราตรีเดียวอันเจริญ คือการปฏิบัติอย่างไร ?


๕.๒

พระสาวกรูปใดได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ฉลาดอธิบายความย่อให้พิสดาร ?

๕.

๕.๑

คือการปฏิบัติอย่างนี้ คือ เป็นผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท


๕.๒

พระมหากัจจายนะ

๖.

๖.๑

ปัญหาว่า    “พระขีณาสพตายแล้วเป็นอะไร”   ใครถามใคร  ?                                      มีคำตอบอย่างไร ?


๖.๒

พระศาสดาทรงพยากรณ์ปัญหาจบลงแล้ว มีผลอะไรเกิดแก่มาณพ

๑๖ คน ?


๖.

๖.๑

พระสารีบุตรถามพระยมกะ มีคำตอบว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ไม่เที่ยง ดับไปแล้ว


๖.๒

มีผลคือ มาณพ ๑๕ คน เว้นปิงคิยมาณพ ส่งใจไปตามธรรมเทศนา มีจิตพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ส่วนปิงคิยมาณพเป็นแต่ได้ญาณเห็นในธรรม

๗.

๗.๑

พระปุณณมันตานีบุตรเป็นชาวเมืองไหน ?  ตั้งอยู่ในคุณธรรมอะไรบ้าง ?


๗.๒

ใครถามว่า “ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไร” ? ใครตอบ ? ตอบว่า อย่างไร  ?

๗.

๗.๑

เป็นชาวเมืองกบิลพัสดุ์ ตั้งอยู่ในคุณธรรม ๑๐ ประการ คือ มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่ชอบเกี่ยวข้องด้วยหมู่ ปรารภความเพียร บริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ความรู้เห็นในวิมุตติ


๗.๒

พระสารีบุตรเป็นผู้ถาม พระปุณณมันตานีบุตรเป็นผู้ตอบ และตอบว่า         เราประพฤติพรหมจรรย์  เพื่อความดับไม่มีเชื้อ

๘.

๘.๑

เพราะเห็นอานิสงส์อะไร พระอานนท์จึงทูลขอพรข้อที่ ๘ ?


๘.๒

พระอุบาลีออกบวชพร้อมใครบ้าง ?  ที่ไหน ?  ท่านได้รับเอตทัคคะ

ทางไหน ?

๘.

๘.๑

เพราะเห็นอานิสงส์ว่าหากมีผู้มาถามว่า ธรรมนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงในที่ใด ?  ถ้าท่านตอบไม่ได้ เขาจะพูดได้ว่า ท่านตามเสด็จพระศาสดาตลอดกาลนาน  ไม่รู้แม้แต่เรื่องเท่านี้


๘.๒

พระอุบาลีออกบวชพร้อมกับ พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานันทะ พระภัคคุ  พระกิมพิละ พระเทวทัต ที่อนุปิยนิคม ได้รับเอตทัคคะทางเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ทรงวินัย

๙.

  จงอธิบายข้อความต่อไปนี้



๙.๑

ทรงทำอายุสังขาราธิฏฐาน           ๙.๒  ทรงปลงอายุสังขาร

๙.

๙.๑

ทรงทำอายุสังขาราธิฏฐาน หมายถึง ทรงตั้งพระหฤทัยจักอยู่แสดงธรรม     สั่งสอนแก่มหาชน และตั้งพุทธปณิธานใคร่จะดำรงพระชนม์อยู่ จนกว่า   พุทธบริษัทจะตั้งมั่นและได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลาย ประดิษฐานให้มั่นคงถาวรสำเร็จประโยชน์แก่นิกรทุกหมู่เหล่า




๙.๒

ทรงปลงอายุสังขาร หมายถึง ทรงกำหนดวันปรินิพพานนับแต่วันเพ็ญเดือน ๓ ไปอีก ๓ เดือน คือปลงพระทัยว่าจะบำเพ็ญพุทธกิจต่อไปอีกไม่ได้แล้ว

๑๐.

๑๐.๑

เมื่อรวมเจดีย์ซึ่งแสดงไว้ในบาลี อรรถกถา และฎีกา มีเท่าไร ?           อะไรบ้าง ?


๑๐.๒

อันตรธาน ๕ อย่าง อย่างไหนสำคัญกว่า ?  เพราะเหตุไร

๑๐.

๑๐.๑

มี ๔ คือ ธาตุเจดีย์ ๑ บริโภคเจดีย์ ๑  ธรรมเจดีย์ ๑  อุทเทสิกเจดีย์ ๑


๑๐.๒

ปริยัติอันตรธานสำคัญกว่า เพราะปริยัติเสื่อมลงในกาลใด พระศาสนาย่อมเสื่อมถอยในกาลนั้น เมื่อปริยัติยังดำรงอยู่ตราบใด พระศาสนาก็ยังดำรงอยู่ตราบนั้น เพราะว่าปริยัติเป็นรากแก้วของพระศาสนา ปฏิบัติเป็นแก่น ปฏิเวธ เป็นผล เมื่อรากแก้วขาดแล้ว แก่นและผลก็พลอยหมดไปตามกัน


วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2544

 ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่  ๔  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๔๔

๑.

๑.๑

อาสภิวาจาคือวาจาเช่นไร ?  มีใจความว่าอย่างไร ?


๑.๒

พระพุทธองค์ทรงยืนยันพระองค์เองว่า เป็นสัมมาสัมพุทธะ เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร ?

๑.

๑.๑

 คือวาจาที่เปล่งอย่างองอาจ เป็นภาษิตของบุรุษพิเศษอาชาไนย

มีใจความว่า  เราเป็นผู้เลิศ  เป็นผู้ใหญ่  เป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก


๑.๒

เพราะทรงอาศัยเหตุที่ตรัสรู้อริยสัจ ๔  อย่างแจ่มแจ้งครบถ้วนทุกประการ อันมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ จึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่า เป็นสัมมาสัมพุทธะ

๒.

๒.๑

พระปัญจวัคคีย์ ได้ออกบวชตามพระมหาบุรุษเพราะมีความเชื่ออย่างไร ?


๒.๒

การได้บรรลุอริยผลของพระปัญจวัคคีย์  วันเดียวกันหรือต่างวันกัน ?

๒.

๒.๑

มีความเชื่อว่า พระมหาบุรุษจะได้ตรัสรู้อย่างแน่นอน จึงพร้อมใจกันออกบวชติดตามเฝ้าอย่างใกล้ชิด ด้วยหวังว่า พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว

จักได้เทศนาโปรดตน


๒.๒

การบรรลุอริยผลชั้นต้นต่างวันกัน ส่วนการบรรลุอริยผลชั้นสูงสุด

วันเดียวกัน

๓.

๓.๑

บุคคลผู้ได้ชื่อว่า  อัปปรชักขชาติ  มีลักษณะอย่างไร ?


๓.๒

พระโกณฑัญญะ ได้นามเพิ่มข้างหน้าว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ 

เพราะเหตุใด ?

๓.

๓.๑

มีกิเลสธุลีในปัญญาจักษุน้อยเป็นปกติ สามารถจะรู้ทั่วถึงธรรมได้โดยพลัน


๓.๒

เพราะพระพุทธองค์ทรงทราบว่า ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน

จึงทรงเปล่งอุทานว่า อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ 

โกณฺฑญฺโญ  โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ อาศัยคำอุทานว่า อญฺญาสิ  อญฺญาสิ  ท่านจึงได้นามเพิ่มข้างหน้าว่า  อัญญาโกณฑัญญะ

๔.

๔.๑

พระศาสดาทรงแสดงอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ ตามลำดับ แก่บุคคลผู้มีคุณสมบัติเช่นไร ?


๔.๒

พระศาสดาประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พระยสกุลบุตรว่าอย่างไร ?

๔.

๔.๑

แก่ผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ

           ๑) เป็นมนุษย์

           ๒) เป็นคฤหัสถ์

           ๓) มีอุปนิสัยแก่กล้า  ควรบรรลุโลกุตรคุณ


๔.๒

ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด

๕.

๕.๑

คำว่า  " บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม้ให้ขุ่น "   เปรียบด้วยปฏิปทาจริยาวัตร

ข้อใดของพระโมคคัลลานะ ?


๕.๒

เจ้าศากยะได้ทูลขอพระศาสดาให้บวชอุบาลีภูษามาลาก่อน เพราะเห็นประโยชน์อันใด ?

๕.

๕.๑

ข้อที่ท่านเป็นผู้ฉลาดในการแนะนำตระกูลที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส  ไม่ทำศรัทธาและโภคทรัพย์ของเขาให้เสีย เปรียบเหมือนแมลงผึ้งบินเที่ยวไปในสวนดอกไม้ ไม่ทำสีและกลิ่นของดอกไม้ให้ช้ำ ถือเอาแต่รสบินไปฉะนั้น


๕.๒

เพราะเห็นประโยชน์ว่า จักได้ทำการกราบไหว้ ลุกรับ ประณมมือ  และทำกิจที่สมควรอื่น ๆ แก่พระอุบาลีซึ่งเดิมเป็นคนรับใช้ เมื่อเป็นเช่นนี้จักละมานะความถือตัวได้

๖.

๖.๑

ข้อความว่า " ขออย่าให้พระภิกษุทั้งหลายบวชบุตรที่บิดามารดายังไม่อนุญาตต่อไป " เป็นคำพูดของใคร ?  มีความเป็นมาอย่างไร ?


๖.๒

พระราหุลได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์  เพราะได้สดับธรรมอะไร ?

๖.

๖.๑

เป็นพระดำรัสของพระเจ้าสุทโธทนะ, มีความเป็นมาอย่างนี้ คือเมื่อ

พระนันทะพระโอรสทรงผนวช พระเจ้าสุทโธทนะทรงโทมนัสเป็น

อันมาก ครั้นราหุลกุมารบวชแล้ว สิ้นผู้ที่จะสืบพระวงศ์ ยิ่งทรงโทมนัสมากขึ้น ทรงปรารภถึงทุกข์อันนี้ที่จะพึงมีแก่มารดาบิดาในตระกูลอื่นในเวลาเมื่อบุตรออกบวช  จึงทูลขอพรนี้                          


๖.๒

เพราะได้สดับพระโอวาทซึ่งสั่งสอนในทางวิปัสสนาคล้ายกับโอวาทที่

ตรัสสอนพระปัญจวัคคีย์ต่างกันแต่ทรงยกอายตนะภายในภายนอก

เป็นต้นขึ้นแสดงแทนขันธ์  ๕  เท่านั้น

๗.

๗.๑

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนคฤหัสถ์ด้วยวิธี ๔ สถานนั้น ได้แก่อะไรบ้าง ?


๗.๒

ในการสอนธรรมของพระพุทธองค์นั้น ทรงมีจุดมุ่งหมายอย่างไรบ้าง ?

๗.

๗.๑

ได้แก่      ๑) สันทัสสนา  ชี้ให้ชัด  ให้เห็นแจ่มแจ้งในสัมมาปฏิบัติ

           ๒) สมาทปนา  ชวนให้ปฏิบัติ  แสดงเหตุผลให้เห็นสมจริง

           ๓) สมุตเตชนา  ให้อาจหาญ  มีกำลังใจในสัมมาปฏิบัติ

           ๔) สัมปหังสนา  ให้ร่าเริง  แช่มชื่น  ในการปฏิบัติตามธรรม

               ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


๗.๒

อย่างนี้คือ ๑) เพื่อให้ผู้ฟังได้รู้เห็นในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น

            ๒) เพื่อให้ผู้ฟังใช้เหตุผลตรองตามจนเห็นจริง

            ๓) เพื่อให้ผู้ฟังนำไปปฏิบัติและได้รับผลของการปฏิบัติ

                ตามสมควรแก่การปฏิบัติของตน ๆ

๘.

๘.๑

จงแสดงใจความแห่งพระพุทธพจน์ที่ชี้ให้เห็นว่า พระอรหันต์ยังมีได้ตลอดเวลาที่บุคคลยังปฏิบัติชอบอยู่ ?


๘.๒

ในสมัยพุทธกาล พระสาวกองค์ใดได้รับการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถ-กรรมวาจาเป็นองค์แรก  และองค์ใดเป็นองค์สุดท้าย ?

๘.

๘.๑

ใจความแห่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสก่อนปรินิพพานกับสุภัททปริพาชกว่า  " ดูก่อนสุภัททะ  ถ้าภิกษุทั้งหลาย  ยังเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ "


๘.๒

พระราธะเป็นองค์แรก  พระสุภัททะเป็นองค์สุดท้าย

๙.

๙.๑

ภิกษุณีผู้มีชื่อต่อไปนี้ได้รับเอตทัคคะในทางไหน ?

           ก. พระนางมหาปชาบดีโคตมี         

           ข. นางเขมาเถรี              

           ค. นางอุบลวัณณาเถรี          

           ง. นางปฏาจาราเถรี                   

           จ. นางธัมมทินนาเถรี


๙.๒

พระสงฆ์เถรวาทในเมืองไทยไม่สามารถบวชภิกษุณีได้เพราะเหตุไร ?

๙.

๙.๑

           ก. ได้รับเอตทัคคะในทางรัตตัญญู   

           ข. ได้รับเอตทัคคะในทางมีปัญญา

           ค. ได้รับเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์                

           ง. ได้รับเอตทัคคะในทางทรงวินัย

           จ. ได้รับเอตทัคคะในทางธรรมกถึก


๙.๒

เพราะมีพระพุทธานุญาตว่า " ภิกษุณีต้องบวชจากภิกษุณีสงฆ์ก่อน  แล้วจึงบวชจากภิกษุสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง " เวลานี้ภิกษุณีสงฆ์ไม่มีแล้ว  การที่จะบวชภิกษุณีจึงไม่สามารถทำได้

๑๐.

๑๐.๑

พระยาวัสวดีมาร ได้ทูลขอพระพุทธเจ้าให้เสด็จปรินิพพานกี่ครั้ง ?

ที่ไหนบ้าง ?


๑๐.๒

เมื่อคราวที่มารทูลขอให้ปรินิพพานครั้งแรก พระองค์ทรงตอบมารว่าอย่างไร ?

๑๐.

๑๐.๑

ได้ทูลขอพระพุทธเจ้าให้เสด็จปรินิพพาน ๒ ครั้งคือ

           ครั้งแรกที่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ

           ครั้งที่สองที่ปาวาลเจดีย์


๑๐.๒

ทรงตอบมารว่า " ดูก่อนมารผู้ใจบาป เมื่อใดพุทธบริษัท ๔ เป็นผู้ฉลาด เป็นพหูสูตร สามารถดำรงพระธรรมวินัยสืบต่อศาสนาได้ สามารถแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ให้สำเร็จมรรค ผล นิพพาน และเผยแผ่ศาสนาไปได้อย่างกว้างขวางมั่นคง เมื่อนั้น ตถาคต

จึงจะปรินิพพาน "

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2545

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่  ๒๓  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

 ๑.    ๑.๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงประกอบด้วยสัมปทาคุณกี่ประการ ?  อะไรบ้าง ?

        ๑.๒ ในวันที่พระมหาบุรุษประสูตินั้น สหชาติที่เกิดพร้อมร่วมวันกับพระองค์

             มีอะไรบ้าง ?

 ๑.    ๑.๑ ๓ ประการ คือเหตุสัมปทา ผลสัมปทา สัตตูปการสัมปทา ฯ

        ๑.๒ มีพระนางพิมพา พระอานนท์ กาฬุทายีอมาตย์ ฉันนะอมาตย์ ม้ากัณฐกะ

             ต้นมหาโพธิ์ และขุมทองทั้ง ๔ ฯ

 ๒.    ๒.๑ ที่สุดทั้ง ๒ อย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ มีโทษอย่างไรบ้าง ?

        ๒.๒ มัชฌิมาปฏิปทา มีคุณอย่างไรบ้าง ?

 ๒.    ๒.๑ มีโทษดังนี้  คือ

             กามสุขัลลิกานุโยค เป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลส

             หนา ไม่ใช่ของคนอริยะคือผู้บริสุทธิ์ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์   

             อัตตกิลมถานุโยค ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่ทำผู้ประกอบให้เป็นอริยะ

             ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ฯ

        ๒.๒ มีคุณดังนี้ คือทำดวงตาคือทำญาณเครื่องรอบรู้ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ

             ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อความรู้ดี เพื่อความไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ฯ

 ๓.    ๓.๑ บุคคลที่ท่านเปรียบด้วยดอกบัว  ๔  เหล่า  ได้แก่จำพวกไหนบ้าง ?

        ๓.๒ พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถาก่อนที่จะแสดงอริยสัจ ๔ เพื่อประโยชน์

             อะไร ?


 ๓.    ๓.๑ ได้แก่

                   ๑) อุคฆฏิตัญญู คือ ผู้มีอุปนิสัยสามารถจะตรัสรู้ธรรมวิเศษโดยพลัน

                                      พร้อมกันกับเวลาที่ท่านผู้ศาสดาแสดงธรรมสั่งสอน 

                                      เปรียบด้วยดอกบัวพ้นน้ำ

                   ๒) วิปจิตัญญู    คือ  ผู้ที่ท่านอธิบายขยายความแห่งคำที่ย่อให้พิสดาร

                                      ออกไป จึงจะตรัสรู้ธรรมวิเศษได้  เปรียบด้วยดอกบัว

                                      เสมอน้ำ

                   ๓) เนยยะ        คือ ผู้ที่พอจะแนะนำได้  คือพอที่จะฝึกอบรมสั่งสอน

                                      ให้รู้และเข้าใจได้อยู่  เปรียบด้วยดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ

                   ๔) ปทปรมะ     คือ ผู้แม้จะฟังและกล่าวและทรงไว้และบอกแก่ผู้อื่นซึ่ง

                                      ธรรมเป็นอันมาก ก็ไม่สามารถจะตรัสรู้ธรรมวิเศษใน

                                      อัตภาพชาตินั้นได้ เปรียบด้วยดอกบัวที่เป็นภักษาแห่ง

                                      เต่าและปลา ฯ

        ๓.๒ เพื่อฟอกจิตสาวกหรือผู้ฟัง ให้ห่างไกลจากความยินดีในกาม ควรรับพระธรรม

             เทศนาให้เกิดดวงตาเห็นธรรม เหมือนผ้าที่ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้ ฉะนั้น ฯ

 ๔.    จงแสดงใจความย่อของพระสูตรเหล่านี้

        ๔.๑ อนัตตลักขณสูตร

        ๔.๒ อาทิตตปริยายสูตร

 ๔.    ๔.๑ พระสูตรที่ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา โดยใจความย่อว่า รูป เวทนา สัญญา

             สังขาร วิญญาณ ซึ่งรวมเรียกว่าขันธ์ ๕ นี้ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตน ฯ

        ๔.๒ พระสูตรที่ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน โดยใจความย่อว่า อายตนะภายใน

             อายตนะภายนอก วิญญาณ สัมผัส และเวทนาที่เกิดแต่สัมผัส เป็นของร้อน

             ร้อนเพราะไฟคือความกำหนัด ความโกรธ ความหลง และร้อนเพราะความ

             เกิด ความแก่ ความตาย ความโศกร่ำไรรำพัน เจ็บกาย เสียใจ คับใจ ฯ

 ๕.    ๕.๑ พระพุทธดำรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ กำมืออาจารย์ในธรรมทั้งหลายไม่มีแก่พระ

             ตถาคตเจ้า” หมายความว่าอย่างไร ?

        ๕.๒ พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญญาตัตถจริยา ด้วยมีพระประสงค์อย่างไร ?

 ๕.    ๕.๑  หมายความว่า พระตถาคตเจ้าไม่ทรงมีข้อลี้ลับในธรรมทั้งหลายที่จะต้องปกปิด

              ซ่อนบังไว้  แสดงได้แก่สาวกบางเหล่า  มิได้ทั่วไปเป็นสรรพสาธารณ์ หรือจะ

             พึงแสดงให้สาวกทราบต่ออวสานกาลที่สุด ฯ

        ๕.๒  ด้วยพระประสงค์จะให้พระญาติบริบูรณ์ด้วยสุข ๓ ประการ คือมนุษยสุข ๑ ทิพยสุข

             ๑ นิพพานสุข ๑ ทั้งที่ครองฆราวาส ทั้งที่ออกบรรพชาในพระพุทธศาสนา ฯ

 ๖.    ๖.๑ พุทธเจดีย์ มีกี่ประเภท ?  อะไรบ้าง ?

        ๖.๒ อุทยมาณพทูลถามว่า "โลกมีอะไรผูกพันไว้ อะไรเป็นเครื่องสัญจรของโลก

             นั้น ท่านกล่าวกันว่า นิพพานๆ ดังนี้ เพราะละอะไรได้" พระศาสดาทรง

             พยากรณ์ว่าอย่างไร ?

 ๖.    ๖.๑ มี ๔ ประเภท  คือธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุทเทสิกเจดีย์ ฯ

        ๖.๒ ทรงพยากรณ์ว่า โลกมีความเพลิดเพลินผูกพันไว้ ความตรึกเป็นเครื่องสัญจร

             ของโลกนั้น  ท่านกล่าวกันว่า นิพพานๆ  ดังนี้  เพราะละตัณหาเสียได้ ฯ

 ๗.    ๗.๑ พระภัททิยเถระ มักเปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอๆ ดังนี้  เพราะเหตุไร ?

        ๗.๒ พระเจ้าโกรัพยะทรงปรารภกับพระรัฐบาลถึงเหตุให้บุคคลออกบวชว่าอย่างไร ?

 ๗.    ๗.๑  เพราะเมื่อก่อนท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต้องจัดการรักษาป้องกันทั้งในวังนอกวัง

             ทั้งในเมือง นอกเมือง จนตลอดทั่วอาณาเขต แม้มีคนคอยรักษาอย่างนี้แล้ว ยังต้อง

             หวาดระแวง สะดุ้งกลัวอยู่เป็นนิตย์ ครั้นทรงออกบวชได้บรรลุอรหัตผลแล้ว แม้อยู่

             ในที่ไหนๆ ก็ไม่หวาดระแวง ไม่สะดุ้งกลัว ไม่ต้องขวนขวายมีใจปลอดโปร่งเป็นดุจ

             มฤคอยู่ จึงเปล่งอุทานเช่นนั้น ฯ

        ๗.๒ ทรงปรารภเหตุวิบัติ ๔ ประการ  คือ

                   ๑) ความแก่ 

                   ๒) ความเจ็บป่วย 

                   ๓) ความเสื่อมจากโภคทรัพย์ 

                   ๔) ความเสื่อมญาติ ฯ

 ๘.    ๘.๑  พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากได้ทูลขอพร ๘ ประการ ข้อสุดท้าย ความว่าอย่างไร ?

        ๘.๒ ท่านได้รับการยกย่องจากพระศาสดาอย่างไรบ้าง ?

 ๘.    ๘.๑ ความว่า ถ้าพระองค์เสด็จไปเทศนาเรื่องใดที่ไหน ซึ่งข้าพระองค์ไม่ได้ฟัง ขอ

             พระองค์ตรัสบอกเทศนาเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์ ฯ

        ๘.๒ ได้รับการยกย่องว่า เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้วยคุณสมบัติ ๕ สถาน คือ

                   ๑) เป็นพหูสูต  

                   ๒) มีสติ  

                   ๓) มีคติ  

                   ๔) มีธิติ  

                   ๕) เป็นพุทธอุปัฏฐาก ฯ

 ๙.    ๙.๑  พระพุทธองค์ทรงแนะนำพระเถระองค์ใดให้ปรารภความเพียรแต่พอประมาณ ?

        ๙.๒ เพราะเหตุใดจึงทรงแนะนำเช่นนั้น ?

 ๙.    ๙.๑ พระโสณโกฬิวิสะ ฯ

        ๙.๒ เพราะพระโสณโกฬิวิสะ ทำความเพียรเดินจงกรมจนเท้าแตก ก็ไม่อาจให้

             บรรลุมรรคผลได้ สมัยเมื่อท่านเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้ฉลาดเข้าใจในเสียงแห่งสายพิณ

             พระผู้มีพระภาคจึงทรงแนะนำว่า ในการดีดพิณนั้นจะต้องขึงสายพิณแต่พอดี

             เสียงพิณจึงจะไพเราะ หย่อนเกินไปหรือตึงเกินไปก็ไม่น่าฟัง ความเพียร

             ก็เหมือนกัน ถ้าย่อหย่อนนัก ก็เป็นไปเพื่อเกียจคร้าน ถ้าเกินไปนักก็เป็นไป

             เพื่อฟุ้งซ่าน จึงควรทำความเพียรแต่พอดี ฯ

๑๐. ๑๐.๑ อปาณกฌาน ได้แก่อะไร ?

      ๑๐.๒ พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญฌานนี้ในคราวใด ? และได้รับผลที่มุ่งหวังหรือไม่

             อย่างไร ?

๑๐. ๑๐.๑ ได้แก่ ความเพ่งไม่มีลมปราณ  คือไม่มีลมอัสสาสะปัสสาสะ  โดยเนื้อความ

             ก็คือกลั้นลมหายใจไม่ให้ดำเนินทางจมูกและปาก ซึ่งเป็นทางเดินโดยปกติ ฯ

      ๑๐.๒ ในคราวทรงทำทุกกรกิริยาฯ ไม่ได้รับผลที่มุ่งหวัง แต่เป็นการทรมานร่างกาย

             ให้ลำบากเปล่า ฯ


วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2546

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๖

๑.

๑.๑

ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สำเร็จด้วยญาณอะไร ?  เพราะเหตุไร ?


๑.๒

พระพุทธองค์ ครั้นตรัสรู้แล้ว ทรงเปล่งพระอุทานในยามสุดท้าย มีความว่าอย่างไร ?

๑.

๑.๑

ด้วยอาสวักขยญาณ ฯ  เพราะอาสวักขยญาณ คือความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ คือ เครื่องเศร้าหมองอันหมักหมมในจิตสันดาน ฯ


๑.๒

มีความว่า “ เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏชัดแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่  พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดเสนามาร คือชรา พยาธิ มรณะ เสียได้ ดุจ

พระอาทิตย์อุทัย กำจัดมืดทำอากาศให้สว่างขึ้นฉะนั้น” ฯ

๒.

๒.๑

พระพุทธองค์ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่ไหนเป็นแห่งแรก ? 

ทรงเห็นประโยชน์อะไรจึงทรงประดิษฐาน ณ ที่นั้น ?


๒.๒

การที่พระพุทธองค์ทรงสามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาได้มั่นคง  เพราะทรงสั่งสอนโดยอาการอย่างไรบ้าง ?

๒.

๒.๑

ที่ กรุงราชคฤห์ ฯ  เพราะทรงเห็นว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่บริบูรณ์มั่งคั่ง และ

มีศาสดาเจ้าลัทธิมาก ถ้าได้โปรดคนเหล่านี้ให้เกิดความเลื่อมใสได้แล้ว  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะศาสดา

เจ้าลัทธิต่างๆ นั้น ล้วนมีศิษยานุศิษย์มาก ผู้คนนับถือมาก ด้วยเหตุนี้

จึงทรงเลือกเมืองนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก ฯ


๒.๒

โดยอาการ ๓ อย่าง คือ

      ๑) ทรงสั่งสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่ง เห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น

      ๒) ทรงสั่งสอนมีเหตุมีผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้

      ๓) ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ที่ผู้ปฏิบัติตาม ย่อมได้รับผลโดยสมควร

          แก่การปฏิบัติ ฯ

๓.

๓.๑

ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสารข้อที่ ๕ ความว่าอย่างไร ?


๓.๒

ความปรารถนานั้นสำเร็จแก่พระองค์เมื่อไร ?  ที่ไหน ?

๓.

๓.๑

ความว่า “ขอให้ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์” ฯ


๓.๒

สำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ได้ฟังอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ ที่พระพุทธองค์

ทรงแสดงโปรด  จนได้ดวงตาเห็นธรรม ฯ  ที่สวนตาลหนุ่ม ฯ

๔.

๔.๑

พระวาจาที่พระมหาบุรุษทรงเปล่งในวันประสูตินั้น เรียกว่าอะไร ? ใจความโดยย่ออย่างไร ?


๔.๒

พระพุทธกิจ ๕ อย่าง มีอะไรบ้าง ?  ข้อไหนที่ทรงบำเพ็ญเป็นนิจตราบเท่าปรินิพพาน ?

๔.

๔.๑

เรียกว่า อาสภิวาจา ฯ  ใจความย่อว่า  “ เราเป็นผู้เลิศเป็นยอดแห่งโลก  เราเป็นผู้เจริญผู้ใหญ่แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก  ความบังเกิดชาตินี้มี ณ ที่สุด บัดนี้ ความบังเกิดอีกมิได้มี ”  ฯ


๔.๒

มี ๕ อย่าง ฯ คือ

      ๑) เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาต

      ๒) เวลาเย็น ทรงแสดงธรรม

      ๓) เวลาย่ำค่ำ ทรงโอวาทภิกษุ

      ๔) เวลาเที่ยงคืน ทรงตอบปัญหาเทวดา

      ๕) เวลาย่ำรุ่ง ทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ ฯ

          ยกเว้นข้อเสด็จออกบิณฑบาต นอกนั้นทรงบำเพ็ญเป็นนิจ

          ตราบเท่าปรินิพพาน ฯ

๕.

๕.๑

โอวาทปาฏิโมกข์ทรงแสดงที่ไหน ?  เมื่อไร ?


๕.๒

ข้อที่ทรงยกขันติขึ้นตรัสในโอวาทปาฏิโมกข์นั้น  หมายความว่าอย่างไร ?

๕.

๕.๑

ที่เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์ ฯ  เมื่อวันเพ็ญเดือน ๓ ฯ


๕.๒

หมายความว่า ศาสนธรรมคำสอนของพระองค์เป็นไปเพื่อให้อดทนต่อเย็น ร้อน หิวระหาย ถ้อยคำให้ร้าย ใส่ความ ด่าว่า และทุกขเวทนาอันแรงกล้าเกิดแต่อาพาธ ฯ

๖.

๖.๑

อุปติสสปริพาชก เมื่อได้ฟังธรรมโดยย่อจากพระอัสสชิเถระแล้ว  มีความเข้าใจในเนื้อความแห่งธรรมนั้นว่าอย่างไร ?


๖.๒

ครั้งพุทธกาล กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนาขออนุญาตบวช

จากมารดาบิดา  เมื่อไม่ได้รับอนุญาตก็เสียใจ จึงทำการประท้วง กุลบุตร

ผู้นั้นคือใคร ?  ประท้วงด้วยวิธีใด ?

๖.

๖.๑

ว่าอย่างนี้คือ  “ ธรรมทั้งปวงเกิดแต่เหตุ และจะสงบระงับไป เพราะเหตุ

ดับก่อน  พระศาสดา ทรงสั่งสอนให้ปฏิบัติ  เพื่อสงบระงับเหตุแห่งธรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิดทุกข์” ฯ


๖.๒

กุลบุตรผู้นั้น คือพระรัฐบาล ฯ ประท้วงด้วยวิธีนอนไม่ลุกขึ้น และอดอาหาร ฯ

๗.

๗.๑

อนาถบิณฑิกเศรษฐี มีนามเดิมว่าอะไร ?


๗.๒

ท่านได้บรรลุคุณวิเศษอะไรในพระพุทธศาสนา ?

๗.

๗.๑

สุทัตตะ ฯ


๗.๒

โสดาปัตติผล ฯ

๘.

๘.๑

ผู้ได้นามว่า  “ ภัทเทกรัตตะ ”  ผู้มีราตรีเดียวเจริญ  เพราะประพฤติเช่นไร ?


๘.๒

พระเถระรูปใดได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เข้าใจอธิบายเรื่อง “ ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ”  นี้ให้พิสดาร ?


๘.

๘.๑

เพราะเป็นผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท ฯ


๘.๒

พระมหากัจจายนเถระ ฯ

๙.

๙.๑

ปัญหาว่า  “ หมู่มนุษย์ในโลกนี้ คือ ฤษี กษัตริย์ พราหมณ์ เป็นอันมาก อาศัยอะไร จึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา ”  ใครเป็นผู้ถาม ?


๙.๒

พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่าอย่างไร ?

๙.

๙.๑

ปุณณกมาณพ ฯ


๙.๒

ทรงพยากรณ์ว่า  “ หมู่มนุษย์เหล่านั้นอยากได้ของที่ตนปรารถนา  อาศัยของที่มีชราทรุดโทรม  จึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา ”  ฯ

๑๐.

๑๐.๑

พระพุทธดำรัสว่า  “ ดูก่อนสุภัททะ  ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ จะพึงอยู่ดีอยู่ชอบแล้วไซร้  โลกก็จกไม่พึงว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ”  ดังนี้ 

คำว่า  “ พระอรหันต์ ”   ในที่นี้ หมายถึงใคร ?


๑๐.๒

โทณพราหมณ์ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในวันแจกพระบรมสารีริกธาตุ มีใจความย่ออย่างไร ?

๑๐.

๑๐.๑

หมายถึง  พระขีณาสวอรหันต์ ฯ   


๑๐.๒

มีใจความย่อดังนี้

    ๑) พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญขันติธรรมและตำหนิในการที่จะทำ

        สงครามกัน

    ๒) ชวนให้สามัคคีร่วมใจกัน โดยแบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุเท่า ๆ กัน ฯ


วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2547

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๗

   ๑.  ปัญจมหาวิโลกนะ คืออะไร ?  มีความเป็นมาอย่างไร ?

   ๑.  คือ การพิจารณาถึงความเหมาะสมใหญ่ ๕ ประการ ฯ

        มีความเป็นมาอย่างนี้ คือเมื่อพระมหาสัตว์เป็นสันตุสิตเทวราชอยู่ในดุสิตเทวโลก หมู่

        เทวดามาทูลอาราธนาให้จุติลงไปบังเกิดในครรภ์พระมารดา ในลำดับนั้น พระมหาสัตว์

        ยังมิได้ทรงให้ปฏิญญาแก่หมู่เทวดาผู้มาทูลอาราธนา ต่อเมื่อทรงพิจารณาปัญจมหา-

        วิโลกนะแลัว จึงทรงให้ปฏิญญา ฯ

   ๒.  พระอรหันตสาวกรุ่นแรกที่พระศาสดาทรงส่งไปประกาศพระศาสนา มีจำนวนเท่าไร ? 

        พระองค์ทรงประทานโอวาทแก่ท่านเหล่านั้นโดยย่อว่าอย่างไร ?

   ๒.  มีจำนวนทั้งสิ้น ๖๐ รูป ฯ

        ทรงประทานโอวาทว่า ท่านทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปในชนบท เพื่อประโยชน์และ

        ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก แต่อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป  จงแสดงธรรมมีคุณ

        ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

        พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ฯ

   ๓.  พระกาฬุทายี และ กาฬเทวิลดาบส เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร ?

   ๓.  พระกาฬุทายี เป็นสหชาติของพระพุทธเจ้า  ก่อนบวชท่านเป็นอำมาตย์อยู่ในกรุง

        กบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะทรงส่งไปทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ 

        เมื่อได้อุปสมบทแล้วจึงทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จกลับได้สำเร็จตามพระราชประสงค์ ฯ

        กาฬเทวิลดาบสคืออสิตดาบสนั่นเอง  เมื่อพระมหาบุรุษประสูติใหม่ๆ  ท่านทราบข่าว

        จึงเข้าไปเยี่ยม ได้เห็นลักษณะของพระราชโอรสต้องด้วยตำรับมหาบุรุษลักษณะ

        มีความเคารพในพระโอรสอย่างมาก จึงลุกขึ้นกราบลงที่พระบาททั้งสองด้วยศีรษะ

        ของตนแล้วกล่าวทำนายพระลักษณะตามมหาบุรุษลักษณะพยากรณศาสตร์ ฯ

   ๔.  พระอานนท์ได้ดวงตาเห็นธรรมเพราะฟังโอวาทจากใคร ? ท่านผู้ให้โอวาทนั้นเลิศทางไหน ?

   ๔.  เพราะฟังโอวาทจากพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ฯ

        เลิศในทางเป็นพระธรรมกถึก ฯ

   ๕.  ข้อความว่า “ เราจักไม่พูดคำซึ่งเป็นเหตุเถียงกัน ถือผิดต่อกัน ”  พระศาสดาทรง

        แนะนำใคร ?  เพราะทรงเห็นโทษอย่างไร ?

   ๕.  ทรงแนะนำพระมหาโมคคัลลานะ ฯ

        เพราะว่า เมื่อคำซึ่งเป็นเหตุเถียงกันถือผิดต่อกันมีขึ้น ก็จำต้องหวังความพูดมาก 

        เมื่อความพูดมากมีขึ้นก็จะเกิดความคิดฟุ้งซ่าน  ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้วก็จะเกิดความ

        ไม่สำรวม  ครั้นไม่สำรวมแล้วจิตก็จะห่างจากสมาธิ ฯ

   ๖.  พระพุทธพจน์ว่า “ ทักษิณาอันบริจาคในสงฆ์ย่อมสำเร็จแก่ผู้ตายโดยฐานะ ” นั้น ท่าน

        อธิบายไว้อย่างไร ? การที่ทักษิณาจะสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ตายโดยฐานะนั้น ต้องพร้อม

        ด้วยสมบัติ อะไรบ้าง ?

   ๖.  ท่านอธิบายไว้ว่า เปตชนผู้ไปเกิดในกำเนิดอื่น ทั้งที่เป็นทุคติ ทั้งที่เป็นสุคติ ย่อม

        เป็นอยู่ด้วยอาหารในคติที่เขาเกิด หาได้รับผลแห่งทานที่ทายกอุทิศถึงไม่  ต่อไปเกิด

        ในปิตติวิสัย จึงได้รับผลแห่งทานที่อุทิศถึงนั้น ฯ

        ต้องพร้อมด้วยสมบัติ ๓ ประการคือ การบริจาคไทยธรรมแล้วอุทิศถึงของทายก ๑

        ปฏิคาหกผู้รับไทยธรรมนั้นเป็นทักขิเณยยะ คือผู้ควรรับทักษิณา ๑ เปตชนนั้น

        ได้อนุโมทนา ๑ ฯ

   ๗.  อจลเจดีย์คืออะไร ?  ตั้งอยู่ที่เมืองอะไร ?  เกิดขึ้นเมื่อใด ?

   ๗.  คือสถานที่เป็นที่ประดิษฐานแห่งบันไดแก้ว บันไดทอง บันไดเงิน ซึ่งทอดลงมา

        จากดาวดึงสเทวโลก ฯ

        ตั้งอยู่ที่เมืองสังกัสสนคร ฯ

        เกิดขึ้นในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่มนุษยโลกหลังจากเสด็จประทับจำพรรษาใน

        ดาวดึงสเทวโลกแล้ว ฯ

   ๘.  พระพุทธองค์ทรงรับสั่งกะพระอานนท์ถึงประโยชน์ของการสร้างสถูปแล้วอัญเชิญ

        พระอัฐิธาตุ บรรจุไว้ ณ ท่ามกลางหนทาง ๔ แพร่งแห่งถนนใหญ่ไว้อย่างไร ?

   ๘.  ทรงรับสั่งไว้อย่างนี้คือ เพื่อเป็นปูชนียสถานให้มนุษย์ผู้สัญจรไปมา เกิดความเลื่อมใส

        ศรัทธา ได้สักการะบูชาด้วยระเบียบดอกไม้ของหอม อภิวาทกราบไหว้ทำจิตให้

        เลื่อมใสในพระพุทธคุณ อันจักเป็นเหตุให้เกิดประโยชน์และความสุขตลอดกาลนาน ฯ

   ๙.  พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุพระโสดาปัตติผลด้วยพระธรรมเทศนามีใจความว่าอย่างไร ? 

        ทรงบรรลุอริยผลสูงสุดชั้นไหน ?

   ๙.  มีใจความว่า ไม่พึงประมาทในบิณฑบาต พึงประพฤติธรรมให้เป็นสุจริต ผู้ประพฤติ

        ธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกอื่น ฯ

        ชั้นพระอรหัตผล ฯ

๑๐.  พระบารมี ๑๐ ย่อมอบรมพระอัธยาศัยทำพระหฤทัยให้หนักแน่นจนสามารถพิชิตมารได้ 

        พระบารมี ๑๐ นั้น มีอะไรบ้าง ?

๑๐.  มี  ๑. ทาน  ๒. ศีล  ๓. เนกขัมมะ  ๔. ปัญญา  ๕. วิริยะ  ๖. ขันติ  ๗. สัจจะ 

        ๘. อธิษฐาน  ๙. เมตตา  ๑๐. อุเบกขา ฯ


วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2548

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่  ๒๐  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘



   ๑.  รูปกายอุบัติและธรรมกายอุบัติ แห่งพระมหาบุรุษนั้น มีความหมายว่าอย่างไร ?

   ๑.  รูปกายอุบัติ คือความอุบัติในสมัยลงสู่พระครรภ์และในสมัยประสูติจากพระครรภ์

        ส่วนธรรมกายอุบัติ คือการตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ฯ

   ๒.  ข้ออุปมาว่า  “ไม้แห้งที่วางไว้บนบก ไกลน้ำ สามารถสีให้เกิดไฟได้”  เกิดขึ้น

        แก่ใคร ?  โดยนำไปเปรียบกับอะไร ?

   ๒. แก่พระมหาบุรุษ คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ โดยทรงนำไปเปรียบ

        กับสมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า สมณพราหมณ์บางพวกมีกายหลีกออกจากกาม

        ใจก็ละความรักใคร่ในกาม สงบดีแล้ว หากพากเพียรพยายามอย่างถูกต้อง

        ย่อมสามารถตรัสรู้ธรรมได้ ฯ

   ๓.  อนุปุพพีกถา คืออะไร ?  ทรงแสดงแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยองค์เท่าไร ?  อะไรบ้าง ?

   ๓.  คือถ้อยคำที่กล่าวเรียงเรื่องเป็นลำดับไป ฯ  ด้วยองค์ ๓ ฯ  คือ เป็นมนุษย์ ๑ 

        เป็นคฤหัสถ์ ๑  มีอุปนิสัยแก่กล้าควรบรรลุโลกุตรคุณในที่นั้น ๑ ฯ

   ๔.  สหายของพระยสะ ๔ คน ได้ออกบวชตามพระยสะ เพราะคิดอย่างไร ?

   ๔.  เพราะคิดว่า  ธรรมวินัยที่พระยสะออกบวชนั้นจักไม่เลวทรามแน่แท้  คงเป็น

        ธรรมวินัยอันประเสริฐ คิดดังนี้จึงได้ออกบวช ฯ

   ๕.  พระพุทธดำรัสว่า “เราสรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงหามิได้ แต่เรา

        มิใช่ไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงเลย” ตรัสแก่ใคร ?  ทรงหมาย

        ความว่าอย่างไร ?

   ๕.  ตรัสแก่พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯ  ทรงหมายความว่า พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญ

        ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ แต่ทรงสรรเสริญความคลุกคลีด้วยเสนาสนะอันสงัด ฯ

   ๖.  พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุให้ประพฤติตนในการเข้าไปใกล้ตระกูลโดยยก

        พระมหากัสสปะเป็นตัวอย่างไว้อย่างไร ?

   ๖.  ตรัสสอนไว้มาก โดยสรุปทรงสอนว่า ท่านพระมหากัสสปะมีความสำรวมระวัง

        อย่างยิ่ง ทำตนเป็นผู้ใหม่อยู่เสมอ ไม่ลำพอง ไม่ติดข้อง วางเฉยกับอิฏฐารมณ์

        และอนิฏฐารมณ์ที่ประสบได้ทุกอย่าง ฯ

   ๗.  ธรรม ๓๗ ประการมีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น มีมรรคมีองค์ ๘ เป็นที่สุด เรียก

        ชื่อว่าธรรมอะไรได้บ้าง ?  เรียกอย่างนั้นเพราะเหตุไร ?

   ๗.  เรียกชื่อว่า อภิญญาเทสิตธรรม เพราะเป็นธรรมที่พระองค์ทรงแสดงด้วย

        พระปัญญาอันยิ่ง และเรียกชื่อว่า โพธิปักขิยธรรม เพราะธรรมเหล่านี้เป็น

        ฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ฯ

   ๘.  โมฆราชมาณพคิดจะทูลถามปัญหากะพระพุทธองค์ ๓ ครั้ง   แต่มิได้ทูลถาม

        เพราะเหตุไร ?

   ๘.  ในครั้งที่ ๑ ไม่ได้ทูลถามเพราะเห็นว่าอชิตมาณพเป็นผู้ใหญ่กว่า จึงยอมให้ทูลถาม

        ก่อน ในครั้งที่ ๒ และ ๓  ไม่ได้ทูลถามเพราะพระพุทธองค์ตรัสห้ามไว้ ฯ

   ๙.  ในพุทธประวัติกล่าวถึงบุคคลต่อไปนี้คือ โสตถิยพราหมณ์ หุหุกชาติพราหมณ์

        โทณพราหมณ์ ว่าอย่างไรบ้าง ?

   ๙.  โสตถิยพราหมณ์ เป็นพราหมณ์ที่ถวายหญ้าแด่พระมหาบุรุษในเวลาเย็นแห่งวันตรัสรู้

        หุหุกชาติพราหมณ์ เป็นพราหมณ์ที่เข้าเฝ้าทูลถามปัญหากะพระพุทธองค์ขณะ

        ประทับ ณ ภายใต้ร่มไม้อชปาลนิโครธ

        โทณพราหมณ์ เป็นพราหมณ์ที่ทำหน้าที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุแก่กษัตริย์และ

        พราหมณ์ทั้ง ๘ พระนคร ฯ

๑๐.  พุทธบริษัท ๔ คือ ใครบ้าง ?  ผู้ตั้งอยู่ในเอตทัคคะทางพระธรรมกถึกของแต่

        ละฝ่ายคือใคร ?

๑๐.  คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ฯ

        ฝ่ายภิกษุ คือ พระปุณณมันตานีบุตรเถระ

        ฝ่ายภิกษุณี คือ พระธัมมทินนาเถรี

        ฝ่ายอุบาสก คือ จิตตคฤหบดี

        ฝ่ายอุบาสิกา คือ นางขุชชุตตรา ฯ

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2549

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

   ๑.  บุพพนิมิต ๕ ประการที่เกิดแก่พระโพธิสัตว์ ก่อนจะจุติลงปฏิสนธิ

        ในครรภ์พระมารดาคืออะไรบ้าง ?

   ๑. คือ

               ๑. ดอกไม้ทิพย์ประดับกายเหี่ยวแห้ง

               ๒. ผ้าภูษาทรงมีสีเศร้าหมอง

               ๓. เหงื่อไหลออกจากรักแร้

               ๔. ร่างกายปรากฏชรา

               ๕. พระทัยกระสันเป็นทุกข์ เหนื่อยหน่ายจากเทวโลก ฯ

  ๒.  สัมปทาคุณ ๓ ประการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คืออะไรบ้าง ? เกิดผลดี

        อย่างไร ?

  ๒.  คือ

               ๑.   เหตุสัมปทา คือการบำเพ็ญบารมีมาอย่างครบถ้วน

               ๒.  ผลสัมปทา คือการที่ทรงได้รับผลของบารมี ทำให้มีรูปกาย

                     ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ อานุภาพ การละกิเลสและ

                     พระญาณหยั่งรู้ เป็นต้น

               ๓.  สัตตูปการสัมปทา คือการที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก

                     ด้วยพระทัยที่บริสุทธิ์ ฯ

        ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาและความเลื่อมใสของบัณฑิตชน              ทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะพึงปรารภเป็นอารมณ์แล้วก่อสร้าง

        สั่งสมบุญกุศลให้ไพบูลย์ ฯ

  ๓.  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ มีปาฏิหาริย์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ?

  ๓.  มีปาฏิหาริย์ ๗ อย่าง คือ

               ๑. พระมารดาทรงประทับยืน

               ๒. ประสูติไม่เปรอะเปื้อนด้วยครรภมลทิน

               ๓. มีเทวดามาคอยรับก่อน

               ๔. มีธารน้ำร้อนน้ำเย็นตกลงมาจากอากาศสนานพระกาย

               ๕. เมื่อประสูติออกมาทรงเดินได้ ๗ ก้าว

               ๖. ทรงเปล่งวาจาเป็นบุพพนิมิตแห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ

               ๗. แผ่นดินไหว ฯ

   ๔.  ในการบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณของพระโพธิสัตว์

        อยากทราบว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยาและอุปมา ๓ ข้อ อย่างไหนเกิดก่อน ?

        ทรงมีเหตุผลอย่างไร ?

   ๔.  อุปมา ๓ ข้อเกิดก่อน การบำเพ็ญทุกรกิริยาเกิดภายหลัง ฯ

        เพราะเมื่ออุปมา ๓ ข้อ มาปรากฏแก่พระองค์แล้ว ทรงคิดจะบำเพ็ญเพียร

        เพื่อป้องกันจิตไม่ให้น้อมไปในกามารมณ์ได้ จึงทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ฯ

   ๕.  อปาณกฌาน ได้แก่อะไร ? พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญครั้งไหน ? และ

        ได้รับผลอย่างไร ?

   ๕.  ได้แก่ความเพ่งไม่มีปราณ คือไม่มีลมอัสสาสะปัสสาสะ โดยเนื้อความ

        ก็คือกลั้นลมหายใจไม่ให้ดำเนินทางจมูกและทางปาก ฯ

        ได้ทรงบำเพ็ญในคราวทรงทำทุกรกิริยา ฯ

        ไม่ได้รับผลที่ทรงมุ่งหวังกลับเป็นการทรมานร่างกายให้ลำบากเปล่า ฯ

   ๖.  “สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้าๆ ไม่ชอบใจหมด” เป็นคำพูดของใคร ?

        พระพุทธองค์ ตรัสตอบว่าอย่างไร ?

   ๖.  เป็นคำพูดของทีฆนขะ อัคคิเวสสนโคตร ฯ

        ตรัสตอบว่า ถ้าอย่างนั้น ความเห็นอย่างนั้น ก็ต้องไม่ควรแก่ท่าน ท่าน

        ก็ต้องไม่ชอบความเห็นอย่างนั้น ฯ

  ๗.  พระศาสดารับสั่งให้ท่านพระมหากัสสปะทรงจีวรที่คฤหบดีถวายเป็นต้น              แต่ท่านมิได้ทำตาม เพราะเห็นอำนาจประโยชน์อะไร ?

  ๗.  เห็นประโยชน์ ๒ อย่าง คือ

               ๑.   การอยู่เป็นสุขในบัดนี้ของตน

               ๒.  การอนุเคราะห์ประชุมชนในภายหลัง ประชุมชนในภายหลัง

                     ทราบว่าสาวกของพระพุทธเจ้าไม่ประพฤติตนอย่างนั้น จักถึง

                     ทิฏฐานุคติ ปฏิบัติตามที่ตนได้เห็นได้ยิน ความปฏิบัตินั้น จัก

                     เป็นไปเพื่อประโยชน์และสุขแก่เขาสิ้นกาลนาน ฯ

  ๘.  ก่อนที่ท่านพระโมฆราชจะมาเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านเคยเป็น

        ศิษย์ของใคร ?  ผู้นั้นตั้งสำนักสอนอยู่ที่ไหน ?

  ๘.  เป็นศิษย์ของพาวรีพราหมณ์ ฯ

        อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะและเมืองอาฬกะ ฯ

  ๙.  ท่านพระอานนท์ทูลขอพรพระบรมศาสดาก่อนจะรับเป็นพุทธุปัฏฐากไว้

        ๘ ข้อ  ท่านมีเหตุผลที่ทูลขอพร ๔ ข้อหลังว่าอย่างไร ?

  ๙.  ใน ๔ ข้อหลังนี้ ๓ ข้อแรก เพื่อจะป้องกันคนพูดว่า พระอานนท์บำรุง

        พระศาสดาทำอะไร เพราะพระองค์ไม่ทรงอนุเคราะห์แม้ด้วยกิจเท่านี้                  ส่วนข้อสุดท้าย เมื่อมีคนถามในที่ลับหลัง พระพุทธองค์ว่า ธรรมนี้

        พระองค์ทรงแสดงในที่ไหน ถ้าท่านบอกไม่ได้ เขาก็จะพูดได้ว่า ท่าน

        ไม่รู้แม้แต่เรื่องเท่านี้ ไม่ละพระศาสดาเที่ยวตามเสด็จอยู่ ดุจเงาตามตัว

        สิ้นกาลนาน เพราะเหตุอะไร ฯ

๑๐.  บุคคลต่อไปนี้ได้รับเอตทัคคะในทางใด ?

               ก. พระอนุรุทธเถระ     

               ข. พระโสณโกฬิวิสเถระ  

               ค. พระรัฐปาลเถระ                

               ง. นางปฏาจาราเถรี     

                จ. นางกีสาโคตมีเถรี

๑๐.        ก. พระอนุรุทธเถระ        ได้ทิพยจักษุญาณ

               ข. พระโสณโกฬิวิสเถระ   มีความเพียรปรารภแล้ว

               ค. พระรัฐปาลเถระ         บวชด้วยศรัทธา

               ง. นางปฏาจาราเถรี        ทรงไว้ซึ่งวินัย

               จ. นางกีสาโคตมีเถรี       ทรงไว้ซึ่งจีวรอันเศร้าหมอง ฯ


*********

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2550

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันพุธ ที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

๑.     จงเล่าความเป็นมาของพุทธโกลาหล ฯ

๑.     เมื่อสุทธาวาสมหาพรหมทั้งหลายลงมาเที่ยวประกาศทั่วหมื่นโลกธาตุว่า  เบื้องหน้าแต่นี้ล่วงไปอีกแสนปี  พระสัพพัญญูจะบังเกิดในโลก  ถ้าใคร่จะพบเห็น  จงเว้นจากเวรทั้ง ๕   อุตส่าห์บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา กระทำการกุศลต่าง ๆ  ดังนี้   จึงทำให้เกิดพุทธโกลาหลขึ้น ฯ

๒.     ฤษีปัญจวัคคีย์ออกบวชตามและอยู่ปรนนิบัติพระพุทธองค์ขณะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา  เพราะคิดอย่างไร ?   หลีกหนีไปเพราะคิดอย่างไร ?   และการทั้ง ๒ นั้น  มีผลดีอย่างไร ?

๒.     ออกบวชตามเพราะคิดว่า  บรรพชาของพระองค์คงมีประโยชน์       พระองค์บรรลุธรรมใด  จักทรงสั่งสอนให้ตนบรรลุธรรมนั้นบ้าง ฯ

หลีกไปโดยคิดว่า  พระองค์ทรงละทุกรกิริยาแล้ว  คงจะไม่บรรลุธรรมพิเศษอันใดได้ ฯ

การมาปรนนิบัตินั้น  ทำให้สามารถเป็นพยานได้ว่า  พระพุทธองค์ทรงเคยประพฤติอัตตกิลมถานุโยคอย่างอุกฤษฎ์มาแล้ว  แม้เช่นนี้ก็ไม่เป็นทางที่จะให้รู้ธรรมพิเศษอันใดได้   ส่วนการหลีกหนีไปนั้นก็เป็นผลดี  เพราะเวลานั้นเป็นเวลาบำเพ็ญเพียรทางจิต  ซึ่งต้องการความสงัด ฯ


๓.     พระมหาสุบินนิมิตก่อนจะตรัสรู้ที่ว่า  เสด็จจงกรมบนภูเขาอุจจาระโดยพระบาทไม่แปดเปื้อน  หมายถึงอะไร ?

๓.     หมายถึง  จะทรงได้ปัจจัยทั้ง ๔  แต่มิได้มีพระทัยปลิโพธิเอื้อเฟื้อในปัจจัยทั้งปวง ฯ

๔.     พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานจาตุรงคมหาปธาน  มีใจความว่าอย่างไร ?   ที่ไหน ?   และได้รับผลอย่างไร ?

๔.     มีใจความว่า หากยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้วจักไม่ลุกขึ้น  แม้เนื้อและเลือดจะแห้งเหือดไป  เหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูก       ก็ตามที ฯ

        ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ฯ

ได้รับผลคือ  บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณสมดังพระหฤทัย ฯ

๕.     ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไรในอริยสัจ ๔  ซึ่งมีรอบ ๓  มีอาการ ๑๒  ทำให้พระพุทธองค์ทรงยืนยันได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ   ที่ว่ารอบ ๓  อาการ ๑๒  คืออย่างไร ?

๕.     คือ  ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์  ทุกข์นั้นควรกำหนดรู้  ทุกข์นั้นได้กำหนดรู้แล้ว

นี้เหตุให้เกิดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์นั้นควรละ เหตุให้เกิดทุกข์นั้นได้ละแล้ว

นี้เหตุให้ทุกข์ดับ  เหตุให้ทุกข์ดับนั้นควรทำให้แจ้ง  เหตุให้ทุกข์ดับนั้นได้ทำให้แจ้งแล้ว

นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  ข้อปฏิบัตินั้นควรทำให้เกิด  ข้อปฏิบัตินั้นได้ทำให้เกิดแล้ว ฯ


๖.     ก่อนจะทรงแสดงอริยสัจ ๔  พระพุทธองค์ทรงแสดงส่วนสุด ๒ อย่างแก่ปัญจวัคคีย์ แต่ทรงแสดงอนุปุพพีกถาแก่ยสกุลบุตร  เพราะเหตุไร ?

๖.     เพราะปัญจวัคคีย์ได้ละกามออกบวชเป็นฤษีแล้ว  ซึ่งบรรพชิตในครั้งนั้นหมกมุ่นอยู่ในส่วนสุด ๒ อย่าง  คืออัตตกิลมถานุโยคและกาม      สุขัลลิกานุโยค  ฤษีปัญจวัคคีย์ติดอยู่ในอัตตกิลมถานุโยค จึงไม่จำต้องแสดงอนุปุพพีกถาเพื่อฟอกจิตให้สะอาดจากกาม   แต่ยสกุลบุตรเป็น  ผู้เสพกามอยู่ครองเรือน  กำลังได้รับความขัดข้องวุ่นวายจากกามอยู่   จึงทรงแสดงอนุปุพพีกถาฟอกจิตให้ห่างไกลจากความยินดีในกาม  ควรรับธรรมเทศนาคืออริยสัจ ๔  เหมือนผ้าที่ปราศจากมลทิน  ควรรับ   น้ำย้อมได้ฉะนั้น ฯ

๗.     พระพุทธบัญญัติที่ว่า  ผู้ขออุปสมบทต้องได้รับอนุญาตจากมารดาบิดาก่อน  นั้น  มีประวัติความเป็นมาโดยย่ออย่างไร ?

๗.     พระเจ้าสุทโธทนะทรงโทมนัสมาก  เพราะพระสิทธัตถราชกุมาร     พระนันทะ และพระราหุล  เสด็จออกผนวชแล้ว  สิ้นผู้จะสืบราชวงศ์  ต่อไป  ทรงปรารภทุกข์นี้ที่จะพึงมีแก่มารดาบิดาในตระกูลอื่น จึงทูลขอพระพุทธองค์ให้มารดาบิดาต้องอนุญาตก่อนจึงจะบวชกุลบุตรได้      จึงเกิดพระพุทธบัญญัติข้อนี้ขึ้น ฯ

๘.     บิณฑบาตของนางสุชาดาที่ถวายก่อนแต่ตรัสรู้  และของนายจุนทะที่ถวายก่อนแต่เสด็จปรินิพพาน  มีผลเสมอกัน  มีวิบากเสมอกัน  เพราะเหตุไร ?



๘.     เพราะ

ก.  ปรินิพพานเสมอกัน  คือสอุปาทิเสสปรินิพพานและอนุปาทิเสสปรินิพพาน

ข.  สมาบัติเสมอกัน  คือทรงเข้าสู่สมาบัติ ๒๔ แสนโกฏิเสมอกันก่อนจะตรัสรู้และก่อนจะปรินิพพาน

ค.  เมื่อบุคคลทั้ง ๒ ระลึกถึงการถวายบิณฑบาตของตน  ก็บังเกิดปีติโสมนัสอย่างแรงกล้าเหมือนกัน ฯ

๙.     ใครเป็นผู้ถามพระปุณณมันตานีบุตรว่า  ข้าพเจ้าถามท่านว่า  ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออย่างนั้นหรือ ๆ  ท่านก็ตอบว่า  ไม่อย่างนั้น ๆ   เมื่อเป็นอย่างนี้  ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไรเล่า ?   และได้รับคำตอบว่าอย่างไร ?

๙.     พระสารีบุตรเป็นผู้ถาม ฯ

        ได้รับคำตอบว่า  เราประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความดับไม่มีเชื้อ ฯ

๑๐.   พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์  เท่าที่ปรากฏในหนังสือพุทธานุพุทธประวัติ  มีองค์ใดนิพพานก่อนและหลังพระพุทธองค์บ้าง ?   จงบอกมาอย่างละ ๒ องค์ ฯ

๑๐.   (ตอบเพียงอย่างละ ๒ องค์)

ผู้นิพพานก่อนพระพุทธองค์  คือ  พระอัญญาโกณฑัญญะ           พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระราหุล ฯ

ผู้นิพพานหลังพระพุทธองค์  คือ  พระมหากัสสปะ  พระอุบาลี 

พระอนุรุทธะ  พระอานนท์ ฯ

***********

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2551

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑

๑.       พุทธประวัติ วิภาคที่ ๑ ปุริมกาล และวิภาคที่ ๓ อปรกาล ที่ทรงรจนาไว้แสดงถึงเรื่องอะไร ?

๑.       ปุริมกาล แสดงถึงเรื่องเป็นไปในกาลก่อนแต่บำเพ็ญพุทธกิจ

อปรกาล แสดงถึงเรื่องถวายพระเพลิงและแจกพระธาตุ ฯ

๒.       ในขณะเสวยวิมุตติสุขใต้ร่มไม้มหาโพธิ์  พระพุทธเจ้าทรงพิจารณา    ข้อธรรมอะไร ?   และธรรมนั้นมีใจความย่อว่าอย่างไร ?

๒.       ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ฯ

          มีใจความย่อว่า  สภาวะอย่างหนึ่งเป็นผลเกิดแต่เหตุอย่างหนึ่งแล้ว  ซ้ำเป็นเหตุยังผลอย่างอื่นให้เกิดต่อไปอีก เหมือนลูกโซ่เกี่ยวคล้องกันเป็นสาย ฯ

๓.       อนุปุพพีกถาและสามุกกังสิกธรรม คืออะไร ?  พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บุคคลผู้มีองคสมบัติอะไร ?

๓.       อนุปุพพีกถา  คือ ถ้อยคำที่กล่าวเรียงเรื่องเป็นลำดับไป คือ ทานกถา สีลกถา สัคคกถา กามาทีนวกถา เนกขัมมานิสังสกถา

สามุกกังสิกธรรม คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง 

ได้แก่อริยสัจ ๔ ฯ

ผู้มีองคสมบัติ คือ

                    ๑. เป็นมนุษย์

                    ๒. เป็นคฤหัสถ์

                    ๓. มีอุปนิสัยแก่กล้า  ควรบรรลุโลกุตรคุณในที่นั้น ฯ

๔.       พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดชฎิล ๓ พี่น้องพร้อมบริวาร โดยบังเอิญหรือโดยตั้งพระหฤทัยไว้ก่อน ?  มีหลักฐานสนับสนุนคำตอบนั้นอย่างไร ?

๔.       โดยตั้งพระหฤทัยไว้ก่อน ฯ   มีหลักฐานปรากฏว่า  ในครั้งที่ทรงส่งพระสาวก ๖๐ องค์แรกไปประกาศพระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ  ทรงมีพระดำรัสว่า  “แม้เราก็จะไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  เพื่อจะแสดงธรรม” ฯ

๕.       มีภาษิตอยู่บทหนึ่งว่า สัตบุรุษตั้งมั่นแล้วในสัจจะที่เป็นอรรถเป็นธรรม ดังนี้ ข้อนี้ มีปฏิปทาของพระสาวกรูปใด ที่ให้สัญญาต่อกันไว้แล้วปฏิบัติตามสัญญานั้น เป็นตัวอย่าง ?   จงเล่าเรื่องประกอบ

๕.       มีปฏิปทาของพระสารีบุตร เป็นตัวอย่าง ฯ เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อครั้งที่ท่านและพระโมคคัลลานะยังไม่ได้อุปสมบท  เคยให้สัญญากันว่า ใครได้โมกขธรรมก่อน จะบอกแก่กัน ต่อมาท่านพระสารีบุตรได้ฟัง

อริยสัจจกถาแต่สำนักพระอัสสชิแล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม จึงนำข้อความนั้นไปบอกแก่พระโมคคัลลานะ จนได้บรรลุธรรมเช่นเดียวกัน ฯ 

๖.       พระเจ้าโกรัพยะตรัสถึงเหตุแห่งความเสื่อมที่จะให้คนออกบวชกะ     พระสาวกรูปใด ?  เหตุแห่งความเสื่อมนั้นได้แก่อะไรบ้าง ?

๖.       กะพระรัฏฐปาลเถระ ฯ  เหตุนั้นได้แก่ ๑. ความแก่ชรา ๒. ความเจ็บ  ๓. ความสิ้นโภคทรัพย์  ๔. ความสิ้นญาติ ฯ

๗.       ในวันที่พระมหาบุรุษประสูติ มีสหชาติที่เกิดพร้อมกันกี่อย่าง ?  

        อะไรบ้าง ?

๗.       มี ๗ อย่าง  คือ ๑. พระนางพิมพา  ๒. พระอานนท์  ๓. กาฬุทายีอมาตย์  ๔. ฉันนะอมาตย์  ๕. ม้ากัณฐกะ  ๖. ต้นมหาโพธิ์         ๗. ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ ฯ

๘.       การทำสังคายนาครั้งที่ ๓  มีมูลเหตุจากอะไร ?   ใครเป็นผู้อุปถัมภ์ ?  

พระสงฆ์ผู้เข้าร่วมทำสังคายนามีจำนวนเท่าไร ?  ใครเป็นประธาน ?  

ใช้เวลานานเท่าไร ?

๘.       มีมูลเหตุจากพวกเดียรถีย์เป็นจำนวนมากปลอมบวชในพระพุทธศาสนา ฯ   พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ ฯ   มีจำนวน ๑,๐๐๐ รูป ฯ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน ฯ   ใช้เวลา ๙ เดือน ฯ 

๙.       จงระบุชื่อพระสาวกผู้ที่บวชด้วยเหตุต่อไปนี้

          ก. บวชด้วยศรัทธา

          ข. บวชเพราะจำใจ

          ค. บวชตามเพื่อน

          ง. บวชเพราะเห็นโทษของการครองเรือน

๙.       ก. บวชด้วยศรัทธา  คือ พระรัฐปาลเถระ

          ข. บวชเพราะจำใจ คือ พระนันทเถระ

          ค. บวชตามเพื่อน  คือ พระวิมล พระสุพาหุ พระปุณณชิ พระควัมปติ

          ง. บวชเพราะเห็นโทษของการครองเรือน  คือ พระมหากัสสปเถระ ฯ

๑๐.     ถูปารหบุคคล ได้แก่บุคคลเช่นไร ?  มีใครบ้าง ?

๑๐.     ได้แก่ บุคคลผู้ควรแก่การบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อสักการบูชาด้วยความเลื่อมใส ฯ  มี

๑.     พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ๒. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

     ๓.  พระอรหันตสาวก                         ๔. พระเจ้าจักรพรรดิราช ฯ


***********

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2552

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๕๒

๑.     ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร? พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ที่ทรงกำหนดรู้แล้วนั้นอย่างไร? ณ สถานที่ใด?

ตอบ คือ สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นฯ ทรงพิจารณาตามลำดับและถอยกลับทั้งข้างเกิดข้างดับตลอดยาม ๓ แห่งราตรี ฯ ณ ภายใต้ร่มไม้มหาโพธิ์ ฯ

๒.    ภายหลังแต่ตรัสรู้แล้ว ในสัปดาห์ที่ ๗  พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่ไหน? และมีเหตุการณ์สำคัญตามที่พระคันถรจนาจารย์กล่าวไว้อย่างไรบ้าง?

ตอบ ในสัปดาห์ที่ ๗ เสด็จประทับอยู่ภายใต้ไม้ราชายตนะ มีพ่อค้า ๒ คน ชื่อตปุสสะและภัลลิกะเดินทางผ่านมา  ได้ถวายข้าวสัตตุผงสัตตุก้อน และแสดงตนเป็นอุบาสกถึงรัตนะ ๒ เป็นคู่แรกในโลก ฯ

๓.     พระอัญญาโกณฑัญญะเดิมชื่ออะไร? ที่ได้ชื่ออัญญาโกณฑัญญะเพราะเหตุไร?

ตอบ ชื่อโกณฑัญญะ ฯ เพราะได้ดวงตาเห็นธรรมขณะฟังปฐมเทศนาพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงทรงเปล่าอุทานว่า

อัญญาสิๆ แปลว่า ได้รู้แล้วๆ อาศัยพระอุทานนี้ คำว่า อัญญาโกณฑัญญะ จึงได้เป็นชื่อของท่านตั้งแต่บัดนั้นมา ฯ

๔.     พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทด้วยอาการ ๔ อย่าง อะไรบ้าง?

ตอบ ด้วยอาการดังนี้

๑. สันทัสสนา อธิบายให้แจ่มแจ้งให้เข้าใจชัด

๒. สมาทปนา ชวนให้มีแก่ใจสมาทานคือทำตาม

๓. สมุตเตชนา ชักนำให้เกิดอุตสาหะอาจหาญเพื่อจะทำ

๔. สัมปหังสนา พยุงให้ร่าเริงในอันทำ ฯ

๕.     พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญพระเถระรูปใดเปรียบด้วยแมลงผึ้งตัวเที่ยวไปในสวนดอกไม้ ไม่ทำสีและกลิ่นของดอกไม้ให้ช้ำ ถือเอาแต่รสบินไป? และทรงสรรเสริญไว้อย่างไร?

ตอบ ทรงสรรเสริญพระมหาโมคคัลลานะ ฯ ทรงสรรเสริญไว้ว่า ท่านไม่ทำศรัทธาและโภคทรัพย์ของตระกูลที่เข้าไปหาให้เสีย ฯ

๖.     พระพุทธองค์ทรงแสดงสุจริตธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทำให้ทั้ง ๒ พระองค์ได้บรรลุอริยผลชั้นไหน?

ตอบ ทำให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุสกทาคามิผล และพระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงบรรลุโสดาปัตติผล

๗.    พระดำรัสว่า “เธอไปเองเถิด เมื่อเธอไปแล้ว พระเจ้าแผ่นดินจักทรงเสื่อมใส” พระศาสดาตรัสกะพระเถระรูปใด? พระเถระรูปนั้นได้ไปประกาศพระพุทธศาสนาที่ไหน? และได้ผลอย่างไร?

ตอบ ตรัสกะพระมหากัจจายนะ ฯ ที่กรุงอุชเชนี ฯ ได้ผลคือ พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองเลื่อมใส ฯ

๘.     พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้มาณพ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ทูลถามพระบรมศาสดาเพื่อประสงค์อะไร? ปัญหาว่า “หมู่มนุษย์โลกนี้ คือ ฤษีกษัตริย์พราหมณ์เป็นอันมากอาศัยอะไร จึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา” ผู้ทูลถามคือใคร? และทรงพยากรณ์ว่าอย่างไร?

ตอบ พราหมณ์พาวรีประสงค์จะสืบสวนให้ได้ความแน่นอนว่า พระโอรสของศากยราชเสด็จออกบรรพชา ปฏิญญาพระองค์ว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตามข่าวเล่าลือนั้นเป็นจริงหรือไม่ ฯ ผู้ทูลถามคือ ปุณณกมานพ ฯ ทรงพยากรณ์ว่า หมู่มนุษย์เหล่านั้นอยากได้ของที่ตนปรารถนา อาศัยของที่มีชราทรุดโทรมจึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา ฯ

๙.     พระสาวกผู้ได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะหลายอย่างกว่าสาวกรูปอื่นคือใคร? เป็นเอตทัคคะในทางใดบ้าง?

ตอบ พระอานนทเถระ ฯ ในทาง

๑. เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหุสูต

๒. เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่มีคติ

๓. เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่มีสติ

๔. เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่มีธิติปัญญาจำทรง

๕. เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นอุปัฏฐาก ฯ

  



๑๐. สังคายนา คืออะไร? พระสุภัททวุฑฒบรรพชิตผู้เป็นเหตุให้พระมหากัสสปะทำปฐมสังคายนา ได้กล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยมีใจความว่าอย่างไร?

ตอบ คือ การประชุมกันเรียบเรียงศาสนธรรมคำสอนของพระศาสนาวางไว้เป็นแบบแผน ฯ มีใจความว่า ท่านทั้งปวงอย่าโศกเศร้าอย่าร้องไห้ร่ำไรไปเลย เมื่อพระสมณโคดมยังอยู่นั้น เบียดเบียนว่ากล่าว ว่าสิ่งนี้ควรสิ่งนี้ไม่ควร จำเดิมแต่นี้เราปรารถนาจะกระทำสิ่งใด เราก็กระทำสิ่งนั้นได้ พระสมณโคดมนิพพานเสียก็พ้นทุกข์พ้นร้อนเราทั้งปวงแล้ว ฯ


วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2553


 




ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง

วันพุธ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน    พ.ศ.๒๕๕๓


            พระสารีบุตรปรินิพพานที่ไหน ?  ท่านเลือกสถานที่นั้นเพราะเหต

            ที่  นาลันทคาม  แคว้นมคธ ฯ

เพราะตั้งใจจะโปรดนางสารีพราหมณีผู้เป็นมารดาของท่าน ให้พ้ มิจฉาทิฏฐิก่อนที่ท่านจะปรินิพพาน ฯ

            พระมหากัสสปะ กับพระรัฐบาล ออกบวชเพราะมีความคิดเห็นต่างก อย่างไร ?


            พระมหากัสสปะออกบวชเพราะคิดเห็นว่า ผู้อยู่ครองเรือนต้องคอยนั่ เพราะการงานที่ผู้อื่นท ำไม่ดี มีใจเบื่อหน่าย จึงละสมบัติแล

พระรัฐบาลออกบวชเพราะมีความคิดเห็นตามธรรมุเทศ ๔ ข้อที่พระศาส ทรงแสดง ว่า

๑. โลกคือหมู่สัตว์ อันชราเป็นผู้น ำ ๆ เข้าไปใกล้ ไม่ยั่งย ๒. โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่จ ำเพาะต ๓. โลกคือหมู่สัตว์ไม่มีอะไรเป็นของ ๆ ตน จ ำต้องละทิ้งสิ่ ๔. โลกคือหมู่สัตว์ พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็น


            พระเจ้าพิมพิสาร เมื่อครั้งยังเป็นพระราชกุมาร ได้ตั้งความปร อย่างไรบ้าง ?


            ได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า

๑. ขอให้ข้าพเจ้าได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินมคธนี้เถิด

            ขอท่านผู้เป็นพระอรหันต์ผู้รู้เองเห็นเองโดยชอบ พึงมายังแว่น ข้าพเจ้าผู้ได้รับอภิเษกแล้ว

๓. ขอข้าพเจ้าพึงได้เข้าไปนั่งใกล้พระอรหันต์นั้น ๔. ขอพระอรหันต์นั้น พึงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ๕. ขอข้าพเจ้าพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์นั้น ฯ

            สตานุสารีวิญญาณ คืออะไร ?  เกิดขึ้นแก่พระมหาบุรุษ  ความว่าอย

            วิญญาณไปตามสติ ฯ

ความว่า ทุกรกิริยานี้ จักไม่เป็นทางเพื่อการตรัสรู้ แต่อานาปาน จักเป็นทางเพื่อการตรัสรู้แน่ ฯ

            มหาปุริสลักษณะมีกี่ประการ ? พระอุณณาโลมกับพระอุณหิสต่ อย่างไร ?


            มี ๓๒ ประการ ฯ

พระอุณณาโลม ได้แก่พระโลมาที่ขาวละเอียดอ่อนคล้ายส ำลีอยู่ใน พระโขนง ส่วนพระอุณหิสนั้น ได้แก่พระเศียรที่กลมเป็นปริ ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ฯ


            พระสาวกรูปใดเป็นเอตทัคคะทางมีปัญญามาก ทางขยายความย่อให้พิสด ทางมีวาจาไพเราะ ทางทรงจีวรเศร้าหมอง ? และในท่านเหล่านั้น อง ไหนเป็นที่เลื่อมใสของผู้เป็นรูปัปปมาณิกา โฆสัปปมาณิกา ลู และธัมมัปปมาณิกา ? 

            พระสารีบุตร เป็นเอตทัคคะทางมีปัญญามาก และเป็นที่เลื่อมใสขอ ธัมมัปปมาณิกา


พระมหากัจจายนะ เป็นเอตทัคคะทางขยายความย่อให้พิสดาร และเป็น เลื่อมใสของผู้เป็นรูปัปปมาณิกา

พระโมฆราช เป็นเอตทัคคะทางทรงจีวรเศร้าหมอง และเป็นที่เลื่อมใส ผู้เป็นลูขัปปมาณิกา

พระโสณกุฏิกัณณะ เป็นเอตทัคคะทางมีวาจาไพเราะ และเป็นที่เลื่อม ผู้เป็นโฆสัปปมาณิกา ฯ

            พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระราธะว่า สิ่งใดเป็นมาร ท่านจงละความก ำ พอใจในสิ่งนั้นเสีย มารในที่นี้หมายถึงอะไร ?

๗.    หมายถึง      รูป      เวทนา    สัญญา     สังขาร     วิญญาณ ฯ

            พระอรหันตสาวก ๑๐ องค์แรกในพระพุทธศาสนา คือใครบ้าง ? มี ท่านใดได้รับเอตทัคคะบ้าง ? และเป็นเอตทัคคะในทางไหน ?

            คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ พระยสะ พระวิมละ พระสุพาหุ พระปุณณชิ และพระควัมปต มีพระอัญญาโกณฑัญญะรูปเดียว ฯ ในทางรัตตัญญู ผู้รู้ราตรีนาน

            ถูปารหบุคคล  คือใคร ?  มีกี่ประเภท ?  อะไรบ้าง ?

            คือ บุคคลผู้ควรแก่การสร้างสถูปไว้ประดิษฐาน ฯ มี ๔ ประเภท ฯ คือ

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๓. พระอรหันตสาวก ๔. พระเจ้าจักรพรรดิราช ฯ



๑๐.   อภิญญาเทสิตธรรม        มีอะไรบ้าง ?        ทรงแสดงแก่ใคร ?     ที่ไหน ?

๑๐. มี       สติปัฏฐาน ๔         สัมมัปปธาน ๔         อิทธิบาท ๔         อินทรีย์ ๕               พล
โพชฌงค์ ๗     มรรคมีองค์ ๘ ฯ

ทรงแสดงแก่ภิกษุสงฆ์ผู้อาศัยอยู่ในเมืองเวสาลี ฯ

ที่กูฏาคารศาลา         ป่ามหาวัน ฯ

*********

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2554


 






ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง


วันพุธ ที่ ๑๔ ธันวาคม          พ.ศ. ๒๕๕๔ 

                        บารมี ๑๐ ของพระมหาบุรุษมีอะไรบ้าง ? ท่านเปรียบเทียบบารมีข้ กับอาวุธยุทโธปกรณ์ชนิดใด ในการต่อสู้กับหมู่มาร ?

                        คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารม ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี

ศีลบารมี  เปรียบเทียบกับแผ่นดิน
ปัญญาบารมี  เปรียบเทียบกับพระขรรค์
วิริยบารมี  เปรียบเทียบกับพระบาท
บารมีที่เหลือจากนี้  เปรียบเทียบกับโล่ป้องกัน ฯ



                        นวหรคุณ คือพระพุทธคุณ ๙ บท บทไหนปรากฏแก่พระพุทธองค์เต็ม ที่ไหน ? เมื่อไร ?

                        พระพุทธคุณบทว่า ํอรหสมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ส โลกวิทู พุทฺโธ ภควา ปรากฏแก่พระพุทธองค์เต็มที่ ณ ควงไม้ พระมหาโพธิ ต ำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ตั้งแต่ครั้งแรก พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ฯ


พระพุทธคุณบทว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ แก่พระพุทธองค์เต็มที่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันในพระนครพาราณส ครั้งแสดงอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ฯ

                        พระพุทธเจ้าหลังจากได้ตรัสรงเปล่งอุทานในยามสุดท้ายว่าอย่างไรู้แล้ว ?

                        ทรงเปล่งอุทานว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพี เมื่อนั้นพราหมณ์นั้น ย่อมก ำจัดมารและเสนามารเสียได้ ดุจพระอา ก ำจัดมืดให้สว่างฉะนั้น ฯ

                        อนิมิสเจดีย์และรัตนจงกรมเจดีย์ เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้า กิจอะไร ?


                        อนิมิสเจดีย์  เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับยืนจ้องดูต้น

โดยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด ๗ วัน รัตนจงกรมเจดีย์เป็นสถาน ที่พระพุทธเจ้าทรงนิรมิตที่จงกรมขึ้นแล้วเสด็จจงกรมณ ที่นั้นถ้วน๗วัน ฯ

                        ภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล ที่ท่านเปรียบกับดอกบัว ๔ เหล่า ค ประเภทใดบ้าง ?


                        ภัพพบุคคลคือบุคคลผู้สามารถจะตรัสรู้ธรรมได้ ได้แก่ อุคฆติตัญญูที่เปรียบด้วยดอกบัวพ้นน ้ำ วิปจิตัญญูที่เปรียบด้วยดอกบัวเสมอน ้ำ และเนยยะที่เปรียบด้วยดอกบัวที่ยังอยู่ในน ้ำ ส่วนอภัพพบุคคลคือบุคคลผู้ไม่สามารถจะตรัสรู้ธรรมได้ ได้แก่ ปทปรมะที่เปรียบด้วยดอกบัวที่เป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่า ฯ



                        พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอัครสาวกทั้ง ๒ ว่าเป็นผู้มีปัญญาอ สพรหมจารีทั้งหลาย มีอุปมาต่างกันอย่างไร ฯ

                        มีอุปมาต่างกันอย่างนี้ พระสารีบุตรเถระเปรียบเหมือนมารดาผู้ ย่อมแนะน ำให้กุลบุตรตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระมหาโมคคัลลานเถระเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกผู้เกิดแ ย่อมแนะน ำให้กุลบุตรตั้งอยู่ในคุณเบื้องสูงกว่านั้น ฯ



                        อนุรุทธศากยะออกบวชเพราะมูลเหตุอะไร ? ผู้ที่ออกบวชพร้อมกับ มีใครบ้าง ?


                        เพราะมูลเหตุจากการที่อนุรุทธศากยะเป็นพระญาติของพระพุทธเจ้า
ซึ่งควรออกบวชตามพระพุทธเจ้าอย่างที่เจ้าศากยะองค์อื่นผู้มีชื่อ
ได้กระท ำกัน      และครั้นเมื่อได้ฟังค ำพูดของมหานามศากยะผู้พี่
ของผู้อยู่ครองเรือนไม่มีสิ้นสุด  ที่สุดของการงานไม่มีปรากฏ  จ
พี่อยู่ครองเรือนส่วนตนออกบวช ฯ
มี     พระเจ้าภัททิยะ          อานันทะ     ภัคคุ        กิมพิละ        เทวทัต      และ   อุบา

                        พระสาวกผู้กล่าวว่า โลกคือหมู่สัตว์อันชราเป็นผู้น ำ ๆ เข้าไปใก ดังนี้ คือใคร ? กล่าวแก่ใคร ? ได้รับเอตทัคคะในทางใด ?

                        คือ พระรัฐบาล ฯ แก่พระเจ้าโกรัพยะ ฯ ในทางเป็นยอดของภิกษุผู้บวชด้วยศรัทธา ฯ


                        นิมิตโอภาสที่พระศาสดาทรงแสดงแก่พระอานนท์ก่อนทรงปลงอายุสัง มีใจความว่าอย่างไร ? ทรงแสดงเพื่ออะไร ?

                        มีใจความว่า อิทธิบาททั้ง ๔ ประการ ท่านผู้ใดผู้หนึ่ง ได้เจริ สามารถจะด ำรงอยู่ได้กัป ๑ หรือเกินกว่านั้น อิทธิบาททั้ พระตถาคตได้เจริญแล้ว ถ้าทรงปรารถนา ก็จะดรงอยู่ได้กัป ำ ๑ หรือ เกินกว่านั้น ฯ เพื่อให้พระอานนท์กราบทูลอาราธนาให้ทรงด ำรงอยู่ชั่วอายุกัป เกินกว่านั้น ฯ


๑๐.   อายุสังขาราธิษฐานกับการปลงอายุสังขาร หมายถึงอะไร ? พระพุทธ ทรงกระท ำที่ไหน ?

๑๐. อายุสังขาราธิษฐาน หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระหฤทัยว่า
พระชนม์อยู่แสดงธรรมสั่งสอนมหาชน             จนกว่าพุทธบริษัทจะตั้งมั
ได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลายมั่นคงสำเร็จประโยชน์แก่มหาชน  ฯ
ที่อชปาลนิโครธ        ใกล้สถานที่ตรัสรู้ ฯ
การปลงอายุสังขาร        หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงก ำหนดวันปริน
นับแต่วันเพ็ญเดือน ๓ ไปอีก ๓ เดือน ฯ
ที่ปาวาลเจดีย์            เมืองไพศาลี ฯ

*********

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2555

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2555

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

๑.      ศากยวงศ์สืบเชื้อสายมาจากใคร? ที่ได้นามว่า ศากยะ เพราะเหตุไร?

ตอบ สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากราช ฯ

เพราะเหตุ ๒ ประการ คือ

๑. เพราะได้ชื่อตามชนบทที่ตั้งเมือง

๒. เพราะมีความกล้าหาญ สามารถตั้งเมืองได้เอง ฯ

๒.     พระวาจาที่พระมหาบุรุษทรงเปล่งครั้งแรก เรียกว่าอะไร? ความว่าอย่างไร?

ตอบ อาสภิวาจา ฯ

ความว่า “เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก (อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส)       เราเป็นผู้เจริญแห่งโลก (เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส) เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก (เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส)   ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย (อยมนฺติมา ชาติ) บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี (นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว)” ฯ

๓.     การที่พระพุทธองค์ทรงเลิกการทรมานพระวรกายแล้ว กลับมาเสวยพระกระยาหาร เพราะทรงพิจารณาเห็นอย่างไร?

ตอบ เพราะทรงพิจารณาเห็นว่า คนที่ไม่บริโภคอาหารจนร่างกายหมดกำลัง ไม่สามารถบำเพ็ญเพียรทางจิตได้ ฯ

๔.     เมื่อพระเบญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาแล้ว พระบรมศาสดาทรงพิจารณาเห็นอย่างไรจึงทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรโปรดพระเบญจวัคคีย์?

ตอบ ทรงพิจารณาเห็นว่า พระเบญจวัคคีย์ตั้งอยู่ในที่แห่งสาวก มีอินทรีย์คือศรัทธาเป็นต้น แก่กล้า ควรเจริญวิปัสสนาเพื่อวิมุติได้แล้ว จึงทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรโปรดพระเบญจวัคคีย์ ฯ

๕.     พระอัสสชิเถระแสดงธรรมโดยย่อแก่อุปติสสปริพาชก ความว่าอย่างไร? และได้ผลอย่างไร?

ตอบ มีความว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุของธรรมนั้นและความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้ ฯ อุปติสสปริพาชกได้ฟังแล้ว ได้ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม ฯ

๖.      การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา พระสาวกผู้เป็นอุปัชฌายะ และเป็นสัทธิวิหาริกรูปแรก คือใคร?

ตอบ    พระสารีบุตร เป็นอุปัชฌายะรูปแรก ฯ

พระราธะ เป็นสัทธิวิหาริกรูปแรก ฯ

๗.     ข้อความว่า “วรรณะใดประพฤติกุศลกรรมบถ วรรณะนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์” ดังนี้ ใครกล่าว และกล่าวแก่ใคร?

ตอบ พระมหากัจจายนะ กล่าว ฯ กล่าวแก่พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ฯ

๘.     ปัญหาว่า “โลกคือหมู่สัตว์ อันอะไรปิดบังไว้ จึงหลงดุจอยู่ในที่มืด” ดังนี้ ใครเป็นผู้ถาม? ได้รับคำพยากรณ์ว่าอย่างไร?

ตอบ อชิตมาณพเป็นผู้ถาม ฯ ได้รับการพยากรณ์ว่า โลกคือหมู่สัตว์ อันอวิชชาคือความไม่รู้แจ้งปิดบังไว้จึงหลงดุจอยู่ในที่มืด ฯ

๙.     พระสาวกสาวิกาต่อไปนี้ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางใด?

๑. พระมหาโมคคัลลานะ                    ๒. พระมหากัสสปะ

๓. พระอุบาลี                                 ๔. พระนางมหาปชาบดีโคตมี

๕. พระนางเขมา

ตอบ    ๑. พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้เลิศในทางมีฤทธิ์

๒. พระมหากัสสปะ เป็นผู้เลิศในทางถือธุดงค์

๓. พระอุบาลี เป็นผู้เลิศในทางทรงพระวินัย

๔. พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นผู้เลิศในทางผู้รัตตัญญู

๕. พระนางเขมา เป็นผู้เลิศในทางมีปัญญา ฯ



๑๐. พุทธเจดีย์มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง? พระพุทธรูป สงเคราะห์เข้าในเจดีย์ประเภทใด?

ตอบ มี ๔ ประเภท ฯ คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุทเทสิกเจดีย์ ฯ

สงเคราะห์เข้าในอุทเทสิกเจดีย์ ฯ

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2556


 



ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖



  พระโพธิสัตว์เมื่อจะจุติลงสู่พระครรภ์พระมารดา เสด็จมาจากไหน ? เฉลย เสด็จมาจากดุสิตพิภพฯ

  บุคคลผู้เป็นสหชาติของพระศาสดา ที่บรรลุพระอรหัตก่อนและหล ปรินิพพานมีใครบ้าง ?

เฉลย ผู้บรรลุพระอรหัตก่อนพุทธปรินิมีพพานระางพิมพาเถรีและพระกาฬุ
ทายิเถระ ฯ

ผู้บรรลุพระอรหัตหลังพุทธปรินิพพานมีพระอานนทเถระ และ
พระฉันนเถระ ฯ

  พระมหาบุรุษทรงด ำเนินด้วยพระบาท ๗ ก้าว หลังจากประสูติใหม เรื่องนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงถอดความว อย่างไร ?


เฉลย ทรงถอดความว่า น่าจะได้แก่ทรงแผ่พระศาสนาได้แพร่หลายใน ๗ ชนบ (ได้แก่๑.กาสีกับโกสละ๒.มคธะกับอังคะ๓.สักกะ ๔.วัชชี๕.มัลละ ๖.วังสะ ๗.กุรุ)ฯ

  ปฐมสาวกกับปัจฉิมสาวกคือใคร ? ได้ฟังพระธรรมเทศนาครั้งแรกว่าด้วย อะไร ?


เฉลย ปฐมสาวก คือพระอัญญาโกณฑัญญะฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยที่สุด
๒ อย่าง และมัชฌิมาปฏิปทาฯ

ปัจฉิมสาวกคือสุภัททปริพาชกฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยพระอริยบุคคล
ทั้ง๔ ประเภท มีอยู่เฉพาะในธรรมวินัยที่มีมรรคมีองค์๘ฯ

  พระอานนท์ได้รับเลือกให้เป็นพุทธอุปัฏฐากในเวลาก่อนหรือหลังบร พระโสดาบัน ? ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางใดบ้าง ?

เฉลย หลังบรรลุเป็นพระโสดาบันฯ ในทางเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นพห มีคติมีสติมีธิติและเป็นอุปัฏฐากฯ

  การอุปสมบทส ำหรับพระภิกษุในครั้งพุทธกาล มีทั้งหมดกี่วิธี ? ในปัจจุบันใช้วิธีใด ?


เฉลย  มี ๓ วิธีฯ คือ

  เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๒. ติสรณคมนูปสัมปทา

๓. ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทาฯ ใช้ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทาฯ


  ในพุทธกิจจกถา พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ด้วยทร มุ่งประโยชน์อะไร ?

เฉลย  ทรงมุ่งประโยชน์ทั้ง๓คือ

 ทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์คือประโยชน์ที่จะพึงได้ในปัจจุบัน ๒. สัมปรายิกัตถประโยชน์คือประโยชน์ที่จะพึงได้ในภายหน้า ๓. ปรมัตถประโยชน์คือประโยชน์อย่างยิ่งได้แก่วิมุตติ

ความหลุดพ้นพิเศษฯ

 พระพุทธองค์ทรงเลือกเมืองกุสินาาเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพา ด้วยเหตุผลอันใด ?

เฉลย  ด้วยเหตุผลคือ

 จะเป็นเหตุเกิดแห่งมหาสุทัสสนสูตร
๒. จะได้โปรดสุภัททปริพาชกผู้เป็นพุทธเวไนย
 จะได้ป้องกันการรบกันครั้งใหญ่เพื่อแย่งชิงพระบรมสารีริกธาฯ

 พระเถระรูปใดได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะ ดังต่อไปนี

 ทรงทิพจักษุญาณ ข. ยังตระกูลให้เลื่อมใส ค. เป็นธรรมกถึก

ฆ. ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง. ผู้เป็นขิปปาภิญญาตรัสรู้เร็ว ฯ

เฉลย ก. พระอนุรุทธเถระ
ข. พระกาฬุทายีเถระ

 พระปุณณมันตานีบุตร ฆ. พระโมฆราชเถระ ง. พระพาหิยทารุจีริยะฯ


๑๐. พระมหากัสสปเถระชักชวนภิกษุทั้งหลายให้ท ำสังคยนาครั้งแรก เพราะปรารภ เหตุอะไร ?

เฉลย เพราะปรารภเหตุ ๒ ประการ คือ

 ระลึกถึงค ำของสุภัททวุฑฒบรรพชิตกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย ๒. ระลึกถึงอุปการคุณของพระผู้มีพระภาคที่มีอยู่แก่ตนฯ

*********