แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บทที่ ๑ ชมพูทวีปและประชาชน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บทที่ ๑ ชมพูทวีปและประชาชน แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บทที่ ๑ ชมพูทวีปและประชาชน

บทที่ ๑ ชมพูทวีปและประชาชน
•  “พุทธประวัติ”  หมายถึง  ความเป็นมาของพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา   
•   ชมพูทวีปในปัจจุบันคือดินแดนของประเทศ อินเดีย,เนปาล,บังคลาเทศ  
•   ชนชาติ มี ๒ ชนชาติในชมพูทวีป คือ
๑. มิลักขะ เป็นเจ้าของถิ่นเดิม      ๒. อริยกะ เป็นพวกที่อพยพเข้ามายึดครอง
•   การแบ่งเขตการปกครอง  แบ่งเป็น    เขต
          ๑. มัชฌิมชนบท  หรือ มัธยมประเทศ (ส่วนกลาง)  เป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ
          ๒. ปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ ( ส่วนปลายแดน)  เป็นที่อยู่ของพวกมิลักขะ
•   การปกครอง  แบ่งการปกครองเป็นอาณาจักร  หรือรัฐ  หรือแคว้นมีหัวหน้าปกครองประจำแคว้น   
•   มัธยมประเทศแบ่งออกเป็น ๑๖  แคว้น
•   ระบบวรรณะ  (แบ่งแยกชนชั้น)  มี    วรรณะ คือ
๑.กษัตริย์  คือ  ผู้นำในการปกครองบ้านเมือง  ให้ความสงบสุข ( สูง)
๒.พราหมณ์  คือ  ผู้มีหน้าที่อบรมสั่งสอน  ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ( สูง)
๓.แพศย์  คือ  ผู้ที่ทำการเกษตร  กสิกรรม  ช่างฝีมือ  ค้าขาย ( กลาง )
๔.ศูทร  คือ  ผู้รับจ้างใช้แรงงาน   ทาส   คนรับใช้ ( ต่ำสุด)
•   จัณฑาล  คือ  บุตรที่เกิดจากบิดา  มารดาต่างวรรณะกัน ถือว่าต่ำที่สุด
•   ลัทธิ และการนับถือ ประชาชนในชมพูทวีปนับถือ ศาสนาพราหมณ์ มีพระพรหมเป็นศาสดา และยึดถือคัมภีร์ไตรเพท เป็นหลักคำสอน
•   ความเชื่อ  ของคนในชมพูทวีป
          ๑.เชื่อว่าตายแล้วเกิด ๒.เชื่อว่าตายแล้วสูญ และ ๑.ชื่อว่าการเกิด การตายมีเหตุปัจจัย ๒.เชื่อว่าการเกิดการตายไม่มีเหตุปัจจัย