ศาสนพิธี แปลตามศัพท์ว่า พิธีทางศาสนา หมายถึง วิธี ระเบียบ แบบแผน หรือ
แบบอย่างที่ใช้ปฏิบัติทางศาสนา เมื่อนามาใช้ในพระพุทธศาสนา จึงหมายถึง ระเบียบแบบ
แผน หรือแบบอย่างที่พึงปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ศาสนพิธี เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกศาสนา แต่มีความแตกต่างกันไปตามความเชื่อและ
คาสอนของศาสนาหรือลัทธินั้น ๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง เมื่อมีศาสนาเกิดขึ้นแล้ว จึงมี
พิธีกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นตามมา เมื่อศาสนานั้น ๆ มีผู้นับถือมากขึ้น พิธีกรรมชนิดเดียวกัน
อาจมีการปฏิบัติเหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้างในศาสนิกชนต่างกลุ่มต่างพื้นที่ ต่อมา
นักปราชญ์ทางศาสนานั้น ๆ จึงได้วางระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติพิธีกรรมแต่ละพิธีไว้เป็น
แบบอย่าง เพื่อให้การปฏิบัติพิธีกรรมเรื่องนั้น ๆ เป็นไปในทางเดียวกัน เรียกชื่อว่า ศาสนพิธี
ท่านผู้รู้บางท่านเปรียบพิธีกรรมหรือศาสนพิธีว่าเป็นเหมือนเปลือก หรือกระพี้ที่ห่อหุ้มแก่น
ของต้นไม้ คือ แก่นแท้ของศาสนาไว้ แต่ความจริงทั้งสองส่วนนี้จะต้องอาศัยกันและกัน
กล่าวคือ หากไม่มีแก่นแท้ของศาสนา ศาสนพิธีก็อยู่ได้ไม่นาน หรือหากมีเฉพาะแก่นแท้ของ
ศาสนา แต่ไม่มีศาสนพิธี แก่นแท้ของศาสนาก็อยู่ได้ไม่นาน เช่นเดียวกับต้นไม้ที่มีแต่เปลือก
ไม่มีแก่น หรือมีแต่แก่น ไม่มีเปลือก ฉะนั้น ปัจจุบันได้มีจุดหักเหในการประกอบพิธีกรรม
ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา อาจทาให้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจแก่นแท้ของหลักธรรมไปยึดถือว่า
ศาสนพิธีนั้น คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา
ดังนั้น จึงต้องศึกษาทาความเข้าใจให้ถูกต้องว่า อะไรคือเปลือก อะไรคือแก่น แท้ของ
พระพุทธศาสนา เพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามความมุ่งหมายของหลักธรรมคาสอน
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น