การเตรียมงานทอดกฐินราษฎร์
เมื่อเจ้าภาพมีจิตศรัทธาจะทอดกฐิน เบื้องต้นต้องจองกฐินก่อน แจ้งความประสงค์
ให้วัดทราบว่าจะมาทอดกฐินวัดนี้ การจองกฐินควรทาหนังสือเป็นหลักฐาน แต่ถ้าเจ้าภาพกับ
ทางวัดคุ้นเคยกัน จะจองด้วยวาจาก็ได้ พร้อมนัดวันเวลาทาพิธีทอดกฐิน ทาป้ายติดประกาศ
ไว้หน้าวัด ให้พุทธศาสนิกชนรับทราบ จัดเตรียมไตรจีวรเป็นผ้ากฐิน ให้ถูกต้องตามประเภท
ของวัด คือ มหานิกายหรือธรรมยุต เพราะวัดธรรมยุตใช้ผ้าไตร ๒ ชั้น จัดเตรียมบริวารกฐิน
ตามความศรัทธา ก่อนวันทอดกฐิน จะมีพิธีฉลององค์กฐินและมหรสพสมโภชด้วยก็ได้ ขึ้นอยู่
กับเจ้าภาพ
ลาดับพิธีทอดกฐินราษฎร์
ครั้นถึงกาหนดวันทอดกฐิน เจ้าภาพพร้อมญาติมิตรและผู้เข้าร่วมพิธี นาผ้ากฐินและ
บริวารกฐินไปจัดตั้ง ณ สถานที่ตามกาหนด เช่น อุโบสถ ศาลาการเปรียญ อาราธนาพระสงฆ์
นั่งประจาอาสนะ ประธานหรือเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พิธีกรนาบูชาพระรัตนตรัย
อาราธนาศีล รับศีล ถวายผ้าห่มพระประธานมอบให้ไวยาวัจกรนาไปห่มพระประธานต่อจากนั้น
ประธานหรือพิธีกรกล่าวนาถวายกฐินยกผ้ากฐินประเคนพระสงฆ์รูปที่ ๒ ประเคนเทียนสวด
พระปาติโมกข์ (ถ้ามี) พระสงฆ์ประกอบพิธีกรานกฐิน คือ อปโลกน์องค์ครองกฐินฉลองศรัทธาเจ้าภาพ เสร็จแล้วองค์ครองออกไปครองผ้ากฐิน กลับมานั่งตามเดิม ประธานประเคนบริวาร
กฐินแด่องค์ครองกฐิน พระสงฆ์อนุโมทนา กรวดน้ารับพร เป็นอันเสร็จพิธีพระกฐินหลวง
กฐินหลวง แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ กฐินหลวงกาหนดเป็นงานพระราชพิธี
กฐินต้นและกฐินพระราชทาน
กฐินหลวงกาหนดเป็นงานพระราชพิธี หมายถึง พระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดาเนินไปทอดด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์
เช่น พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี นาไปทอดตามพระอารามหลวงสาคัญทั้ง ๑๖ พระอาราม
ในเขตกรุงเทพมหานคร ๑๒ วัด ได้แก่ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร-
ดุสิตวนาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดอรุณราชวราราม
วัดราชาธิวาสวิหาร วัดสุทัศนเทพวราราม วัดราชโอรสาราม ในต่างจังหวัด ๔ วัดได้แก่วัดนิเวศธรรมประวัติ วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดพระปฐมเจดีย์
จังหวัดนครปฐม วัดพระศรีรัตน มหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
การเสด็จพระราชดาเนินถวายพระกฐินหลวง
การเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐิน ถือเป็นพระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์
โดยตรง ซึ่งในปีหนึ่ง ๆ เมื่อถึงเทศกาลออกพรรษาแล้ว ราษฎรจะพากันไปทอดกฐินตามวัด
ต่าง ๆ พระมหากษัตริย์ก็มีวัดต้องเสด็จ ฯ ไปถวายผ้าพระกฐินด้วยเช่นกัน เรียกกันว่า
พระอารามหลวง มีจานวนมาก แต่ได้มีการสงวนพระอารามหลวงไว้ สาหรับพระมหากษัตริย์
เสด็จพระราชดาเนิน ไปถวายด้วยพระองค์เอง จานวน ๑๖ พระอาราม ดังปรากฏชื่อข้างต้น
การถวายผ้าพระกฐินทั้ง ๑๖ พระอารามนี้ พระมหากษัตริย์มิได้เสด็จพระราชดาเนิน
ไปทรงถวายทุกพระอาราม จะเสด็จพระราชดาเนินไปทรงถวายเพียง ๑ หรือ ๒ พระอาราม
เท่านั้น ส่วนพระอารามที่เหลือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน
พระองค์ หรือให้องคมนตรี นาไปถวายตามพระอารามดังกล่าว
การเตรียมงานพระกฐินหลวง
สานักพระราชวังจะออกหมายกาหนดการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าว่า พระมหากษัตริย์
เสด็จพระราชดาเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ พระอารามใด วัน เวลาใด สมัยก่อนกาหนด
วันแรม ๖ ค่า เดือน ๑๑ เป็นวันแรกในการเสด็จพระราชดาเนินทอดผ้าพระกฐิน แม้ปัจจุบัน
ก็ยังถือปฏิบัติอยู่ เพื่อให้ทางวัดเตรียมการรับเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐิน พร้อมวาง
ฎีกานิมนต์พระสงฆ์ ในวัดนั้นๆ ลงอนุโมทนากฐินด้วย และในหมายกาหนดการนั้น ถ้าทรง
พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปปฏิบัติราชกิจแทน จะแจ้งนามผู้แทนพระองค์ด้วย
รวมถึงการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ส่วนงานต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีดังกล่าว
เมื่อถึงกาหนดวันเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐิน สานักพระราชวังจะจัดเตรียม
ผ้าพระกฐินพร้อมทั้งเครื่องบริวารกฐินต่าง ๆ นาไปตั้งภายในพระอุโบสถ หรือสถานที่รับผ้า
พระกฐิน เตรียมสถานที่ประทับ เตรียมเครื่องบูชานมัสการ พร้อมทั้งปฏิบัติงานในความ
รับผิดชอบ เช่น ถวายผ้าพระกฐิน ถวายเทียนชนวนรับพระราชทานผ้าห่มพระประธาน ถวาย
พระเต้าน้า คือ อุปกรณ์สาหรับพระมหากษัตริย์ทรงหลั่งทักษิโณทก เจ้าหน้าที่กรมการศาสนา
เตรียมทาบัญชีพระสงฆ์จาพรรษาในพระอารามนั้น ๆ กราบทูลรายงานจานวนพระสงฆ์ฝ่ายเจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ เตรียมกังสดาลสาหรับตีให้สัญญาณวงปี่พาทย์ของ
กรมศิลปากร ซึ่งบรรเลงในช่วง องค์ครองกฐินเปลี่ยนผ้าครองใหม่ และเตรียมบุคลากร
ปฏิบัติงานอื่นๆ เช่น รับผ้าจากพระสงฆ์ นาไปครองผ้าใหม่ ขณะพระมหากษัตริย์ทรงประเคน
เครื่องบริวารพระกฐิน ก็รับต่อจากพระสงฆ์ การเสด็จพระราชดาเนินทรงบาเพ็ญพระราชกุศล
ถวายผ้าพระกฐินแต่ละพระอาราม มีกิจกรรมแตกต่างกันออกไป บางพระอารามมีพิธี
สดับปกรณ์ บางพระอารามมีพิธีพระราชทานของที่ระลึกให้แก่ผู้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศล
บางพระอารามเสด็จพระราชดาเนินทางรถยนต์ เรียกว่า สถลมารค บางพระอารามเสด็จ
พระราชดาเนินทางเรือ เรียกว่า ชลมารค ทั้งนี้ เนื่องด้วยพระราชประเพณีปฏิบัติต่อ
พระอารามนั้นๆ
ระเบียบพิธีถวายพระกฐินหลวง
เมื่อพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดาเนินถึงพระอารามหลวง ตามหมายกาหนดการ
ของสานักพระราชวัง วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ
ทรงรับผ้าพระกฐินจากเจ้าพนักงานศุภรัต ทูลเกล้า ฯ ถวายบริเวณประตูพระอุโบสถ ในขณะนี้
วงปี่พาทย์กรมศิลปากรบรรเลงเพลง ทรงอุ้มประครองผ้าพระกฐิน ทรงวางบนพานแว่นฟ้า
ตั้งอยู่ด้านหน้าพระสงฆ์รูปที่ ๒ ทรงรับเทียนชนวนจากเจ้าหน้าที่สนมพลเรือน ทรงจุดธูปเทียน
เครื่องนมัสการพระรัตนตรัย ทรงคืนเทียนชนวนแก่เจ้าหน้าที่ขณะนี้เจ้าหน้าที่กอง
ศาสนูปถัมภ์ จะให้สัญญาณ แก่คนตีกังสดาล คนถือกังสดาลจะตี ๑ ครั้ง ปีพาทย์ต้องหยุด
บรรเลงทันที แม้ยังไม่จบเพลง พระมหากษัตริย์ทรงกราบ เสด็จมายังพานแว่นฟ้าประทับยืน
เจ้าพนักงานภูษามาลาถวายคานับ เข้ารับผ้าห่มพระประธาน อธิบดีกรมการศาสนาถวาย
คานับ กราบทูลรายงานจานวนพระสงฆ์ อยู่จาพรรษา ณ พระอารามนั้น จบแล้วถวายคานับ
พระมหากษัตริย์ทรงอุ้มประคองผ้าพระกฐิน ประนมพระหัตถ์หันไปทางพระประธาน
ในพระอุโบสถ ทรงว่านะโม ๓ จบ หันมาทางชุมนุมสงฆ์ ทรงกล่าวคาถวายผ้าพระกฐิน
จบแล้วทรงวางผ้าพระกฐินบนพานแว่นฟ้า ทรงยกประเคนพระสงฆ์รูปที่ ๒ ต่อด้วยพานเทียน
พระปาติโมกข์ เสด็จไปประทับพระราชอาสน์ พระสงฆ์เริ่มทาสังฆกรรม อปโลกน์ยกผ้าให้
พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เป็นองค์ครองผ้าพระกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับเป็นองค์ครองผ้าพระกฐิน
ลงไปครองผ้าพระกฐิน ในขณะนี้วงปี่พาทย์บรรเลงเพลง เมื่อองค์ครองกฐินกลับเข้ามานั่งบน
อาสน์สงฆ์ เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์เคาะกังสดาลให้สัญญาณ วงปี่พาทย์หยุดบรรเลงทันทีลาดับนี้ พระมหากษัตริย์ เสด็จ ฯ จากพระราชอาสน์ ทรงรับเครื่องบริวารพระกฐิน
จากเจ้าหน้าที่ ทรงประเคนประธานสงฆ์จนครบ เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์รับเครื่องบริวาร
พระกฐินจากประธานสงฆ์นาออกไปวางในที่อันควร เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จฯ ไปประทับ
พระราชอาสน์ เจ้าหน้าที่เชิญพระเต้าน้าเข้าไปถวาย พระสงฆ์ตั้งพัดยศถวายอนุโมทนา ถวาย
อดิเรกจบแล้ว ทรงกราบพระประธาน ทรงลาประธานสงฆ์ เสด็จพระราชดาเนินกลับ เป็น
อันเสร็จพิธี
เนื่องจากพระมหากษัตริย์ ทรงมีพระประสงค์ในการบาเพ็ญพระราชกุศลเป็นกรณี
พิเศษ เพื่อพระราชทานกุศลอุทิศแด่พระราชอุปัชฌายาจารย์ จึงจัดพิธีสดับปกรณ์เกิดขึ้น
ปัจจุบันมีเพียง ๓ พระอาราม คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในการประกอบพิธีดังกล่าว ทาหลังถวายผ้าพระกฐินเสร็จ
สาหรับวัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระเชตุพนฯ พระสงฆ์สดับปกรณ์จะลงไปครองผ้าพร้อมกับ
องค์ครองกฐิน ส่วนวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แต่เดิมประกอบพิธีสดับปกรณ์ในพระวิหาร
ต่อมาเห็นว่าเป็นการไม่สะดวก จึงอัญเชิญพระอัฐิ สมเด็จพระสังฆราชประกอบพิธีใน
พระอุโบสถแทน พิธีพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้บริจาค โดยเสด็จพระราชกุศล สุดแต่
พระอารามใดจัดให้มี ต้องกราบทูลให้ทรงทราบเป็นการล่วงหน้า เมื่อถึงวันเสด็จพระราช
ดาเนินถวายผ้าพระกฐิน จะเชิญผู้ให้การอุปถัมภ์วัดเข้ารับพระราชทาน ของที่ระลึก ภายหลัง
การถวายผ้าพระกฐินเรียบร้อยแล้ว
กฐินต้น หมายถึง พระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดาเนิน
ไปทอด เป็นการส่วนพระองค์ ณ วัดราษฎร์ ตามพระราชอัธยาศัย ส่วนใหญ่เป็นวัดในพื้นที่
ต่างจังหวัดไม่เคยเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินมาก่อนมีประชาชนเคารพศรัทธา
เลื่อมใสมาก และประชาชนท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ระเบียบพิธีถวายพระกฐินต้น
พระกฐินต้น วิธีปฏิบัติในการถวายเหมือนกับพระกฐินหลวงเริ่มมีชื่อเรียกตั้งแต่
เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกกัน
โดยเทียบเคียงการเสด็จประพาสบ้าง อาทิ การเสด็จประพาสหัวเมือง พ.ศ. ๒๔๔๗ ทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดแบบง่าย ๆ พอพระทัยประทับที่ใด ก็ประทับ ทางหัวเมืองไม่ต้อง
เตรียมสถานที่ประทับไว้ การเสด็จประพาสลักษณะนี้ เรียกว่า เสด็จประพาสต้น คราวหนึ่ง
เสด็จประพาสทางน้า มีรับสั่ง ให้จัดหาเรือมาดมาเพิ่มอีกลาหนึ่ง แจวตามเรือพระที่นั่ง มิให้
ใครรู้จักพระองค์ เรือมาดลานั้น เรียกว่า เรือต้น ดังนั้น พระกฐินที่เสด็จฯ ไปถวายเป็นการ
ส่วนพระองค์ จึงเรียกว่า พระกฐินต้น เหมือนเรียกชื่อเรือมาดลาดังกล่าว แม้ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ปัจจุบัน ก็เคยเสด็จพระราชดาเนินทรงถวายพระกฐิน
ต้นอยู่หลายครั้ง
กฐินพระราชทาน หมายถึง กฐินทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่หน่วยงาน
ราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การ สมาคม มูลนิธิ หรือเอกชน นาไปทอด ณ พระอารามหลวง
ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร โดยขอรับพระราชทานผ่าน
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อถึงเขตกฐินกาลแล้ว กรมการศาสนารวบรวมบัญชี
รายนามผู้ได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินนาไปถวายพระสงฆ์ ณ พระอารามหลวงทั่ว
พระราชอาณาจักรนั้นนาความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ขอพระราชทานถวายพระราชกุศลในการถวายผ้าพระกฐินประจาปีต่อไป
พระกฐินพระราชทาน ถวายได้เฉพาะวัดเป็นพระอารามหลวงทั่วประเทศ การขอรับ
พระราชทานและการดาเนินการต่าง ๆ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมศาสนา เช่น การรับจอง
การจัดหาผ้าพระกฐินและเครื่องบริวาร การทาบัญชีรายนามผู้ขอรับพระราชทาน การทาบัญชี
เงินทอดกฐิน การกราบทูลถวายพระราชกุศล รวมถึงงานธุรการต่าง ๆ พระกฐินพระราชทานนี้
ทางการจะจัดเครื่องพระกฐินมอบแก่ผู้ขอรับพระราชทาน ๑ ชุดต่อ ๑ พระอาราม เมื่อรับไป
แล้ว เจ้าภาพจะไปจัดหาบริวารพระกฐินอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกก็ได้ แต่ไม่นิยมให้จัดหาในลักษณะ
การเรี่ยไร ผู้ขอรับพระราชทานต้องประสานกับทางวัด ถึงวันเวลา ในการไปทอดให้แน่นอน
เพื่อทางวัดจะได้เตรียมความพร้อมในการรับพระกฐินและสมพระเกียรติพระมหากัตริย์
การเตรียมงานกฐินพระราชทาน
การทอดกฐินพระราชทาน ควรทอดหลังวันเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐิน
ของพระมหากษัตริย์ ๑ วัน เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะเตรียมการถวายกฐินพระราชทาน
ตั้งแต่จัดโต๊ะถวายราชสักการะ วางผ้าพระกฐินหน้าพระอุโบสถ ตั้งโต๊ะหัวอาสน์สงฆ์
หน้าพระสงฆ์รูปที่ ๒ วางพานแว่นฟ้าเปล่าและพานเทียนพระปาติโมกข์บนโต๊ะนั้น เตรียม
ธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พร้อมเทียนชนวน ชุดกรวดน้า เครื่องบริวารพระกฐิน และไทยธรรมสาหรับถวายพระสงฆ์ทั่วไป นาไปวางภายในพระอุโบสถ ท้ายอาสน์สงฆ์ จนเป็น
ที่เรียบร้อย
ระเบียบพิธีถวายกฐินพระราชทาน
เมื่อถึงเวลาตามกาหนด ประธานพิธีเดินทางถึงพระอุโบสถ เข้าไปยังโต๊ะวางผ้า
พระกฐิน ทาความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ เปิดกรวยดอกไม้
ทาความเคารพอีกครั้งหนึ่ง ยกผ้าไตรอุ้มขึ้นประคอง ยืนตรง ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญ
พระบารมี จบแล้วเดินเข้าสู่พระอุโบสถ วางผ้าพระกฐินบนพานแว่นฟ้า หน้าพระสงฆ์รูปที่ ๒
รับเทียนชนวนจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กราบพระรัตนตรัย ๓ ครั้ง มายังโต๊ะวางผ้า
พระกฐิน หยิบผ้าห่มพระประธานมอบให้ไวยาวัจกร อุ้มประคองผ้าพระกฐิน ประนมมือหัน
ไปทางพระประธาน ว่านะโม ๓ จบ หันมาทางชุมนุมสงฆ์ กล่าวคาถวายผ้าพระกฐิน จบแล้ว
วางผ้าพระกฐินบนพานแว่นฟ้า ประเคนพระสงฆ์รูปที่ ๒ต่อด้วยพานเทียนพระปาติโมกข์
ไปนั่ง ณ สถานที่จัดเตรียมไว้ พระสงฆ์กระทา อปโลกนกรรมและญัตติทุติยกรรม องค์ครอง
กฐินลงไปครองผ้าใหม่ กลับมานั่งบนอาสน์สงฆ์ ประธานรับบริวารพระกฐินถวายองค์ครอง
กฐินผู้มาร่วมพิธีถวายไทยธรรมพระสงฆ์ครบทุกรูปเจ้าหน้าที่ประกาศยอดเงินบารุงพระอาราม
ประธานประเคนใบปวารณา พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานกรวดน้าถวายเป็นพระราชกุศล
พระสงฆ์ถวายอดิเรก ขณะพระสงฆ์ถวายอดิเรก ไม่ต้องประนมมือ ลดมือลง เพราะการถวาย
อดิเรกเป็นการถวายพระพรแด่พระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ เมื่อพระสงฆ์รูปที่ ๒ รับภวตุ
สัพพะมังคะลัง จึงประนมมือรับพรต่อไป จบแล้วกราบพระประธานในพระอุโบสถ กราบลา
พระสงฆ์ เป็นอันเสร็จพิธี
กฐินพระราชทานเป็นกรณีพิเศษ
นอกจากกฐินพระราชทานดังกล่าวแล้ว ในปัจจุบันมีกฐินพระราชทาน ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ เพิ่มขึ้นอีก ๒ ประเภท คือ
๑. กฐินพระราชทานแก่วัดไทยในต่างประเทศ คือ กฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชทานแก่วัดไทยในต่างประเทศ จานวน ๒๐ วัด เป็นประจาตลอดไป โดยเจ้าภาพ
ไม่ต้องทาเรื่องกราบทูลขอพระราชทานทุกปี เหมือนกฐินพระราชทานสาหรับพระอารามหลวงในประเทศ กรมการศาสนา จะเป็นผู้รับผิดชอบจัดหาผ้าไตรพระราชทาน มอบแก่เจ้าภาพ
กฐินเพื่อดาเนินการถวายตามวัดได้รับพระราชทานต่อไป
๒. กฐินที่พระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทานหรือประทานแก่ผู้ขอรับไปทอดตาม
วัดราษฎร์ ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ปัจจุบันจะมีผู้ขอรับพระราชทานหรือขอรับประทาน
ไปทอดหลายวัด เป็นการเพิ่มพูลพระราชกุศลโดยยิ่งขึ้นไป
ระเบียบพิธีถวายผ้าพระกฐินทั้ง ๒ ประเภทดังกล่าว ปฏิบัติเช่นเดียวกับการทอดกฐิน
พระราชทาน สามารถปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะแก่สถานที่และโอกาส โดยอนุโลม
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น