วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

เกณฑ์สอบนักธรรมและธรรมศึกษาสอบได้

นักธรรม ๒๘๐/๔๐๐ (ต้องไม่มีวิชาต่ำกว่า ๒๕ คะแนน)
ธรรมศึกษา ๒๐๐/๔๐๐ (ต้องไม่มีวิชาต่ำกว่า ๒๕ คะแนน)

นักธรรมชั้นเอก


         พ.ศ.๒๔๖๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สิ้นพระชนม์ นักธรรมชั้นเอกที่ทรงพระดำริไว้ จึงยังไม่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระประสงค์ในยุคของพระองค์ การศึกษานักธรรมจึงจัดได้เพียง ๒ ชั้น คือ นักธรรมชั้นตรี กับนักธรรมชั้นโท

         แต่ในปีที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ สิ้นพระชมม์นั้นเอง สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ สิ้นพระชนม์นั้นเอง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ผู้ทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายกสืบมา ก็ได้ทรงจัดตั้งนักธรรมชั้นเอกขึ้น ตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้น นักธรรมชั้นเอกภูมิเถระ สำหรับภิกษุผู้ใหญ่พ้นพรรษา ๑๐ แล้ว หลักสูตรนักธรรมชั้นเอก มีดังนี้

         ๑.เรียงความแก้กระทู้ธรรม จะให้หัวข้อธรรม ๓ ข้อ ที่ต่างกัน ต้องแต่งทำนองเทศนา เชื่อมความ ๓ ข้อนั้น ให้สนิท

         ๒.แก้ปัญหาธรรม โดยปรมรรถเทศนา

         ๓.แก้ปัญหาพุทธานุพุทธประวัติ กับข้อธรรมในท้องเรื่องนั้น

         ๔.แก้ปัญหาวินัยบัญญัติมีสังฆกรรมเป็นต้น

         หนังสือสำหรับใช้เป็นหลักสูตรนักธรรมชั้นเอกนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงพระนิพนธ์เตรียมไว้แล้วเกือบจะครบถ้วน ดังนี้

         - หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต และหนังสือธรรมอย่างอื่นมีมงคลวิเสสกถาเป็นต้น เป็นหลักสูตรสำหรับเรียงความแก้กระทู้ธรรม

         - หนังสือธรรมวิจารณ์ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เป็นหลักสูตรสำหรับแก้ปัญหาธรรมวิภาค

         - หนังสือพุทธสมัยเล่มที่ ๒ ปริเฉทที่ ๔,๕,๖ ในธรรมสมบัติหมวด ๓ (รวมพระสูตรแปล) เป็นหลักสูตรสำหรับแก้ปัญหาพุทธานุพุทธประวัติ

         เปรียญธรรมชั้นโท จะสอบบาลีประโยค ๗ ต้องสอบได้นักธรรมชั้นเอกก่อน เมื่อสอบบาลีประโยค ๗,๘,๙ ได้แล้วนับเป็นเปรียญธรรมชั้นเอก

นักธรรมชั้นตรี

นักธรรมชั้นตรี

         จากพระดำริที่จะส่งเสริมการศึกษาธรรมวินัยให้แพร่หลายไปสู่ภิกษุสามเณรอย่างทั่งถึงทุกระดับชั้นดังกล่าวแล้ว พ.ศ. ๒๔๕๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์นักธรรมอีกครั้งหนึ่ง โดยรวมองค์นักธรรมประโยค ๑ และประโยค ๒ เข้าด้วยกันเป็น นักธรรมชั้นตรี และกำหนดหลักสูตรสอบความรู้ภิกษุสามเณรเป็น ๔ อย่างคือ

                   - เรียงความแก้กระทู้ธรรม
                   - ธรรมวิภาค
                   - ตำนาน (พุทธประวัติ)
                   - วินัยบัญญัติ

         สำหรับสามเณร เว้นวินัยบัญญัติไว้ก่อนจนกว่าอุปสมบทแล้วจึงสอบวินัยบัญญัติ และการสอบไม่มีการพักเป็นประโยค ๑ ประโยค ๒ ดังแต่ก่อน สอบพร้อมกันทั้ง ๒ ประโยค ได้ตกพร้อมกันทั้ง ๒ ประโยค (แถลงการณ์คณะสงฆ์เล่ม ๑, หน้า ๕๒๙.)

         และในศกเดียวกันนี้ ทรงจัดหลักสูตรเปรียญบาลี ๓ ประโยคเข้ากับองค์นักธรรมประโยค ๒ เป็นเปรียญธรรมชั้นตรี ทั้งนี้โดยทรงมีพระปรารภว่า การสอบความรู้บาลีเป็นเปรียญ ๓ ประโยค ให้แปลธัมมปทัฏฐกถาเป็นความไทยอย่างเดียวกันทั้ง ๓ ประโยคไม่ค่อยจะได้เปรียญมีความรู้ดี เพราะผู้เข้าสอบโดยมากด้วยกันจะไม่รู้จักสัมพันธ์และไม่แตกฉานในทางไวยากรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ การเรียนบาลีจึงตกต่ำ (เล่มเดียวกัน, หน้า๕๓๑.)

         จากพระปรารภดังกล่าวแล้ว จึงทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตแก้ไขหลักสูตรเปรียญบาลี ๓ ประโยค ให้คงแปลธัมมปทัฏฐกถา เพียงประโยคเดียวอีก ๒ ประโยคนั้น เปลี่ยนเป็นสอบความรู้สัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้จักชักศัพท์เชื่อมถึงกัน ประโยค ๑ สอบความรู้บาลีไวยากรณ์ ส่วนวจีวิภาคเพื่อเข้าใจยกศัพท์ ประโยค ๑ วิธีสอบสัมพันธ์ จักวางแบบให้ไว้ ส่วนวิธีการสอบไวยากรณ์เคยกันมาแล้วฯ ทั้ง ๓ นี้ รวมเป็นหลักสูตรบาลี เป็นองค์อันหนึ่งของเปรียญธรรมชั้นตรีฯ (เล่มเดียวกัน, หน้าเดียวกัน) และ

         ภิกษุสามเณรที่จะสอบบาลีเป็นเปรียญ ๓ ประโยค ต้องสอบได้องค์นักธรรมประโยค ๒ สามัญมาก่อนแล้ว เมื่อสอบบาลีได้อีกองค์หนึ่ง จักเป็นเปรียญชั้นตรี ได้แก่ นวกภูมิ หรือเรียกนับประโยคว่า เปรียญธรรม ๓ ประโยค ก็ได้ฯ

         เปรียญธรรมชั้นตรี หรือเปรียญธรรม ๓ ประโยคนี้เรียกย่อว่า ป.ธ. ๓ หลักสูตรนักธรรมชั้นตรีและเปรียญธรรมชั้นตรี ที่ทรงปรับปรุงใหม่นี้ เริ่มสอบตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นต้นมา

         หลักสูตรนักธรรม ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงจัดขึ้นนั้น ได้รับความนิยมจากภิกษุสามเณรอย่างรวดเร็วและแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง เพียง ๒ ปีแรกที่จัดสอบ ก็มีภิกษุสามเณรสมัครเข้าสอบในสนามหลวงเกือบพันรูป ในปีต่อๆมา จึงโปรดให้มีการจัดสอบขึ้นในสนามมณฑลต่างๆด้วย เพื่อบรรเทาความแออัดในการสอบ ภิกษุสามเณรที่สอบได้ในสนามวัดหรือสนามมณฑลมีความรู้เข้าเกณฑ์ของสนามหลวง สนามหลวงก็รับโอนเป็นนักธรรมของสนามหลวง ต่อมาทรงกำหนดให้มีการสอบสนามวัดก่อนที่จะส่งเข้าสอบสนามหลวงต่อเมื่อสอบผ่านสนามวัดนั้นๆ ได้แล้ว จึงทรงอนุญาติให้ส่งเข้าสอบในสนามหลวง ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้ผู้มีความรู้ไม่ถึงขั้นเข้าสอบในสนามหลวง อันเป็นการเพิ่มภาระให้แก่สนามหลวงโดยไม่จำเป็น

         การสอบองค์นักธรรมและนักธรรมตรีในระยะแรกนั้นสามเณรต้องมีอายุ ๑๙ ปีขึ้นไป จึงอนุญาติให้เข้าสอบได้

         สำหรับการสอบนักธรรมชั้นตรี สอบโดยวิธีเขียน (ขณะนั้นการสอบพระปริยัติธรรม หรือสอบบาลีสนามหลวงยังใช้วิธีแปลปากอยู่) ข้อสอบแต่ละวิชามี ๒๑ ข้อ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๗ จึงลดลงมาเป็น ๑๔ ข้อ (ประวัติการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. คณาจารย์มหามกุฏราชวิทยาลัย (เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม), หน้า ๑๓๙.) ส่วนกำหนดเวลาสอบในระยะแรกยังไม่มีการกำหนดเวลาเป็นชั่วโมง แต่กำหนดว่า ถ้ายังมีผู้นั่งสอบอยู่ด้วยกัน ๖ รูป ยังไม่หมดเวลา ต่อมาแก้ไขเป็น ถ้ายังมีผู้สอบเหลืออยู่ด้วยกัน ๓ รูป ถือว่ายังไม่หมดเวลา (แต่ไม่พบหลักฐานว่าแก้ไขเมื่อปีใด) (แถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๒ พ.ศ. ๒๔๕๗ หน้า ๕๒๘.) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นต้นมา จึงมีการกำหนดเวลาสอบเป็นชั่วโมง คือ ๓ ชั่วโมงครึ่ง (ประวัติการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. หน้า ๑๓๙.)
ที่มา http://www.gongtham.net/my_data/history_gongtham/index.php

หลักสูตรนักธรรม

หลักสูตรนักธรรม

         นับแต่ได้มีการตั้งหลักสูตรนักธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ หลักสูตรได้มีการปรับปรุงเรื่อยมาเป็นระยะ ทั้งในด้านเนื้อหาวิชาและตำราที่ใช้เป็นหลักสูตรหรือแบบเรียนในชั้นนั้นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้สอบนักธรรมได้ในชั้นนั้นๆ มีความรู้สมกับภูมิ เพราะวัตถุประสงค์สำคัญในการที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงพระดำริจัดตั้งการศึกษานักธรรมขึ้นนั้น ก็เพื่อให้ภิกษุสามเณรมีความรู้ธรรมวินัยสมกับภูมิของตน กล่าวคือ

นักธรรมชั้นตรี เพื่อให้ผู้ศึกษาเล่าเรียนซึ่งยังอยู่ในภูมินวกะ มีพรรษาหย่อน ๕ มีความรู้ธรรมวินัยพอรักษาตัวได้
นักธรรมชั้นโท เพื่อให้ผู้ศึกษาเล่าเรียนซึ่งอยู่ในภูมิมัชฌิมะมีพรรษาเกิน ๕ มีความรู้ธรรมวินัยละเอียดกว้างขวางออกไปถึงขั้นพอช่วยแนะนำผู้อื่นได้
นักธรรมชั้นเอก เพื่อให้ผู้ศึกษาเล่าเรียนซึ่งอยู่ในภูมิเถระ มีพรรษาเกิน ๑๐ มีความรู้ธรรมวินัยละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นถึงขั้นสามารถเป็นหลักในสังฆกรรม และเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ดูแลสั่งสอนผู้อื่นได้
         เมื่อทรงตั้งหลักสูตรนักธรรมขึ้นแล้ว สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก็ทรงพระนิพนธ์หนังสือต่างๆ สำหรับใช้เป็นแบบเรียนของนักธรรมชั้นนั้นๆด้วย หนังสือบางเรื่องที่ยังทรงพระนิพนธ์ไม่เสร็จ ก็ทรงใช้หนังสืออื่นๆที่ใกล้เคียงกันเป็นตำราหรือแบบเรียนไปพลาง แม้นักธรรมชั้นเอกที่ตั้งขึ้นหลังจากพระองค์ชิ้นพระชนม์แล้ว พระองค์ก็ได้ทรงพระนิพนธ์ตำราสำหรับใช้เป็นหลักสูตรเตรียมไว้เกือบครบทุกวิชา

         หลักสูตรนักธรรมทุกชั้น ซึ่งได้ปรับปรุงมาโดยลำดับนั้นมาถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ จึงเป็นอันยุติได้ ดังนี้

         หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี

เรียงความแก้กระทู้ธรรม ใช้หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต
ธรรมวิภาค ใช้หนังสือนวโกวาท
ตำนาน (พุทธประวัติ) ใช้หนังสือพุทธประวัติ เล่ม ๑-๓ หนังสือปฐมสมโพธิ ของสมเด็จพระสังฆราช (สา)
วินัยบัญญัติ ใช้หนังสือนวโกวาท
         หลักสูตรนักธรรมชั้นโท

เรียงควาแก้กระทูธรรม ใช้หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต
ธรรมวิภาค ใช้หนังสือธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๒
ตำนาน (อนุพุทธประวัติ) ใช้หนังสืออนุพุทธประวัติ และหนังสือพุทธานุพุทธประวัติ เฉพาะประวัติพระสาวก หนังสือสังคีติกถาและ หนังสือปฐมสมโพธิ
วินัยบัญญัติ ใช้หนังสือวินัยมุขเล่ม ๑๒
         หลักสูตรนักธรรมชั้นเอก

เรียงความแก้กระทู้ธรรม ใช้หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต และหนังสือธรรมอื่นๆ มีมงคลวิเสสกถา เป็นต้น
ธรรมวิภาค ใช้หนังสือธรรมวิจารณ์ หนังสือสมถกรรมฐาน หนังสือมหาสติปัฏฐานสูตร และคิริมานนทสูตร แปล
ตำนาน (พุทธานุพุทธประวัติ) ใช้หนังสือพุทธประวัติเล่ม ๑-๓ หนังสือปฐมสมโพธิหนังสือพุทธานุพุทธประวัติ หนังสืออนุพุทธประวัติ และหนังสือสังคีติกถา
วินัยบัญญัติ ใช้หนังสือวินัยมุขเล่ม ๓ (หลักสูตรนักธรรมและเปรียญสำหรับใช้ในการศึกษาและสอบไล่ธรรมวินัย ของพระภิกษุสามเณร. พระยาภักดีนฤเบศร์ รวบรวม, ฉบับพิมพ์ครั้งแรก, พ.ศ. ๒๔๖๙. หน้า ก-ข.)
         ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ มีการปรับปรุงในส่วนของวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมอีกครั้งหนึ่ง คือสำหรับนักธรรมชั้นโท กำหนดหัวข้อธรรมที่ต่างกัน ๒ ข้อ ให้นักเรียนแต่งเป็นทำนองเทศน์เชื่อมความ ๒ ข้อนั้นให้ต่อเนื่องกันสนิท และให้ชักภาษิตในที่อื่นมาอ้าง ๒ แห่ง อย่าให้ซ้ำกัน

         สำหรับนักธรรมชั้นเอก กำหนดหัวข้อธรรมต่างกัน ๓ ข้อ ให้นักเรียนแต่งเป็นทำนองเทศน์ เชื่อมความ ๓ ข้อนั้น ให้ต่อเนื่องกันสนิท และชักภาษิตในที่อื่นมาอ้าง ๓ แห่ง อย่าให้ซ้ำกัน

         และในศกเดียวกันนี้ ได้เพิ่มเติมหลักสูตรนักธรรมชั้นเอก คือให้สอบพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ อีกส่วนหนึ่ง และถือว่าเป็นวิชาสำคัญ ถ้าสอบวิชานี้ตกวิชาอื่นในชั้นเป็นอันตกไปด้วยกัน

         หลักสูตรนักธรรมชั้นโทและชั้นเอกที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวนี้ เริ่มใช้แต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นไป (ประวัติการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. หน้า ๑๕๙๑๖๐.)

ธรรมศึกษาตรี

         การศึกษานักธรรมในครั้งนั้น เป็นที่นิยมและเป็นที่ยกย่องทั้งในวงการคณะสงฆ์และในทางราชการ ผู้ที่สอบได้ประโยคนักธรรม เมื่อลาสิกขาออกไป ก็สามารถรับราชการเป็นครูสอนตามโรงเรียนต่างๆ เมื่อมีการสอบเลื่อนวิทยฐานะครู ผู้สอบได้ประโยคนักธรรมก็ได้รับสิทธิพิเศษ โดยได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องสอบ ๑ ชุดวิชา เพราะประโยคนักธรรมชั้นตรีจัดเป็นชุดวิชาหนึ่งสำหรับการเลื่อนวิทยฐานะ

         ต่อมาคณะสงฆ์ในสมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ พิจารณาเห็นว่า การศึกษานักธรรมก็เป็นประโยชน์แม้แก่ผู้ที่มิใช่ภิกษุสามเณร โดยเฉพาะในหมู่ข้าราชการครู ดังนั้น คณะสงฆ์จึงอนุญาตให้ครูทั้งหญิงและชายเข้าสอบประดยคนักธรรมชั้นตรีในสนามหลวงได้ โดยได้ตั้งหลักสูตรประโยคนักธรรมสำหรับฆราวาส เรียกว่า "ธรรมศึกษาตรี" ซึ่งประกอบด้วยวิชาที่ต้องสอบเช่นเดียวกันกับหลักสูตรนักธรรมชั้นตรีสำหรับภิกษุสามเณร ยกเว้นวิชาวินัยบัญญัติ ใช้เบญจศีล เบญจธรรม และอุโบสถศีลแทน

         ธรรมศึกษาตรี เปิดสอบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ ปรากฏว่ามีฆราวาสทั้งชายและหญิงสมัครสอบกันเป็นจำนวนมาก (เล่มเดียวกัน, หน้า ๑๕๘.)

ธรรมศึกษาโท

         เมื่อเห็นว่าฆราวาสสนใจศึกษาและสมัครสอบธรรมศึกษาตรีกันเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ คณะสงฆ์จึงได้จัดตั้งหลักสูตรธรรมศึกษาโทขึ้น เพื่อเป็นการขยายการศึกษานักธรรมสำหรับฆราวาสให้กว้างขวางและแพร่หลายยิ่งขึ้น อันเป็นการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาทางหนึ่ง หลักสูตรธรรมศึกษาโทประกอบด้วยวิชาที่ต้องสอบ ๓ วิชา คือธรรมวิภาค อนุพุทธประวัติ และเรียงความแก้กระทู้ธรรม เช่นเดียวกับหลักสูตรนักธรรมชั้นโทสำหรับภิกษุสามเณร ยกเว้นวินัยบัญญัติธรรมศึกษาโทสอบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ (เล่มเดียวกัน, หน้า ๑๕๙.)
ธรรมศึกษาเอก

         พ.ศ. ๒๔๗๘ คณะสงฆ์ได้ตั้งหลักสูตรธรรมศึกษาเอกและอนุญาตให้ฆราวาสสอบได้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘ เป็นต้นไป (แถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๒๓ อ้างใน รายงานเรื่องศึกษาของคณะสงฆ์ไทย. (เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม). ฝ่ายวิจัย กองแผนงาน กรมศาสนา, พ.ศ. ๒๕๑๖. หน้า ๒๓.) หลักสูตรนักธรรมชั้นเอกก็ประกอบด้วยวิชาที่ต้องสอบ ๓ วิชา คือ ธรรมวิภาค พุทธานุพุทธประวัติ และเรียงความแก้กระทู้ธรรม เช่นเดียวกับหลักสูตรนักธรรมชั้นเอกสำหรับภิกษุสามเณร ยกเว้นวินัยบัญญัติ
         การศึกษานักธรรม อันเป็นการศึกษาพระพุทธศาสนา หรือธรรมวินัยในภาษาไทย ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงพระดำริตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ นั้น ได้พัฒนามาโดยลำดับ ทั้งในด้สนหลักสูตร การเรียนและการสอน เพื่อให้ภิกษุสามเณรมีความรู้ในธรรมวินัย ตลอดถึงความเป็นมาของพระพุทธศาสนาอย่างทั่วถึง พอแก่การที่จะเป็นศาสนทายาทที่มีคุณภาพ สามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้ด้วยดี การศึกษานักธรรมได้เป็นที่นิยมนับถือของคณะสงฆ์และได้รับการจัดให้เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของภิกษุสามเณรในประเทศไทยควบคู่ไปกับการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีนับแต่เริ่มต้นมาจนบัดนี้ การศึกษานักธรรมที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯได้ทรงตั้งขึ้นนี้ จึงนับว่ามีคุณประโยชน์ต่อการพระศาสนาในประเทศไทยเป็นอย่างมาก

         นอกจากนี้ การศึกษานักธรรมยังได้แผ่ประโยชน์ไปยังพุทธบริษัทฝ่ายฆราวาสด้วย ดังที่ฆราวาสจำนวนมากก็สนใจศึกษาและสอบธรรมศึกษากันเป็นจำนวนมากตลอดมาดังที่กล่าวแล้ว การที่พุทธบริษัทฝ่ายฆราวาสได้มีโอกาสเรียนรู้ธรรมวินัย นับว่ามีประโยชน์ต่อการที่จะช่วยส่งเสริมและดำรงรักษาพระศาสนาให้เจริญมั่นคงได้ทางหนึ่ง

         หลักสูตรพุทธานุพุทธประวัติ ใช้หนังสือพุทธประวัติ เล่ม ๑, เล่ม ๓ หนังสือปฐมสมโพธิ หนังสือพุทธานุพุทธประวัติ หนังสืออนุพุทธประวัติ และหนังสือสังคีติกถา
ที่มา ที่มา http://www.gongtham.net/my_data/history_gongtham/index.php

คำแนะนำในการแต่งปัญหาวินัยบัญญัติ

         ๑.ให้รู้จักสังเกตคำถามว่า ระบุลักษณะมีเจตนาเป็นต้นชัดเจนหรือเคลือบคลุม เช่น ถามว่าภิกษุดื่มน้ำมีตัวสัตว์ต้องอาบัติอะไร เช่นนี้เป็นคำถามอันเคลือบคลุม ไม่ได้ระบุเจตนาและไม่ได้ระบุชนิดสัตว์ อันจะปรับเป็นปาจิตตียได้ ต่อเมื่อได้ความว่าเป็นสัตว์ที่อาศัยน้ำ และภิกษุรู้ว่าในน้ำนั้นมีสัตว์ชนิดนั้น

         ๒.ให้รู้จักเทียบเคียงสิกขาบทอันละม้ายกัน มีอนิยตสองเป็นตัวอย่าง

         ๓.ให้รู้จักสังเกตว่า บางสิ่งบางอย่าง กล่าวในหลายสิกขาบท เช่น การทำจีวร เป็นเหตุให้ได้รับยกเว้นต่าง ๆ

         ๕.ให้รู้จักใช้ความจำ เช่นลำดับแห่งสิกขาบทเป็นต้น

         ๖.ให้รู้จักยันหลักของตนให้มั่น อย่าให้น้อมใจไปตามคำถาม

         ๗.ให้รู้จักวางบทตัดสิน

         ๘.ให้รู้จักสันนิษฐานความให้เข้าหลัก เช่น อย่างไร เป็นมุสาวาท อย่างไร เป็นฆ่าสัตว์

         ๙.ให้รู้จักสันนิษฐานว่าถึงที่สุดหรือยัง

         ๑๐.ให้รู้จักความมุ่งหมายเป็นเหตุบัญญัติสิกขาบท

         ๑๑.ให้รู้จักกำหนดสิกขาบทอันเป็นเหตุสมมุ่งหมาย หรืออันกลายไปเสียแล้ว

คำแนะนำในการตอบปัญหาธรรมวิภาค

๑. พึงรู้จักความแห่งคำที่เรียกทับศัพท์ ตลอดถึงชื่อแห่งข้อและหมวดธรรม เช่น นิวรณ์ อคติ เบญจขันธ์เป็นต้น และเช่น อัตตสัมมาปณิธิ บุพเพกตปุญญตา จักร ๔ พละ ๕ เป็นต้น เพราะเกื้อกูลแก่การฟังเข้าใจ การจำเป็นหลัก และการเรียกสะดวก
         ๒. พึงรู้ความประสงค์แห่งการแสดงข้อธรรมเหล่านั้น เช่น ภยาคติ อัตตสัมมาปณิธิ โลกธรรม เป็นต้น
         ๓. พึงรู้จักอนุโลมข้อธรรมที่แก้ไว้สูง พึงรู้จักผ่อนให้ต่ำลงมา เช่น สัมมาสมาธิ ที่แก้ว่า เจริญฌาณ ๑ ที่แก้ไว้ต่ำ พึงรู้จักเขยิบขึ้นให้สูง เช่น อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์
         ๔. พึงรู้จักถือเอาความแห่งข้อหนึ่ง เพราะมีข้ออื่นบ่งเช่นปฏิรูปเทศ เป็นตัวอย่าง
         ๕. พึงรู้จักศัพท์อันเดียวแต่หมายความต่าง ๆ เช่น อินทริยและจาคะ เป็นต้น
         ๖. พึงกำหนดข้อธรรมอันเดียวแต่มาในหมวดต่าง ๆ หลายหมวด เช่น ศรัทธาและปัญญาเป็นตัวอย่าง
         ๗. พึงเข้าใจเรียงความบางหมวดให้เกี่ยวเนื่องเป็นเหตุและผลของกัน เช่น วุฒิ ๔ จักร ๔ โพชฌงค์ ๗ เป็นตัวอย่าง
         ๘. พึงเทียบหมวดธรรมอันละม้ายคล้ายคลึงกัน เช่น อริยทรัพย์ และสัปปปุริสธรรมเป็นตัวอย่าง
         ๙. พึงเทียบธรรมที่เห็นว่าน่าแย้งกัน เช่น คณสังคณิกาและหมั่นประชุม
         ๑๐. พึงรู้จักอรรถที่ตรงกันข้าม ที่เรียกว่าฝ่ายขาวฝ่ายดำ เช่น องค์แห่งมรรค ๘ เป็นฝ่ายขาว คือส่วนดี พึงรู้จักองค์อันเป็นฝ่ายดำ คือส่วนชั่ว ดุจเดียวกัน มละเป็นฝ่ายดำ พึงรู้จักฝ่ายขาวด้วย
         ๑๑. พึงรู้จักความกว้างความแคบ เช่น สิกขาและสิกขาบท สังขาร และเวทนา เป็นตัวอย่าง
         ๑๒. พึงรู้จักย่นข้อธรรมอันเป็นอันมากให้น้อย เช่น นามขันธ์และโลกธรรมเป็นตัวอย่าง
         ๑๓. พึงรู้จักศัพท์อันมีความเป็นอันเดียวกัน เช่น บุญ กุศล สุจริต และบาป อกุศล ทุจริต และเหตุ ปัจจัย มูล เป็นตัวอย่าง
         ๑๔. พึงอ่านหนั่งสือต่างๆ เช่น พุทธสมัยและวรรณนาเป็นต้น เพื่อได้ความรู้เข้ามาประกอบ
         ๑๕. พึงใส่ใจลำดับแห่งข้อธรรมและหมวดธรรม นี้เป็นอุปการะแก่การจำแม่นไม่ตกหล่น และนึกถึงได้คล่อง ๆ
         ๑๖. พึงพิจารณาปัญหาและตอบตามหลัก ดังต่อไปนี้
         ก.พึงเข้าใจแห่งปัญหานั้นก่อน ถ้าเข้าใจผิดตอบย่อมผิดตาม

         ข.ถ้าเป็นปัญหาถามเพื่อสอบความจำ พึงตอบตามแบบให้บริบูรณ์ เป็นแต่ประกอบคำตอบให้สมรูปปัญหา

         ค.ถ้าเป็นปัญหาให้ออกความคิด พึงตอบตามความเห็นของตน

         ฆ.ถ้าเป็นปัญหาจะให้ตอบตามหลัก เช่น ถามถึงลักษณะสัตบุรุษ พึงตอบอาศัยสัตบุรุษธรรมเป็นตัวอย่าง
 ที่มา http://www.gongtham.net/my_data/history_gongtham/index.php

วิธีสืบค้นรายชื่อผู้สอบธรรมศึกษาได้ใน จังหวัดและสถานศึกษาที่ระบุ

วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

หอมศีล (สรภัญญะอิสาน)



กลิ่นศีลหอมไปไกล ........ถึงเทพไท้และเทวา
เป็นของพระสัตถา .........บัญญัติมาเป็นแก่นสาร
มีศีลใจเบิกบาน ............กายสังขารก็สดใส
ดอกไม้นานาพันธุ์ ..........หอมไม่นานก็โรยรา
กลิ่นศีลพระสัมมา ..........หอมจากป่าเข้าถึงเมือง
เป็นเรื่องอัศจรรย์ ...........หอมอยู่นานสองพันปี
หอมไปได้ทุกที่ .............ผู้ใดมีไม่ตรอมตรม
หอมทวนกระแสลม.........คนนิยมหากมีศีล
เทวินและอินทร์พรหม .......ก็ชื่นชมโมทนา
กษัตราราชินี ................ก็ย่อมมีประดับกาย
ชนชาติภาษาใด ............ไม่มีภัยหากมีศีล
สมเด็จพระมุนิน .............อาศัยศีลถึงนิพพาน
กลิ่นศีลหอมอยู่นาน .........ปัจจุบันยังหอมดี
ขอเชิญเหล่านารี ............เอาของดีไปรักษา
เป็นของพระสัมมา ..........ไปรักษาปฏิบัติ
กำจัดตัวตัณหา ..............กายวาจาเป็นสุขี
ขอบอกกล่าวเพียงเท่านี้ .....สวัสดี ทุกท่านเทอญ (ซ้ำ 3ครั้ง)

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

คุณสมบัติสำหรับการเปิดสนามสอบ

1.องค์กร-สถาบันการศึกษามีผู้สมัครเรียนสมัครสอบธรรมศึกษา รวม ๑๐๐ คนขึ้นไป เว้นแต่ตำบลนั้นยังไม่มีสนามสอบ

2.มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เพื่อส่งรายชื่อผู้ขอเข้าสอบที่เว็บไซต์สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง และรับข้อสอบในวันสอบจากเว็บไซต์สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง

3.เครื่องพิมพ์ เพื่อพิมพ์ข้อสอบที่ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงในวันสอบ

4.เครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องสำเนา เพื่อสำเนาข้อสอบที่ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์สำนักงานแม่กอง
ธรรมสนามหลวงในวันสอบ และนำไปแจกจ่ายให้กับผู้สอบ
องค์กร-สถาบันการศึกษามีผู้สมัครเรียนสมัครสอบธรรมศึกษา รวม ๑๐๐ คนขึ้นไป เว้นแต่ตำบลนั้นยังไม่มีสนามสอบ

ขั้นตอนการเปิดสนามสอบ
1 องค์กร-สถาบันการศึกษามีผู้สมัครเรียนสมัครสอบธรรมศึกษา รวม ๑๐๐ คนขึ้นไป
2 องค์กร-สถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนธรรมศึกษามีหนังสือแจ้งความประสงค์ขออนุมัติเปิดเป็นสนามสอบธรรมศึกษาไปยังเจ้าคณะจังหวัด/เจ้าสำนักเรียน
3 เจ้าคณะจังหวัด/เจ้าสำนักเรียนเสนอขออนุมัติจากแม่กองธรรมสนามหลวง โดยให้ระบุจำนวนผู้สมัครขอเข้าสอบแต่ละชั้นและรวมได้ตามหลักเกณฑ์ข้อที่ ๑ และแจ้งนามพระสังฆาธิการที่รับผิดชอบกำกับดูแลสนามสอบมาด้วย (ดูตัวอย่างบัญชีแจ้งจำนวน, บัญชีแจ้งประธานสนามสอบ และ บัญชีแจ้งผู้รับข้อสอบ)
4 ให้นำเสนอก่อนวันออกพรรษา ๑ เดือน
5 เมื่อแม่กองธรรมสนามหลวงอนุมัติแล้ว จะมีหนังสือแจ้งตอบเป็นลายลักษณ์อักษร
6 ให้จัดทำบัญชีผู้สมัครขอเข้าสอบส่งผ่านเว็บไซต์สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ก่อนวันออกพรรษา ๑ วัน โดยศึกษาแบบฟอร์มต่างๆ และวิธีส่งรายชื่อผู้ขอเข้าสอบผ่านเว็บไซต์
ที่มา ...https://help.gongtham.org/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A/

การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษา

วิธีสืบค้นรายชื่อผู้สอบธรรมศึกษาได้ในทั้งจังหวัด

วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560

สถาปนา130ปี มหาจุฬาฯ/130 MCU Profile Maker(โลโก้ มจร 130 ปี)

ระเบียบการเข้าสอบธรรมศึกษา

มีนักเรียนบางคน ขณะเข้าสอบธรรมศึกษา ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก  มักจะทำผิดระเบียบโดยไม่รู้ตัว  ทำให้ถูกตัดคะแนน  หรือบางครั้งถึงกับถูกปรับให้เป็นสอบตกก็มี  เป็นเพราะไม่เข้าใจระเบียบในการเข้าสอบ   จึงขอแนะนำพอเป็นสังเขป ดังนี้

        - การสอบมีด้วยกัน ๔ วิชา คือ เรียงความแก้กระทู้ธรรม, ธรรมะ, พุทธะ, วินัย  คะแนนเต็ม ๔๐๐ ถ้าได้ตั้งแต่ ๒๐๐ ขึ้นไป ถือว่าสอบได้  วิชากระทู้ธรรมให้เขียนด้วยลายมือตนเองลงในกระดาษสอบ , อีก ๓ วิชาให้ฝนดินสอหรือปากกาลงในกระดาษคำตอบ ทั้งสนามสอบในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

        - ควรเตรียมอุปกรณ์การสอบให้เรียบร้อย  คือ ปากกาสีดำ หรือสีน้ำเงิน, หรือดินสอดำก็ได้, ห้ามใช้ปากกาสีแดง ควรเตรียมยางลบ หรือน้ำยาลบคำผิด , ไม้บรรทัด ,  ไม่ควรนำสมุด หนังสือหรือกระดาษที่มีข้อความเขียนอยู่เข้าไปในห้องสอบ

        - อย่าขีดฆ่ากระดาษสอบให้สกปรก  ถ้าเขียนผิดควรใช้ยางลบ หรือน้ำยาลบคำผิด ลบให้สะอาด  ถ้าเขียนผิดมากหลายบรรทัด (เช่น สอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม) ให้ตีเส้นเหนือข้อความและใต้ข้อความที่เขียนผิดนั้น แล้วตีเส้นทแยง ขวางทับเพียง ๑ เส้นก็พอ หรือจะขอกระดาษสอบแผ่นใหม่มาเขียนก็ได้  แต่ต้องดูเวลาสอบที่เหลือด้วยว่าเราจะเขียนทันกับเวลาหรือไม่  » (วิธีขีดฆ่าข้อความจำนวนมาก)

        - ห้ามทุจริตในการสอบ เช่น นำหนังสือเข้ามาดูในห้องสอบ เป็นต้นฯ

        - นักเรียนต้องใช้กระดาษสอบที่ทางสนามสอบจัดมาให้เท่านั้น นักเรียนจะจัดหามาเองไม่ได้

        - สำหรับการสอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ให้เขียนด้วยลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ไม่ควรเขียนหวัด ต้องเขียนเว้นบรรทัด ชั้นตรีให้เขียน ๒ หน้ากระดาษขึ้นไป , ชั้นโท ๓ หน้ากระดาษขึ้นไป , ชั้นเอก ๔ หน้ากระดาษขึ้นไป แต่จะเขียนมากกว่ากำหนดก็ได้

        - สำหรับกระดาษสอบวิชาอื่น ให้ใช้วิธีฝนดินสอหรือปากกาลงในช่อง ก. ข. ค. ง.

        - ควรมีมารยาทสากลในการสอบ คือ รักษาความสงบ ความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยในห้องสอบ

        - เมื่อสอบเสร็จแต่ละวิชาแล้ว ต้องมาลงชื่อเป็นหลักฐานในใบลงชื่อให้เรียบร้อย ให้ตรงกับช่องวิชาที่สอบเสร็จแล้วนั้น  โดยเขียนชื่อเป็นตัวบรรจง ไม่ใช่ลายเซ็นแบบอ่านไม่ออก

        - หากพบว่าชื่อหรือนามสกุลของตนเองในใบลงชื่อพิมพ์ผิด  ให้รีบแจ้งกับคุณครูผู้คุมสอบ เพื่อทำการแก้ไขทันที

        - มีสิ่งใดสงสัยมากกว่านี้ให้สอบถามที่คุณครู หรือพระอาจารย์ผู้คุมสอบ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/watluangpreechakul/procedure

วิธีขีดฆ่าข้อความ ที่ไม่ต้องการออกหลายบรรทัด

 หากนักเรียนเขียนข้อความเรียงความแก้กระทู้ธรรม แล้วเขียนผิด ก็ให้ใช้ยางลบ หรือน้ำยาลบคำผิด ค่อยๆ ลบให้สะอาด อย่าให้เลอะเทอะ แต่หากนักเรียนเขียนผิดมากหลายบรรทัด ต้องการที่จะลบทีเดียวหลายบรรทัดติดต่อกัน หากจะลบด้วยน้ำยาลบคำผิดก็เกรงว่าจะทำให้กระดาษสกปรก ก็ให้ทำดังนี้...

        ให้ใช้ปากกาขีดเส้นเหนือข้อความที่ต้องการจะขีดฆ่า และใต้ข้อความที่จะขีดฆ่า แล้วจึงขีดเส้นคร่อมขวางเป็นแนวเฉียง แบบในภาพด้านล่างนี้



        เพียงเท่านี้ก็ถือว่าใช้ได้ และไม่ผิดกฎในการเขียนเรียงความ เพียงแต่ว่านักเรียนจะต้องเขียนชดเชยข้อความให้มากเท่ากับจำนวนบรรทัดที่ขีดฆ่าไปด้วย.
ที่มา https://sites.google.com/site/watluangpreechakul/deface

วิธีสมัครเรียนและสอบธรรมศึกษา

การเรียนและการสอบธรรมศึกษา นั้นก็เพื่อให้นักเรียนและผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสศึกษาประวัติ และคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เพื่อเรียนรู้แนวทางในการปฏิบัติตนตามหลัก ศีลธรรม จริยธรรม เพื่อความสงบสุขของชีวิต ของครอบครัว ของสังคม รวมไปถึงประเทศชาติ และของโลก

        สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง โดยความจัดการของมหาเถรสมาคม จึงเปิดให้มีการเรียนและการสอบพระปริยัติธรรม แผนก นักธรรม (พระภิกษุ-สามเณร) และ ธรรมศึกษา (ฆราวาส ชาวบ้านทั่วไป) โดยแบ่งเป็น ๓ ระดับชั้นขึ้นมา คือ ชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก  โดยนักเรียนที่สอบได้จะได้รับใบประกาศนียบัตร และบันทึกในผลการเรียน ใบ ปพ.๑ เพื่อเป็นหลักฐานและเกียรติประวัติต่อไป

        สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการสอบธรรมศึกษา ให้ติดต่อได้ที่วัดใกล้บ้านท่าน ทั่วประเทศ โดยสอบถามได้จากเจ้าอาวาสของวัด หรือติดต่อสอบถามที่โรงเรียนใกล้บ้านที่มีการจัดสอบธรรมศึกษา