๑๕. พระกีสาโคตมีเถรี
พระกีสาโคตมีเถรี ถือกาเนิดในสกุลคนเข็ญใจ ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาตั้งชื่อให้
นางว่าโคตมี แต่เพราะนางเป็นผู้มีรูปร่างผอมบาง คนทั่วไปจึงพากันเรียกนางว่ากีสาโคตมี
ในกรุงสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีคนหนึ่งมีทรัพย์สินเงินทองมากมายถึง ๔๐ โกฏิ แต่ต่อมา
ทรัพย์เหล่านั้นกลายสภาพเป็นถ่านไปทั้งหมด เศรษฐีจึงเกิดความเสียดาย เศร้าโศกเสียใจ
กินไม่ได้นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอมไปจากเดิม มีสหายคนหนึ่งมาเยี่ยมเยียน ได้ทราบสาเหตุ
ความทุกข์ของเศรษฐีแล้ว จึงแนะนาที่จะให้ถ่านเหล่านั้นกลับมาเป็นเงินเป็นทองดังเดิมว่า
แนะสหาย ท่านจงนาถ่านทั้งหมดนี้ออกไปวางที่ริมถนนในตลาด ทาทีประหนึ่งว่านาสินค้า
ออกมาขาย ถ้ามีคนผ่านไปผ่านมาพูดว่า คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ามัน น้าผึ่ง น้าอ้อย เป็นต้น
แต่ท่านกลับ เอาเงินเอาทองมานั่งขาย ถ้าคนที่พูดนั้นเป็นหญิงสาว ท่านก็จงสู่ขอนางมาเป็น
สะใภ้ แล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดนั้นให้แก่เธอ ท่านก็จงอาศัยเลี้ยงชีพอยู่กับเธอนั้น แต่ถ้าคนที่
พูดเป็นชายหนุ่ม ท่านก็จงยกธิดาให้แก่เขา แล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดให้แก่เขาโดยทานองเดียวกันเศรษฐีได้ฟังสหายแนะนาแล้วเห็นชอบ จึงทาตามสหายแนะนาทุกอย่าง ประชาชน
ที่ผ่านไปผ่านมาต่างก็พูดกันว่า คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ามัน น้าผึ้ง น้าอ้อย เป็นต้น แต่ท่าน
กลับมานั่งขายถ่าน เศรษฐีตอบว่า ก็เรามีถ่านอย่างเดียว สิ่งอื่น ๆ เราไม่มี
วันนั้น นางกีสาโคตมี เดินเข้าไปทาธุระในตลาด เห็นเศรษฐีแล้วนึกประหลาดใจ
จึงถามว่า คุณพ่อ คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ามัน น้าผึ้ง น้าอ้อย เป็นต้น แต่ทาไมคุณพ่อ
กลับนาเงินทองมาขายเล่า เศรษฐีกล่าวว่า เงินทองที่ไหนกันแม่หนู
คุณพ่อ ก็ที่กองอยู่นี่ไง พูดแล้วนางก็กอบให้เศรษฐีดู ทันใดนั้น เศรษฐีก็เห็นถ่าน
ในกามือของนางกลายเป็นเงินเป็นทองจริง ๆ
จากนั้น เศรษฐีได้สอบถามถึงสถานที่อยู่และตระกูลของนางแล้ว ได้สู่ขอนางมาทา
พิธีอาวาหมงคลกับบุตรชายของตน แล้วมอบทรัพย์ ๔๐ โกฏินั้นให้แก่นาง ทรัพย์เหล่านั้น
ก็กลับเป็นเงินเป็นทองดังเดิม
สมัยต่อมานางตั้งครรภ์ โดยกาลล่วงไป ๑๐ เดือน นางได้คลอดบุตรคนหนึ่ง ในครั้งนั้น
ชนทั้งหลายได้ทาความยกย่องนาง ครั้นเมื่อบุตรของนางตั้งอยู่ในวัยพอจะวิ่งไปวิ่งมาเล่นได้
ก็มาตายเสีย ความเศร้าโศกได้เกิดขึ้นแก่นาง
นางห้ามพวกชนที่จะนาบุตรนั้นไปเผา เพราะไม่เคยเห็นความตาย จึงอุ้มใส่สะเอว
เที่ยวเดินไปตามบ้านเรือนในพระนครแล้วพูดว่า ขอพวกท่านจงให้ยาแก่บุตรเราด้วยเถิด
เมื่อนางเที่ยวถามว่า ท่านทั้งหลายรู้จักยาเพื่อรักษาบุตรของฉันบ้างไหมหนอ
คนทั้งหลายพูดกับนางว่า แม่ เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ เจ้าเที่ยวถามถึงยาเพื่อรักษาบุตร
ที่ตายแล้ว
พวกคนทั้งหลายต่างก็พากันกระทาการเย้ยหยันว่า ยาสาหรับคนตายแล้ว ท่านเคย
เห็นที่ไหนบ้าง แต่นางมิได้เข้าใจความหมายแห่งคาพูดของพวกเขาเลย
ทีนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตคนหนึ่ง เห็นนางแล้วคิดว่า หญิงนี้จะคลอดบุตรคนแรก
ยังไม่เคยเห็นความตาย เราควรเป็นที่พึ่งของหญิงนี้ จึงกล่าวว่า แม่ ฉันไม่รู้จักยา แต่ฉันรู้จัก
คนผู้รู้ยา
นางกีสาโคตมี ถามว่า ใครรู้ พ่อ บัณฑิตตอบว่า แม่ พระพุทธเจ้าทรงทราบ จงไป
ทูลถามพระพุทธองค์เถิด นางกล่าวว่า พ่อ ฉันจะไป จะทูลถาม แล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่สุดข้างหนึ่ง ทูลถามว่า
ทราบว่า พระองค์ทรงทราบยาเพื่อบุตรของหม่อมฉันหรือ พระเจ้าข้าพระศาสดาตรัสว่า ใช่ เรารู้
นางกีสาโคตมีทูลถามว่า ได้อะไร จึงควร
พระศาสดา ตรัสว่า ได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดสักหยิบมือหนึ่ง ควร
นางกีสาโคตมีทูลถามต่อไปว่า ได้ พระเจ้าข้า แต่ได้ในเรือนใคร จึงควร
พระศาสดาตรัสว่า บุตรหรือธิดาไร ๆ ในเรือนของผู้ใด ไม่เคยตาย ได้ในเรือนของผู้นั้น
จึงควร
นางทูลรับว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้า อุ้มบุตรเข้าสะเอวแล้ว
เข้าไปภายในบ้าน ยืนที่ประตูเรือนหลังแรกกล่าวว่า เมล็ดพันธุ์ผักกาดในเรือนนี้ มีบ้างไหม
ทราบว่านั่นเป็นยาเพื่อบุตรของฉัน
เมื่อเขาตอบว่า มี จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นจงให้เถิด เมื่อคนเหล่านั้นนาเมล็ดพันธุ์
ผักกาดมาให้ จึงถามว่า ในเรือนนี้ เคยมีบุตรหรือธิดาตายบ้างหรือไม่เล่า แม่
เมื่อเขาตอบว่า พูดอะไรอย่างนั้น แม่ คนเป็นมีไม่มาก คนตายนั้นแหละมาก
นางจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น จึงรับเมล็ดพันธุ์ผักกาดของท่านคืนไปเถิด นั่นไม่เป็นยา
เพื่อบุตรของฉัน แล้วได้ให้เมล็ดพันธุ์ผักกาดคืนไปก็เที่ยวถามโดยทานองนี้ ตั้งแต่เรือนหลังต้น
ไปเรื่อย
จนถึงเย็น นางหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากเรือนที่ไม่เคยมีบุตรธิดาที่ตายลงไม่ได้แม้แต่
หลังหนึ่ง จึงได้ความว่า โอ กรรมหนัก เราได้ทาความสาคัญว่า บุตรของเราเท่านั้นที่ตาย ก็ใน
บ้านทั้งสิ้น คนที่ตายเท่านั้นมากกว่าคนเป็น
ดังนี้ จึงได้ทาความสังเวชใจ แล้วจึงออกไปภายนอกพระนครนั้น ไปยังป่าช้าผีดิบ
เอามือจับบุตรแล้วพูดว่า แน่ะลูกน้อย แม่คิดว่า ความตายนี้เกิดขึ้นแก่เจ้าเท่านั้น แต่ว่าความ
ตายนี้ไม่มีแก่เจ้าคนเดียว นี่เป็นธรรมดามีแก่มหาชนทั่วไป ดังนี้แล้ว จึงทิ้งบุตรในป่าช้าผีดิบ
แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
ธรรมนี้นี่แหละคือความไม่เที่ยง มิใช่ธรรมของชาวบ้าน มิใช่ธรรมของนิคม
ทั้งมิใช่ธรรมสกุลเดียวด้วย แต่เป็นธรรมของโลกทั้งหมด พร้อมทั้งเทวโลก
เมื่อนางคิดอยู่อย่างนี้ หัวใจที่อ่อนด้วยความรักบุตร ได้ถึงความแข็งแล้ว นางทิ้งบุตร
ไว้ในป่า ไปยังสานักพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้ยืน ณ ที่สุดข้างหนึ่ง
ลาดับนั้น พระพุทธเจ้าตรัสถามนางว่า เธอได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดประมาณหยิบมือหนึ่ง
แล้วหรือนางกีสาโคตมีทูลว่า ไม่ได้ พระเจ้าข้า เพราะในบ้านทั้งสิ้น คนตายนั้นแหละมากกว่า
คนเป็น
ลาดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า เธอเข้าใจว่า บุตรของเราเท่านั้นตาย ความตายนั่น
เป็นธรรมยั่งยืนสาหรับสัตว์ทั้งหลาย ด้วยว่า มัจจุราช ฉุดคร่าสัตว์ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยยังไม่
เต็มเปี่ยมนั่นแหละลงในสมุทร คืออบาย ดุจห้วงน้าใหญ่ฉะนั้น
เมื่อจะทรงแสดงธรรมจรึงตรัสพระคาถานี้ว่า
มฤตยู ย่อมนาพาชนผู้มัวเมาในบุตรและสัตว์ของเลี้ยง ผู้มีใจซ่านไปในอารมณ์
ต่าง ๆ ไป ดุจห้วงน้าใหญ่พัดชาวบ้านผู้หลับใหลไป ฉะนั้น
ในกาลจบคาถา นางกีสาโคตมีดารงอยู่ในโสดาปัตติผล แม้ชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก
บรรลุผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้
ฝ่ายนางกีสาโคตมีนั้น ทูลขอบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว กระทาประทักษิณพระพุทธเจ้า
๓ ครั้ง ถวายบังคมแล้วไปยังสานักภิกษุณี นางได้บวชแล้วปรากฏชื่อว่า กีสาโคตมีเถรี
วันหนึ่งนางถึงวาระในโรงอุโบสถ นั่งตามประทีปเห็นเปลวประทีปลุกโพลงขึ้นและ
หรี่ลง ได้ถือเป็นอารมณ์ว่า
สัตว์เหล่านี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นและดับไป ดังเปลวประทีป ผู้ถึงพระนิพพาน
ไม่ปรากฏอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าประทับนั่งในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไป ดุจประทับนั่งตรัส
ตรงหน้านางตรัสว่า
อย่างนั้นแหละ โคตมี สัตว์เหล่านั้น ย่อมเกิดและดับเหมือนเปลวประทีป
ถึงพระนิพพานแล้วย่อมไม่ปรากฏอย่างนั้น ความเป็นอยู่แม้เพียงขณะเดียวของผู้เห็น
พระนิพพานประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นพระนิพพานอย่างนั้น ดังนี้แล
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ก็ผู้ใดไม่เห็นอมตบท พึงมีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ชีวิตของผู้เห็นอมตบทเพียงวันเดียว
ยังประเสริฐกว่า ดังนี้
จบพระคาถา นางก็บรรลุอรหัตผล เป็นผู้เคร่งครัดยิ่งในการใช้สอยบริขาร ห่มจีวร
ประกอบด้วยความปอน ๓ อย่างเที่ยวไป
ต่อมา พระพุทธเจ้าประทับนั่งในวัดพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ใน
ตาแหน่งต่าง ๆ ตามลาดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่า
พวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น