แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอกย้อนหลัง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอกย้อนหลัง แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2543



ปัญหาและเฉลยธรรม  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓

วันพฤหัสบดี ที่  ๑๖  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓

------------------------------

๑.

๑.๑

คำว่าโลก ในพระบาลีว่า “เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ ฯปฯ”   หมายถึงอะไร ?


๑.๒

พระบรมศาสดาทรงชักชวนให้มาดูโลกนี้โดยมีพระประสงค์อย่างไร ?

๑.

๑.๑

คำว่า โลก โดยตรงหมายถึงแผ่นดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย  โดยอ้อมหมายถึง      หมู่สัตว์ผู้อยู่อาศัย


๑.๒

ทรงมีพระประสงค์ให้พิจารณาดูให้รู้จักของจริง เพราะในโลกที่กล่าวนี้ย่อมมีพร้อมมูลบริบูรณ์ด้วยสิ่งที่มีคุณและโทษ พระบรมศาสดาทรง    ชักชวนให้มาดูโลก เพื่อให้รู้จักสิ่งที่เป็นจริง จักได้ละสิ่งที่เป็นโทษไม่ข้องติดอยู่ในสิ่งที่เป็นคุณ

๒.

๒.๑

บุคคลเช่นไรชื่อว่าหมกอยู่ในโลก ?


๒.๒

ผู้หมกอยู่ในโลกได้รับผลอย่างไร ?

๒.

๒.๑

บุคคลผู้ไร้พิจารณา ไม่หยั่งเห็นโดยถ่องแท้ ย่อมเพลิดเพลินในสิ่งอัน    ให้โทษ  ย่อมระเริงจนเกินพอดีในสิ่งอันอาจให้โทษ ย่อมติดในสิ่งอันเป็นอุปการะ  ชื่อว่าหมกอยู่ในโลก


๒.๒

ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อันสิ่งนั้น ๆ พึงอำนวย แม้สุขก็เป็นเพียง     สามิส คือ มีเหยื่อเจือด้วยของล่อใจ เป็นเหตุแห่งความติด ดุจเหยื่อคือมังสะอันเบ็ดเกี่ยวไว้

๓.

๓.๑

นิพพิทาคืออะไร ?


๓.๒

ปฏิปทาเครื่องดำเนินให้ถึงนิพพิทานั้นอย่างไร ?

๓.

๓.๑

นิพพิทา คือความหน่ายในทุกข์


๓.๒

อย่างนี้คือ พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง     เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ย่อมเกิดนิพพิทา เบื่อหน่ายใน ทุกขขันธ์ ไม่เพลิดเพลินยึดมั่นหมกมุ่นอยู่ในสังขารอันยั่วยวนเสน่หา

๔.

๔.๑

สังขาร ในอธิบายแห่งปฏิปทาของนิพพิทานั้น ได้แก่อะไร ?


๔.๒

จะพึงกำหนดรู้สังขารนั้นโดยความเป็นอนัตตาด้วยอาการอย่างไร ?


๔.

๔.๑

ได้แก่ สภาพอันธรรมดาแต่งขึ้น โดยตรงได้แก่เบญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันธรรมดาคุมกันเข้าเป็นกายกับใจ


๔.๒

ด้วยอาการอย่างนี้ คือ

     ๑) ด้วยไม่อยู่ในอำนาจ หรือด้วยฝืนความปรารถนา

     ๒) ด้วยแย้งต่ออัตตา

     ๓) ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้

     ๔) ด้วยความเป็นสภาพสูญ คือว่าง หรือหายไป

     ๕) ด้วยความเป็นสภาวธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัย

๕.

๕.๑

วิปากทุกข์ได้แก่ทุกข์อย่างไร ?


๕.๒

อิฏฐารมณ์ จัดเป็นทุกข์ด้วยหรือไม่ ?  ถ้าจัดได้ จัดเข้าในทุกข์หมวดไหน ?

๕.

๕.๑

ได้แก่ วิปฏิสารคือความร้อนใจ การเสวยกรรมกรณ์คือถูกลงอาชญา

ความฉิบหาย ความตกยาก และความตกอบาย


๕.๒

อิฏฐารมณ์ จัดเป็นทุกข์ด้วยเหมือนกัน จัดเข้าในหมวดสหคตทุกข์ ทุกข์ไปด้วยกัน

๖.

๖.๑

สมถภาวนา เป็นอุบายสงบระงับจิตอย่างไร ?


๖.๒

คนที่มีจิตมักลืมหลง สติไม่มั่นคง ควรเจริญกัมมัฏฐานบทใด ?

๖.

๖.๑

สมถภาวนา เป็นอุบายเครื่องสำรวมปิดกั้นนีวรณูปกิเลส มิให้เกิด    ครอบงำ  จิตสันดานได้ ดังบุคคลปิดทำนบกั้นน้ำไว้มิให้ไหลไปได้ฉะนั้น และเป็นอุบายข่มขี่สะกดจิตไว้มิให้ดิ้นรนฟุ้งซ่านได้ ดังนายสารถีฝึกม้าให้เรียบร้อย ควรเป็นราชพาหนะได้ฉะนั้น


๖.๒

ควรเจริญอานาปานัสสติ  เพราะอานาปานัสสติกัมมัฏฐานนี้เป็นที่สบายของคนที่เป็นโมหจริต

๗.

๗.๑

สันติแปลว่าอะไร ?  มีปฏิปทาที่จะดำเนินอย่างไร ?


๗.๒

สันติเป็นโลกิยะ หรือโลกุตตระ ?

๗.

๗.๑

สันติ แปลว่า ความสงบ มีปฏิปทาที่จะดำเนินคือ ปฏิบัติสงบกาย    วาจา ใจ จากโทษเวรภัย ละโลกามิส คือเบญจพิธกามคุณ ๕ มีสันติเป็นวิหารธรรม


๗.๒

สันติเป็นได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ

๘.

๘.๑

ผู้จะเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐานพึงกำหนดอะไร ?


๘.๒

เพราะเหตุใด ตจปัญจกกัมมัฏฐาน ท่านจึงเรียกว่า มูลกัมมัฏฐาน ?

๘.

๘.๑

พึงกำหนดพิจารณากายเป็นที่ประชุมแห่งส่วนน่าเกลียดข้างบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นมา ข้างล่างตั้งแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ ให้เห็นว่าเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ


๘.๒

ที่เรียกว่ามูลกัมมัฏฐานนั้น เพราะเป็นกัมมัฏฐานเดิมที่กุลบุตรผู้มาบรรพชา ย่อมได้รับสอนกัมมัฏฐานนี้ไว้ก่อนจากพระอุปัชฌาย์ เหมือนดังได้รับมอบศัสตราวุธไว้สำหรับต่อสู้กับข้าศึก คือกามฉันท์ อันจะทำอันตรายแก่พรหมจรรย์

๙.

๙.๑

เจริญมรณัสสติอย่างไรจึงจะแยบคาย ?


๙.๒

อะไรเป็นลักษณะของวิปัสสนาภาวนา ?

๙.

๙.๑

เจริญพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ สติ ระลึกถึงความตาย ๑  ญาณ รู้ว่าความตายจักมีแก่ตน ๑  เกิดสังเวชสลดใจ ๑  เจริญอย่างนี้ จึงจะแยบคาย


๙.๒

ความกำหนดรู้ว่า สังขารเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา เป็นลักษณะของวิปัสสนาภาวนา

๑๐.

๑๐.๑

สมถะ กับ วิปัสสนา ให้ผลต่างกันอย่างไร ?


๑๐.๒

เมื่อจะเจริญกัมมัฏฐานพึงปฏิบัติอย่างไร ?

๑๐.

๑๐.๑

ให้ผลต่างกันดังนี้

สมถะ ให้ผลอย่างต่ำ ทำให้ระงับนิวรณ์บางอย่างได้ อย่างสูง ทำให้    เข้าถึงฌานต่าง ๆ ได้  ส่วนวิปัสสนา ให้ผลอย่างต่ำ ทำให้ได้ปัญญาเห็นสัจจธรรม อย่างสูงทำให้ได้บรรลุอริยผล พ้นจากสังสารทุกข์


๑๐.๒

พึงปฏิบัติอย่างนี้ ในชั้นต้นพึงศึกษาให้รู้ว่า กัมมัฏฐานชนิดไหนชั้นใด    ในกัมมัฏฐานนั้น ๆ มีความมุ่งหมายเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ในที่นี้ควรศึกษาให้รู้กัมมัฏฐาน ๒ อย่างคือ

      ๑) สมถกัมมัฏฐาน             

      ๒) วิปัสสนากัมมัฏฐาน

วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2544

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่  ๓  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๔๔

๑.

๑.๑

คำว่า มาร  และ บ่วงแห่งมาร  หมายถึงอะไร ?


๑.๒

บุคคลจะพ้นจากบ่วงแห่งมารด้วยวิธีอย่างไรบ้าง ?

๑.

๑.๑

คำว่า มาร หมายถึงกิเลสกาม คือเจตสิกอันเศร้าหมอง ได้แก่  ตัณหา  ราคะ และอรติ เป็นต้น                      

คำว่า บ่วงแห่งมาร หมายถึงวัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ


๑.๒

ด้วยวิธี  ๓  อย่างคือ

           ๑) สำรวมอินทรีย์    มิให้ความยินดีครอบงำในเมื่อเห็นรูป

               เป็นต้นอันน่าปรารถนา

           ๒) มนสิการกัมมัฏฐาน  อันเป็นปฏิปักษ์แก่กามฉันท์   คือ

               อสุภะและกายคตาสติหรือมรณัสสติ

           ๓) เจริญวิปัสสนา     คือพิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ 

               สันนิษฐานเห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

๒.

๒.๑

ทุกขตา ความเป็นทุกข์แห่งสังขารนั้นกำหนดเห็นด้วยทุกข์กี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?


๒.๒

ความทุกข์ที่เกิดจากการต้องดิ้นรนต่อสู้ในการทำมาหากิน จัดเป็นทุกข์ชนิดไหน ?

๒.

๒.๑

ด้วยทุกข์  ๑๐  อย่างคือ

           ๑) สภาวทุกข์

           ๒) ปกิณกทุกข์ 

           ๓) นิพัทธทุกข์

           ๔) พยาธิทุกข์  

           ๕) สันตาปทุกข์ 

           ๖) วิปากทุกข์

           ๗) สหคตทุกข์

           ๘) อาหารปริเยฏฐิทุกข์

           ๙) วิวาทมูลกทุกข์

        ๑๐) ทุกขขันธ์ 


๒.๒

จัดเป็นอาหารปริเยฏฐิทุกข์

๓.

๓.๑

การพิจารณาแลเห็นสังขารโดยไตรลักษณ์  จัดเป็นวิสุทธิอะไร ?


๓.๒

จงจัดวิสุทธิ ๗  ลงในไตรสิกขา ?

๓.

๓.๑

จัดเป็นทิฏฐิวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งความเห็น


๓.๒

           ๑) สีลวิสุทธิ  จัดเป็นศีล

           ๒) จิตตวิสุทธิ  จัดเป็นสมาธิ

           ๓) ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ   

              ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ จัดเป็นปัญญา

๔.

๔.๑

วัฏฏะในบาลีว่า วฏฺฏูปจฺเฉโท หมายถึงอะไร ? วัฏฏะนั้นจะขาดได้อย่างไร ?


๔.๒

บาลีแสดงปฏิปทาแห่งนิพพานว่า " สิญฺจ  ภิกฺขุ  อิมํ  นาวํ " ความว่า  " ภิกษุเธอจงวิดเรือนี้ "  คำว่า เรือ และ วิด ในบาลีนี้หมายถึงอะไร ?

๔.

๔.๑

วัฏฏะ หมายถึง  ความเวียนเกิดด้วยอำนาจกิเลส  กรรม  และวิบาก

วัฏฏะนั้นจะขาดได้ด้วยการละกิเลสอันเป็นเบื้องต้นเสีย


๔.๒

คำว่า เรือ หมายถึงอัตภาพร่างกาย

คำว่า วิด หมายถึงบรรเทากิเลส และบาปธรรมให้เบาบางจนขจัดได้ขาด

๕.

๕.๑

ในส่วนสังสารวัฏฏ์  สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็นอย่างไร ?


๕.๒

ในข้อ ๕.๑  นั้นมีอุทเทสบาลีแสดงไว้อย่างไร ?

๕.

๕.๑

สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็น  ๒  คือสุคติ  และทุคติ                 


๕.๒

มีอุทเทสบาลีแสดงว่า

           จิตฺเต  สงฺกิลิฏฺเฐ  ทุคฺคติ  ปาฏิกงฺขา         

           เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว  ทุคติเป็นอันต้องหวัง

         จิตฺเต  อสงฺกิลิฏฺเฐ  สุคติ  ปาฏิกงฺขา          

          เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว  สุคติเป็นอันหวังได้

๖.

๖.๑

คนโทสจริต  มีอุปนิสัยเป็นอย่างไร ? จะแก้ด้วยการเจริญกัมมัฏฐานบทใด ?


๖.๒

การที่ท่านสอนให้เจริญเมตตาในตนก่อนแล้ว จึงแผ่ไปในชนอื่นนั้น

มีเหตุผลอย่างไร ?

๖.

๖.๑

คนที่มีจิตมักฉุนเฉียวโกรธเคืองง่าย ๆ สันดานหนักไปในโทสะ มักก่อทุกข์โทมนัสให้แก่ผู้อื่น จัดเป็นคนโทสจริต มีโทสะเป็นเครื่องประพฤติเป็นปกติของตัว

ควรเจริญกัมมัฏฐาน ๘ ประการ คือวัณณกสิณ ๔ กับพรหมวิหาร ๔


๖.๒

มีเหตุผลดังนี้ คือจะได้ทำตนให้เป็นพยานว่า ตนนี้อยากได้แต่ความสุข  เกลียดชังทุกข์ และภัยต่าง ๆ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายอื่น ๆ ก็อยากได้สุข  เกลียดชังทุกข์และภัยต่าง ๆ ฉันนั้น เมื่อเห็นดังนี้แล้ว จิตก็ปรารถนาให้สัตว์ทั้งสิ้นอื่น ๆ มีความสุขความเจริญ                     

๗.

๗.๑

วิปัลลาสคืออะไร ?  จำแนกโดยวัตถุเป็นที่ตั้งมีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?


๗.๒

จะถอนวิปัลลาสนั้นได้เพราะเจริญธรรมอะไร ?

๗.

๗.๑

คือ  กิริยาที่ถือเอาโดยอาการวิปริตผิดจากความจริง มี  ๔  อย่างคือ

           ๑) วิปัลลาสในของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง

           ๒) วิปัลลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข

           ๓) วิปัลลาสในของที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน

           ๔) วิปัลลาสในของที่ไม่งามว่างาม


๗.๒

วิปัลลาสในของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง  จะถอนได้ด้วยอนิจจสัญญา

วิปัลลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข  จะถอนได้ด้วยทุกขสัญญา

วิปัลลาสในของที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน  จะถอนได้ด้วยอนัตตสัญญา

วิปัลลาสในของที่ไม่งามว่างาม  จะถอนได้ด้วยอสุภสัญญา

๘.

๘.๑

ผู้เจริญสติปัฏฐานต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?


๘.๒

ผู้เจริญสติปัฏฐานสมบูรณ์เต็มที่แล้ว  จะได้รับอานิสงส์เช่นใด ?

๘.

๘.๑

มี         ๑) อาตาปี  มีความเพียรแผดเผากิเลส

           ๒) สมฺปชาโน  มีสัมปชัญญะ

          ๓) สติมา  มีสติ


๘.๒

ได้รับอานิสงส์ ๕ ประการดังนี้

           ๑) ได้ความบริสุทธิ์

          ๒) ได้ข้ามพ้นโสกะและปริเทวะ

           ๓) ได้ความดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส

           ๔) ได้บรรลุธรรมที่ถูก

           ๕) ได้ทำให้แจ้งพระนิพพาน

๙.

๙.๑

การพิจารณากองลมหายใจเข้าออก เพียงแต่รู้ว่าสั้นยาว ดังนี้ จัดเป็น

สติปัฏฐานข้อไหน ?


๙.๒

ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หัวข้อธรรมที่จะนำมาพิจารณานั้นมีอะไรบ้าง ?

๙.

๙.๑

จัดเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน


๙.๒

มี นิวรณ์ ๕  อุปาทานขันธ์ ๕  อายตนะ ๖  โพชฌงค์ ๗ และอริยสัจ ๔

๑๐.

๑๐.๑

อนิจจสัญญาในคิริมานนทสูตร  มีใจความว่าอย่างไร ?


๑๐.๒

การพิจารณาอาทีนวสัญญาโดยย่อ  ได้แก่พิจารณาอย่างไร ?

๑๐.

๑๐.๑

มีใจความว่า  " ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปในป่าก็ดี ไปที่โคนไม้ก็ดี ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา

สังขาร  วิญญาณ ไม่เที่ยง ย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ โดยความไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ทั้ง  ๕ "


๑๐.๒

พิจารณาอย่างนี้ว่า  " กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เหล่าอาพาธย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ "

วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2545

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันศุกร์ ที่  ๒๒  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

 ๑.    ๑.๑ อนิจจตา ทุกขตา  อนัตตตา  มีอะไรปิดบังไว้จึงไม่ปรากฏ ?

        ๑.๒ อนิจจตา กำหนดรู้ได้ด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?

 ๑.    ๑.๑ อนิจจตา ความที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ถูกสันตติปิดบังไว้จึงไม่ปรากฏ

             ทุกขตา   ความที่สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ถูกอิริยาบถปิดบังไว้ จึงไม่ปรากฏ

             อนัตตตา ความที่ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถูกฆนสัญญาปิดบังไว้ จึงไม่ปรากฏ ฯ

        ๑.๒ กำหนดรู้ได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง  คือ

                   ๑) ในทางง่าย  ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นไปในเบื้องปลาย

                   ๒) ในทางละเอียดกว่านั้น ย่อมกำหนดรู้ได้ด้วยความแปรในระหว่างเกิด

                       และดับ

                   ๓) ในทางอันเป็นอย่างสุขุม ย่อมกำหนดเห็นความแปรแห่งสังขารในชั่ว

                       ขณะหนึ่งๆ  คือไม่คงที่อยู่นาน  เพียงในระยะกาลนิดเดียวก็แปรแล้ว ฯ

 ๒.    ๒.๑ นิพพิทาญาณ หมายถึงอะไร ?

        ๒.๒ ปฏิปทาแห่งนิพพิทา เป็นเช่นไร ?

 ๒.    ๒.๑ หมายถึงปัญญาของผู้บำเพ็ญเพียรจนเกิดความหน่ายในสังขาร ฯ

        ๒.๒ การพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง

             เป็นอนัตตา แล้วเกิดนิพพิทา เบื่อหน่ายในทุกขขันธ์ ไม่เพลิดเพลินหมกมุ่นอยู่

             ในสังขารอันยั่วยวนเสน่หา นี้เป็นปฏิปทาแห่งนิพพิทา ฯ

 ๓.    ๓.๑ วิราคะเป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวง  คำว่า  "ธรรมทั้งปวง" หมายถึงอะไร ?

        ๓.๒ นิโรธ  ที่เป็นไวพจน์แห่ง วิราคะ หมายถึงอะไร ?

 ๓.    ๓.๑ หมายถึง สังขตธรรม  คือธรรมอันธรรมดาปรุงแต่ง  และอสังขตธรรม  คือ

             ธรรมอันธรรมดามิได้ปรุงแต่ง ฯ

        ๓.๒ หมายถึงความดับทุกข์  เนื่องมาจากดับตัณหา ฯ

 ๔.    ๔.๑ ตัณหาคืออะไร ? ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดที่ไหนและเมื่อดับย่อมดับที่ไหน ?

        ๔.๒ คำว่า  มทนิมฺมทโน  ธรรมยังความเมาให้สร่าง  หมายถึงความเมาในอะไร ?

 ๔.    ๔.๑ คือความอยาก ฯ เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดในสิ่งเป็นที่รักที่ยินดีในโลก เมื่อดับ

             ย่อมดับในสิ่งเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ฯ

        ๔.๒ หมายถึงความเมาในอารมณ์อันยั่วยวนให้เกิดความเมาทุกประการ เช่น

             สมบัติแห่งชาติ สกุล อิสริยะ บริวาร ก็ดี  ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ดี เยาว์วัย

             ความหาโรคมิได้ และชีวิต ก็ดี นับเข้าในอารมณ์ประเภทนี้ ฯ

 ๕.    ๕.๑ บาลีแสดงปฏิปทาแห่งสันติว่า โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข ความว่า ผู้เพ่ง

             ความสงบพึงละอามิสในโลกเสีย  คำว่า อามิสในโลก หมายถึงอะไร ?

        ๕.๒ ที่เรียกว่า อามิสในโลก เพราะเหตุไร ?

 ๕.    ๕.๑ หมายถึงปัญจพิธกามคุณ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา

             น่าใคร่น่าชอบใจ ฯ

        ๕.๒ เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดในโลก ดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวอยู่ ฯ

 ๖.    ๖.๑ จงแสดงพระพุทธคุณ ๙ โดยอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ พอได้ใจความ ?

        ๖.๒ ในพระพุทธคุณ ๙ ประการนั้น ส่วนไหนเป็นเหตุ ส่วนไหนเป็นผล ?

             เพราะเหตุไร ?

 ๖.    ๖.๑ พระพุทธคุณ ตั้งแต่ อรหํ  จนถึง  โลกวิทู  เป็นพระพุทธคุณส่วนอัตตสมบัติ 

             พระพุทธคุณ คือ  อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ

             เป็นพระพุทธคุณส่วนปรหิตปฏิบัติ  

             พระพุทธคุณ คือ พุทฺโธ ภควา เป็นพระพุทธคุณทั้งอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ ฯ

        ๖.๒ พระพุทธคุณ ส่วนอัตตสมบัติ เป็นเหตุ ส่วนปรหิตปฏิบัติ เป็นผล เพราะทรง

             บริบูรณ์ด้วยพระพุทธคุณส่วนอัตตสมบัติก่อนแล้วจึงทรงบำเพ็ญพุทธกิจให้

             สำเร็จประโยชน์แก่เวไนย ฯ

 ๗.    ๗.๑  ปัจจุบันนี้ การเจริญกัมมัฏฐาน เป็นที่นิยมของสาธุชน ขอทราบว่า กัมมัฏฐานนั้น

             มีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

        ๗.๒ ธรรมที่เป็นหัวใจของสมถกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง ?

 ๗.    ๗.๑ มี ๒ อย่าง คือ

                   ๑) สมถกัมมัฏฐาน      กัมมัฏฐานเป็นอุบายสงบใจ

                   ๒) วิปัสสนากัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา ฯ

        ๗.๒ มีกายคตาสติ เมตตา พุทธานุสสติ กสิณ และจตุธาตุววัตถาน ฯ

 ๘.    ๘.๑ กายคตาสติกัมมัฏฐาน กับ อสุภกัมมัฏฐาน  แตกต่างกันอย่างไร ?

        ๘.๒ กสิณ แปลว่าอะไร  และเป็นคู่ปรับแก่นิวรณ์ชนิดไหน ?

 ๘.    ๘.๑ กายคตาสติกัมมัฏฐาน พิจารณาร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ให้เห็นเป็นของ

             น่าเกลียด ส่วนอสุภกัมมัฏฐาน พิจารณาซากศพ ฯ

        ๘.๒ แปลว่า วัตถุอันจูงใจ คือจูงใจให้เข้าไปผูกอยู่  เป็นชื่อของกัมมัฏฐานแปลว่า

             มีวัตถุที่ชื่อว่ากสิณเป็นอารมณ์   เป็นคู่ปรับแก่อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ฯ

 ๙.    ๙.๑ การเจริญมรณสติอย่างไร จึงจะแยบคาย ?

        ๙.๒ ในนวสีวถิกาปัพพะ เมื่อภิกษุเห็นซากศพชนิดใดชนิดหนึ่งใน ๙ ชนิดนั้น ท่าน

             ให้ภาวนาอย่างไร ?

 ๙.    ๙.๑ เจริญพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ

                   ๑) มีสติ ระลึกถึงความตาย

                   ๒) มีญาณ รู้ว่าความตายจักมีเป็นแน่  ตัวจะต้องตายเป็นแท้

                   ๓) เกิดสังเวชสลดใจ

             เจริญอย่างนี้จึงจะแยบคาย ฯ

        ๙.๒ ท่านให้ภาวนาโดยการน้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า อยมฺปิ โข กาโย ถึงร่างกาย

             อันนี้เล่า เอวํ ธมฺโม ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา เอวํ ภาวี จักเป็นอย่างนี้

             เอวํ อนตีโต ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ฯ

๑๐. ๑๐.๑ อานาปานสติ ในคิริมานนทสูตร กับในมหาสติปัฏฐานสูตร ต่างกันอย่างไร ?

      ๑๐.๒ ผู้เจริญเมตตาเป็นประจำย่อมได้รับอานิสงส์ อย่างไรบ้าง ?

๑๐. ๑๐.๑ ในคิริมานนทสูตร  แสดงการกำหนดลมหายใจที่เป็นไปพร้อมในกาย เวทนา

             จิต และธรรม ส่วนในมหาสติปัฏฐานสูตร แสดงแต่เพียงกายานุปัสสนาเท่านั้น ฯ

      ๑๐.๒ ย่อมได้รับอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ

                   ๑) หลับอยู่ก็เป็นสุข                                                        

                   ๒) ตื่นอยู่ก็เป็นสุข

                   ๓) ไม่ฝันเห็นสิ่งลามก                                           

                   ๔) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

                   ๕) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย                        

                   ๖) เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา

                   ๗) ไฟไม่ไหม้ พิษหรือศัสตราวุธทั้งหลายประทุษร้ายไม่ได้

                   ๘) จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเร็ว                                      

                   ๙) ผิวพรรณผ่องใสงดงาม

                 ๑๐) ไม่หลงทำกาลกิริยา คือเมื่อจะตายย่อมได้สติ

                 ๑๑) เมื่อตายแล้วแม้เกิดอีกก็เกิดในสถานที่ดี เป็นที่เสวยสุข ถ้าไม่เสื่อม

                       จากฌาน ก็ไปเกิดในพรหมโลก ฯ

วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2546

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๖

 

๑.

บาลีแสดงปฏิปทาแห่งนิพพิทาว่า  เย  จิตฺตํ  สญฺญ เมสฺสนฺติ  โมกฺขนฺติ  มารพนฺธนา  ผู้ใดสำรวมจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร


๑.๑

คำว่า  “ บ่วงแห่งมาร ”  ได้แก่อะไร ?


๑.๒

อาการสำรวมจิต คืออย่างไร ?

๑.

๑.๑

ได้แก่วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ ฯ


๑.๒

อาการสำรวมจิตมี ๓ ประการ คือ

      ๑) สำรวมอินทรีย์มิให้ความยินดีครอบงำ ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง ดม

          กลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา

      ๒) มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันท์ คือ อสุภและ

          กายคตาสติ หรืออันยังจิตให้สลด คือมรณสติ

      ๓) เจริญวิปัสสนา คือพิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐาน

          เห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯ

๒.

๒.๑

นิพัทธทุกข์ หมายถึงทุกข์อย่างไร ?


๒.๒

ในทุกข์ ๑๐ อย่าง ความร้อนใจ หรือความถูกลงอาชญา จัดเป็นทุกข์เช่นไร ?

๒.

๒.๑

หมายถึง ทุกข์เนืองนิตย์ หรือทุกข์เป็นเจ้าเรือน ได้แก่ หนาว ร้อน หิว ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ฯ


๒.๒

จัดเป็นวิปากทุกข์ ฯ


๓.

๓.๑

ในวิมุตติ ๕ อย่างไหนเป็นโลกิยะ อย่างไหนเป็นโลกุตตระ ?


๓.๒

พระบาลีว่า  “ ปญฺญาย  ปริสุชฺฌติ   บุคคลย่อมหมดจดด้วยปัญญา ”  มีอธิบายอย่างไร ?

๓.

๓.๑

ตทังควิมุตติ  วิกขัมภนวิมุตติ  เป็นโลกิยะ

สมุจเฉทวิมุตติ  ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ  นิสสรณวิมุตติ  เป็นโลกุตตระ ฯ


๓.๒

มีอธิบายว่า บุคคลทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง

ความหมดจดและความเศร้าหมองเป็นของเฉพาะตน คนอื่นยังคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่ ฯ

๔.

เนื้อความในภารสูตรว่า  “ ปลงภาระอันหนักเสียแล้ว ไม่ถือเอาภาระอันอื่น ”  ถามว่า


๔.๑

คำว่า  “ ภาระอันหนัก ”  ได้แก่อะไร ?


๔.๒

การถือและการปลงภาระอันหนักนั้น หมายถึงอะไร ?

๔.

๔.๑

ได้แก่ ปัญจขันธ์ ฯ


๔.๒

การถือ หมายถึง การถือด้วยอุปาทาน การปลง หมายถึง การถอนอุปาทาน ฯ

๕.

๕.๑

คติ คือภูมิเป็นที่ไปของสัตว์ผู้ตายแล้ว เป็นอย่างไร ?


๕.๒

มีบาลีแสดงอุทเทสเกี่ยวกับคตินั้น ว่าอย่างไร ?

๕.

๕.๑

เป็น ๒ คือ ทุคติ ภูมิเป็นที่ไปข้างชั่ว ๑ สุคติ ภูมิเป็นที่ไปข้างดี ๑ ฯ


๕.๒

มีบาลีแสดงอุทเทสว่า ดังนี้

      ๑) จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา

          เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง 

      ๒) จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา

          เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฯ


๖.

๖.๑

พระบรมศาสดาทรงชักนำบุคคลให้บำเพ็ญสมาธิ เพราะทรงเห็นประโยชน์อย่างไร ?


๖.๒

พระพุทธจรรยาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการทรงแสดงธรรมเร้าใจนั้น ด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?

๖.

๖.๑

เพราะทรงเห็นว่า จิตใจของบุคคลเมื่อได้อบรมดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ดังพระบาลีว่า สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ ผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ตามเป็นจริง ฯ


๖.๒

ด้วยอาการ ๔ คือ

      ๑. สนฺทสฺสนา    อธิบายให้เห็นแจ่มแจ้ง ให้เข้าใจชัด

      ๒. สมาทปนา    ชวนให้มีแก่ใจสมาทาน คือทำตาม

      ๓. สมุตฺเตชนา   ชักนำให้เกิดอุตสาหะอาจหาญเพื่อจะทำ

      ๔. สมฺปหํสนา    พยุงให้ร่าเริงในอันทำ ฯ

๗.

๗.๑

บุคคลในโลกนี้ เมื่อจัดตามจริต มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?


๗.๒

นิวรณ์ ๕ อย่างไหนสงเคราะห์เข้าในจริตอะไร ?

๗.

๗.๑

มี ๖ ประเภท คือ

      คนราคจริต ๑

      คนโทสจริต ๑

      คนโมหจริต ๑

      คนสัทธาจริต ๑

      คนพุทธิจริต ๑

      คนวิตักกจริต ๑ ฯ




๗.๒

      กามฉันท์         สงเคราะห์เข้าในราคจริต 

      พยาบาท         สงเคราะห์เข้าในโทสจริต

      ถีนมิทธะ         สงเคราะห์เข้าในโมหจริต 

      อุทธัจจกุกกุจจะ สงเคราะห์เข้าในวิตักกจริต 

      วิจิกิจฉา          สงเคราะห์เข้าในโมหจริต ฯ

๘.

๘.๑

ปริยัติธรรม หมายถึงอะไร ?  ที่ได้ชื่ออย่างนั้นเพราะเหตุไร ?


๘.๒

ธรรมทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ มีคุณโดยย่ออย่างไร ?

๘.

๘.๑

หมายถึง พุทธวจนะทั้งสิ้น ฯ ที่ได้ชื่อว่าปริยัติธรรม   เพราะเป็นธรรมต้อง

เล่าเรียนศึกษาให้รู้รอบคอบด้วยดี ฯ


๘.๒

มีคุณโดยย่ออย่างนี้

      ปริยัติธรรม    มีคุณคือ ให้รู้วิธีบำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา

      ปฏิบัติธรรม    มีคุณคือ ทำกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์จนบรรลุ

                       มรรค ผล นิพพาน

      ปฏิเวธธรรม    คือ  มรรค ผล นิพพาน     มรรคผลนั้น   มีคุณคือ ละกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน   ส่วนนิพพาน  มีคุณคือ   ดับเพลิงกิเลสและกองทุกข์ได้ทั้งหมด ฯ

๙.

๙.๑

ความกำหนดรู้อย่างไร จัดเป็นลักษณะของวิปัสสนาภาวนา  ?


๙.๒

ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา พึงรู้ฐานะทั้ง ๖ ก่อน ฐานะทั้ง ๖ นั้น คืออะไรบ้าง ?

๙.

๙.๑

ความกำหนดรู้ว่า สังขารทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา เป็นลักษณะของวิปัสสนาภาวนา ฯ


๙.๒

ฐานะทั้ง ๖ คือ

      อนิจจะ           ของไม่เที่ยง ๑

      อนิจจลักษณะ   เครื่องหมายที่จะกำหนดรู้ว่าไม่เที่ยง ๑

      ทุกขะ            ของที่สัตว์ทนยาก ๑

      ทุกขลักษณะ     เครื่องหมายที่จะให้กำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ ๑

      อนัตตา           สภาวะมิใช่ตัวมิใช่ตน ๑

      อนัตตลักษณะ   เครื่องหมายที่จะให้กำหนดรู้ว่าเป็นอนัตตา ๑ ฯ

๑๐.

๑๐.๑

พระคิริมานนท์หายจากอาพาธหนัก เพราะฟังธรรมอะไร ? ใครเป็นผู้แสดง ?


๑๐.๒

ข้อว่า  “ สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจสญฺญา ความจำหมายความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ”  มีใจความว่าอย่างไร ?

๑๐.

๑๐.๑

เพราะฟังคิริมานนทสูตร ฯ พระอานนทเถระ เป็นผู้แสดง ฯ


๑๐.๒

มีใจความว่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง แต่สังขารทั้งปวง ฯ


วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2547

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๗


   ๑.  กิเลสกามและวัตถุกาม ได้แก่อะไร ?  อย่างไหนจัดเป็นมารและเป็นบ่วงแห่งมาร ? 

        เพราะเหตุไร ?

   ๑.  กิเลสกาม ได้แก่ เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้  กล่าวคือตัณหา

        ความทะยานอยาก  ราคะ ความกำหนัด  อรติ ความขึ้งเคียด เป็นต้น  จัดเป็นมาร

        เพราะเป็นโทษล้างผลาญคุณความดีและทำให้เสียคน ฯ

        วัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นของน่าชอบใจ จัดเป็นบ่วงแห่ง

        มาร เพราะเป็นอารมณ์ผูกใจให้ติดแห่งมาร ฯ

   ๒.  พระบรมศาสดาทรงแสดงอานิสงส์แห่งวิปัสสนาไว้ในอนัตตลักขณสูตรอย่างไร ?

   ๒.  ทรงแสดงไว้ว่า เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว สุตวา อริยสาวโก เป็นต้น  ความว่า ดูก่อนภิกษุ

        ทั้งหลาย  อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว  เมื่อเห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมฟอกจิต

        ให้หมดจด  เพราะการฟอกจิตให้หมดจดได้ จิตนั้นก็พ้นจากอาสวะทั้งปวง  เมื่อจิต

        พ้นพิเศษแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า พ้นแล้ว และเธอรู้ประจักษ์ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

        พรหมจรรย์คือกิจพระศาสนาได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก ฯ

   ๓.  ไตรลักษณ์ ที่ว่าเห็นได้ยากนั้น เพราะอะไรปิดบังไว้ ?  ผู้พิจารณาเห็นอนิจจตา

        ความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้รับอานิสงส์อย่างไร ?

   ๓.  อนิจจตา มีสันตติ ความสืบต่อแห่งนามรูป ปิดบังไว้ ทุกขตา มีอิริยาบถ ความผลัด

        เปลี่ยนอิริยาบถ ปิดบังไว้ อนัตตตา มีฆนสัญญา ความสำคัญเห็นเป็นก้อน ปิดบังไว้ ฯ

        ย่อมได้รับอานิสงส์ คือเพิกถอนสันตติได้ ทำให้เห็นความเกิดขึ้นและความดับไป

        ความไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลายด้วยปัญญาอันชอบ ย่อมเบื่อหน่ายในสังขารอันเป็น

        ทุกข์ ดำเนินไปในหนทางแห่งความบริสุทธิ์ ฯ

   ๔.  ความเกิด ความแก่ และความตาย จัดเข้าในทุกข์หมวดไหน ?  โดยรวบยอด ทุกข์ที่

        แสดงในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ได้แก่ทุกข์เช่นไร ?

   ๔.  จัดเข้าในสภาวทุกข์ คือ ทุกข์ประจำสังขาร ฯ

        ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ ฯ

   ๕.  จริตของคนในโลกนี้มีกี่ประเภท ?  อะไรบ้าง ?  คนสูงอายุมีความกังวลนอนไม่หลับ

        เพราะคิดห่วงลูกหลานเป็นต้น จัดเป็นคนมีจริตอะไร ? กัมมัฏฐานข้อใดเป็นที่สบาย

        แก่คนจริตนั้น ?

   ๕.  มี ๖ ประเภท ฯ  คือ  ราคะจริต ๑  โทสะจริต ๑  โมหะจริต ๑  วิตกจริต ๑  

        สัทธาจริต ๑  พุทธิจริต ๑ ฯ  มีวิตกจริต ฯ  ข้ออานาปานสติ หรือ กสิณ ฯ

   ๖.  ในอนุสสติ ๑๐  ข้อว่า มรณัสสติ ไม่ใช้ว่า มรณานุสสติ เพราะเหตุไร ?

   ๖.  ที่ไม่ใช้อย่างนั้น ก็เพราะท่านสอนให้ผู้พิจารณาเห็นปรากฏชัดเป็นปัจจุบันธรรม จะได้

        เกิดความไม่ประมาท เป็นผู้แกล้วกล้าไม่ย่อท้อต่อความตาย หากจะไปเหนี่ยวรั้งเอา

        ความตายที่ล่วงมาแล้วยกขึ้นพิจารณา ในบางขณะอาจเกิดความกลัวตายขึ้นก็ได้ ฯ

   ๗.  พระพุทธคุณบทว่า สุคโต นั้น เป็นพระคุณส่วนอัตตสมบัติ และส่วนปรหิตปฏิบัติ

        อย่างไร ?  จงอธิบาย

   ๗.  พระคุณส่วนอัตตสมบัติ คือ เสด็จออกผนวชไม่ย่อท้อ เสด็จดำเนินไปตาม

        อัฏฐังคิกมรรคเป็นมัชฌิมาปฏิปทา  มิได้ทรงกลับคืนมาสู่อำนาจกิเลสที่พระองค์

        ทรงละได้แล้ว  จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  เสด็จไปในที่ใด ก็ทรงไม่มี

        อันตรายใดจักเกิดแก่พระองค์ได้ เสด็จไปกลับได้โดยสวัสดี ฯ

        พระคุณส่วนปรหิตปฏิบัติ คือ เสด็จจาริกไปในสถานที่ต่างๆ เทศนาโปรดมหาชน

        ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม ให้ได้รับประโยชน์ทั้งปัจจุบัน อนาคต และประโยชน์อย่างยิ่ง

        คือพระนิพพาน  อนึ่ง ทรงมีพระวาจาดี  คือทรงกล่าวแต่คำที่จริงที่แท้ ประกอบด้วย

        ประโยชน์แก่บุคคลที่ควรกล่าว เสด็จไประงับอันตรายด้วยความอนุเคราะห์เกื้อกูล

        แก่ปวงชน แม้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ทรงฝากรอยจารึก คือพระคุณความดี

        ในโลก ดุจฝนตกลงยังพืชให้เผล็ดผล เป็นประโยชน์แก่คนและสัตว์ผู้พึ่งแผ่นดิน ฯ

   ๘.  กิจ เหตุ และผลของวิปัสสนา ได้แก่อะไร ?

   ๘.  กิจ ได้แก่ การกำจัดความมืดคือโมหะ อันปิดบังปัญญาไว้ ไม่ให้เห็นตามความเป็นจริง

        เหตุ ได้แก่ การที่จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน

        ผล ได้แก่ การเห็นสังขารตามความเป็นจริง ฯ

   ๙.  วิปัลลาสข้อว่า  “ วิปัลลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ”  จะถอนได้ด้วยสัญญาอะไร

        ในสัญญา ๑๐ ?  ใจความว่าอย่างไร ?

   ๙.  จะถอนได้ด้วยอาทีนวสัญญา ฯ

        ใจความว่า ภิกษุย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า กายอันนี้แล มีทุกข์มาก มีโทษมาก

        เหล่าอาพาธต่างๆ ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฯ

๑๐.  ในมหาสติปัฏฐานสูตร  สติปัฏฐาน ๔ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่ากระไร ?  สติปัฏฐาน ๔ นั้น

        มีอานิสงส์อย่างไรบ้าง ?

๑๐.  เอกายนมรรค ฯ

        มีอานิสงส์ ๕ ประการ คือ

               ๑. เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย

               ๒. เพื่อความข้ามพ้นโสกะและปริเทวะ

               ๓. เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส

               ๔. เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้

               ๕. เพื่อการทำให้แจ้งพระนิพพาน ฯ

วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2548

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่  ๑๙  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘


   ๑.  การสำรวมจิตให้พ้นจากบ่วงแห่งมาร ในธรรมวิจารณ์ท่านแนะนำวิธีปฏิบัติไว้

        อย่างไร ?  และถ้าจะจัดเข้าในไตรสิกขา จัดได้อย่างไร ?

   ๑.  แนะนำวิธีปฏิบัติไว้ ๓ ประการ คือ

             ๑. สำรวมอินทรีย์มิให้ความยินดีครอบงำ ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น

                 ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา

             ๒. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ อสุภะและกายคตาสติ

                 หรืออันยังจิตให้สลด คือมรณัสสติ

             ๓. เจริญวิปัสสนา คือ พิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐานเห็น

                 เป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯ

        จัดเข้าในไตรสิกขาได้ดังนี้ 

             ประการที่ ๑ จัดเข้าในสีลสิกขา  

             ประการที่ ๒ จัดเข้าในจิตตสิกขา  

             ประการที่ ๓ จัดเข้าในปัญญาสิกขา ฯ

   ๒.  อนิจจตาแห่งสังขารทั้งหลาย  จะกำหนดรู้ได้ด้วยวิธีใดบ้าง ?

   ๒.        ๑.   กำหนดรู้ในทางง่าย ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นในเบื้องปลาย                                        ได้ในบาลีว่า

                         อนิจฺจา วต สงฺขารา        อุปฺปาทวยธมฺมิโน

                         อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ

                         สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้น

                         เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับ

              ๒. กำหนดรู้ในทางละเอียดกว่านั้นด้วยความแปรในระหว่างเกิดและดับ

                 ได้ในบาลีว่า

                         อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย

                         วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ

                         กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป

              ๓. กำหนดรู้ในทางสุขุม ด้วยความแปรแห่งสังขารในชั่วขณะหนึ่ง ๆ คือ ไม่คงที่

                 อยู่นานเพียงระยะกาลนิดเดียวก็แปรแล้ว ได้ในคาถาวิสุทธิมรรค ว่า

                         ชีวิตํ อตฺตภาโว จ           สุขทุกฺขา จ เกวลา

                         เอกจิตฺตสมา ยุตฺตา        ลหุโส วตฺตเต ขโณ

                         ชีวิต อัตภาพ และสุขทุกข์ ทั้งมวล ประกอบกัน เป็นธรรมเสมอ

                         ด้วยจิตดวงเดียว ขณะย่อมเป็นไปพลัน ฯ

   ๓.  สภาวทุกข์และปกิณณกทุกข์ คือทุกข์เช่นไร ?

   ๓.  สภาวทุกข์ คือทุกข์ประจำสังขาร ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ ฯ 

        ปกิณณกทุกข์ คือ ทุกข์จรได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ฯ

   ๔.  พระพุทธพจน์ว่า  “นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ”  สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี จะไม่เป็น

        การปฏิเสธสุขอย่างอื่นไปทั้งหมดหรือ ?  จงอธิบาย

   ๔.  ไม่เป็นการปฏิเสธเสียทีเดียว เช่นทรงแสดงถึงสุขของคฤหัสถ์ ๔ อย่างไว้เป็นต้น 

        แต่สุขอย่างอื่นนั้นยังเจือไปด้วยทุกข์อยู่  ยังไม่ใช่สุข ไม่อาจจะนับว่าเป็นสุข

        ที่แท้จริงได้ มีแต่ความสงบเท่านั้นที่เป็นสุขอย่างแท้จริง เพราะไม่เจือไปด้วย

        ความทุกข์ ฉะนั้นสุขที่ยิ่งกว่าความสงบจึงไม่มี ฯ

   ๕.  สัตว์โลกตายแล้วมีคติเป็นอย่างไร ?  ปัจจุบันภพนั้น เกี่ยวเนื่องกับสัมปรายภพ

        อย่างไร ?

   ๕.  สัตว์โลกตายแล้วมีคติเป็น ๒ คือ ถ้าทำดี คือ ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ

        ก็ไปสู่สุคติ ถ้าทำไม่ดี คือประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ก็ไปสู่ทุคติ ฯ  จิตดีชั่ว

        ในปัจจุบัน ย่อมเป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในสัมปรายภพ ภูมิและภพในภายภาคหน้า

        ขึ้นอยู่กับภูมิและภพชั้นของจิตในปัจจุบันนี้แหละ ดังมีหลักธรรมในอุเทศบาลี

        แสดงว่า เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง และว่าเมื่อจิตไม่เศร้าหมอง

        แล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฯ

   ๖.  บุคคลผู้ถูกนิวรณ์ ๕ ครอบงำ พึงแก้ด้วยกัมมัฏฐานอะไรบ้าง ?

   ๖.  ถูกกามฉันทะครอบงำ พึงแก้ด้วยอสุภกัมมัฏฐานหรือกายคตาสติ

        ถูกพยาบาทครอบงำ พึงแก้ด้วยเมตตาพรหมวิหาร

        ถูกถีนมิทธะครอบงำ พึงแก้ด้วยอนุสสติกัมมัฏฐาน

        ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ พึงแก้ด้วยกสิณหรือมรณัสสติ

        ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ พึงแก้ด้วยธาตุกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ

   ๗.  ผู้เจริญเมตตาพรหมวิหาร ท่านสอนให้แผ่ไปในตนก่อนนั้น มีความมุ่งหมายอย่างไร ?

   ๗.  มีความมุ่งหมายอย่างนี้ ให้ทำตนเป็นพยานว่า ตนนี้อยากได้แต่ความสุข เกลียดชัง

        ทุกข์และภัยต่าง ๆ ฉันใด  แม้สัตว์ทั้งหลาย ก็อยากได้สุข เกลียดชังทุกข์และภัย

        ต่าง ๆ ฉันนั้น เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว จิตก็ปรารถนาจะให้สัตว์ทั้งสิ้น มีความสุข

        ความเจริญ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงให้แผ่เมตตาจิตไปในตนก่อน ฯ

   ๘.  พระพุทธคุณบทว่า  “สตฺถา เทวมนุสฺสานํ”  เมื่อกล่าวถึงพุทธจรรยาในส่วน

        ที่ทรงสั่งสอนมหาชน ประมวลลงเป็นข้อได้อย่างไรบ้าง ?

   ๘.  ประมวลลงได้อย่างนี้

              ๑. ทรงพระกรุณาหวังจะให้ผู้ที่ทรงสั่งสอน ได้ความรู้อันจะให้สำเร็จประโยชน์

              ๒. ทรงมุ่งความจริงกับประโยชน์เป็นที่ตั้ง

              ๓. ทรงทำกับตรัสเป็นอย่างเดียวกัน

              ๔. ทรงฉลาดในวิธีสั่งสอน ฯ

   ๙.  ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พระพุทธองค์ทรงแสดงวิธีพิจารณาสติสัมโพชฌงค์ไว้

        ด้วยอาการอย่างไร ?

   ๙.  ด้วยอาการอย่างนี้ คือ เมื่อสติสัมโพชฌงค์  มีอยู่ ณ ภายในจิต ก็รู้ชัดว่ามีอยู่

        ณ ภายในจิตของเรา  เมื่อไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ก็รู้ชัดว่าไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต

        ของเรา เมื่อยังไม่เกิด แต่จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ก็รู้ชัดด้วยประการนั้น 

        เมื่อเกิดขึ้นแล้วเจริญบริบูรณ์ขึ้นด้วยประการใด ก็รู้ชัดด้วยประการนั้น ฯ

๑๐.  ข้อว่า อนัตตสัญญา ในคิริมานนทสูตร ทรงให้ยกธรรมอะไรขึ้นพิจารณาว่าเป็น

        อนัตตา ?

๑๐.  ทรงให้ยกอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภายนอก

        คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ขึ้นพิจารณาว่าเป็นอนัตตา ฯ

วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2549

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2549


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันศุกร์ ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

   ๑.  อุทเทสแห่งนิพพิทา ดังต่อไปนี้ มีความหมายว่าอย่างไร ?

               ก. คนเขลา       

               ข. ผู้รู้     

               ค. หมกอยู่        

               ง. หาข้องอยู่ไม่

               จ. โลกนี้

   ๑.          ก. คนผู้ไร้วิจารณญาณ

               ข. ผู้รู้โลกตามความเป็นจริง

               ค. เพลิดเพลินหลงติดอยู่ในสิ่งอันมีโทษ

               ง. ไม่พัวพันในสิ่งล่อใจ

               จ. โดยตรง ได้แก่แผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัย โดยอ้อม ได้แก่หมู่สัตว์

                   ผู้อาศัย ฯ

  ๒.  อุทเทสว่า  “เย  จิตฺตํ  สญฺเมสฺสนฺติ   โมกฺขนฺติ  มารพนฺธนา”  นั้น 

       การสำรวมจิตทำอย่างไร ?

  ๒.  การสำรวมจิตมี ๓ วิธี คือ

               ๑.   สำรวมอินทรีย์มิให้ความยินดีครอบงำ ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง

                     ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา

                ๒.  มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันท์ คือ อสุภะ

                     กายคตาสติ และมรณสติ

                ๓.  เจริญวิปัสสนา พิจารณาสังขารให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง

                     อนัตตา ฯ

  ๓.  สังขารในไตรลักษณ์กับในขันธ์ ๕  ต่างกันอย่างไร ?

  ๓.  สังขารในไตรลักษณ์ หมายเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดที่ปัจจัย

        ปรุงแต่งขึ้น ส่วนสังขารในขันธ์ ๕ หมายเอาเจตสิกธรรมที่ปรุงแต่งจิต

        ให้มีอาการต่างๆ เว้นเวทนาและสัญญา ฯ

   ๔.  ปกิณกทุกข์ คืออะไร ?  จะบรรเทาได้ด้วยวิธีอย่างไร ?

   ๔.  คือ ทุกข์จร เช่น ความเศร้าโศกเสียใจ ความร่ำไรบ่นเพ้อรำพัน ความ

        ไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประสบสิ่งที่

        ไม่พึง      ปรารถนา     ความพลัดพรากจากของรัก ความผิดหวังเป็นต้น ฯ

        จะบรรเทาได้ด้วยการมีสติ ใช้ปัญญาพิจารณา รู้จักปลงรู้จักปล่อยวาง

        ไม่ยึดมั่นถือมั่น ฯ

   ๕.  อาหารปริเยฏฐิทุกข์ คืออะไร ?  จะบรรเทาได้ด้วยวิธีอย่างไร ?

   ๕. คือ ทุกข์ในการหาเลี้ยงชีพ เช่น ต้องแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน เมื่อผลประโยชน์

        ขัดกัน ก็ทะเลาะกัน และเมื่อยิ่งแสวงหามากก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์มาก ฯ

        จะบรรเทาได้ด้วยการขยันประหยัดอดทนและ อดออม เป็นอยู่ด้วยปัจจัย

        เครื่องเลี้ยงชีพเท่าที่จำเป็น ตัดสิ่งฟุ้งเฟ้อที่ไม่จำเป็นออกไป ยินดีเท่าที่ตน

        มีอยู่โดยยึดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำรงชีวิต ฯ

   ๖.  พระบาลีว่า “ภิกษุ  เธอจงวิดเรือนี้  เรือที่เธอวิดแล้ว  จักพลันถึง”

        จงให้ความหมายคำต่อไปนี้  ให้ถูกต้องตามพระบาลีนั้น ?

               ก. เรือนี้               

               ข. จงวิด (วิดอะไร)             

               ค. เรือที่วิดแล้ว

               ง.  จักพลันถึง (ถึงอะไร)          

               จ. เรือจักไม่จมใน........

๖.            ก. อัตภาพร่างกาย

               ข. วิดน้ำ คือมิจฉาวิตก

               ค. อัตภาพที่บรรเทากิเลสให้เบาบางลง   

               ง.  ถึงท่า คือพระนิพพาน  

               จ. ในสังสารวัฏ ฯ

  ๗.  คนสัทธาจริตและคนวิตกจริต มีลักษณะอย่างไร ?  ควรเจริญกัมมัฏฐาน

        อะไร ?

  ๗.  คนสัทธาจริต มีลักษณะเชื่อง่ายขาดเหตุผล คนวิตกจริต มีลักษณะ

        คิดมาก ฟุ้งซ่าน ฯ

        คนสัทธาจริตควรเจริญอนุสสติ ๖ ข้างต้น คนวิตกจริตควรเจริญอานาปานสติ ฯ

  ๘. กายคตาสติกัมมัฏฐานกับอสุภกัมมัฏฐาน ต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร ?

        จงอธิบาย

  ๘.  ต่างกันที่อารมณ์ คือ กายคตาสติ พิจารณาอาการภายในของตนเป็น

        อารมณ์อสุภ พิจารณาซากศพเป็นอารมณ์ ฯ

        เหมือนกันตรงที่พิจารณาให้เห็นเป็นปฏิกูล ไม่งามเหมือนกันและเป็น

        ปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ อีกทั้งเป็นเครื่องกำจัดวิปลาส ข้อที่เห็นว่า

        สวยงามในสิ่งที่ไม่สวยงามได้เหมือนกัน ฯ

  ๙.  จงแสดงวิธีเจริญมุทิตา พร้อมทั้งอานิสงส์แห่งการเจริญ พอเป็นตัวอย่าง ?

 ๙.  วิธีเจริญมุทิตานั้นดังนี้ เมื่อได้เห็นหรือได้ยินมนุษย์หรือสัตว์ เป็นอยู่

        สุขสบาย เจริญรุ่งเรืองด้วยสุขสมบัติ พึงทำจิตใจให้ชื่นชมยินดี แล้ว

        แผ่มุทิตาจิตไปว่า สัตว์ผู้นี้หนอบริบูรณ์ยิ่งนัก มีสุขสมบัติมาก จงเจริญ

        ยั่งยืนด้วยสุขสมบัติยิ่งๆ เถิด เมื่อเจริญอยู่เนืองๆ ย่อมได้รับอานิสงส์

        คือ จะละความริษยาในสมบัติของผู้อื่นได้ ฯ

๑๐.  การทำวัตรสวดมนต์ เป็นกิจวัตรของพระภิกษุสามเณรและเป็นภาวนากุศล

        จงแสดงวิธีเจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในบททำวัตรเช้า

        มาดูพอเป็นตัวอย่าง ?

๑๐.  การสวดนมัสการพระรัตนตรัยก็ดี สวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยก็ดี

        เป็นการน้อมจิตระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ชื่อว่า

        เจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ จัดเป็นสมถกัมมัฏฐาน ฯ

        สวดสังเวคปริกิตตนปาฐะว่า ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ

        ทุกฺขํ... รูปํ อนิจฺจํ เวทนา อนิจฺจา... รูปํ อนตฺตา เวทนา อนตฺตา...

        เป็นอาทิ ตั้งสติมีความเพียร ใช้ปัญญาพิจารณาเบญจขันธ์ ยกขึ้นสู่

        สามัญลักษณะ จัดเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ

วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2550

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2550


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันอังคาร ที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

๑.     สหคตทุกข์ คือทุกข์เช่นไร ? มียศชื่อว่าเป็นทุกข์นั้น มีอธิบายอย่างไร ?

๑.     คือ ทุกข์ไปด้วยกัน  หรือทุกข์กำกับกัน  ได้แก่ทุกข์มีเนื่องมาจาก   วิบุลผล ฯ

มียศคือได้รับตั้งเป็นใหญ่กว่าคนสามัญเป็นชั้น ๆ  ต้องเป็นอยู่เติบกว่าคนสามัญ  จำต้องมีทรัพย์มากเป็นกำลัง  มักหาได้ไม่พอใช้  ต้องมีภาระมาก  เวลาไม่เป็นของตน  เป็นที่เกาะของผู้อื่นจนนุงนัง  ต้องพลอยสุขทุกข์ด้วยเขา ฯ

๒.     ไวพจน์แห่งวิราคะ  ได้แก่อะไรบ้าง ?

๒.     ได้แก่

มทนิมฺมทโน        แปลว่า  ธรรมยังความเมาให้สร่าง

        ปิปาสวินโย        แปลว่า  ความนำเสียซึ่งความระหาย

        อาลยสมุคฺฆาโต     แปลว่า  ความถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย

        วฏฺฏูปจฺเฉโท       แปลว่า  ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ

ตณฺหกฺขโย            แปลว่า  ความสิ้นแห่งตัณหา

นิโรโธ                  แปลว่า  ความดับ

นิพฺพานํ               แปลว่า  ธรรมชาติหาเครื่องเสียบแทงมิได้ ฯ

  

๓.     วิมุตติ เป็นโลกิยธรรมหรือโลกุตตรธรรม ?   เป็นสาสวะหรืออนาสวะ ?

๓.     ถ้าเพ่งถึงวิมุตติที่สืบเนื่องมาจากนิพพิทาและวิราคะแล้ว ก็เป็นโลกุตตระและอนาสวะอย่างเดียว   ถ้าเพ่งถึงวิมุตติ ๕   วิมุตติเป็นโลกิยะก็มี  เป็นสาสวะก็มี   คือตทังควิมุตติและวิกขัมภนวิมุตติเป็นโลกิยะและเป็นสาสวะ   วิมุตติอีก ๓ ที่เหลือ  เป็นโลกุตตระและเป็นอนาสวะ ฯ

๔.     ในบรรดาสังขตธรรมนั้น  อะไรเป็นยอด ?   เพราะเหตุไร ?

๔.     อัฏฐังคิกมรรคเป็นยอด ฯ

เพราะองค์ ๘ แต่ละองค์ ๆ ของอัฎฐังคิกมรรคก็เป็นธรรมดี ๆ  รวมกันเข้าทั้ง ๘ ย่อมเป็นธรรมดียิ่งนัก  และเป็นทางเดียวนำไปถึงความดับทุกข์หรือถึงความหมดจดแห่งทัสสนะ ฯ

๕.     บาลีแสดงปฏิปทาแห่งสันติว่า  ผู้เพ่งความสงบพึงละอามิสในโลกเสีย

ความสงบ  ได้แก่อะไร ?   อามิส  ได้แก่อะไร ?   เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าอามิส ?

๕.     ได้แก่  ความเรียบร้อยทางกายทางวาจาและทางใจ ฯ

ได้แก่  ปัญจพิธกามคุณ  คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ  อันน่าปรารถนาน่าใคร่น่าชอบใจ ฯ

เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดในโลก ฯ

๖.     เพราะเหตุไร  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงชักนำให้บำเพ็ญสมาธิ ?     หัวใจสมถกัมมัฏฐานมีอะไรบ้าง ?

๖.     เพราะใจที่อบรมดีแล้ว  ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่  เป็นกำลังสำคัญในอันจะให้คิดเห็นอรรถธรรมและเหตุผลอันสุขุมลุ่มลึก      พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในพระบาลีว่า  สมาหิโต  ยถาภูตํ      ปชานาติ   ผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว  ย่อมรู้ตามเป็นจริง ฯ

        มี กายคตาสติ  เมตตา  พุทธานุสสติ  กสิณ  จตุธาตุววัตถานะ ฯ

๗.     จงจัด นวหรคุณ  แต่ละอย่างลงในพระปัญญาคุณและพระกรุณาคุณ ?

๗.     บท  อรหํ  สมฺมาสมฺพุทฺโธ  วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน  สุคโต  โลกวิทู 

เป็นพระปัญญาคุณ

        บท อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ   สตฺถา เทวมนุสฺสานํ  เป็นพระกรุณาคุณ

        บท  พุทฺโธ   ภควา  เป็นพระปัญญาคุณและพระกรุณาคุณทั้งสอง

        (สุคโต  ในที่บางแห่ง  จัดเป็นทั้งพระปัญญาคุณทั้งพระกรุณาคุณ) ฯ

๘.     อะไรเป็นลักษณะ  เป็นกิจ  และเป็นผลของวิปัสสนา ?

๘.     สภาพความเป็นเองของสังขาร  คือเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จริงอย่างไร  ความรู้ความเห็นว่าสังขารเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แจ้งชัดจริงอย่างนั้น  เป็นลักษณะของวิปัสสนา

การกำจัดโมหะความมืดเสียให้สิ้นเชิง  ไม่หลงในสังขารว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวเป็นตน เป็นของงาม  เป็นกิจของวิปัสสนา

ความรู้แจ้งเห็นจริงในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา  อันสืบเนื่องมาจากการกำจัดโมหะความมืดเสียได้สิ้นเชิง  ไม่มีความรู้ผิดความเห็นผิด  เป็นผลของวิปัสสนา ฯ  

๙.     ในอรกสูตร  ทรงแสดงอุปมาชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายไว้อย่างไรบ้าง   จงบอกมา ๓ ข้อ ?   ที่ทรงแสดงไว้เช่นนั้นเพื่ออะไร ?

๙.     ทรงแสดงไว้ดังนี้  คือ  (ให้ตอบเพียง ๓ ข้อ)  ๑. เหมือนหยาดน้ำค้าง  ๒. เหมือนต่อมน้ำ  ๓. เหมือนรอยไม้ขีดลงในน้ำ  ๔. เหมือนลำธารอันไหลมาจากภูเขา  ๕. เหมือนก้อนเขฬะ  ๖. เหมือนชิ้นเนื้อนาบไฟ     ๗. เหมือนโคที่เขาจะฆ่า ฯ

ทรงแสดงไว้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เร่งรีบทำความดีให้ทันกับเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ ฯ

๑๐.   ตามมหาสติปัฏฐานสูตร  ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔  ตลอด ๗ วันถึงตลอด ๗ ปี  พึงหวังผลอะไรได้บ้าง ?

๑๐.   พึงหวังผล ๒ อย่าง  อย่างใดอย่างหนึ่ง  คือ  พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑  หรือเมื่อวิบากขันธ์ที่กิเลสมีตัณหาเป็นต้นเข้ายึดไว้ยังเหลืออยู่  เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ

***********

วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2551

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2551


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑


๑.       ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร พึงกำหนดรู้ด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?

๑.       ด้วยอาการดังนี้ คือ

          ๑. ไม่อยู่ในอำนาจ หรือฝืนความปรารถนา

          ๒. แย้งต่ออัตตา

          ๓. ความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้

          ๔. ความเป็นสภาพสูญ ฯ

๒.       พระบาลีว่า  สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ  แปลว่า ภิกษุ  เธอจงวิดเรือนี้  

คำว่า เรือ และคำว่า วิด ในที่นี้ หมายถึงอะไร ?

๒.       เรือ หมายถึง อัตภาพร่างกาย

          วิด หมายถึง บรรเทากิเลสและบาปธรรมเสียให้บางเบา จนขจัดได้ขาด ฯ

๓.       บาลีอุทเทสว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ  แปลว่า เมื่อหลุดพ้นแล้ว ญาณว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี  ใครเป็นผู้หลุดพ้น ?   และหลุดพ้นจากอะไร ?

๓.       จิตเป็นผู้หลุดพ้น ฯ   พ้นจากอาสวะ ๓ ฯ

 ๔.       สอุปาทิเสสนิพพาน กับ อนุปาทิเสสนิพพาน ต่างกันอย่างไร ?  

พระบาลีว่า เตสํ วูปสโม สุโข ความเข้าไปสงบแห่งสังขารเหล่านั้น   เป็นสุข จัดเป็นนิพพานชนิดใด ?

๔.       ต่างกัน  คือ สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นความดับกิเลสที่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ส่วนอนุปาทิเสสนิพพาน เป็นความดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ฯ   เป็นอนุปาทิเสสนิพพาน ฯ

๕.       นิพพิทา คืออะไร ?  บุคคลผู้ไม่ประสบลาภยศสรรเสริญสุข

จึงเบื่อหน่ายระอาอย่างนี้  จัดเป็นนิพพิทาได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?

๕.       คือ ความหน่ายในเบญจขันธ์หรือในทุกขขันธ์ด้วยปัญญา ฯ  จัดเป็นนิพพิทาไม่ได้ ฯ เพราะความเบื่อหน่ายดังที่กล่าวนั้น เป็นความท้อแท้ มิใช่เป็นความหน่ายด้วยปัญญา ฯ

๖.       ในส่วนสังสารวัฏ  สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็นอย่างไร ?   จงอ้างบาลีประกอบ

๖.       มีคติเป็น ๒  คือ

สุคติ   มีบาลีว่า  จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ  สุคติ  ปาฏิกงฺขา

และ ทุคติ   มีบาลีว่า   จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ  ทุคฺคติ  ปาฏิกงฺขา ฯ  

๗.       ผู้จะเจริญวิปัสสนาภาวนา พึงศึกษาให้รู้จักธรรม ๓ ประการ      อะไรบ้าง ?

๗.       ธรรม ๓ ประการ  คือ

          ๑. ธรรมเป็นภูมิเป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น  (มีขันธ์ ๕ เป็นต้น)

          ๒. ธรรมเป็นรากเหง้า เป็นเหตุเกิดขึ้นตั้งอยู่ของวิปัสสนานั้น 

             (คือสีลวิสุทธิและจิตตวิสุทธิ)

          ๓. ตัว คือ วิปัสสนานั้น  (คือ วิสุทธิ ๕ ที่เหลือ) ฯ

๘.       วิปัลลาส คืออะไร ?   แบ่งตามจิตและเจตสิกได้กี่ประเภท ?      อะไรบ้าง ?

๘.       คือ  กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง ฯ

          แบ่งได้ ๓ ประเภท ฯ

คือ  ๑. สัญญาวิปัลลาส  ๒. จิตตวิปัลลาส  ๓. ทิฏฐิวิปัลลาส ฯ

๙.       จริต คืออะไร ? เพราะเหตุใดจึงต้องเจริญกัมมัฏฐานให้เหมาะกับจริต

­­­        ของตน ?

๙.       คือ ความประพฤติเป็นปกติของบุคคล ฯ

เพราะ กัมมัฏฐานแต่ละอย่างก็เป็นที่สบายของคนแต่ละจริต  ถ้าเจริญไม่เหมาะกับจริต  กรรมฐานก็จะสำเร็จได้โดยยาก ฯ 

๑๐.     อารมณ์ของสติปัฏฐาน มีอะไรบ้าง ?  

          ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานพึงมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?

๑๐.     มี  กาย  เวทนา  จิต  ธรรม ฯ

พึงมี    ๑. อาตาปี  มีความเพียรเผากิเลส

๒. สัมปชาโน  มีสัมปชัญญะ

๓. สติมา  มีสติ ฯ

***********


วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2552

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2552

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๕๒

๑.     ในพหุลานุสาสนีที่สวดในเวลาทำวัตรเช้า ไม่มีทุกขลักษณะพระไตรลักษณ์ไม่ขาดไปข้อหนึ่งหรืออย่างไร? จงอธิบาย

ตอบ ไม่ขาด เพราะลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นธรรมธาตุ ธรรมนิยาม ธรรมฐิติ ความตั้งอยู่แห่งธรรมที่คงอยู่มิได้ยักย้าย อีกประการหนึ่ง บาลีว่า ยทนิจฺจํ สิ่งใดไม่เที่ยง ตํ ทุกฺขํ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ยํ ทุกขํ สิ่งใดเป็นทุกข์ ตทนตฺตา สิ่งนั้นเป็นอนัตตา มิใช่ตัวมิใช่ตน เพราะเหตุนั้น พหุลานุสาสนีจึงได้ครบลักษณะทั้ง ๓

๒.    ทุกขขันธ์ หรือทุกข์รวบยอด หมายเอาอะไร? มีหลักฐานอ้างอิงในบาลีธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่าอย่างไร?

ตอบ หมายเอา สังขารคือประชุมปัญจขันธ์ ฯ มีหลักฐานว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

๓.     การพิจารณาเห็นสังขารเป็นอนัตตาโดยมีโยนิโสมนสิการกำกับ จะไม่กลายเป็นนัตถิกทิฏฐิ เพราะกำหนดรู้ถึงธรรม ๒ ประการ ธรรมทั้ง ๒ นี้ได้แก่อะไร?

ตอบ ได้แก่ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ และปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถะ ฯ

๔.     ลัทธิบางอย่างมีหลักการว่า ทำบาปแล้วบริสุทธิ์หมดจดได้ด้วยการอาบน้ำ ด้วยการบวงสรวง ด้วยการสวดอ้อนวอน เป็นต้น ในฝ่ายพระพุทธศาสนากล่าวถึงเรื่องนี้ว่าอย่างไร? จงอ้างหลักฐาน

ตอบ พระพุทธศาสนามีหลักว่า บุคคลทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่ทำบาปเอง ย่อมบริสุทธิ์ หมดจดเอง ความหมดจดและความเศร้าหมองเป็นของเฉพาะตัว ผู้อื่นทำผู้อื่นให้หมดจดหรือเศร้าหมองไม่ได้ ความบริสุทธิ์ภายในย่อมมีด้วยปัญญา ฯ มีพระบาลีแสดงไว้ว่า ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ บุคคลย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา และว่า

อตฺตนา ว กตํ  ปาปํ  อตฺตนา  สงฺกิลิสฺ สติ

อตฺตนา  อกตํ  ปาปํ  อตฺตนา  ว  วิสุชฺฌติ

สุทฺธิ  อสุทฺธิ  ปจฺจตฺตํ  นาญฺโญ  อญฺญํ  วิโสธเย.

ทําบาปเอง  ย่อมเศร้าหมองเอง  ไม่ทำบาปเอง

ย่อมหมดจดเอง  ความหมดจดและความเศร้าหมอง

เป็นเฉพาะตัว  คนอื่นยังคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่ ฯ

๕.     ข้อความว่า ปลงภาระอันหนักเสียแล้ว ไม่ถือเอาภาระอันอื่น ดังนี้ มีอธิบายอย่างไร?

ตอบ อธิบายว่า ภาระ หมายเอาเบญจขันธ์ การปลงภาระหมายเอาการถอนอุปาทาน การไม่ถือเอาภาระอื่น หมายเอาการไม่ถือเบญจขันธ์อื่นด้วยอุปาทาน ฯ

๖.     สัตว์โลกตายแล้วมีคติเป็นอย่างไร? มีพระบาลีแสดงไว้อย่างไร?

ตอบ มีคติเป็น ๒ คือ สุคติและทุคติ ฯ มีพระบาลีแสดงไว้ว่า

จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา.

เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้

จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ  ทุคฺคติ  ปาฏิกงฺขา.

เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง ฯ

๗.    พระโยคาวจรสำเร็จปฐมฌาณแล้ว ควรกระทำให้ชำนาญด้วยวสีทั้ง ๕ ก่อนที่จะเจริญทุติยฌาณต่อไป เพราะเหตุใด?

ตอบ เพราะถ้าไม่ชำนาญในปฐมฌาณแล้ว เมื่อเจริญทุติยฌาณต่อขึ้นไปก็จะเสื่อมจากปฐมฌาณและทุติยฌาณทั้ง ๒ ฝ่าย ฯ

๘.     อนัตตลักขณสูตร ว่าด้วยเรื่องอะไร? ในพระสูตรนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงอานิสงส์แห่งวิปัสสนาญาณไว้อย่างไร?

ตอบ ว่าด้วย ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา ฯ

อานิสงส์แห่งวิปัสสนาญาณนั้นว่า เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว สุตฺวา อริยสาวโก เป็นต้น ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอย่างนี้ ย่อมหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อหน่ายก็ย่อมฟอกจิตให้หมดจด เพราะการฟอกจิตให้หมดจดให้ จิตนั้นก็พ้นจากอาสวะทั้งปวง เมื่อจิตพ้นพิเศษแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าพ้นแล้ว และพระอริยสาวกนั้นรู้ประจักษ์ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือกิจศาสนาได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก ฯ

๙.     (ปี 2552) สติปัฏฐาน ๔ อันผู้ปฏิบัติธรรมอบรมให้บริบูรณ์เต็มที่แล้ว ย่อมเป็นเพื่ออานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง?

ตอบ คือ

          ๑. เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย

          ๒. เพื่อความข้ามพ้นโสกะและปริเทวะทั้งหลาย

          ๓. เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส

          ๔. เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้

          ๕. เพื่อการทำให้แจ้งพระนิพพาน ฯ

๑๐.                        ในสัญญา ๑๐ ทรงแสดงถึงการให้พิจารณาพระนิพพานว่าเป็นธรรมที่สำรอกกิเลส และว่าเป็นธรรมเป็นที่ดับสนิท จัดเป็นสัญญาข้อไหนบ้าง?

ตอบ พิจารณาพระนิพพานว่า เป็นธรรมที่สำรอกกิเลส จัดเป็นวิราคสัญญา

พิจารณาพระนิพพานว่า เป็นธรรมเป็นที่ดับสนิท จัดเป็นนิโรธสัญญา ฯ


วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2553


 





ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง

วันอังคาร       ที่ ๒๓ พฤศจิกายน   พ.ศ.๒๕๕๓ 



                        สัทธรรมปฏิรูป  คืออะไร ?  เกิดขึ้นจากอะไร ?

                        คือ สัทธรรมชนิดที่ปลอมหรือเทียม ไม่ใช่สัทธรรมแท้ ฯ เกิดขึ้นจากความเห็นผิดหรือเข้าใจผิดของผู้เรียบเรียง เมื่อเรียบ ก็หารู้ไม่ ด้วยเข้าใจว่าของตนถูก แล้วได้น ำมาปนไว้ในสัทธรรม

                        บทอุทเทสว่า เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ ซึ่งแปลว่า สูทั้งหลายจงมาดูโลก พระศาสดาตรัสชวนให้มาดูโลกโดยมีพระประสงค์อย่างไร ?

                        ทรงมีพระประสงค์จะทรงปลุกใจพวกเราให้หยั่งเห็นซึ้งลงไปถึงคุณโทษปร มิใช่ประโยชน์แห่งสิ่งนั้น ๆ อันคุมเข้าเป็นโลก จะได้ไม่ตื่ สิ่งนั้น ๆ รู้จักละสิ่งที่เป็นโทษ ไม่ข้องติดอยู่ในสิ่งที่

                        ทุกข์ประจ ำสังขารกับทุกข์จร  ต่างกันอย่างไร ?

                        ทุกข์ประจ ำสังขาร เป็นทุกข์ที่ต้องมีแก่คนทุกคน ไม่สามารถจ หลีกเลี่ยงพ้น ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ส่วนทุกข์จรเป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ได้แก่ โสกะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ประจวบด้วยคนหรือสิ่งอันไม่เป็นที่รั พรากจากคนหรือสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาไม่ได้สมหวัง ฯ


                        ในวิมุตติ ๕ วิมุตติใดจัดเข้าใน  อริยมรรค  อริยผล  นิพพาน ?

                        สมุจเฉทวิมุตติ จัดเข้าใน อริยมรรค ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ จัดเข้าใน อริยผล นิสสรณวิมุตติ จัดเข้าใน นิพพาน ฯ

                        จงจัดมรรค ๘ เข้าในวิสุทธิ ๗ มาดู

                        สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเข้าในสีลวิสุทธิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเข้าในจิตตวิสุทธิ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ จัดเข้าใน ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตร มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิญาณทัสสนวิสุทธิ ฯ

๖.     พระศาสดาทรงสอนภิกษุโดยยกเอาเรือมาเป็นอุปมาว่า                 สิญฺจ ํภิกฺขุ
นาวํ สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ แปลว่า ภิกษุ เธอจงวิดเ เรืออันเธอวิดแล้วจักพลันถึง มีอธิบายโดยย่อว่าอย่างไร ?

                        มีอธิบายโดยย่อว่า เรือ หมายถึงอัตภาพ วิดเรือ คือวิดน ้ำที่ ซึ่งหมายถึงการบรรเทากิเลสและบาปธรรม ที่ไหลเข้ามาท่วมทับจิตใจ ให้บางเบา จนขจัดได้ขาด เมื่ออัตภาพนี้เบาก็จักปฏิบัติเพื่อไปส ได้เร็ว ฯ


                        กัมมัฏฐานต่อไปนี้ คือ กสิณ จตุธาตุววัตถานะ พุทธานุสสต สบายแก่คนผู้มักถูกนิวรณ์ข้อใดครอบง ำ ?

                        กสิณ เป็นที่สบายแก่คนผู้มักถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบง ำ จตุธาตุววัตถานะ เป็นที่สบายแก่คนผู้มักถูกวิจิกิจฉาครอบง ำ พุทธานุสสติ เป็นที่สบายแก่คนผู้มักถูกถีนมิทธะครอบง ำ ฯ

                        ในอรกสูตร กล่าวไว้ว่า ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนหย ดังนี้ มีอธิบายอย่างไร ? และที่กล่าวไว้เช่นนั้นมีประโยชน์อ

                        มีอธิบายว่า ธรรมดาหยาดนำค้างที่จับอยู่ตามยอดหญ้า  เมื่อถูกแสงอ ในเวลาเช้า ก็พลันจะเหือดแห้งหายไป ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั ก็ฉันนั้น มีความเกิดแล้วก็มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย คอยเบี ท ำให้ด ำรงอยู่ได้ไม่นาน ไม่ถึงร้อยปีก็จะหมดไป ฯ

เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้รู้สึกด้วยปัญญา ท ำให้ไม่ประมาทในช ความดี ฯ



                        ในอนัตตลักขณสูตรพระศาสดาทรงยกธรรมอะไรขึ้นแสดงว่าเป็นอนัตตา ? และในตอนท้ายของพระสูตร ทรงแสดงอานิสงส์แห่งวิปัสสนาว่าอย่างไ

                        ทรงยก  ขันธ์๕  คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขึ้นแสดงฯ

ทรงแสดงไว้ว่า เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว สุตวา อริยสาวโก เป็นต้น ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมฟอกจิตให้หมดจด เพราะการฟอกจิตให้หมดจด จิตนั้นก็พ้นจากอาสวะทั้งปวง เมื่อจิตพ้นพิเศษแล้ว ก็มี พ้นแล้ว และเธอรู้ประจักษ์ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือกิ ได้ท ำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องท ำเช่นนี้ ไม่มีอีก ฯ



๑๐.  ในคิริมานนทสูตร              ข้อว่าปหานสัญญาพระศาสดาทรงสอนให้ละอะไร ?

๑๐.  ทรงสอนให้ละ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และอกุศลบาปธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯ

*********

วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2555

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

๑.      พระพุทธดำรัสตอนหนึ่งว่า "สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ" ดังนี้ โดยมีพระพุทธประสงค์อย่างไร?

ตอบ มีพระพุทธประสงค์เพื่อทรงชักชวนแนะนำให้ดูถึงโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์ของโลก เช่นเดียวกับดูละคร มิให้หลงชมความสวยงามต่างๆ แต่ให้เพ่งดูคติที่ดีและชั่ว มีให้เมามัวไปตามสิ่งนั้น ดังตรัสต่อไปอีกว่า เป็นที่คนเขลาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้อติดไม่ ฯ

๒.     ความอยากที่เข้าลักษณะเป็นตัณหา และไม่เป็นตัณหานั้น ได้แก่ความอยากเช่นไร เพราะเหตุไร?

ตอบ ความอยากที่เข้าลักษณะทำให้เกิดในภพอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ อย่างนี้จัดเป็นตัณหา เพราะเป็นทุกขสมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิด ส่วนความอยากที่มีอยู่โดยปกติธรรมดาของคนทุกคน แม้กระทั่งพระอริยเจ้า เช่นความอยากข้าว อยากน้ำเป็นต้น ไม่จัดว่าเป็นตัณหา เพราะเป็นความอยากที่เป็นไปตามธรรมดาของสังขาร ฯ

๓.     การกำหนดรู้ความเป็นอนัตตาแห่งสังขารด้วยความเป็นสภาพสูญนั้นคือ รู้อย่างไร?

ตอบ รู้จักพิจารณากำหนดเห็นสังขารกระจายเป็นส่วนย่อยๆ จากฆนคือก้อนจนเห็นเป็นความว่าง ถอนฆนสัญญาความสำคัญหมายว่าเป็นก้อน อันได้แก่ ความถือเอาโดยนิมิต  ว่าเรา ว่าเขา ว่าผู้นั้น ว่าผู้นี้ เสียได้ ฯ

๔.     วิราคะในพระบาลีว่า “วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ วิราคะประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย” และในพระบาลีว่า “วิราคา วิมุจฺจติ เพราะสิ้นกำหนัดย่อมหลุดพ้น” ต่างกันอย่างไร?

ตอบ วิราคะในพระบาลีแรกเป็นไวพจน์คือคำแทนชื่อพระนิพพาน

วิราคะในพระบาลีหลังเป็นชื่อของพระอริยมรรค ฯ

๕.     บาลีแสดงปฏิปทาแห่งสันติว่า “โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข” แปลว่า ผู้เพ่งความสงบพึงละอามิสในโลกเสีย ดังนี้ คำว่า อามิสในโลกหมายถึงอะไร? ที่เรียกอย่างนั้นเพราะเหตุไร?

ตอบ หมายถึงเบญจพิธกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ฯ ที่เรียกอย่างนั้น เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดในโลก ดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวอยู่ฉะนั้น ฯ

๖.      กัมมัฏฐานที่พระอุปัชฌาย์สอนแก่ผู้บรรพชาอุปสมบทว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา นั้น จัดเข้าในสติปัฏฐานข้อใด? ให้พิจารณาอย่างไร?

ตอบ จัดเข้าในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฯ

ให้พิจารณาน้อมใจให้เห็นเป็นของน่าเกลียดปฏิกูล ทั้งในกายตน ทั้งในกายผู้อื่น ฯ

๗.     กายคตาสติกัมมัฏฐานกับอสุภกัมมัฏฐาน มีอารมณ์ต่างกันอย่างไร? แก้นิวรณ์ข้อใดได้?

ตอบ    กายคตาสติกัมมัฏฐาน มีอาการ ๓๒ ในร่างกายเป็นอารมณ์

อสุภกัมมัฏฐาน มีซากศพเป็นอารมณ์ ฯ

แก้กามฉันทนิวรณ์ ฯ

๘.     จงแสดงพระพุทธคุณ ๙ โดยอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ พอได้ใจความ

ตอบ พระพุทธคุณ คือ อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู เป็นพระพุทธคุณส่วนอัตตสมบัติ

พระพุทธคุณ คือ อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นพระพุทธคุณส่วนปรหิตปฏิบัติ

พระพุทธคุณ คือ พุทฺโธ ภควา เป็นพระพุทธคุณทั้งอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ ฯ

๙.     ปัญญารู้เห็นอย่างไร ชื่อว่าวิปัสสนาปัญญา?

ตอบ ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริง คือกำหนดรู้สังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ โดยความเป็นทุกข์ ๑ โดยความเป็นอนัตตา ๑ ถอนความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิเสียได้ ชื่อว่าวิปัสสนาปัญญา ฯ

๑๐. ในสัญญา ๑๐ ข้อที่ ๕ ว่าปหานสัญญา ความสำคัญหรือความใส่ใจในการละ ขอทราบว่า ทรงสอนให้ละอะไรบ้าง?

ตอบ ทรงสอนให้ละ

๑. กามวิตก

๒. พยาบาทวิตก

๓. วิหิงสาวิตก

๔. ธรรมอันเป็นบาปเป็นอกุศล

ทั้ง ๔ นี้ ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เกิดขึ้นอีก ฯ

วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2556


 




ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖


๑. นิพัทธทุกข์ กับ สหคตทุกข์ ต่างกันอย่างไร ?

เฉลย นิพัทธทุกข์คือทุกข์เนืองนิตย์หรือทุกข์เป็นเจ้าเรือนได้แก่หนาว ร้อน
หิว ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
ส่วนสหคตทุกข์คือทุกข์ไปด้วยกันหรือทุกข์ก ำกับกันได้แก่ทุกข์มี
เนื่องมาจากวิบุลผลฯ

๒. ความเป็นอนัตตาของสังขารพึงก ำหนดรู้ด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?

เฉลย ๑. ด้วยไม่อยู่ในอ หรือด้วยฝืนความปรารถนาำนาจ
๒. ด้วยแย้งต่ออัตตา
๓. ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้
 ด้วยความเป็นสภาพสูญคือว่างหรือหายไปฯ

  ค ำว่า วฏฺฏ ในค ำว่า “วฏฺฏูปจฺเฉโท” หมายถึงอะไร ? วฏฺฏ นั ขาดสายด้วยอาการอย่างไร ?

เฉลย หมายถึง ความเวียนเกิด้วยอ ำนาจกิเลสกรรม วิบาก ฯ วฏฺฏ นั้นชื่อว่าขาดสายด้วยอาการที่ละกิเลสอันเป็นเบื้องต้นเสฯ


  ความเชื่อว่ามีพระเจ้าผู้สร้าง ท ำการอ้อนวอนและบวงสรวงเป็นอาทิ จ อาสวะข้อไหน ?

เฉลย  จัดเข้าในอวิชชาสวะ ฯ

  พระบาลีว่า “นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย อันหนักเสียแล้ว ไม่ถือเอาภาระอันอื่น” ถามว่า “ภาระ” “การไม่ถือเอ “การปลงภาระ” ได้แก่อะไร ?


เฉลย ภาระ ได้แก่เบญจขันธ์ฯ การไม่ถือเอาภาระได้แก่การไม่ถือเอาเบญจขันธ์ด้วยอุปาทานฯ การปลงภาระ ได้แก่การถอนอุปาทานในเบญจขันธ์ฯ

  คุณของพระธรรมส่วนปริยัติ  ปฏิบัติ  และปฏิเวธาอย่างไรโดยย่อว่?
จงอธิบาย

เฉลย  คุณของปริยัติธรรมคือให้รู้วิธีบ สมาธิำเพ็ญศีลปัญญา

คุณของปฏิปัตติธรรมคือทกาย ำ วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์จนบรรลุมรรค
ผล นิพพาน

คุณของปฏิเวธธรรมคือละกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานบรรลุถึงความสุข
อย่างยิ่งฯ



  ในอรกสูตรกล่าวไว้ว่า ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้น มีอธิบายอย่างไร ? และที่กล่าวไว้เช่นนั้นเพื่อประโยชน์อะไร ?

เฉลย มีอธิบายว่าธรรมดาว่าชิ้นเนื้อที่บุคคลเอาลงในกะทะเหล็กอันร้อนตล

ยังค ย่อมจะพลันไหม้ำ ไม่ตั้งอยู่นานฉันใดชีวิตก็ถูกเพลิงกิเลสและเพลิ ทุกข์เผาผลาญให้เหี้ยมเกรียมไม่ทนอยู่นานฉันนั้นฯ มีประโยชน์คือเป็นเครื่องเตือนใจให้รู้สึกด้วยปัญญาท ำให้ไม่ประมาท ในชีวิตเร่งสั่งสมความดีฯ

๘. วิปลาส คืออะไร ? จ ำแนกโดยวัตถุเป็นที่ตั้งมีกี่อย่าง ? อะไรบ เฉลย คือ กิริยาที่ถือเอาโดยอาการวิปริตผิดจากความจริงฯมี๔อย่าง ฯ คือ

ความส ำคัญคิดเห็นในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง

ความส ำคัญคิดเห็นในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข

ความส ำคัญคิดเห็นในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตนและ

ความส ำคัญคิดเห็นในสิ่งที่ไม่งามว่างามฯ

  ในนวสีวถิกาปัพพะ เมื่อเห็นซากศพชนิดใดชนิดหนึ่งใน ๙ ชน พึงภาวนาอย่างไร ?


เฉลย พึงภาวนาโดยการน้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่าอยมฺปิโขกาโย ถึงร่างกาย อันนี้เล่าเอวํธมฺโมก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดาเอวํภาวีจักเป็นอย่างนี้เอวํ อนตีโต ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ฯ


๑๐.ข้อว่า อนัตตสัญญาในคิริมานนทสูตร ทรงให้พิจารณาอะไรว่าเป็นอนัตตา?

เฉลย ทรงให้พิจารณาอายตนะภายในคือตา หูจมูกลิ้นกาย ใจ และอายตนะ ภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ว่าเป็น อนัตตา ฯ



*********

วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2557

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2557

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗


๑.    การสำรวมจิตให้พ้นจากบ่วงแห่งมาร ในหนังสือธรรมวิจารณ์ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?

เฉลย แนะนำวิธีปฏิบัติไว้ ๓ ประการคือ

๑.    สำรวมอินทรีย์มิให้ความยินดีครอบงำ ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส

ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา

๒.   มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ อสุภะและกายคตาสติ

หรืออันยังจิตให้สลด คือมรณัสสติ

๓.    เจริญวิปัสสนา คือ พิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐานเห็นเป็นสภาพ

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯ

๒.   สภาวทุกข์ สันตาปทุกข์ ได้แก่อะไร ?

เฉลย สภาวทุกข์ ได้แก่ทุกข์ประจำสังขาร คือชาติ ชรา มรณะ

สันตาปทุกข์ ได้แก่ความกระวนกระวายใจเพราะถูกไฟคือกิเลสเผา ฯ

๓.    พระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า “สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ” กับที่ตรัสกะ

โมฆราชว่า “โมฆราช ท่านจงมีสติทุกเมื่อ เล็งเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ” ทรงมีพระประสงค์ต่างกันอย่างไร ?

เฉลย      พระพุทธดำรัสแรก ทรงมีพระประสงค์ จะทรงปลุกใจให้หยั่งเห็นซึ้งลงไปถึงคุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์แห่งสิ่งนั้นๆ อันคุมเข้าเป็นโลก

           พระพุทธดำรัสหลัง ทรงมีพระประสงค์ให้ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความตามเห็นว่าเป็นอัตตา ฯ

๔.    วิสุทธิ ๗ แต่ละอย่างๆ จัดเข้าในไตรสิกขาได้อย่างไร ?

เฉลย     สีลวิสุทธิ จัดเข้าในสีลสิกขา

           จิตตวิสุทธิ จัดเข้าในจิตตสิกขา

           ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ จัดเข้าในปัญญาสิกขา ฯ

๕.    คำว่า อุปาทิ ในคำว่า สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึงอะไร ?

เฉลย หมายถึงขันธ์ ๕ (ขันธปัญจก) ฯ

๖.     อบาย คืออะไร ? ในอรรถกถาแจกไว้เป็น ๔ อย่าง อะไรบ้าง ?

เฉลย คือโลกที่ปราศจากความเจริญ ฯ มีนิรยะ ติรัจฉานโยนิ ปิตติวิสยะ อสุรกาย ฯ

๗.   ปฐมฌาณ ประกอบด้วยองค์เท่าไร ? อะไรบ้าง ?

เฉลย ด้วยองค์ ๕ ฯ คือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ฯ

๘.    สมถกัมมัฏฐาน กับ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ต่างกันอย่างไร ? หัวใจสมถกัมมัฏฐานมีอะไรบ้าง ?

เฉลย  สมถกัมมัฏฐาน คือกัมมัฏฐานเป็นอุบายเครื่องสงบใจ

วิปัสสนากัมมัฏฐาน คือกัมมัฏฐานเป็นอุบายเครื่องเรืองปัญญา ฯ

มีกายาคตาสติ เมตตา พุทธานุสสติ กสิณ และจตุธาตุววัตถาน ฯ

๙.   ปัจจุบันมีการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานกันมาก อยากทราบว่า อารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน คืออะไร ?

เฉลย คือสังขารทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอุปาทินนกะและอนุปาทินนกะ (หรือ ธรรมในวิปัสสนาภูมิ คือขันธ์ อายตนะ ธาตุ เป็นต้น) ฯ

๑๐.         พระคิริมานนท์หายจากอาพาธเพราะฟังธรรมจากใคร? ธรรมนั้นว่าด้วยเรื่องอะไร?

เฉลย จากพระอานนท์ ฯ ว่าด้วยเรื่องสัญญา ๑๐ ฯ

วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2558




ปัญหาวิชาธรรม      นักธรรมชันเอก้

สอบในสนามหลวง


วันเสาร์ที่๒๘ พฤศจิกายนพุทธศักราช๒๕๕๘






๑.    อนิจฺจตา ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร ก าหนดรู ้ในทางง่ายได้ด้วยอาการอย่างไร ? เฉลย ด ้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต ้น และความสิ้นในเบื้องปลาย ฯ


๒.   ฆนสัญญา คืออะไร ?   กาหนดเห็นสังขารอย่างไร จึงถอนสัญญานันได้ ?


เฉลย   คือความจ าหมายว่าเป็นก ้อน ได ้แก่ความถือโดยนิมิตว่าเรา ว่าเขา ว่าผู ้นั้น


ด ้วยการพิจารณาก าหนดเห็นสังขารกระจายเป็นส่วนย่อย ๆ จากฆนะ คือ ก ้อน จนเห็นสังขารเป็นสภาพว่าง ฯ


๓. ไวพจน์แห่งวิราคะว่า มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง ความเมาในที่้หยถึง ความเมาในอะไร ?


เฉลย       หมายถึงความเมาในอารมณ์อันยั่วยวนให ้เกิดความเมาทุกประการ เช่นความถึง พร ้อมแห่งชาติ สกุล อิสริยะ และบริวารหรือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือความ เยาว์วัย ความหาโรคมิได ้ และชีวิต ฯ



 ๔. จงสงเคราะห์มรรคมีองค์๘เข้าในวิสุทธิ๗มาดูฯ


เฉลย      สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ         จัดเข ้าในสีลวิสุทธิ

สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ        จัดเข ้าในจิตตวิสุทธิ


สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ จัดเข ้าในทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ ม ญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ ฯ


๕.    ในสมถกรรมฐาน ๔๐ ประการ  มีนิมิตและภาวนากี่อย่าง ?   อะไรบ้าง ?


เฉลย มีนิมิต๓ คือบริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต และมีภาวนา๓คือ บริกรรมภาวนา อุปจารภาวนา และอัปปนาภาวนา ฯ


๖.    ผู้เจริญเมตตาเป็ นประจ า ย่อมได้รับอานิสงส์อะไรบ้าง ? เฉลย ได ้รับอานิสงส์อย่างนี้


๑. หลับอยู่ก็เป็นสุข ๒. ตื่นอยู่ก็เป็นสุข ๓. ไม่ฝันเห็นสิ่งลามก


๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา


๗. ไฟไม่ไหมพิษหรือศัสตราวุธทั้งหลายไม่อาจประทุษร ้าย ๘. จิตย่อมตั้งมั่นได ้เร็วพลัน ๙. ผิวพรรณย่อมผ่องใสงดงาม


๑๐.  ไม่หลงท ากาลกิริยา คือเมื่อจะตายย่อมได ้สติ


๑๑. เมื่อตายแล ้วแม ้เกิดอีก ก็ย่อมเกิดในที่ดีเป็นที่เสวยสุข ถ ้าไม่เสื่อ ก็ไปเกิดในพรหมโลก ฯ



๗.  สติปัฏฐาน๔ คืออะไรบ้าง ? การพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็ นของ ปฏิกูล จัดเข้าในสติปัฏฐานข้อไหน ?


เฉลย คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปั และธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฯ ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฯ


๘. พระพุทธองค์ทรงแสดงคิริมานนทสูตรที่ไหน ?

แก่ใคร ?   ว่าด้วยเรืองอะไร่ ?

เฉลย

ที่พระเชตวัน  เมืองสาวัตถี ฯ

แก่พระอานนท์ว่าดฯ้วยสัญญา๑๐ ฯ

๙. ท่านว่า

ผู้ที่จะเจริญวิปัสสนาปัญญา๖พึงรูก่อน้ฐานะฐานะ๖ นั้น  มีอะไรบ้าง ?

เฉลย

มี





๑.

อนิจจะ  ของไม่เที่ยง



๒.

อนิจจลักขณะ

เครื่องหมายที่จะให ้ก าหนดรู ้ว่าไม่เที่ยง


๓.

ทุกขะ  ของสัตว์ทนได ้ยาก



๔.

ทุกขลักขณะเครื่องหมายที่จะให ้ก าหนดรูป็นทุกข์้ว่าเ


๕.

อนัตตา  สิ่งสภาพไม่ใช่ตัวตน


๖.

อนัตตลักขณะ

เครื่องหมายที่จะก าหนดรู ้ว่าเป็นอนัตตา ฯ

๑๐. บรรดาอาการ ๓๒ ประการนั้น

ส่วนที่เป็นอาโปธาตุมีอะไรบ้าง ?

เฉลย

มีดี เสมหะ น ้าเหลือง เลือด เหงื่อ มันข ้น น ้าตา มันเหลว น ้าลาย น ้าม


มูตร ฯ




*********