การเวียนนาครอบโบสถ์
ในการเวียนนาครอบอุโบสถ ๓ รอบ เป็นการเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา เรียกว่า
ประทักษิณ เป็นการแสดงความเคารพแบบชาวอินเดียในสมัยพุทธกาล นาคเดินด้วยความ
สารวม ในรอบที่ ๑ ภาวนาว่า พุทโธ ๆ รอบที่ ๒ ภาวนาว่า ธัมโม ๆ รอบที่ ๓ ภาวนาว่า
สังโฆ ๆ เพื่อให้จิตแน่วแน่ในพระรัตนตรัย ไม่ควรขี่คอคนอื่น และผู้ร่วมขบวนแห่ไม่ควรนา
สุราของมึนเมามาดื่มในขบวนแห่ เพราะอุโบสถเป็นเขตพุทธาวาส เป็นสถานที่ประทับพระพุทธเจ้า พระประธานถือเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า การขี่คอ การดื่มของมึนเมา
ทุกชนิด ถือเป็นการแสดงอาการไม่เคารพต่อพระพุทธเจ้า ปัจจุบันในกรณีไม่มีการจัดงานใหญ่
ไม่นิยมจัดดนตรี เครื่องประโคม มีขบวนแห่เฉพาะเจ้าภาพ และญาติมิตร เดินเวียนโบสถ์
ด้วยความสงบ นับว่าเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง
พิธีวันทาเสมานานาคเข้าโบสถ์
เมื่อแห่นาคเวียนประทักษิณอุโบสถครบ ๓ รอบแล้ว ขบวนแห่นาสิ่งของถือมาเข้า
ไปตั้ง ในอุโบสถให้เรียบร้อย ส่วนนาคก่อนเข้าอุโบสถ ต้องวันทาเสมาก่อน โดยนั่งคุกเข่า
หน้าเสมาด้านหน้าอุโบสถ ประนมมือ ถือดอกไม้ธูปเทียน กล่าวคาวันทาเสมา บางแห่งจัด
ดอกไม้ธูปเทียน อีกชุดหนึ่งสาหรับให้นาควันทาเสมา ส่วนชุดในขบวนแห่ ใช้สาหรับจุดบูชา
พระรัตนตรัยในอุโบสถ การวันทาเสมา เป็นการแสดงความเคารพต่อสถานที่ อันเป็นปูชนียสถาน
เพื่อขอขมาโทษต่อ พระรัตนตรัยหรือสถานที่นั้น หากตนเคยทาผิดหรือล่วงเกิน ทั้งเจตนา
และไม่เจตนา เพราะนาคต้องอาศัยสถานที่นั้นประกอบพิธีอุปสมบท ยกฐานะเป็น
พระคือผู้ประเสริฐ
เมื่อวันทาเสมาแล้ว ก่อนเข้าอุโบสถให้นาคโปรยทานด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้บวช
สละทรัพย์สินภายนอกแล้ว ไม่อาลัยในทางโลก พร้อมจะดารงเพศสมณะ ดาเนินชีวิตใน
ทางธรรม การนานาคเข้าอุโบสถ มีคติเป็น ๒ อย่าง คือ อย่างแรกพ่อแม่นานาคเข้าอุโบสถ
มีความหมายว่า พ่อแม่นานาคไปมอบแก่พระสงฆ์ เพื่อให้พระอุปัชฌาย์ทาการอุปสมบทให้
อย่างที่ ๒ คือ นาคนาพ่อแม่เข้าสู่อุโบสถ มีความหมายว่า ลูกชายนาพ่อแม่เข้าสู่ประตู
พระพุทธศาสนา ตามคากล่าวว่า เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์
นาคเข้าสู่อุโบสถแล้ว นาดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กลับมานั่งกลางอุโบสถ
ถ้านาคยังไม่ได้ขอขมาโทษต่อบิดามารดา จะขอขมาช่วงนี้ก็ได้ จากนั้นรับผ้าไตรจากบิดามารดา
เข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ขอบรรพชา ตามพิธีบรรพชาข้างต้น
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น