วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563

กำหนดการสอบนักธรรมสำหรับพระภิกษุ-สามเณร ประจำปี 2563

กำหนดการสอบนักธรรมสำหรับพระภิกษุ-สามเณร ประจำปี 2563
กำหนดการสอบนักธรรมสำหรับพระภิกษุ-สามเณร
กำหนดการสอบนักธรรมสำหรับพระภิกษุ-สามเณร

กำหนดการสอบธรรมศึกษา 2563

กำหนดการสอบธรรมศึกษา สำหรับฆราวาส นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ปี 2563
กำหนดการสอบธรรมศึกษา 2563
กำหนดการสอบธรรมศึกษา 2563

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

เรียนและสอบธรรมศึกษา เพื่ออะไร?


เรียนและสอบธรรมศึกษา เพื่ออะไร?
..คำถามนี้ เจอบ่อยๆ
...ธรรมศึกษา เป็นหลักสูตรที่มีสำหรับ นักเรียน นักศึกษา ฆราวาสทั่วไป มี 3 ระดับคือ ธรรมศึกษาชั้น ตรี โท เอก ความยากง่ายก็ว่ากันไปตามระดับของชั้นที่เรียน เมื่อเรียนแล้วก็มีการสอบวัดความรู้ เหมือนกับที่เรียนในวิชาปกติ เมื่อถามว่าเรียนแล้วเอาไปใช้ประโยชน์อะไรก็ต้องถามว่า..
ผมจะเรียนบัญชี...........เรียนตรีโกณมิติ เพื่อ ?
ผมจะเรียนดนตรี...........เรียนเรขาคณิต เพื่อ ?
ผมจะเรียนหมอ.............เรียนวิชาดนตรี เพื่อ ?
..ในแต่ละสาขา ที่เรียนมักเกิดคำถามเหล่านี้เสมอว่า ทำไมต้องเรียนวิชานั้น วิชานี้ เพราะดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เลือกเรียน ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ทุกวิชาที่ให้เรียนล้วนเกี่ยวข้องเหมือนลูกโซ่ที่เกี่ยวร้อยกันไปเป็นทอดๆ
...วิชา ธรรม เป็นวิชาที่จะสอนให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงหลักธรรม ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่มากก็น้อยตามความสนใจ เข้าใจของผู้เรียนและศึกษานั่นเอง การประกอบอาชีพอะไรก็ตาม หากไร้ซึ่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัย ใจก็จะขาดที่พึ่ง ในคราวที่พบเจอปัญหา หากใครมีสติมากกว่า ก็สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีกว่า
การเป็นผู้รอบรู้ในทุกวิชา ย่อมได้ประโยชน์กว่ารู้แค่อย่างเดียว
....ผู้ศึกษาธรรม ย่อมรู้ประโยชน์ของธรรม ยกเว้นเสียแต่ ไม่เรียน แต่รอลอกเพื่อน อันนั้น ก็ช่วยไม่ได้ อธิบายไม่ถูกจริงๆ
.....ปทีโป
ที่มา FB: นักธรรมและธรรมศึกษา 22 พ.ค.

กำหนดวันสอบนักธรรมและธรรมศึกษา2563

กำหนดวันสอบนักธรรมและธรรมศึกษา2563

กำหนดวันสอบนักธรรมและธรรมศึกษา2563

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563

กล้าที่จะถูกเกลียด

กล้าที่จะถูกเกลียด


กล้าที่จะถูกเกลียด

...ความทุกข์ที่เกิดจากตัวเราล้วนๆ ไม่มีอยู่จริง “ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตัวเราล้วนเกี่ยวพันกับคนอื่นเสมอ” โดยส่วนใหญ่มักมาจากการที่เรากลัวที่จะไม่ได้รับการยอมรับ หรือกลัวที่จะถูกเกลียด ทำให้เราเกิดความกดดันในจิตใจ ขาดอิสรภาพในการใช้ชีวิต
...ยกตัวอย่างเช่น เรามีความทุกข์เมื่อเรารู้สึกต่ำต้อยกว่าคนอื่น เช่น เรื่องความสามารถในทำงาน ฐานะทางสังคม หรือบุคลิกลักษณะ สิ่งเหล่านี้เกิดจากการที่เราเอาตัวเราไปเปรียบเทียบกับคนที่เรารู้สึกว่าเขาเหนือกว่าเรา นี้คือผลพวงที่เกิดจากความสัมพันธ์กับคนอื่น
..เมื่อความสัมพันธ์กับผู้อื่นทำให้คุณเกิดความทุกข์ สิ่งที่คุณจะต้องทำคือ กล้าที่จะถูกเกลียด คุณอยากมี “อิสรภาพ” ใช่ไหม?? แต่ตราบใดที่คุณยังไม่เลิกสนใจคำวิพากษ์วิจารณ์ คุณยังกลัวที่จะถูกเกลียด คุณยังต้องการให้คนอื่นยอมรับในตัวคุณ ถ้าขืนยังเป็นอยู่แบบนี้คุณก็ไม่สามารถใช้ชีวิตตามแบบที่ตัวเองปรารถนาได้
...สิ่งหนึ่งที่อิสรภาพมีไม่แตกต่างจากทุก ๆ สิ่งบนโลกใบนี้ คือ อิสรภาพเป็นสิ่งที่มีราคา ถ้าคุณอยากได้อิสรภาพ คุณต้องยอมแลกด้วยอะไรบ้างอย่าง เช่น “การถูกคนอื่นเกลียด” เมื่อใดที่เราถูกใครสักคนเกลียด เมื่อนั้นแสดงว่าเราได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระตามเส้นทางของตัวเองแล้ว...( จากหนังสือ กล้าที่จะถูกเกลียด ของ อัลเฟรด แอดเลอร์ )

Cr FB :Adirek Arthitchaphalo

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จบบาลีศึกษา 9 ประโยคเป็นผลสำเร็จด้วยอายุ 25 ปี สุกัญญา เจริญวีรกุล





สุกัญญา เจริญวีรกุล เป็นผู้ศึกษาภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์พระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก ๆ ทั้งบาลี สันสกฤต และทิเบต ด้วยจุดมุ่งหวังที่จะเป็นนักแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนา
.
จนสามารถเรียนจบบาลีศึกษา 9 ประโยคเป็นผลสำเร็จได้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2563) ขณะมีอายุได้ 25 ปี รวมเวลา เรียนแผนกบาลีทั้งหมด 10 ปี 3 เดือน
.
ปัจจุบันศึกษาในระดับปริญญาเอกด้านภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสน์ศึกษาของสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังรับงานพิสูจน์อักษรทั้งบทความ วิทยานิพนธ์ และงานอื่น ๆ รวมทั้งงานล่าม และงานแปลภาษา


คิดจะสึกใหม?


คิดจะสึกใหม?

...เชื่อว่าพระแทบจะทุกรูปมักจะพบกับคำถามนี้ แต่คำตอบนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการศึกษาในพระพุทธศาสนาที่แต่ละรูปได้รับ ผนวกกับความเข้าใจ ความลึกซึ้ง และฐานที่ใช้คิดว่า ใช้อารมณ์หรือเหตุผลในการตอบ
...แต่เมื่อประมวลคำตอบของพระหลาย ๆ รูปที่เคยเล่าสู่กันฟังซึ่งคำตอบก็คล้าย ๆ กัน คือ " ไม่แน่นอน " หรือ " ไม่มีใครรู้อนาคตได้" ที่ตอบว่า " สึก" และ "ไม่สึก" มีส่วนน้อย
...สำหรับรูปที่ตอบว่า "สึก" ส่วนใหญ่มักจะเป็นพระที่ท่านบวชตามประเพณี บวชแก้บน หรือลางานมาบวช ฯลฯ ทำนองเดียวกัน เหตุผลก็ตามนั้นเลย คือ ลางานมาได้ 15 วัน, พ่อแม่อยากให้บวชก่อนแต่งงาน หรือ บนบานเอาไว้
...รูปที่ตอบว่า "ไม่สึก" ส่วนใหญ่มักจะเป็นพระที่มีอายุมากแล้ว อาจจะบวชมานานหรือพึ่งบวชก็ได้ มักจะตอบเหมือน ๆ กันทำนองนี้ ส่วนเหตุผลของท่านก็มีหลาย ๆ แบบแตกต่างกันไปไม่เหมือนกันเสียทีเดียว​เช่น​ แก่แล้ว​ อยากหาที่สงบปฏิบัติ​ หากเป็นพระนักศึกษาก็มักบอกว่า "ไม่สึกเพราะยังเรียนไม่จบ" ซึ่งอาจเป็นบาลี หรือ ปริญญา ก็สุดแท้แต่ (ซึ่งคำตอบนี้ หมายถึง เรียนจบค่อยสึก)
...เราจะพิจารณาเรื่องนี้กันทำไม? เพราะว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับความยั่งยืนของพระพุทธศาสนาในระยะยาว มีคณะสงฆ์บางแห่ง บางประเทศ มีกฎของท่านว่า บวชแล้วห้ามสึก ถ้าหากฝ่าฝืนก็จะมีโทษในทางกฎหมาย หรือในทางสังคม อาทิ ศรีลังกา ธิเบต และที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง (แต่คณะสงฆ์ไทยไม่มีกฏนี้) ที่ท่านกำหนดเช่นนั้นก็อาจเพราะเห็นว่า " การที่บุคคลจะบวชเข้ามาในพระศาสนาเป็นพระภิกษุ สามเณร ได้นั้นควรจะต้องมีศรัทธา (ภักติ) นำ มีความรู้ความเข้าใจในอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนามาแล้วเป็นอย่างดี จนตัดสินใจปลงผม โกนหนวดออกบวชในพระศาสนา ผู้คนก็เคารพกราบไหว้บูชา และถวายจตุปัจจัยบำรุงเลี้ยงท่านเป็นอย่างดี จู่ ๆ ท่านจะมาบอกว่า " พอแล้ว "และ สิกขาลาเพศไปเฉย ๆ เหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นกระนั้นหรือ (การตีความของผู้เขียนส่วนตัว)
...และอีกกรณีตรงกันข้ามท่านที่ไม่สึก ไม่สึกนี้ก็ไม่แน่ว่าจะเข้าใจอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา ที่บวชเข้ามาเพื่อสิกขา(หรือศึกษา) มุ่งพัฒนาความรู้จากระดับที่ไม่รู้ ไปสู่ความเป็นผู้รู้ บางรูปก็อยู่ไปวัน ๆ ไม่คิดที่จะเรียนรู้ศึกษาอะไร ทำนองว่า ใช้ชีวิตให้หมดไป เดี๋ยวก็ตายแล้ว ถ้าอย่างนี้การไม่สึกของท่านอาจต้องมีการปรับปรุงให้ตรงทิศทางสักหน่อย
ไม่สึกเพราะเป็นห่วงลาภสักการะ ไม่สึกเพราะแก่แล้วไม่มีทางไป หรือ ไม่สึกเพราะศรัทธาแน่นแฟ้นในพระศาสนา ต้องการทำงานรับใช้พระพุทธศาสนา และสุดท้าย คือ " ไม่สึกเพราะเกิดรู้แจ้งในภายใน อาสวะเบาบาง หรือหมดสิ้นไป "
...จะเห็นว่ามันมีหลายระดับสุดแต่ว่า แต่ละรูปท่านจะปรับปรุงไปทางไหน ท่านปรับอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้น.
ขอบคุณบทความจาก FB Adirek Arthitchaphalo