แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2543

 วินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2543


ปัญหาและเฉลยวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท

สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓

วันเสาร์ ที่  ๑๘  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓

------------------------------

๑.

๑.๑

สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์เรียกว่าอะไร ?  ทรงบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ?


๑.๒

กายบริหาร ข้อที่ ๓ และข้อที่ ๗ มีความว่าอย่างไร ?

๑.

๑.๑

เรียกว่า อภิสมาจาร ทรงบัญญัติไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของภิกษุ และเพื่อความงามของพระศาสนา เช่นเดียวกับตระกูลใหญ่ จำต้องมีขนบธรรมเนียมและระเบียบไว้รักษาเกียรติและความเป็นผู้ดีของตระกูล


๑.๒

มีความว่าดังนี้



ข้อที่  ๓  อย่าพึงไว้เล็บยาว การขัดมลทินหรือแคะมูลเล็บเป็นกิจควรทำ



ข้อที่ ๗ อย่าพึงแต่งเครื่องประดับต่างๆ เช่น ตุ้มหู สายสร้อยและแหวน    เป็นต้น

๒.

๒.๑

บาตรที่ทรงอนุญาตมีกี่ชนิด ? อะไรบ้าง ?  บาตรแสตนเลสจัดเข้าในชนิดไหน ?


๒.๒

บาตรที่ทรงห้ามมีกี่ชนิด ?  อะไรบ้าง ?

๒.

๒.๑

มี ๒ ชนิด คือ ๑ บาตรดินเผา ๒ บาตรเหล็ก บาตรแสตนเลสจัดเข้าในบาตรเหล็ก


๒.๒

มี ๑๑ ชนิด คือ ๑ บาตรทอง  ๒ บาตรเงิน  ๓ บาตรแก้วมณี  ๔ บาตรแก้วไพฑูรย์ ๕ บาตรแก้วผลึก  ๖ บาตรแก้วหุง  ๗ บาตรทองแดง  ๘ บาตรทองเหลือง  ๙ บาตรดีบุก  ๑๐ บาตรสังกะสี  ๑๑ บาตรไม้

๓.

๓.๑

นิสัยคืออะไร ? เหตุให้นิสัยระงับมีเท่าไร ?  อะไรบ้าง ?


๓.๒

ภิกษุเช่นไรควรได้นิสัยมุตตกะ ?

๓.

๓.๑

นิสัย คือ กิริยาที่พึ่งพิงของสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก ต่อพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์

เหตุให้นิสัยระงับจากพระอุปัชฌาย์ มี ๕ คือ ๑ หลีกไปเสีย  ๒ สึกเสีย            ๓ ตายเสีย  ๔ ไปเข้ารีตเดียรถีย์  ๕ สั่งบังคับ


ส่วนเหตุให้นิสัยระงับจากพระอาจารย์ เพิ่มอีก ๑ ข้อ คือ อันเตวาสิกรวมเข้ากับพระอุปัชฌาย์ของเธอ


๓.๒

ภิกษุผู้ควรได้นิสัยมุตตกะ คือ

     ๑) เป็นผู้มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ สติ

     ๒) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อาจาระ ความเห็นชอบ เคยได้ยินได้ฟัง

          มามาก มีปัญญา

     ๓) รู้จักอาบัติ มิใช่อาบัติ อาบัติเบา อาบัติหนัก จำพระปาฏิโมกข์ได้

         แม่นยำ ทั้งมีพรรษาพ้น ๕

๔.

๔.๑

วัตรคืออะไร ?  มีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?


๔.๒

วัตถุอนามาสคืออะไร ?  มีอะไรบ้าง ?

๔.

๔.๑

วัตรคือแบบอย่างอันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้น ๆ ในที่นั้น ๆ ในกิจนั้น ๆ แก่บุคคลนั้น ๆ มี ๓ อย่าง คือ  ๑ กิจวัตร   ๒ จริยาวัตร   ๓ วิธิวัตร


๔.๒

วัตถุอนามาส คือวัตถุไม่ควรจับต้อง มีดังนี้



     ๑) ผู้หญิง รวมทั้งเครื่องแต่งกาย ทั้งรูปที่ทำมีสัณฐานเช่นนั้น และ

          ดิรัจฉานตัวเมีย

     ๒) ทอง เงิน และรัตนะ

     ๓) ศัสตราวุธ

     ๔) เครื่องดักสัตว์

     ๕) เครื่องประโคมทุกอย่าง

     ๖) ข้าวเปลือก และผลไม้อันเกิดอยู่ในที่

๕.

๕.๑

กิจอันสงฆ์จะพึงทำก่อนสวดปาฏิโมกข์มีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?


๕.๒

สงฆ์สวดปาฏิโมกข์อยู่ ภิกษุอื่นมาถึง หรือมาถึงเมื่อสวดจบแล้ว พึงปฏิบัติ

อย่างไร ?

๕.

๕.๑

มี ๙ อย่างคือ ๑ กวาดโรงอุโบสถ   ๒ ตามประทีป   ๓ ปูอาสนะ 

๔ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้  ๕ นำปาริสุทธิของภิกษุผู้เจ็บไข้มา   ๖ นำฉันทะ

ของเธอมาด้วย    ๗ บอกฤดู   ๘ นับภิกษุ   ๙ สั่งสอนนางภิกษุณี


๕.๒

พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ ถ้าภิกษุมาใหม่มากกว่าภิกษุที่ประชุมกันอยู่ ต้องสวดตั้งต้นใหม่  ถ้าเท่ากันหรือน้อยกว่า ส่วนที่สวดไปแล้วก็แล้วกันไป ให้ภิกษุที่มาใหม่ฟังส่วนที่ยังเหลืออยู่ต่อไป ถ้ามาเมื่อสวดจบแล้ว แม้มากกว่า ก็ไม่ต้องสวดซ้ำอีก ให้ภิกษุที่มาใหม่บอกปาริสุทธิในสำนักภิกษุ     ผู้สวดผู้ฟังปาฏิโมกข์แล้ว

๖.

๖.๑

ความรู้อะไรบ้างที่จัดเป็นดิรัจฉานวิชา ?


๖.๒

ภิกษุประพฤติเช่นไรเรียกว่าทำศรัทธาไทยให้ตกไป ?

๖.

๖.๑

ความรู้ที่จัดเป็นดิรัจฉานวิชา คือ



     ๑) ความรู้ในทางทำเสน่ห์

     ๒) ความรู้ในทางทำให้ผู้นั้นผู้นี้ถึงความวิบัติ

     ๓) ความรู้ในทางใช้ภูตผีอวดฤทธิ์เดชต่าง ๆ

     ๔) ความรู้ในทางทำนายทายทัก

     ๕) ความรู้อันทำให้หลงงมงาย เช่น หุงปรอท


๖.๒

ภิกษุรับของที่เขาถวาย เพื่อเกื้อกูลแก่พระศาสนาแล้ว ไม่บริโภค แต่ กลับนำไปให้แก่คฤหัสถ์เสีย ทำให้ผู้บริจาคเสื่อมศรัทธา เช่นนี้เรียกว่า ทำศรัทธาไทยให้ตกไป (ยกเว้น อนามัฏฐบิณฑบาต ทรงอนุญาตพิเศษ ให้แก่มารดาบิดาได้)

๗.

๗.๑

อเนสนาได้แก่อะไร ?  มีอะไรบ้าง ?


๗.๒

การทำวิญญัติคือการทำอย่างไร ?  จัดเข้าในอุปปถกิริยาประเภทไหน ?

๗.

๗.๑

อเนสนาได้แก่ กิริยาแสวงหาเลี้ยงชีพในทางไม่สมควร แสดงโดยเค้ามี ๒ อย่างคือ



     ๑) การแสวงหาเป็นโลกวัชชะ มีโทษทางโลก

     ๒) การแสวงหาเป็นปัณณัตติวัชชะ มีโทษทางพระบัญญัติ


๗.๒

การทำวิญญัติ คือ การออกปากขอของต่อบุคคลที่ไม่ควรขอ หรือในเวลาที่ไม่ควรขอ  เช่น ขอต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา ขอในยามปกติที่มิได้ทรงอนุญาต เป็นต้น จัดเข้าในอุปปถกิริยาประเภทอเนสนา

๘.

๘.๑

จงให้ความหมายของคำว่า   กาลิก   ยาวกาลิก   ยามกาลิก   สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก


๘.๒

น้ำอ้อยเป็นกาลิกอะไร ?

๘.

๘.๑

กาลิก คือของที่จะพึงกลืนให้ล่วงลำคอลงไป

ยาวกาลิก คือของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว ตั้งแต่เช้าชั่วเที่ยงวัน

ยามกาลิก คือของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว คือ ๑ วัน กับ ๑ คืน

สัตตาหกาลิก คือของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว ๗ วัน

ยาวชีวิก คือของที่ให้บริโภคได้เสมอ ไม่จำกัดกาล


๘.๒

ถ้าเป็นน้ำอ้อยสด จัดเป็นยามกาลิก

ถ้าเป็นน้ำอ้อยเคี่ยวจนแข้นแข็ง จัดเป็นสัตตาหกาลิก

๙.

๙.๑

อุกเขปนียกรรม สงฆ์ควรทำแก่ภิกษุผู้ประพฤติเช่นไร ?


๙.๒

อธิษฐาน (บริขาร) มีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

๙.

๙.๑

ควรทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้วไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ ที่เรียกว่า ไม่เห็นอาบัติ หรือยอมรับว่าเป็นอาบัติแต่ไม่แสดง ที่เรียกว่า ไม่ทำคืนอาบัติ


๙.๒

มี ๒ อย่างคือ



     ๑) อธิษฐานด้วยกาย คือเอามือลูบบริขารที่จะอธิษฐานนั้นเข้า

          ทำความผูกใจตามคำอธิษฐาน

     ๒) อธิษฐานด้วยวาจา คือลั่นคำอธิษฐานนั้น ไม่ถูกของด้วยกายก็ได้

๑๐.

๑๐.๑

สมบัติของภิกษุในทางพระวินัยมีเท่าไร ?  อะไรบ้าง ?


๑๐.๒

ภิกษุประพฤติเช่นไร ได้ชื่อว่า โคจรวิบัติ ?

๑๐.

๑๐.๑

มี ๔ คือ

     ๑) สีลสมบัติ    

     ๒) อาจารสมบัติ    

     ๓) ทิฏฐิสมบัติ    

     ๔) อาชีวสมบัติ


๑๐.๒

ภิกษุไปสู่บุคคลก็ดี สถานที่ก็ดี อันภิกษุไม่ควรไป คือ  หญิงแพศยา ๑     หญิงหม้าย ๑   สาวเทื้อ ๑   ภิกษุณี ๑  บัณเฑาะก์ ๑ ร้านสุรา ๑ ได้ชื่อว่า โคจรวิบัติ


วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2545

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2545


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่  ๒๔  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

 ๑.    ๑.๑ อภิสมาจารคืออะไร ?  แบ่งเป็นกี่ประเภท ?  อะไรบ้าง ?

        ๑.๒ ขันธ์แห่งจีวรประกอบด้วยอะไรบ้าง ?  ทรงมีพระพุทธานุญาตไว้อย่างไร ?

 ๑.    ๑.๑ คือธรรมเนียมของภิกษุ แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ

             เป็นข้อห้าม ๑ เป็นข้ออนุญาต ๑ ฯ

        ๑.๒ ประกอบด้วยมณฑล อัฑฒมณฑล และอัฑฒกุสิ ฯ ทรงมีพระพุทธานุญาตไว้

             ว่า จีวรผืนหนึ่งให้มีขันธ์ไม่น้อยกว่า ๕ เกินกว่านั้นใช้ได้ แต่ให้เป็นขันธ์ที่เป็นคี่

             คือ  ๗, ๙, ๑๑ เป็นต้น ฯ

 ๒.    ๒.๑ ในบาลีแสดงเหตุนิสัยจะระงับจากอุปัชฌาย์ไว้เท่าไร ?  อะไรบ้าง ?

        ๒.๒ ภิกษุผู้ควรจะได้นิสัยมุตตกะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?

 ๒.    ๒.๑ แสดงไว้ ๕ ประการคือ อุปัชฌาย์หลีกไปเสีย ๑  สึกเสีย ๑  ตายเสีย ๑

             ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ๑   สั่งบังคับ ๑ ฯ

        ๒.๒ มีคุณสมบัติ คือ

                   ๑) เป็นผู้มีศรัทธา  มีหิริ  มีโอตตัปปะ  มีวิริยะ  มีสติ

                   ๒) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อาจาระ ความเห็นชอบ เคยได้ยินได้ฟังมาก

                       มีปัญญา

                   ๓) รู้จักอาบัติ มิใช่อาบัติ อาบัติเบา อาบัติหนัก จำปาฏิโมกข์ได้แม่นยำ

             ทั้งมีพรรษาได้ ๕ หรือยิ่งกว่า ฯ

 ๓.    ๓.๑ อุปัชฌาย์ประณามสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติมิชอบด้วยเหตุอะไรบ้าง ?

        ๓.๒ อาการที่อุปัชฌาย์ประณามสัทธิวิหาริกพึงทำอย่างไร ?

 ๓.    ๓.๑ ด้วยเหตุดังนี้ คือ

             หาความรักใคร่ในอุปัชฌาย์มิได้ ๑ หาความเลื่อมใสมิได้ ๑ หาความละอาย

             มิได้ ๑  หาความเคารพมิได้ ๑ หาความหวังดีต่อมิได้ ๑ ฯ

        ๓.๒ พึงพูดให้รู้ว่าตนไล่เธอเสีย ในบาลีแสดงไว้ว่า เราประณามเธอ เธออย่าเข้ามา

             ณ ที่นี้ จงขนบาตรจีวรของเธอออกไปเสีย หรือเธอไม่ต้องอุปัฏฐากเราดังนี้

             หรือแสดงอาการทางกายให้รู้อย่างนั้นก็ได้ ฯ

 ๔.    ๔.๑ ภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ  ไปสู่อาวาสอื่น พึงประพฤติให้ถูกธรรมเนียมอย่างไร ?

        ๔.๒  ภิกษุผู้เข้าไปรับบิณฑบาตในละแวกบ้าน พึงประพฤติให้ถูกธรรมเนียมอย่างไร ?

 ๔.    ๔.๑ พึงประพฤติดังนี้

                   ๑) ทำความเคารพในท่าน

                   ๒) แสดงความเกรงใจเจ้าของถิ่น

                   ๓) แสดงอาการสุภาพ

                   ๔) แสดงอาการสนิทสนมกับเจ้าของถิ่น

                   ๕) ถ้าจะอยู่ที่นั่น ควรประพฤติให้ถูกธรรมเนียมของเจ้าของถิ่น

                   ๖) ถือเสนาสนะแล้วอย่าดูดาย เอาใจใส่ชำระปัดกวาดให้หมดจด จัดตั้ง

                       เครื่องเสนาสนะให้เป็นระเบียบ ฯ

        ๔.๒ พึงประพฤติอย่างนี้

                   ๑) นุ่งห่มให้เรียบร้อย                                           

                   ๒) ถือบาตรในภายในจีวร

                   ๓) สำรวมกิริยาให้เรียบร้อย                             

                   ๔) กำหนดทางเข้าทางออกแห่งบ้าน

                   ๕) รับบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม ฯ

 ๕.    ๕.๑ ภิกษุผู้เข้าไปในเจติยสถาน ควรปฏิบัติอย่างไร ?

        ๕.๒ ภิกษุได้ชื่อว่า "กุลปสาทโก ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส" เพราะมีปฏิปทาอย่างไร ?

 ๕.    ๕.๑ ควรปฏิบัติอย่างนี้ คือไม่กั้นร่ม ไม่สวมรองเท้า ไม่ห่มคลุมเข้าไป ไม่แสดง

             อาการดูหมิ่นต่างๆ เช่นพูดเสียงดัง และนั่งเหยียดเท้าเป็นต้น ไม่ถ่ายอุจจาระ

             ปัสสาวะ และไม่ถ่มเขฬะในลานพระเจดีย์ ฯ

        ๕.๒ เพราะมีปฏิปทาอย่างนี้ คือเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระ ไม่ทอดตนเป็นคนสนิท

             ของสกุล โดยฐานเป็นคนเลว และอีกอย่างหนึ่ง ไม่รุกรานตัดรอนเขา แสดง

             เมตตาจิตต่อเขา ประพฤติพอดีพองาม ยังความเลื่อมใสนับถือของเขาให้เกิด

             ในตน ฯ

 ๖.    ๖.๑ ดิถีที่กำหนดให้เข้าจำพรรษาในบาลีกล่าวไว้เท่าไร ?  อะไรบ้าง ?

        ๖.๒ สัตตาหกรณียะ และ สัตตาหกาลิก มีอธิบายอย่างไร ?

 ๖.    ๖.๑ กล่าวไว้ ๒ คือ

             ๑) ปุริมิกา วัสสูปนายิกา วันเข้าพรรษาต้น คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘

             ๒) ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา  วันเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ฯ

        ๖.๒ สัตตาหกรณียะ คือภิกษุผู้อยู่จำพรรษาไปแรมคืนที่อื่นด้วยกิจจำเป็นบางอย่าง

             แต่กลับมาภายใน ๗ วัน เรียกว่าไปด้วยสัตตาหกรณียะ หรือสัตตาหะ ฯ

             สัตตาหกาลิก คือของที่รับประเคนแล้วเก็บไว้บริโภคได้ ๗ วัน ฯ

 ๗.    ๗.๑ ผู้ทำและอาการที่ทำ  ในการทำอุโบสถ มีอะไรบ้าง ?

        ๗.๒ การทำอุโบสถต้องพร้อมด้วยองค์อย่างไรบ้าง ?

 ๗.    ๗.๑ ผู้ทำมี ๓  คือสงฆ์ คณะ และบุคคล ฯ อาการที่ทำมี ๓ คือสวดปาฏิโมกข์

             บอกความบริสุทธิ์ และอธิษฐาน ฯ

        ๗.๒ พร้อมด้วยองค์ ๔ คือ

                   ๑) วันนั้นเป็นวันอุโบสถที่ ๑๔ หรือ ๑๕ หรือวันสามัคคี วันใดวันหนึ่ง

                   ๒) ภิกษุผู้เข้าประชุมครบองค์ประชุม คือตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป

                   ๓) พวกเธอไม่ต้องสภาคาบัติ

                   ๔) บุคคลที่จำต้องเว้น ไม่มีในที่ประชุมนั้น ฯ

 ๘.    ๘.๑ วันปวารณา และอาการที่กระทำ คืออะไรบ้าง ?

        ๘.๒ การตั้งญัตติในสังฆปวารณามีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

 ๘.    ๘.๑ วันปวารณามี ๓  คือ จาตุททสี ที่ ๑๔ ค่ำ ๑  ปัณณรสี ที่ ๑๕ ค่ำ ๑ สามัคคี

             วันที่ภิกษุสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ๑ ฯ อาการที่กระทำมี ๓ คือปวารณาต่อ

             ที่ประชุม ๑ ปวารณากันเอง ๑ อธิษฐานใจ ๑ ฯ

        ๘.๒ มี ๕ อย่าง คือ เตวาจิกาญัตติ ๑   เทววาจิกาญัตติ ๑   เอกวาจิกาญัตติ ๑  

             สมานวัสสิกาญัตติ ๑   สัพพสังคาหิกาญัตติ ๑ ฯ

 ๙.    ๙.๑ ภิกษุไม่สังวรในอุปปถกิริยา จะพึงได้รับโทษอย่างไรบ้าง ?

        ๙.๒  การแสวงหาเช่นไรจัดเป็นโลกวัชชะ มีโทษทางโลก ? เช่นไรจัดเป็นปัณณัตติวัชชะ

             มีโทษทางพระบัญญัติ ?

 ๙.    ๙.๑  ปรับเป็นอาบัติทุกกฏ  และเป็นฐานที่สงฆ์จะพึงลงโทษ ๔ สถาน อย่างใดอย่างหนึ่ง

             ตามโทษานุโทษ คือ

                   ๑) ตัชชนียกรรม      ตำหนิโทษ

                   ๒) นิยสกรรม         ถอดยศ คือถอดความเป็นผู้ใหญ่

                   ๓) ปัพพาชนียกรรม  ขับไล่จากวัด

                   ๔) ปฏิสารณียกรรม   ให้หวนระลึกถึงความผิด ฯ

        ๙.๒ การแสวงหาในทางบาป เช่นทำโจรกรรมและหลอกลวงให้เขาเชื่อถือ และใน

             ทางที่โลกเขาดูหมิ่น จัดเป็นโลกวัชชะ ฯ การแสวงหาในทางผิดธรรมเนียมของ

             ภิกษุ แม้ไม่มีโทษแก่คนพวกอื่น จัดเป็นปัณณัตติวัชชะ ฯ

๑๐. ๑๐.๑ ในบาลีแสดงลักษณะการถือวิสาสะไว้อย่างไรบ้าง ?

      ๑๐.๒ เหตุที่ควรถือเป็นประมาณ ๕ ประการให้บริขารขาดอธิษฐาน มีอะไรบ้าง ?



๑๐. ๑๐.๑ แสดงไว้อย่างนี้ คือ

                   ๑) เป็นผู้เคยได้เห็นกันมา         

                   ๒) เป็นผู้เคยคบกันมา

                   ๓) ได้พูดกันไว้                    

                   ๔) ยังมีชีวิตอยู่

                   ๕) รู้ว่าของนั้น เราถือเอาแล้ว เจ้าของจักพอใจ ฯ

      ๑๐.๒ มีดังนี้ คือ

                   ๑) ให้แก่ผู้อื่น                      

                   ๒) ถูกโจรชิงเอาไปหรือลักเอาไป

                   ๓) มิตรถือเอาด้วยวิสาสะ         

                   ๔) ถอนเสียจากอธิษฐาน

                   ๕) เป็นช่องทะลุ ฯ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2546

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2546


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๖


๑.

๑.๑

สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์  เรียกว่าอะไร ?  มีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?


๑.๒

ภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์นั้น  ต้องอาบัติโดยตรงอย่างไรบ้าง ?

๑.

๑.๑

เรียกว่าอภิสมาจาร ฯ

มี  ๒  อย่าง  คือ  เป็นข้อห้าม ๑  เป็นข้ออนุญาต ๑ ฯ


๑.๒

ต้องอาบัติโดยตรง  ๒  อย่าง  คือ  ถุลลัจจัย ๑  ทุกกฏ ๑ ฯ

๒.

บริขารต่อไปนี้ได้แก่อะไรบ้าง ?


๒.๑

บริขารเครื่องบริโภค


๒.๒

บริขารเครื่องอุปโภค

๒.

๒.๑

ได้แก่  ไตรจีวร  ผ้าปูนอน  ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก  ผ้านิสีทนะ  บาตร ฯ


๒.๒

ได้แก่  กล่องเข็ม  เครื่องกรองน้ำ  มีดโกนพร้อมทั้งฝัก  หินสำหรับลับ  กับเครื่องสะบัด   ร่ม รองเท้า ฯ

๓.

๓.๑

การแสดงความเคารพได้แก่กิริยาเช่นไร ?


๓.๒

ภิกษุควรงดทำความเคารพกันในเวลาใดบ้าง ?  จงตอบมา  ๕  ข้อ

๓.

๓.๑

ได้แก่  การกราบไหว้  การลุกรับ  การทำอัญชลี  การทำสามีจิกรรม ฯ


๓.๒

ในเวลาดังต่อไปนี้ (ตอบมา  ๕  ข้อ)

      ๑) ในเวลาประพฤติวุฏฐานวิธี คือ อยู่กรรมเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส

      ๒) ในเวลาถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม

      ๓) ในเวลาเปลือยกาย

      ๔) ในเวลาเข้าบ้านหรือเดินอยู่ตามทาง

      ๕) ในเวลาอยู่ในที่มืดแลไม่เห็นกัน

      ๖) ในเวลาที่ท่านไม่รู้

      ๗) ในเวลาขบฉันอาหาร

      ๘) ในเวลาถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ฯ

๔.

๔.๑

ท่านห้ามไม่ให้จำพรรษาตลอด  ๔  เดือนฤดูฝนนั้น  เพราะเหตุไร ?


๔.๒

อีก ๗  วันจะถึงวันปวารณา  ภิกษุทำสัตตาหกรณียะไปปวารณาที่วัดอื่น  เธอจะได้รับอานิสงส์การจำพรรษาหรือไม่ ?  เพราะเหตุไร ?

๔.

๔.๑

เพราะต้องการเดือนท้ายฤดูฝนไว้เป็นจีวรกาล คราวแสวงหาจีวร คราวทำจีวร เพื่อผลัด ผ้าไตรจีวรเดิม ฯ


๔.๒

ได้รับอานิสงส์การจำพรรษาเหมือนกัน  เพราะวันสุดท้ายแห่งวันจำพรรษาตกอยู่ในวันที่  ๗  ในที่อื่นบ่งให้กลับใน  ๗  วันนั้นเพราะยังไม่สิ้นกำหนดวันจำพรรษา ฯ

๕.

๕.๑

ภิกษุพึงประชุมกันสวดพระปาฏิโมกข์ในวันเช่นไรบ้าง ?


๕.๒

กำลังสวดพระปาฏิโมกข์ค้างอยู่  หากมีภิกษุอื่นมาถึงเข้าจะปฏิบัติอย่างไร ?

๕.

๕.๑

ในวันพระจันทร์เพ็ญ  (ดิถีขึ้น ๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ (ดิถีแรม ๑๕  ค่ำ หรือ ๑๔  ค่ำ)  และวันสามัคคี ฯ


๕.๒

ปฏิบัติอย่างนี้  คือ  ถ้าภิกษุผู้เข้ามาใหม่มากกว่าภิกษุผู้ชุมนุม   ต้องสวดตั้งต้นใหม่  ถ้าเท่ากัน  หรือน้อยกว่า  ส่วนที่สวดไปแล้วก็ให้เป็นอันสวดแล้ว  ให้เธอผู้มาใหม่ฟัง  ส่วนที่ยังเหลือต่อไป ฯ

๖.

๖.๑

สังฆปวารณา  คืออะไร ?


๖.๒

คำบอกปาริสุทธิว่าอย่างไร ?


๖.

๖.๑

คือ  ปวารณาเป็นการสงฆ์ มีภิกษุประชุมตั้งแต่  ๕  รูปขึ้นไป ฯ


๖.๒

ว่าดังนี้

      สำหรับผู้แก่พรรษากว่าว่า  “ปริสุทฺโธ  อหํ  อาวุโส  ปริสุทฺโธติ 

มํ  ธาเรหิ”  ว่า  ๓  หน

      สำหรับผู้อ่อนพรรษากว่าว่า  “ปริสุทฺโธ  อหํ  ภนฺเต  ปริสุทฺโธติ 

มํ  ธาเรถ”  ว่า  ๓  หน ฯ

๗.

ความประพฤติต่อไปนี้  จัดเข้าในอุปปถกิริยาข้อไหน ?


๗.๑

ชอบเล่นคะนอง  ร้องรำทำเพลง


๗.๒

ชอบด่าว่า  เสียดสี  เปรียบเปรยเขา  ยุยงให้เขาแตกกัน

๗.

๗.๑

จัดเข้าในข้ออนาจาร  ความประพฤติไม่ดีไม่งาม ฯ


๗.๒

จัดเข้าในข้อปาปสมาจาร  ความประพฤติเลวทราม ฯ

๘.

๘.๑

อุททิสมังสะ  ได้แก่เนื้อเช่นไร ?


๘.๒

ภิกษุฉันเนื้องู  เนื้อมนุษย์  ต้องอาบัติอะไร ?

๘.

๘.๑

อุททิสมังสะ  ได้แก่เนื้อที่เป็นกัปปิยะโดยกำเนิดและเขาทำให้สุกแล้ว  แต่เป็นของที่เขาฆ่าเพื่อทำเป็นอาหารถวายพระภิกษุโดยตรง ฯ


๘.๒

ภิกษุฉันเนื้องู  ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ  ฉันเนื้อมนุษย์  ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯ

๙.

๙.๑

วินัยกรรม  คืออะไร ?  มีกี่อย่าง  อะไรบ้าง ?


๙.๒

การทำวินัยกรรมมีจำกัดบุคคลหรือสถานที่ไว้อย่างไรบ้าง ?

๙.

๙.๑

คือ  การทำกิจตามพระวินัย ฯ

มี  ๓  อย่าง  คือ

          ๑)  การแสดงอาบัติ

          ๒)  การอธิษฐาน

          ๓)  การวิกัป ฯ

 

๙.๒

มีจำกัดบุคคลหรือสถานที่ดังนี้

          ๑) แสดงอาบัติต้องแสดงแก่ภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน

          ๒) อธิษฐานต้องทำเอง

          ๓) วิกัปต้องทำแก่สหธรรมิกทั้ง ๕  คือ ภิกษุ ภิกษุณี  สิกขมานา

                   สามเณร สามเณรี รูปใดรูปหนึ่ง ฯ  ส่วนสถานที่ห้ามไม่ให้ทำ

                   ในที่มืด แต่ในที่นอกสีมา ก็ทำได้ ฯ         

๑๐.

๑๐.๑

วิบัติของภิกษุในทางพระวินัยมีเท่าไร ?  อะไรบ้าง ?

 

๑๐.๒

จงให้ความหมายของวิบัติแต่ละอย่างนั้นพอได้ใจความ

๑๐.

๑๐.๑

มี  ๔  คือ

          ๑) สีลวิบัติ

          ๒) อาจารวิบัติ

          ๓) ทิฏฐิวิบัติ

          ๔) อาชีววิบัติ ฯ

 

๑๐.๒

ความเสียแห่งศีล  ชื่อว่าสีลวิบัติ  

ความเสียมารยาท  ชื่อว่าอาจารวิบัติ 

ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย  ชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ 

ความเสียแห่งการเลี้ยงชีพ  ชื่อว่าอาชีววิบัติ ฯ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2547

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2547


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๗


   ๑.  ในพระวินัยส่วนอภิสมาจาร มีพระพุทธบัญญัติให้รักษาความสะอาดเกี่ยวกับร่างกาย

        ไว้อย่างไร ?   การเคี้ยวไม้ชำระฟันมีประโยชน์อย่างไร ?

   ๑.  มีพระพุทธบัญญัติว่าด้วยกายบริหารไว้ว่า ห้ามไว้ผมยาว ๑  ห้ามไว้หนวดเครา ๑ 

        ห้ามไว้เล็บยาว ๑  ห้ามไว้ขนจมูกยาว ๑  เมื่อถ่ายอุจจาระแล้ว น้ำมีอยู่ไม่ชำระไม่ได้ ๑  

        อนุญาตให้ใช้ไม้ชำระฟัน ๑  น้ำดื่มให้กรองก่อน ๑ ฯ

        มีประโยชน์ คือ

               ๑. ฟันไม่สกปรก             

               ๒. ปากไม่เหม็น              

               ๓. เส้นประสาทรับรสหมดจดดี

               ๔. เสมหะไม่หุ้มอาหาร       

               ๕. ฉันอาหารมีรส ฯ

   ๒.  บริขารเหล่านี้คือ ไตรจีวร ฟูกเตียง (ที่นอน) หมอนหนุนศีรษะ เตียง ผ้าปูนอน

        ผ้าเช็ดหน้า ฟูกตั่ง (เบาะ)  ผ้านิสีทนะ  อย่างไหนจัดเป็นบริขารเครื่องบริโภค อย่างไหน

        จัดเป็นบริขารเครื่องเสนาสนะ ?

   ๒.  ไตรจีวร ผ้าปูนอน ผ้าเช็ดหน้า ผ้านิสีทนะ  จัดเป็นบริขารเครื่องบริโภค

        ฟูกเตียง (ที่นอน) หมอนหนุนศีรษะ เตียง ฟูกตั่ง (เบาะ) จัดเป็นบริขารเครื่อง

        เสนาสนะ ฯ

   ๓.  ในพระวินัย ทรงอนุญาตบาตรไว้กี่ชนิด ?  อะไรบ้าง ?  และมีธรรมเนียมระวังรักษา

        บาตรอย่างกวดขันไว้อย่างไร ?

   ๓.  ทรงอนุญาตไว้ ๒ ชนิด คือ บาตรดินเผา (สุมดำสนิท) ๑  บาตรเหล็ก ๑  ฯ

        มีธรรมเนียมระวังรักษาบาตรอย่างกวดขัน คือ ห้ามไม่ให้วางบาตร เก็บบาตรไว้ในที่ๆ

        บาตรจะตกแตก และในที่จะประทุษร้ายบาตร  ห้ามคว่ำบาตรไว้ที่พื้นคมแข็งอันจะ

        ประทุษร้ายบาตร  ห้ามไม่ให้แขวนบาตร  และห้ามไม่ให้ใช้บาตรต่างกระโถน ห้ามไม่

        ให้เก็บไว้ทั้งยังเปียก  มีบาตรอยู่ในมือห้ามไม่ให้ผลักบานประตู เป็นต้น ฯ

   ๔.  จงให้ความหมายของคำดังต่อไปนี้

               ก. นิสสัย                     

               ข. วัตร

               ค. อุปัชฌายะ

               ง.  อาจารย์

               จ. สัทธิวิหาริกวัตร

   ๔.          ก. นิสสัย คือ กิริยาที่พึ่งพิง

               ข. วัตร หมายถึง ขนบคือแบบอย่าง อันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ

                   ในที่นั้นๆ ในกิจนั้น  แก่บุคคลนั้นๆ

               ค. อุปัชฌายะ คือ ภิกษุผู้รับให้สัทธิวิหาริกพึ่งพิง

               ง.  อาจารย์ คือ ภิกษุผู้รับให้อันเตวาสิกพึ่งพิง

               จ. สัทธิวิหาริกวัตร คือ หน้าที่อันอุปัชฌายะจะพึงทำแก่สัทธิวิหาริก ฯ

   ๕.  กิจวัตรที่สัทธิวิหาริกควรกระทำแก่พระอุปัชฌายะในข้อว่า เคารพในท่าน นั้น ในบาลี

        ท่านแสดงไว้อย่างไร ?

   ๕.  ในบาลีแสดงการเดินตามท่าน ไม่ให้ชิดนัก ไม่ให้ห่างนัก และไม่พูดสอดในขณะที่

        ท่านกำลังพูด เมื่อท่านพูดผิด ไม่ทักหรือค้านอย่างจังๆ พูดอ้อมพอท่านได้สติรู้สึกตัว

        จึงจะเป็นการดี ฯ

   ๖.  การตั้งญัตติกรรม ในเวลาทำอุโบสถ มีคำว่า ปตฺตกลฺลํ แปลว่า ความพรั่งพร้อม นั้น

        หมายความว่าอย่างไร ?

   ๖.  หมายความว่า การทำอุโบสถกรรมนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

               ๑. วันนั้น เป็นวันอุโบสถที่ ๑๔ หรือ ๑๕ หรือวันสามัคคี วันใดวันหนึ่ง

               ๒. ภิกษุประชุมครบองค์ประชุม

               ๓. พวกเธอไม่ต้องสภาคาบัติ

               ๔. บุคคลที่ควรเว้นไม่มีในที่ประชุม ฯ

   ๗.  ในอาวาสแห่งหนึ่งมีภิกษุจำพรรษาแรก ๔ รูป พรรษาหลัง ๒ รูป เมื่อถึงวันปวารณา

        แรก (เพ็ญเดือน ๑๑) และวันปวารณาหลัง (เพ็ญเดือน ๑๒) เธอทั้ง ๖ รูปนั้น

        จะปฏิบัติอย่างไร ?

   ๗.  เมื่อถึงวันปวารณาแรก พึงประชุมกันทั้ง ๖ รูปแล้ว ตั้งสังฆญัตติ ภิกษุผู้จำพรรษาแรก

        ๔ รูปพึงปวารณา  เมื่อเสร็จแล้วภิกษุอีก ๒ รูปพึงทำปาริสุทธิอุโบสถ ในสำนักภิกษุ

        ๔ รูปนั้น เมื่อถึงวันปวารณาหลัง พึงประชุมกัน ๖ รูปเช่นเดียวกันแล้ว ภิกษุผู้จำ

        พรรษาแรก ๔ รูป พึงตั้งญัตติสวดปาฏิโมกข์  เมื่อจบแล้วภิกษุ ๒ รูป พึงปวารณา

        ในสำนักภิกษุ ๔ รูปนั้น ฯ

   ๘.  ภิกษุบิณฑบาตได้สับปะรดแล้ว นำมาฉันรวมกับน้ำตาลทรายและเกลือซึ่งรับประเคน

        ไว้แล้ว ๒ วัน  จะต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?  เพราะเหตุไร ?

   ๘.  ต้องอาบัติปาจิตตีย์  เพราะน้ำตาลทรายเป็นสัตตาหกาลิก เกลือเป็นยาวชีวิก  เมื่อ

        นำมาฉันรวมกับสับปะรดซึ่งเป็นยาวกาลิก จึงมีคติเป็นยาวกาลิก ทำให้ต้องอาบัติ

        ปาจิตตีย์ เพราะฉันของเป็นสันนิธิ ฯ

   ๙.  ภัณฑะเช่นไรที่จัดเป็นของสงฆ์ ?  กำหนดไว้กี่ประเภท ?  อะไรบ้าง ?  บิณฑบาต กุฎี

        ที่ดิน จีวร ประคดเอว และเสนาสนะ เป็นภัณฑะประเภทไหน ?

   ๙.  ภัณฑะที่เขาถวายเป็นสาธารณะแก่หมู่ภิกษุ ไม่เฉพาะตัว หรือภัณฑะอันภิกษุรับก็ดี                    ปกครองหวงห้ามไว้ก็ดีด้วยความเป็นสาธารณะแก่หมู่ภิกษุ จัดเป็นของสงฆ์ ฯ

        กำหนดไว้ ๒ ประเภทคือ ครุภัณฑ์ ๑  ลหุภัณฑ์ ๑ ฯ

        บิณฑบาต จีวร ประคดเอว จัดเป็นลหุภัณฑ์

        กุฎี ที่ดิน และเสนาสนะ จัดเป็นครุภัณฑ์ ฯ

๑๐.  มหาปเทส คืออะไร ?  น้ำตาลสด มิได้ทรงอนุญาตไว้โดยตรงให้ภิกษุฉันได้เหมือน

        น้ำอ้อย แต่ฉันได้เพราะอะไร ?  จงตอบให้มีหลัก

๑๐.  คือ ข้อสำหรับอ้างใหญ่ ฯ

        แม้มิได้ทรงอนุญาตโดยตรงให้ภิกษุฉันได้ก็จริง  แต่เพราะน้ำตาลสดเป็นของมี

        รสหวาน สำเร็จประโยชน์เช่นเดียวกันกับรสหวานแห่งอ้อย ชื่อว่าเป็นของเข้ากันกับ

        รสหวานแห่งอ้อย ดังมีระบุไว้ในมหาปเทศ ๔  ข้อว่า สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร

        แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ ขัดกันต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ สิ่งนั้นควร ฯ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2549

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2549


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙


   ๑.  อภิสมาจาร คืออะไร ?  ภิกษุล่วงละเมิดจะเกิดความเสียหายอย่างไร ?

   ๑. คือ ธรรมเนียมของภิกษุ ฯ

        ถ้าล่วงละเมิดแต่บางอย่างหรือบางครั้งก็เสียหายน้อย แต่ถ้าล่วงละเมิด

        มากอย่างหรือเป็นนิตย์ ธรรมเนียมย่อมกลายไปหรือเสื่อมไป ภิกษุ

        จะแตกเป็น ๒ พวก คือเคร่งและไม่เคร่ง ฯ

  ๒.  ภิกษุพึงปฏิบัติเกี่ยวกับเล็บมือเล็บเท้าของตนอย่างไร จึงจะถูกต้องตาม

        วินัยแผนกอภิสมาจาร ?

  ๒.  พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ ไม่พึงไว้เล็บยาว พึงตัดพอเสมอเนื้อ ไม่พึงขัดเล็บ

        ให้เกลี้ยงเกลาด้วยมุ่งหมายให้เกิดความสวยงาม  แต่เล็บเปื้อน จะขัด

        มลทินหรือแคะมูลเล็บได้อยู่ นี้เป็นกิจควรทำ ฯ

  ๓.  ภิกษุพึงใช้บริขารบริโภคและเครื่องอุปโภคอย่างไร จึงจะดูน่าเลื่อมใส

       ของประชาชน ?

  ๓.  การใช้บริขารบริโภคและเครื่องอุปโภคนั้น ภิกษุควรรู้ต้นเค้าคือนิสัย ๔

        ว่า ภิกษุย่อมนิยมใช้สอยบริขารที่เป็นของปอนหรือของเรียบๆ ไม่ใช้

        ของดีที่กำลังตื่นกันในสมัยอันจะพึงเรียกว่าโอ่โถง ความประพฤติปอน

        ของภิกษุนี้ย่อมทำให้เกิดความเลื่อมใสแก่คนบางพวกที่เรียกว่า ลูขประมาณ

        แปลว่า มีของปอนเป็นประมาณ คือมีของปอนเป็นเหตุนับถือ ฯ

   ๔.  ผ้าสังฆาฏิ  คือผ้าอะไร ?  มีหลักฐานความเป็นมาอย่างไร ?

   ๔.  คือ ผ้าสำหรับห่มกันหนาวหรือห่มซ้อนนอก ทรงอนุญาตเพื่อใช้ในฤดู

        หนาว ฯ

        มีเรื่องเล่าว่า ในฤดูหนาวจัด ทรงทดลองห่มจีวรผืนเดียวอยู่ในที่แจ้ง

        สามารถกันความหนาวได้ยามหนึ่ง ถ้าอยู่ตลอดราตรี ต้องผ้า ๓ ชั้นจึง

        พอกันความหนาวได้ จึงทรงอนุญาตสังฆาฏิ ๒ ชั้นเข้ากับอุตตราสงค์

        ชั้นเดียว จะได้เป็น ๓ ชั้น พอกันความหนาวดังกล่าวได้ ฯ

   ๕.  พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก พึงปฏิบัติต่อกันอย่างไร จึงจะเกิดความ

        เจริญงอกงามในพระธรรมวินัย ?

   ๕.  พึงปฏิบัติตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสสั่งไว้ว่า ให้พระอุปัชฌาย์และ

        สัทธิวิหาริกตั้งจิตสนิทสนมในกันและกัน ให้พระอุปัชฌาย์สำคัญ

        สัทธิวิหาริกฉันบุตร ให้สัทธิวิหาริกนับถือพระอุปัชฌาย์ฉันบิดา เมื่อเป็น

        เช่นนี้ ต่างจะมีความเคารพเชื่อฟังถูกกันอยู่ ย่อมจะถึงความเจริญ

        งอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัย ฯ

   ๖.  เมื่อภิกษุเพื่อนสหธรรมิกอาพาธ  ทรงให้ใครเป็นผู้พยาบาล ?  และทรง

        สั่งสอนปรารภภิกษุอาพาธไว้ว่าอย่างไร ?

   ๖. ทรงให้ภิกษุเพื่อนสหธรรมิกเอาใจใส่รักษาพยาบาลกัน อย่าทอดธุระเสีย ฯ

        ทรงสั่งสอนปรารภภิกษุอาพาธไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย มารดาและบิดา

        ของเธอทั้งหลายไม่มี ถ้าพวกเธอจะไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจะ

        พยาบาลพวกเธอ ภิกษุใดปรารถนาจะอุปัฏฐากเรา ขอให้ภิกษุนั้น

        พยาบาลภิกษุไข้เถิด ฯ

  ๗.  วิธิวัตร คืออะไร ?  มีความสำคัญอย่างไร ?

  ๗.  คือ วินัยที่ว่าด้วยแบบอย่าง เช่นแบบอย่างการห่มผ้าเป็นต้น ฯ

        แบบอย่างนั้นเป็นเหตุให้ภิกษุมีความประพฤติสม่ำเสมอกัน เช่นนุ่งห่ม

        เป็นแบบเดียวกันอันโบราณท่านจัดไว้ถ้าเป็นแบบที่ล่วงเวลาและจะ

        ไม่ใช้ก็ต้องมีวิธีใหม่แทน ไม่เช่นนั้นจะค่อยหลุดไปทีละอย่าง จนไม่มี

        อะไรเหลือเมื่อถึงเวลานั้นพระสงฆ์ก็จะไม่มีอะไรที่ต่างจากชาวบ้าน ฯ

  ๘.  การจำพรรษาของภิกษุมีวิธีอย่างไร ?  จงอธิบายพอเข้าใจ

  ๘.  การจำพรรษานั้น ในบาลีกล่าวเพียงให้ทำอาลัย คือ ผูกใจว่าจะอยู่ในที่นี้

        ๓ เดือน แต่ในบัดนี้มีธรรมเนียมที่ประชุมกันกล่าวคำอธิษฐานพร้อม

        กันว่า อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปม แปลความว่า เราเข้าถึง

        ฤดูฝนในอาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน ฯ

  ๙.  ในการทำอุโบสถของภิกษุ การสวดปาฏิโมกข์ การบอกความบริสุทธิ์

        และการอธิษฐาน  ทรงให้ทำได้ในกรณีใด ?

  ๙.  ในกรณีที่ภิกษุประชุมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ตรัสให้สวดปาฏิโมกข์ ถ้ามี

        เพียง ๓ รูป ๒ รูป เรียกว่าคณะ ตรัสให้บอกความบริสุทธิ์ของตน

        แก่กันและกัน ถ้ามีรูปเดียวเรียกว่าบุคคล ให้อธิษฐานใจ คือคิดว่าวันนี้

        เป็นวันอุโบสถของเรา ฯ

๑๐.  คำว่า อธิษฐานในวินัยกรรม คืออะไร ?  ผ้าสังฆาฏิผืนเดิมเก่าขาดใช้ไม่ได้

        จะเปลี่ยนใหม่  พึงปฏิบัติอย่างไร ?


๑๐.  คือ การตั้งบริขารที่ทรงอนุญาตสำหรับภิกษุเอาไว้ใช้สำหรับตัว

        (เช่นการตั้งใจใช้จีวรผืนนั้น ไม่ใช้ผืนอื่น) ฯ

        พึงทำพินทุผ้าสังฆาฏิผืนใหม่ว่า อิมํ พินฺทุกปฺปํ กโรมิ เราทำหมาย

        ด้วยจุดนี้ แล้วปัจจุทธรณ์คือยกเลิกผ้าสังฆาฏิเดิมว่า อิมํ สงฺฆาฏึ

        ปจฺจุทฺธรามิ เรายกเลิกผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ต่อจากนั้นอธิษฐานผ้าสังฆาฏิ

        ผืนใหม่ว่า อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺ?ามิ เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ฯ


*********

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2550

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2550


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท

สอบในสนามหลวง

วันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

๑.     อภิสมาจาร  มีรูปเป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเป็นข้ออนุญาต  อีกอย่างหนึ่งคืออะไร ?   และปรับอาบัติอะไรได้บ้าง ?

๑.     อีกอย่างหนึ่งคือ ข้อห้าม ฯ

        ปรับอาบัติถุลลัจจัยและอาบัติทุกกฏ ฯ

๒.    ภิกษุใช้เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์ปกปิดกายแทนจีวร จะผิดหรือไม่ อย่างไร ?

๒.    อาจจะผิดหรือไม่ผิดแล้วแต่กรณี  ในกรณีที่ไม่มีจีวร  เช่นจีวรถูกไฟไหม้  ถูกโจรชิงไปหมด  นุ่งห่มผ้าของคฤหัสถ์ได้  ห้ามมิให้เปลือยกาย   ถ้าไม่ปกปิด ต้องอาบัติทุกกฏ แต่ถ้าไม่มีเหตุแล้วนุ่งห่มต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

๓.     วิธีใช้วิธีรักษาบาตรที่ถูกต้อง  คืออย่างไร ?

๓.     คือ  ห้ามไม่ให้ใช้บาตรต่างกระโถน  คือทิ้งก้างปลา  กระดูก  เนื้อ  หรืออื่น ๆ  อันเป็นเดนลงในบาตร  ห้ามไม่ให้ล้างมือหรือบ้วนปากลงในบาตร  จะเอามือเปื้อนจับบาตรก็ไม่ควร  ฉันแล้วให้ล้างบาตร  ห้ามไม่ให้เก็บไว้ทั้งยังเปียก  ให้ผึ่งแดดก่อน  ห้ามไม่ให้ผึ่งทั้งยังเปียก  ให้เช็ดจนหมดน้ำก่อนจึงผึ่ง  ห้ามไม่ให้ผึ่งไว้นาน  ให้ผึ่งสักครู่หนึ่ง ฯ


๔.     สัทธิวิหาริก  คือใคร ? อุปัชฌาย์ควรมีใจเอื้อเฟื้อสัทธิวิหาริกของตนอย่างไรบ้าง ?

๔.     คือ  ภิกษุผู้พึ่งพิง   ในการอุปสมบท ภิกษุถือภิกษุรูปใดเป็นอุปัชฌาย์  ก็เป็นสัทธิวิหาริกของภิกษุรูปนั้น ฯ

อุปัชฌาย์ควรมีใจเอื้อเฟื้อสัทธิวิหาริกของตนอย่างนี้ คือ

๑. เอาใจใส่ในการศึกษาของสัทธิวิหาริก  

๒. สงเคราะห์ด้วยบาตร จีวร และบริขารอื่น ๆ 

    ถ้าของตนไม่มีก็ขวนขวายให้

        ๓. ขวนขวายป้องกันหรือระงับความเสื่อมเสียอันจักเกิดมีหรือได้มีแล้ว

          แก่สัทธิวิหาริก

๔. เมื่อสัทธิวิหาริกอาพาธ  ทำการพยาบาล ฯ

๕.     ภิกษุอยู่จำพรรษาแล้ว  มีเหตุให้ไปที่อื่น  คิดว่าจะกลับมาทันภายใน  วันนั้น  มิได้ผูกใจสัตตาหะไว้  แต่มีเหตุขัดข้องให้กลับถึงเมื่ออรุณขึ้นเสียแล้ว เช่นนี้ พรรษาขาดหรือไม่ ?   เพราะเหตุใด ?

๕.     ถ้าไปด้วยธุระที่ทรงอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะ  พรรษาไม่ขาด ฯ

เพราะยังอยู่ในพระพุทธานุญาตนั้นเอง  ทั้งจิตคิดจะกลับก็มีอยู่   ถ้าไปด้วยมิใช่ธุระที่เป็นสัตตาหกรณียะ พรรษาขาด ฯ

๖.     ในการทำอุโบสถสวดปาติโมกข์นั้น  มีบุพพกิจอะไรบ้าง ?  และภิกษุอาจต้องอาบัติถุลลัจจัยด้วยเรื่องอะไรได้บ้าง ?

๖.     มีดังนี้  นำปาริสุทธิของภิกษุผู้อาพาธมา   นำฉันทะของเธอมาด้วย   บอกฤดู   นับภิกษุ   สั่งสอนนางภิกษุณี ฯ

ในเรื่องที่ว่า  รู้อยู่ว่าจะมีภิกษุอื่นมาร่วมทำอุโบสถด้วยอีก  แต่นึกเสียว่า  ช่างเป็นไร  แล้วสวด  ปรับอาบัติถุลลัจจัย ฯ

๗.    ปวารณา  คืออะไร ?  มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุเช่นไรทำปวารณาได้ ?  และทำในวันไหน ?

๗.    คือ  การบอกให้โอกาสแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อปรารถนาตักเตือนว่ากล่าวตนได้ ฯ

มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสทำปวารณาแทนอุโบสถ ฯ

ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑  ซึ่งเป็นวันเต็ม ๓ เดือนแต่วันจำพรรษา ฯ

๘.     ดิรัจฉานวิชาไม่ดีอย่างไร  พระศาสดาจึงตรัสห้ามไว้  ไม่ให้บอกไม่ให้เรียน ?

๘.     เป็นความรู้ที่เขาสงสัยว่าลวงหรือหลง  ไม่ใช่ความรู้จริงจัง   ผู้บอกเป็นผู้ลวง  ผู้เรียนก็เป็นผู้หัดเพื่อจะลวงหรือเป็นผู้หลงงมงาย   ฉะนั้น  พระศาสดาจึงตรัสห้ามไว้ไม่ให้บอก ไม่ให้เรียน ฯ

๙.     ยาวกาลิก กับ  ยาวชีวิก  ต่างกันอย่างไร ?

๙.     ยาวกาลิก  คือ  ของที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร  บริโภคได้ชั่วคราว คือตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน  ได้แก่ โภชนะ ๕  นมสด นมส้ม ของขบเคี้ยว เป็นต้น

ส่วนยาวชีวิก  เป็นของที่ให้ประกอบเป็นยา  บริโภคได้เสมอไป  ไม่มีจำกัดเวลา  แต่เมื่อมีเหตุจึงบริโภคได้  ได้แก่ รากไม้ น้ำฝาด ใบไม้   ผลไม้ ยางไม้ เกลือ เป็นต้น ฯ

๑๐.   อโคจร  คืออะไร ?   มีอะไรบ้าง ?

๑๐.   คือ  บุคคลก็ดี  สถานที่ก็ดี  อันภิกษุไม่ควรไปสู่ ฯ

มีหญิงแพศยา ๑   หญิงหม้าย ๑   สาวเทื้อ ๑   ภิกษุณี ๑   บัณเฑาะก์ ๑   ร้านสุรา ๑ ฯ

***********

วินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2551

 วินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2551


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท

สอบในสนามหลวง

วันจันทร์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑


๑.       อภิสมาจาร คืออะไร ?   ปรับอาบัติได้กี่อย่าง ?   อะไรบ้าง ?

๑.       คือ ธรรมเนียมของภิกษุ ฯ   ปรับอาบัติได้ ๒ อย่าง ฯ  

คือ ถุลลัจจัยและทุกกฏ ฯ

๒.      มีข้อกำหนดในการไว้ผมยาวของพระภิกษุอย่างไร ?  

ในการโกนผม ภิกษุใช้กรรไกรแทนมีดโกนได้หรือไม่ ?

๒.      ไว้ได้เพียง ๒ เดือน หรือ ๒ นิ้ว เป็นอย่างยิ่ง ฯ 

          ไม่ได้  เว้นไว้แต่อาพาธ ฯ

๓.       จีวรผืนหนึ่ง มีกำหนดจำนวนขัณฑ์ไว้อย่างไร ?  

ใน ๑ ขัณฑ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

๓.       กำหนดจำนวนไว้ไม่น้อยกว่า ๕ ขัณฑ์  แต่ให้เป็นขัณฑ์คี่ คือ ๗, ๙, ๑๑ เป็นต้น ฯ   ประกอบด้วยมณฑล อัฑฒมณฑล กุสิ อัฑฒกุสิ ฯ

๔.       นิสัยระงับ กับ นิสัยมุตตกะ มีอธิบายอย่างไร ?

๔.       นิสัยระงับ  หมายถึงการที่ภิกษุผู้ถือนิสัยขาดจากปกครอง

นิสัยมุตตกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้พรรษา ๕ แล้ว และมีคุณสมบัติพอรักษาตนผู้อยู่ตามลำพังได้ ทรงพระอนุญาตให้พ้นจากนิสัย ฯ


๕.       ในคำว่า ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร  วัตรได้แก่อะไร ?   มีอะไรบ้าง ?

๕.       ได้แก่  ขนบ คือแบบอย่าง  อันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ 

ในที่นั้นๆ ในกิจนั้นๆ  แก่บุคคลนั้นๆ  ฯ

มี   ๑. กิจวัตร ว่าด้วยกิจอันควรทำ

     ๒. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ

     ๓. วิธิวัตร ว่าด้วยแบบอย่าง ฯ

๖.       เพื่อแสดงความเคารพในภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า   เมื่ออยู่ในกุฎีเดียวกับท่าน  ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?

๖.       ควรปฏิบัติตนอย่างนี้  คือ จะทำสิ่งใดๆ ควรขออนุญาตท่านก่อน  เช่น จะสอนธรรม จะอธิบายความ จะสาธยาย จะแสดงธรรม จะจุดจะดับไฟ จะเปิดจะปิดหน้าต่าง   ห้ามมิให้ทำตามอำเภอใจ  ฯ

๗.      การทำอุโบสถสวดปาติโมกข์  นอกจากวันพระจันทร์เพ็ญและพระจันทร์ดับแล้ว  ยังทรงอนุญาตให้ทำได้ในวันใดอีก ?   อุโบสถเช่นนั้น  เรียกว่าอะไร ?

๗.      ในวันที่ภิกษุผู้แตกกันปรองดองกันได้ ฯ   เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ ฯ

๘.       ในวัดหนึ่งมีภิกษุจำพรรษา ๔ รูป เมื่อถึงวันปวารณาออกพรรษาพึงทำอย่างไร ?   ถ้ามีภิกษุอาคันตุกะสัตตาหะมาสมทบอีก ๕ รูป 

จะพึงปฏิบัติอย่างไร ?

๘.       ในวันมหาปวารณาพึงทำคณะปวารณา  โดยรูปหนึ่งตั้งญัตติแล้วกล่าวปวารณาตามลำดับพรรษา ฯ   ถ้ามีภิกษุอาคันตุกะสัตตาหะมาเพิ่มอีก ๕ รูป  พึงทำปวารณาเป็นสังฆปวารณา แล้วกล่าวปวารณาตามลำดับพรรษา ฯ

๙.       ภิกษุได้ชื่อว่า “กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายสกุล”  เพราะประพฤติอย่างไร ?

๙.       เพราะประพฤติให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใส  คือ เป็นผู้ประจบเขาด้วยกิริยาทำตนอย่างคฤหัสถ์  ยอมตนให้เขาใช้สอย  หรือด้วยอาการ  เอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก ฯ

๑๐.     กาลิก มีเท่าไร ?  อะไรบ้าง ?  กล้วยดองน้ำผึ้งเป็นกาลิกอะไร ?

๑๐.     มี ๔ ฯ   ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ฯ  

        เป็นยาวกาลิก ฯ

***********

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2552

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2552


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๕๒

๑.     สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ที่เรียกว่าอภิสมาจารแบ่งเป็น ๒ คือเป็นข้อห้าม ๑ เป็นข้ออนุญาต ๑ นั้นคืออย่างไร?  ปรับโทษแก่ผู้ล่วงละเมิดไว้อย่างไร?

ตอบ ที่เป็นข้อห้ามคือ กิริยาบางอย่างหรือบริขารบางประเภทไม่เหมาะแก่สมณสารูป จึงทรงห้ามไม่ให้กระทำหรือใช้บริขารเช่นนั้น เช่น ห้ามไม่ให้ไว้ผมยาว ไม่ให้ไว้หนวดเครายาว ไม่ให้ใช้บาตรไม้ เป็นต้น ที่เป็นข้ออนุญาต คือเป็นการประทานประโยชน์พิเศษแก่พระภิกษุ เช่น ทรงอนุญาตวัสสิกาสาฎกในฤดูฝน เป็นต้น ฯ ปรับโทษโดยตรงมีเพียง ๒ คือ ถุลลัจจัย ๑ ทุกกฏ ๑ แม้ในข้อที่ทรงอนุญาต เมื่อไม่ทำตาม ก็เป็นอาบัติทุกกฏ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ ฯ

๒.    มีพระบัญญัติข้อหนึ่งว่า อย่าพึงนุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ อย่าพึงห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ ในกรณีที่ภิกษุถูกโจรชิงผ้านุ่งห่มไปหมด พึงปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามพระวินัย?

ตอบ พึงปิดกายด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการชั่วคราว โดยที่สุดแม้ใบไม้ก็ใช้ได้ ห้ามมิให้เปลือยกาย ฯ

๓.     ผ้าสำหรับทำจีวรนุ่งห่มนั้นทรงอนุญาตไว้กี่ชนิด อะไรบ้าง?

ตอบ ทรงอนุญาตไว้ ๖ ชนิด คือ

๑) โขมะ                   ผ้าทำด้วยเปลือกไม้

๒) กัปปาสิกะ            ผ้าทำด้วยฝ้าย

๓) โกเสยยะ              ผ้าทำด้วยใยไหม

๔) กัมพละ                ผ้าทำด้วยขนสัตว์ ยกเว้นผมและขนมนุษย์

๕) สาณะ                  ผ้าทำด้วยเปลือกป่าน

๖) ภังคะ                  ผ้าที่ทำด้วยของ ๕ อย่างนั้น อย่างใดอย่างหนึ่งปนกัน ฯ

๔.     การประณาม ในพระวินัยหมายความว่าอย่างไร? มีพระพุทธานุญาตให้อุปัชฌาย์ทำการประณามสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติอย่างไร?

ตอบ หมายความว่า การไล่สัทธิวิหาริก หรืออันเตวาสิกผู้ประพฤติมิชอบ ผู้ประพฤติดังนี้

๑) หาความรักใคร่ในอุปัชฌาย์มิได้

๒) หาความเลื่อมใสมิได้

๓) หาความละอายมิได้

๔) หาความเคารพมิได้

๕) หาความหวังดีต่อมิได้ ฯ

๕.     บุพพกรณ์และบุพพกิจ ในการทำอุโบสถต่างกันอย่างไร? ในวัดที่มีภิกษุ ๓ รูป เมื่อถึงวันอุโบสถ จะต้องทำบุพพกรณ์และบุพพกิจหรือไม่ เพราะเหตุไร?

ตอบ บุพพกรณ์ คือ กรณียะอันจะพึงกระทำให้เสร็จก่อนประชุมสงฆ์ ส่วนบุพพกิจ เป็นธุระอันจะพึงทำก่อนแต่สวดปาติโมกข์ ฯ  บุพพกรณ์นั้นเป็นกรณียะ จะต้องทำเพราะต้องไปประชุมกันตามกิจ ส่วนบุพพกิจนั้นไม่ต้องทำเพราะภิกษุ ๓ รูปไม่ต้องสวดปาติโมกข์ ฯ

๖.      ภิกษุจำพรรษาอยู่ด้วยกัน ๕ รูป ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูปหรืออยู่รูปเดียว ถึงวันปวารณาพึงปฏิบัติอย่างไร?

ตอบ อยู่ด้วยกัน ๕ รูปพึงทำปวารณาเป็นการสงฆ์

อยู่ด้วยกัน ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป พึงทำปวารณาเป็นการคณะ

อยู่รูปเดียว พึงอธิษฐานเป็นการบุคคล ฯ

๗.    การทำนอกรีตนอกรอยของสมณะที่เรียกว่า อนาจาร ปาปสมาจาร และอเนสนา ได้แก่ความประพฤติเช่นไร รวมเรียกว่าอะไร?

ตอบ อนาจาร ได้แก่ ความประพฤติไม่ดี ไม่งาม และเล่นมีประการต่างๆ

          ปาปสมาจาร ได้แก่ ความประพฤติเลวทราม

          อเนสนา ได้แก่ ความเลี้ยงชีพไม่สมควร

          รวมเรียกว่าอุปปถกิริยา ฯ

๘.     กาลิกคืออะไร? มีอะไรบ้าง? กาลิกระคนกันมีกำหนดอายุไว้อย่างไร? จงยกตัวอย่าง

ตอบ ของที่จะพึงกลืนให้ล่วงลำคอลงไป มีดังนี้ ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก ฯ

กำหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุสั้นที่สุดเป็นเกณฑ์ เช่น เอายาผงที่เป็นยาวชีวิกซึ่งไม่จำกัดอายุคลุกับน้ำผึ้งที่เป็นสัตตาหกาลิกซึ่งมีกำหนดอายุไว้ ๗ วัน ดังนี้ต้องถืออายุ ๗ วันเป็นเกฑ์ ฯ

๙.     การแสดงอาบัติ การอธิษฐาน การทำวิกัป ในทางพระวินัยเรียกว่าอะไร? การทำกิจเหล่านี้จำกัดบุคคลไว้อย่างไร?

ตอบ เรียกว่า วินัยกรรม ฯ

การแสดงอาบัติ จำกัดภิกษุผู้รับ ต้องเป็นภิกษุผู้มีสังวาสเดียวกัน

การอธิษฐาน ให้ทำเอง

การทำวิกัป จำกัดผู้รับ ต้องทำกับสหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สามเถร สามเณรี สิกขมานา รูปใดรูปหนึ่ง ฯ

๑๐.ภิกษุผู้ได้ชื่อว่าประดับพระศาสนาให้รุ่งเรืองเพราะประพฤติปฏิบัติ

เช่นไร? จงชี้แจง

ตอบ เพราะมีความประพฤติปฏิบัติสุภาพเรียบร้อย สมบูรณ์ด้วยอภิสมาจาริกวัตร เว้นจากบุคคลและสถานที่ไม่ควรไป

คืออโคจร เป็นผู้ได้ชื่อว่าอาจารโคจรสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอันเป็นคู่กับคุณบทว่า สีลสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ฯ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2553





 


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง

 วันพฤหัสบดี            ที่ ๒๕ พฤศจิกายน   พ.ศ.๒๕๕๓


 
                        อาทิพรหมจริยกาสิกขา  กับ  อภิสมาจาริกาสิกขา  ต่างกันอย่างไร ?

                        ต่างกันดังนี้ อาทิพรหมจริยกาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเป็นเบ พรหมจรรย์ อันได้แก่พระพุทธบัญญัติที่ทรงตั้งไว้ให้เป็นพุท สิกขาบทอันมาในพระปาติโมกข์ เป็นข้อบังคับโดยตรงที่ภิกษุจะต้อง ปฏิบัติโดยเคร่งครัด ส่วนอภิสมาจาริกาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอั อภิสมาจาร คือมารยาทอันดี ที่ทรงบัญญัติหรืออนุญาตไว้ อั พระปาติโมกข์ เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามของหมู่คณะที่ควรประพฤต


                        วินัยกรรม กับ สังฆกรรม มีความหมายต่างกันอย่างไร ? การ วินัยกรรมนั้น มีจ ำกัดบุคคลและสถานที่บ้างหรือไม่อย่างไร ?

                        ต่างกันอย่างนี้ กรรมที่ภิกษุแต่ละรูปหรือหลายรูปจะพึงท ำตาม พินทุ อธิษฐาน วิกัปจีวร เป็นต้น เรียกว่าวินัยกรรม กร ครบองค์เป็นสงฆ์ ำนวนอย่างตมีจ ำตั้งแต่  ๔ รูปขึ้นไปจะพึงทำเช่น อปโลกนกรรมเป็นต้น เรียกว่าสังฆกรรม ฯ


จ ำกัดบุคคลและสถานที่ไว้ดังนี้

                       แสดงอาบัติ ต้องแสดงแก่ผู้เป็นภิกษุด้วยกัน ๒. อธิษฐาน ต้องท ำเอง

                       วิกัป ต้องวิกัปแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี รูปใดรูปหนึ่ง

๔. ห้ามไม่ให้ท ำในที่มืด  แต่ท ำในสีมาหรือนอกสีมาใช้ได้ทั้ง

                        ตามนัยแห่งอรรถกถา อาจารย์มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? ค ำขอนิ อาจารย์ว่าอย่างไร ?

                        มี ๔ ประเภท ฯ

คือ๑. ปัพพัชชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา ๒. อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท

                           นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย ๔. อุทเทสาจารย์ อาจารย์ผู้บอกธรรม ฯ

ว่า      อาจริโย     เม    ภนฺเต      โหหิ     อายสฺมโต     นิสฺสาย        วจฺฉามิ ฯ

                        กิริยาที่แสดงความอ่อนน้อมต่อกันและกันเป็นความดีของหมู่ แต่ ถูกต้องตามกาลเทศะ ในข้อนี้ควรงดเว้นในกรณีใดบ้าง ? จงบอกมาส

                     ข้อ

                        ได้แก่ในเวลาดังต่อไปนี้  (ตอบเพียง ๕ ข้อ)

๑. ในเวลาประพฤติวุฏฐานวิธี คืออยู่กรรม เพื่อออกจากอาบัติสังฆ ๒. ในเวลาถูกสงฆ์ท ำอุกเขปนียกรรม ที่ถูกห้ามสมโภคและสังวาส ๓. ในเวลาเปลือยกาย ๔. ในเวลาเข้าบ้านหรือเดินอยู่ตามทาง


๕. ในเวลาอยู่ในที่มืดที่แลไม่เห็นกัน

๖. ในเวลาที่ท่านไม่รู้ คือนอนหลับหรือขลุกขลุ่ยอยู่ด้วยธุระอ ส่งใจไปอื่น แม้ไหว้ ท่านก็คงไม่ใส่ใจ

๗. ในเวลาขบฉันอาหาร

๘. ในเวลาถ่ายอุจจาระ  ถ่ายปัสสาวะ ฯ

                        ในวัดหนึ่ง ถ้ามีภิกษุจ ำพรรษา ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ เมื่อถึงวันอุโบสถพึงปฏิบัติอย่างไร ?

                        ๔ รูป  พึงประชุมกันในโรงอุโบสถสวดปาติโมกข์

๓ รูป พึงประชุมกันท ำปาริสุทธิอุโบสถ ดังนี้ ประชุมกันใน แล้วรูปหนึ่งสวดประกาศญัตติ จบแล้วแต่ละรูปพึงบอกความบริสุทธ ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ พึงบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน ๑ รูป พึงอธิษฐาน ฯ

                        อุปปถกิริยา คืออะไร ? ความประพฤติเช่นไรจัดเข้าใน อนาจ ปาปสมาจาร อเนสนา ?

                        คือ  การท ำนอกรีตนอกรอยของสมณะ ฯ

ความประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นมีประการต่าง ๆ จัดเข้าในอน ความประพฤติเลวทราม จัดเข้าในปาปสมาจาร ความเลี้ยงชีพไม่สมคว จัดเข้าในอเนสนา ฯ

                        ภิกษุผู้ได้ชื่อว่าโคจรสัมปันโนผู้ถึงพร้อมด้วยโคจรเพราะปฏิบ?

                        เพราะเว้นอโคจร ๖ จะไปหาใครหรือจะไปที่ไหน เลือกบุคคล เลือกสถา อันสมควร ไปเป็นกิจลักษณะในเวลาอันควร ไม่ไปพร ่ำเพรื่อ กลับ ประพฤติตนไม่ให้เป็นที่รังเกียจของเพื่อนสหธรรมิกเพราะการไปเที่ฯ

                        ยาวกาลิกกับยาวชีวิกได้แก่กาลิกเช่นไร ? กาลิกระคนกันมีกฎเกณฑ อายุไว้อย่างไร ? จงยกตัวอย่าง

                        ยาวกาลิก ได้แก่ของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว ตั้งแต่เช้าถึงเที่ ได้แก่ของที่ให้บริโภคได้เสมอไป ไม่มีจ ำกัดกาล ฯ

กฎเกณฑ์ก ำหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุน้อยที่สุด ฯ เช่นยาผง เป คลุกกับน ้ำผึ้งที่เป็นสัตตาหกาลิก ต้องถืออายุ ๗ วัน เป็นเ

                        ค ำว่า  อันโตวุฏฐะ  อันโตปักกะ  สามปักกะ  หมายถึงอะไร ?

                        อันโตวุฏฐะ หมายถึงยาวกาลิกที่ภิกษุเก็บไว้ในที่อยู่ของตน ฯ อันโตปักกะ หมายถึงยาวกาลิกที่ภิกษุหุงต้มภายใน (ที่อยู่ของต สามปักกะ หมายถึงยาวกาลิกที่ภิกษุท ำให้สุกเอง ฯ

 
๑๐. ภิกษุจะฉันสิ่งใด ๆ ต้องรับประเคนก่อน มีกรณียกเว้นเป็นพิเศษ ที่ไม่ต้องรับประเคนก่อนก็ฉันได้ ?

๑๐. ยกเว้นเป็นพิเศษเฉพาะภิกษุอาพาธถูกงูกัด ให้ฉันยามหาวิกัฏ ๔ คือ เถ้า และดินได้ ฯ



*********



วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2554







 ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง 

วันพฤหัสบดี ที่ ๑๕ ธันวาคม         พ.ศ. ๒๕๕๔



            ภิกษุผู้ปฏิบัติพระวินัยส่วนอภิสมาจารให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ป ปฏิบัติอย่างไร ? 


            จะชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีงาม ต้องปฏิบัติโดยสายกลาง คือไม่ถื งมงาย จนเป็นเหตุท ำตนให้ล ำบากเพราะเหตุธรรมเนียมเล็ก ๆ น้อย ๆ ขัดต่อกาลเทศะ และไม่สะเพร่ามักง่าย ละเลยต่อธรรมเนียมของภิ จนถึงท ำตนให้เป็นคนเลวทราม ฯ



๒.    เปลือยกายอย่างไรต้องอาบัติถุลลัจจัย ?                                อย่างไรต้องอาบัติทุกก


๒.    เปลือยกายเป็นวัตรเอาอย่างเดียรถีย์                       ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯ


เปลือยกายท ำกิจแก่กัน เช่นไหว้ รับไหว้ ท ำบริกรรม ให้ของ และเปลือยกายในเวลาฉัน ในเวลาดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ


            ในบาลีแสดงเหตุนิสัยจะระงับจากอุปัชฌาย์ไว้เท่าไร ?  อะไรบ้าง ?


            แสดงไว้ ๕ ประการ ฯ


คือ อุปัชฌาย์หลีกไปเสียสึกเสีย๑ ๑ตายเสีย ๑ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ๑ สั่งบังคับ ๑ ฯ


            ภิกษุผู้ได้ชื่อว่า วตฺตสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร มีอะไรบ้าง ?



            วัตรคือแบบอย่างอันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้น ๆ ในที่นั้น ๆ ใ แก่บุคคลนั้น ๆ ฯ



มี ๑.      กิจวัตร           ว่าด้วยกิจอันควรท ำ


๒.   จริยาวัตร        ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ


๓.    วิธิวัตร              ว่าด้วยแบบอย่าง ฯ


            คารวะ คืออะไร ? การลุกขึ้นยืนรับเป็นกิจที่ผู้น้อยพึงท ำแก แต่ควรเว้นในเวลาเช่นใดบ้าง ?


            คือ กิริยาที่แสดงอาการอ่อนน้อมโดยสมควรแก่กาล สถานที่ กิจ บุคคล ฯ ควรเว้นในเวลานั่งอยู่ในส ำนักของผู้ใหญ่ ไม่ลุกรับผู้น้อยก


ในเวลานั่งเข้าแถวในบ้าน               ในเวลาเข้าประชุมสงฆ์ในอาราม ฯ


            ในวัดที่ไม่มีภิกษุผู้ทรงจ ำปาติโมกข์ได้จนจบ ถึงวันอุโบสถ แล้วชักสุตบท (สวดย่อ) โดยอ้างว่าเกิดเหตุฉุกเฉิน ถูกต้อง เพราะเหตุใด ?



            สวดปาติโมกข์ย่อนั้น ถูกต้องแล้ว แต่จะอ้างว่าสวดย่อเพราะเก ฉุกเฉินนั้น ไม่ถูกต้อง ฯ เพราะการสวดย่อเนื่องจากจได้ไม่หมด ำ ทรงอนุญาตไว้แผนกหนึ่งต่างหา ไม่จัดเข้าในเหตุฉุกเฉิน ๑๐ ประการ ฯ


            สภาคาบัติ  คืออาบัติเช่นไร ?  ภิกษุต้องสภาคาบัติ  จะพึงปฏิบั


            คือ อาบัติที่ภิกษุต้องวัตถุเดียวกัน เพราะล่วงละเมิดสิกขาบ เมื่อภิกษุต้องสภาคาบัติ ห้ามไม่ให้แสดงอาบัตินั้นต่อกัน อาบัติของกัน ให้แสดงในส ำนักภิกษุอื่น ถ้าสงฆ์ต้องสภาคาบ ต้องส่งภิกษุรูปหนึ่งไปแสดงในที่อื่น ภิกษุที่เหลือจึงแสำนักของ ภิกษุนั้น ฯ




            ภิกษุได้รับการสรรเสริญว่า กุลปสาทโก ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส ผู้ได้รับการต ำหนิว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายตระกูล ความประพฤติเช่นไร ?



            ภิกษุผู้ได้รับการสรรเสริญว่า กุลปสาทโก เพราะถึงพร้อมด้วย ไม่ทอดตนเป็นคนสนิทของสกุลโดยฐานเป็นคนเลว ไม่รุกรานตัดรอนเข แสดงเมตตาจิต ประพฤติพอดีพองาม ท ำให้เขาเลื่อมใสนับถือ ส่วนภิกษุผู้ได้รับการต ำหนิว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายสกุล ให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใส ประจบเขาด้วยกิริยาท ำตนอย่างคฤหัสถ์ ก ำนัลแก่สกุลอย่างคฤหัสถ์เขาท ำกัน ยอมตนให้เขาใช้สอย หรือด้ เอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก ฯ



            ผ้าบริขารโจล ได้แก่ผ้าเช่นไร ? การอธิษฐานด้วยกายกับการอธิ ด้วยวาจาต่างกันอย่างไร ?


            ได้แก่  ผ้าที่ไม่ใช่ของใหญ่ถึงกับนุ่งห่มได้ถุงบาตรเช่นผ้ากรองนย่ามฯ ้ำ


การอธิษฐานด้วยกาย คือ การใช้มือจับหรือลูบบริขารที่จะอธิษ ท ำความผูกใจตามค ำอธิษฐานนั้น ๆ ส่วนการอธิษฐานด้วยวาจา การเปล่งค ำอธิษฐานนั้น ๆ ไม่ถูกของด้วยกายก็ได้ ฯ


๑๐.   ผ้าต่อไปนี้    คือ  สังฆาฏิ  อันตรวาสก  นิสีทนะ  ผ้าอา ผ้าเช็ดปาก  ผ้าถุงบาตร  ผืนใดที่ทรงอนุญาตให้อธิษฐานได้เพียงผ


๑๐. สังฆาฏิ             นิสีทนะ           อันตรวาสก           และผ้าอาบน ้ำฝน ฯ


*********


วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2555

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2555


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

๑.      ภิกษุแม้ล่วงละเมิดพระวินัยแล้วไม่ต้องอาบัติ ได้รับยกเว้นทุกสิกขาบท ได้แก่ภิกษุประเภทไหนบ้าง?

ตอบ ได้แก่      ภิกษุบ้าคลั่งจนไม่มีสติสัมปชัญญะ

ภิกษุเพ้อจนไม่รู้สึกตัว

ภิกษุกระสับกระส่าย เพราะมีเวทนากล้าจนถึงไม่มีสติ ฯ

๒.     สังฆกรรม ๓ อย่างนี้ คือ การสวดปาฏิโมกข์ อุปสมบทกรรมและอัพภาณกรรม มีจำกัดจำนวนสงฆ์อย่างน้อยเท่าไรจึงจะถูกต้องตามพระวินัย?

ตอบ การสวดปาฏิโมกข์ ต้องการสงฆ์จตุวรรค คือ ๔ รูป เป็นอย่างน้อย

อุปสมบทกรรมในปัจจันตประเทศ ต้องการสงฆ์ปัญจวรรค คือ ๕ รูป เป็นอย่างน้อย อุปสมบทกรรมในมัธยมประเทศ ต้องการสงฆ์ทสวรรค คือ ๑๐ รูป เป็นอย่างน้อย

อัพภาณกรรมต้องการสงฆ์วีสติวรรค คือ ๒๐ รูปเป็นอย่างน้อย ฯ

๓.     จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริก นิสสัย

ตอบ อุปัชฌายะ เป็นชื่อเรียกภิกษุผู้รับให้พึ่งพิง แปลว่าผู้ฝึกสอนหรือผู้ดูแล,

สัทธิวิหาริก เป็นชื่อเรียกภิกษุผู้พึ่งพิง แปลว่าผู้อยู่ด้วย,

นิสสัย เป็นชื่อเรียกกิริยาที่พึ่งพิง ฯ

๔.     ภิกษุผู้ได้รับเสนาสนะของสงฆ์ให้เป็นที่อยู่อาศัย ควรเอาใจใส่รักษาเสนาสนะนั้นอย่างไร?

ตอบ ควรเอาใจใส่รักษาดังนี้

๑) ไม่ทำให้เปรอะเปื้อน

๒) ชำระให้สะอาด

๓) ระวังไม่ให้ชำรุด

๔) รักษาเครื่องเสนาสนะ

๕) ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ให้มีพร้อม

๖) ของใช้สำหรับเสนาสนะหนึ่งอย่านำไปใช้ที่อื่นให้กระจัดกระจาย ฯ

๕.      คำว่า วัตถุเป็นอนามาส คืออะไร ภิกษุจับต้องวัตถุเป็นอนามาสเป็นอาบัติอะไร?

ตอบ คือ สิ่งที่ภิกษุไม่ควรจับต้อง ฯ

ภิกษุจับต้องมาตุคาม เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย และทุกกฏตามประโยค จับต้องบัณเฑาะก์ด้วยความกำหนัดเป็นอาบัติถุลลัจจัย นอกนั้นเป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏทั้งหมด ฯ

๖.      ภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนจนได้ปวารณา ย่อมได้อานิสงส์แห่งการจำพรรษาอะไรบ้าง?

ตอบ ได้รับอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ

๑) เที่ยวไปไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์

๒) เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ

๓) ฉันคณโภชน์ และปรัมปรโภชน์ได้

๔) เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา

๕)จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ

ทั้งได้โอกาสเพื่อกรานกฐิน และรับอานิสงส์ ๕ นั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือนตลอดเหมันตฤดู ฯ

๗.     ปวารณามีกี่อย่าง? อะไรบ้าง? ในอาวาสหนึ่งมีภิกษุจำพรรษา ๓ รูป เมื่อถึงวันปวารณา พึงปฏิบัติอย่างไร?

ตอบ มี ๓ อย่าง คือ สังฆปวารณา คณปวารณา และบุคคลปวารณา ฯ

พึงทำคณปวารณา ฯ

๘.     องค์ที่เป็นลักษณะแห่งการถือวิสาสะ คืออะไรบ้าง? เห็นว่าข้อไหนสำคัญ?

ตอบ คือ เป็นผู้เคยได้เห็นกันมา ๑         เป็นผู้เคยคบกันมา ๑     ได้พูดกันไว้ ๑

ยังมีชีวิตอยู่ ๑   รู้ว่าของนั้นเราถือเอาแล้วเขาจักพอใจ ๑ ฯ

เห็นว่าข้อสุดท้ายสำคัญ ฯ

๙.     ภิกษุได้ชื่อว่า อาจารโคจรสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร เพราะประพฤติปฏิบัติเช่นไร?

ตอบ เพราะมีความประพฤติปฏิบัติสุภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ด้วยอภิสมาจาริกวัตร เว้นจากอโคจร คือบุคคลและสถานที่ที่ไม่ควรไป ฯ

๑๐. เภสัช ๕ มีอะไรบ้าง จัดเป็นกาลิกอะไร?

ตอบ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ฯ จัดเป็นสัตตาหกาลิก ฯ

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2556

 



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
  อภิสมาจาร คืออะไร ? เป็นเหตุให้ต้องอาบัติอะไรได้บ้าง ? เฉลย คือ ขนบธรรมเนียมของภิกษุฯ

อาบัติถุลลัจจัยและอาบัติทุกกฏฯ

๒. ข้อว่า อย่าพึงนุ่งห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ นั้นมีอธิบายอย่างไร ?

เฉลย มีอธิบายว่าห้ามนุ่งห่มเครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์เช่นกางเกง เสื้อ ผ้าโพก หมวก ผ้านุ่งผ้าห่มสีต่างๆชนิดต่างๆ และห้ามอาการนุ่งห่ม ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ของภิกษุฯ

 บริขาร ๘ มีอะไรบ้าง ? ที่จัดเป็นบริขารบริโภคและบริขารอุปโภค มีอะไรบ้าง ?

เฉลย มี ไตรจีวร คือผ้านุ่งผ้าห่มและผ้าทาบบาตรประคดเอว  เข็ม มีดโกน
และผ้ากรองน ฯ้ำ

ไตรจีวร บาตร ประคดเอว รวม ๕ อย่าง จัดเป็นบริขารบริโภค

เข็ม มีดโกน และผ้ากรองน จัดเป็นบริขารอุปโภค้ำฯ

  ค ำว่า ถือนิสัย หมายความว่าอย่างไร ? ภิกษุผู้เป็นนวกะจะต้ เสมอไปหรือไม่ประการไร ?

เฉลย หมายความว่า ยอมตนอยู่ในความปกครองของพระเถระผู้มีคุณสมบั ควรปกครองตนได้ ยอมตนให้ท่านปกครองพึ่งพิงพ ำนักอาศัยท่านฯ ต้องถือนิสัยเสมอไปแต่มีข้อยกเว้นภิกษุผู้ยังไม่ตั้งลงเป็นหลักแหลคือ ภิกษุเดินทางภิกษุผู้เป็นไข้ภิกษุผู้พยาบาลผู้ได้รับขอของคนไข้เพื่ ภิกษุผู้เข้าป่าเพื่อเจริญสมณธรรมชั่วคราวและกรณีที่ในที่ใดหาท่านผู้ให้ นิสัยมิได้ และมีเหตุขัดข้องที่จะไปอยู่ในที่อื่นไม่ได้ จะอย ว่าเมื่อใดมีท่านผู้ให้นิสัยได้มาอยู่จักถือนิสัยในท่านก็ใช้ได้ฯ

  ภิกษุเมื่อจะนั่งลงบนอาสนะ ทรงให้ปฏิบัติอย่างไรก่อน ? ที่ท อย่างนั้นเพื่อประโยชน์อะไร ?

เฉลย  ทรงให้พิจารณาก่อย่าผลุนผลันนั่งลงไปฯ

เพื่อว่าถ้ามีของอะไรวางอยู่บนนั้น จะทับหรือกระทบของนั้น ถ้ ก็จะหก เสียมารยาท พึงตรวจดูด้วยนัยน์ตาหรือด้วยมือลูบก่อนตามแต่ จะรู้ได้ด้วยอย่างไรแล้วจึงค่อยนั่งลงฯ

  วันเข้าพรรษาในบาลีกล่าวไว้ ๒ วัน คือวันเข้าพรรษาต้น และวันเข้ หลัง ในแต่ละอย่างก ำหนดวันไว้อย่างไร ?

เฉลย วันเข้าพรรษาต้นก ำหนดเมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแ
วันหนึ่งคือวันแรม๑ ค ่ำเดือน ๘
วันเข้าพรรษาหลังก หนดเมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะนัำ
ล่วงแล้วเดือน๑ คือ วันแรม ๑ ค ่ำเดือน ๙ ฯ

  ในวัดหนึ่ง มีภิกษุอยู่กัน ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป ๑ รูป เมื่อถ พึงปฏิบัติอย่างไร ?


เฉลย  มีภิกษุ๔ รูป พึงประชุมกันในโรงอุโบสถสวดปาติโมกข์

มีภิกษุ ๓ รูป พึงประชุมกันท ำปาริสุทธิอุโบสถ รูปหนึ่งสวดป จบแล้วแต่ละรูปพึงบอกความบริสุทธิ์ของตน

มีภิกษุ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติพึงบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน มีภิกษุ๑ รูป พึงอธิษฐาน

หรือมีภิกษุต ๔่ำกว่ารูปจะไปท ำสังฆอุโบสถกับสงฆ์ในอาวาสอื่นก็ควรฯ

  ภิกษุได้ชื่อว่าผู้ประทุษร้ายสกุล กับภิกษุได้ชื่อว่าผู้ยังสกุ ความประพฤติต่างกันอย่างไร ?

เฉลย ต่างกันอย่างนี้ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลเป็นผู้ประพฤติให้เขาเสียศรัทธา เลื่อมใสประจบเขาด้วยกิริยาท ำตนอย่างคฤหัสถ์ให้ของก ำนัลแก่สกุล อย่างคฤหัสถ์เขาทยอมตนให้เขาใช้สอย ำหรือด้วยอาการเอาเปรียบโดย เชิงให้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มากส่วนภิษุผู้ยังสกุลให้เลื่อมใสเป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระไม่ทอดตนเป็นคนสนิทของสกุลโดยฐานเป็นคนเลว ไม่รุกรานตัดรอนเขาแสดงเมตตาจิต ประพฤติพอดีพองามท ำให้เขา เลื่อมใสนับถือตนฯ

  ก่อนหน้าปรินิพพาน ตรัสสั่งภิกษุทั้งหลายให้แสดงความเคารพด้ว กันว่าอย่างไร ?


  ตรัสให้ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่าเรียกผู้แก่พรรษากว่าว่าภันเตและให้ภิกษุ ผู้แก่พรรษากว่าเรียกผู้อ่อนพรรษากว่าว่าอาวุโสฯ

๑๐. อนามัฏฐบิณฑบาต ได้แก่โภชนะเช่นไร?มีข้อห้ามตามพระวินัยไว้อย่างไร

เฉลย ได้แก่โภชนะที่ภิกษุได้มายังไม่ได้หยิบไว้ฉันฯ มีข้อห้ามไม่ให้ภิกษุให้แก่คฤหัสถ์อื่นนอกจากมารดาและบิดาฯ

*********




วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2557

 

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2557

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท

สอบในสนามหลวง

วันอังคารที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.๒๕๕๗

 

๑.     พระวินัยแบ่งออกเป็นกี่อย่าง? อะไรบ้าง?

เฉลย แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คืออาทิพรหมจริยกาสิกขา ๑ อภิสมาจาริกาสิกขา ๑ ฯ

๒.    การผัดหน้า ไล้หน้า ทาหน้า ทรงห้ามและทรงอนุญาตไว้ในกรณ๊ใด?

เฉลย ทรงห้ามในกรณีที่ทำเพื่อให้สวยงาม ทรงอนุญาตในกรณีที่อาพาธ เช่น เป็นโรคผิวหนัง เป็นต้น ฯ

๓.    ภิกษุเปลือยกายในกรณีต่อไปนี้ ต้องอาบัติอะไรหรือไม่?

ก. เปลือยเป็นวัตรอย่างเดียรถีย์        ข. เปลือยทำกิจแก่กัน เช่นไหว้ รับไหว้

ค. เปลือยในเวลาฉัน ในเวลาดื่ม       ง. เปลือยในเรือนไฟ

จ. เปลือยในน้ำ

เฉลย     ก. ต้องอาบัติถุลลัจจัย

           ข. และ ค. ต้องอาบัติทุกกฏ

           ง. และ จ. ไม่ต้องอาบัติ ฯ

๔.     บาตรที่ทรงอนุญาตให้ใช้มีกี่ชนิด และกี่ขนาด? อะไรบ้าง?

เฉลย มี ๒ ชนิด คือบาตรดินเผาและบาตรเหล็ก ฯ มี ๓ ขนาด คือขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ฯ

๕.     จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้

ก. อุปสัมปทาจารย์               ข. อุทเทสาจารย์

ค. สัทธิวิหาริก                    ง. อันเตวาสิก                 จ. นิสสัยมุตตกะ

เฉลย     ก. อาจารย์ผู้ให้อุปสมบท             ข. อาจารย์ผู้สอนธรรม

           ค. ภิกษุผู้พึ่งพิงอุปัชฌาย์            ง. ภิกษุผู้อิงอาศัยอาจารย์

           จ. ภิกษุผู้พ้นนิสสัยแล้ว ฯ

๖.     สัตตาหกรณียะ คืออะไร? มีวิธีปฏิบัติอย่างไร?

เฉลย     คือการหลีกไปในระหว่างอยู่จำพรรษาด้วยกรณียธุระและกลับมาภายใน ๗ วัน ฯ

           ให้ผูกใจว่าจะกลับมาภายใน ๗ วัน ฯ

๗.    ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อเพราะเหตุฉุกเฉิน ๑๐ อย่าง จงบอกมาสัก ๕ อย่าง

เฉลย     ๑. พระราชาเสด็จมา (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อจะรับเสด็จได้)

           ๒. โจรมาปล้น (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อหนีภัยได้)

           ๓. ไฟไหม้ (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อดับไฟหรือเพื่อป้องกันไฟได้)

๔. น้ำหลากมา (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อหนีน้ำได้) สวดกลางแจ้งฝนตก (ก็เหมือนกัน)

๕. คมมามาก (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อจะรู้เหตุ หรือเพื่อจะได้ทำปฏิสันถาร ได้อยู่)

๖. ผีเข้าภิกษุ (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อขับผี ได้อยู่)

๗. สัตว์ร้ายมีเสือเป็นต้น เข้ามาในอาราม (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อไล่สัตว์ ได้อยู่)

๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามาในที่ประชุม (ก็เหมือนกัน)

๙. ภิกษุอาพาธเกิดโรคร้ายขึ้นในที่ชุมนุม อันเป็นอันตรายแก่ชีวิต (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อช่วยแก้ไขก็ได้) มีอันเป็นตายในที่นั้นก็เหมือนกัน

๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ เช่นมีใครมาเพื่อจับภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง (เลิกสวดปาติโมกข์ เพราะความอลหม่านก็ได้) ฯ

(เลือกตอบเพียง ๕ ข้อ)

๘.    กาลิก ๔ ได้แก่อะไรบ้าง? โภชนะ ๕ เภสัช ๕ จัดเป็นกาลิกอะไร?

เฉลย ได้แก่ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ฯ

โภชนะ ๕ เป็นยาวกาลิก

เภสัช ๕ เป็นสัตตาหกาลิก ฯ

๙.    ลักษณะถือวิสาสะที่มาในพระบาลีมอะไรบ้าง?

เฉลย มี

๑. เป็นผู้เคยได้เห็นกันมา               ๒. เป็นผู้เคยคบกันมา

๓. ได้พูดกันไว้                           ๔. ยังมีชีวิตอยู่

๕. รู้ว่าของนั้นเราถือเอาแล้วเขาจักพอใจ ฯ

๑๐.         ภิกษุจะเปลี่ยนไตรครอง พึงปฏิบัติตามลำดับอย่างไรบ้าง?

เฉลย ต้องปัจจุธรณ์คือถอนอธิษฐานผืนเก่าก่อน แล้วทำพินทุและอธิษฐานผืนใหม่ ฯ