วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ประเภทของผ้าป่า

ประเภทของผ้าป่า
พิธีทอดผ้าป่าในประเทศไทย มีปฏิบัติกันหลายแบบ ไม่จากัดกาลเหมือนพิธีถวาย
ผ้ากฐิน เดิมการทอดผ้าป่าไม่มีพิธีการอะไร ผู้มีจิตศรัทธาจัดสิ่งของควรแก่สมณบริโภค บรรจุในภาชนะ เช่น กระบุง กระจาด หรือถังสังกะสี ปัจจุบันใช้ถังพลาสติก ปักกิ่งไม้ตรงกลาง
แขวนผ้าผืนหนึ่งพาดกิ่งไม้ไว้ สมมุติว่าเป็นป่า ตั้งตามทางพระบิณฑบาตเดินผ่านไปมา หรือ
นาไปตั้งใกล้วัด ทาสัญญาณให้พระสงฆ์รู้ว่ามีผู้นาผ้าป่ามาถวาย เมื่อพระสงฆ์พิจารณานาไป
ใช้สอย ก็สาเร็จเป็นผ้าป่าทันที ปัจจุบัน ถวายผ้ากฐินเสร็จแล้ว โดยวัตถุประสงค์ให้ทางวัด
นาปัจจัยจากต้นผ้าป่าไปเป็นค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ในการเตรียมงานทอดกฐิน
ผ้าป่าสามัคคี เป็นผ้าป่านิยมจัดกันการทอดผ้าป่าดังกล่าว มีการเรียกชื่อตามวิธี
ปฏิบัติ ๓ ประเภทด้วยกัน คือ ผ้าป่าโยง ผ้าป่าหาง และผ้าป่าสามัคคี
ผ้าป่าโยง เป็นผ้าป่าที่พระพุทธศาสนิกชนมีภูมิลาเนาใกล้แม่น้าลาคลอง นิยมจัดกัน
ในสมัยก่อน ผู้มีจิตศรัทธาคนเดียวหรือเป็นหมู่คณะ ทาต้นผ้าป่าจานวนหลาย ๆ ต้น นาใส่
เรือลาใหญ่พร้อมคณะศรัทธา ใช้เรือยนต์ลากจูงไปตามแม่น้าหรือคลอง เมื่อถึงหน้าวัดจะ
จอดเรือ นาต้นผ้าป่าไปตั้งบนศาลาท่าน้า จุดประทัดสัญญาณ เพื่อให้พระภิกษุในวัดนั้นทราบ
จากนั้นลงเรือแล่นต่อไปยังวัดอื่น ๆ ตามริมน้า ปฏิบัติเช่นเดียวกันจนหมดต้นผ้าป่าทั้งลาเรือ
จึงเดินทางกลับ เมื่อพระภิกษุในวัดนั้น ได้ยินเสียงสัญญาณ มาพิจารณาผ้าป่านาไปใช้สอย
ถือว่าสาเร็จเป็นผ้าป่า การทอดผ้าป่าโยงนี้ ไม่มีพิธีถวายและพระภิกษุก็ไม่ต้องอนุโมทนา
ผ้าป่าหาง คาเต็มว่า ผ้าป่าหางกฐิน หรือ ผ้าป่าแถมกฐิน เป็นผ้าป่าที่เจ้าภาพทอดกฐิน
จัดผ้าป่าต้นหนึ่งประกอบพิธีถวายหลังกฐิน ในปัจจุบัน มีการจัดหาประธานกรรมการ และ
คณะกรรมการเป็นจานวนมาก เพื่อรวบรวมรายได้จากการทอดผ้าป่าสามัคคี นาไปใช้ก่อสร้าง
หรือบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัด อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ผ้าป่าพัฒนาการ พิธีทอดผ้าป่า
ต่อหน้าสงฆ์ เช่นผ้าป่าสามัคคี ต้องทาพิธีถวาย ด้วยการนาต้นผ้าป่าขึ้นตั้งบนโต๊ะหรือสถานที่
สมควร เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กล่าวคาบูชาพระ กราบพระ อาราธนาศีล
รับศีล กล่าวคาถวายผ้าป่า จบแล้วไม่ต้องยกประเคน นิมนต์พระสงฆ์พิจารณา (ชัก) ผ้าป่า
ประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา กรวดน้ารับพร เป็นอันเสร็จพิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น