หมวด ๑๐
Ø
มิจฉัตตะ ๑๐ ความเป็นสิ่งที่ผิด
๑. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด ๖. มิจฉาวายามะ พยายามผด
๒. มิจฉาสังกัปปะ ด˚าริผด ๗. มิจฉาสติ ระลึกผิด
๓. มิจฉาวาจา วาจาผิด ๘. มิจฉาสมาธิ ตั้งจิตผด
๔. มิจฉากัมมันตะ การงานผิด ๙. มิจฉาญาณะ รู้ผิด
๕. มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพผิด ๑๐. มิจฉาวิมุตติ พ้นผิด
(ปี 52) มิจฉัตตะคืออะไร มีอะไรบ้าง มิจฉาวายามะได้แก่พยายามผิดอย่างไร?
ตอบ ความเป็นสิ่งที่ผิด มี |
๑. มิจฉาทิฏฐิ |
๖. มิจฉาวายามะ |
|
๒. มิจฉาสังกัปปะ |
๗. มิจฉาสติ |
|
๓. มิจฉาวาจา |
๘. มิจฉาสมาธิ |
|
๔. มิจฉากัมมันตะ |
๙. มิจฉาญาณะ |
|
๕. มิจฉาอาชีวะ |
๑๐. มิจฉาวิมุตติ |
มิจฉาวายามะ ได้แก่ พยายามในทางยังบาปธรรมให้เกิดขึ้นและให้เจริญ และในทางยังกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้นและให้เสื่อมสิ้น ฯ
(ปี 43) จงอธิบายค˚าต่อไปนี้ ก. มิจฉาสมาธิ ข. สัมมาสมาธิ
ตอบ ก. มิจฉาสมาธิ คือการตั้งจิตไว้ผิด โดยน˚าสมาธิที่ได้นั้นไปใช้ในผิดทาง เช่น สะกดจิตในทางหาลาภให้แก่ตนเอง ในทางหาผลประโยชน์ ท˚าให้ ผู้อื่นหลงงมงายในวิชาความรู้ ในทางให้ร้ายผู้อื่นและในทางน˚าให้หลง ฯ
ข. สัมมาสมาธิ คือการตั้งจิตไว้ชอบในองค์ฌาน ๔ หรือมีนัยตรงกันข้ามกับ มิจฉาสมาธิข้างต้น
Ø
บารมี ๑๐ ปฏิปทาอันยิ่งยวด หรือคุณธรรมที่ประพฤติอย่างยิ่งยวด ได้แก่ ความดีที่บ˚าเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสด ฯ
๑. ทานบารมี การให้ ๖. ขนติบารมี ความอดทนอดกลนั้
๒. สีลบารมี การรักษาศีลให้เป็นปกติ ๗. สัจจบารมี ความตั้งใจจริง การท˚าจริง พูดจริงและความจริงใจ
๓. เนกขัมมบารมี การออกจากกาม ๘. อธิษฐานบารมี ความตั้งใจมั่น
๔. ปัญญาบารมี ความรอบรู้ ๙. เมตตาบารมี ความรักใคร่ ความปรารถนาดี
๕. วิริยบารมี ความเพียร ๑๐. อุเบกขาบารมี ความวางเฉย
(ปี 64, 62, 60, 49) บารมี คืออะไร? อธิษฐานบารมี คือการท˚าอย่างไร?
ตอบ ปฏิปทาอันยิ่งยวด หรือคุณธรรมที่ประพฤติอย่างยิ่งยวด ได้แก่ ความดีที่บ˚าเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลเป้าหมายสูงสุด ฯ คือความตั้งใจมั่นตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระท˚าของตนไว้แน่นอนและด˚าเนินตามนั้นอย่างแน่วแน่ ฯ
(ปี 57) ผู้บริจาคทานระดับใดจัดเป็นทานบารมี ทานอุปบารมี และทานปรมัตถบารมี?
ตอบ บริจาคพัสดภายนอก จัดเป็นทานบารมี บริจาคอวัยวะ จัดเป็นทานอุปบารมี บริจาคชีวิต จัดเป็นทานปรมตถบารมี ฯ
(ปี 43) บารมีคืออะไร? มีกี่อย่าง? อะไรบ้าง? สังโยชน์อะไรเรยกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์? มีอะไรบ้าง?
ตอบ คือคุณสมบัติหรือปฏิปทาอันยวดยิ่ง มี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ๑ ศีล ๑ เนกขัมมะ ๑ ปัญญา ๑ วิริยะ ๑ ขันติ ๑ สัจจะ ๑ อธิษฐาน ๑ เมตตา ๑ อุเบกขา ๑ ฯ สังโยชน์เบื้องต˚่าคืออย่างหยาบเรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ มี ๕ อย่างคือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามราคะ ๑ ปฏิฆะ ๑ ฯ
หมวด ๑๒
Ø
ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยาการ ๑๒ ธรรมที่อิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น
๑. อวิชชา ความไม่รู้
๒. สังขาร สภาพที่ปรุงแต่ง ได้แก่ อภิสังขาร ๓
๓. วิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณ วิญญาณที่จะไปถือก˚าเนิดใหม่อย่างหนึ่ง หมายถึง วิญญาณ ๖
๔. นามรูป ได้แก่ การประกอบกันของนามรูปเป็นอัตภาพ
๕. สฬายตนะ ได้แก่ อายตนะ ๖
๖. ผัสสะ การสัมผัส การกระทบกันระหว่างอายตนะภายในอายตนะภายนอกและวิญญาณ
๗. เวทนา ความรู้สึก การเสวยอารมณ์ที่เกิดจากผส
๘. ตัณหา ความทะยานอยาก
๙. อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น
สะ สุข ทุกข์ เฉยๆ
๑๐. ภพ ได้แก่ กรรมภพ(กรรมที่น˚าสัตว์ให้ไปอุบัติในภพต่างๆ อันได้แก่ อภิสังขาร ๓) และอุปัตติภพ(สถานที่ที่สัตว์ไปเกิดและ ด˚ารงชีวิตอยู่ อันได้แก่ ภพ ๓)
๑๑. ชาติ การเกิด
๑๒. ชรามรณะ ความเสื่อมสลาย
(ปี 51) สมุทัยวาร กับ นิโรธวาร ในปฏิจจสมุปบาท ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ สมุทัยวาร คือการแสดงความเกิดแห่งผล เพราะเกิดแห่งเหตุ ส่วนนิโรธวาร คือการแสดงความดับแห่งผล เพราะดับแห่งเหตุ ฯ
หมวด ๑๓
Ø ธุดงค์ ๑๓ (องค์คุณเป็นเครื่องฆ่าหรือก˚าจัดกิเลส) วัตตจรยาพิเศษอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นอุบายขัดเกลา กิเลส
และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ
หมวด ๑ จีวรปฏิสังยุตต์ ธุดงค์ที่เกี่ยวกับจีวร
๑. ปังสุกูลกังคะ ถือการใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร (* ภิกษุผู้ถือปังสุกูลิกังคะอย่างเคร่ง เที่ยวเลือกเก็บผ้าบังสุกุลแท้ ๆ คือ ผ้าอันเขาทิ้งเสยี จริง ๆ สงเคราะ👉์เข้าในพวก👉ยากเยื่อมาท˚าจีวรใช้.)
๒. เตจีวริกังคะ ถือการใช้ผ้าไตรจีวรเป็นวัตร (* ภิกษุผู้ถือเพียงไตรจีวรเป็นวัตรอย่างเคร่ง ใช้เฉพาะไตรจีวรของตนเท่านั้น แม้จะซัก
👉รือจะย้อมอันตรวาสก ย่อมใช้อุตตราสงค์นุ่ง และใช้สังฆาฏ👉่ม.)
หมวด ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ ธุดงค์ที่เกี่ยวกับบิณฑบาต
๓. ปิณฑปาติกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
(* ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรอย่างเคร่ง นั่งลงแล้ว คือปลงใจเลิกบิณฑบาตแล้ว มีผู้มาใส่อีก ย่อมไม่รับ, ผู้ถืออย่างกลาง นั่งแล้วยังรับอีก, ผู้ถืออย่างเบา ย่อมรับนิมนต์คือนดเพื่อรับบิณฑบาตแม้ในวันพรุ่ง)
(* ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรอย่างเคร่ง ก˚า👉นดด้วยไม่รับในเวลากลับ, อย่างกลาง ในเวลากลับ ยังรับ, อย่างเบา รับนัด แต่ไม่รับ นิมนต์เพื่อฉัน)
๔.
สปทานจาริกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตไปตามลาดับบ้านเป็นวัตร
๕. เอกาสนิกังคะ ถือการนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
๖.
ปัตตปิณฑิกังคะ ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร
๗.
ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือการไม่ฉันปัจฉาภัตเป็นวัตร
หมวด ๓ เสนาสนปฏิสังยุตต์ ธุดงค์ที่เกี่ยวกับเสนาสนะ
๘. อรัญญิกังคะ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
๙. รุกขมูลกังคะ ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
๑๐. อัพโภกาสิกังคะ ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร
๑๑. โสสานิกังคะ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
๑๒. ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่เสนาสนะตามที่ได้เป็นวตร
หมวด ๔ วิริยปฏิสังยุตต์ ธุดงค์ที่เกี่ยวกับความเพียร
๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือการนั่งเป็นวัตร
(ปี 63) ธุดงค์ ท่านบัญญติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรอย่างเคร่ง ท่านให้ถือปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษฯ อย่างเคร่ง เมื่อเลิกบิณฑบาต นั่งลงแล้ว แม้มีผมาใส่บาตรอีก ก็ไม่รับฯ
(ปี 56) ธุดงค์ คืออะไร? มีกี่หมวด? หมวดไหนว่าด้วยเรื่องอะไร?
ตอบ คือ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง เป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
มี ๔ หมวด ฯ ดังนี้ หมวดที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องจีวร หมวดที่ ๒ ว่าด้วยเรื่องบิณฑบาต หมวดที่ ๓ ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ หมวดที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องความเพียร ฯ
(ปี 53) ธุดงค์ท่านบัญญติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? ธุดงค์ที่ภิกษุถือได้มีก˚าหนดเฉพาะกาล คือข้อใด ? เพราะเหตุใด ฯ
ตอบ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ ข้อ รุกขมูลิกังคะ และ อัพโภกาสิกังคะ ฯ
ธุดงค์ ๒ ข้อนี้ภิกษุถือได้เฉพาะกาลนอกพรรษา เพราะในพรรษาภิกษุต้องถือเสนาสนะเป็นที่อยู่อาศัยประจ˚า ตามพระวินัยนิยม ฯ
(ปี 52) ธุดงค์ได้แก่อะไร การสมาทานธุดงค์ด้วยการฉันมื้อเดียวเป็นวัตรที่เรียกกันทั่วไปว่า “ฉันเอกา” จัดเข้าในธุดงค์ข้อไหน? ตอบ ได้แก่ วัตตจริ ยาพิเศษอย่างหนึ่ง เป็นอุบายขัดเกลากิเลสและเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ จัดเข้าในข้อ เอกาสนิกังคะ คือถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร ฯ (ปี 51) ธุดงค์ คืออะไร? ข้อใดของปัจจัย ๔ ไม่มีในธุดงค์?
ตอบ คือ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง บัญญัติขึ้นด้วยหมายจะให้เป็นอุบาย ขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ ข้อ ยารักษาโรค ฯ
(ปี 49) ธุดงค์ ท่านบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? อารัญญิกังคธุดงค์ คือการถือปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ คือ การถืออยู่ป่าเป็นวัตร หมายถึงการพักอาศัยปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าหรือ บริเวณป่าและจะต้องห่างจากบ้านคนอย่างน้อย ๒๕ เส้น หรือ ๕๐๐ ชั่วธนู ฯ
(ปี 48) ค˚าว่า “วัตร” ในธุดงควัตร หมายถึงอะไร ? ผู้ถือธุดงค์ข้อเตจีวริกังคะอย่างเคร่ง มีวิธีปฏิบัตอย่างไร ?
ตอบ หมายถึงข้อปฏิบัติพิเศษอย่างหนึ่ง ตามแต่ใครจะสมัครถือ บัญญัติขึ้นด้วยหมายจะให้เป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ฯ มีวิธีปฏิบัติอย่างนี้ ใช้เฉพาะไตรจีวรของตนเท่านั้น แม้จะซักหรือจะย้อมอันตรวาสก ย่อมใช้อุตตราสงค์นุ่ง และใช้สังฆาฏิห่ม ฯ
(ปี 47) อัตตกิลมถานุโยค กับ การบ˚าเพ็ญธุดงควัตร ต่างกันอย่างไร? เตจีวริกังคธุดงค์ หมายความว่าอย่างไร?
ตอบ ต่างกันอย่างนี้ อัตตกิลมถานุโยค การทรมานตนให้ล˚าบากเพื่อให้บาปกรรมหมดไป เพราะการทรมานนั้น หรือเพื่อบูชาพระเจ้า ซึ่งเมื่อทราบ แล้วจะทรงโปรดให้ประสบผลที่น่าปรารถนา ส่วนการบ˚าเพ็ญธุดงควัตร บัญญัติขึ้นเพื่อจะให้เป็นอุบายขัดเกลากิเลสและเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ฯ
เตจีวริกังคธุดงค์ หมายถึง ธุดงค์ของภิกษุผู้ถือเตจีวริกังคะ ย่อมไม่ใช้จีวรผืนที่ ๔ นุ่งห่มเฉพาะไตรจีวรอันเป็นผ้าอธิษฐาน ฯ
(ปี 46) ปังสุกูลิกังคะ องค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คืออย่างไร? ธุดงค์ข้อใด ที่ภิกษุสมาทานส˚าเรจ็ ด้วยอิริยาบถ ๓ คือ ยืน เดิน นั่ง?
ตอบ คือไม่รับจีวรจากทายก เที่ยวแสวงหาและใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสกุลมาเย็บย้อมท˚าจีวรใช้เอง ฯ
คือ เนสัชชิกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ถือเฉพาะอิริยาบถ ๓ คือ ยืน เดิน และนั่งเท่านั้น ฯ
(ปี 45) ในธุดงค์ ๑๓ นั้น ธุดงค์ทถือได้เฉพาะกาลมีอะไรบ้าง? การถือธุดงค์ ย่อมส˚าเร็จด้วยอาการอย่างไร ? ตอบ ๑. รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ๒. อัพโภกาสิกังคะ ถืออยู่ในที่แจ้งๆ เป็นวัตร ฯ ส˚าเรจด้วยการสมาทาน คือด้วยอธิษฐานใจหรือแม้ด้วยเปล่งวาจา ฯ
(ปี 43) ธุดงค์ ๑๓ ท่านกล่าวว่า เป็นวัตรจรยาพิเศษอย่างหนึ่งไม่ใช่ศีลนั้น คืออย่างไร ? ธุดงค์นั้น ท่านบัญญัตไิ ว้เพื่ออะไร ?
ตอบ คือการสมาทานหรือข้อที่ถือปฏิบัติจ˚าเพาะผสมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติไม่มีโทษ มีแต่ให้คุณแก่ผู้ถือปฏิบัติ ฯ
เพื่อเป็นอุบายบรรเทาขัดเกลาและก˚าจัดกิเลส เป็นไปเพื่อความมักน้อยและสันโดษ เป็นต้น ฯ
หมวด ๑๕
Ø จรณะ ๑๕ (ความประพฤติ) ข้อปฏิบัติที่จะน˚าไปสู่การบรรลุวิชชาหรือนิพพาน อันประกอบด้วย สีลสมปทา ๑, อปัณณกปฏิปทา ๓, สัป ปุริสธรรม ๗ และ ฌาณ ๔
๑. สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล ความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ |
สีลสัมปทา ๑ |
๒. อินทรีย์สังวร การส˚ารวมในอินทรีย์ ๖ ๓. โภชเนมัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ๔.ชาคริยานุโยค หมั่นประกอบความเพียรด้วยการตื่นอยู่เสมอ |
อปัณณกปฏิปทา ๓ |
๕. สัทธา ความเชื่อ |
สัปปุริสธรรม ๗ |
๖. หิริ ความละอายแก่ใจ |
(หรือเรียกว่า สัทธรรม) |
๗. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผิด |
|
๘. พาหุสัจจะ ความเป็นผไู้ ด้ฟังมาก |
|
๙, วิริยะ ความเพียร |
|
๑๐. สติ ความระลึกได้ |
|
๑๑. ปัญญา ความรอบรู้ |
|
๑๒. ปฐมฌาน ๑๓, ทุติยฌาน ๑๔. ตติยฌาน ๑๕. จตุตถฌาน |
ฌาณ ๔ |
(ปี 57, 53) บุคคลผไู้ ด้รับการยกย่องว่าเป็นพหูสูต เพราะประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
ตอบ ประกอบด้วย ๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก ๒. ธตา ทรงจ าได้ ๓. วจสา ปริจิตา ท่องไว้ด้วยวาจา
๔. มนสานุเปกฺขิตา เอาใจจดจ่อ ๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา
ขบด้วยทิฏฐิ ฯ
(ปี 44) สัทธรรมในจรณะ ๑๕ คืออะไรบ้าง ? พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ฟังมาก หมายถึงฟังอะไร ? ประกอบด้วยองค์เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ คือ ๑.สัทธา ความเชื่อ ๒.หิริ ความละอายแก่ใจ ๓.โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผิด ๔.พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ฟังมาก
๕.วิริยะ ความเพียร ๖.สติ ความระลึกได้ ๗.ปัญญา ความรอบรู้ ฯ
หมายถึงฟังธรรม ซึ่งไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกอบด้วยอรรถ ด้วยพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ฯ ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก ๒. ธตา ทรงจ˚าได้ ๓. วจสา ปริจิตา ท่องไว้ด้วยวาจา
๔. มนสานุเปกฺขิตา เอาใจจดจ่อ ๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบด้วยทิฏฐิ ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น