ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
๑.
๑.๑
ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สำเร็จด้วยญาณอะไร ? เพราะเหตุไร ?
๑.๒
พระพุทธองค์ ครั้นตรัสรู้แล้ว ทรงเปล่งพระอุทานในยามสุดท้าย มีความว่าอย่างไร ?
๑.
๑.๑
ด้วยอาสวักขยญาณ ฯ เพราะอาสวักขยญาณ คือความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ คือ เครื่องเศร้าหมองอันหมักหมมในจิตสันดาน ฯ
๑.๒
มีความว่า “ เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏชัดแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดเสนามาร คือชรา พยาธิ มรณะ เสียได้ ดุจ
พระอาทิตย์อุทัย กำจัดมืดทำอากาศให้สว่างขึ้นฉะนั้น” ฯ
๒.
๒.๑
พระพุทธองค์ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่ไหนเป็นแห่งแรก ?
ทรงเห็นประโยชน์อะไรจึงทรงประดิษฐาน ณ ที่นั้น ?
๒.๒
การที่พระพุทธองค์ทรงสามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาได้มั่นคง เพราะทรงสั่งสอนโดยอาการอย่างไรบ้าง ?
๒.
๒.๑
ที่ กรุงราชคฤห์ ฯ เพราะทรงเห็นว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่บริบูรณ์มั่งคั่ง และ
มีศาสดาเจ้าลัทธิมาก ถ้าได้โปรดคนเหล่านี้ให้เกิดความเลื่อมใสได้แล้ว การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะศาสดา
เจ้าลัทธิต่างๆ นั้น ล้วนมีศิษยานุศิษย์มาก ผู้คนนับถือมาก ด้วยเหตุนี้
จึงทรงเลือกเมืองนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก ฯ
๒.๒
โดยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑) ทรงสั่งสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่ง เห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
๒) ทรงสั่งสอนมีเหตุมีผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
๓) ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ที่ผู้ปฏิบัติตาม ย่อมได้รับผลโดยสมควร
แก่การปฏิบัติ ฯ
๓.
๓.๑
ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสารข้อที่ ๕ ความว่าอย่างไร ?
๓.๒
ความปรารถนานั้นสำเร็จแก่พระองค์เมื่อไร ? ที่ไหน ?
๓.
๓.๑
ความว่า “ขอให้ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์” ฯ
๓.๒
สำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ได้ฟังอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ ที่พระพุทธองค์
ทรงแสดงโปรด จนได้ดวงตาเห็นธรรม ฯ ที่สวนตาลหนุ่ม ฯ
๔.
๔.๑
พระวาจาที่พระมหาบุรุษทรงเปล่งในวันประสูตินั้น เรียกว่าอะไร ? ใจความโดยย่ออย่างไร ?
๔.๒
พระพุทธกิจ ๕ อย่าง มีอะไรบ้าง ? ข้อไหนที่ทรงบำเพ็ญเป็นนิจตราบเท่าปรินิพพาน ?
๔.
๔.๑
เรียกว่า อาสภิวาจา ฯ ใจความย่อว่า “ เราเป็นผู้เลิศเป็นยอดแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญผู้ใหญ่แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก ความบังเกิดชาตินี้มี ณ ที่สุด บัดนี้ ความบังเกิดอีกมิได้มี ” ฯ
๔.๒
มี ๕ อย่าง ฯ คือ
๑) เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาต
๒) เวลาเย็น ทรงแสดงธรรม
๓) เวลาย่ำค่ำ ทรงโอวาทภิกษุ
๔) เวลาเที่ยงคืน ทรงตอบปัญหาเทวดา
๕) เวลาย่ำรุ่ง ทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ ฯ
ยกเว้นข้อเสด็จออกบิณฑบาต นอกนั้นทรงบำเพ็ญเป็นนิจ
ตราบเท่าปรินิพพาน ฯ
๕.
๕.๑
โอวาทปาฏิโมกข์ทรงแสดงที่ไหน ? เมื่อไร ?
๕.๒
ข้อที่ทรงยกขันติขึ้นตรัสในโอวาทปาฏิโมกข์นั้น หมายความว่าอย่างไร ?
๕.
๕.๑
ที่เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์ ฯ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๓ ฯ
๕.๒
หมายความว่า ศาสนธรรมคำสอนของพระองค์เป็นไปเพื่อให้อดทนต่อเย็น ร้อน หิวระหาย ถ้อยคำให้ร้าย ใส่ความ ด่าว่า และทุกขเวทนาอันแรงกล้าเกิดแต่อาพาธ ฯ
๖.
๖.๑
อุปติสสปริพาชก เมื่อได้ฟังธรรมโดยย่อจากพระอัสสชิเถระแล้ว มีความเข้าใจในเนื้อความแห่งธรรมนั้นว่าอย่างไร ?
๖.๒
ครั้งพุทธกาล กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนาขออนุญาตบวช
จากมารดาบิดา เมื่อไม่ได้รับอนุญาตก็เสียใจ จึงทำการประท้วง กุลบุตร
ผู้นั้นคือใคร ? ประท้วงด้วยวิธีใด ?
๖.
๖.๑
ว่าอย่างนี้คือ “ ธรรมทั้งปวงเกิดแต่เหตุ และจะสงบระงับไป เพราะเหตุ
ดับก่อน พระศาสดา ทรงสั่งสอนให้ปฏิบัติ เพื่อสงบระงับเหตุแห่งธรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิดทุกข์” ฯ
๖.๒
กุลบุตรผู้นั้น คือพระรัฐบาล ฯ ประท้วงด้วยวิธีนอนไม่ลุกขึ้น และอดอาหาร ฯ
๗.
๗.๑
อนาถบิณฑิกเศรษฐี มีนามเดิมว่าอะไร ?
๗.๒
ท่านได้บรรลุคุณวิเศษอะไรในพระพุทธศาสนา ?
๗.
๗.๑
สุทัตตะ ฯ
๗.๒
โสดาปัตติผล ฯ
๘.
๘.๑
ผู้ได้นามว่า “ ภัทเทกรัตตะ ” ผู้มีราตรีเดียวเจริญ เพราะประพฤติเช่นไร ?
๘.๒
พระเถระรูปใดได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เข้าใจอธิบายเรื่อง “ ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ” นี้ให้พิสดาร ?
๘.
๘.๑
เพราะเป็นผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท ฯ
๘.๒
พระมหากัจจายนเถระ ฯ
๙.
๙.๑
ปัญหาว่า “ หมู่มนุษย์ในโลกนี้ คือ ฤษี กษัตริย์ พราหมณ์ เป็นอันมาก อาศัยอะไร จึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา ” ใครเป็นผู้ถาม ?
๙.๒
พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่าอย่างไร ?
๙.
๙.๑
ปุณณกมาณพ ฯ
๙.๒
ทรงพยากรณ์ว่า “ หมู่มนุษย์เหล่านั้นอยากได้ของที่ตนปรารถนา อาศัยของที่มีชราทรุดโทรม จึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา ” ฯ
๑๐.
๑๐.๑
พระพุทธดำรัสว่า “ ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ จะพึงอยู่ดีอยู่ชอบแล้วไซร้ โลกก็จกไม่พึงว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ” ดังนี้
คำว่า “ พระอรหันต์ ” ในที่นี้ หมายถึงใคร ?
๑๐.๒
โทณพราหมณ์ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในวันแจกพระบรมสารีริกธาตุ มีใจความย่ออย่างไร ?
๑๐.
๑๐.๑
หมายถึง พระขีณาสวอรหันต์ ฯ
๑๐.๒
มีใจความย่อดังนี้
๑) พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญขันติธรรมและตำหนิในการที่จะทำ
สงครามกัน
๒) ชวนให้สามัคคีร่วมใจกัน โดยแบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุเท่า ๆ กัน ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น