ความหมายและเหตุเกิดการทอดกฐิน
กฐิน เป็นภาษามคธ แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สาหรับขึงผ้าให้พระภิกษุตัดเย็บ
จีวรได้สะดวกขึ้น เนื่องจากสมัยก่อน เครื่องมือใช้เย็บผ้าไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน การเย็บ
จีวรเป็นการเย็บผ้าหลาย ๆ ชิ้นต่อกัน และประสานกันให้มีรูปเหมือนกระทงนา จึงต้องอาศัย
ไม้สะดึงช่วยในการขึงผ้าให้ตึง ดังนั้น ผ้าที่เย็บโดยอาศัยไม้สะดึงนี้ จึงเรียกว่า ผ้ากฐิน และ
ยังใช้เรียกผ้ากฐิน ตามความหมายเดิมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีผ้าตัดเย็บสาเร็จรูป
โดยไม่ต้องอาศัยไม้สะดึง ก็ตาม นอกจากนี้ คาว่า กฐิน ยังมีความหมายแตกออกไปอีก
หลายอย่าง พอสรุปได้ ดังนี้
๑. เป็นชื่อของกรอบไม้สะดึง สาหรับขึงผ้าตัดเย็บสังฆาฏิ จีวร สบง ของพระสงฆ์
๒. เป็นชื่อของผ้าถวายแก่สงฆ์ เรียกว่า ผ้ากฐิน
๓. เป็นชื่อสังฆกรรมในพิธีรับกฐิน เรียกว่า กฐินกรรม
๔. เป็นชื่อช่วงเวลาตั้งแต่แรม ๑ ค่า เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๒ เรียกว่า
กฐินกาล
เรื่องกฐิน เดิมเป็นของสงฆ์โดยเฉพาะ ภิกษุสงฆ์ต้องไปหาผ้ามาจากสถานที่ต่าง ๆ
ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของด้วยวิธีบังสุกุลนาผ้านั้นมาเย็บย้อมใช้สอยเองต่อมาพุทธศาสนิกชนมี
จิตศรัทธานาผ้ามาถวาย พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตผ้าที่พุทธศาสนิกชนนามาถวายและให้
กรานเป็นกฐินได้ เป็นเหตุให้พุทธศาสนิกชน ได้บาเพ็ญกุศลการทอดกฐินสืบมาตามลาดับคาว่า ทอด คือ นาไปวาง การทอดกฐิน จึงหมายถึง การนาผ้ากฐินไปวางต่อหน้า
พระสงฆ์จานวนอย่างน้อย ๕ รูป โดยมิได้ตั้งใจถวายพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นการเฉพาะ
ในพระไตรปิฎก ตอนว่าด้วยกฐินขันธกะ ได้กล่าวมูลเหตุการทอดกฐินไว้ว่า
สมัยหนึ่งพระภิกษุชาวเมืองปาฐา ๓๐ รูป ประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับ
อยู่ณพระวิหารเชตวันซึ่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายประจาเมืองสาวัตถีชวนกัน
เดินทางมา พอถึงเมืองสาเกต ห่างจากเมืองสาวัตถี ๖ โยชน์ (๙๖ กิโลเมตร) จวนถึงวัน
เข้าพรรษาจะเดินทางต่อไปก็ไม่ทันจึงต้องจาพรรษาที่เมืองสาเกตระหว่างจาพรรษาก็ร้อนใจ
จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้วรีบเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทันที
ขณะนั้นฝนยังตกชุกอยู่พื้นดินเต็มไปด้วยน้าหล่มเลนทาให้จีวรเปรอะเปื้อนพอมาถึงเมืองสาวัตถี
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธองค์ตรัสถามถึงการเดินทางและความยากลาบากอื่น ๆ
ภิกษุเหล่านั้นทูลให้ทรงทราบถึงความกระวนกระวายจะมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์และรีบเดินทาง
มาจนจีวรเปรอะเปื้อนไปด้วยโคลนตม พระพุทธองค์ทรงยกขึ้นเป็นเหตุและมีพุทธานุญาต
ให้มีการถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นบุคคล
แรกในพระพุทธศาสนา ขอรับเป็นเจ้าภาพผ้ากฐินถวายพระภิกษุชาวเมืองปาฐาทั้ง ๓๐ รูป
เหล่านั้น
ประเภทของกฐิน
กฐิน แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ
๑. กฐินหลวง คือ กฐินพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดาเนินไปทอดถวายด้วย
พระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานแก่ผู้ขอรับพระราชทาน
นาไปทอด ณ พระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วประเทศ
๒. กฐินราษฎร์ คือ กฐินผู้มีจิตศรัทธานาไปทอด ณ วัดราษฎร์
คุณสมบัติของวัดรับกฐินได้
๑. มีพระภิกษุจาพรรษาอย่างน้อย ๕ รูป
๒. พระภิกษุต้องอยู่จาพรรษาครบไตรมาสหรือ ๓ เดือน
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น