ความเป็นมาของวันเข้าพรรษา
การเข้าพรรษา เป็นพุทธานุญาตกาหนดให้พระภิกษุอธิษฐานอยู่ประจาสถานที่
ไม่จาริกไปค้างแรมในสถานที่อื่น เว้นแต่มีเหตุจาเป็น ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ช่วงฤดูฝน
คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่า เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑
ก่อนพุทธกาล การอยู่จาพรรษา เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา
ในชมพูทวีปถือปฏิบัติกันมาก่อนแล้ว แต่คงไม่ได้ปฏิบัติกันเคร่งครัดนัก จึงเป็นเรื่องคุ้นชิน
ของคนในยุคนั้น สมัยต้นพุทธกาล ขณะพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
เมื่อถึงฤดูฝน ภิกษุส่วนมากอยู่ประจาสถานที่เช่นเดียวกับนักบวชนอกศาสนา แต่มีกลุ่มพระภิกษุฉัพพัคคีย์ คือ พระภิกษุ ๖ รูป ได้แก่ พระมัณฑุกะ พระโลหิตกะ พระเมตติยะ
พระกุมมชกะ พระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะ พร้อมทั้งพระภิกษุที่เป็นสานุศิษย์ประมาณ
๑,๕๐๐ รูป เที่ยวจาริกไปตามสถานที่ต่าง ๆ เนื่องจากขณะนั้น ยังมิได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุ
อยู่จาพรรษา การจาริกของท่านเหล่านั้น มีผลกระทบต่อการทาเกษตรกรรมของชาวบ้าน
ทาให้ข้าวกล้าและพืชผักเสียหาย พวกชาวบ้าน จึงพากันตาหนิติเตียนถึงการไม่หยุดจาริก
ในฤดูฝนของภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงให้ประชุมสงฆ์และทรงบัญญัติ
ให้พระภิกษุอยู่จาพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน
ชาวพุทธในประเทศไทย ได้มีการบาเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ตั้งแต่สมัย
สุโขทัย ดังความในศิลาจารึก หลักที่ ๑ ว่า “พ่อขุนรามคาแหงพ่อเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาว
แม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนางลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธา
ในพระพุทธศาสน์ ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน” และได้มีการบาเพ็ญกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษา
สืบทอดมาถึงปัจจุบัน แม้จะปฏิบัติแตกต่างกันบ้างตามยุคสมัย แต่หลักการใหญ่ที่ไม่แตกต่าง
กันคือ การทาบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา การปฏิบัติธรรม และการทา
ความดีอื่น ๆ
การอยู่จาพรรษามี ๒ อย่าง
๑. การจาพรรษาต้น เรียก ปุริมิกาวัสสูปนายิกา เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่า เดือน ๘
ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ ในปีที่มีอธิกมาส คือ เดือน ๘ สองหน ให้เลื่อนการจาพรรษาไป
เป็นวันแรม ๑ ค่าเดือน ๘ หลัง
๒. การจาพรรษาหลัง เรียก ปัจฉิมิกาวัสสูปนายิกา เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่าเดือน ๙
ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๒ ปัจจุบันไม่ค่อยมีปฏิบัติ จึงไม่เป็นที่รู้จักกัน
สัตตาหกรณียะ
การอยู่จาพรรษา มิใช่เป็นข้อห้ามเด็ดขาดว่า ให้พระภิกษุต้องอยู่ประจาตลอด
๓ เดือน โดยไม่สามารถเดินทางไปไหนได้เลย มีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุไปค้างคืน
ในสถานที่อื่นได้คราวละไม่เกิน ๗ วัน เรียกว่า สัตตาหกรณียะ หรือเหตุพิเศษ ๔ ประการ คือ
๑. เพื่อนสหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร และสามเณรีป่วย
หรือบิดามารดาป่วย ไปเพื่อดูแลพยาบาลได้
๒. ไปเพื่อจะยับยั้งเพื่อนสหธรรมิกที่อยากสึก มิให้สึกได้
๓. ไปเพื่อกิจของสงฆ์ เช่น กุฏีวิหารชารุดเสียหาย ไปเพื่อหาอุปกรณ์มาสร้างซ่อมแซมได้
๔. ไปเพื่อฉลองศรัทธาพุทธศาสนิกชน นิมนต์ไปในพิธีบาเพ็ญบุญได้ หรือไปด้วย
เหตุอื่น ๆ อนุโลมเข้ากับทั้ง ๔ ข้อข้างต้นข้อใดข้อหนึ่งก็ได้
พระภิกษุผู้มีกิจธุระ ประสงค์จะสัตตาหะไปกระทากิจนั้น พึงบอกลาพระภิกษุที่มีอยู่
และเปล่งวาจาแสดงเจตนาเป็นภาษามคธว่า อัตถิ เม กิจจัง อิมัสมิง สัตตาหัพภันตะเร
นิวัตติสสามิ แปลว่า ข้าพเจ้ามีกิจต้องไป จะกลับมาภายใน ๗ วัน หรือเพียงผูกใจอธิษฐาน
ด้วยตนเองก็ได้
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น