หมวด ๖
Ø
คารวะ ๖ คือ ความเคารพ เอื้อเฟื้อ มี ๖ อย่าง
๑. ความเคารพในพระพุทธเจ้า (พุทธคารวะ) คือเคารพเอื้อเฟื้อนบถือบูชาด้วยอามิสและด้วยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทางกายวาจาใจ อัน ประกอบด้วยความเชื่อความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า แม้ดับขันธปรินิพพานนานแล้ว ก็ไม่ลบหลดูหมิ่น แม้ทําท่าเล่นพูดเล่นเพื่อสรวลเสเฮฮา ก็
ไม่ควร ต้องเคารพสํารวมกิริยามารยาท
๒. ความเคารพในพระธรรม (ธัมมคารวะ) คือเคารพเอื้อเฟื้อ เลื่อมใสในพระธรรม คือคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด แม้วัตถุที่จารกพระ ธรรมก็ต้องให้ความเคารพ
ไม่เหยียบยํ่าข้ามกราย.
๓. ความเคารพในพระสงฆ์ (สังฆคารวะ) คือเคารพเอื้อเฟื้อ เลื่อมใสในพระสงฆ์ คือภิกษุ (สามเณร) ทั้งที่เป็นอริยสงฆ์ ทั้งที่เป็นสมมติสงฆ์ แม้กาสาวพัสตร์ คือผ้าย้อมนํ้าฝาดที่พระสงฆ์นุ่งห่ม อันเป็นดุจธงชัยในพระพุทธศาสนา ก็ต้องให้ความเคารพ. ไม่แสดงกิริยาอาการล้อเลนดูถูก ดูหมิ่นพระสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้สอนพระธรรมรักษาพระธรรม นําพระศาสนาสืบต่อมาไม่ขาดสาย. ตั้งใจกราบไหว้ และปฏิบัตตาม คําสอนของ
พระสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้แทนพระพุทธเจ้า.
๔. ความเคารพในการศึกษา (สิกขาคารวะ) คือเคารพเอื้อเฟื้อในความศึกษา ตั้งใจศึกษาหาความรู้ความเข้าใจความชํานาญ ในสิ่งที่ควรรู้ ทั้ง
ทางโลก (ได้แก่ศิลปวิชาสาขาต่าง ๆ ซึ่งเป็นทางให้ดํารงชีพอยู่โดยผาสุกในโลก) และทางธรรม (ได้แก่ไตรสิกขา คือ
ศีล สมาธิ
และปัญญา)
๕. ความเคารพในความไม่ประมาท (อัปปมาทคารวะ) คือเคารพเอื้อเฟื้อในความไม่ประมาท คือ มีสติควบคุมกาย วาจา จิต ในกาลทําพูด คิดอย่าให้ผิดสมํ่าเสมอ ไม่พลั้งเผลอ ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ.
๖. ความคารพในการต้อนรับ (ปฏิสันถารคารวะ) คือความเคารพเอื้อเฟื้อในปฏิสันถาร ๒ อย่าง คือ
ก. อามิสปฏสันถาร ต้อนรับแขกด้วยวัตถุสิ่งของ เช่น ที่นั่งที่พัก ข้าว นํ้า เป็นต้น.
ข. ธรรมปฏิสันถาร ต้อนรับแขก ด้วยการกล่าวเชื้อเชิญสนทนาปราศรัยด้วยไมตรีจิต และจัดแจงอามิสให้พอสมควรแก่ฐานะของแขก ตามสมควรแก่ฐานะของตน
(ปี 52) คารวะ
คืออะไร? มีกี่อย่าง? ข้อว่า คารวะในความศึกษา หมายถึงอะไร ?
ตอบ คารวะ คือ ความเคารพ เอื้อเฟื้อ ฯ มี ๖ อย่าง ฯ คารวะในความศึกษา หมายถึง ความเคารพ เอื้อเฟื้อในไตรสิกขา ฯ
Ø สาราณิยธรรม ๖ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง
๑. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือช่วยขวนขวายกิจธุระของเพื่อนกัน ด้วยการมี พยาบาลภิกษไุ ข้เป็นต้น ด้วยจิตเมตตา.
๒. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ฯลฯ
ด้วยวาจา เช่นกล่าวสั่งสอนเป็นต้น
๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ฯลฯ คือคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน.
๔. แบ่งปันลาภที่ตนได้มาแล้วโดยชอบธรรม ให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร ไม่หวงไว้บริโภคจําเพาะผเดียว.
๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่ทําตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น.
๖. มีความเห็นว่าร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่วิวาทกับใคร ๆ
เพราะมีความเห็นผิดกัน.
ธรรม ๖ อย่างนี้ ทําผู้ประพฤติให้เป็นที่รักเคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกันและกัน
เป็นไปเพื่อความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
(ปี 47) สาราณิยธรรม แปลว่าอะไร? ธรรมข้อนี้ย่อมอํานวยผลแก่ผปฏิบัติตามอย่างไร?
ตอบ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง ฯ ทําผู้ปฏิบัติตามให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อ ความไม่วิวาทกันและกัน เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงกัน เป็นไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ฯ
(ปี 45) "รู้รักสามัคคี" เกิดขึ้นเพราะปฏิบัติธรรมอะไร? ตอบ สาราณิยธรรม ฯ
Ø ๑.ตา ๒.หู ๓.จมูก ๔.ลิ้น ๕.กาย ๖.ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน ๖ เพราะทั้ง ๖ นี้เป็นของเนื่องอยู่ในร่างกาย คือในตัว และเพราะ เป็นเครื่องต่อหรือเป็นบ่อเกิด คือเป็นเครื่องต่อกับอายตนะภายนอก
๖ เช่นตาสําหรับต่อกับรูป, หูสาหรับต่อกับเสียงเป็นต้น. หรือตาเป็น
บ่อเกิดปรากฏแห่งรูป, หูเป็นบ่อเกิดปรากฏแห่งเสียงเป็นต้น
Ø
๑.ตา ๒.หู ๓.จมูก ๔.ลิ้น ๕.กาย ๖.ใจ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ ๖ เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน คือตาเป็นใหญ่ในกิจคือการเห็น
รูป หูเป็นใหญ่ในกิจคือการฟังเสียง จมูกเป็นใหญ่ในกิจคือการรับสมผัส ลิ้นเป็นใหญ่ในกิจคือการลมรส การเป็นใหญ่ในกิจคือการรับ
สัมผส
ใจเป็นใหญ่ในกิจคือรับรู้เรอง. จะสับเปลี่ยนกันไม่ได้เลย เช่นจะใช้ตาฟังเสียง หรือใช้หูดูรูปไม่ได้.
Ø ๑.ตา ๒.หู ๓.จมูก ๔.ลิ้น ๕.กาย ๖.ใจ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทวาร ๖ เพราะเป็นประตูแห่งอารมณ์ ๖, คืออารมณมีรูปารมณ์ (อารมณ คือรูป) เป็นต้น เข้ามาภายในบุคคล ก็ต้องผ่านเข้ามาทางจักษุทวาร ประตูคือตา เป็นต้น.
Ø ๑.รูป ๒.รส ๓.กลิ่น ๔.เสยง ๕.โผฏฐัพพะ(คืออารมณ์ที่มาถูกต้องกาย) ๖.ธรรม(คืออารมณ์เกิดกับใจ) เรียกว่า อายตนะภายนอก ๖ เพราะเป็นเครื่องต่อกับอายตนะภายใน ๖ เช่นรูปต่อกับตา เป็นต้น. และเพราะรูปเป็นต้นนี้เป็นของอยู่นอกจากร่างกายออกไป
Ø ๑.รูป ๒.รส ๓.กลิ่น ๔.เสยง ๕.โผฏฐัพพะ(คืออารมณ์ที่มาถูกต้องกาย) ๖.ธรรม(คืออารมณ์เกิดกับใจ) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อารมณ์ ๖ เพราะเป็นที่หน่วงเหนี่ยวของจิต หรือเป็นที่ยินดีของตาเป็นต้น จึงมีชื่อเรียก ดังนี้ :-
๑. รูปารมณ์ สิ่งเป็นที่หน่วงเหนี่ยวจิต คือ รูป เป็นที่ยินดีของตา เข้ามาทางประตูคือตา.
๒. สัททารมณ์ สิ่งเป็นที่หน่วงเหนี่ยวจิต
คือ เสียง
เป็นที่ยินดีของหู เข้ามาทางประตูคือหู.
๓. คันธารมณ์ สิ่งเป็นที่หน่วงเหนี่ยวจิต
คือ กลิ่น
เป็นที่ยินดีของจมูก เข้ามาทางประตูคือลิ้น.
๔. รสารมณ์ สิ่งเป็นที่หน่วงเหนี่ยวจิต
คือ รส เป็นที่ยินดีของลิ้น เข้ามาทางประตูคือลิ้น.
๕. โผฐัพพารมณ์ สิ่งเป็นที่หน่วงเหนี่ยวจิต
คือ สิ่งถูกกาย เป็นที่ยินดีของกาย เข้ามาทางประตูคือกาย.
๖. ธรรมารมณ์ สิ่งเป็นที่หน่วงเหนี่ยวจิต
คือ เรื่อง เป็นที่ยินดีของใจ เข้ามาทางประตูคือใจ
Ø วิญญาณ
๖ ความรู้ หรือความรู้แจ้งอารมณ์ อาศัยรูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น เรียก จักขุวิญญาณ อาศัยเสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น เรียก โสตวิญญาณ อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดความรขึ้น
เรียก ฆานวิญญาณ อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้น เรียก ชิวหาวิญญาณ อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น เรียก กายวิญญาณ อาศัยธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น เรียก มโนวิญญาณ.
เพราะอาศัย ๒ สิ่ง คือ
อายตนะภายใน ๑ อายตนะภายนอก ๑ กระทบกัน, หรือทวาร ๑ อารมณ์ ๑ ประจวบกัน จึงเกิดวิญญาณ คือ
ความรู้ขึ้น, ความรู้ที่เกิดขึ้นนั้น มีชื่อเรียกไปตามชื่อของอายตนะภายใน เช่น
จักขุวิญญาณ แปลว่า ความรู้ทางตาเป็นต้น. วิญญาณทั้ง ๖ นี้ รวมเข้า เป็นกองหนึ่ง เรียกว่า วิญญาณขันธ์
Ø สัมผัส
๖ การกระทบกันระหว่างอายตนะภายในมีตาเป็นต้น กับอายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น วิญญาณ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะ อาศัย ๓ สิ่ง คือ อายตนะภายใน ๑ อาตนะภายนอก ๑ วิญญาณ ๑ ประชุมกันเข้า จึงเรยกว่า สัมผัส
สัมผส
มี ๖ อย่าง เรียกชื่อตามอายตะนะภายใน คือ จักขุสัมผส
กระทบทางตา, โสตสัมผัส กระทบทางหู, ฆานสัมผัส กระทบทางจมูก,
ชิวหาสัมผัส กระทบทางลิ้น กายสัมผัส กระทบทางกาย, มโนสมผัส กระทบทางใจ.
(ปี 61) อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่อะไรบ้าง?
ตอบ ได้แก่ รูป เสยง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
อารมณ์ที่มาถูกต้องกาย ธรรม
คืออารมณ์ที่เกิดกับใจ ฯ
(ปี 59, 43) อินทรีย์ ๖ กับอารมณ์ ๖ มีความสมพันธ์กันอย่างไร? อะไรเรียกว่า สัมผส?
ตอบ มีความสมพันธ์กันอย่างนี้ ตา เป็นใหญ่ในการเห็นอารมณ์ คือรูป
หู เป็นใหญ่ในการฟังอารมณ์ คือเสียง
จมูก เป็นใหญ่ในการสูดดมอารมณ์ คือกลิ่น ลิ้น เป็นใหญ่ในการลิ้มอารมณ์ คือรส
กาย เป็นใหญ่ในการถูกต้องอารมณ์ คือโผฏฐัพพะ ใจ เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ คือธรรม ฯ
การกระทบกันระหว่างอายตนะภายในมี ตา
เป็นต้น กับอายตนะภายนอก มีรูปเป็นต้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ เป็นต้น ทั้ง
๓ อย่างนี้ รวมกันในขณะเดียวกัน เรียกว่า สัมผัส ฯ
(ปี 54) อายตนะภายใน ๖
ได้แก่อะไรบ้าง? ตอบ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ
หมวด ๗
Ø
อปริหานิยธรรม ๗ ธรรมไม่เป็นทตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจรญฝ่ายเดียว
(ปี 48) อปริหานิยธรรม คืออะไร? ข้อที่ ๔ ความว่าอย่างไร? ตอบ
คือ ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว ฯ ข้อที่ ๔ ความว่า ภิกษุเหลาใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคําของท่าน ฯ
(ปี 45) อปริหานิยธรรม คืออะไร? มีกี่ข้อ? จงแสดงมา ๑ ข้อ
ตอบ คือธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม มี ๗ ข้อ ฯ (ตอบข้อใดข้อหนึ่ง) คือ
๑.หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
๒.เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกและพร้อมเพรียงกันช่วยทํากิจที่สงฆ์จะต้องทํา
๓.ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
๔.ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคําของท่าน
๕.ไม่ลุอํานาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
๖.ยินดีในเสนาสนะป่า
๗.ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มาที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสข ฯ
Ø
อริยทรัพย์ ๗
ทรัพย์ คือคุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ เรียก
อริยทรัพย์ มี ๗ อย่างคือ
๑. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ. ๕. พาหุสัจจะ ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมาก คือทรงธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก.
๒. สีล รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย. ๖. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน.
๓. หิริ ความละอายต่อบาปทุจรต. ๗. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์.
๔.
โอตตปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาป.
อริยทรัพย์ ๗ ประการนี้ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เพราะอริยทรัพย์เป็นคุณธรรม เครื่องบํารุงจิตใจให้ปลมให้อบอุ่น มีแล้วไมต้องเป็นทุกข์กังวลในการ คุ้มครองป้องกันโจรภัยเป็นต้น ใครแย่งชิงไปไม่ได้ ใช้เท่าใดก็ไม่ต้องกลัวหมดสิ้น ไม่ต้องเสยงภัยในการแสวงหา เป็นต้น ทั้งสามารถติดตามเป็นที่
พึ่งในสัมปรายภพได้ด้วย
(ปี 56) จงให้ความหมายของคําว่า พาหุสัจจะ ตอบ หมายถึง ความเป็นผู้ศึกษามาก
(ปี 49) อริยทรัพย์ คือทรัพย์เช่นไร ? เมื่อเทียบกับทรัพย์สินมีเงินทอง เป็นต้น
ดีกว่ากันอย่างไร?
ตอบ คือ
คุณงามความดีอย่างประเสริฐที่เกิดมีขึ้นในสันดาน มี
ศรัทธา ศีล
เป็นต้น ฯ
ดีกว่ากัน เพราะเป็นคุณธรรมเครื่องบํารุงจิตให้อบอุ่น ไม่ต้องกังวล เดือดร้อน ใครจะแย่งชิงไปไม่ได้ ใช้เท่าใดก็ไมต้องกลัวหมดสิ้น ทั้งสามารถ ติดตามไปได้ถึงชาติหน้า เป็นที่พึ่งในสัมปรายภพได้ด้วย ฯ
(ปี 46) พาหุสัจจะ หมายความว่าอย่างไร? พาหุสัจจะ เป็นอริยทรัพย์อย่างหนึ่งนั้น อธิบายอย่างไร?
ตอบ หมายความว่า ความเป็นผเู้ คยได้ยินได้ฟังมามาก ฯ
อธิบายว่า พาหุสัจจะ
คือความเป็นผู้เคยได้ยินได้ฟังมามากนั้น (ทรงจําธรรมและศิลปวิทยามาก) ได้ชื่อว่าอริยทรัพย์ เพราะเป็นเหตุให้ได้อิฏฐผล มี ลาภ ยศ สรรเสริญ
สุข และไมตรีเป็นต้น ทั้งไม่เป็นภาระแก่เจ้าของและที่ดีพิเศษกว่าทรัพย์สิน เงินทองทั่วไปคือยิ่งใช้ยิ่งมีฯ
(ปี 44) ทรัพย์ประเภทไหนเรียกวาอริยทรัพย์? อริยทรัพย์ดีกว่าทรัพย์ภายนอกเพราะเหตุไร?
ตอบ ทรัพย์ คือคุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ เรียกว่า อริยทรัพย์ มี ศรัทธา ศีล
เป็นต้น ฯ
ดีกว่า เพราะอริยทรัพย์ เป็นคุณธรรม เครื่องบํารุงจิตใจให้ปลื้มให้อบอุ่น มีแล้วไมต้องเป็นทุกข์กังวลในการคุ้มครองป้องกันโจรภัยเป็นต้น ใครแย่ง ชิงไปไม่ได้ ใช้เท่าใดก็ไมต้องกลัวหมดสิ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยในการแสวงหา เป็นต้น ทั้งสามารถติดตามเป็นที่พึ่งในสัมปรายภพได้ด้วย ฯ
Ø สัปปุริสธรรม ๗ ธรรมของสัตบุรุษ
๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่นรู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งความสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์.
๒. อัตตถัญญุตา ความเป็นผู้รักจักผล เช่นรู้จักว่า สุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้ ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันนี้.
๓. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน ว่าเราก็โดยชาติตระกูลยศศักดิ์ สมบัติ บริวาร ความรู้ และคุณธรรม เพียงเท่านี้ ๆ
แล้วประพฤติตน
ให้สมควรแก่ที่เป็นอยู่อย่างไร.
๔. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบ และรู้จักประมาณในการบริโภคแต่ พอสมควร.
๕. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา อันสมควรในอันประกอบกิจนั้น ๆ.
๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผรู้จักชุมชน และกิริยาที่ต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้น ๆ
ว่า หมู่นี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทํากิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น.
๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคลว่า ผู้นี้เป็นคนดีควรคบ ผู้นี้เป็นคนไม่ดไี ม่ควรคบ เป็นต้น.
(ปี 57) จงให้ความหมายของคําต่อไปนี้ ๑. ธัมมญญุตา ๒. มัตตัญญุตา ๓. กาลญญุตา
ตอบ ๑. ธัมมญญุตา
ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่นรู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์
๒. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ประมาณ ในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบ และรู้ประมาณในการบรโภคแต่พอสมควร
๓. กาลญญุตา
ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควรในอันประกอบกิจนั้นๆ ฯ
(ปี 45) มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ประมาณ ในสัปปุริสธรรม มีอธิบายไว้อย่างไร?
ตอบ ความเป็นผรู้ประมาณในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบและรู้จักประมาณในการบริโภคแต่พอควร ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น