วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ผลสอบนักธรรมชั้นตรี ภาค 11 ประจำปีพุทธศักราช 2562


ผลสอบนักธรรมชั้นตรี ภาค 11 ประจำปีพุทธศักราช 2562
(ไฟร์ PDF)
---------------------------------
ดาวโหลด⇒⇒⇒ คณะจังหวัดชัยภูมิ
ดาวโหลด⇒⇒⇒ คณะจังหวัดบุรีรัมย์
ดาวโหลด⇒⇒⇒ คณะจังหวัดสุรินทร์
ดาวโหลด⇒⇒⇒ คณะจังหวัดนครราชสีมา
---------------------------------------------
จังหวัดอื่นๆ
ดาวโหลด⇒⇒⇒กาญจนบุรี
ดาวโหลด⇒⇒⇒สุพรรณบุรี
ดาวโหลด⇒⇒⇒สุมทรสาคร
ดาวโหลด⇒⇒⇒ชลบุรี
ดาวโหลด⇒⇒⇒ตราด
ดาวโหลด⇒⇒⇒ระยอง
ดาวโหลด⇒⇒⇒ จันทบุรี
ดาวโหลด⇒⇒⇒สมุทรปราการ
ดาวโหลด⇒⇒⇒นครปฐม
ดาวโหลด⇒⇒⇒ประจวบคีรีขันธ์
ดาวโหลด⇒⇒⇒เพชรบุรี
ดาวโหลด⇒⇒⇒ราชบุรี
 ดาวโหลด⇒⇒⇒สมุทรสงคราม

ขอบพระคุณแหล่งที่มาของข้อมูล เพจ ข่าวการศึกษาคณะสงฆ์ไทย

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562

[เฉลย]ปัญหาวิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี ปี 2562

ปัญหาวิชาพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นตรี ปี 2562
ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี
                  สอบในสนามหลวง
                วันพุธ ที่ ๙ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๖๒
              เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.
 ๑.  พระพุทธเจ้าสืบเชื้อสายมาจากชนชาติใด ? ชนชาตินั้นมาตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปได้อย่างไร ? 2547
ตอบ ชนชาติ อริยกะ 
ชาวอริยกะนั้นเป็นผู้เจริญด้วยความรู้และขนบธรรมเนียม 
มีฤทธิ์มีอำนาจมากกว่าพวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม เมื่อข้ามภูเขาหิมาลัยมาก็รุกไล่พวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม ให้ถอยเลื่อนลงมาทางใต้ แล้วเข้าตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปแทน
๒.อะไรเป็นมูลเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช ?
ตอบ ทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ คือคนเเก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ 
๓.อาฬารดาบสและอุทกดาบส มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร ?
  ตอบ  อาฬารดาบส เกี่ยวข้องโดยเป็นอาจารย์ที่พระมหาบุรุษเข้าไปศึกษาลัทธิของท่านและได้สมาบัติ  ๗ อุทกดาบส เป็นอาจารย์ที่พระมหาบุรุษเข้าไปศึกษาในลัทธิของท่านและได้สมาบัติ ๘ 
๔.พระพุทธเจ้าเสด็จออกผนวช ตรัสรู้ และปรินิพพาน  เมื่อมีพระชนมายุเท่าไรบ้าง ?
ตอบ    ออกผนวช เมื่อพระชนมายุ ๒๙ ปี ตรัสรู้ เมื่อพระชนมายุ ๓๕ ปี ปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ ๘๐ ปี
  ๕.     พระอัญญาโกณฑัญญะได้ชื่อว่าเป็นปฐมสาวก เพราะเหตุไร ?
ตอบ ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” จบโกณฑัญญะพราหมณ์ ก็เกิดดวงตาเห็นธรรม คือ บรรลุพระโสดาบันว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา” ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงเปล่งพระอุทานว่า“โกณฑัญญะรู้แล้วหนอๆ” จากนั้นท่านจึงได้ชื่อใหม่ว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” เพราะเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมก่อนใครทั้งหมดนั้นเอง
 ๖.    คำว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” เป็นคำอุทานของใคร ? เพราะเหตุใดจึงอุทานเช่นนั้น ? 2544
ตอบ ของยสกุลบุตร 
เพราะเห็นอาการพิกลต่าง ๆ ของหมู่ชนบริวารที่นอนหลับ  ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีเหมือนเมื่อก่อน หมู่ชนบริวารเหล่านั้นปรากฏแก่ยสกุลบุตร ดุจซากศพที่ทิ้งอยู่ในป่าช้า ครั้นเห็นแล้วเกิดความสังเวชสลดใจ  คิดเบื่อหน่าย  จึงได้ออกอุทานเช่นนั้น
   ๗. ครั้งพุทธกาล วัดเชตวัน ตั้งอยู่ที่เมืองอะไร ?ใครเป็นผู้สร้างถวาย ?
ตอบ วัดพระเชตวัน ตั้งอยู่ เมืองสาวัตถี ผู้สร้างถวายอนาถบิณฑิกเศรษฐี 
  ๘.การปลงอายุสังขารของพระพุทธองค์ ถือโดยใจความว่าอย่างไร ?   และทรงปลงอายุสังขารเมื่อใด ? 2547
ตอบ ถือโดยใจความว่า พระองค์ทรงปลงพระทัยว่าจะทรงบำเพ็ญพุทธกิจต่อไปอีกไม่ได้
        แล้ว เพราะปรารภถึงสังขารของพระองค์ว่า ทรงพระชราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล
        ผ่านวัยเสียแล้ว ที่ทรงเปรียบว่ากายของพระองค์เป็นประหนึ่งเกวียนชำรุดที่ซ่อมแซม
        ด้วยไม้ไผ่ มิใช่สัมภาระเกวียนฉะนั้น ฯ
      เมื่อวันเพ็ญ เดือน ๓  ก่อนวันปรินิพพาน ๓ เดือน ฯ
    ศาสนพิธี
   ๙.  ศาสนพิธี คืออะไร ?ผู้ที่ได้เรียนรู้แล้วได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
ตอบ พิธีกรรมที่มีขึ้นเพื่อเป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนเพื่อแสดงออกถึงความเชื่อทางพุทธศาสนา  การประพฤติปฏิบัติศาสนพิธี  ต้องทำอย่างถูกต้องเป็นระเบียบ  เกิดความสบายใจ  ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนดีเป็นแบบอย่างที่ดีได้
ประโยชน์ของศาสนพิธี
      ๑  เป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีให้มีสืบไป
     ๒  เป็นการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
      ๓  ทำให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะที่ร่วมทำพิธีกัน
      ๔  เป็นสิ่งชักนำให้พุทธศาสนิกชน  เว้นจากการทำชั่ว  ทำความดีมีจิตใจผ่องใส
     ๕  แสดงถึงความร่วมมือ  ความเจริญทางจิตใจของคนในสังคม
     ๖  เกิดความสุขใจ  อิ่มเอมใจและเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของผู้ประพฤติปฏิบัติ
    ๑๐.วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กำหนดไว้กี่วัน ? มีวันอะไรบ้าง ?
 ตอบ  กำหนดไว้ ๔ วัน คือ 
๑.วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ 
๒.วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ 
๓.วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ 
๔.วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562

[เฉลย]ปัญหาวิชาวินัยมุข นักธรรมชั้นตรี ปี 2562

[เฉลย]ปัญหาวิชาวินัยมุข นักธรรมชั้นตรี ปี 2562
[เฉลย]ปัญหาวิชาวินัยมุข นักธรรมชั้นตรี ปี 2562
1.ภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้ว ย่อมได้อานิสงค์อย่างไร 2547
ตอบ พระภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้วย่อมได้รับอานิสงส์คือ ความไม่ต้องเดือดร้อนใจ ได้รับความแช่มชื่นว่า ได้ประพฤติดีงาม เข้าหมู่สงฆ์ก็อาจหาญ ฯ
2.นิสสัยคืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? 2555
ตอบ : คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ฯ มี ๔ อย่าง ฯคือ
            ๑. เที่ยวบิณฑบาต ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล๓. อยู่โคนไม้ ๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฯ
3.พูดอย่างไรเรียกว่า อวดอุตริมนุสสธรรม ? 2544
ตอบ พูดอวดคุณพิเศษอันยิ่งของมนุษย์  เช่น ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล นิพพาน เรียกว่า  อวดอุตตริมนุสสธรรม
4.ปาราชิก 4 สิกขาบทไหนที่ภิกษุใช้ให้เขาทำก็ต้องอาบัติถึงที่สุด ? 2545
ตอบ  สิกขาบทที่ ๒ และสิกขาบทที่ ๓ ฯ
5.คำว่า "ภิกษุประทุษร้ายตระกูล" ในสิกขาบทที่ 13 แห่งสังฆาทิเสส หมายถึงการทำอย่างไร 2546
ตอบ หมายถึงการที่ภิกษุประจบคฤหัสถ์ ยอมตนให้เขาใช้สอย  เช่นเดินส่งข้าว
ให้เขาเป็นต้น หรือ ด้วยการเอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งเล็กน้อยด้วยหวัง
ได้มาก ฯ
6.จีวร ผ้านิสีทนะ อังสะ ผ้าเช็ดหน้า ย่ามผ้า เมื่อจะใช้สอย อย่างไหนควรพินทุ อย่างไหนไม่ควร ? เพราะเหตุใด 2545
ตอบ จีวร และอังสะ  ควรพินทุ  เพราะใช้ห่ม
                 ผ้านิสีทนะ ผ้าเช็ดหน้า และย่ามผ้า ไม่ต้องพินทุ เพราะไม่ได้ใช้นุ่งห่ม ฯ 
7.ไตรจีวร มีอะไรบ้าง ? ภิกษุอยู่ปราสจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง ต้องอาบัติอะไร ?2553
ตอบ มี สังฆาฏิ คือผ้าคลุม อุตตราสงค์ คือผ้าห่ม และอันตรวาสก คือ ผ้านุ่ง ฯ
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
8.ภิกษุเข้าบ้านในเวลาวิกาล โดยไม่บอกลาภิกษุอื่นที่มีอยู่ในวัด ต้องอาบัติอะไรหรือไม? 2555
ตอบ : ถ้าเข้าบ้านในเวลาที่เป็นกาล ตั้งแต่เช้าถืงเวลาก่อนเที่ยงวัน ไม่ต้องอาบัติ ถ้าเข้าบ้านในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่หลังเที่ยงวันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีกิจด่วน (หรือผู้อยู่ในนิสสัย)
9.เสขิยวัตร คืออะไร? โภชนปฎิสังยุต ว่าด้วยเรื่องอะไร
ตอบ เสขิยวัตรคือ วัตรหรือธรรมเนียมที่ภิกษุจำต้องศึกษา โภชนปฏิสังยุต  ว่าด้วยเรื่องการรับและการฉันอาหาร
10.ภิกษุฉันพลางพูดพลาง จะต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ? 2560
ตอบ ต้องอาบัติทุกกฏตามเสขิยวัตรข้อที่ ๔๓ ความว่าภิกษุพึงทำความศึกษาว่า  เมื่อข้าวอยู่ในปาก เราจักไม่พูด ฯ

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562

[เฉลย]ปัญหาวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี ปี 2562

ปัญหาวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี ปี 2562

ปัญหาวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี ปี 2562

แนวตอบปัญหาวิชาธรรม
1.โลกเดือนร้อนวุ่นวายในปัจจุบันนี้ เพราะขาดธรรมอะไร? (ปี 2543)
ตอบ เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่างคือ
     ๑) หิริ ความละอายแก่ใจ
     ๒) โอตตัปปะ ความเกรงกลัว
2.คนที่ทำอะไรมักพลั้งพลาด เพราะขาดธรรมอะไร ?( ปี2545)
ตอบ เพราะขาดสติ ความระลึกได้ก่อนแต่จะทำ และขาดสัมปชัญญะ ความรู้ตัว
                ในขณะทำ ฯ
3.บุพพการีและกตัญญูกตเวทีได้แก่บุคคลเช่นไร ? (ปี  2554)
ตอบ บุพพการีได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน  กตัญญูกตเวทีได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ
4.สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญเรียกว่าอะไร ? โดยย่อมีอะไรบ้าง? 2543
ตอบ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ  เรียกบุญกิริยาวัตถุ   โดยย่อมี  ๓  อย่าง 
                   ๑.  ทานมัย  บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
                   ๒.  สีลมัย   บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
                   ๓.  ภาวนามัย  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
5.รัตนะ 3 มีอะไรบ้าง? รัตน3 นั้นมีคุณอย่างไร?
 ตอบ  รัตนะ  3  แปลว่า  แก้วอันประเสริฐ  3  ประการ  หมายถึง พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ
 พระธรรม และพระสงฆ์  อันเป็นที่พึ่งทางจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย 
คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่า
๑. คุณของพระพุทธ หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองก่อน แล้วทรงสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
๒. คุณของพระธรรม หมายถึง คุณของพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้ใดปฏิบัติตาม พระธรรมย่อมรักษา กาย วาจา ใจ ของผู้นั้น ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
๓. คุณของพระสงฆ์ หมายถึงคุณของพระสงฆ์ ที่ปฏิบัติปฏิบัติชอบ ตามพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า จนรู้แจ้งเห็นจริงแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
6.ผู้ที่ทำงานไม่สำเร็จผลตามที่มุ่งหมายเพราะขาดคุณธรรมอะไรบ้าง? 2560
ตอบ เพราะขาดอิทธิบาท คือ คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่างคือ
๑)ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒) วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓) จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔) วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
7.กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มีชื่อเรียกว่าอะไร ? คือ อะไรบ้าง ?
ตอบ กรรมที่ถือว่าเป็นกรรมหนักที่สุด เรียกว่า อนันตริยกรรม ซึ่งฝ่ายบาปอกุศลมี 5 ประการ คือ ...
๑) มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒) ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓) อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔) โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
๕) สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน
8.ผู้หวังประโยชน์ปัจจุบันจะต้องปฎิบัติอย่างไรจึงจะได้สมหวัง?
ตอบ ประโยชน์ในปัจจุบัน 4 อย่าง บ้างเรียกว่า หัวใจเศรษฐี "อุ อา กะ สะ" อาจเรียกสั้น ๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ
1.อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น เช่นขยันหมั่นเพียร เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่อง อันเป็นอุบายในการงานนั้น ให้สามารถทำได้สำเร็จ
2.อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์ (ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม) เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล ไม่ให้ถูกลัก หรือทำลายไปโดยภัยต่างๆ
3.กัลยาณมิตตตา คบคนดี ไม่คบคบชั่ว อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด ย่อมดำรงตน เจรจา สนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา
4.สมชีวิตา อยู่อย่างพอเพียง รู้ทางเจริญทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้สุรุ่ยสุร่ายฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
9.อบายมุข คืออะไร ? ดื่มน้ำเมามีโทษอย่างไรบ้าง ?
ตอบ อบายมุข 6 คือ วิถีชีวิต 6 อย่าง แห่งความโลภ และความหลงที่ทำให้เกิดความเสื่อม ความฉิบหายของชีวิต
โทษการดื่มน้ำเมาในภพกระทำ
1. ติดน้ำเมา ติดสารเสพติด เพราะสารที่มีอยู่ในสิ่งเหล่านี้ออกฤทธิ์ให้ร่างกายเกิดการเสพติดหรืออยากที่จะดื่มหรือเสพอีกครั้ง
2. ขาดปัญญา ขาดสติ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ นำไปสู่การทะเลาะวิวาท เพราะฤทธิ์ของสารเหล่านี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทหลายด้าน อาทิ กดประสาท กระตุ้นประสาท หลอนประสาท เป็นต้น
3. เสียทรัพย์ในการซื้อจ่าย เพราะต้องแลกมาด้วยเงินทองในการซื้อ
3. เกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคตับ โรคประสาทหลอน เพราะสารในสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของร่างกาย
4. ผู้อื่นรังเกียจ และนินทา เพราะเมื่อเมาเป็นนิจมักแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจทำให้คนอื่นติฉินนินทาในภายหลัง
5. เสียการงาน เพราะเมื่อเมาแล้วจะไม่มีสติหรือไม่มีสมาธิในการทำงานได้เหมือนคนทั่วไป
ฯลฯ
โทษการดื่มน้ำเมาในภพหน้า
1. เกิดเป็นคนใบ้ เพราะผู้ประพฤติเช่นนี้ ขณะตายที่ยังเมาสุรามักไม่ได้พูดกล่าวลาผู้มีพระคุณหรือญาติมิตร ตายขณะพูดคุยไม่รู้เรื่อง พอตายแล้วมักตกนรก และกลับมาเกิดใหม่เป็นคนใบ้
2. เกิดเป็นคนมีสติไม่สมประกอบ หรือ คนบ้า เพราะผู้ประพฤติเช่นนี้ มักเมาสุรา แล้วควบคุมสติไม่ได้ ปล่อยอารมณ์โทสะ คลุ้มคลั่ง เหมือนคนบ้า เมื่อตายแล้วจึงตกนรก และกลับมาเกิดด้วยการเป็นคนบ้า
3. เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน เพราะผู้ประพฤติเช่นนี้ ขณะเมาสุรามักพูดจาไม่เข้าใจ ขาดสติ นึกอะไรไม่ออก เมื่อตายแล้วจึงตกนรก และเกิดมาใหม่เป็นคนปัญญาอ่อน
4. เกิดเป็นสัตว์เลื้อยคลาน เพราะผู้ประพฤติเช่นนี้ ขณะเมาสุรา มักนอนคลานตามพื้น ทำตนเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน เมื่อตายแล้วจึงตกนรก และเกิดมาเป็นสัตว์เลื้อยคลาน
ฯลฯ
10.ความสุขของผู้ครองเรือนตามหลักพระพุทธศาสนาเกิดจากเหตุอะไรบ้าง?
  ตอบ  ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอันนนาถสูตร อัง. จตุกนิบาต ข้อ ๖๒ ถึงความสุขของผู้ครองเรือน อันเป็นความสุขที่ไม่มีโทษ ๔ อย่าง คือ
          ๑. อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือมีทรัพย์ที่หามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตน ที่หามาโดยสุจริต ขอบธรรม เมื่อมีทรัพย์แล้วก็ทำให้ภาคภูมิใจ เอิบอิ่มใจไม่เดือดร้อนใจ
          ๒. โภคสุข สุขเกิดแต่การใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้ คนที่มีทรัพย์อยู่ในมือแล้วย่อมสบายใจ เอิบอิ่มใจ เมื่อเวลาที่ต้องการจะใช้ ก็สามารถจะเอามาใช้ได้ ไม่ขาดแคลน ข้อที่ว่าสุขเกิดแต่การใช้จ่ายทรัพย์ได้ตามต้องการนี้ รู้สึกคนไทยทุกคนจะซาบซึ้งใจกันดี เพราะคนไทยเป็นนักจ่าย เห็นอะไรก็อยากได้อยากซื้อไปหมด ถ้าไม่มีเงินคงไม่เป็นสุขแน่เทียว
          ๓. อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ถ้าเราเป็นหนี้ ต้องขวนขวายหาเงินมาใช้หนี้เขา จะหาความสุขได้อย่างไร ยิ่งเวลาที่ต้องส่งเงินต้นหรือดอกเบี้ย แต่ไม่มีจะส่ง ยิ่งเป็นทุกข์ใจมาก เพราะฉะนั้นถ้าเราพยายามใช้จ่ายให้พอเหมาะพอสมกับฐานะ ไม่ใช้จ่ายเกินตัวจนต้องเป็นหนี้เป็นสินเขาแล้ว เราจะมีความสุขมากทีเดียว เพราะฉะนั้นความไม่เป็นหนี้จึงเป็นความสุขของผู้ครองเรือน
          ๔. อนวัชชสุข สุขอันเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ คือประพฤติสุจริตธรรม เมื่อประพฤติแต่สุจริตธรรมก็ไม่มีใครที่จะติเตียนเราได้ ทำให้เกิดความภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่า เราประพฤติตนดี ไม่เป็นที่ครหาของใครๆ

          ขอสรุปอีกครั้งว่า สุขของผู้ครองเรือนมี ๔ อย่าง คือ
                    ๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์
                    ๒. สุขเกิดแต่การใช้ทรัพย์
                    ๓. สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้
                    ๔. สุขเกิดแต่ความประพฤติที่ไม่มีโทษ คือประพฤติแต่สุจริตธรรม


ปัญหาวิชากระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี ปี 2562


ปัญหาวิชากระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี ปี 2562
ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ.
ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
สํ.ส.15/316
---------------
คลิกตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม⇨⇨⇨ หมวดทาน 





วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

วิธีการเขียนหัวกระดาษคำตอบแบบฝนธรรมศึกษาและวิธีเขียนหัวกระดาษกระทู้ ธรรมศึกษา


วิธีการเขียนหัวกระดาษคำตอบแบบฝน
วิธีการเขียนหัวกระดาษคำตอบแบบฝน  ธรรมศึกษา
วิธีเขียนหัวกระดาษกระทู้ ธรรมศึกษา

วิธีเขัยนหัวกระดาษกระทู้ ธรรมศึกษา

กระดาษเขียนกระทู้ธรรมศึกษาแบบใหม่


วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบชื่อสมัครสอบนักธรรมชั้นตรี 2562


ประกาศ! พระภิกษุและสามเณร
ที่ลงชื่อสมัครสอบนักธรรมชั้นตรี
เพื่อป้องกันรายชื่อตกหล่นและเสียสิทธิ์ในการเข้าสอบ
ให้เข้าไปตรวจสอบได้ที่ :

https://www.dhammastudy.org/entrance

หรือดูตามรายชื่อสนามสอบ :
dhammastudy.org/ss/list
------------------------------------------------------------------

ภาพตัวอย่าง
2.หรือ dhammastudy.org/ss/list

ขอบคุณแหล่งที่มา เพจ นักธรรมและธรรมศึกษา