วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2557

 

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2557

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท

สอบในสนามหลวง

วันอังคารที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.๒๕๕๗

 

๑.     พระวินัยแบ่งออกเป็นกี่อย่าง? อะไรบ้าง?

เฉลย แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คืออาทิพรหมจริยกาสิกขา ๑ อภิสมาจาริกาสิกขา ๑ ฯ

๒.    การผัดหน้า ไล้หน้า ทาหน้า ทรงห้ามและทรงอนุญาตไว้ในกรณ๊ใด?

เฉลย ทรงห้ามในกรณีที่ทำเพื่อให้สวยงาม ทรงอนุญาตในกรณีที่อาพาธ เช่น เป็นโรคผิวหนัง เป็นต้น ฯ

๓.    ภิกษุเปลือยกายในกรณีต่อไปนี้ ต้องอาบัติอะไรหรือไม่?

ก. เปลือยเป็นวัตรอย่างเดียรถีย์        ข. เปลือยทำกิจแก่กัน เช่นไหว้ รับไหว้

ค. เปลือยในเวลาฉัน ในเวลาดื่ม       ง. เปลือยในเรือนไฟ

จ. เปลือยในน้ำ

เฉลย     ก. ต้องอาบัติถุลลัจจัย

           ข. และ ค. ต้องอาบัติทุกกฏ

           ง. และ จ. ไม่ต้องอาบัติ ฯ

๔.     บาตรที่ทรงอนุญาตให้ใช้มีกี่ชนิด และกี่ขนาด? อะไรบ้าง?

เฉลย มี ๒ ชนิด คือบาตรดินเผาและบาตรเหล็ก ฯ มี ๓ ขนาด คือขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ฯ

๕.     จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้

ก. อุปสัมปทาจารย์               ข. อุทเทสาจารย์

ค. สัทธิวิหาริก                    ง. อันเตวาสิก                 จ. นิสสัยมุตตกะ

เฉลย     ก. อาจารย์ผู้ให้อุปสมบท             ข. อาจารย์ผู้สอนธรรม

           ค. ภิกษุผู้พึ่งพิงอุปัชฌาย์            ง. ภิกษุผู้อิงอาศัยอาจารย์

           จ. ภิกษุผู้พ้นนิสสัยแล้ว ฯ

๖.     สัตตาหกรณียะ คืออะไร? มีวิธีปฏิบัติอย่างไร?

เฉลย     คือการหลีกไปในระหว่างอยู่จำพรรษาด้วยกรณียธุระและกลับมาภายใน ๗ วัน ฯ

           ให้ผูกใจว่าจะกลับมาภายใน ๗ วัน ฯ

๗.    ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อเพราะเหตุฉุกเฉิน ๑๐ อย่าง จงบอกมาสัก ๕ อย่าง

เฉลย     ๑. พระราชาเสด็จมา (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อจะรับเสด็จได้)

           ๒. โจรมาปล้น (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อหนีภัยได้)

           ๓. ไฟไหม้ (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อดับไฟหรือเพื่อป้องกันไฟได้)

๔. น้ำหลากมา (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อหนีน้ำได้) สวดกลางแจ้งฝนตก (ก็เหมือนกัน)

๕. คมมามาก (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อจะรู้เหตุ หรือเพื่อจะได้ทำปฏิสันถาร ได้อยู่)

๖. ผีเข้าภิกษุ (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อขับผี ได้อยู่)

๗. สัตว์ร้ายมีเสือเป็นต้น เข้ามาในอาราม (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อไล่สัตว์ ได้อยู่)

๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามาในที่ประชุม (ก็เหมือนกัน)

๙. ภิกษุอาพาธเกิดโรคร้ายขึ้นในที่ชุมนุม อันเป็นอันตรายแก่ชีวิต (เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อช่วยแก้ไขก็ได้) มีอันเป็นตายในที่นั้นก็เหมือนกัน

๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ เช่นมีใครมาเพื่อจับภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง (เลิกสวดปาติโมกข์ เพราะความอลหม่านก็ได้) ฯ

(เลือกตอบเพียง ๕ ข้อ)

๘.    กาลิก ๔ ได้แก่อะไรบ้าง? โภชนะ ๕ เภสัช ๕ จัดเป็นกาลิกอะไร?

เฉลย ได้แก่ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ฯ

โภชนะ ๕ เป็นยาวกาลิก

เภสัช ๕ เป็นสัตตาหกาลิก ฯ

๙.    ลักษณะถือวิสาสะที่มาในพระบาลีมอะไรบ้าง?

เฉลย มี

๑. เป็นผู้เคยได้เห็นกันมา               ๒. เป็นผู้เคยคบกันมา

๓. ได้พูดกันไว้                           ๔. ยังมีชีวิตอยู่

๕. รู้ว่าของนั้นเราถือเอาแล้วเขาจักพอใจ ฯ

๑๐.         ภิกษุจะเปลี่ยนไตรครอง พึงปฏิบัติตามลำดับอย่างไรบ้าง?

เฉลย ต้องปัจจุธรณ์คือถอนอธิษฐานผืนเก่าก่อน แล้วทำพินทุและอธิษฐานผืนใหม่ ฯ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น