หมวด ๕
Ø
ประโยชน์เกิดแต่การถือโภคทรัพย์ ๕ อย่าง
(ปี 50) เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ได้โดยทางที่ชอบแล้ว ควรทําอะไรบ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์ในโภคทรัพย์ที่ได้มานั้น?
ตอบ ควรทํา ประโยชน์เกิดแต่การถือโภคทรัพย์ ๕ อย่าง
๑.เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข
๒.เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข
๓.บําบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่าง ๆ
๔.ทําพลี ๕ อย่าง คือ
๔.๑ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
๔.๒ อติถิพลี ต้อนรับแขก
๔.๓ ปุพพเปตพลี ทําบุญอุทิศให้ผู้ตาย
๔.๔ ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีภาษีอากรเป็นต้น
๔.๕ เทวตาพลี ทําบุญอุทิศให้เทวดา
๕.บริจาคทานในสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ ฯ (ปี 45) คําต่อไปนี้แปลว่าอย่างไร? ก)อติถิพลี ข)ปุพพเปตพลี
Ø
ศีล ๕ แปลว่า ความปกติ ๕ อย่าง คือ ความประพฤติดีทางกายวาจา
๑.
ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป.
๒.
อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย.
๓.
กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม.
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ.
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากดื่มนํ้าเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.
(ปี 63, 61, 56, 53) ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์ คือศีลอะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ?
ตอบ คือ ศีล ๕ ฯ ได้แก่
๑. เว้นจากทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ๒. เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๔. เว้นจากพูดเท็จ ๕. เว้นจากดื่มนํ้าเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นทตั้งแห่งความประมาท ฯ
(ปี 44) จงเขียนศีล ๕ ข้อที่ ๓ พร้อมทั้งคําแปล ตอบ กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
(ปี 43) จงเขียนศีล ๕ ข้อที่ ๕ พร้อมทั้งคําแปล
ตอบ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี แปลความว่า เว้นจากการดื่มนํ้าเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
Ø
มิจฉาวณิชชา ๕ คือ การค้าขายไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง เป็นข้อห้ามอุบาสกอุบาสิกาไม่ให้ประกอบ
๑.ค้าขายเครื่องประหาร ๒.ค้าขายมนุษย์ ๓.ค้าขายสต
Ø
อุบาสกอุบาสิกา ได้แก่ คฤหัสถ์ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
ว์เป็นสําหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร ๔.ค้าขายนํ้าเมา ๕.ค้าขายยาพิษ
(ปี 54, 44) อุบาสกอุบาสิกา ได้แก่บุคคลเช่นไร? การค้าขายที่ห้ามอุบาสกอุบาสิกาประกอบ คืออะไรบ้าง?
ตอบ อุบาสกอุบาสิกา ได้แก่ คฤหัสถ์ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ฯ ห้ามค้าขายคือ ๑.ค้าขายเครื่องประหาร ๒.ค้าขายมนุษย์ ๓.ค้าขายสตว์เป็น สําหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร ๔.ค้าขายนํ้าเมา ๕.ค้าขายยาพิษ ฯ
(ปี 52) มิจฉาวณิชชา คืออะไร? การค้าขายเด็ก การค้าขายยาเสพติด การค้าขายเบ็ดตกปลา จัดเป็นมิจฉาวณิชชาข้อใด?
ตอบ มิจฉาวณิชชา คือ การค้าขายไม่ชอบธรรม ฯ การค้าขายเด็ก จัดเข้าในค้าขายมนุษย์
การค้าขายยาเสพติด จัดเข้าในค้าขายนํ้าเมา
การค้าขายเบ็ดตกปลา จัดเข้าในค้าขายเครื่องประหาร ฯ
(ปี 51) การค้าขายสุรา เป็นอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในทางพระพุทธศาสนา มีความเห็นไว้อย่างไร?
ตอบ การค้าขายสราทางพระพุทธศาสนา จัดเป็นมิจฉาวณิชชา การค้าขายไม่ชอบธรรม เป็นข้อห้าม อุบาสกไม่ควรประกอบ ฯ
(ปี 50) การค้าขายสัตว์เพื่อเอาไปฆ่าเป็นอาหาร เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่? เพราะเหตุไร? อุบาสกควรปฏิบัติอย่างไรในเรื่องนี้?
ตอบ ไม่ผิด ฯ เพราะไม่ได้เป็นผฆ่าหรือสั่งให้ฆ่า ฯ อุบาสกควรเว้นการค้าขายชนิดนี้เสีย ฯ
(ปี 45) คําว่า อุบาสก อุบาสิกา แปลว่าอะไร? การค้าขายยาเสพติดมียาบ้าเป็นต้นจัดเข้าในมิจฉาวณิชชาข้อไหน?
ตอบ อุบาสก แปลว่า ชายผเข้าถึงพระรัตนตรัย อุบาสิกา แปลว่า หญิงผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย ฯ การค้าขายนํ้าเมา ฯ
Ø
สมบัติและวิบัติ ๕ สมบัติของอุบาสกอุบาสิกา ๕ ประการ
๑. ประกอบด้วยศรัทธา. ๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา.
๒. มีศีลบริสุทธิ์. ๕. บําเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา.
๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือ เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล. ตรงข้ามกับสมบัติทั้ง ๕ นี้ เป็นวิบัติของอุบาสกอุบาสิกา
(ปี 57) อุบาสกอุบสิกาควรตั้งอยู่ในคุณสมบัติอะไรบ้าง?
(ปี 43) สมบัติและวิบัติของอุบาสกอุบาสิกามีอะไรบ้าง?
ตอบ มี ๑. ประกอบด้วยศรัทธา ๒. มีศีลบริสุทธิ์ ๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา ๕. บําเพ็ญบุญแต่ในพระพุทธศาสนา ตรงข้ามกับสมบัติทั้ง ๕ นี้ เป็นวิบัติของอุบาสกอุบาสิกา
หมวด ๖
Ø
ทิศ ๖ บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ทางสังคมดุจทิศที่อยู่รอบตัว
๑.ทิศเบื้องหน้า บิดามารดา ๔.ทิศเบื้องซ้าย มิตร
๒.ทิศเบื้องขวา ครูอาจารย์ ๕.ทิศเบื้องล่าง บ่าว
๓.ทิศเบื้องหลัง บุตรภรรยา ๖.ทิศเบื้องบน สมณพราหมณ์
(ปี 57) ในทิศ ๖ ทิศเหล่านี้หมายถึงใคร? ก. ทิศเบื้องหน้า ข. ทิศเบื้องขวา ค. ทิศเบื้องหลัง ง. ทิศเบื้องซ้าย จ. ทิศเบื้องบน
ตอบ ก. มารดาบิดา ข. ครูอาจารย์ ค. บุตรภรรยา ง. มิตร จ. สมณพราหมณ์ ฯ
(ปี 50) ทิศ ๖ ในคิหิปฏิบัติ มีอะไรบ้าง? แต่ละทิศหมายถึงใคร?
บุตรพึงบํารุงมารดาบิดา ๕ สถาน (ในเรื่องทิศ ๖)
๑.ท่านได้เลยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ ๔.ประพฤติตนให้เป็นคนควรรบทรัพย์มรดก
๒.ช่วยทํากิจของท่าน ๕.เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทําบุญอุทิศให้ท่าน
๓.ดํารงวงศ์สกุล
(ปี 63, 58, 55) บุตรธิดาพึงปฏิบัติต่อมารดาบิดาอย่างไร?
ศิษย์พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ ๕ สถาน
(ในเรื่องทิศ ๖)
๑. ลุกขึ้นยืนรับ ๔. อุปัฏฐาก
๒. เข้าไปยืนคอยรับใช้ ๕.เรยนศิลปวิทยาโดยเคารพ
๓. เชื่อฟัง
(ปี 59) ศิษย์ที่ดีพึงปฏิบัตต่อครูอาจารย์ อย่างไรบ้าง?
Ø คฤหัสถ์ควรบํารุงบรรพชิตด้วยการทํา การพูด การคิดประกอบด้วยเมตตา ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือมิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน ด้วย ให้อามิสทาน
Ø บรรพชิตควรอนุเคราะห์ต่อคฤหัสถ์ด้วยห้ามไม่ให้กระทําความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี อนุเคราะห์ด้วยนํ้าใจอันงาม ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคย ฟัง ทําสิ่งที่เคยฟังมาแล้วให้แจ่ม บอกทางสวรรค์ให้
(ปี 47) คฤหัสถ์และบรรพชิต มีหน้าที่จะพึงปฏิบัติแก่กันและกันอย่างไรบ้าง?
ตอบ คฤหัสถ์ควรบํารุงบรรพชิตด้วยการทํา การพูด การคิดประกอบด้วยเมตตา ด้วยความเป็นผไู้ ม่ปิดประตู คือมิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน
ด้วยให้ อามิสทาน
ส่วนบรรพชิตควรอนุเคราะห์ต่อคฤหัสถ์ด้วยห้ามไม่ให้กระทําความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี อนุเคราะห์ดวยนํ้าใจอันงาม ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่ เคยฟัง ทําสิ่งที่เคยฟังมาแล้วให้แจ่ม บอกทางสวรรค์ให้ ฯ
(ปี 45) การถือมงคลตื่นข่าวคือถืออย่างไร? พระพุทธศาสนาสอนให้ถืออย่างนั้นหรืออย่างไร? สมณพราหมณ์ เมื่อได้รับการบํารุงแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรอย่างไรบ้าง ?
ตอบ ถือว่านี้ฤกษ์ดี ยามดี เป็นมงคลดี นี้ฤกษ์ไม่ดี ยามไม่ดี ไม่เป็นสวัสดิมงคล ฯ พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้ถือเช่นนั้น สอนให้เชื่อว่า เรามีกรรมเป็นของของตน เราทําดีจักไดดี ทําชั่วจักได้ชั่ว ฯ
อย่างนี้ คือ ๑. ห้ามไม่ให้กระทําความชั่ว ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๓. อนุเคราะห์ด้วยนํ้าใจอันงาม ๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๕. ทําสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่ม ๖. บอกทางสวรรค์ให้ ฯ
ความหมาย/ประโยชน์วิชาพุทธประวัติ
สรุปพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี
(ปี 64, 61, 59, 52, 45) การเรียนรู้พุทธประวัติได้ประโยชน์อย่างไร ?
ตอบ ได้ประโยชน์ ๒ ประการ คือ
๑. ในด้านการศึกษา ทําให้ทราบความเป็นมาของพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับการศึกษาตํานานความเป็นมาของชาติตน ทําให้บุคคลได้ ทราบว่า ชาติของตนเป็นมาอย่างไร มีความสําคัญอย่างไร เป็นต้น
๒. ในด้านปฏิบัติ ทําให้บุคคลได้แนวในการดําเนินชีวิตตามพระพุทธจริยา อันเป็นปฏิปทานําความสุขความเจริญมาให้แก่บุคคลตาม สมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ
ฯ
(ปี 61, 58, 43) พุทธประวัติ คืออะไร? ตอบ คือ เรื่องที่พรรณนาความเป็นไปของสมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า ฯ
(ปี 58, 49, 43) พุทธประวัติ มีความสําคัญอย่างไรจึงต้องเรียนรู้ ?
ตอบ มีความสําคัญในการศึกษาและปฏิบัติพระพุทธศาสนา เพราะแสดงพระพุทธจริยาให้ปรากฏ เช่นเดียวกับตํานานย่อมมีความสําคัญต่อชาติของ
ตนที่ให้รู้ได้ว่าชาติได้เป็นมาแล้วอย่างไร ฯ
(ปี 49, 45) พุทธประวัติว่าด้วยเรื่องอะไร?
ตอบ ว่าด้วยเรื่องความเป็นมาของพระพุทธเจ้า เป็นการแสดงพระพุทธจริยาในด้านต่างๆ ของพระองค์ให้ปรากฏ ฯ
ชมพูทวีป
วรรณะ๔ มี กษัตริย์(ปกครองบ้านเมือง) ,พราหมณ์ (สั่งสอน ทําพิธีกรรม),
แพศย์ (เป็นทํานาค้าขาย), ศูทร (รับจ้างทํางาน เป็นกรรมกร)
(ปี 64, 63, 56, 51, 48) คนในชมพูทวีปแบ่งออกเป็นกี่วรรณะ? อะไรบ้าง?
ตอบ แบ่งเป็น ๔ วรรณะ
ฯ คือ
วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร ฯ
(ปี 64) วรรณะกษัตริย์ มีหน้าที่ทําอะไร ? ตอบ
มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง ฯ
(ปี 63, 61) เจ้าชายสิทธัตถะอุบัติขึ้นในวรรณะใด ? ชนชาติไหน
? ตอบ วรรณะกษัตริย์ ฯ ชนชาติอริยกะ ฯ
(ปี 62) พระพุทธเจ้าสืบเชื้อสายมาจากชนชาติใด ? ชนชาตินั้นมาตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปได้อย่างไร ?
ตอบ สืบเชื้อสายมาจากชนชาติอริยกะ ฯ ชาวอริยกะนั้นเป็นผู้เจริญด้วยความรและขนบธรรมเนียม มีสติปัญญามากกว่าพวกมิลักขะ เจ้าของถิ่น
เดิม เมื่อข้ามภูเขาหิมาลัยมา ก็รุกไล่พวกมิลักขะ เจ้าของถิ่นเดมให้ถอยเลื่อนลงมาทางใต้แล้วเข้าตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปแทน ฯ
(ปี 60, 54, 46) ประชาชนในชมพูทวีป มีกี่จําพวก ? พระพุทธเจ้าสืบเชื้อสายมาจากชนชาติใด ?
ตอบ มี ๒ จําพวก คือ
๑. มิลักขะ เจ้าของถิ่นเดิม ๒. อริยกะ
พวกอพยพมาใหม่ ฯ สืบเชื้อสายมาจากชนชาติอริยกะ ฯ
(ปี 59, 48) วรรณะทั้ง ๔ มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ มีหน้าที่ต่างกันอย่างนี้ ๑. วรรณะกษตริย์ มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง ๒. วรรณะพรามหณ์ มีหน้าที่ทางฝึกสอนและทําพิธีกรรม
๓. วรรณะแพศย์ มีหน้าททางทํานาค้าขาย ๔. วรรณะศูทร มีหน้าที่รับจ้าง ฯ
(ปี 57) ชมพูทวีปแบ่งเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คืออะไรบ้าง? ตอบ คือมัชฌิมชนบท และ
ปัจจันตชนบท ฯ
(ปี 51) พระพุทธบิดาอยู่ในวรรณะอะไร? ตอบ อยู่ในวรรณะกษัตรย์ ฯ
(ปี 44) ในครั้งพุทธกาล ชาวชมพูทวีปส่วนมากนับถือศาสนาอะไร? ชนเหล่านั้นมีความคิดเห็น เรื่องความตาย และความเกิด โดยสรุปอย่างไร?
ตอบ ศาสนาพราหมณ์ ฯ เห็นอย่างนี้ คือเห็นว่าตายแล้วเกิดอย่างหนึ่ง เห็นว่าตายแล้วสูญอย่างหนึ่ง ฯ
ศากยวงศ์
· ศากยวงศ์ สืบเชื้อสายมาจาก ชนชาติอริยกะ เป็นชนชาติที่มีความเจริญด้วยความรู้และขนบธรรมเนียม มีอํานาจมากกว่าพวกมิลักขะ เป็นเจ้าของถิ่นเดิม เมื่อชาวอริยกะข้ามภูเขาหิมาลัยก็มารุกไล่ชาวมิลักขะเจ้าของถิ่นเดมให้ถอยร่นลงมาทางใต้ แล้วชาวอริยกะก็ตั้งถิ่น
ฐานทชมพูทวีปแทน
·
พระเจ้าโอกกากราช เป็นต้นวงศ์ของศากยสกุล
·
สักชนบท แบ่งออกเป็น ๓ นคร คือ ๑.นครเดิมของพระเจ้าโอกกากราช ๒.นครกบิลพัสดุ์ ๓.นครเทวทหะ
·
(ปี 55) พระเจ้าสีหหนุ ปู่ของพระพุทธเจ้า
·
(ปี 60, 47) พระเจ้าสุทโธทนะ พ่อของพระพุทธเจ้า
·
(ปี 60, 47) พระนางสิริมหามายา แม่ของพระพุทธเจ้า (ท่านสวรรคตแล้ว ไปเกิดที่สวรรค์ชั้นดุสิต)
·
(ปี 59, 55) พระนางมหาปชาบดีโครตมี พระน้านางของพระพุทธเจ้า
·
(ปี 60, 47) พระนันทะ น้องชายต่างมารดาของพระพุทธเจ้า (พระเจ้าสุทโธทนะ+พระนางมหาปชาบดีโครตมี)
·
รูปนันทา
น้องสาวต่างมารดาของพระพุทธเจ้า
(พระเจ้าสุทโธทนะ+พระนางมหาปชาบดีโครตมี)
·
(ปี 55) พระนางพิมพา หรือ ยโสธรา พระชายาของพระพุทธเจ้า
(ปี 60) พระเจ้าสุทโธทนะ มีพระราชโอรสพระราชธิดากี่พระองค์ ? มีพระนาม
ว่าอะไรบ้าง ?
ตอบ มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ
๑. พระสิทธตถกุมาร ๒. พระนันทกุมาร มีพระราชธิดา ๑ พระองค์ คือ พระนางรูปนันทา ฯ
(ปี 59, 49) อสิตดาบส (กาฬเทวิลดาบส) และ มหาปชาบดีโคตมี เกี่ยวข้องกับเจ้าชายสิทธัตถะอย่างไร?
ตอบ อสิตดาบส (กาฬเทวิลดาบส) คือ ดาบสผเป็นที่คุ้นเคยของราชสกุล ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสติใหม่ๆ และ
พยากรณ์ว่า พระราชกุมารจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช หรือศาสดาเอกในโลก ฯ
ส่วน
มหาปชาบดีโคตมี เป็นพระมาตุจฉา คือพระน้านางของเจ้าชายสิทธัตถะ ฯ
(ปี 56) พระพุทธบิดาทรงมีพระนามว่าอะไร ? ทรงปกครองแคว้นอะไร ? เมืองหลวงชื่ออะไร ?
ตอบ พระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ฯ แคว้นสักกะ ฯ ชื่อกบิลพัสดุ์ ฯ
(ปี 53, 47) ศากยวงศ์สืบเชื้อสายมาจากชนชาติใด? ชนชาตินั้นมาตงั้ ถิ่นฐานในชมพูทวีปได้อย่างไร?
ตอบ สืบเชื้อสายมาจากชนชาติอริยกะ ฯ ชาวอริยกะนั้นเป็นผู้เจริญด้วยความรและขนบธรรมเนียม มีอํานาจมากกว่าพวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม
เมื่อข้ามภเู ขาหิมาลัยมาก็รุกไล่พวกมิลักขะ เจ้าของถิ่นเดิมให้ถอยร่นลงมาทางใต้แล้วเข้าตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปแทน ฯ
(ปี 50) เจ้าชายนันทกุมารกับเจ้าหญิงรูปนันทา เป็นพระโอรสและพระธิดาของใคร? มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าชายสิทธัตถกุมารอย่างไร? ตอบ
เป็น พระโอรสและพระธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางปชาบดีโคตมี ฯ มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าชายสิทธัตถกุมารโดยเป็นพระกนิฏฐภาดาและ
กนิฏฐภคินีต่างพระมารดา
ฯ
(ปี
46) กษัตริย์พระองค์ใดที่เป็นต้นศากยวงศ์? พระโอรสและพระธิดาของเจ้าศากยะไปสร้างพระนครขึ้นใหม่ชื่อว่าเมืองอะไร? ที่ชื่ออย่างนั้น
เพราะเหตุไร? ตอบ
พระเจ้าโอกกากราช ฯ เมืองกบิลพัสดุ์ ฯ เพราะเป็นที่อยู่ของกบิลดาบสมาก่อน
ฯ
(ปี 44) กาฬเทวิลดาบส กราบที่พระบาทพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ เพราะเหตุไร?
ตอบ เพราะเห็นพระราชโอรสนั้นมีลักษณะต้องด้วยตํารับมหาบุรุษลักษณะครั้นเห็นอัศจรรย์เช่นนั้นแล้วก็มีความเคารพนับถือจึงกราบที่พระบาท
ของพระราชโอรสนั้น
กลุ่มคนและบุคคลในพุทธกาล
·
สหชาติ ๗ มี คน ๔ สัตว์ ๑ ต้นไม้ ๑ สิ่งของ ๑
๑.พิมพา (ยโสธรา) ๕.ม้ากัณฐกะ
(ตายแล้ว ไปเกิดที่ดาวดึงส์)
๒.อานนท์ ๖.ต้นพระศรีมหาโพธิ์
๓. (ปี 60, 55, 47) ฉันนะ เป็นผตามเสด็จคราวเสด็จออกบวช ๗.ขมทรัพย์ทั้ง ๔
๔.กาฬุทายี
· อสิตดาบส (เรียกอีกชื่อว่า กาฬเทวิลดาบส) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสติใหม่ๆ อสิตดาบสได้เข้าเฝ้าและทายพระลักษณะว่า ถ้าอยู่ครอง สมบัตจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก
·
(ปี 60, 47) วิศวามิตร ป็นครูผู้สอนศิลปวิทยาของเจ้าชายสตธัตถะ เมื่อยังทรงพระเยาว์
(ปี
63,
57)
อสิตดาบสกล่าวทํานายพระมหาบุรุษไว้ว่าอย่างไร?
ตอบ ว่ามีคติเป็น ๒ คือ ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจักได้ตรส
(ปี 61, 51) อสิตดาบสได้ทํานายสิทธัตถกุมารว่าอย่างไร?
รู้เป็นพระสมมาสัมพุทธเจ้า ฯ
ตอบ ทํานายว่า ถ้าอยู่ครองสมบัติ จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ถ้าออกบวช จักได้เป็นพระศาสดาเอกในโลก ฯ
(ปี 56) อสิตดาบส อาฬารดาบส และอุทกดาบส มีความเกี่ยวข้องกับพระมหาบุรุษอย่างไร?
ตอบ อสิตดาบส เป็นผู้คุ้นเคยเป็นที่เคารพนับถือของศากยสกุล ในเวลาที่พระมหาบุรุษประสติใหม่ๆ ท่านได้ไปเยี่ยม และได้พยากรณ์ทํานายพระ
ลักษณะของพระมหาบุรุษ ว่ามีคตเป็น ๒ ก่อนคนอื่นทั้งหมด อาฬารดาบสและอุทกดาบส เป็นผู้ที่พระองค์ได้เคยอยู่อาศัยศึกษาลัทธิของท่านทั้ง๒ฯ
เหตุการณ์ในระหว่างพระชนม์ของพระพุทธเจ้า
เมื่อประสูติใหม่ๆ อสิตดาบส(กาฬเทวิลดาลส) เข้าเฝ้าและทายพระลกษณะ
๕ วัน ขนานพระนาม (ตั้งชื่อ) ว่า “สิทธัตถกุมาร”
๗ วัน พระมารดาสวรรคต
๗ ปี พระราชบิดาตรสสั่งให้ขุดสระโบกขรณี ๓ สระในพระราชวัง ให้เป็นที่เล่นสําราญแก่พระองค์ และ ทรงศึกษาศิลปวิทยา (เรียน)
๑๖
ปี พระราชบิดาตรส
สั่งให้สร้างปราสาท ๓ หลัง เพื่อเป็นที่เสด็จอยู่ใน ๓ ฤดู และตรส
ขอพระนางยโสธรามาอภิเษกเป็นพระชายา
๒๙ ปี ได้พระโอรสนามว่าพระราหุล
และเสด็จออกบรรพชา
๓๕ ปี ตรัสรู้
๘๐ ปี ปรินิพพาน
(ปี 64, 57) พระพุทธเจ้า(พระมหาบุรุษ)ประสูติที่ไหน? เมื่อไร?
ตอบ ลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ฯ วันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี ฯ (ปี 64, 62,
59, 53)
พระพุทธเจ้าเสด็จออกผนวช ตรัสรู้ และปรินิพพาน เมื่อมีพระชนมายุเท่าไรบ้าง? ตอบ เสด็จออกผนวช เมื่อมีพระชนมายุ ๒๙ ปี
ตรัสรู้ เมื่อมีพระชนมายุ ๓๕ ปี ปรินิพพาน
เมื่อมีพระชนมายุ ๘๐
ปี ฯ
(ปี 63) พระพุทธเจ้า ประสติ ตรสรู้ แสดงปฐมเทศนา ปรินิพพาน และถวายพระเพลิงในวันใด?
ตอบ ประสติในวันเพ็ญเดือน ๖
ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ แสดงปฐมเทศนาในวันเพ็ญเดือน
๘ ปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน
๖ ถวายพระเพลิงในวันอัฏฐมีแรม ๘
คํ่าเดือน ๖ฯ
(ปี 61, 60, 58, 49, 43) เจ้าชายสิทธัตถะทรงปรารภอะไรจึงเสด็จออกบวช ? ทรงบวชได้กี่ปี จึงตรัสรู้ ?
ตอบ ทรงปรารภความแก่ ความเจ็บ ความตาย และสมณะ ฯ ๖ ปี จึงตรัสรู้ ฯ
(ปี 56) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕ วัน พระราชบิดาโปรดให้ทําอะไรเพื่อพระราชกุมารบ้าง?
ตอบ โปรดให้ชุมนุมพระญาติวงศ์ และเสนามาตย์พร้อมกับเชิญพราหมณร้อยแปดคนมาฉันโภชนาหาร แล้วทํามงคลรับพระลักษณะ และขนาน พระนามว่าสิทธัตถกุมาร ฯ
(ปี 54) เมื่อพระมหาบุรษมีพระชนมายุได้ ๕ วัน ๗ วัน ๗ ปี ๑๖ ปี ๒๙ ปี มีเหตุการณสําคัญเกิดแก่พระองค์อะไรบ้าง?
(ปี 53) ภายใน ๗ วัน หลังจากสิทธัตถะราชกุมารประสูติแล้ว มีเหตุการณสําคัญเกิดขึ้นแก่พระองค์อย่างไรบ้าง?
ตอบ ๑. เมื่อประสติแล้วใหม่ ๆ อสิตดาบส (หรือกาฬเทวิลดาบส) เข้าไปเฝ้าเยี่ยมและทํานายพระลักษณะ
๒. วันที่ ๕ พระเจ้าสุทโธทนะเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คนมาฉันโภชนาหารและขนานพระนามพระราชกุมารว่าสิทธัตถกุมาร
๓. วันที่ ๗ พระราชมารดาทิวงคต ฯ
(ปี 58, 49) พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานที่ใต้ต้นไม้อะไร? ตอบ ประสูติและปรินิพพาน ใต้ต้นสาละฯ ตรัสรู้ ใต้ต้นโพธิ์(อัสสัตถพฤกษ์)ฯ
(ปี 50) พระพุทธเจ้า ประสติ ตรสรู้ และปรินิพพาน ในวันใด? ที่ไหน?
ตอบ ประสติในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี
ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๕ ปี
และปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน ๖ ปีตั้งต้นพุทธศก ฯ
ส่วนสถานที่นั้น คือ
ประสูติที่ใต้ร่มไม้สาละในลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ
ตรัสรู้ที่ใต้ต้นโพธิ์ (อัสสัตถพฤกษ์) ริมฝั่งแม่นํ้าเนรญชรา
ปรินิพพานที่ป่าไม้สาละ (สาลวโนทยาน) เมืองกุสินารา ฯ
(ปี 50, 44) เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติได้ ๕ วัน และ
๗ วัน
มีเหตุการณ์สําคัญอะไรเกิดขึ้น?
ตอบ เมื่อประสูติได้ ๕ วัน พระราชบิดาเชิญพราหมณ์ ๑๐๘
คนมาฉันโภชนาหาร ทํานายพระลักษณะและขนานพระนาม และเมื่อประสูติได้ ๗ วัน พระราชมารดาเสด็จสวรรคต ฯ
พิธีแรกนาขวัญ (เรียกอีกอย่างว่า พิธีวัปปมงคล)
(ปี 50) เหตุการณ์ที่เงาต้นหว้าในเวลาบ่ายแล้วไมคล้อยไปตามตะวัน กลับตั้งอยู่ดุจเวลาเที่ยง ปรากฏเมื่อคราวพระมหาบุรุษทรงทําอะไรอยู่?
ตอบ ทรงนั่งขัดบัลลังก์สมาธิ เจริญอานาปานสติกัมมฏฐาน ทําปฐมฌาน
ให้เกิดขึ้น ฯ
(ปี 48) ในวันเสด็จแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะบังคมสิทธัตถราชกุมารผู้ประทับนั่งใต้ต้นหว้า เพราะเหตุไร?
ตอบ เพราะทรงเห็นอัศจรรย์ในขณะที่สิทธัตถราชกุมารประทับนั่งใต้ต้นหว้า เงาของต้นหว้าไม่คล้อยไปตามตะวัน แม้จะเป็นเวลาบ่ายแล้ว ยังดํารง อยู่เสมือนเที่ยงวัน ฯ
เสด็จออกบวช
·
บรรพชา ริมฝั่งแม่นํ้าอโนมา ณ อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ
·
อาฬารดาบส มหาบรุษไดไ้ ปศึกษาด้วยจนสาเร็จ สมาบัติ ๗ (รูปฌาณ ๔ อรูปฌาณ ๓)
·
อุททกดาบส มหาบรุษได้ไปศึกษาด้วยจนสําเร็จ สมาบัติ ๘ (อรูปฌาณ ๔)
(ปี 62) อาฬารดาบสและอุทกดาบส มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร?
ตอบ อาฬารดาบสและอุทกดาบส เป็นผู้ที่พระองค์ได้เคยอยู่อาศัยศึกษาลัทธิของท่านทั้ง ๒ ฯ
(ปี 56) อสิตดาบส อาฬารดาบส และอุทกดาบส มีความเกี่ยวข้องกับพระมหาบุรุษอย่างไร?
ตอบ อสิตดาบส เป็นผู้คุ้นเคยเป็นที่เคารพนับถือของศากยสกุล ในเวลาที่พระมหาบุรุษประสติใหม่ๆ ท่านได้ไปเยี่ยม และได้พยากรณ์ทํานายพระ ลักษณะของพระมหาบุรุษ ว่ามีคติเป็น ๒ ก่อนคนอื่นทั้งหมด ฯ
อาฬารดาบสและอุทกดาบส เป็นผู้ที่พระองค์ได้เคยอยู่อาศัยศึกษาลัทธิของท่านทั้ง ๒ ฯ
(ปี 63, 60, 58, 49, 43) เจ้าชายสิทธัตถะทรงปรารภอะไรจึงเสด็จออกบวช? ทรงบวชได้กี่ปี จึงตรัสรู้ ?
ตอบ ทรงปรารภความแก่ ความเจ็บ ความตาย และสมณะ ฯ ๖ ปี จึงตรัสรู้ ฯ
(ปี 62) อะไรเป็นมูลเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช?
ตอบ พระอรรถกถาจารย์แสดงตามนัยมหาปทานสูตรว่า ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่
คนเจ็บ คนตาย
และสมณะ ทรงสังเวช เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต ๓ ข้างต้น ยังความพอพระหฤทัยในการออกผนวชให้เกิดขึ้น เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นสมณะ ฯ
(ปี 56) พระมหาบุรุษทรงทอดพระเนตรเห็นคนแก่คนเจ็บคนตาย และบรรพชิตแล้วทรงดําริอย่างไร?
ตอบ เมื่อทรงเห็นคนแก่คนเจ็บคนตายแล้ว ทรงน้อมเข้ามาเปรียบกับพระองค์เอง เกิดความสังเวชว่า เราจะต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายเช่นกัน เมื่อ ทรงเห็นบรรพชิต ทรงดําริว่า สาธุโขปพฺพชฺชา บวชดีนักแล ฯ
(ปี 55) พระมหาบุรุษเสด็จออกบรรพชา เพราะทรงปรารภเหตุอะไร?
ตอบ พระมหาบุรุษเสด็จออกบรรพชา เพราะทรงปรารภความแก่ ความเจ็บ ความตาย อันครอบงํามหาชนทุกคน อีกนัยหนึ่ง เพราะทรง ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔
คือ คนแก่
คนเจ็บ คนตาย
และสมณะ ทรงสลดพระทัยเพราะไม่เคยพบเห็นมาแต่ก่อน ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็น สมณะเข้าเกิดพระทัยในการบรรพชา ฯ
(ปี 52) เทวทูต ๔ ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นคืออะไรบ้าง? ทรงเห็นแล้ว มีพระดําริอย่างไร?
ตอบ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย
และสมณะ ฯ ทรงมีพระดําริว่า บุคคลทั่วไปถูกความเจ็บ ความแก่
ความตายครอบงํา ไม่ล่วงพ้นไปได้ ถึง
พระองค์เองก็มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ควรแสวงหา อุบายเครื่องพ้น แต่ฆราวาสเป็นที่คับแคบ ดุจเป็นทางที่มาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง พอที่จะ
แสวงหาอุบายนั้นได้ จึงน้อมพระหฤทัยไปในบรรพชา ฯ
(ปี 48) พระมหาบุรุษเสด็จออกบรรพชา เพราะทอดพระเนตรเห็นอะไร? และเมื่อเห็นแล้วทรงพระดําริอย่างไร?
ตอบ เพราะทอดพระเนตรเห็นเทวทูต ๔ คือ คนแก่
คนเจ็บ คนตาย
และสมณะ ฯ ทรงพระดําริว่า บุคคลทั่วไปเมาอยู่ในวัย ในความไม่มีโรค และ
ในชีวิต ถูกความเจ็บ ความแก่ ความตายครอบงํา ไมล่วงพ้นไปได้ ถึงพระองค์เองก็มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ควรแสวงหาอุบายเครื่องพ้น ธรรมดา
สภาวะทั้งปวงย่อมมีของที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามแก้กัน เช่นมีร้อนก็ต้องมีเย็นแก้ มีมดก็ต้องมีสว่างแก้ แต่ฆราวาสเป็นที่คับแคบ ดุจเป็นทางที่มาแห่ง
ธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง พอที่จะแสวงหาอุบายนั้นได้ จึงน้อมพระทัยไปในบรรพชา ฯ
(ปี 47) การที่พระราชบิดาและพระญาติวงศ์ คิดผูกพันเจ้าชายสิทธัตถะไว้ให้เพลดเพลินอยู่ในกามสุขเพราะเหตุไร? และด้วยวิธีใด?
ตอบ เพราะพระราชบิดาและพระญาติวงศ์ได้ทรงฟังคําทํานายของอสิตดาบสว่า พระราชกุมารนี้จักมีคติเป็นสอง คือ ถ้าอยู่ครองราชสมบัติจักได้
เป็นจักรพรรดิราช หรือถ้าออกบรรพชาจักได้เป็นศาสดาเอกในโลก จึงปรารถนาให้อยู่ครองราชสมบัติมากกว่าที่จะยอมให้เสด็จออกบรรพชา ฯ
ด้วยการตรัสให้ขุดสระโบกขรณีในพระราชนิเวศน์ ๓ สระ เพื่อให้เป็นที่เล่นสําราญพระราชหฤทัย ให้จัดเครื่องทรง คือจันทน์สําหรับทา ผ้าโพกพระ
เศียร ฉลองพระองค์ ผ้าทรงสะพัก พระภูษา ล้วนเป็นของประณต มาอภิเษกเป็นพระชายา ฯ
ให้สร้างปราสาท ๓ หลังสําหรับเป็นที่ประทับทั้ง ๓
ฤดู ตรส
ขอพระนางยโสธรา
(ปี 45) พระมหาบุรุษทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิตที่ไหน ? ตอบ
ที่ริมฝั่งแม่นํ้าอโนมา ณ อนุปิยอมพวัน แคว้นมัลละ ฯ
(ปี 44) อะไรเป็นมูลเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช? พระสทธัตถะทรงบําเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยวิธีอย่างไรบ้าง?
ตอบ พระอรรถกถาจารย์แสดงตามนัยมหาปทานสูตรว่า ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔
คือ คนแก่
คนเจ็บ คนตาย
และสมณะ ทรงสังเวช เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต ๓ ข้างต้น ยังความพอพระหฤทัยในการออกผนวชให้เกิดขึ้น เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นสมณะ ฯ
วิธีแรก ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุด้วยพระชิวหา
วิธีที่สอง ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ
วิธีที่สาม ทรงอดพระกระยาหาร ฯ
(ปี 54) พระมหาบุรุษได้ทรงศึกษาในสํานักอาฬารดาบสและอุทกดาบสจนจบวิชาความรู้ของอาจารย์ การที่จะกล่าวว่า พระองค์ตรส พระองค์เองโดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์ นั้นเพราะเหตุไร?
รู้ชอบด้วย
ตอบ เพราะความรู้ที่เรียนในสํานักดาบสทั้ง ๒
นั้น เป็นโลกิยธรรม ส่วนความรู้ที่ตรสรู้เอง
เป็นโลกุตรธรรมที่ไม่มีใครรู้มาก่อน
บําเพ็ญทุกรกิริยา
(ปี 56) พระมหาบุรุษเสด็จประทับบําเพ็ญเพียรจนถึงตรส
รู้ ณ ตําบลใด? ตอบ ณ ตําบลอุรุเวลาเสนานิคม ฯ
(ปี 55) ทุกรกิริยา คืออะไร? พระมหาบุรุษทรงบําเพ็ญทุกรกิริยาด้วยอย่างไรบ้าง? จงบอกมา ๑ ข้อ
ตอบ ทุกรกิริยา คือ การทรมานกายให้ลําบาก ฯ พระพุทธเจ้าทรงบําเพ็ญทุกรกิริยา ๓ วาระ
๑.ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ (กดฟัน) กดพระตาลุด้วยพระชิวหา (เอาลิ้นดุนเพดาน) ไว้จนแน่จนพระเสโท (เหงื่อ) ไหลออกจากพระกัจฉะ(รักแร้)
๒.ทรงผ่อนกลั้นลมหายใจเข้าออก
๓.ทรงอดพระกระยาหาร ฯ
(ปี 54) พระมหาบุรุษทรงบําเพ็ญทุกรกิริยา ณ ที่ไหน? ผู้ที่รู้เห็นเป็นพยานในเรื่องนี้คือใคร?
ตอบ ณ ตําบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ฯ ที่รู้เห็นเป็นพยานคือ พระปัญจวัคคีย์ ฯ
(ปี 52) การที่พระมหาบุรุษทรงเลกบําเพ็ญทุกกรกิริยานั้น เพราะเหตุไร?
ตอบ เพราะทรงดําริว่า ทุกกรกิริยาที่ทรงบําเพ็ญนั้นจะยิ่งไปกว่านี้ไม่มี แต่ก็ไม่เป็นทางให้ตรัสรู้ได้ การบําเพ็ญเพียรทางจิตจักเป็นทางตรัสรู้ได้ กระมัง แต่คนซูบผอมเช่นนี้ไม่สามารถทําได้ จึงทรงเลิกบําเพ็ญทุกกรกิริยา กลับมาเสวย พระอาหารตามปกติ ฯ
ก่อนตรัสรู้
·
(ปี 55) นางสุชาดา เป็นผู้ถวายข้าวมธุปายาสก่อนตรส
รู้
(ปี 44) ในวันตรัสรู้ทรงอธิษฐานพระหฤทัยที่ใต้ต้นมหาโพธิ์ว่าอย่างไร?
ตอบ ทรงอธิษฐานพระหฤทัยว่า "ยังไม่บรรลุโพธิญาณเพียงใด จักไม่ลุกขนเพียงนั้น เนื้อเลือดแห้งไป เหลือหนังหุ้มกระดูกก็ตาม" ฯ (ปี 44) พระสิทธัตถะทรงผจญมารได้ชัยชนะด้วยบารมีธรรมอะไรบ้าง?
ตอบ ด้วยบารมีธรรม ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล
เนกขัมมะ ปัญญา
วิริยะ ขันติ
สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ฯ
(ปี 48 เรื่องญาณ ๓) พระญาณที่เกิดขึ้นแก่พระมหาบุรุษในวันที่ตรัสรู้นั้น คืออะไรบ้าง?
ตอบ คือ ๑.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงชาติหนหลังของพระองค์ได้
๒.จุตูปปาตญาณหรือทิพพจักขุญาณ ญาณหยั่งรู้การจุติและการเกิดของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม
๓.อาสวักขยญาณ ญาณเป็นเหตุสนอาสวะอันหมักหมมอยู่ในจิตตสนดาน ฯ
(ปี 45, 43 เรื่องญาณ ๓) ในราตรีแห่งการตรัสรู้ พระมหาบุรุษทรงบรรลญาณอะไรในแต่ละยาม?
ตอบ ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในปฐมยาม
ทรงบรรลจุตูปปาตญาณหรือทิพพจักษุญาณ ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ในปัจฉิมยาม ฯ
(ปี 43 เรื่องญาณ ๓) ญาณข้อไหน ที่ทําให้พระองค์ทรงสําเร็จความเป็นพุทธะโดยสมบูรณ์ ? ตอบ ญาณ ข้อที่ ๓
หลังตรัสรู้
(ปี 53) เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ พระองค์ทรงพิจารณาบุคคลผส
ตอบ บัว ๓ เหล่า
ามารถจะตรัสรู้ธรรมได้โดยเปรียบเทียบกับบัว ๓ เหล่า อย่างไรบ้าง?
๑.ดอกบัวที่โผล่พ้นนํ้าแล้ว เมื่อถูกแสงพระอาทิตย์ก็พร้อมที่จะเบ่งบานทันที คือผู้เข้าใจเร็วพลัน เพียงท่านยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดง (กิเลสน้อย อินทรีย์กล้า)
๒.ดอกบัวที่อยู่เสมอนํ้า พร้อมจะบานในวันพรุ่ง คือผู้รู้และเข้าใจได้ต่อเมื่อท่านอธิบายขยายเนื้อความจึงรู้แจ้ง (กิเลสปานกลาง อินทรีย์ปานกลาง)
๓.ดอกบัวที่อยู่ใต้นํ้า พร้อมที่จะบานในวันต่อๆ ไป คือผู้พอแนะนําพรํ่าสอนบ่อยๆ ค่อยเข้าใจได้ (กิเลสหนา อินทรีย์อ่อน)
(ปี 58) ผู้ประกาศตนเป็นอุบาสกด้วยการถึงรัตนะ ๒ เป็นครั้งแรก คือใคร ? ได้พบพระพุทธเจ้าที่ไหน ?
ตอบ คือตปุสสะ และภัลลิกะ ฯ ทใต้ต้นราชายตนะ ฯ
(ปี 51) พระกระยาหารมื้อแรกของพระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้คืออะไร? ใครเป็นผู้ถวาย?
ตอบ คือ
ข้าวสัตตุผง ข้าวสัตตุก้อน ฯ พ่อค้า ๒ คน ชื่อตปุสสะและภัลลิกะ ฯ
(ปี 45) พระพุทธองค์ทรงตัดสินพระทัยแสดงธรรมโปรดเวไนยสตว์เพราะทรงพิจารณาอย่างไร?
ตอบ เพราะทรงพิจารณาว่า บุคคลผู้มีกิเลสน้อยเบาบางก็มี หนาก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี อ่อนก็มี เป็นผจะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี โดยยากก็มี เป็น ผู้สามารถจะรไู้ ด้ก็มี ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พระธรรมเทศนาคงไม่ไร้ผล จักยังประโยชน์ให้สําเรจแก่ คนทุกเหล่า เว้นแต่จําพวกที่มิใช่เวไนยสตว์ที่เปรียบด้วยดอกบัวอันเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า ฯ
(ปี 44) พระสิทธัตถะทรงบําเพ็ญเพียรอยู่เป็นเวลากี่ปีจึงได้ตรัสรู้ ? ตอบ เป็นเวลา ๖ ปี
(ปี 56) เมื่อพระศาสดาเสด็จไปเมองพาราณสเพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ ทรงพบใครในระหว่างทาง? และหลังสนทนากันแล้วผู้นั้นได้บรรลผ
ตอบ ทรงพบอุปกาชีวก ฯ ไม่ได้บรรลุผลอะไร ฯ
ลอะไร?
(ปี 47) หลังจากตรัสรู้แล้ว ในระหว่างทางที่เสด็จไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธองค์ทรงสนทนากับใคร? และผู้นั้นไดบรรลุธรรมชั้นไหน?
ตอบ ทรงพบอุปกาชีวก ฯ อุปกาชีวกไม่ได้บรรลุธรรมชั้นไหนเลย ฯ
(ปี 45) พระพุทธองค์ตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ในพรรษาแรกเสด็จประทับอยู่ที่ไหน? และทรงบําเพ็ญพุทธกิจไว้อย่างไร?
ตอบ ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ ได้ทรงบําเพ็ญพุทธกิจที่สําคัญไว้ดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น