วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความเป็นมาของพิธีลอยกระทงตามประทีป

ความเป็นมาของพิธีลอยกระทงตามประทีป
   พิธีลอยกระทงของไทย เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในรัชสมัยของ
พระมหาธรรมราชาลิไท ที่ ๕ นิยมทากันเป็นประเพณี ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ โดยปรากฏใน
หนังสือตาหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นพระสนมเอกของพระมหาธรรมราชาลิไท และเป็น
พระธิดาของพระศรีมโหสถ ตาแหน่งราชครู ตระกูลพราหมณ์ ได้เรียบเรียงเรื่องเกี่ยวกับ
ราชประเพณี ๑๒ เดือน ในราชสานักพระมหาธรรมราชาลิไท ความตอนหนึ่งว่า ถึงวันเพ็ญ
เดือน ๑๒ พระร่วงเจ้ารับสั่งให้บรรดาพระสนมนางใน เถ้าแก่แม่ท้าวทั้งหลาย ตกแต่งประดับ
กระทงดอกไม้ธูปเทียน นาลอยน้าหน้าพระที่นั่ง ตามประเพณีของกษัตริย์โบราณที่มีมาจากข้อความนี้แสดงว่า การลอยกระทงตามประทีป เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทใน
วันเพ็ญเดือน ๑๒ ของไทย ทากันมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และในหนังสือพระราช
พิธี ๑๒ เดือน พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก็ทรง
กล่าวถึงพิธีลอยกระทงตามประทีปไว้ แสดงว่าพิธีนี้ได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาโดยตลอด
พิธีลอยกระทงตามประทีป เรียกกันทั่วไปว่า งานลอยกระทง ในภาคเหนือจัดเป็น
งานใหญ่เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เรียกว่า งานประเพณียี่เป็ง ถือเป็นงานประเพณีสาคัญของ
จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งชาวไทยและชาวต่างชาติรู้จักกันดี จังหวัดอื่น ๆ ทางภาคเหนือก็ได้จัด
งานประเพณีลอยกระทงเช่นเดียวกัน ส่วนจังหวัดสุโขทัยเป็นต้นตาหรับของพิธีลอยกระทง
ตามประทีป ได้จัดงานประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ เป็นงานใหญ่ประจาปีของจังหวัดในช่วง
เทศกาลลอยกระทง เป็นงานประเพณีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีของนักท่องเที่ยวทั่วโลก
ก่อนลอยกระทงตามประทีปบูชาพระพุทธบาท โบราณมีการกล่าวคาบูชาด้วย
ปัจจุบัน การลอยกระทงโดยทั่วไป เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เฉพาะคนหนุ่มสาวจะชวนกันไป
ลอยกระทงเป็น คู่ ๆ และส่วนใหญ่จะอธิษฐานเกี่ยวกับความรัก จึงทาให้ไม่ค่อยมีคนนึกถึง
วัตถุประสงค์แท้จริงของประเพณีการลอยกระทงตามธรรมเนียมโบราณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น