แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปัญหาวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี ปี 2562 แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปัญหาวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี ปี 2562 แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562

[เฉลย]ปัญหาวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี ปี 2562

ปัญหาวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี ปี 2562

ปัญหาวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี ปี 2562

แนวตอบปัญหาวิชาธรรม
1.โลกเดือนร้อนวุ่นวายในปัจจุบันนี้ เพราะขาดธรรมอะไร? (ปี 2543)
ตอบ เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่างคือ
     ๑) หิริ ความละอายแก่ใจ
     ๒) โอตตัปปะ ความเกรงกลัว
2.คนที่ทำอะไรมักพลั้งพลาด เพราะขาดธรรมอะไร ?( ปี2545)
ตอบ เพราะขาดสติ ความระลึกได้ก่อนแต่จะทำ และขาดสัมปชัญญะ ความรู้ตัว
                ในขณะทำ ฯ
3.บุพพการีและกตัญญูกตเวทีได้แก่บุคคลเช่นไร ? (ปี  2554)
ตอบ บุพพการีได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน  กตัญญูกตเวทีได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ
4.สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญเรียกว่าอะไร ? โดยย่อมีอะไรบ้าง? 2543
ตอบ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ  เรียกบุญกิริยาวัตถุ   โดยย่อมี  ๓  อย่าง 
                   ๑.  ทานมัย  บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
                   ๒.  สีลมัย   บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
                   ๓.  ภาวนามัย  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
5.รัตนะ 3 มีอะไรบ้าง? รัตน3 นั้นมีคุณอย่างไร?
 ตอบ  รัตนะ  3  แปลว่า  แก้วอันประเสริฐ  3  ประการ  หมายถึง พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ
 พระธรรม และพระสงฆ์  อันเป็นที่พึ่งทางจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย 
คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่า
๑. คุณของพระพุทธ หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองก่อน แล้วทรงสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
๒. คุณของพระธรรม หมายถึง คุณของพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้ใดปฏิบัติตาม พระธรรมย่อมรักษา กาย วาจา ใจ ของผู้นั้น ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
๓. คุณของพระสงฆ์ หมายถึงคุณของพระสงฆ์ ที่ปฏิบัติปฏิบัติชอบ ตามพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า จนรู้แจ้งเห็นจริงแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
6.ผู้ที่ทำงานไม่สำเร็จผลตามที่มุ่งหมายเพราะขาดคุณธรรมอะไรบ้าง? 2560
ตอบ เพราะขาดอิทธิบาท คือ คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่างคือ
๑)ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒) วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓) จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔) วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
7.กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มีชื่อเรียกว่าอะไร ? คือ อะไรบ้าง ?
ตอบ กรรมที่ถือว่าเป็นกรรมหนักที่สุด เรียกว่า อนันตริยกรรม ซึ่งฝ่ายบาปอกุศลมี 5 ประการ คือ ...
๑) มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒) ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓) อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔) โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
๕) สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน
8.ผู้หวังประโยชน์ปัจจุบันจะต้องปฎิบัติอย่างไรจึงจะได้สมหวัง?
ตอบ ประโยชน์ในปัจจุบัน 4 อย่าง บ้างเรียกว่า หัวใจเศรษฐี "อุ อา กะ สะ" อาจเรียกสั้น ๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ
1.อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น เช่นขยันหมั่นเพียร เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่อง อันเป็นอุบายในการงานนั้น ให้สามารถทำได้สำเร็จ
2.อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์ (ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม) เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล ไม่ให้ถูกลัก หรือทำลายไปโดยภัยต่างๆ
3.กัลยาณมิตตตา คบคนดี ไม่คบคบชั่ว อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด ย่อมดำรงตน เจรจา สนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา
4.สมชีวิตา อยู่อย่างพอเพียง รู้ทางเจริญทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้สุรุ่ยสุร่ายฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
9.อบายมุข คืออะไร ? ดื่มน้ำเมามีโทษอย่างไรบ้าง ?
ตอบ อบายมุข 6 คือ วิถีชีวิต 6 อย่าง แห่งความโลภ และความหลงที่ทำให้เกิดความเสื่อม ความฉิบหายของชีวิต
โทษการดื่มน้ำเมาในภพกระทำ
1. ติดน้ำเมา ติดสารเสพติด เพราะสารที่มีอยู่ในสิ่งเหล่านี้ออกฤทธิ์ให้ร่างกายเกิดการเสพติดหรืออยากที่จะดื่มหรือเสพอีกครั้ง
2. ขาดปัญญา ขาดสติ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ นำไปสู่การทะเลาะวิวาท เพราะฤทธิ์ของสารเหล่านี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทหลายด้าน อาทิ กดประสาท กระตุ้นประสาท หลอนประสาท เป็นต้น
3. เสียทรัพย์ในการซื้อจ่าย เพราะต้องแลกมาด้วยเงินทองในการซื้อ
3. เกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคตับ โรคประสาทหลอน เพราะสารในสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของร่างกาย
4. ผู้อื่นรังเกียจ และนินทา เพราะเมื่อเมาเป็นนิจมักแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจทำให้คนอื่นติฉินนินทาในภายหลัง
5. เสียการงาน เพราะเมื่อเมาแล้วจะไม่มีสติหรือไม่มีสมาธิในการทำงานได้เหมือนคนทั่วไป
ฯลฯ
โทษการดื่มน้ำเมาในภพหน้า
1. เกิดเป็นคนใบ้ เพราะผู้ประพฤติเช่นนี้ ขณะตายที่ยังเมาสุรามักไม่ได้พูดกล่าวลาผู้มีพระคุณหรือญาติมิตร ตายขณะพูดคุยไม่รู้เรื่อง พอตายแล้วมักตกนรก และกลับมาเกิดใหม่เป็นคนใบ้
2. เกิดเป็นคนมีสติไม่สมประกอบ หรือ คนบ้า เพราะผู้ประพฤติเช่นนี้ มักเมาสุรา แล้วควบคุมสติไม่ได้ ปล่อยอารมณ์โทสะ คลุ้มคลั่ง เหมือนคนบ้า เมื่อตายแล้วจึงตกนรก และกลับมาเกิดด้วยการเป็นคนบ้า
3. เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน เพราะผู้ประพฤติเช่นนี้ ขณะเมาสุรามักพูดจาไม่เข้าใจ ขาดสติ นึกอะไรไม่ออก เมื่อตายแล้วจึงตกนรก และเกิดมาใหม่เป็นคนปัญญาอ่อน
4. เกิดเป็นสัตว์เลื้อยคลาน เพราะผู้ประพฤติเช่นนี้ ขณะเมาสุรา มักนอนคลานตามพื้น ทำตนเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน เมื่อตายแล้วจึงตกนรก และเกิดมาเป็นสัตว์เลื้อยคลาน
ฯลฯ
10.ความสุขของผู้ครองเรือนตามหลักพระพุทธศาสนาเกิดจากเหตุอะไรบ้าง?
  ตอบ  ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอันนนาถสูตร อัง. จตุกนิบาต ข้อ ๖๒ ถึงความสุขของผู้ครองเรือน อันเป็นความสุขที่ไม่มีโทษ ๔ อย่าง คือ
          ๑. อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือมีทรัพย์ที่หามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตน ที่หามาโดยสุจริต ขอบธรรม เมื่อมีทรัพย์แล้วก็ทำให้ภาคภูมิใจ เอิบอิ่มใจไม่เดือดร้อนใจ
          ๒. โภคสุข สุขเกิดแต่การใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้ คนที่มีทรัพย์อยู่ในมือแล้วย่อมสบายใจ เอิบอิ่มใจ เมื่อเวลาที่ต้องการจะใช้ ก็สามารถจะเอามาใช้ได้ ไม่ขาดแคลน ข้อที่ว่าสุขเกิดแต่การใช้จ่ายทรัพย์ได้ตามต้องการนี้ รู้สึกคนไทยทุกคนจะซาบซึ้งใจกันดี เพราะคนไทยเป็นนักจ่าย เห็นอะไรก็อยากได้อยากซื้อไปหมด ถ้าไม่มีเงินคงไม่เป็นสุขแน่เทียว
          ๓. อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ถ้าเราเป็นหนี้ ต้องขวนขวายหาเงินมาใช้หนี้เขา จะหาความสุขได้อย่างไร ยิ่งเวลาที่ต้องส่งเงินต้นหรือดอกเบี้ย แต่ไม่มีจะส่ง ยิ่งเป็นทุกข์ใจมาก เพราะฉะนั้นถ้าเราพยายามใช้จ่ายให้พอเหมาะพอสมกับฐานะ ไม่ใช้จ่ายเกินตัวจนต้องเป็นหนี้เป็นสินเขาแล้ว เราจะมีความสุขมากทีเดียว เพราะฉะนั้นความไม่เป็นหนี้จึงเป็นความสุขของผู้ครองเรือน
          ๔. อนวัชชสุข สุขอันเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ คือประพฤติสุจริตธรรม เมื่อประพฤติแต่สุจริตธรรมก็ไม่มีใครที่จะติเตียนเราได้ ทำให้เกิดความภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่า เราประพฤติตนดี ไม่เป็นที่ครหาของใครๆ

          ขอสรุปอีกครั้งว่า สุขของผู้ครองเรือนมี ๔ อย่าง คือ
                    ๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์
                    ๒. สุขเกิดแต่การใช้ทรัพย์
                    ๓. สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้
                    ๔. สุขเกิดแต่ความประพฤติที่ไม่มีโทษ คือประพฤติแต่สุจริตธรรม