วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก 2563

 

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก 2563




วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2563

 








วิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก 2563











กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นเอก 2563

 

กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นเอก 2563

วิชานัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2563

 





วิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท 2563

วิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท 2563







วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2563

 

วิชาธรรม นักธรรมชั้นโท 2563




วิชากระทู้ธรรม นักธรรมชั้นโท 2563

 

วิชากระทู้ธรรม นักธรรมชั้นโท 2563

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2563

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2563





วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

Download ข้อสอบนักธรรมเอก [ย้อนหลัง ]


→ ปี 2562
→ ปี 2561
→ ปี 2560
→ ปี 2559
→ ปี 2558
→ ปี 2557
→ ปี 2556
→ ปี 2555
→ ปี 2554
→ ปี 2553
→ ปี 2552
→ ปี 2551
→ ปี 2550
→ ปี 2549
→ ปี 2548
→ ปี 2547
→ ปี 2546
→ ปี 2545
→ ปี 2544
→ ปี 2543

Download ข้อสอบนักธรรมโท [ย้อนหลัง ]

→ ปี 2563

→ ปี 2562

→ ปี 2561
→ ปี 2560
→ ปี 2559
→ ปี 2558
→ ปี 2557
→ ปี 2556
→ ปี 2555
→ ปี 2554
→ ปี 2553
→ ปี 2552
→ ปี 2551
→ ปี 2550
→ ปี 2549
→ ปี 2548
→ ปี 2547
→ ปี 2546
→ ปี 2545
→ ปี 2544
→ ปี 2543

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก 2543

ปัญหาและเฉลยวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓

วันเสาร์ ที่  ๑๘  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓

------------------------------

๑.

๑.๑

การตั้งญัตติและสวดอนุสาวนามีอยู่ในกรรมอะไรบ้าง ในสังฆกรรม

ทั้ง ๔ ?


๑.๒

สังฆกรรม ๔ นั้น อย่างไหนต้องทำในสีมา อย่างไหนทำนอกสีมาก็ได้ ?

๑.

๑.๑

การตั้งญัตติ มีในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม

ส่วนการสวดอนุสาวนา มีในญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม


๑.๒

ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ต้องทำในสีมาเท่านั้น              ทำนอกสีมาไม่ได้ เพราะต้องตั้งญัตติ ส่วนอปโลกนกรรม ทำนอกสีมา

ก็ได้ เพราะไม่ต้องตั้งญัตติ

๒.

๒.๑

พัทธสีมามีกำหนดขนาดพื้นที่ไว้หรือไม่ ?  ถ้ามี กำหนดไว้อย่างไร ?


๒.๒

สถานที่ที่เป็นสีมาตามพระวินัยไม่ได้ มีหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?

๒.

๒.๑

มีกำหนดไว้ คือกำหนดไม่ให้สมมติสีมาเล็กเกินไปจนจุภิกษุ ๒๑ รูป นั่งไม่ได้และไม่ให้สมมติสีมาใหญ่เกินไปกว่า ๓ โยชน์   สีมาเล็กเกินไปใหญ่เกินไป เป็นสีมาวิบัติ ใช้ไม่ได้


๒.๒

ไม่มี  เพราะในป่าที่ไม่มีบ้าน ก็จัดเป็นสัตตัพภันตรสีมา ในน่านน้ำที่ได้ขนาด ก็จัดเป็นอุทกุกเขปสีมา ผืนแผ่นดินที่มีหมู่บ้านก็จัดเป็นคามสีมา แม้สีมันตริกซึ่งคั่นระหว่างมหาสีมากับขัณฑสีมาก็จัดเป็นคามสีมา

๓.

๓.๑

คำว่า “เจ้าอธิการ” ในพระวินัยหมายถึงใคร ?  มีกี่แผนก ?  อะไรบ้าง ?


๓.๒

การให้ภิกษุถือเสนาสนะเป็นหน้าที่ของใคร ?  ผู้นั้นพึงปฏิบัติอย่างไร ?

๓.

๓.๑

หมายถึงภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำกิจการของสงฆ์

มี ๕ แผนก คือ



     ๑) เจ้าอธิการแห่งจีวร

     ๒) เจ้าอธิการแห่งอาหาร

     ๓) เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ

     ๔) เจ้าอธิการแห่งอาราม

     ๕) เจ้าอธิการแห่งคลัง



๓.๒

เป็นหน้าที่ของเจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะพึงกำหนดฐานะของภิกษุผู้ถือเสนาสนะว่า เป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย เป็นผู้มีอุปการะแก่สงฆ์หรือหามิได้ เป็นผู้เล่าเรียนหรือประกอบกิจในทางใดบ้าง เป็นต้น แล้วพึงให้ถือเสนาสนะ

๔.

๔.๑

วัดมีพระจำพรรษาวัดละ ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ทายกประสงค์จะถวายกฐิน  นิมนต์พระมารวมในวัดเดียวกันเพื่อรับกฐิน  เป็นกฐินหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?


๔.๒

ในคัมภีร์บริวาร ภิกษุผู้ควรกรานกฐินประกอบด้วยองค์เท่าไร  ?  บอกมา  ๓  ข้อ

๔.

๔.๑

ไม่เป็นกฐิน เพราะองค์กำหนดสิทธิของภิกษุผู้จะกรานกฐินมี ๓ คือ



     ๑) เป็นผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาสไม่ขาด

     ๒) อยู่ในอาวาสเดียวกัน

     ๓) ภิกษุมีจำนวนตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป


๔.๒

ประกอบด้วยองค์ ๘  (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)



     ๑) รู้จักบุพพกรณ์

     ๒) รู้จักถอนไตรจีวร

     ๓) รู้จักอธิษฐานไตรจีวร

     ๔) รู้จักการกราน

     ๕) รู้จักมาติกาคือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน

     ๖) รู้จักปลิโพธกังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน

     ๗) รู้จักการเดาะกฐิน

     ๘) รู้จักอานิสงส์กฐิน

๕.

๕.๑

จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้   ๑. ปฏิจฉันนาบัติ   ๒. อันตราบัติ


๕.๒

สัมมุขาวินัยมีองค์เท่าไร ?  อะไรบ้าง ?

๕.

๕.๑

๑) ปฏิจฉันนาบัติ หมายถึง อาบัติที่ภิกษุต้องแล้วปกปิดไว้

๒) อันตราบัติ หมายถึง อาบัติสังฆาทิเสสที่ภิกษุต้องเข้าอีกระหว่าง

     ประพฤติวุฏฐานวิธี


๕.๒

มีองค์ ๔ คือ



     ๑) ในที่พร้อมหน้าสงฆ์

     ๒) ในที่พร้อมหน้าธรรม


     ๓) ในที่พร้อมหน้าวินัย

     ๔) ในที่พร้อมหน้าบุคคล

๖.

๖.๑

การคว่ำบาตรในทางพระวินัยมีความหมายว่าอย่างไร ?


๖.๒

การคว่ำบาตรนี้ สงฆ์ทำแก่ผู้ประพฤติเช่นไร ?  บอกมา ๓ ข้อ

๖.

๖.๑

มีความหมายว่าไม่ให้คบค้าสมาคมด้วยลักษณะ ๓ ประการคือ



     ๑) ไม่รับบิณฑบาตของเขา

     ๒) ไม่รับนิมนต์ของเขา

     ๓) ไม่รับไทยธรรมของเขา


๖.๒

ทำแก่คฤหัสถ์  (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)



     ๑) ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย

     ๒) ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย

     ๓) ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย

     ๔) ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย

     ๕) ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน

     ๖) กล่าวติเตียนพระพุทธ

     ๗) กล่าวติเตียนพระธรรม

     ๘) กล่าวติเตียนพระสงฆ์

๗.

๗.๑

ใครเป็นผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน หรือเป็นผู้ขวนขวายเพื่อทำลายสงฆ์ได้ ?


๗.๒

เหตุที่สงฆ์จะแตกกันมีอะไรบ้าง ?   จะป้องกันได้ด้วยวิธีอย่างไร  ?

๗.

๗.๑

ภิกษุผู้ปกตัตตะเป็นสมานสังวาส อยู่ในสีมาเดียวกันเท่านั้น ย่อมอาจทำลายสงฆ์ให้แตกกันเป็นก๊กเป็นพวกได้ นางภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา หาอาจทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ไม่ เป็นได้เพียงขวนขวายเพื่อทำลายสงฆ์เท่านั้น


๗.๒

มี ๒ อย่างคือ



     ๑) มีความเห็นปรารภพระธรรมวินัยแตกต่างกันจนเกิดเป็นอธิกรณ์

     ๒) ความประพฤติปฏิบัติไม่เสมอกัน ยิ่งหย่อนกว่ากันแล้วเกิดความ

          รังเกียจกันขึ้น



จะป้องกันได้ด้วย ๒ วิธีคือ



     ๑) ต้องส่งเสริมและกวดขันการศึกษาพระธรรมวินัย ให้มีความ

          เห็นชอบเหมือนกัน


     ๒) ต้องส่งเสริมและกวดขันความประพฤติของภิกษุทั้งหลาย

         ให้เสมอกัน ไม่ให้เป็นทางรังเกียจกัน






    พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

๘.

๘.๑

กรรมการมหาเถรสมาคมดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี ?


๘.๒

ผู้จะดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาเถรสมาคม มีกำหนดไว้อย่างไร ?

๘.

๘.๑

กรรมการมหาเถรสมาคมที่เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ไม่มีกำหนดเวลา ส่วนกรรมการมหาเถรสมาคมที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง ดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี


๘.๒

มีกำหนดไว้ว่าต้องเป็นอธิบดีกรมการศาสนา (โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๓ ความว่า  ให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง)

๙.

๙.๑

ในกรณียุบเลิกวัด ทรัพย์สินของวัดนั้นจะพึงตกแก่ใคร  ?


๙.๒

การดูแลและจัดการศาสนสมบัติ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของใคร ?

๙.

๙.๑

ให้ตกเป็นของศาสนสมบัติกลาง จะแบ่งให้ใครไม่ได้ (มาตรา ๓๒ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕)


๙.๒

การดูแลและจัดการศาสนสมบัติกลาง    กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมการศาสนา

การดูแลและจัดการศาสนสมบัติของวัด กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ      เจ้าอาวาส

(การดูแลและจัดการศาสนสมบัติกลาง บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๐ ว่า ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนา เพื่อการนี้ให้ถือว่ากรมการศาสนาเป็นเจ้าของศาสนสมบัติกลางนั้นด้วย และมาตรา ๔๑ ว่า ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำงบประมาณประจำปีของศาสนสมบัติกลาง ด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้งบประมาณนั้นได้ ส่วนการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดมีในมาตรา ๓๗ (๑) ว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัด    กิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดีและใน  มาตรา ๔๐ ว่า การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง)

๑๐.

๑๐.๑

เจ้าอาวาส ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ ใครเป็นผู้แต่งตั้ง ?


๑๐.๒

เจ้าอาวาสผู้ได้รับแต่งตั้งมีหน้าที่อย่างไร ?

๑๐.

๑๐.๑

สมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง

เจ้าคณะจังหวัด แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์


๑๐.๒

เจ้าอาวาสมีหน้าที่ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังนี้



     ๑) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี

     ๒) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนัก

          อาศัยอยู่ในวัดนั้น ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม

          ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม

     ๓) เป็นธุระในการศึกษาอบรม และสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิต

          และคฤหัสถ์

     ๔) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล


วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก 2544

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันจันทร์ ที่  ๕  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๔๔

๑.

๑.๑

อปโลกนกรรมมีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?


๑.๒

สงฆ์ผู้ทำสังฆกรรม  มีกำหนดจำนวนไว้อย่างไร ?

๑.

๑.๑

มี  ๕  อย่างคือ

๑) นิสสารณา  นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า

๒) โอสารณา รับสามเณรผู้ถูกนาสนะแล้วกลับประพฤติเรียบร้อย ให้เข้าหมู่

           ๓) ภัณฑูกรรม บอกขออนุญาตปลงผมคนผู้จะบวชอันภิกษุจะทำเอง

           ๔) พรหมทัณฑ์  ประกาศไม่ว่ากล่าวภิกษุหัวดื้อว่ายาก

           ๕) กัมมลักขณะ  อปโลกน์แจกอาหารในโรงฉันเป็นต้น


๑.๒

มีกำหนดจำนวนไว้ดังนี้

           จตุวรรค  สงฆ์มีจำนวน  ๔  รูป

           ปัญจวรรค  สงฆ์มีจำนวน  ๕  รูป

           ทสวรรค  สงฆ์มีจำนวน  ๑๐  รูป

           วีสติวรรค  สงฆ์มีจำนวน  ๒๐  รูป

๒.

๒.๑

วัตถุที่ใช้เป็นนิมิตกำหนดเขตสีมามีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?


๒.๒

ปัจจุบันนิยมใช้วัตถุอะไรเป็นนิมิต ? และวัตถุที่จะใช้เป็นนิมิตนั้นได้มีกำหนดไว้อย่างไร ?

๒.

๒.๑

มี  ๘  อย่างคือ

           ๑) ภูเขา 

           ๒) ศิลา        

           ๓) ป่าไม้         

           ๔) ต้นไม้

           ๕) จอมปลวก     

           ๖) หนทาง               

           ๗) แม่น้ำ                  

           ๘) น้ำ


๒.๒

ใช้ศิลาเป็นนิมิต มีกำหนดไว้ดังนี้

           ๑) เป็นศิลาหินแท้  หินปนแร่  ใช้ได้ทั้งหมด

           ๒) เป็นศิลามีก้อนโตไม่ถึงตัวช้าง  ขนาดเท่าศีรษะโคหรือ

               กระบือเขื่อง ๆ

           ๓) เป็นศิลาแท่งเดียว

           ๔) อย่างเล็กขนาดเท่าก้อนน้ำอ้อยหนัก ๓๒ ปะละ ราว ๕ ชั่ง 

               ก็ใช้ได้

๓.

๓.๑

สมานสังวาสสีมา  และติจีวราวิปปวาสสีมา  ได้แก่สีมาเช่นไร ?


๓.๒

ในการถอน  และสมมติ  สีมาทั้ง  ๒ นี้  มีวิธีปฏิบัติก่อนหลังอย่างไร ?

๓.

๓.๑

สีมาที่ทรงพระอนุญาตให้สงฆ์สมมติเป็นแดนมีสังวาสเสมอกัน  ภิกษุ

ผู้อยู่ในเขตนี้มีสิทธิในอันจะเข้าอุโบสถ ปวารณา และสังฆกรรมร่วมกัน

เรียกว่าสมานสังวาสสีมา  สมานสังวาสสีมานี้  ทรงพระอนุญาต

ให้สมมติติจีวราวิปปวาส  ซ้ำลงได้อีก  เว้นบ้าน  และอุปจารบ้าน

อันตั้งอยู่ในสีมานั้น  เมื่อได้สมมติอย่างนี้แล้ว  แม้ภิกษุอยู่ห่างจาก

ไตรจีวรในสีมานั้น  ก็ไม่เป็นอันอยู่ปราศ  เรียกว่าติจีวราวิปปวาสสีมา



๓.๒

ในการถอน ให้ถอนติจีวราวิปปวาสสีมาก่อน ถอนสมานสังวาสสีมาภายหลังในการสมมติ  ให้สมมติสมานสังวาสสีมาก่อน สมมติติจีวราวิปปวาสสีมาภายหลัง

๔.

๔.๑

ภิกษุผู้ควรได้รับสมมติให้เป็นภัตตุทเทสกะ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเช่นไร ?


๔.๒

ภัตรที่ควรแจกเฉพาะมีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

๔.

๔.๑

ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้คือ

           ๑) เว้นอคติ  ๔  คือฉันทาคติ  โทสาคติ  โมหาคติ  ภยาคติ

           ๒) รู้จักภัตรที่ควรแจกหรือมิควรแจก

           ๓) รู้จักลำดับที่พึงแจก


๔.๒

มี  ๕  อย่างคือ

           ๑) อาคันตุกภัตร  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาคันตุกะ

           ๒) คมิยภัตร  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะไปอยู่ที่อื่น

           ๓) คิลานภัตร  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาพาธ

           ๔) คิลานุปัฏฐากภัตร  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้พยาบาลไข้

           ๕) กุฏิภัตร  อาหารที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฏิที่เขาสร้าง

๕.

๕.๑

อภัพบุคคลในอุปสมบทกรรมได้แก่บุคคลเช่นไร ?  โดยวัตถุมีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?


๕.๒

ปัจฉิมกิจแห่งการอุปสมบทมีอะไรบ้าง ?  ตอบเพียง ๒ ข้อ

๕.

๕.๑

ได้แก่บุคคลที่ไม่สมควรแก่การอุปสมบท อุปสมบทไม่ขึ้น ถูกห้ามอุปสมบทตลอดชีวิต  โดยวัตถุมี  ๓  คือ

           ๑) พวกที่มีเพศบกพร่อง  ไม่รู้ว่าเป็นชายหรือเป็นหญิง

           ๒) พวกประพฤติผิดพระธรรมวินัย เช่น ฆ่าพระอรหันต์ เป็นต้น

           ๓) พวกประพฤติผิดต่อกำเนิดของตน  คือฆ่ามารดาบิดา


๕.๒

มี  ๖  ข้อ  (ตอบเพียง ๒ ข้อ) คือ

           ๑) วัดเงาแดดในทันที                          

           ๒) บอกประมาณแห่งฤดู

           ๓) บอกส่วนแห่งวัน                           

           ๔) บอกสังคีติ

           ๕) บอกนิสสัย  ๔                   

           ๖) บอกอกรณียกิจ  ๔

๖.

๖.๑

วิวาทาธิกรณ์คืออะไร ?


๖.๒

วิวาทาธิกรณ์นั้น  ระงับด้วยอธิกรณสมถะกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

๖.

๖.๑

คืออธิกรณ์ที่เกิดจากการทะเลาะกัน โต้เถียงกัน โดยปรารภพระธรรมวินัย        


๖.๒

ด้วยอธิกรณสมถะ  ๒  อย่างคือ

           ๑) สัมมุขาวินัย 

           ๒) เยภุยยสิกา 

๗.

๗.๑

วุฏฐานวิธี  แปลว่าอะไร ?  ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?


๗.๒

ในการทำวุฏฐานวิธีแต่ละอย่างนั้น  ต้องการสงฆ์จำนวนเท่าไร ?

๗.

๗.๑

แปลว่าระเบียบเป็นเครื่องออกจากอาบัติ ประกอบด้วย ปริวาส มานัต  ปฏิกัสสนา  และอัพภาน


๗.๒

การให้ปริวาส  ให้มานัต  และทำปฏิกัสสนาต้องการสงฆ์จตุวรรค 

การให้อัพภาน  ต้องการสงฆ์วีสติวรรค

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์  พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒)  พ.ศ. ๒๕๓๕

๘.

๘.๑

ตามมาตรา ๑๒  แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  กำหนดองค์ประกอบของมหาเถรสมาคมไว้อย่างไร ?


๘.๒

มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่อย่างไร ?  ตอบเพียง ๒ ข้อ

๘.

๘.๑

กำหนดไว้ดังนี้

           สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดยตำแหน่ง

           สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป  เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง  และ

           พระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง มีจำนวน

ไม่เกิน  ๑๒  รูป  เป็นกรรมการ


๘.๒

มีอำนาจหน้าที่อย่างนี้   (ตอบเพียง  ๒  ข้อ)    

           ๑) ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม

           ๒) ปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร

           ๓) ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา  การศึกษาสงเคราะห์

             การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์

          ๔) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา

           ๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือ

               กฎหมายอื่น

๙.

๙.๑

ตามมาตรา ๒๑  แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  ให้จัดแบ่งเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคไว้อย่างไร ?


๙.๒

พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรมเมื่อทำผิดเช่นไร ? และได้รับนิคหกรรม

ให้สึก  ต้องสึกภายในเวลาเท่าไร ?

๙.

๙.๑

แบ่งดังนี้คือ     ๑) ภาค

                ๒) จังหวัด

                ๓) อำเภอ

                ๔) ตำบล

           ส่วนจำนวนและเขตปกครองดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม


๙.๒

เมื่อกระทำการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย  และนิคหกรรมที่จะลงโทษ

แก่ภิกษุจะต้องเป็นนิคหกรรมตามพระธรรมวินัย

ต้องสึกภายใน ๒๔  ชั่วโมง  นับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น

๑๐.

๑๐.๑

พระภิกษุจะไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งเลยได้หรือไม่ อ้างมาตราประกอบด้วย ?


๑๐.๒

เจ้าพนักงาน ตามความในประมวลกฎหมายอาญา ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  ได้แก่ใคร ?

๑๐.

๑๐.๑

ไม่ได้,  ตามมาตรา  ๒๗ (๓)  แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  ๒๕๐๕, 

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕


๑๐.๒

ได้แก่พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์  และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา  ๔๕)


วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก 2545

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่  ๒๔  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

 ๑.    ๑.๑ คำว่า ญัตติ  อนุสาวนา  อปโลกนะ อุปสัมปทาเปกขะ ได้แก่อะไร ? จงชี้แจง

        ๑.๒  ภิกษุผู้สามารถสวดกรรมวาจาได้แม่นยำและสละสลวย ต้องพร้อมด้วยคุณสมบัติ

             อย่างไรบ้าง ?

 ๑.    ๑.๑ ญัตติ ได้แก่คำเผดียงสงฆ์

             อนุสาวนา ได้แก่คำประกาศปรึกษาและตกลงของสงฆ์

             อปโลกนะ ได้แก่การบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติ

                          ไม่ต้องสวดอนุสาวนา

             อุปสัมปทาเปกขะ ได้แก่กุลบุตรผู้มุ่งอุปสมบท ฯ

        ๑.๒ อย่างนี้ คือ

                   ๑) รู้จักประเภทของอักขระ 

                   ๒) รู้จักฐานกรณ์ของอักขระ 

                   ๓) ว่าเป็น ฯ

 ๒.    ๒.๑ ภิกษุผู้นับเข้าในจำนวนสงฆ์ผู้ทำกรรมนั้นๆ ต้องเป็นภิกษุเช่นไร ?

        ๒.๒ เวลาทำสังฆกรรม ภิกษุที่อยู่ในสีมาเดียวกัน นับเข้าในจำนวนสงฆ์ผู้ทำกรรม

             ทั้งหมดใช่หรือไม่ ?  จงอธิบาย

 ๒.    ๒.๑ ต้องเป็นภิกษุปกติ ไม่ถูกสงฆ์ยกเสียจากหมู่ด้วยอุกเขปนียกรรม มีสังวาส

             เสมอด้วยสงฆ์ และเป็นสมานสังวาสของกันและกัน ฯ

        ๒.๒ ไม่ใช่ เพราะภิกษุที่เหลือจากจำนวนผู้ไม่มาเข้ากรรม เป็นผู้ควรให้ฉันทะ สงฆ์

             ทำกรรมเพื่อภิกษุใด ภิกษุนั้นก็ไม่นับเข้าในจำนวนสงฆ์ และไม่ใช่ผู้ควรให้ฉันทะ

             แต่เป็นผู้ควรเข้ากรรมนั้น ฯ

 ๓.    ๓.๑ วิสุงคามสีมา พัทธสีมา  ได้แก่สีมาเช่นไร ?

        ๓.๒ กฐิน เป็นสังฆกรรมอะไร ? การรับกฐิน ตลอดจนถึงกราน ต้องทำในสีมา

             อย่างเดียว หรือทำนอกสีมาก็ได้ ?

 ๓.    ๓.๑ วิสุงคามสีมา ได้แก่เขตที่สงฆ์ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตยกให้เป็น

             แผนกหนึ่งจากบ้าน ฯ  

             พัทธสีมา ได้แก่วิสุงคามสีมานั้นเองอันสงฆ์ผูกแล้ว คือสมมติเป็นสมานสังวาส

             สีมาแล้ว ฯ

        ๓.๒ เป็นญัตติทุติยกรรม ฯ การรับกฐิน การอปโลกน์เพื่อให้ผ้ากฐิน และการกรานกฐิน

             ทำในสีมาหรือนอกสีมาก็ได้ การสวดญัตติทุติยกรรมวาจาให้ผ้ากฐิน ต้องทำในสีมา

             อย่างเดียว ฯ

 ๔.    ๔.๑ กฐินจะเดาะหรือไม่เดาะ กำหนดรู้ได้อย่างไร ?

        ๔.๒ ผ้าที่ทรงห้ามใช้เป็นผ้ากฐินได้แก่ผ้าเช่นไรบ้าง ?

 ๔.    ๔.๑  กฐินเดาะ กำหนดรู้ได้ด้วยอาวาสปลิโพธและจีวรปลิโพธขาด หรือสิ้นเขตจีวรกาลที่

             ขยายออกไปอีก ๔ เดือน กฐินไม่เดาะ กำหนดรู้ได้ด้วยอาวาสปลิโพธหรือ จีวร

             ปลิโพธอย่างใดอย่างหนึ่งยังไม่ขาด และยังอยู่ในเขตจีวรกาลที่ขยายออกไปอีก ๔

             เดือน ฯ

        ๔.๒ เช่นนี้ คือ

                   ๑) ผ้าที่ไม่ได้เป็นสิทธิ เช่น ผ้าที่ขอยืมเขามา

                   ๒) ผ้าที่ได้มาโดยอาการอันมิชอบ คือทำนิมิตได้มา

                   ๓) ผ้าที่ได้มาโดยการพูดเลียบเคียง

                   ๔) ผ้าเป็นนิสสัคคีย์

                   ๕) ผ้าที่ได้มาโดยทางบริสุทธิ์ แต่เก็บไว้ค้างคืน ฯ

 ๕.    ๕.๑ ผู้ที่ถูกห้ามอุปสมบท เพราะทำผิดต่อพระศาสนา ได้แก่คนเช่นไร ?

        ๕.๒  ในเวลาสวดกรรมวาจานั้น กำหนดด้วยสงฆ์นิ่งอยู่จนถึงบาลีคำใด อุปสมบทกรรม

             จึงจะนับว่าเป็นการสำเร็จ ?

 ๕.    ๕.๑ ได้แก่

                   ๑) คนฆ่าพระอรหันต์      

                   ๒) คนทำร้ายภิกษุณี     

                   ๓) คนลักเพศ

                   ๔) ภิกษุไปเข้ารีตเดียรถีย์ 

                   ๕) ภิกษุต้องปาราชิกละเพศไปแล้ว

                   ๖) ภิกษุผู้ทำสังฆเภท                                    

                   ๗) คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ฯ

        ๕.๒ กำหนดด้วยสงฆ์นิ่งอยู่จนถึงคำว่า โส ภาเสยฺย ที่แปลว่า ท่านผู้นั้นพึงพูดท้ายอนุสาวนาที่ ๓ จึงนับว่าเป็นการสำเร็จ ฯ

 ๖.    ๖.๑ อนุวาทาธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้วไม่รีบระงับ  มีผลเสียอย่างไร ?

        ๖.๒ ภิกษุผู้ต้องอนุวาทาธิกรณ์ พึงปฏิบัติอย่างไร ?

 ๖.    ๖.๑ มีผลเสีย คือทำให้เสียสีลสามัญญตาและเสียสามัคคี เป็นทางแตก เป็นนานา-

             สังวาส จนถึงเป็นนานานิกาย ฯ

        ๖.๒ พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ

                   ๑) เคารพในผู้พิจารณา

                   ๒) ให้การตามความเป็นจริง

                   ๓) พึงเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของสงฆ์

                   ๔) ไม่ขุ่นเคือง ฯ

 ๗.    ๗.๑  ลักษณะปกปิดอาบัตินั้น พระอรรถกถาจารย์ แสดงไว้กี่ประการ ?  อะไรบ้าง ?

        ๗.๒ ภิกษุผู้เป็นโจทก์ จงใจหาความเท็จใส่ภิกษุอื่น และภิกษุผู้เป็นจำเลย จงใจปกปิด

             ความประพฤติเสียของตนด้วยให้การเท็จ  สงฆ์พึงนิคคหะด้วยกรรมอะไร ?

 ๗.    ๗.๑ แสดงไว้ ๑๐ ประการ จัดเป็น ๕ คู่ คือ

                   ๑) เป็นอาบัติ และรู้ว่าเป็นอาบัติ

                   ๒) เป็นปกตัตตะ และรู้ว่าเป็นปกตัตตะ

                   ๓) ไม่มีอันตราย และรู้ว่าไม่มีอันตราย

                   ๔) อาจอยู่ และรู้ว่าอาจอยู่

                   ๕) ใคร่จะปิด และปิดไว้ ฯ

        ๗.๒ สงฆ์พึงทำ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์  และตัสสปาปิยสิกากรรม แก่

             ภิกษุผู้เป็นจำเลย ฯ

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์  พ.ศ.  ๒๕๐๕,  (ฉบับที่  ๒)  พ.ศ.  ๒๕๓๕

 ๘.    ๘.๑ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ใครเป็นผู้สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ?

             ตอบโดยอ้างมาตรา

        ๘.๒ คำว่า คณะสงฆ์ และคณะสงฆ์อื่น แห่งมาตรา ๕ ทวิ ในพระราชบัญญัติ

             คณะสงฆ์หมายถึงใคร ?

 ๘.    ๘.๑ มาตรา ๗  พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง ฯ

        ๘.๒ คณะสงฆ์ หมายถึงบรรดาพระภิกษุที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทจากพระ

             อุปัชฌาย์ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายที่ใช้บังคับก่อนพระราช-

             บัญญัตินี้ ไม่ว่าจะปฏิบัติศาสนกิจในหรือนอกราชอาณาจักร ฯ

             คณะสงฆ์อื่น  หมายถึงบรรดาบรรพชิตจีนนิกายหรืออนัมนิกาย ฯ

 ๙.    ๙.๑  คณะสงฆ์จะตั้งเป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคมได้หรือไม่?

             จงอ้างมาตรา

        ๙.๒ จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้

ก)   ที่วัด             

ข) ที่ธรณีสงฆ์      

ค) ที่กัลปนา

 ๙.    ๙.๑  ไม่ได้ ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ ความว่า คณะสงฆ์ต้องอยู่ภายใต้การปกครอง

             ของมหาเถรสมาคม ฯ

        ๙.๒       ก) ที่วัด         คือที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น

                   ข) ที่ธรณีสงฆ์  คือที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด

                   ค) ที่กัลปนา    คือที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา ฯ

๑๐. ๑๐.๑ ผู้มิได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ หรือถูกถอดถอนจากความเป็นพระอุปัชฌาย์

             กระทำการบรรพชาอุปสมบทแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษอย่างไร ?

      ๑๐.๒  ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาเถรสมาคมคือใคร?

๑๐. ๑๐.๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ฯ

      ๑๐.๒ คืออธิบดีกรมการศาสนาโดยตำแหน่ง  ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา ๑๓ ความว่า ให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง ฯ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก 2546

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๖

๑.

๑.๑

สังฆกรรมมีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?


๑.๒

ในสีมาเดียวกัน  ภิกษุจะประชุมกันทำสังฆกรรมวันหนึ่ง ๒ ครั้งไม่ได้ ข้อนี้มีความจริงเป็นอย่างไร ?  จงอธิบาย

๑.

๑.๑

มี  ๔  อย่าง  คือ

    ๑) อปโลกนกรรม

    ๒) ญัตติกรรม 

    ๓) ญัตติทุติยกรรม  

    ๔) ญัตติจตุตถกรรม ฯ


๑.๒

มีความจริงเป็นอย่างนี้ คือ สังฆกรรมบางอย่าง  เช่น  อุโบสถ  ปวารณา  ภิกษุอยู่ในสีมาเดียวกัน  จะต้องพร้อมเพรียงกันทำ  จะแยกกันทำ ๒ พวก ๒ ครั้งไม่ได้ แต่สังฆกรรมบางอย่าง  เช่น  อุปสมบทกรรม อัพภานกรรม  จะทำวันเดียวหลายครั้งก็ได้ ฯ

๒.

๒.๑

สีมามีกี่ประเภท ?  อะไรบ้าง ?


๒.๒

แดนที่มีสังวาสเสมอกันเรียกว่าอะไร ?  มีประโยชน์อย่างไร ?

๒.

๒.๑

มี  ๒  ประเภท  คือ

      ๑) พัทธสีมา  

      ๒) อพัทธสีมา ฯ


๒.๒

เรียกว่า  สมานสังวาสสีมา ฯ




มีประโยชน์อย่างนี้  คือ  ภิกษุผู้อยู่ในเขตนี้  มีสิทธิในอันจะเข้าอุโบสถ  ปวารณา  และสังฆกรรมร่วมกัน  เป็นแดนที่กำหนดความพร้อมเพรียง  ภิกษุผู้อยู่ในสีมานี้ทั้งหมดเข้าประชุมกันเป็นสงฆ์ หรือนำฉันทะของภิกษุ

ผู้ไม่มาเข้าประชุม เรียกว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ฯ

๓.

๓.๑

การทักนิมิตในทิศทั้ง ๘ นั้น  ทักทิศละหนถูกต้องหรือไม่ ? เพราะเหตุไร ?


๓.๒

จงเขียนคำทักนิมิตในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  มาดู ?

๓.

๓.๑

ไม่ถูกต้อง ฯ  ที่ถูกต้องนั้นเมื่อเริ่มต้นทักนิมิตในทิศบูรพาแล้ว  ทักมา

โดยลำดับจนถึงนิมิตสุด  ต้องวนไปทักนิมิตในทิศบูรพาซ้ำอีก ฯ


๓.๒

คำทักนิมิตในทิศตะวันออกเฉียงเหนือว่าดังนี้  “ อุตฺตราย  อนุทิสาย  กึ  นิมิตฺตํ ”  ฯ

๔.

๔.๑

คำว่า  “ กฐิน ”  เป็นชื่อของอะไร ?  มีชื่อเรียกอย่างนั้นเพราะเหตุไร ?


๔.๒

การกรานกฐินนั้น  มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?

๔.

๔.๑

เป็นชื่อของสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ฯ  เพราะมีชื่อออกจากไม้สะดึงที่ลาดหรือกางออก เพื่อขึงจีวรเย็บ ฯ


๔.๒

มีวิธีปฏิบัติอย่างนี้ คือ เมื่อมีผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในกาลเช่นนั้นพอจะทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้ สงฆ์พร้อมใจกันยกให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อประโยชน์นี้  ภิกษุผู้ได้รับผ้านั้นเอาไปทำจีวรให้เสร็จในวันนั้น  แล้วมาบอกภิกษุผู้ยกผ้านั้นให้เพื่ออนุโมทนา  ภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนา ฯ

๕.

๕.๑

ศัพท์ว่า  “ บรรพชา ”  มีอธิบายว่าอย่างไร ?


๕.๒

นอกจากคนมีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ และอภัพพบุคคลแล้ว ยังมีบุคคลจำพวกไหนอีกบ้างที่ห้ามไม่ให้อุปสมบท ?

๕.

๕.๑

มีอธิบายว่า  ศัพท์นี้  หมายเอาการบวชทั่วไป  รวมทั้งอุปสมบทด้วยก็มี  หมายเอาเฉพาะการบวชเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบทก็มี หมายถึง

การบวชลำพังเป็นสามเณรก็มี ฯ


๕.๒

มีบุคคลที่ถูกห้ามไม่ให้อุปสมบทอีก  ๓  จำพวก คือ

      ๑) คนไม่มีอุปัชฌาย์  หรือมีคนอื่นนอกจากภิกษุเป็นอุปัชฌาย์  หรือ

          ถือสงฆ์ ถือคณะเป็นอุปัชฌาย์

      ๒) คนไม่มีบาตร  ไม่มีจีวร  หรือไม่มีทั้งบาตรทั้งจีวร

      ๓) คนยืมบาตร  ยืมจีวรเขามาหรือยืมทั้งบาตรทั้งจีวรเขามา ฯ

๖.

๖.๑

ไตรจีวร กำหนดให้เรียกผ้านุ่งว่า  อันตรวาสก  เรียกผ้าห่มว่า อุตตราสงค์ เรียกผ้าทาบว่า สังฆาฏิ  ในเวลาไหนบ้าง ?


๖.๒

ผ้า  ๓  ผืนนั้น  กำหนดให้เรียกว่า  จีวร  ในเวลาไหนบ้าง ?

๖.

๖.๑

ในเวลาดังต่อไปนี้ คือ ในเวลาบอกบาตรจีวรแก่อุปสัมปทาเปกขะ ในเวลาอธิษฐานเป็นผ้าครอง ในเวลาปัจจุทธรณ์  และในเวลากรานกฐิน ฯ


๖.๒

ในเวลาผ้า  ๓  ผืนนั้น  เป็นนิสสัคคีย์เพราะอยู่ปราศ  คำเสียสละเรียกว่าจีวรทุกผืน  และในเวลาผ้าเหล่านั้นเป็นอติเรกจีวร  คำวิกัป  คำถอนวิกัป  รวมเรียกว่าจีวรทั้งสิ้น ฯ

๗.

๗.๑

สัมมุขาวินัยสำหรับระงับวิวาทาธิกรณ์นั้น มีวิธีอย่างไร ?


๗.๒

อธิกรณ์ที่ภิกษุจะพึงยกขึ้นว่านั้น ต้องเป็นเรื่องที่มีมูล ก็เรื่องที่มูลนั้นมีลักษณะเช่นไร ?

๗.

๗.๑

มีวิธีอย่างนี้ คือ

      ๑) ด้วยการตกลงกันเอง

      ๒) ด้วยการตั้งผู้วินิจฉัย

      ๓) ด้วยอำนาจแห่งสงฆ์


๗.๒

มีลักษณะ  ๓  ประการ  คือ

      ๑) เรื่องที่ได้เห็นเอง

      ๒) เรื่องที่ได้ยินเอง  หรือมีผู้บอกและเชื่อว่าเป็นจริง

      ๓) เรื่องที่เว้นจาก  ๒  สถานนั้น  แต่รังเกียจโดยอาการ ฯ

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์  พ.ศ.  ๒๕๐๕,  (ฉบับที่  ๒)  พ.ศ.  ๒๕๓๕

๘.

๘.๑

องค์กรการปกครองคณะสงฆ์สูงสุด  คืออะไร ?


๘.๒

ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์   กำหนดองค์ประกอบขององค์กรนั้นไว้อย่างไร ?

๘.

๘.๑

คือ  มหาเถรสมาคม ฯ


๘.๒

กำหนดไว้ดังนี้

                   สมเด็จพระสังฆราช  ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดยตำแหน่ง

      สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และ

พระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง มีจำนวนไม่เกิน ๑๒ รูปเป็นกรรมการ ฯ

๙.

๙.๑

ภิกษุรูปหนึ่งต้องคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย  ภิกษุนั้นจะต้องปฏิบัติอย่างไร ?  ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์มาตราไหน ?


๙.๒

ถ้าภิกษุนั้นฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาจะถูกลงโทษอย่างไร ?

๙.

๙.๑

ภิกษุนั้นต้องสึกภายในสามวัน  นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ฯ  ตามมาตรา  ๒๘ 

แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฯ


๙.๒

ถ้าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ตามมาตรา ๔๓  แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฯ

๑๐.

๑๐.๑

ที่วัด  ที่ธรณีสงฆ์  และที่ศาสนสมบัติกลาง  ได้แก่สถานที่เช่นไร ?


๑๐.๒

เจ้าพนักงาน  ตามความในประมวลกฎหมายอาญา  ในพระราชบัญญัติ

คณะสงฆ์ได้แก่ใคร ?

๑๐.

๑๐.๑

ที่วัด                    ได้แก่ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น

ที่ธรณีสงฆ์             ได้แก่ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด

ที่ศาสนสมบัติกลาง    ได้แก่ที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่

                             ของวัดใดวัดหนึ่ง ฯ


๑๐.๒

ได้แก่พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร  ฯ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก 2547

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๗

   ๑.  สังฆกรรมแต่ละประเภท ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำในที่เช่นไร ?

   ๑.  อปโลกนกรรม ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำในเขตสีมาหรือนอกเขตสีมาก็ได้ ฯ

        ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียง

        กันทำในเขตสีมาเท่านั้น จะเป็นพัทธสีมาหรืออพัทธสีมาก็ได้ ฯ

   ๒.  ภัณฑุกรรม และ อุกเขปนียกรรม คืออะไร ?  จัดเป็นสังฆกรรมประเภทไหน ?

   ๒.  ภัณฑุกรรม คือ กรรมที่ภิกษุแจ้งให้สงฆ์ทราบเพื่อปลงผมคนผู้มาขอบวชซึ่งยังไม่ได้

        ปลงผมมาก่อน และภิกษุจะปลงให้เอง ฯ

        อุกเขปนียกรรม คือ กรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ยอมรับว่าต้องอาบัติ

        เรียกว่าไม่เห็นอาบัติ  หรือไม่ทำคืนอาบัติ  หรือมีทิฏฐิบาปไม่ยอมสละ อันเป็น

        การเสียสีลสามัญญตา และทิฏฐิสามัญญตา ฯ

        ภัณฑุกรรมจัดเป็นอปโลกนกรรม ฯ

        อุกเขปนียกรรม จัดเป็นญัตติจตุตถกรรม ฯ

   ๓.  วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสร้างโรงอุโบสถแล้ว ภายหลังรื้อสร้างใหม่

        จะต้องขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่หรือไม่ ?  จงชี้แจง

   ๓.  ถ้าสร้างอยู่ในเขตวิสุงคามสีมาเดิมที่ได้รับพระราชทานไว้ ไม่ต้องขอพระราชทานใหม่  

        แต่ถ้าสร้างพ้นเขตวิสุงคามสีมาที่กำหนดเดิมนั้น ต้องขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ ฯ

   ๔.  สงฆ์ผู้ทำกรรมในการให้ผ้ากฐิน มีกำหนดจำนวนอย่างน้อยไว้เท่าไร ?  ที่กำหนดไว้

        อย่างนั้น มีพระพุทธประสงค์อย่างไร ?

   ๔.  มี ๕ รูปเป็นอย่างน้อย ฯ

        มีพระพุทธประสงค์ว่า ภิกษุรูปหนึ่งเป็นบุคคลผู้รับผ้ากฐิน  เหลืออีก ๔ รูปเป็นสงฆ์

        กรานและอนุโมทนา จึงกำหนดอย่างนั้น ฯ

   ๕.  บุรพกิจก่อนแต่อุปสมบท มีอะไรบ้าง ?  กิจทั้งหมดนั้นที่จัดเป็นญัตติกรรม ทำเป็น

        การสงฆ์ คือกิจอะไรบ้าง ?

   ๕.  มีการให้บรรพชา  ขอนิสสัย  ถืออุปัชฌายะ  ขนานชื่อมคธแห่งอุปสัมปทาเปกขะ บอก

        นามอุปัชฌายะ  บอกบาตรจีวร  สั่งอุปสัมปทาเปกขะให้ออกไปยืนข้างนอก  สมมติ

        ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ซักซ้อมอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรม เรียกอุปสัมปทาเปกขะ

        เข้าในสงฆ์ ให้ขออุปสมบท สมมติภิกษุรูปหนึ่งสอบถามอุปสัมปทาเปกขะถึง

        อันตรายิกธรรมในสงฆ์ ฯ

        กิจเหล่านี้คือ การสมมติภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ซักซ้อมอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรม 

        การเรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้าในสงฆ์  การสมมติภิกษุรูปหนึ่งสอบถามอุปสัมปทาเปกขะ

        ถึงอันตรายิกธรรมในสงฆ์  จัดเป็นญัตติกรรม ทำเป็นการสงฆ์ ฯ

   ๖.  เมื่อมุ่งถึงพระพุทธบัญญัติ ภิกษุผู้ได้ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความตั้งอยู่ยั่งยืนแห่งพระธรรมวินัย

        ควรปฏิบัติเช่นไร ?

   ๖.  ควรปฏิบัติอย่างนี้ คือ ตั้งอยู่ในลัชชีธรรม  ใคร่ความบริสุทธิ์  อาบัติที่ไม่ควรต้อง

        อย่าต้อง อาบัติที่ต้องแล้ว พึงทำคืนเสีย  เช่นนี้จักเป็นผู้มีศีลเสมอด้วยสพรหมจารี

        ทั้งหลาย   ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความตั้งอยู่ยั่งยืนแห่งพระธรรมวินัย ฯ

   ๗.  การทำนาสนา คือการทำเช่นไร ? บุคคลที่ทรงอนุญาตให้นาสนามีกี่ประเภท ? ใครบ้าง ?

   ๗.  คือการยังบุคคลผู้ไม่ควรถือเพศ ให้ละเพศเสีย ฯ

        บุคคลที่ทรงอนุญาตให้นาสนามี ๓ ประเภท คือ

               ๑. ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุแล้ว ยังปฏิญญาตนเป็นภิกษุ

               ๒. บุคคลผู้อุปสมบทไม่ขึ้น ได้รับอุปสมบทแต่สงฆ์

               ๓. สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ข้อใดข้อหนึ่ง เช่นเป็นผู้มักผลาญชีวิตสัตว์

                   เป็นต้น ฯ

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์

   ๘.  กรรมการมหาเถรสมาคมดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี ?

   ๘.  กรรมการมหาเถรสมาคมที่เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ไม่มีกำหนดเวลา

        กรรมการมหาเถรสมาคมที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง ดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี ฯ

   ๙.  ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้หรือไม่ มีหลัก

        ปฏิบัติอย่างไร ?

   ๙.  สามารถโอนได้ มีหลักปฏิบัติตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์

        พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ฯ

๑๐.  ศาสนสมบัติมีกี่ประเภท ?  อะไรบ้าง ?  ใครเป็นผู้มีอำนาจดูแลรักษาและจัดการ

        ศาสนสมบัติ ?

๑๐.  มี ๒ ประเภท (ตามมาตรา ๔๐) คือ

               ๑. ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง ฯ

               สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีอำนาจดูแลรักษาและจัดการ ฯ        

               ๒. ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ฯ

               เจ้าอาวาสวัดแต่ละวัด มีอำนาจดูแลรักษาและจัดการ ฯ

วิชาวินัย นักธรรมชั้นเอก 2548

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัย  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันจันทร์ ที่  ๒๑  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘


   ๑.  ในสังฆกรรมทั้ง ๔ นั้น การสวดอนุสาวนามีอยู่ในกรรมไหนบ้าง ?  ในแต่ละกรรม

        นั้นให้สวดกี่ครั้ง ?

   ๑.  มีอยู่ใน ญัตติทุติยกรรม และ ญัตติจตุตถกรรม ฯ  ในญัตติทุติยกรรมให้สวด

        ๑ ครั้ง  ในญัตติจตุตถกรรมให้สวด ๓ ครั้ง ฯ

   ๒.  สีมาเป็นหลักสำคัญแห่งสังฆกรรมอย่างไร ? พัทธสีมามีกำหนดขนาดพื้นที่ไว้อย่างไร ?

   ๒.  สีมาเป็นเขตประชุมของสงฆ์ผู้ทำกรรม พระศาสดาทรงพระอนุญาตให้สงฆ์

        พร้อมเพรียงกันทำภายในสีมา เพื่อจะรักษาสามัคคีในสงฆ์ ฯ

        อย่างนี้ คือ กำหนดไม่ให้สมมติสีมาเล็กเกินไปจนจุภิกษุ ๒๑ รูป นั่งไม่ได้และ

        ไม่ให้สมมติสีมาใหญ่เกินไปกว่า ๓ โยชน์ ฯ

   ๓.  ภิกษุได้รับอานิสงส์กฐิน เข้าบ้านในเวลาวิกาลโดยไม่บอกลา ต้องอาบัติอะไร

        หรือไม่ ?  เพราะเหตุไร ?

   ๓.  ในกรณีที่รับนิมนต์แล้ว ไปในที่นิมนต์ ภายหลังภัตรเข้าบ้านโดยไม่บอกลา

        ไม่ต้องอาบัติ ซึ่งได้รับยกเว้นด้วยอานิสงส์ที่ว่าเที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ตาม

        สิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ ฯ  แต่ในกรณีที่ไม่ได้รับนิมนต์

        เข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๓ แห่งรัตนวรรค

        ในปาจิตติยกัณฑ์ ยกเว้นในกรณีรีบด่วน เช่นภิกษุถูกงูกัดรีบเข้าไปเพื่อหายา

        หรือตามหมอ ฯ

   ๔.  วัตถุสมบัติในการอุปสมบทคืออะไร ?  ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง ?

   ๔.  คือผู้จะเข้ารับการอุปสมบท ฯ  ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ ประการ  คือ

             ๑. เป็นชาย

             ๒. มีอายุครบ ๒๐ ปี

             ๓. ไม่เป็นมนุษย์วิบัติ  เช่นถูกตอน  หรือเป็นกะเทย

             ๔. ไม่เคยทำอนันตริยกรรม 

             ๕. ไม่เคยต้องปาราชิก  หรือไม่เคยเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งที่เป็นภิกษุ ฯ

   ๕.  อภัพพบุคคลที่ถูกห้ามอุปสมบทเพราะกระทำผิดต่อพระศาสนา มีกี่ประเภท ?

        ใครบ้าง ?

   ๕.  มี ๗ ประเภท คือ

             ๑. คนฆ่าพระอรหันต์

             ๒. คนทำร้ายภิกษุณี ได้แก่ผู้ข่มขืนภิกษุณีในอัธยาจาร

             ๓. คนลักเพศ คือคนถือเพศเป็นภิกษุเอง

             ๔. ภิกษุไปเข้ารีตเดียรถีย์

             ๕. ภิกษุต้องปาราชิก

             ๖. ภิกษุทำสังฆเภท

             ๗. คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ฯ

   ๖.  อธิกรณ์อันสงฆ์วินิจฉัยแล้ว ฝ่ายไม่ชอบใจจักอุทธรณ์ได้หรือไม่ ?  จงตอบให้มีหลัก

   ๖.  อุทธรณ์ได้ก็มี อุทธรณ์ไม่ได้ก็มี โดยอธิบายว่า ตามสิกขาบทที่ ๓ แห่งสัปปาณวรรค

        ปาจิตติยกัณฑ์ โจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี สงฆ์ก็ดี รู้อยู่ว่าอธิกรณ์นั้น สงฆ์หมู่นั้น

        วินิจฉัยเป็นธรรมแล้ว ฟื้นขึ้นเพื่อวินิจฉัยใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อย่างนี้อุทธรณ์

        ไม่ได้  แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นธรรม ฟื้นขึ้นไม่เป็นอาบัติ อย่างนี้ อุทธรณ์ได้ ฯ

   ๗.  ปริวาส คืออะไร ?  มานัต คืออะไร ?

   ๗.  ปริวาส คือ การประพฤติวัตรพิเศษอย่างหนึ่งเท่าจำนวนวันที่ปกปิดอาบัติไว้

        ก่อนจะประพฤติมานัตต่อไป ฯ 

        มานัต คือ การประพฤติวัตรพิเศษอย่างหนึ่ง เป็นเวลา ๖ ราตรี เพื่อออก

        จากอาบัติสังฆาทิเสส ฯ

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์

   ๘.  มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง ?

   ๘.  มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

              ๑. ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม

              ๒. ปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร

             ๓. ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่

                 การสาธารณูปการ  และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์

             ๔. รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา

             ๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น ฯ

   ๙.  ตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕  กำหนด

        ให้พระภิกษุสละสมณเพศในกรณีใดบ้าง ?

   ๙.  ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

             ๑. ต้องคำวินิจฉัยตามมาตรา ๒๕ ให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก แต่ไม่ยอมรับ

                 นิคหกรรมนั้น

             ๒. ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ

             ๓. ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง

             ๔. ไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ฯ

๑๐.  ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ได้แก่ที่เช่นไร ? นาย ก ได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสให้เข้าปลูกบ้าน

        อยู่อาศัยในที่เช่นนั้นนานเกินสิบปี ภายหลังจะยึดที่ดินผืนนั้นเป็นสมบัติส่วนตัว จึงยก

        อายุความขึ้นต่อสู้กับวัด  โดยอ้างสิทธิครอบครองได้หรือไม่ ?  เพราะเหตุไร ?

๑๐.  ที่วัด คือที่ที่ตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น ที่ธรณีสงฆ์ คือที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด ฯ

        ไม่ได้  เพราะมาตรา ๓๔ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒)

        พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติว่า ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดหรือสำนักงาน

        พระพุทธศาสนาแห่งชาติแล้วแต่กรณี ในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์

        หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ฯ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก 2549

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

   ๑.  อย่างไรเรียกว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง และสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงนั้นสามารถ

        ทำสังฆกรรมใดได้บ้าง ?

   ๑. ภิกษุผู้อยู่ในสมานสังวาสสีมา แปลว่าแดนมีสังวาสเสมอกัน เป็นแดนที่

        กำหนดความพร้อมเพรียง มีสิทธิในอันจะเข้าอุโบสถ ปวารณา และ

        สังฆกรรมร่วมกัน ทั้งหมดเข้าประชุมกันเป็นสงฆ์ หรือนำฉันทะของภิกษุ

        ผู้ไม่มาเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ฯ

        สามารถทำสังฆกรรมทั้ง ๔ ประเภท มีอปโลกนกรรมเป็นต้นได้ ฯ

  ๒.  ภิกษุที่เรียกในบาลีว่า ผู้เข้ากรรม คือใคร ?  และต้องประกอบด้วย

        คุณสมบัติอย่างไร ?

  ๒.  คือภิกษุผู้เข้าในจำนวนสงฆ์ผู้ทำกรรมนั้นๆ ฯ

        ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือเป็นภิกษุปกติ ไม่ถูกสงฆ์ยกเสีย

        จากหมู่ด้วยอุกเขปนียกรรม มีสังวาสเสมอด้วยสงฆ์ และเป็น

        สมานสังวาสของกันและกัน ฯ

  ๓.  สังฆกรรมย่อมวิบัติเพราะเหตุไรบ้าง ?  ภิกษุ ๓ รูป ประชุมกันในสีมา

        สวดปาฏิโมกข์ ชื่อว่าวิบัติเพราะเหตุไหน ? 

  ๓. สังฆกรรมย่อมวิบัติ (คือใช้ไม่ได้ แม้ทำแล้วก็ไม่เป็นอันทำ) เพราะ

        เหตุ ๔ อย่าง คือ เพราะวัตถุบ้าง เพราะสีมาบ้าง เพราะปริสะบ้าง

        เพราะกรรมวาจาบ้าง ฯ

        ชื่อว่าวิบัติเพราะปริสะ ฯ

   ๔.  กรานกฐิน  คืออะไร ?  อธิบายพอเข้าใจ

   ๔.  คือเมื่อมีผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในเดือนท้ายฤดูฝน พอจะทำเป็นไตรจีวร

        ผืนใดผืนหนึ่งได้ สงฆ์พร้อมใจกันยกให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุผู้ได้รับ

        ผ้านั้นเอาไปทำเป็นจีวรแล้วเสร็จในวันนั้นแล้วมาบอกแก่ภิกษุ ผู้ยกผ้านั้น

        ให้เพื่ออนุโมทนา ภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนา ทั้งหมดนี้คือกรานกฐิน ฯ

   ๕.  ภิกษุ ๒ ฝ่ายก่อวิวาทเพราะปรารถนาดีก็มี เพราะปรารถนาเลวก็มี

        อยากทราบว่าอย่างไรชื่อว่าก่อวิวาทเพราะปรารถนาดี อย่างไรชื่อว่าก่อวิวาท

        เพราะปรารถนาเลว ? 

   ๕.  ผู้ใดตั้งวิวาทเพราะเห็นแก่พระธรรมวินัย ผู้นั้นชื่อว่าทำด้วยปรารถนาดี

        ผู้ใดตั้งวิวาทด้วยทิฐิมานะ แม้รู้ว่าผิดก็ขืนทำ ผู้นั้นชื่อว่าทำด้วยปรารถนาเลว ฯ

   ๖.  ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเห็นร่วมกันกับส่วนใหญ่ ไม่ถือแต่

        มติของตน เป็นธรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ภิกษุปฏิบัติอย่างไร

        จึงจะรักษาธรรมนั้นได้ ?

   ๖.  ปฏิบัติอย่างนี้คือ เคารพในพระศาสดา ในพระธรรมวินัย และเคารพ

        ในสงฆ์ผู้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาพระธรรมวินัย สำคัญมติของสงฆ์นั้นว่า

        เป็นเนตติอันตนควรเชื่อถือและทำตาม ผู้ปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมรักษา

        ทิฏฐิสามัญญตานั้นไว้ได้ ฯ

  ๗.  การทำกรรมมีตัชชนียกรรมเป็นต้นแก่ภิกษุหรือคฤหัสถ์ ควรปฏิบัติ

        อย่างไรจึงจะไม่เป็นทางนำมาซึ่งความแตกสามัคคี ?

  ๗. พึงตั้งอยู่ในมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ กาลัญญุตา ความเป็น

        ผู้รู้จักกาล ปุคคลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล ดำริโดยรอบคอบแล้ว

        จึงทำ ไม่พึงใช้อำนาจที่ประทานไว้ เป็นทางนำมาซึ่งความแตกสามัคคี

        เช่น พวกภิกษุชาวโกสัมพีได้ทำมาแล้ว ฯ

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕

แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕

  ๘.  ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กำหนดองค์ประกอบ

        มหาเถรสมาคมไว้อย่างไร ?

  ๘. กำหนดไว้ดังนี้

               สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดย

               ตำแหน่ง

               สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

                และพระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง มีจำนวน

               ไม่เกิน ๑๒ รูป เป็นกรรมการ ฯ

  ๙.  พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรมเมื่อทำผิดเช่นไร ? และผู้ได้รับนิคหกรรม

        ให้สึก ต้องสึกภายในเวลาเท่าไร ?

  ๙. เมื่อกระทำการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย และนิคหกรรมที่จะลงโทษแก่                ภิกษุนั้น จะต้องเป็นนิคหกรรมตามพระธรรมวินัย ฯ

        ต้องสึกภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น ฯ

๑๐.  พระภิกษุจะไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งเลยได้หรือไม่ ?

        อ้างมาตราประกอบด้วย

๑๐.  ไม่ได้ ฯ

        ตามมาตรา ๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒๕๐๕ แก้ไข

        เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕ ฯ


*********


วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก 2550

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

๑.     สังฆกรรมจำแนกออกเป็นประเภท  เรียกโดยชื่อมีอะไรบ้าง ?   กรรมอะไรบ้างที่สงฆ์จตุวรรคทำได้ ?

๑.     มี  อปโลกนกรรม ๑   ญัตติกรรม ๑   ญัตติทุติยกรรม ๑   ญัตติจตุตถกรรม ๑ ฯ

เว้นปวารณา  ให้ผ้ากฐิน  อุปสมบท  และอัพภาน  นอกนั้นทำได้    ทุกอย่าง ฯ

๒.     สีมาสังกระ  คืออะไร ?   สงฆ์จะทำสังฆกรรมในสีมาเช่นนั้นได้หรือไม่อย่างไร ?

๒.     คือ  สีมาที่สมมติคาบเกี่ยวกันระหว่างสีมาที่สมมติไว้เดิมและสีมาที่สมมติขึ้นใหม่ ฯ

สงฆ์ทำสังฆกรรมในสีมาที่สมมติไว้เดิมได้  แต่ทำในสีมาที่สมมติขึ้นใหม่ไม่ได้ ฯ

๓.     การอปโลกน์ และ การสวดเพื่อให้ผ้ากฐิน  จัดเป็นสังฆกรรมประเภท ใด ?   การกรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิ  พึงกล่าวว่าอย่างไร ?

๓.     การอปโลกน์เพื่อให้ผ้ากฐิน จัดเป็นอปโลกนกรรม การสวดเพื่อให้     ผ้ากฐิน จัดเป็นญัตติทุติยกรรม ฯ

ว่า  อิมาย  สงฺฆาฏิยา  กฐินํ  อตฺถรามิ ฯ

๔.     การบรรพชาและการอุปสมบท  สำเร็จด้วยวิธีอะไร ?

        นอกจากอภัพบุคคลและผู้มีบรรพชาโทษแล้ว  บุคคลประเภทใดบ้างที่ถูกห้ามไม่ให้อุปสมบท ?

๔.     การบรรพชาสำเร็จด้วยวิธีไตรสรณคมน์  และการอุปสมบทสำเร็จด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจา ฯ

        คือ    ๑. คนไม่มีอุปัชฌาย์

               ๒. คนไม่มีบาตร คนไม่มีจีวร  หรือไม่มีทั้งบาตรทั้งจีวร

               ๓. คนยืมบาตร จีวร  หรือยืมทั้งบาตรทั้งจีวรเขามา ฯ

๕.     อนุวาทาธิกรณ์เช่นไร  อันภิกษุจะพึงยกขึ้นว่าได้ ?

๕.     ต้องเป็นเรื่องมีมูล  คือ  เรื่องที่ได้เห็นเอง ๑   เรื่องที่ได้ยินเอง  หรือมีผู้บอกและเชื่อว่าเป็นจริง ๑   เรื่องที่เว้นจาก ๒ สถานนั้น  แต่รังเกียจโดยอาการ ๑  เช่นได้ยินว่า  พัสดุชื่อนี้ของผู้มีชื่อนี้หายไป  ได้พบพัสดุชนิดนั้นในที่อยู่ของภิกษุชื่อนั้น ฯ

๖.     การคว่ำบาตรในทางพระวินัยหมายถึงอะไร ?  และจะหงายบาตรได้ เมื่อไร ?

๖.     หมายถึง  การไม่ให้คบค้าสมาคมด้วยลักษณะ ๓ ประการ  คือ

        ๑.  ไม่รับบิณฑบาตของเขา

        ๒.  ไม่รับนิมนต์ของเขา

        ๓.  ไม่รับไทยธรรมของเขา ฯ

        เมื่อผู้ถูกคว่ำบาตรนั้นละโทษนั้นแล้ว   กลับประพฤติดี ฯ 

๗.     สังฆราชี  คืออะไร ?

๗.     คือ  การที่ภิกษุแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย  เพราะมีความเห็นปรารภ       พระธรรมวินัยผิดแผกกันจนเกิดเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้น หรือมีความปฏิบัติไม่สม่ำเสมอกัน  ยิ่งหย่อนกว่ากัน  เกิดรังเกียจกันขึ้น  แต่ยังไม่แยกทำอุโบสถปวารณาหรือสังฆกรรมอื่น ฯ

๘.     ภิกษุเมื่อลาสิกขา  ต้องทำเป็นกิจลักษณะด้วยการกล่าวคำปฏิญญาตนเป็นผู้อื่นจากภิกษุต่อหน้าใครได้บ้าง ? และทำอย่างไรจึงเป็น         กิจลักษณะ ?  

๘.     ต่อหน้าภิกษุด้วยกันหรือคนอื่นจากภิกษุก็ได้ ฯ

ปฏิญญาอย่างนี้ คือ

       พร้อมด้วยจิต  คือทำด้วยตั้งใจเพื่อลาสิกขาจริง ๆ

       พร้อมด้วยกาล  คือด้วยคำเด็ดขาด  ไม่ใช่รำพึง ไม่ใช่ปริกัป

       พร้อมด้วยประโยค  คือปฏิญญาด้วยตนเอง

       พร้อมด้วยบุคคล  คือผู้ปฏิญญาและผู้รับปฏิญญาเป็นคนปกติ

       พร้อมด้วยความเข้าใจ  คือผู้รับปฏิญญาเข้าใจคำนั้นในทันที ฯ


 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์

๙.     พระราชบัญญัติคณะสงฆ์  คืออะไร ?

๙.     คือ กฏหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยคณะสงฆ์ มีศักดิ์รองลงมาจากรัฐธรรมนูญ ฯ

๑๐.   ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยก  มีโทษอย่างไร ?

๑๐.   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี  หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ ฯ

***********

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก 2551

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันจันทร์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ 

๑.       กรรมวาจาวิบัติเพราะสวดผิดฐานกรณ์นั้นอย่างไร ?

๑.       คือ  การสวดธนิตเป็นสิถิล ๑  สวดสิถิลเป็นธนิต ๑  สวดวิมุตเป็นนิคคหิต ๑  สวดนิคคหิตเป็นวิมุต ๑ ฯ

๒.       ติจีวราวิปปวาสสีมา และ อุทกุกเขปสีมา  ได้แก่สีมาเช่นไร ?

๒.       ติจีวราวิปปวาสสีมา ได้แก่ สีมาที่สงฆ์สมมติให้เป็นแดน

ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ในเขตสีมานั้น

          อุทกุกเขปสีมา ได้แก่ สีมาที่กำหนดเขตแห่งสามัคคีด้วยชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังปานกลาง ฯ

๓.       ภิกษุผู้ได้รับสมมติจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์นั้นๆ เรียกว่าอะไร ?   พึงสวดสมมติด้วยกรรมวาจาประเภทใด ?

๓.       เรียกว่า เจ้าอธิการ ฯ

          พึงสวดสมมติด้วยญัตติทุติยกรรม ฯ 

๔.       ผ้าที่ไม่ทรงอนุญาตให้ใช้เป็นผ้ากฐิน  ได้แก่ผ้าเช่นไรบ้าง ?

๔.       เช่นนี้ คือ

๑.  ผ้าที่ไม่ได้เป็นสิทธิ  เช่น ผ้าที่ขอยืมเขามา

๒.  ผ้าที่ได้มาโดยอาการอันมิชอบ  คือ ทำนิมิตได้มา พูดเลียบเคียง

     ได้มา และผ้าเป็นนิสสัคคีย์

๓.  ผ้าที่ได้มาโดยบริสุทธิ์ แต่เก็บค้างคืนไว้ ฯ

๕.       ในอุปสมบทกรรม  อภัพพบุคคล หมายถึงใคร ?  จำแนกโดยประเภทมีเท่าไร ?   อะไรบ้าง ?

๕.       หมายถึงบุคคลที่ทรงห้ามไม่ให้อุปสมบท ฯ

มี  ๓ ประเภท  คือ

๑.  เพศบกพร่อง

          ๒.  ประพฤติผิดพระธรรมวินัย

          ๓.  ประพฤติผิดต่อกำเนิดของเขาเอง ฯ

๖.       วิวาทาธิกรณ์ คืออะไร ?   ระงับได้ด้วยอธิกรณสมถะข้อใดบ้าง ?

๖.       คือ การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัย ฯ 

ด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ฯ

๗.       พระอรรถกถาจารย์แสดงลักษณะปกปิดอาบัติสังฆาทิเสสไว้เป็น ๕ คู่อย่างไรบ้าง ?

๗.       แสดงไว้ ๕ คู่ ดังนี้

๑.     เป็นอาบัติ และรู้ว่าเป็นอาบัติ

๒.    เป็นปกตัตตะ และรู้ว่าเป็นปกตัตตะ

๓.    ไม่มีอันตราย และรู้ว่าไม่มีอันตราย

๔.     อาจอยู่ และรู้ว่าอาจอยู่

๕.     ใคร่จะปิด และปิดไว้ ฯ

๘.       รัตติเฉท หมายถึงอะไร ?   มีอะไรบ้าง ?

๘.       หมายถึง การขาดราตรีแห่ง (การประพฤติ) มานัต ฯ

          มี  ๑. อยู่ร่วม  ๒. อยู่ปราศ  ๓. ไม่บอก 

๔. ประพฤติในคณะอันพร่อง ฯ

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์

๙.       กรรมการมหาเถรสมาคมดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี ?

๙.       กรรมการที่เป็นสมเด็จพระราชาคณะ  ไม่มีกำหนดเวลา

          กรรมการที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง ดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี ฯ

๑๐.     ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ให้จัดแบ่งเขตปกครอง     คณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคไว้อย่างไร ?

๑๐.     แบ่งดังนี้  คือ ๑. ภาค  ๒. จังหวัด  ๓. อำเภอ  ๔. ตำบล

          ส่วนจำนวนและเขตปกครองดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนด

ในกฎมหาเถรสมาคม ฯ

***********

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก 2552

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๕๒

๑.     สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงประมวล เรื่องอันเนื่องด้วยวินัยที่ภิกษุผู้เป็นเถระพึงเรียนรู้เป็นหลักไว้ในวินัยมุขเล่ม ๓ คืออะไรบ้าง ? เมื่อเรียนรู้แล้วจะอำนวยประโยชน์อะไรบ้าง?

ตอบ คือ ธรรมเนียม วิธี และกรณียะต่าง ๆ อันเนื่องด้วยวินัย ฯ ย่อมอาจจะอำนวยในหน้าที่ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และอาจเป็นที่พึ่งของผู้น้อยในกิจการ ฯ

๒.    สังฆกรรม เมื่อกล่าวโดยประเภท มีเท่าไร? อะไรบ้าง? จงยกตัวอย่างของสังฆกรรมนั้น ๆ มาอย่างละ ๑ ตัวอย่าง

ตอบ กล่าวโดยประเภท มี ๔ ฯ คือ

๑. อปโลกนกรรม ตัวอย่างเช่น การรับสามเณรผู้ถูกลงโทษเพราะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าและได้รับการยกเลิกโทษเพราะกลับประพฤติดี

๒. ญัตติกรรม ตัวอย่างเช่น การเรียกอุปสัมปทาเปกขะผู้ได้รับการไล่เลียงอันตรายิกธรรมแล้วกลับเข้ามาในหมู่สงฆ์

๓. ญัตติทุติยกรรม ตัวอย่างเช่น สวดหงายบาตรแก่ผู้ถูกคว่ำบาตรเพราะกลับประพฤติดีในภายหลัง

๔. ญัตติจตุตถกรรม ตัวอย่างเช่น การสวดกรรมที่สงฆ์ผู้ทำกรรม 7 สถาน มีตัชชนียกรรมเป็นต้นลงโทษภิกษุผู้ประพฤติมิชอบ

๓.     การผูกพัทธสีมาในบัดนี้ มีขั้นตอนในการปฏิบัติอย่างไร?

ตอบ มีขั้นตอนดังนี้

๑. พื้นที่อันจะสมมติเป็นสีมาต้องได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก่อน

๒. ประชุมภิกษุผู้อยู่ในเขตวิสุงคามสีมาหรือนำฉันทะของเธอมาแล้วสวดถอนเป็นแห่ง ๆ ไปกว่าจะเห็นว่าพอดี พึงสวดถอนติจีวราวิปปวาสก่อนแล้วจึงสวดถอนสมานสังวาสสีมา

๓. เตรียมนิมิตไว้ตามทิศ

๔. เมื่อสมมติสีมา ต้องประชุมภิกษุผู้อยู่ภายในนิมิตหรือนำฉันทะของเธอมา แล้วออกไปทักนิมิต

๕. กลับมาสวดสมมติสมานสังวาสสีมาก่อนแล้ว สวดสมมติติจีวราวราวิปปวาสสีมา ฯ

๔.     โดยทั่วไป มีความเข้าใจเรื่องสังฆกรรมว่า ในสีมาเดียวกัน ภิกษุจะประชุมทำสังฆกรรมวันหนึ่ง ๒ ครั้งไม่ได้ข้อนี้มีความจริงเป็นอย่างไร? จงอธิบาย

ตอบ มีความเป็นจริงเป็นอย่างนี้ คือ สังฆกรรมบางอย่าง เช่น อุโบสถ ปวารณา ภิกษุอยู่ในสีมาเดียวกันจะต้องพร้อมเพรียงกันทำจะแยกกันทำ ๒ พวก  ๒ ครั้งไม่ได้ แต่สังฆกรรมบางอย่าง เช่น อุปสมบทกรรมอัพภานกรรม จะทำวันเดียวหลายครั้งก็ได้

๕.     อันตรายิกธรรมที่ยกขึ้นถามอุปสมปทาเปกขะในการอุปสมบทนั้น ข้อที่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงกับทำให้เป็นภิกษุไม่ได้ คือข้อใดบ้าง?

ตอบ คือ ข้อว่า ไม่ใช่มนุษย์ ไม่ใช่บุรุษ อายุไม่ครบ 20 ปี ฯ

๖.     อาปัตตาธิกรณ์ระงับในสำนักบุคคลด้วยอธิกรณสมถะอะไร? และระงับในสำนักสงฆ์ด้วยอธิกรณสมถะอะไร?

ตอบ ระงับในสำนักบุคคลด้วยปฏิญญาตกรณะ ฯ ระงับในสำนักสงฆ์   ถ้าเป็นครุกาบัติ ด้วยสัมมุขาวินัย และปฏิญญาตกรณะ  ถ้าเป็นลหุกาบัติ ด้วยสัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ ฯ

๗.    อันตราบัติ คืออาบัติอะไร? ภิกษุจะต้องอาบัตินี้ได้ในเวลาไหนบ้าง?

ตอบ คือ อาบัติสังฆาทิเสสที่ต้องในระหว่างประพฤติวุฏฐานวิธี ฯ ภิกษุจะต้องอาบัตินี้ได้ในระหว่างที่กำลังอยู่ปริวาส หรืออยู่ปริวาสแล้วเป็นมานัตตารหะ กำลังประพฤติมานัตอยุ่ หรือประพฤติมานัตแล้ว เป็นอัพภานารหะ ฯ

๘.     ภิกษุเสียสีลสามัญญตาเพราะประพฤติอย่างไร? พระบรมศาสดาทรงวางโทษไว้ให้สงฆ์ทำกรรมอะไรแก่เธอ?

ตอบ เพราะต้องอาบัติแล้วไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ หรือไม่ยอมทำคืน ฯ ทรงวางโทษไว้ให้สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรมแก่เธอ ฯ

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์

๙.     กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด?

ตอบ พ้นเมื่อ

๑. มรณภาพ

๒. พ้นจากความเป็นพระภิกษุ

๓. ลาออก

๔. สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ออก

๕. อยู่ครบวาระ ๒ ปี

๑๐. เจ้าอาวาส หมายถึงใคร? ภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดที่ไม่ใช่พระอารามหลวงต้องมีคุณสมบัติโดยเฉพาะอะไรบ้าง 

ตอบ หมายถึง พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งตามกฎมหาเถรสมาคมให้เป็นพระสังฆาธิการปกครองวัดใดวัดหนึ่ง ฯ คือ

๑. มีพรรษาพ้น ๕

๒. เป็นผู้ทรงเกียรติคุณเป็นที่เคารพนับถือของคฤหัสถ์และบรรพชิตในถิ่นนั้น ฯ