ระเบียบพิธีบรรพชาสามเณร
ก่อนถึงเวลา ผู้ขอบรรพชาควรปลงผม โกนขนคิ้ว โกนหนวดให้เรียบร้อย ถึงเวลา
บรรพชา จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กราบด้วยเบญจางประดิษฐ์ ๓ ครั้ง รับผ้าไตรจาก
บิดามารดาหรือผู้ปกครอง เข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ ถวายเครื่องสักการะพระอุปัชฌาย์
กราบ ๓ ครั้ง อุ้มผ้าไตรระหว่างแขน ประนมมือ กล่าวคาขอบรรพชา คาขอบรรพชามี ๒ แบบ
คือ อุกาสะ และ เอสาห จะกล่าวแบบใด พระอุปัชฌาย์เป็นผู้กาหนดให้ท่องพระอุปัชฌาย์
รับผ้าไตรไปถือไว้ ให้โอวาท และสอนตจปัญจกกัมมัฏฐาน โดยอนุโลมและปฏิโลม เสร็จแล้ว
มอบผ้าไตรให้นุ่งห่ม ผู้ขอบรรพชาครองผ้าเรียบร้อยแล้ว กลับเข้ามาหาพระอุปัชฌาย์
นั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาขอสรณคมน์และศีล ๑๐ พระอุปัชฌาย์ว่านะโม ๓ จบ ต่อด้วย
สรณคมน์และศีล ๑๐ ผู้ขอบรรพชาเปล่งวาจาตามไปทุกบท จบแล้วกราบพระอุปัชฌาย์
๓ ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี
สามเณร แปลว่า เหล่ากอของสมณะ จัดเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๕ ประเภท
ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี รวมเรียกว่า สหธรรมิก ปัจจุบัน
ในประเทศไทยเหลืออยู่เพียงภิกษุและสามเณรเท่านั้น สามเณรต้องรักษาศีล ๑๐ ข้อ คือ
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการลักขโมย
๓. เว้นจากการเสพกาม
๔. เว้นจากการพูดโกหก พูดคาหยาบ พูดยุยงให้เขาแตกกัน และพูดเรื่องไร้สาระ
๕. เว้นจากการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมาต่าง ๆ
๖. เว้นจากการฉันอาหารในเวลาวิกาล หลังจากเที่ยงวันเป็นต้นไป
๗. เว้นจากการฟ้อนรา ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่น
๘. เว้นจากการตกแต่งร่างกาย ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยของหอม
๙. เว้นจากการนั่งนอนบนเตียงฟูกตั่งสูงใหญ่ ภายในยัดนุ่นสาลี มีลวดลายวิจิตร
งดงาม
๑๐. เว้นจากการรับเงินและทอง รวมทั้งของมีค่าอื่น ๆ
ถ้าสามเณรทาผิดศีลทั้ง ๑๐ ข้อนี้ เรียกว่า ศีลขาด หมายถึง ขาดจากความเป็นสามเณร
แต่สามเณรสามารถสมาทานศีล ๑๐ ข้อนั้นอีกได้ เรียกว่า ต่อศีล นอกจากนั้นสามเณรยังต้อง
ศึกษาและปฏิบัติตามเสขิยวัตร ๗๕ ข้อเช่นเดียวกับพระภิกษุ เพื่อฝึกกิริยามารยาทให้เรียบร้อย
เป็นที่เจริญศรัทธาเกิดความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น