แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิธีการแต่งกระทู้ธรรม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิธีการแต่งกระทู้ธรรม แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิธีการแต่งกระทู้ธรรม

วิธีการแต่งกระทู้ธรรม
มีการแต่งกระทู้ธรรมอยู่ ๒ แบบ คือ
            ๑. แบบตั้งวง คืออธิบายความหมายของธรรมข้อนั้น ๆ เสียก่อนแล้วจึงขยายความออกไป
            ๒.แบบตีวง คือบรรยายเนื้อความไปก่อนแล้ว จึงวกเข้าหาความหมายของกระทู้ธรรมนั้น ส่วนมากผู้แต่งกระทู้ธรรม มักจะนิยมแต่งแบบที่๑ คือ แบบตั้งวง อธิบายความหมายภาษิตนั้นก่อนแล้วจึงขยายความให้ชัดเจนต่อไป.
ภาษาในการใช้
            ๑. ใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้อง  มีประธาน มีกริยา มีกรรม
            ๒. ไม่ใช้ภาษาตลาด ภาษาแสลง
            ๓. ไม่ใช้ภาษาพื้นเมือง หรือภาษาท้องถิ่น
            ๓. ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
สำนวนในการพรรณนา
            ใช้สำนวนแบบเทศนาโวหาร มีหลักการเขียน ดังนี้
            ๑. ข้อความที่เขียนนั้นจะต้องมีเหตุผลใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้
            ๒. มีอุทาหรณ์และหลักคติธรรม
            ๓. ผู้เขียนจะต้องแสดงให้เห็นว่า ตนมีลักษณะและคุณสมบัติพอเป็นที่เชื่อถือได้
หมายเหตุ : โวหารมี ๔ คือ
๑. พรรณนาโวหาร  ได้แก่ การพรรณนาความ คือ เล่าเรื่องที่ได้เห็นมาแล้วด้วยความมุ่งหวังให้ไพเราะ  เพลิดเพลินบันเทิง
๒. บรรยายโวหาร  ได้แก่  การอธิบายข้อความที่ย่อซึ่งยังเคลือบแคลงอยู่ให้แจ่มแจ้งหรือพิสดาร
๓. เทศนาโวหาร  ได้แก่  การแต่งทำนองการสอน คือ ชี้แจงหลักธรรมนั้น
๔. สาธกโวหาร  ได้แก่ การบรรยายข้อเปรียบเทียบ คือ  นำข้ออุปมาอุปไมยมาเทียบเคียง
หลักย่อ ๆ ที่ควรจำ เป็นเกณฑ์อธิบายในการแต่งกระทู้
            ๑. วิเคราะห์ศัพท์  คือ  การแสดงความหมายของกระทู้ตั้งแล้ววางเค้าโครงที่จะแต่งต่อไป
            ๒. ขยายความ  คือ  การอธิบายให้กว้างออกไปตามแนวกระทู้ตามเหตุและผล
            ๓. เปรียบเทียบ  คือ  ยกข้อความที่ตรงข้ามกันมาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นได้ชัดในสิ่งที่พูดไป
            ๔. ยกสุภาษิตรับ  คือ การนำกระทู้สุภาษิตมารับมาอ้าง
            ๕. ยกตัวอย่าง  คือ  ยกตัวอย่างธรรมะ หรือบุคคล สถานที่มาเป็นตัวอย่าง
            ๖. สรุปความ  คือ  ย่อความที่กล่าวมาแล้วนั้นให้เข้าใจง่าย ก่อนที่จะจบกระทู้