วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรีหมวดทาน

ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรีหมวดทาน
ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรีหมวดทาน


ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรีหมวดบาป

ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรีหมวดบาป

ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรีหมวดสติ


ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรีหมวดบุญ

ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรีหมวดบุญ

ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรีหมวดบุญ


ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรีหมวดสติ

ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรีหมวดสติ

ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรีหมวดสติ


อักษรย่อชื่อคัมภีร์พุทธศาสนสุภาษิต


อักษรย่อชื่อคัมภีร์พุทธศาสนสุภาษิต
อักษรย่อชื่อคัมภีร์พุทธศาสนสุภาษิต
องฺ. อฏฺฐก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย ฉกฺกนิปาต
องฺ. ติก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย ติกนิปาต
องฺ. ทสก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. .......... ขุทฺทกนิกาย อิติวุตฺตก
ขุ. อุ. .......... ขุทฺทกนิกาย อุทาน
ขุ. ขุ. .......... ขุทฺทกนิกาย ขุทฺทกปาฐ
ขุ. จริยา. .......... ขุทฺทกนิกาย จริยาปิฏก
ขุ. จู. :.......... ขุทฺทกนิกาย จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีส. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก วีสนิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐิ. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก สฏฺฐินิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. .......... ขุทฺทกนิกาย เถรคาถา
ขุ. เถรี. .......... ขุทฺทกนิกาย เถรีคาถา
ขุ. ธ. .......... ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปท
ขุ. ปฏิ. .......... ขุทฺทกนิกาย ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. .......... ขุทฺทกนิกาย พุทฺธวํส
ขุ. มหา. .......... ขุทฺทกนิกาย มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. .......... ขุทฺทกนิกาย วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. .......... ขุทฺทกนิกาย เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. .......... ขุทฺทกนิกาย สุตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. .......... ทีฆนิกาย ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. .......... ทีฆนิกาย มหาวคฺค
ม. อุป. .......... มชฺฌิมนิกาย อุปริปณฺณาสก
ม. ม. .......... มชฺฌิมนิกาย มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. .......... วินยปิฎก จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. .......... วินยปิฎก ภิกฺขุนีวิภงฺค
วิ. มหา. .......... วินยปิฎก มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. .......... วินยปิฎก มหาวิภงฺค
สํ. นิ. .......... สํยุตฺตนิกาย นิทานวคฺค
สํ. มหา. .......... สํยุตฺตนิกาย มหาวารวคฺค
สํ. ส. .......... สํยุตฺตนิกาย สคาถวคฺค
สํ. สฬ. .......... สํยุตฺตนิกาย สฬายตนวคฺค
ส. ม. .......... สวดมนต์ฉบับหลวง
ร.ร.๔ .......... พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๔
ว.ว. .......... สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ส.ฉ. .......... สมเด็จพระสังฆราช (ฉิม)
ส.ส. .......... สมเด็จพระสังฆราช (สา)

สิ่งที่ต้องเตรียมในการสอบและหลังสอบธรรมศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒

สิ่งที่ต้องเตรียมในการสอบและหลังสอบธรรมศึกษา

สิ่งที่ต้องเตรียมในการสอบและหลังสอบธรรมศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒
๑. สมัครสอบ
๒. แบ่งห้องสอบ
๓. สร้างบัญชี สถ.
๔. ปริ้นบัญชีเรียกชื่อ (ติดหน้าบอร์ดและหน้าห้องสอบ) และบัญชีใบรับใบตอบ (สำหรับเซ็นชื่อหลังสอบเสร็จ)
๕. เอกสารคำปราศัยแม่กองธรรมสนามหลวง สมุดเซ็นเยี่ยม เป็นต้น (สำนักงานแม่กองส่งให้ทางไปรษณีย์) ถ้าไม่มีให้ดาวน์โหลดจากแท็บหน้าเมนูทางซ้ายมือในหน้าเว็บสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง http://www.gongtham.net/web/news.php
๖. สรุปสถิติส่งสอบ ขาดสอบ คงสอบ (ดำเนินการในหน้าเว็บ) และ ขีดฆ่ารายชื่อผู้ขาดสอบพร้อมลงในช่องหมายเหตุว่า ขาดสอบ
๗. เข้าระบบแล้วไปที่ แจ้งขาดสอบ และติ๊กขาดสอบในระบบอีกครั้ง
๘. ส่งเอกสารและข้อสอบแยกตามหน่วยงานต่างๆ โดย
- นักธรรมชั้นตรี และธรรมศึกษาชั้นตรี ส่งที่กองงานเจ้าคณะภาค
- นักธรรมชั้นโท และธรรมศึกษาชั้นโท ส่งที่กองงานชั้นโท (วัดสุทัศน์)
- นักธรรมชั้นเอก และธรรมศึกษาชั้นเอก ส่งที่สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง

===================================
เจ้าหน้าที่ผู้ดูแล
พระครูปริยัติเมธาวัฒน์ การสอบนักธรรม-ธรรมศึกษา
โทร. ๐๒ ๖๒๙ ๔๓๐๐ กด ๑๑๓
พระมหาชลธิชา แก้ไข/ขอ ประกาศนียบัตรใหม่
โทร. ๐๘ ๔๘๐๒ ๓๕๓๙
พระกฤษณะ แจ้งปัญหาด้านเทคนิค/ลืมรหัสผ่าน
โทร. ๐๒ ๖๒๙ ๔๓๐๐ กด ๑๙๑
พระมหาประจักร สอบถาม/แก้ปัญหาสมัครสอบ/ลืมรหัสผ่าน
โทร. ๐๒ ๖๒๙ ๔๓๐๐ กด ๑๑๕
พระมหาเชษฐ์ภาวิตร สอบถาม/แก้ปัญหาสมัครสอบ
โทร. ๐๙๒-๒๖๓-๕๒๓๔ (๑๒.๓๐ - ๑๙.๐๐ น.)
พระมหาพิเชษฏ์ สอบถาม/แก้ปัญหาสมัครสอบ
โทร. ๐๙๒ ๗๖๘ ๑๕๒๕
พระมหากฤษดา สอบถาม/แก้ปัญหาสมัครสอบ/ลืมรหัสผ่าน
โทร. ๐๘๙ ๑๓๘ ๒๔๖๕
พระครูสมุห์จิรกิตติ์ สอบถาม/แก้ปัญหาสมัครสอบ/ลืมรหัสผ่าน
โทร. ๐๘ ๙๑๔๕ ๕๘๔๐
Line: @gongtham
email: mgth.data@gmail.com, kristm76@gmail.com
ขอบคุณแหล่งที่มา เพจ  นักธรรมและธรรมศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562

ธรรมศึกษาคืออะไร

             
ธรรมศึกษาคืออะไร

        ธรรมศึกษา คือ การเรียน การสอน การสอบธรรมสนามหลวงสำหรับคฤหัสถ์หรือบุคคลทั่วไป ที่ไม่ใช่บรรพชิต (พระภิกษุสามเณร) ซึ่งธรรมศึกษานั้นเป็นหลักสูตรนักธรรมสำหรับฆราวาส เรียกว่า “ธรรมศึกษา” ในปัจจุบันมีการเรียนทั้งหมด ๓ ชั้น คือ ธรรมศึกษาชั้นตรี,ธรรมศึกษาชั้นโท,และธรรมศึกษาชั้นเอก 
                เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต แม่กองธรรมสนามหลวง
“กล่าวว่า ธรรมศึกษา หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักของชีวิต ดังนั้น ธรรมศึกษา ก็คือการศึกษาข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของทุกคนในโลกนี้ มิใช่เฉพาะพุทธศาสนิกชนเท่านั้น แต่ทุกคน ทุกศาสนาในโลก ต้องศึกษา ต้องรู้หลักปฏิบัติ เพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดเป็นความสุขความเจริญในชีวิต เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ต่อสังคมส่วนรวม ประเทศชาติ และชาวโลก การเรียนธรรมศึกษาจึงต้องเรียนให้รู้ ให้สามารถพิจารณาให้เห็นจริงตามหลัก คือการมองให้รู้ว่า ปฏิบัติเช่นนี้แล้ว ได้ผลจริงหรือไม่ หรือปฏิบัติแล้ว เกิดประโยชน์เช่นไร” …อ้างที่
                มีเนื้อหาการเรียนอย่างไร
       ธรรมศึกษา มีเนื้อหาเช่นเดียวกับหลักสูตรการเรียนนักธรรมของพระภิกษุสามเณรในปัจจุบัน เว้นแต่วิชาวินัยบัญญัติที่ทรงกำหนดใช้ เบญจศีลเบญจธรรมในชั้นตรี ใช้อุโบสถศีลในชั้นโท และใช้กรรมบถ ๑๐ ในชั้นเอก


***************************

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562

วิธีการสมัครสอบธรรม​ศึกษา​ที่ถูกต้อง

วิธีการสมัครสอบธรรม​ศึกษา​ที่ถูกต้อง

วิธีการสมัครสอบธรรม​ศึกษา​ที่ถูกต้อง
(เป็นการแนะนำ เพื่อประโยชน์ในปีต่อไป)
*****************



          -1).ครู/โรงเรียน มีใบสมัครสอบ (อาจจะให้เขียนแค่ ชื่อ-นามสกุล-ชั้นที่สมัครสอบ(ธรรมศึกษาตรี-โท-เอก) - ช่วงชั้นที่สมัครสอบ (ประถม-มัธยม-อุดม) เพื่อให้ครู/เจ้าหน้าที่ ไม่โมเมเอาเองว่าเด็กควรสอบชั้นนั้นชั้นนี้เอาง่าย ๆ ตามที่ระบบแนะนำ (ซึ่งมีเยอะแยะที่เด็กร้องไห้/ผู้ปกครองร้องไห้/หรือแม้แต่ครูที่ทำหน้าที่สมัครต้องโดนตำหนิจากฝ่ายบริหาร เพียงเพราะเชื่อง่าย ๆ สมัครเอาง่าย ๆ เข้าว่า โดยไม่สนใจไปเก็บข้อมูลเด็กตามที่เป็นจริง --- แต่กรณีเด็กไม่รู้ว่าตนเองจบอะไรมา อันนี้ก็แล้วแต่มาตรการของแต่ละโรงเรียนจะทำอย่างไร บางโรงเรียนก็ให้สมัครใหม่ตั้งแต่ชั้นธรรมศึกษาตรีเลย)

          -2).สมัครสอบตามใบที่ไปเก็บข้อมูลมา

          -3).ปรินต์รายชื่อที่สมัครแล้ว ไปติดบอร์ดโรงเรียน ประกาศให้นักเรียนมาเช็ครายชื่อ-นามสกุล-ชั้นที่สมัคร ว่าถูกต้องตามที่สมัครไปไหม หรือมีใครรายชื่อตกหล่นไหม แล้วให้นักเรียนลงชื่อรับรองเป็นหลักฐานไว้ด้วยว่าเขาตรวจเช็คแล้วและลงชื่อไว้แล้ว
         -4).หากมีรายชื่อตกหล่น หรือสมัครผิดชั้น ให้รีบแก้ไข
ประเด็นสำคัญที่ทำให้รายชื่อเด็กตกหล่น สรุปง่าย ๆ มี 2 จุดใหญ่
คือ
    -1).เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบส่งชื่อ ไม่เก็บข้อมูลเด็กให้ดีว่า เด็กคนไหนส่งสอบชั้นไหน สักแต่แค่สมัคร ๆ ให้เสร็จเป็นพอ และที่สำคัญ ไม่ปรินต์รายชื่อที่สมัครแล้วไปติดบอร์ดประกาศให้นักเรียนมาเช็ค --- ซ้ำร้าย เพิ่งจะมาสนใจสมัครเมื่อตอนที่หมดเขตสมัครแล้ว --- ในขณะที่ครูที่รับผิดชอบที่ดี เมื่อสมัครเสร็จ จะปรินต์รายชื่อไปให้นักเรียนเช็คชื่อของตนว่าตกหล่นหรือสมัครผิดชันหรือเปล่า
    -2).นักเรียนหรือผู้สอบ ไม่สนใจที่จะเช็คชื่อของตนเองว่า มีสิทธิ์สอบหรือไม่ หรือสมัครผิดชั้นหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ครูหรือโรงเรียนติดประกาศ (นักเรียนบางคน) ส่วนนักเรียนที่ใส่ใจ ย่อมจะตรวจสอบรายชื่อของตนเอง ทั้งตรวจออนไลน์ด้วยตนเองที่เว็บสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง และที่บอร์ดติดประกาศของโรงเรียน
แหล่งที่มา เพจ นักธรรมและธรรมศึกษา

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562

การสมัครสอบธรรมศึกษา ตามช่วงชั้น ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ [คลิปตัวอย่าง]

ตัวอย่างการสมัครสอบธรรมศึกษา  ตามช่วงชั้น ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒

ตัวอย่างการสมัครสอบธรรมศึกษา 

ตามช่วงชั้น ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒




การสมัครสอบธรรมศึกษา
เนื้อหาประกอบด้วย
- นักเรียน/นักศึกษา
- บุคคลทั่วไป
- การเพิ่มบุคลากรในสถานศึกษาหรือประชาชนทั่วไปในการสมัครสอบ
- การยกเลิกการสมัครสอบ
บรรยายโดยพระมหาประพันธ์ สุรพนฺโธ
หัวหน้างานเทคโลโลยี ฝ่ายสารสนเทศ
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

สมัครสอบธรรมศึกษา ปีการศึกษา2562

ระบบสมัครสอบธรรมศึกษา ปีการศึกษา2562 นี้ :
- ระบบอัพโหลด เปิดให้ใช้งานตามกำหนดการเดิมแล้ว คือ 16 ส.ค. ที่ผ่านมา (สำหรับองค์กร หรือสถานศึกษาที่เป็นสนามสอบ)
- ระบบสมัครแบบใหม่ (ติ๊กรายชื่อสมัครสอบผ่านเว็บ) สำหรับองค์กร หรือสถานศึกษาที่ไม่ได้เป็นสนามสอบ
ประมาณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562 ระบบสมัครแบบติ๊กรายชื่อผ่านเว็บ จึงจะสามารถใช้งานได้
สมัครสอบธรรมศึกษา ปีการศึกษา2562

ที่มา เพจ: นักธรรมและธรรมศึกษา

************************************************

วีดีโอสอน การเขียนใบตอบธรรมศึกษา วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม
และการเขียนใบตอบแบบฝน วิชา ธรรม พุทธ วินัย เครดิตโดย ท่านพระอาจารย์มหาปรีชา วัดราชบุรณะ กทม. ที่มา เพจ นักธรรมและธรรมศึกษา