แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ นักธรรมตรีวิชาธรรมย้อนหลัง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ นักธรรมตรีวิชาธรรมย้อนหลัง แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2543

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2543

ปัญหาและเฉลยธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓

วันพฤหัสบดี ที่  ๑๖  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓

----------------------------------------

๑.

๑.๑

โลกเดือดร้อนวุ่นวายในปัจจุบันนี้ เพราะขาดธรรมอะไร ?


๑.๒

บุคคลมีกาย วาจา ใจ งดงามเพราะปฏิบัติธรรมอะไร ?

๑.

๑.๑

เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่างคือ

     ๑) หิริ ความละอายแก่ใจ

     ๒) โอตตัปปะ ความเกรงกลัว

๑.๒

เพราะปฏิบัติธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่างคือ

     ๑) ขันติ ความอดทน

     ๒) โสรัจจะ ความเสงี่ยม

๒.

๒.๑

ทุจริต คืออะไร ?  มีเท่าไร ?  อะไรบ้าง ?

๒.๒

คนที่รับปากรับคำเขาไว้แล้ว แต่ไม่ทำตามนั้นจัดเข้าในทุจริตข้อไหน ?

๒.

๒.๑

ทุจริต คือประพฤติชั่ว ประพฤติเสียหาย มี ๓ คือ

     ๑) ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียก กายทุจริต

     ๒) ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียก วจีทุจริต

     ๓) ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียก มโนทุจริต

๒.๒

จัดเข้าในวจีทุจริต

๓.

๓.๑

มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่วเรียกว่าอะไร ?  มีอะไรบ้าง ?

๓.๒

สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญเรียกว่าอะไร ? โดยย่อมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?

๓.

๓.๑

เรียกว่า อกุศลมูล หมายถึงรากเง่าของอกุศล มี ๓ คือ

     ๑) โลภะ อยากได้

     ๒) โทสะ คิดประทุษร้ายเขา

     ๓) โมหะ หลง ไม่รู้จริง

๓.๒

เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ คือ

     ๑) ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน

     ๒) สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล

     ๓) ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

๔.

๔.๑

หลักธรรมดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ มีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

๔.๒

อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ข้อไหนเป็นอันตรายที่สุด ?

เพราะเหตุไร ?

๔.

๔.๑

มี ๔ อย่างคือ

     ๑) ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร

     ๒) สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ

     ๓) อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

     ๔) ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน

๔.๒

ข้อ ๓ คือ เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นอันตรายที่สุด  เพราะอันตรายข้ออื่น ๆ ย่อมรวมลงในกามคุณทั้งสิ้น

๕.

๕.๑

อธิษฐานธรรมคือธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ มีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

๕.๒

ผู้ที่ทำงานไม่สำเร็จผลตามที่มุ่งหมายเพราะขาดคุณธรรมอะไรบ้าง ?

๕.

๕.๑

มี ๔ อย่างคือ

     ๑) ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้

     ๒) สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง

     ๓) จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ

     ๔) อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ

๕.๒

เพราะขาดอิทธิบาท คือ คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่างคือ

     ๑) ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น

     ๒) วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น

     ๓) จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ

     ๔) วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น

๖.

๖.๑

อินทรีย์ ๖ กับอารมณ์ ๖ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?

๖.๒

อะไรเรียกว่า สัมผัส ?

๖.

๖.๑

มีความสัมพันธ์กันอย่างนี้

     ตา เป็นใหญ่ในการเห็นอารมณ์ คือรูป

     หู เป็นใหญ่ในการฟังอารมณ์ คือเสียง

     จมูก เป็นใหญ่ในการสูดดมอารมณ์ คือกลิ่น

     ลิ้น เป็นใหญ่ในการลิ้มอารมณ์ คือรส


     กาย เป็นใหญ่ในการถูกต้องอารมณ์ คือโผฏฐัพพะ

     ใจ เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ คือธรรม

๖.๒

การกระทบกันระหว่างอายตนะภายในมี ตา เป็นต้น กับอายตนะ     ภายนอก มีรูปเป็นต้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ เป็นต้น    ทั้ง ๓ อย่างนี้   รวมกันในขณะเดียวกัน เรียกว่า สัมผัส

๗.

๗.๑

มละคือมลทิน หมายถึงอะไร ?

๗.๒

มลทินข้อที่ ๑ และข้อที่ ๙ คืออะไร ?  แก้ด้วยธรรมอะไร ?

๗.

๗.๑

หมายถึงกิเลสเป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส

๗.๒

มลทินข้อที่ ๑ คือ โกรธ แก้ด้วยเจริญเมตตา และมลทินข้อที่ ๙ คือ    เห็นผิด  แก้ด้วยสัมมาทิฏฐิ

๘.

๘.๑

เหตุให้เกิดประโยชน์ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร ?  มีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

๘.๒

เมื่อปฏิบัติตามเหตุนั้นแล้วจะได้รับผลอะไร ?

๘.

๘.๑

เรียกว่าทิฏฐธัมมิกัตถะ มี ๔ อย่างคือ

     ๑) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น

     ๒) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา

     ๓) กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี

     ๔) สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควร

๘.๒

จะได้รับผล คือ ทรัพย์ ยศ ไมตรี เป็นต้นในปัจจุบัน

๙.

๙.๑

ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่ได้นานเพราะสถานใดบ้าง ?

๙.๒

ฆราวาสผู้ครองเรือนควรตั้งอยู่ในธรรมข้อใดบ้าง ?

๙.

๙.๑

เพราะสถาน ๔ คือ

     ๑) แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว

     ๒) บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า

     ๓) รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ

     ๔) ตั้งสตรีหรือบุรุษผู้มีศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน

๙.๒

ควรตั้งอยู่ในฆราวาสธรรม ๔ คือ

     ๑) สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน

     ๒) ทมะ รู้จักข่มจิตของตน

     ๓) ขันติ อดทน

     ๔) จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน

๑๐.

๑๐.๑

จงเขียนศีล ๕ ข้อที่ ๕ พร้อมทั้งคำแปล

๑๐.๒

สมบัติและวิบัติของอุบาสกอุบาสิกามีอะไรบ้าง ?

๑๐.

๑๐.๑

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี แปลความว่า เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

๑๐.๒

มี

     ๑) ประกอบด้วยศรัทธา

     ๒) มีศีลบริสุทธิ์

     ๓) ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล

     ๔) ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา

     ๕) บำเพ็ญบุญแต่ในพระพุทธศาสนา

     ตรงข้ามกับสมบัติทั้ง ๕ นี้  เป็นวิบัติของอุบาสกอุบาสิกา

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2544

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2544

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่  ๓  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๔๔

๑.

๑.๑

ธรรมคุ้มครองโลกมีอะไรบ้าง ?

๑.๒

ธรรมข้อนี้จะคุ้มครองโลกได้อย่างไร ?

๑.

๑.๑

มี  ๒  อย่างคือ

๑) หิริ  ความละอายแก่ใจ

๒) โอตตัปปะ  ความเกรงกลัว

๑.๒

ธรรมข้อนี้จะคุ้มครองโลกได้ เนื่องจากปัจจุบันโลกที่เกิดวิกฤตการณ์ในด้านต่าง ๆ ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะชาวโลกละทิ้งธรรม  คือ หิริ และโอตตัปปะ ไม่ละอายแก่ใจ ไม่เกรงกลัวต่อผลแห่งความชั่ว ขาดเมตตากรุณา เป็นคนเห็นแก่ตัวจัด มีการเบียดเบียน กระทำทุจริต  โดยวิธีการต่าง ๆ หากชาวโลกมีธรรมคู่นี้ตั้งมั่นในใจแล้ว ก็จะช่วยคุ้มครองโลกให้พ้นจากภาวะวิกฤตในปัจจุบันได้

๒.

๒.๑

พระรัตนตรัย กับไตรสรณคมน์ เป็นอย่างเดียวกัน  หรือต่างกันอย่างไร ?

๒.๒

การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๓ เป็นที่พึ่ง  จัดเป็นอย่างไหนใน ๒ อย่างนั้น ?

๒.

๒.๑

ต่างกัน พระรัตนตรัย ได้แก่หมวด ๓ แห่งรัตนะ คือ พระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์  ส่วนไตรสรณคมน์ ได้แก่การถึง (เข้าถึง) พระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์  เป็นสรณะ

๒.๒

จัดเป็นไตรสรณคมน์

๓.

๓.๑

ปธาน ๔  มีอะไรบ้าง ?

๓.๒

คนเสพยาเสพย์ติด เพียรพยายามจะเลิกให้ได้ ชื่อว่าตั้งอยู่ในปธานข้อไหน ?

๓.

๓.๑

มี         ๑) สังวรปธาน  เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน

๒) ปหานปธาน  เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว

๓) ภาวนาปธาน  เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน

๔) อนุรักขนาปธาน  เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม

๓.๒

ตั้งอยู่ในปหานปธาน

๔.

๔.๑

อริยสัจ ๔  มีอะไรบ้าง ?

๔.๒

ปรารถนาสิ่งใด  ไม่ได้สมหวัง  จัดเป็นอริยสัจข้อไหน ?

๔.

๔.๑

มี         ๑) ทุกข์

๒) สมุทัย คือ  เหตุให้ทุกข์เกิด

๓) นิโรธ  คือ  ความดับทุกข์

๔) มรรค  คือ  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

๔.๒

จัดเป็นทุกข์

๕.

๕.๑

กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด  มีชื่อเรียกว่าอะไร ?  คืออะไรบ้าง ?

๕.๒

เพราะเหตุไรจึงเป็นกรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด ?

๕.

๕.๑

มีชื่อเรียกว่า  อนันตริยกรรม  คือ

๑) มาตุฆาต  ฆ่ามารดา

๒) ปิตุฆาต  ฆ่าบิดา

๓) อรหันตฆาต  ฆ่าพระอรหันต์

๔) โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป

๕) สังฆเภท  ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน

๕.๒

เพราะห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้นับถือ

พระพุทธศาสนา ห้ามไม่ให้ทำเป็นเด็ดขาด

๖.

๖.๑

ทรัพย์ประเภทไหนเรียกว่าอริยทรัพย์ ?

๖.๒

อริยทรัพย์ดีกว่าทรัพย์ภายนอกเพราะเหตุไร ?

๖.

๖.๑

ทรัพย์  คือคุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ  เรียกว่า อริยทรัพย์  มี  ศรัทธา  ศีล  เป็นต้น

๖.๒

ดีกว่า เพราะอริยทรัพย์ เป็นคุณธรรม เครื่องบำรุงจิตใจให้ปลื้มให้อบอุ่น มีแล้วไม่ต้องเป็นทุกข์กังวลในการคุ้มครองป้องกันโจรภัยเป็นต้น ใครแย่งชิงไปไม่ได้ ใช้เท่าใดก็ไม่ต้องกลัวหมดสิ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยในการแสวงหา เป็นต้น  ทั้งสามารถติดตามเป็นที่พึ่งในสัมปรายภพได้ด้วย

๗.

๗.๑

โลกธรรมมีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

๗.๒

ท่านสอนให้ปฏิบัติต่อโลกธรรมอย่างไร ?

๗.

๗.๑

มี  ๘  อย่าง  คือ

มีลาภ ๑                      ไม่มีลาภ ๑

มียศ ๑   ไม่มียศ ๑

สรรเสริญ ๑                  นินทา ๑

สุข ๑      ทุกข์ ๑

๗.๒

สอนอย่างนี้ คือในโลกธรรมทั้ง ๘ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น

ควรพิจารณาว่า  สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา  มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์  มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา  ควรรู้ตามที่เป็นจริง  อย่าให้ครอบงำจิตได้  คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา  อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่ปรารถนา

๘.

๘.๑

อบายมุข ๔  มีอะไรบ้าง ?

๘.๒

การเที่ยวกลางคืนมีโทษอย่างไรบ้าง ?

๘.

๘.๑

มี         ๑) ความเป็นนักเลงหญิง

๒) ความเป็นนักเลงสุรา

๓) ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน

๔) ความคบคนชั่วเป็นมิตร

๘.๒

มีโทษ ๖ อย่างคือ

๑) ชื่อว่าไม่รักษาตัว

๒) ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย

๓) ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ

๔) เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย

๕) มักถูกใส่ความ

๖) ได้ความลำบากมาก

๙.

๙.๑

มิตตปฏิรูปได้แก่คนพวกไหนบ้าง ?

๙.๒

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติต่อคนพวกนี้อย่างไร ?

๙.

๙.๑

ได้แก่      ๑) คนปอกลอก

๒) คนดีแต่พูด

๓) คนหัวประจบ

๔) คนชักชวนในทางฉิบหาย

๙.๒

ทรงสอนให้หลีกเลี่ยงไม่ควรคบเป็นมิตร เหมือนคนเดินทางหลีกเลี่ยงทางที่มีภัยอันตรายเสีย ฉะนั้น

๑๐.

๑๐.๑

จงเขียนศีล ๕  ข้อที่ ๓  พร้อมทั้งคำแปล

๑๐.๒

อุบาสก  อุบาสิกา  ควรงดเว้นการค้าขายที่ไม่ชอบธรรมอะไรบ้าง ?

๑๐.

๑๐.๑

กาเมสุ  มิจฉาจารา  เวรมณี  เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๑๐.๒

ควรงดเว้น           ๑) ค้าขายเครื่องประหาร

๒) ค้าขายมนุษย์

๓) ค้าขายสัตว์เป็นสำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร

๔) ค้าขายน้ำเมา

๕) ค้าขายยาพิษ

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2545

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2545

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันศุกร์ ที่  ๒๒  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

 ๑.    ๑.๑ คนที่ทำอะไรมักพลั้งพลาด เพราะขาดธรรมอะไร  ?

        ๑.๒ ผู้ได้ชื่อว่ากตัญญูกตเวทีบุคคล  เพราะปฏิบัติตนอย่างไร ?

 ๑.    ๑.๑ เพราะขาดสติ ความระลึกได้ก่อนแต่จะทำ และขาดสัมปชัญญะ ความรู้ตัว

             ในขณะทำ ฯ

        ๑.๒ เพราะเป็นผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ

 ๒.    ๒.๑ พระรัตนตรัยมีอะไรบ้าง ?

        ๒.๒ รัตนะที่ ๑ หมายถึงใคร ?  จงอธิบาย

 ๒.    ๒.๑ มีพระพุทธ ๑   พระธรรม ๑   พระสงฆ์ ๑ ฯ

        ๒.๒ หมายถึงพระพุทธเจ้า ฯ ได้แก่ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วยกาย

             วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัยที่ท่านเรียกว่า พระพุทธศาสนา ฯ

 ๓.    ๓.๑ โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง มีอะไรบ้าง ?

        ๓.๒ บุคคลผู้หวังความเจริญ ควรตั้งอยู่ในธรรมอะไร ?   มีอะไรบ้าง ?

 ๓.    ๓.๑ ๑) เว้นจากทุจริต คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ

             ๒) ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ

             ๓) ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ฯ

        ๓.๒ ควรตั้งอยู่ในวุฑฒิธรรม ฯ   มี

             ๑) คบสัตบุรุษ

             ๒) ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยเคารพ

             ๓) ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ

             ๔) ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว ฯ

 ๔.    ๔.๑ ผู้ประกอบกิจการงานสำเร็จตามความประสงค์เพราะประพฤติธรรมอะไร ?

             มีอะไรบ้าง ?

        ๔.๒ คำว่าทุกข์ได้แก่อะไร ?   มีสาเหตุมาจากอะไร ?

 ๔.    ๔.๑ เพราะประพฤติอิทธิบาท ๔  มี

                   ๑) ฉันทะ  พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น

                   ๒) วิริยะ  เพียรประกอบสิ่งนั้น

                   ๓) จิตตะ  เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่วางธุระ

                   ๔) วิมังสา  หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ

        ๔.๒ ได้แก่ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ฯ  มีสาเหตุมาจากตัณหา

             ความทะยานอยาก ฯ

 ๕.    ๕.๑ "รู้รักสามัคคี" เกิดขึ้นเพราะปฏิบัติธรรมอะไร ?

        ๕.๒ อปริหานิยธรรม คืออะไร ?   มีกี่ข้อ ? จงแสดงมา ๑ ข้อ

๕.     ๕.๑ สาราณิยธรรม ฯ

        ๕.๒ คือธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม   มี ๗ ข้อ ฯ  (ตอบข้อใดข้อหนึ่ง) คือ

                   ๑) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

                   ๒) เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียง

                       กันเลิกและพร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ

                   ๓) ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรง

                       บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรง

                       บัญญัติไว้

                   ๔) ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น

               เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน

                   ๕) ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น

                   ๖) ยินดีในเสนาสนะป่า

                   ๗) ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา                     ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุข ฯ

 ๖.    ๖.๑ มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ประมาณ ในสัปปุริสธรรม  มีอธิบายไว้อย่างไร ?

        ๖.๒ คำว่า  เจรจาชอบ  ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น คือเจรจาอย่างไร ?

 ๖.    ๖.๑  ความเป็นผู้รู้ประมาณในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบและรู้จัก

             ประมาณในการบริโภคแต่พอควร ฯ

        ๖.๒ คือเว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ และเว้นจากพูด

             เพ้อเจ้อ ฯ

 ๗.    ๗.๑ นาถกรณธรรมคืออะไร ?

        ๗.๒ นาถกรณธรรมข้อว่า กัลยาณมิตตตา หมายความว่าอย่างไร ?

 ๗.    ๗.๑ คือธรรมทำที่พึ่ง ฯ

        ๗.๒ ความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม ไม่คบคนชั่ว ฯ

 ๘.    ๘.๑ มิตรแท้ ๔ จำพวก คือใครบ้าง ?

        ๘.๒ คำต่อไปนี้แปลว่าอย่างไร ?

                   ก) อติถิพลี

                   ข) ปุพพเปตพลี

 ๘.    ๘.๑ คือ

                   ๑) มิตรมีอุปการะ                                                                             ๒)       มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์

                   ๓) มิตรแนะประโยชน์                                          

                   ๔) มิตรมีความรักใคร่ ฯ

        ๘.๒      ก) การต้อนรับแขก

                   ข) การทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ฯ


 ๙.    ๙.๑ คำว่า อุบาสก  อุบาสิกา  แปลว่าอะไร ?

        ๙.๒ การค้าขายยาเสพติดมียาบ้าเป็นต้นจัดเข้าในมิจฉาวณิชชาข้อไหน ?

 ๙.    ๙.๑ อุบาสก  แปลว่า ชายผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย

             อุบาสิกา แปลว่า หญิงผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย ฯ

        ๙.๒ การค้าขายน้ำเมา ฯ

๑๐.  ๑๐.๑ การถือมงคลตื่นข่าวคือถืออย่างไร ? พระพุทธศาสนาสอนให้ถืออย่างนั้นหรือ

             อย่างไร ?

      ๑๐.๒ สมณพราหมณ์ เมื่อได้รับการบำรุงแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรอย่างไรบ้าง ?

๑๐. ๑๐.๑ ถือว่านี้ฤกษ์ดี ยามดี เป็นมงคลดี นี้ฤกษ์ไม่ดี ยามไม่ดี ไม่เป็นสวัสดิมงคล ฯ 

             พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้ถือเช่นนั้น สอนให้เชื่อว่า เรามีกรรมเป็นของของตน

             เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว ฯ

      ๑๐.๒ อย่างนี้ คือ

                   ๑) ห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว                

                   ๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี

                   ๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม             

                   ๔) ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง

                   ๕) ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่ม                

                   ๖) บอกทางสวรรค์ให้ ฯ

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2547

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2547

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๗


   ๑.  ขันติ กับ โสรัจจะ เป็นธรรมทำให้งามได้อย่างไร ?

   ๑.  ขันติ ความอดทน   โสรัจจะ ความเสงี่ยม  ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยธรรมทั้ง ๒ นี้ ย่อมมีใจหนักแน่นไม่แสดงความวิการออกมาให้ปรากฏ  แม้จะประสบความดีใจ เสียใจ

        ก็อดกลั้นได้  รักษากาย วาจา ใจให้สุภาพ สงบเสงี่ยมเป็นปกติไว้ได้  จึงทำให้งาม ฯ

   ๒.  บุพพการี ได้แก่บุคคลเช่นไร ?  พระพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในฐานะบุพพการีของ

        พุทธบริษัทอย่างไร ?

   ๒.  ได้แก่ บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน ฯ

        พระพุทธเจ้าทรงกระทำอุปการะแก่พุทธบริษัทก่อน ด้วยการทรงแนะนำสั่งสอนให้รู้ดี               รู้ชอบตามพระองค์ เพื่อให้ได้บรรลุประโยชน์ทั้ง ๓ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน  จึงชื่อว่าเป็นบุพพการี ฯ

   ๓.  เพราะเหตุไร หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงสอนเรื่องการทำใจของตนให้หมดจด

        จากเครื่องเศร้าหมอง ?

   ๓.  เพราะใจเป็นธรรมชาติสำคัญ   ถ้าใจเศร้าหมอง  ก็เป็นเหตุให้ทำชั่ว   การทำชั่วมีผล

        เป็นความทุกข์ ถ้าใจผ่องแผ้ว ก็เป็นเหตุให้ทำดี  การทำดีมีผลเป็นความสุข ฯ

   ๔.  บุญกิริยาวัตถุ คืออะไร ?  ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ นั้น ข้อไหนกำจัดความโลภ ความโกรธ             และ ความหลง ?

   ๔.  คือ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ ฯ  ทานมัยกำจัดความโลภ  สีลมัยกำจัดความโกรธ                     ภาวนามัยกำจัดความหลง ฯ

   ๕.  ในพระพุทธศาสนา บุคคลผู้ฆ่ามารดาบิดา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม จะได้

        รับโทษอย่างไร ?

   ๕.  จะได้รับโทษคือ ต้องไปสู่ทุคติ ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ฯ

   ๖.  ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เรียกว่าอะไร ?  ความดีที่ถูกกั้นไว้ไม่ให้บรรลุ หมายถึง                   ความดีอย่างไหน ?

   ๖.  เรียกว่า นิวรณ์ ฯ  หมายถึงความดีทุกๆ อย่าง  แต่เมื่อกล่าวโดยตรง ได้แก่สมาธิ

        คือการทำจิตใจให้สงบ ฯ

   ๗.  สาราณิยธรรม แปลว่าอะไร ?  ธรรมข้อนี้ย่อมอำนวยผลแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างไร ?

   ๗.  ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง ฯ  ทำผู้ปฏิบัติตามให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพของ

        ผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกันและกัน

        เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงกัน เป็นไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

   ๘.  โลกธรรม คืออะไร ?  เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรพิจารณาอย่างไร ?

   ๘.  คือ ธรรมที่ครอบงำสัตวโลกอยู่ และสัตวโลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น ฯ

        ในโลกธรรม ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่

        เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วน

        ที่ไม่ปรารถนา ฯ

   ๙.  สมบัติ ยศ อายุยืน สวรรค์ ท่านว่าเป็นผลที่ได้สมหมายยาก  บุคคลพึงบำเพ็ญธรรมอะไร จึงจะได้สมหมาย ?

   ๙.  พึงบำเพ็ญธรรมเป็นเหตุให้ได้สมหมาย ๔ อย่าง คือ

               ๑. สัทธาสัมปทา        ถึงพร้อมด้วยศรัทธา

               ๒. สีลสัมปทา           ถึงพร้อมด้วยศีล

               ๓. จาคสัมปทา          ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน

               ๔. ปัญญาสัมปทา       ถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ

๑๐.  คฤหัสถ์และบรรพชิต มีหน้าที่จะพึงปฏิบัติแก่กันและกันอย่างไรบ้าง ?

๑๐.  คฤหัสถ์ควรบำรุงบรรพชิตด้วยการทำ การพูด การคิดประกอบด้วยเมตตา ด้วย

        ความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือมิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน  ด้วยให้อามิสทาน   ส่วนบรรพชิตควรอนุเคราะห์ต่อคฤหัสถ์ด้วยห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี

        อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม  ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง  ทำสิ่งที่เคยฟังมาแล้วให้แจ่ม บอกทางสวรรค์ให้ ฯ     \

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2548

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2548

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่  ๑๙  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘


   ๑.  ธรรมมีอุปการะมาก ได้แก่อะไรบ้าง ?  บุคคลผู้ขาดธรรมนี้จะเป็นเช่นไร ?

   ๑.  ได้แก่ สติ ความระลึกได้ และ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ  จะเป็นคนหลงลืม

        จะทำจะพูดหรือจะคิดอะไรมักผิดพลาด ฯ

   ๒.  บุพพการีและกตัญญูกตเวที คือบุคคลเช่นไร ?  จัดเป็นคู่ไว้อย่างไรบ้าง ?

   ๒.  บุพพการี คือบุคคลผู้ทำอุปการะก่อน  กตัญญูกตเวที คือบุคคลผู้รู้อุปการะ

        ที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ  จัดเป็นคู่ไว้ดังนี้  บิดามารดา กับ บุตรธิดา, 

        ครูอาจารย์ กับ ศิษย์,  พระมหากษัตริย์ กับ ประชาราษฎร์,  พระพุทธเจ้า กับ

        พุทธบริษัท,  เป็นต้น ฯ

   ๓.  พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะเหตุไร ?

   ๓.  เพราะเป็นของมีคุณค่าและหาได้ยาก เหมือนเพชรนิลจินดามีค่ามาก นำประโยชน์

        และความสุขมาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ฯ

   ๔.  ธรรม ๔ อย่าง ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ ข้อว่า  “คบสัตบุรุษ คือคนดี”  นั้น

        จะนำไปสู่ความเจริญได้อย่างไร ?

   ๔.  เมื่อคบสัตบุรุษแล้วย่อมเป็นเหตุให้คิดดีพูดดีทำดี อันก่อให้เกิดความสุขความเจริญ

        ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน ทั้งยังให้ถึงความเจริญ

        อย่างที่สุดคือพระนิพพานได้ ฯ

   ๕.  ปัจจยปัจจเวกขณะ หมายความว่าอย่างไร ?

   ๕.  หมายความว่า พิจารณา (ถึงคุณและโทษของปัจจัย ๔) ก่อน จึงบริโภคปัจจัย ๔

        คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา ฯ

   ๖.  ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ?  ย่อเป็น ๒ ได้อย่างไร ?

   ๖.  ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ ฯ 

        รูปขันธ์จัดเป็นรูป   ที่เหลือจัดเป็นนาม ฯ

   ๗.  อปริหานิยธรรม คืออะไร ?  ข้อที่ ๔ ความว่าอย่างไร ?

   ๗.  คือ ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว ฯ

        ข้อที่ ๔ ความว่า ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุ

        เหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ฯ

   ๘.  ในมรรคมีองค์ ๘  คำว่า  “เพียรชอบ”  คือเพียรอย่างไร ?

   ๘.  คือ

             เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน

             เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว

             เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน

             เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม ฯ

   ๙.  บุคคลจะได้รับประโยชน์ปัจจุบัน จะต้องปฏิบัติตามหลักธรรมอะไร ?

   ๙.  ต้องปฏิบัติตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ประการ คือ

             ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ในการประกอบกิจการงาน

                                    ในการศึกษาเล่าเรียน  ในการทำธุระหน้าที่ของตน

              ๒. อารักขสัมปทา   ถึงพร้อมด้วยการรักษา ทั้งทรัพย์และการงาน ไม่ให้เสื่อมไป

              ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว

              ๔. สมชีวิตา         ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ฯ

๑๐.  มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุข พระพุทธศาสนาแสดงความสุขของผู้ครองเรือน

        ไว้อย่างไร ?

๑๐.  แสดงไว้ ๔ อย่าง คือ

              ๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์

              ๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค

              ๓. สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้

             ๔. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ฯ

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2549

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2549

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันจันทร์ ที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

   ๑.  หิริกับโอตตัปปะ ต่างกันอย่างไร ?

   ๑.  ต่างกันอย่างนี้ หิริ คือ ความละอายใจตนเองที่จะประพฤติชั่ว

        ส่วนโอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวผลของความชั่วที่ตนจะได้รับ ฯ

  ๒.  คำว่า  พระธรรม  ในรัตนะ ๓ คืออะไร ?  มีคุณอย่างไร ?

  ๒.  คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ  

        มีคุณ คือ รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ

  ๓.  โอวาทของพระพุทธเจ้ามีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

  ๓.  มี ๓ อย่าง คือ

              ๑.  เว้นจากทุจริต คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ

              ๒.  ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ

              ๓.  กระทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ

                   มีโลภ โกรธ หลงเป็นต้น ฯ

   ๔.  คนเราจะประพฤติดีหรือประพฤติชั่วมีมูลเหตุมาจากอะไร ?

   ๔.  คนประพฤติดีมีมูลเหตุมาจากอโลภะ อโทสะ อโมหะ  

        ส่วนคนประพฤติชั่วมีมูลเหตุมาจากโลภะ โทสะ โมหะ ฯ

   ๕.  ปธานคือความเพียร ๔ มีอะไรบ้าง ?  งดเหล้าเข้าพรรษาอนุโลมเข้า

        ในปธานข้อไหน ?

   ๕.  มี

              ๑.  สังวรปธาน          เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน

              ๒.  ปหานปธาน         เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว

              ๓.  ภาวนาปธาน        เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน

              ๔.  อนุรักขนาปธาน    เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม ฯ

        อนุโลมเข้าในปหานปธาน ฯ

   ๖.  อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านและรำคาญ จัดเข้าในขันธ์ไหน

        ในขันธ์ ๕ ?  เพราะเหตุไร ?

   ๖.  จัดเข้าในสังขารขันธ์ ฯ 

        เพราะความฟุ้งซ่านและรำคาญ เป็นเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นกับใจ ฯ

  ๗.  อริยทรัพย์ คือทรัพย์เช่นไร ?  เมื่อเทียบกับทรัพย์สินมีเงินทอง เป็นต้น

        ดีกว่ากันอย่างไร ?

  ๗.  คือ คุณงามความดีอย่างประเสริฐที่เกิดมีขึ้นในสันดาน มี ศรัทธา ศีล

        เป็นต้น ฯ

        ดีกว่ากัน เพราะเป็นคุณธรรมเครื่องบำรุงจิตให้อบอุ่น ไม่ต้องกังวล

        เดือดร้อน ใครจะแย่งชิงไปไม่ได้ ใช้เท่าใดก็ไม่ต้องกลัวหมดสิ้น

        ทั้งสามารถติดตามไปได้ถึงชาติหน้า  เป็นที่พึ่งในสัมปรายภพได้ด้วย ฯ 

  ๘.  คิหิปฏิบัติ คืออะไร ?  หมวดธรรมต่อไปนี้ คือ

               ๑. อิทธิบาท ๔             

               ๒. สังคหวัตถุ ๔          

               ๓. อธิษฐานธรรม ๔

                ๔. ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔   

               ๕. ปาริสุทธิศีล ๔ 

        หมวดไหนมีในคิหิปฏิบัติ ?

  ๘.  คือ หลักปฏิบัติของคฤหัสถ์ ฯ

        ข้อ ๒. และข้อ ๔. มีในคิหิปฏิบัติ ฯ

   ๙.  ผู้อยู่ครองเรือนควรมีธรรมของฆราวาสเป็นหลักปฏิบัติจึงจะอยู่เป็นสุข

        ธรรมของฆราวาสนั้นมีอะไรบ้าง ?

   ๙.  มี

              ๑.  สัจจะ    สัตย์ซื่อต่อกัน

              ๒.  ทมะ     รู้จักข่มจิตของตน

              ๓.  ขันติ     อดทน

              ๔.  จาคะ    สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน ฯ

๑๐.  นาย ก เป็นผู้ฉลาดในการเล่นพนันฟุตบอล เขาหวังให้นาย ข ผู้เป็น

        เพื่อน มีเงินทองไว้ก่อร่างสร้างตัว จึงชักชวน นาย ข ให้เล่นด้วย นาย ก

        จัดเข้าในประเภทมิตรแนะประโยชน์ได้หรือไม่ ?  เพราะเหตุไร ?

  

๑๐.  ไม่ได้  ฯ  

        เพราะ นาย ก กำลังชักชวนในทางฉิบหาย ผิดลักษณะมิตรแนะ

        ประโยชน์ ฯ


**********

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2550

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2550

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


๑.     ในทางโลก ดูคนงามกันที่รูปร่างหน้าตา  ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่ไหน ?

๑.     ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่มีคุณธรรมอันทำให้งาม ๒ ประการ  คือ ขันติ ความอดทน  และโสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ฯ

๒.     มโนสุจริตคืออะไร ?   มีอะไรบ้าง ?

๒.     คือ การประพฤติชอบด้วยใจ ฯ

มี ๑. ไม่โลภอยากได้ของเขา  ๒. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา 

   ๓. เห็นชอบตามคลองธรรม ฯ

๓.     อิทธิบาท คือ ธรรมเป็นคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ของบุคคล  ส่วนธรรมอันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?

๓.     คือ นิวรณ์ ๕ ฯ  มี

        ๑. กามฉันท์                พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น

        ๒. พยาบาท                ปองร้ายผู้อื่น

        ๓. ถีนมิทธะ                ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม

        ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ       ฟุ้งซ่านและรำคาญ

        ๕. วิจิกิจฉา                 ลังเลไม่ตกลงได้ ฯ

๔.     ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่จะต้องมีอินทรียสังวร คือสำรวมอินทรีย์  

สำรวมอินทรีย์นั้น คืออย่างไร ?

๔.     คือระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำได้ ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ  รู้ธรรมารมณ์ ฯ

๕.     ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ทั้งสิ้น   ข้อความนี้อยู่ในหมวดธรรมอะไร ?  

ท่านให้พิจารณาอย่างนี้เพื่ออะไร ?

๕.     อยู่ในธรรมหมวดอภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ ฯ   เพื่อบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งนั้น คนนั้น เป็นที่รักของเรา  จักไม่ต้องเสียใจในเมื่อต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้น คนนั้น จริง ๆ ฯ

๖.     มรรคมีองค์แปดจัดเข้าในสิกขา ๓ ได้หรือไม่ ?   ถ้าได้จงจัดมาดู

๖.     ได้ ฯ  จัดดังนี้

สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ จัดเข้าในปัญญาสิกขา

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเข้าในสีลสิกขา

สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเข้าในจิตตสิกขา ฯ

๗.    มละ คืออะไร ? เป็นศิษย์ได้ดีแล้วทำมึนตึงกับอาจารย์ จัดเข้าในมละอย่างไหน และควรชำระมละอย่างนั้นด้วยธรรมอะไร ?

๗.     มละคือมลทิน ฯ   จัดเข้าใน มักขะ ลบหลู่คุณท่าน   และควรชำระด้วยกตัญญูกตเวทิตา ความรู้คุณท่านแล้วตอบแทน ฯ

คิหิปฏิบัติ

๘.     เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ได้โดยทางที่ชอบแล้ว  ควรทำอะไรบ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์ในโภคทรัพย์ที่ได้มานั้น ?

๘.     ควรทำ

๑.  เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข

๒.  เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข

๓.  บำบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่าง ๆ

๔.  ทำพลี ๕ อย่าง คือ

             ๔.๑  ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ

             ๔.๒  อติถิพลี ต้อนรับแขก

             ๔.๓  ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย

             ๔.๔  ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีภาษีอากรเป็นต้น

             ๔.๕  เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา

๕.  บริจาคทานในสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ ฯ

๙.     การค้าขายสัตว์เพื่อเอาไปฆ่าเป็นอาหาร เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ ?   เพราะเหตุไร ?   อุบาสกควรปฏิบัติอย่างไรในเรื่องนี้ ?

๙.     ไม่ผิด ฯ   เพราะไม่ได้เป็นผู้ฆ่าหรือสั่งให้ฆ่า ฯ

อุบาสกควรเว้นการค้าขายชนิดนี้เสีย ฯ

 ๑๐.   ทิศ ๖ ในคิหิปฏิบัติ มีอะไรบ้าง ?  แต่ละทิศหมายถึงใคร ?

๑๐.   มี ดังนี้

        ๑. ทิศเบื้องหน้า หมายถึงมารดาบิดา

๒. ทิศเบื้องขวา หมายถึงอาจารย์

        ๓. ทิศเบื้องหลัง หมายถึงบุตรภรรยา

๔. ทิศเบื้องซ้าย หมายถึงมิตร

        ๕. ทิศเบื้องต่ำ หมายถึงบ่าว

๖. ทิศเบื้องบน หมายถึงสมณพราหมณ์ ฯ

***********

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2551

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2551

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันพฤหัสบดี ที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ 

๑.     การที่บุคคลพบงูพิษแล้วสะดุ้งกลัวว่าจะถูกกัดตาย จัดเป็นโอตตัปปะ ได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?

๑.     ไม่ได้ ฯ เพราะไม่ใช่ความเกรงกลัวต่อบาป ฯ

๒.     พระสงฆ์ในรัตนตรัยมีคุณอย่างไร ?  

๒.     ท่านปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนให้ผู้อื่นกระทำตามด้วย ฯ

๓.     โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่างมีอะไรบ้าง ?

๓.     มี ๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วทางกาย วาจา ใจ

           ๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ

           ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ

             หลง เป็นต้น ฯ

๔.     อินทรียสังวร คือสำรวมอินทรีย์ อินทรีย์ได้แก่อะไรบ้าง ? 

๔.     ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ 

๕.     ธรรมหมวดหนึ่ง เป็นเหตุให้ผู้ประพฤติขาดความเที่ยงธรรมชื่อว่า   อะไร ? มีอะไรบ้าง ?

๕.     ชื่อว่า อคติ ความลำเอียง ฯ มี

        ๑. ฉันทาคติ      ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน

        ๒. โทสาคติ      ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน

        ๓. โมหาคติ      ลำเอียงเพราะเขลา

        ๔. ภยาคติ        ลำเอียงเพราะกลัว ฯ

๖.     ธาตุ ๔ มีธาตุอะไรบ้าง ? ธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง คือธาตุอะไร ?

๖.     คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯ คือ ธาตุดิน ฯ

๗.    ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? โดยย่อเรียกว่าอะไร ?

๗.     ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯ เรียกว่า นามรูป ฯ


 คิหิปฏิบัติ

๘.     ข้อว่า “แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้” ดังนี้ เป็นลักษณะของมิตรแท้  ประเภทใด ?

๘.     มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ฯ

๙.     คุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นไว้ได้ คืออะไร ?            มีอะไรบ้าง ?

๙.     คือ สังคหวัตถุ ๔ ฯ

        มี ๑. ทาน  ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน

           ๒. ปิยวาจา  เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน

           ๓. อัตถจริยา  ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

           ๔. สมานัตตตา  ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว ฯ

๑๐.   การค้าขายสุรา เป็นอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในทางพระพุทธศาสนา มีความเห็นไว้อย่างไร ?

๑๐.   ทางพระพุทธศาสนา จัดเป็นมิจฉาวณิชชา การค้าขายไม่ชอบธรรม   เป็นข้อห้าม อุบาสกไม่ควรประกอบ ฯ

***********

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2552

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2552

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒


๑.     บุพพการีและกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร ?

จงยกตัวอย่างมาสัก ๒ คู่

๑.      บุพพการี  ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน

กตัญญูกตเวที  ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว  และตอบแทน

(ตอบเพียง ๒ คู่)

คู่ที่ ๑   มารดาบิดากับบุตรธิดา

คู่ที่ ๒   ครูอาจารย์กับศิษย์

คู่ที่ ๓   พระราชากับราษฎร

คู่ที่ ๔   พระพุทธเจ้ากับพุทธบริษัท ฯ

๒.     อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมีกี่อย่าง ?  

ข้อที่ว่า “ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์” นั้นคืออย่างไร ?

๒.      มี ๓ อย่าง ฯ

คือ ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ


๓.     มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่ว เรียกว่าอะไร ?  มีอะไรบ้าง ?  

        เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรปฏิบัติอย่างไร ?

๓.      เรียกว่า อกุศลมูล ฯ

          มี     ๑. โลภะ อยากได้

                 ๒. โทสะ คิดประทุษร้ายเขา

                 ๓. โมหะ หลงไม่รู้จริง ฯ

          เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรละเสีย  ด้วยทาน ศีล ภาวนา ฯ

๔.     ปัญญาอันเห็นชอบอย่างไร จึงชื่อว่ามรรคในอริยสัจ ๔ ? เพราะเหตุไร ?

๔.      ปัญญาอันเห็นชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์  สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด  สิ่งนี้ความดับทุกข์  สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์  ได้ชื่อว่ามรรค ฯ   เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ

๕.     ธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง  คืออะไรบ้าง ?   ธรรม ๕ อย่างนั้น เรียกว่าอินทรีย์  เพราะเหตุไร ?

๕.      คือ     ๑.  สัทธา      ความเชื่อ             ๒.  วิริยะ    ความเพียร

       ๓.  สติ        ความระลึกได้    ๔.  สมาธิ    ความตั้งใจมั่น

                   ๕.  ปัญญา    ความรอบรู้ ฯ

          เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน ฯ

๖.     คารวะ คืออะไร ?   มีกี่อย่าง ?  

        ข้อว่า คารวะในความศึกษา  หมายถึงอะไร ?

๖.      คือ ความเคารพ เอื้อเฟื้อ ฯ   มี ๖ อย่าง ฯ

          หมายถึง ความเคารพ เอื้อเฟื้อในไตรสิกขา ฯ

๗.    มละ คืออะไร ? เป็นศิษย์ได้ดีแล้วทำมึนตึงกับอาจารย์ จัดเข้าในมละอย่างไหน และควรชำระมละอย่างนั้นด้วยธรรมอะไร ?

๗.      มละคือมลทิน ฯ   จัดเข้าใน มักขะ ลบหลู่คุณท่าน   และควรชำระด้วยกตัญญูกตเวทิตา ความรู้คุณท่านแล้วตอบแทน ฯ

๘.     อบายมุข  คืออะไร ?  คบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษอย่างไร ?

๘.      คือ  ทางแห่งความเสื่อม ฯ

          มีโทษอย่างนี้ คือ

๑.     นำให้เป็นนักเลงการพนัน

๒.    นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้

๓.    นำให้เป็นนักเลงเหล้า

๔.     นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม

๕.     นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า

๖.     นำให้เป็นคนหัวไม้ ฯ

๙.      ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร ?  มีอะไรบ้าง ?

๙.      เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ฯ   มีดังนี้

๑. อุฏฐานสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยความหมั่น  ในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี  ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี  ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี

๒.  อารักขสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยการรักษา  คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น  ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี  รักษาการงานของตน  ไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี

๓.  กัลยาณมิตตตา  ความมีเพื่อนเป็นคนดี  ไม่คบคนชั่ว

๔.    สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ไม่ให้  ฝืดเคืองนัก  ไม่ให้ฟูมฟายนัก ฯ

๑๐.   มิจฉาวณิชชา คืออะไร ? การค้าขายเด็ก การค้าขายยาเสพติด การ    ค้าขายเบ็ดตกปลา  จัดเป็นมิจฉาวณิชชาข้อใด?

๑๐.    มิจฉาวณิชชา  คือการค้าขายไม่ชอบธรรม ฯ

          การค้าขายเด็ก  จัดเข้าในค้าขายมนุษย์

          การค้าขายยาเสพติด  จัดเข้าในค้าขายน้ำเมา

          การค้าขายเบ็ดตกปลา  จัดเข้าในค้าขายเครื่องประหาร ฯ

***********

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2553

 

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง

วันจันทร์ ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓

 ธรรมมีอุปการะมากมีอะไรบ้าง ?  ที่ว่ามีอุปการะมากนั้นเพราะเหตุ

 มี สติ ความระลึกได้  และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ

เพราะท ำให้เป็นผู้ไม่ประมาทในการท ำกิจการงานใด ๆ และเป็นอุป ให้ธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้น ฯ

 ในรัตนะ ๓  พระธรรม ได้แก่อะไร ?  ให้คุณแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่า

 ได้แก่พระธรรมวินัยที่เป็นค ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ

 พระโอวาทของพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกกันว่าหัวใจพระศาสนา มีก อะไรบ้าง ?

 มี ๓ ข้อ ฯ  คือ

๑. เว้นจากทุกจริต  คือประพฤติชั่วด้วยกาย  วาจา  ใจ

๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติดีด้วยกาย วาจา ใจ

 ท ำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

 ทุจริต คืออะไร ? ความเห็นว่าคุณของบิดามารดาครูบาอาจารย์ไ บุญบาปไม่มี จัดเป็นทุจริตข้อไหน ?

 คือ ประพฤติชั่วด้วยกายวาจาใจ ฯ จัดเป็นมโนทุจริต ฯ

 ไตรลักษณะ  ได้แก่อะไรบ้าง ?

 ๑. อนิจจตา  ความเป็นของไม่เที่ยง

๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์

๓. อนัตตตา  ความเป็นของใช่ตนฯ

 พรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้าง ?

 มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ฯ เพราะเป็นธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ ฯ

 นักเรียนผู้ต้องการจะเรียนหนังสือให้ได้ผลดี  จะน ำอิทธิบาทมาใ

 ในเบื้องต้น ต้องสร้างฉันทะคือความพอใจในการศึกษาเล่าเรียนก่อน มีความพอใจ จะเป็นเหตุให้ขยันศึกษาหาความรู้ที่เรียกว่าวิริ ความใฝ่ใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น ที่เรียกว่าจิตตะ และเมื ก็ต้องน ำความรู้นั้นมาใคร่ครวญพิจารณาให้เข้าใจเหตุและผลอย่ ที่เรียกว่า วิมังสา ดั่งนี้ก็จะประสบผลส ำเร็จในการศึกษาเล่าเร
  
คิหิปฏิบัติ

 ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์  มีอะไรบ้าง ?

 มี ๑.  เว้นจากการฆ่าสัตว์

 เว้นจากการลักทรัพย์

 เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. เว้นจากการพูดปด

 เว้นจากการดื่มนำเมาคือสุราและเมรัย ้ อันเป็นที่ตั้งแห่ง ประมาท ฯ

 จงจับคู่ข้อทางซ้ายมือกับข้อทางขวามือให้ถูกต้อง

 ก. จะท ำดีท ำชั่ว  ก็ต้องคล้อยตาม๑.  มิตรดีแต่พูด

 ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว   ๒.  มิตรหัวประจบ

ค. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้๓. มิตรมีความรักใคร่
ง. ห้ามไม่ให้ท ำความชั่ว ๔. มิตรมีอุปการะ
จ. ทุกข์ ๆ ด้วย  สุข ๆ ด้วย ๕. มิตรแนะประโยชน์

 ข้อ ก. คู่กับ ข้อ ๒. ข้อ ข. คู่กับ ข้อ ๔ ข้อ ค คู่กับ ข้อ ๑ ข้อ ง คู่กับ ข้อ ๕ ข้อ จ คู่กับ ข้อ ๓.


๑๐. จงบอกโทษของการดื่มสุรามาสัก ๓ ข้อ

๑๐. มีโทษดังนี้ (ให้ตอบเพียง ๓ ข้อ)

๑. เสียทรัพย์  ๒. ก่อการทะเลาะวิวาท ๓. เกิดโรค

๔. ต้องติเตียน๕. ไม่รู้จักอาย ๖. ทอนก ำลังปัญญา ฯ

*********








วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2555

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2555

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันพฤหัสบดี ที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

๑.      พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมอะไรไว้สำหรับคุ้มครองโลก?

ตอบ ทรงสอนไว้ ๒ คือ

๑. หิริ ความละอายต่อบาป

๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลบาป ฯ

๒.     คำต่อไปนี้มีความหมายว่าอย่างไร?

๑.สัมปชัญญะ             ๒.กตัญญูกตเวที         ๓.กายทุจริต

๔.มาตาปิตุอุปัฏฐาน       ๕.ปุพเพกตปุญญตา

ตอบ    ๑.สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ตัว

๒.กตัญกตเวที หมายถึง บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน

๓,กายทุจริต หมายถึง ความประพฤติชั่วทางกาย

๔.มาตาปิตุอุปัฏฐาน หมายถึง การบำรุงมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข

๕.ปุพเพกตปุญญตา หมายถึง ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในในปางก่อน ฯ

๓.     การสำรวมอินทรีย์ ได้แก่การกระทำอย่างไร? เมื่อกระทำเช่นนั้นแล้วจะได้รับประโยชน์อะไร?

ตอบ การสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดี ยินร้าย เมื่อเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส กายสัมผัส รู้ธรรมารมณ์ ฯ

ได้ประโยชน์ คือ ไม่เกิดความยินดี ไม่เกิดความยินร้าย ในเวลาเห็นรูป ได้ยินเสียง เป็นต้น ฯ

๔.     ผู้จะดำรงความยุติธรรมไว้ได้ ต้องประพฤติอย่างไรบ้าง?

ตอบ ต้องประพฤติดังนี้

๑. ไม่ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน อันเรียกว่า ฉันทาคติ

๒. ไม่ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน อันเรียกว่า โทสาคติ        

๓.ไม่ลำเอียงเพราะเขลา อันเรียกว่า โมหาคติ

๔.ไม่ลำเอียงเพราะกลัว อันเรียกว่า ภยาคติ ฯ

๕.      คิดอย่างไรเรียกว่าพยาบาท? คิดอย่างนั้นเกิดโทษอะไร?

ตอบ คิดปองร้ายผู้อื่น ฯ เกิดโทษคือปิดกั้นจิตใจไม่ให้บรรลุความดี ฯ

๖.      สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรอย่างไร?

ตอบ เพียรในที่ ๔ สถาน (สัมมัปปธาน ๔) คือ

๑.เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น

๒.เพียรละบาปทีเกิดขึ้นแล้ว

๓.เพียรให้กุศลเกิดขึ้น

๔.เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ฯ

๗.     โลกธรรม ๘ มีอะไรบ้าง?

ตอบ คือ ๑.มีลาภ  ๒.ไม่มีลาภ  ๓.มียศ  ๔.ไม่มียศ  ๕.นินทา   ๖.สรรเสริญ   ๗.สุข  ๘.ทุกข์ ฯ


คิหิปฏิบัติ

๘.     ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งนานไม่ได้ เพราะเหตุอะไร?

ตอบ เพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ

๑.ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว

๒.ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า

๓.ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ

๔.ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน ฯ

๙.     การอยู่ครองเรือนนั้น ควรมีธรรมอะไร? อะไรบ้าง?

ตอบ ควรมีฆราวาสธรรม ๔ ฯ คือ

๑.สัจจะ ความสัตย์ซื่อต่อกัน

๒.ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน

๓.ขันติ ความอดทน

๔.จาคะ การสละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน ฯ

๑๐. มารดาบิดาได้เลี้ยงดูบุตรธิดาแล้ว บุตรธิดาพึงปฏิบัติต่อท่านอย่างไร?

ตอบ    ๑.ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ       ๔.ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก

๒.ช่วยทำกิจของท่าน                        ๕.เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน ฯ

๓.ดำรงวงศ์สกุล