ความเป็นมาของประเพณีการทอดกฐิน
พุทธศาสนิกชนชาวไทยทุกระดับชั้น ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์
ขุนนาง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ถือกันว่าการถวายผ้ากฐินหรือทอดกฐิน เป็นบุญใหญ่
มีอานิสงส์มาก ทั้งเป็นการทานุบารุงพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่ง จึงได้มีการจัดพิธีถวาย
ผ้ากฐินเป็นงานใหญ่ ทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังความ
ในศิลาจารึกว่า
“คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคาแหง
เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย
ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออก
พรรษาเดือนหนึ่งจึงแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย พนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่ง
มีหมอนนอน บริพารกฐินโอยทาน แล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสวดญัตติกฐิน ถึงอรัญญิกพู้น
เมื่อจะเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อรัญญิกพู้น เท้าหัวลานดาบงดากลอย ด้วยเสียงพาทย์
เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน
เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เทียนญอมคนเสียดกันเข้าดูท่านเผาท่านเทียนเล่นไฟ
เมืองสุโขทัยนี้ดังจักแตก”
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ประเพณีการทอดกฐินนี้ได้ปฏิบัติ
สืบต่อกันมา มิได้ขาดทั้งเป็นของประชาราษฎร์และของหลวงกระทั่งเลยล่วงมาถึงสมัย
รัตนโกสินทร์ ถือเป็นงานบุญงานกุศลยิ่งใหญ่ นอกจากมีผ้าเป็นองค์กฐินแล้วจัดเครื่องบริวาร
กฐินเพิ่มอีกมาก เช่น บาตร ที่นอน หมอน มุ้ง กาน้าชา กระติกน้าร้อนกระเป๋า ชาม ช้อน
และเครื่องมือโยธา เช่น ค้อน เลื่อย สิ่ว ตะไบ คีม กบไสไม้ ไม้กวาด สรุปคือ เครื่องกิน
เครื่องใช้ เครื่องมือ ครบบริบูรณ์พร้อมจตุปัจจัยไทยธรรมถวายร่วมกับองค์กฐินพิธีทอดกฐิน
แต่ละวัดเจ้าภาพนิยมเชิญญาติมิตรและผู้เคารพนับถือไปร่วมอนุโมทนาบุญโดยทั่วกัน
ในศาสนพิธีนี้ จะนากฐินราษฎร์มากล่าวเป็นลาดับแรก เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว
ชาวพุทธ ทุกคนเคยไปร่วมพิธีทอดกฐินกันโดยมากส่วนกฐินหลวงจะกล่าวในลาดับถัดไปกฐินราษฎร์
กฐินราษฎร์แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ มหากฐินและจุลกฐิน
มหากฐิน เป็นกฐินส่วนบุคคล เจ้าภาพเป็นคหบดี มีศรัทธาออกทุนทรัพย์ของตน
และครอบครัวเป็นหลักในการทอดกฐิน นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า กฐิน แต่ถ้าผู้มีจิตศรัทธาหลาย
คนร่วมกันออกทุนทรัพย์และร่วมกันทอดกฐิน เรียกว่า กฐินสามัคคี
การทาบุญกฐินก่อให้เกิดอานิสงส์ทั้งแก่ ผู้ทอดและพระสงฆ์ สาหรับพระสงฆ์ จะได้รับ
อานิสงส์ตามพระวินัยว่า พระภิกษุกรานกฐินแล้ว สามารถเที่ยวไปไม่ต้องบอกล ไม่ต้องถือ
ไตรจีวรครบสารับ ฉันอาหารคณโภชน์ปรัมปรโภชน์ได้ ใช้สอยอดิเรกจีวรเก็บจีวรส่วนเกิน
ได้ตามปรารถนา เมื่อมีลาภเกิดขึ้นในวัดตกเป็นของพระภิกษุผู้จาพรรษกาลและกรานกฐิน
แล้ว สาหรับเจ้าภาพทอดกฐินเชื่อกันว่าได้บุญมาก เพราะในปีหนึ่งมีเพียงฤดูกาลเดียวคือ
ฤดูกาลทอดกฐินเท่านั้น เป็นผลให้เจ้าภาพมีจิตใจแจ่มใสอิ่มในบุญกุศลนอกจากนี้ยังสามารถ
ขจัดความโลภในใจทางอ้อมอีกด้วย
ประเพณีการทอดกฐิน หลังจากทอดกฐินเสร็จแล้ว เจ้าภาพนิยมปักธงรูปจระเข้
ไว้ตามวัด เพื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า วัดนี้มีคนทอดกฐินแล้ว การปักธงรูปจระเข้เป็นสัญลักษณ์
ในเทศกาลทอดกฐิน มีตานานเล่าขานไว้ ๒ ทางด้วยกัน
เรื่องแรกเล่าว่า สมัยก่อน การเดินทางต้องอาศัยดูดาวเป็นสาคัญ เช่น ยกทัพตอน
ใกล้รุ่ง ต้องดูดาวจระเข้ขึ้นตอนใกล้รุ่ง การทอดกฐินก็เหมือนกัน มีการตระเตรียมมาก
บางครั้งไปทอดตามวัดไกลบ้าน ต้องเดินทางไกล ฉะนั้น การดูเวลาต้องอาศัยดูดาว พอดาว
จระเข้ปรากฏบนฟ้า ก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่างที่วัดพอดี ต่อมามีผู้คิดทาธงในงานกฐิน ชั้นต้น
คงทาธงทิวประดับให้งาม ภายหลังหวังใช้เป็นเครื่องหมายทอดกฐิน จึงทาเป็นธงรูปจระเข้ขึ้น
อีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า ในการแห่กฐินทางเรือของอุบาสกคนหนึ่ง จระเข้ตัวหนึ่งอยากได้
บุญ อุตสาห์ว่ายน้าตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดหมดกาลังก่อนว่ายตามต่อไปไม่ไหวจึง
ร้องบอกอุบาสกว่าตนไม่สามารถว่ายตามไปร่วมการกุศลต่อไปได้ ช่วยเขียนรูปของตนเป็น
สักขีพยานว่า ได้ไปร่วมการกุศลด้วย อุบาสกนั้น จึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็น
ครั้งแรก ภายหลังมีการทาธงรูปจระเข้ปักในงานกฐินสืบต่อกันมา
จุลกฐิน เป็นกฐินอย่างหนึ่ง พุทธศาสนิกชนทากันขึ้นมาเป็นพิเศษ ต่างจากกฐิน
ทั่วไป กล่าวคือเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้ายมาปั่นทอเป็นผืนกะตัดเย็บย้อมทาเป็นผ้ากฐินให้เสร็จ
ในวันเดียว จุลกฐิน จึงหมายถึง ผ้าทาสาเร็จมาจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ในบางท้องถิ่นเรียกว่ากฐินแล่น แปลว่ารีบด่วน เพราะจุลกฐินต้องเร่งทาให้เสร็จภายในวันนั้น มักทาในระยะจวน
หมดเขตการทอดกฐิน เช่น ในวันขึ้น ๑๔ ค่า ๑๕ ค่า เดือน ๑๒
กฐินอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า กฐินโจร หรือ กฐินโจล เป็นกฐินที่พุทธศาสนิกชน
ทาขึ้น ในวันจวนจะหมดเขตกฐินกาล ราววันขึ้น ๑๔ ค่า ๑๕ ค่า เดือน ๑๒ ด้วยการสืบหาวัด
ยังไม่ได้รับการทอดกฐิน และจัดหาผ้ากฐินไปทอด เรียกว่า กฐินตก กฐินตกค้าง หรือ กฐินโจร
เพราะเป็นวัดตกค้างไม่มีผู้ใดมาทอดกฐิน ตามธรรมดาการทอดกฐิน ต้องบอกกล่าวพระภิกษุสงฆ์
ในวัดนั้นให้ทราบล่วงหน้าจะได้เตรียมการต้อนรับและเพื่อมิให้มีการทอดกฐินซ้า แต่กฐินโจร
ไม่มีการบอกล่วงหน้า จู่ ๆ ก็นาไปทอดเลย เป็นการจู่โจมไม่ให้พระสงฆ์รู้ล่วงหน้า เหมือนการ
ปล้นของโจร ส่วนวิธีการทอดนั้น เหมือนการทอดกฐินทั่วไป เจ้าภาพกล่าวคาถวายผ้ากฐิน
ถวายบริวารกฐิน พระสงฆ์อนุโมทนา กรวดน้ารับพร เป็นอันเสร็จพิธี การทอดกฐินด้วยวิธีนี้
ถือกันว่ามีอานิสงส์มากกว่ากฐินอื่น เพราะเป็นการอนุเคราะห์พระสงฆ์ให้มีโอกาสกรานกฐิน
ตามพระวินัย
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น