แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คำแนะนำในการตอบปัญหาธรรมวิภาค แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คำแนะนำในการตอบปัญหาธรรมวิภาค แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

คำแนะนำในการตอบปัญหาธรรมวิภาค

๑. พึงรู้จักความแห่งคำที่เรียกทับศัพท์ ตลอดถึงชื่อแห่งข้อและหมวดธรรม เช่น นิวรณ์ อคติ เบญจขันธ์เป็นต้น และเช่น อัตตสัมมาปณิธิ บุพเพกตปุญญตา จักร ๔ พละ ๕ เป็นต้น เพราะเกื้อกูลแก่การฟังเข้าใจ การจำเป็นหลัก และการเรียกสะดวก
         ๒. พึงรู้ความประสงค์แห่งการแสดงข้อธรรมเหล่านั้น เช่น ภยาคติ อัตตสัมมาปณิธิ โลกธรรม เป็นต้น
         ๓. พึงรู้จักอนุโลมข้อธรรมที่แก้ไว้สูง พึงรู้จักผ่อนให้ต่ำลงมา เช่น สัมมาสมาธิ ที่แก้ว่า เจริญฌาณ ๑ ที่แก้ไว้ต่ำ พึงรู้จักเขยิบขึ้นให้สูง เช่น อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์
         ๔. พึงรู้จักถือเอาความแห่งข้อหนึ่ง เพราะมีข้ออื่นบ่งเช่นปฏิรูปเทศ เป็นตัวอย่าง
         ๕. พึงรู้จักศัพท์อันเดียวแต่หมายความต่าง ๆ เช่น อินทริยและจาคะ เป็นต้น
         ๖. พึงกำหนดข้อธรรมอันเดียวแต่มาในหมวดต่าง ๆ หลายหมวด เช่น ศรัทธาและปัญญาเป็นตัวอย่าง
         ๗. พึงเข้าใจเรียงความบางหมวดให้เกี่ยวเนื่องเป็นเหตุและผลของกัน เช่น วุฒิ ๔ จักร ๔ โพชฌงค์ ๗ เป็นตัวอย่าง
         ๘. พึงเทียบหมวดธรรมอันละม้ายคล้ายคลึงกัน เช่น อริยทรัพย์ และสัปปปุริสธรรมเป็นตัวอย่าง
         ๙. พึงเทียบธรรมที่เห็นว่าน่าแย้งกัน เช่น คณสังคณิกาและหมั่นประชุม
         ๑๐. พึงรู้จักอรรถที่ตรงกันข้าม ที่เรียกว่าฝ่ายขาวฝ่ายดำ เช่น องค์แห่งมรรค ๘ เป็นฝ่ายขาว คือส่วนดี พึงรู้จักองค์อันเป็นฝ่ายดำ คือส่วนชั่ว ดุจเดียวกัน มละเป็นฝ่ายดำ พึงรู้จักฝ่ายขาวด้วย
         ๑๑. พึงรู้จักความกว้างความแคบ เช่น สิกขาและสิกขาบท สังขาร และเวทนา เป็นตัวอย่าง
         ๑๒. พึงรู้จักย่นข้อธรรมอันเป็นอันมากให้น้อย เช่น นามขันธ์และโลกธรรมเป็นตัวอย่าง
         ๑๓. พึงรู้จักศัพท์อันมีความเป็นอันเดียวกัน เช่น บุญ กุศล สุจริต และบาป อกุศล ทุจริต และเหตุ ปัจจัย มูล เป็นตัวอย่าง
         ๑๔. พึงอ่านหนั่งสือต่างๆ เช่น พุทธสมัยและวรรณนาเป็นต้น เพื่อได้ความรู้เข้ามาประกอบ
         ๑๕. พึงใส่ใจลำดับแห่งข้อธรรมและหมวดธรรม นี้เป็นอุปการะแก่การจำแม่นไม่ตกหล่น และนึกถึงได้คล่อง ๆ
         ๑๖. พึงพิจารณาปัญหาและตอบตามหลัก ดังต่อไปนี้
         ก.พึงเข้าใจแห่งปัญหานั้นก่อน ถ้าเข้าใจผิดตอบย่อมผิดตาม

         ข.ถ้าเป็นปัญหาถามเพื่อสอบความจำ พึงตอบตามแบบให้บริบูรณ์ เป็นแต่ประกอบคำตอบให้สมรูปปัญหา

         ค.ถ้าเป็นปัญหาให้ออกความคิด พึงตอบตามความเห็นของตน

         ฆ.ถ้าเป็นปัญหาจะให้ตอบตามหลัก เช่น ถามถึงลักษณะสัตบุรุษ พึงตอบอาศัยสัตบุรุษธรรมเป็นตัวอย่าง
 ที่มา http://www.gongtham.net/my_data/history_gongtham/index.php