วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2545

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่  ๒๓  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

 ๑.    ๑.๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงประกอบด้วยสัมปทาคุณกี่ประการ ?  อะไรบ้าง ?

        ๑.๒ ในวันที่พระมหาบุรุษประสูตินั้น สหชาติที่เกิดพร้อมร่วมวันกับพระองค์

             มีอะไรบ้าง ?

 ๑.    ๑.๑ ๓ ประการ คือเหตุสัมปทา ผลสัมปทา สัตตูปการสัมปทา ฯ

        ๑.๒ มีพระนางพิมพา พระอานนท์ กาฬุทายีอมาตย์ ฉันนะอมาตย์ ม้ากัณฐกะ

             ต้นมหาโพธิ์ และขุมทองทั้ง ๔ ฯ

 ๒.    ๒.๑ ที่สุดทั้ง ๒ อย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ มีโทษอย่างไรบ้าง ?

        ๒.๒ มัชฌิมาปฏิปทา มีคุณอย่างไรบ้าง ?

 ๒.    ๒.๑ มีโทษดังนี้  คือ

             กามสุขัลลิกานุโยค เป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลส

             หนา ไม่ใช่ของคนอริยะคือผู้บริสุทธิ์ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์   

             อัตตกิลมถานุโยค ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่ทำผู้ประกอบให้เป็นอริยะ

             ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ฯ

        ๒.๒ มีคุณดังนี้ คือทำดวงตาคือทำญาณเครื่องรอบรู้ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ

             ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อความรู้ดี เพื่อความไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ฯ

 ๓.    ๓.๑ บุคคลที่ท่านเปรียบด้วยดอกบัว  ๔  เหล่า  ได้แก่จำพวกไหนบ้าง ?

        ๓.๒ พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถาก่อนที่จะแสดงอริยสัจ ๔ เพื่อประโยชน์

             อะไร ?


 ๓.    ๓.๑ ได้แก่

                   ๑) อุคฆฏิตัญญู คือ ผู้มีอุปนิสัยสามารถจะตรัสรู้ธรรมวิเศษโดยพลัน

                                      พร้อมกันกับเวลาที่ท่านผู้ศาสดาแสดงธรรมสั่งสอน 

                                      เปรียบด้วยดอกบัวพ้นน้ำ

                   ๒) วิปจิตัญญู    คือ  ผู้ที่ท่านอธิบายขยายความแห่งคำที่ย่อให้พิสดาร

                                      ออกไป จึงจะตรัสรู้ธรรมวิเศษได้  เปรียบด้วยดอกบัว

                                      เสมอน้ำ

                   ๓) เนยยะ        คือ ผู้ที่พอจะแนะนำได้  คือพอที่จะฝึกอบรมสั่งสอน

                                      ให้รู้และเข้าใจได้อยู่  เปรียบด้วยดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ

                   ๔) ปทปรมะ     คือ ผู้แม้จะฟังและกล่าวและทรงไว้และบอกแก่ผู้อื่นซึ่ง

                                      ธรรมเป็นอันมาก ก็ไม่สามารถจะตรัสรู้ธรรมวิเศษใน

                                      อัตภาพชาตินั้นได้ เปรียบด้วยดอกบัวที่เป็นภักษาแห่ง

                                      เต่าและปลา ฯ

        ๓.๒ เพื่อฟอกจิตสาวกหรือผู้ฟัง ให้ห่างไกลจากความยินดีในกาม ควรรับพระธรรม

             เทศนาให้เกิดดวงตาเห็นธรรม เหมือนผ้าที่ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้ ฉะนั้น ฯ

 ๔.    จงแสดงใจความย่อของพระสูตรเหล่านี้

        ๔.๑ อนัตตลักขณสูตร

        ๔.๒ อาทิตตปริยายสูตร

 ๔.    ๔.๑ พระสูตรที่ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา โดยใจความย่อว่า รูป เวทนา สัญญา

             สังขาร วิญญาณ ซึ่งรวมเรียกว่าขันธ์ ๕ นี้ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตน ฯ

        ๔.๒ พระสูตรที่ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน โดยใจความย่อว่า อายตนะภายใน

             อายตนะภายนอก วิญญาณ สัมผัส และเวทนาที่เกิดแต่สัมผัส เป็นของร้อน

             ร้อนเพราะไฟคือความกำหนัด ความโกรธ ความหลง และร้อนเพราะความ

             เกิด ความแก่ ความตาย ความโศกร่ำไรรำพัน เจ็บกาย เสียใจ คับใจ ฯ

 ๕.    ๕.๑ พระพุทธดำรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ กำมืออาจารย์ในธรรมทั้งหลายไม่มีแก่พระ

             ตถาคตเจ้า” หมายความว่าอย่างไร ?

        ๕.๒ พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญญาตัตถจริยา ด้วยมีพระประสงค์อย่างไร ?

 ๕.    ๕.๑  หมายความว่า พระตถาคตเจ้าไม่ทรงมีข้อลี้ลับในธรรมทั้งหลายที่จะต้องปกปิด

              ซ่อนบังไว้  แสดงได้แก่สาวกบางเหล่า  มิได้ทั่วไปเป็นสรรพสาธารณ์ หรือจะ

             พึงแสดงให้สาวกทราบต่ออวสานกาลที่สุด ฯ

        ๕.๒  ด้วยพระประสงค์จะให้พระญาติบริบูรณ์ด้วยสุข ๓ ประการ คือมนุษยสุข ๑ ทิพยสุข

             ๑ นิพพานสุข ๑ ทั้งที่ครองฆราวาส ทั้งที่ออกบรรพชาในพระพุทธศาสนา ฯ

 ๖.    ๖.๑ พุทธเจดีย์ มีกี่ประเภท ?  อะไรบ้าง ?

        ๖.๒ อุทยมาณพทูลถามว่า "โลกมีอะไรผูกพันไว้ อะไรเป็นเครื่องสัญจรของโลก

             นั้น ท่านกล่าวกันว่า นิพพานๆ ดังนี้ เพราะละอะไรได้" พระศาสดาทรง

             พยากรณ์ว่าอย่างไร ?

 ๖.    ๖.๑ มี ๔ ประเภท  คือธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุทเทสิกเจดีย์ ฯ

        ๖.๒ ทรงพยากรณ์ว่า โลกมีความเพลิดเพลินผูกพันไว้ ความตรึกเป็นเครื่องสัญจร

             ของโลกนั้น  ท่านกล่าวกันว่า นิพพานๆ  ดังนี้  เพราะละตัณหาเสียได้ ฯ

 ๗.    ๗.๑ พระภัททิยเถระ มักเปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอๆ ดังนี้  เพราะเหตุไร ?

        ๗.๒ พระเจ้าโกรัพยะทรงปรารภกับพระรัฐบาลถึงเหตุให้บุคคลออกบวชว่าอย่างไร ?

 ๗.    ๗.๑  เพราะเมื่อก่อนท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต้องจัดการรักษาป้องกันทั้งในวังนอกวัง

             ทั้งในเมือง นอกเมือง จนตลอดทั่วอาณาเขต แม้มีคนคอยรักษาอย่างนี้แล้ว ยังต้อง

             หวาดระแวง สะดุ้งกลัวอยู่เป็นนิตย์ ครั้นทรงออกบวชได้บรรลุอรหัตผลแล้ว แม้อยู่

             ในที่ไหนๆ ก็ไม่หวาดระแวง ไม่สะดุ้งกลัว ไม่ต้องขวนขวายมีใจปลอดโปร่งเป็นดุจ

             มฤคอยู่ จึงเปล่งอุทานเช่นนั้น ฯ

        ๗.๒ ทรงปรารภเหตุวิบัติ ๔ ประการ  คือ

                   ๑) ความแก่ 

                   ๒) ความเจ็บป่วย 

                   ๓) ความเสื่อมจากโภคทรัพย์ 

                   ๔) ความเสื่อมญาติ ฯ

 ๘.    ๘.๑  พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากได้ทูลขอพร ๘ ประการ ข้อสุดท้าย ความว่าอย่างไร ?

        ๘.๒ ท่านได้รับการยกย่องจากพระศาสดาอย่างไรบ้าง ?

 ๘.    ๘.๑ ความว่า ถ้าพระองค์เสด็จไปเทศนาเรื่องใดที่ไหน ซึ่งข้าพระองค์ไม่ได้ฟัง ขอ

             พระองค์ตรัสบอกเทศนาเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์ ฯ

        ๘.๒ ได้รับการยกย่องว่า เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้วยคุณสมบัติ ๕ สถาน คือ

                   ๑) เป็นพหูสูต  

                   ๒) มีสติ  

                   ๓) มีคติ  

                   ๔) มีธิติ  

                   ๕) เป็นพุทธอุปัฏฐาก ฯ

 ๙.    ๙.๑  พระพุทธองค์ทรงแนะนำพระเถระองค์ใดให้ปรารภความเพียรแต่พอประมาณ ?

        ๙.๒ เพราะเหตุใดจึงทรงแนะนำเช่นนั้น ?

 ๙.    ๙.๑ พระโสณโกฬิวิสะ ฯ

        ๙.๒ เพราะพระโสณโกฬิวิสะ ทำความเพียรเดินจงกรมจนเท้าแตก ก็ไม่อาจให้

             บรรลุมรรคผลได้ สมัยเมื่อท่านเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้ฉลาดเข้าใจในเสียงแห่งสายพิณ

             พระผู้มีพระภาคจึงทรงแนะนำว่า ในการดีดพิณนั้นจะต้องขึงสายพิณแต่พอดี

             เสียงพิณจึงจะไพเราะ หย่อนเกินไปหรือตึงเกินไปก็ไม่น่าฟัง ความเพียร

             ก็เหมือนกัน ถ้าย่อหย่อนนัก ก็เป็นไปเพื่อเกียจคร้าน ถ้าเกินไปนักก็เป็นไป

             เพื่อฟุ้งซ่าน จึงควรทำความเพียรแต่พอดี ฯ

๑๐. ๑๐.๑ อปาณกฌาน ได้แก่อะไร ?

      ๑๐.๒ พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญฌานนี้ในคราวใด ? และได้รับผลที่มุ่งหวังหรือไม่

             อย่างไร ?

๑๐. ๑๐.๑ ได้แก่ ความเพ่งไม่มีลมปราณ  คือไม่มีลมอัสสาสะปัสสาสะ  โดยเนื้อความ

             ก็คือกลั้นลมหายใจไม่ให้ดำเนินทางจมูกและปาก ซึ่งเป็นทางเดินโดยปกติ ฯ

      ๑๐.๒ ในคราวทรงทำทุกกรกิริยาฯ ไม่ได้รับผลที่มุ่งหวัง แต่เป็นการทรมานร่างกาย

             ให้ลำบากเปล่า ฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น