๑๔. พระปฏาจาราเถรี
พระปฏาจาราเถรี เป็นธิดาของมหาเศรษฐีในเมืองสัตถี เมื่ออายุย่างได้ ๑๖ ปีเป็น
หญิงมีความงดงามมาก บิดามารดาทะนุถนอมห่วงใยให้อยู่บนปราสาท ชั้น ๗ เพื่อป้องกัน
การคบหากับชายหนุ่ม
แม้กระนั้น เพราะนางเป็นหญิงโลเลในบุรุษ จึงได้คบหาเป็นภรรยาคนรับใช้ในบ้าน
ของตน ต่อมาบิดามารดาของนางได้ตกลงยกนางให้แก่ชายคนหนึ่ง ที่มีชาติสกุลและทรัพย์
เสมอกัน เมื่อใกล้กาหนดวันวิวาห์ นางได้พูดกับคนรับใช้ผู้เป็นสามีว่า
ได้ทราบว่า บิดามารดาได้ยกฉันให้กับลูกชายสกุลโน้น ต่อไปท่านก็จะไม่ได้พบกับ
ฉันอีก ถ้าท่านรักฉันจริง ก็จงพาฉันหนีไปจากที่นี่แล้วไปอยู่ร่วมกันที่อื่นเถิด เมื่อตกลงนัด
หมายกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ชายคนรับใช้ผู้เปลี่ยนฐานะมาเป็นสามีนั้น ได้ไปรออยู่ข้างนอก
แล้วนางก็หนีบิดามารดาออกจากบ้าน ไปร่วมครองรักครองเรือนกันในบ้านตาบลหนึ่งซึ่งไม่มี
คนรู้จัก ช่วยกันทาไร่ ไถนา เข้าป่าเก็บผักหักฟืนหาเลี้ยงกันไปตามอัตภาพ นางต้องตักน้าตาข้าว
หุ้งต้มด้วยมือของตนเอง ได้รับความทุกข์ยากแสนสาหัส เพราะตนไม่เคยทามาก่อน
กาลเวลาผ่านไป นางได้ตั้งครรภ์บุตรคนแรก เมื่อครรภ์แก่ขึ้น จึงอ้อนวอนสามี
ให้พานางกลับไปยังบ้านของบิดามารดาเพื่อคลอดบุตร เพราะการคลอดบุตรในที่ไกลจาก
บิดามารดาและญาตินั้นเป็นอันตราย แต่สามีของนางก็ไม่กล้าพากลับไปเพราะเกรงว่าจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง จึงพยายามพูดจาหน่วงเหนี่ยวไว้ จนนางเห็นว่าสามีไม่พาไปแน่ วันหนึ่ง
เมื่อสามีออกไปทางานนอกบ้านจึงสั่งเพื่อนบ้านใกล้เคียงกันให้บอกกับสามีด้วยว่า นางไปบ้าน
ของบิดามารดาแล้วก็ออกเดินทางไปตามลาพัง
เมื่อสามีกลับมา ทราบความจากเพื่อนบ้านแล้ว ด้วยความห่วงใยภรรยาจึงรีบออก
ติดตามไปทันพบนางในระหว่างทาง แม้จะอ้อนวอนอย่างไรนางก็ไม่ยอมกลับ ทันใดนั้น
ลมกัมมัชวาตคือ อาการเจ็บท้องใกล้คลอดก็เกิดขึ้นแก่นาง จึงพากันเข้าไปใต้ร่มริมทาง
นางนอนกลิ้งเกลือกทุรนทุรายเจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างหนัก ในที่สุดก็คลอดบุตรออกมา
ด้วยความยากลาบากเมื่อคลอดบุตรโดยปลอดภัยแล้ว ก็ปรึกษากันว่า กิจที่ต้องการไปคลอด
ที่เรือนของบิดามารดานั้นก็สาเร็จแล้ว จะเดินทางต่อไปก็ไม่มีประโยชน์จึงพากันกลับบ้านเรือน
ของตนอยู่รวมกันต่อไป
ต่อมาไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์อีก เมื่อครรภ์แก่ขึ้นตามลาดับ นางจึงอ้อนวอนสามี
เหมือนครั้งก่อน แต่สามีก็ยังคงไม่ยินยอมเช่นเดิม นางจึงอุ้มลูกคนแรกหนีออกจากบ้านไปแม้
สามีจะตามมาทันชักชวนให้กลับก็ไม่ยอมกลับ จึงเดินทางร่วมกันไป เมื่อเดินทางมาได้อีกไม่
ไกลนัก เกิดลมพายุพัดอย่างแรงและฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก พร้อมกันนั้นนางก็เจ็บท้องใกล้
จะคลอดขึ้นมาอีก จึงพากันแวะลงข้างทาง ฝ่ายสามีได้ไปหาตัดกิ่งไม้เพื่อมาทาเป็นที่กาบังลม
และฝนแต่เคราะห์ร้าย ถูกงูพิษกัดตายในป่านั้น นางทั้งเจ็บท้องทั้งหนาวเย็น ลมฝนก็ยังคง
ตกลงมาอย่างหนัก สามีก็หายไปไม่กลับมา ในที่สุดนางก็คลอดบุตรคนที่สองอย่างน่าสังเวช
บุตรของนางทั้งสองคนทนกาลังลมและฝนไม่ไหว ต่างก็ร้องไห้กันเสียงดังลั่นแข่งกับ
ลมฝน นางต้องเอาบุตรทั้งสองมาอยู่ใต้ท้อง โดยใช้มือและเข่ายืนบนพื้นดินในท่าคลานได้รับ
ทุกขเวทนาอย่างมหันต์สุดจะราพันได้ เมื่อรุ่งอรุณแล้วสามีก็ยังไม่กลับมา จึงอุ้มบุตรคนเล็ก
ซึ่งเนื้อหนังยังแดง ๆ อยู่ จูงบุตรคนโตออกตามหาสามี เห็นสามีนอนตายอยู่ข้างจอมปลวก
จึงร้องไห้ราพันว่าสามีตายก็เพราะนางเป็นเหตุ เมื่อสามีตายแล้ว ครั้นจะกลับไปที่บ้านทุ่งนา
ก็ไม่มีประโยชน์ จึงตัดสินใจไปหาบิดามารดาของตนที่เมืองสาวัตถี โดยอุ้มบุตรคนเล็ก และ
จูงบุตรคนโตเดินไปด้วยความทุลักทุเล เพราะความเหนื่อยอ่อนอย่างหนักดูน่าสังเวชยิ่งนัก
นางเดินทางมาถึงริมฝั่งแม่น้าอจิรวดี มีน้าเกือบเต็มฝั่งเนื่องจากฝนตกหนักเมื่อคืนที่
ผ่านมา นางไม่สามารถจะนาบุตรน้อยทั้งสองข้ามแม่น้าไปพร้อมกันได้ เพราะนางเองก็ว่ายน้า
ไม่เป็น แต่อาศัยที่น้าไม่ลึกนักพอที่เดินลุยข้ามไปได้ จึงสั่งให้บุตรคนโตรออยู่ก่อนแล้วอุ้มบุตร
คนเล็กข้ามแม่น้าไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อถึงฝั่งแล้วได้นาใบไม้มาปูรองพื้นให้บุตรคนเล็กนอนที่ชายหาดแล้วกลับไปรับบุตรคนโต ด้วยความห่วงใยบุตรคนเล็ก นางจึงเดินพลางหันกลับมาดู
บุตรคนเล็กพลาง ขณะที่มีถึงกลางแม่น้านั้น มีนกเหยี่ยวตัวหนึ่งบินวนไปมาอยู่บนอากาศ
มันเห็นเด็กน้อยนอนอยู่มีลักษณะเหมือนก้อนเนื้อ จึงบินโฉบลงมาแล้วเฉี่ยวเอาเด็กน้อยไป
นางตกใจสุดขีดไม่รู้จะทาอย่างไรได้ จึงได้แต่โบกมือร้องไล่เหยี่ยวไป แต่ก็ไม่เป็นผล เหยี่ยวพา
บุตรน้อยของนางไปเป็นอาหาร ส่วนบุตรคนโตยืนรอแม่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง เห็นแม่โบกมือทั้งสอง
ตะโกนร้องอยู่กลางแม่น้า ก็เข้าใจว่าแม่เรียกให้ตามลงไป จึงวิ่งลงไปในน้าด้วยความไร้เดียงสา
ถูกกระแสน้าพัดพาจมหายไป
เมื่อสามีและบุตรน้อยทั้งสองตายจากนางไปหมดแล้ว เหลือแต่นางคนเดียวจึงเดินทาง
มุ่งหน้าสู่บ้านเรือนของบิดามารดา ทั้งหิวทั้งเหนื่อยล้า ได้รับความบอบช้าทั้งร่างกายและจิตใจ
รู้สึกเศร้าโศกเสียใจสุดประมาณพลางเดินบ่นราพึงราพันไปว่า
บุตรคนหนึ่งของเราถูกเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไป บุตรอีกคนหนึ่งถูกน้าพัดไป สามีก็ตาย
ในป่าเปลี่ยว
นางเดินไปก็บ่นไป แต่ก็ยังพอมีสติอยู่บ้างได้ พบชายคนหนึ่งเดินสวนทางมา สอบถาม
ทราบว่ามาจากเมืองสาวัตถี จึงถามถึงบิดามารดาของตนที่อยู่ในเมืองนั้น ชายคนนั้นตอบว่า
น้องหญิง เมื่อคืนนี้เกิดลมพายุและฝนตกอย่างหนัก เศรษฐีสองสามีภรรยาและ
ลูกชายอีกคนหนึ่ง ถูกปราสาทของตนพังล้มทับตายพร้อมกันทั้งครอบครัวเธอ จงมองดูควันไฟ
ที่เห็นอยู่โน่น ประชาชนร่วมกันทาการเผาทั้ง ๓ พ่อ แม่ และลูกบนเชิงตะกอนเดียวกัน
นางปฏาจารา พอชายคนนั้นกล่าวจบลงแล้ว ก็ขาดสติสัมปชัญญะไม่รู้สึกตัวว่าผ้านุ่ง
ผ้าห่มที่นางสวมใส่อยู่หลุดลุ่ยลงไป เดินเปลือยกาย เป็นคนวิกลจริต ร้องไห้บ่นเพ้อราพันคร่า
ครวญว่า บุตรสองคนของเราตายแล้ว สามีของเราก็ตายที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชาย
ของเราก็ถูกเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน
นางเดินไปบ่นไปอย่างนี้ คนทั่วไปเห็นแล้วคิดว่า นางเป็นบ้า พากันขว้างปาด้วยก้อน
ดินบ้าง โรยฝุ่นลงบนศีรษะนางบ้าง และนางยังคงเดินต่อเรื่อยไปอย่างไร้จุดหมายปลายทาง
พระพุทธเจ้าประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔ ในวัดพระเชตวันได้ทอด
พระเนตรเห็นนางบาเพ็ญบารมีมานานแสนกัลป์ สมบูรณ์ด้วยอภินิหารเดินมาอยู่
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ นางปฏาจารานั้นเห็น
พระเถรีผู้ทรงวินัยรูปหนึ่งอันพระปทุมุตตรพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะ จึงทาคุณ
ความดีแล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า แม้หม่อมฉันพึงได้ตาแหน่งเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินัยรูปหนึ่งในสานักของพระพุทธเจ้าเช่นกับพระองค์ พระปทุมุตตรพุทธเจ้าทรงเล็ง
อนาคตญาณไป ก็ทรงทราบความปรารถนาจะสาเร็จจึงทรงพยากรณ์ว่า
ในอนาคตกาล หญิงผู้นี้จะเป็นผู้เลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินัยทั้งหลาย มีพระนามว่า
ปฏาจารา ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงเห็นพระนางผู้มีความปรารถนาตั้งไว้แล้วอย่างนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วย
อภินิหารกาลังเดินมาแต่ไกล ทรงดาริว่า
วันนี้ ผู้อื่นชื่อว่าสามารถจะเป็นที่พึ่งของหญิงผู้นี้ได้ ไม่มี จึงทรงบันดาลให้นาง
เดินบ่ายหน้ามาสู่วัดพระเชตวัน
พวกพุทธบริษัทเห็นนางแล้วจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่าให้หญิงบ้านี้มาที่นี้เลย
พระพุทธเจ้าตรัสว่า พวกท่านจงหลีกไป อย่าห้ามเธอ นางกลับได้สติด้วยพุทธานุ
ภาพ ในขณะนั้นเอง นางก็รู้ตัวว่าไม่มีผ้านุ่งห่ม เกิดละอาย จึงนั่งกระโหย่งลง อุบาสกคนหนึ่ง
ก็โยนผ้าให้นางนุ่งห่ม นางเข้าไปกราบถวายบังคมพระพุทธเจ้าที่พระบาทแล้วกราบทูล
เคราะห์กรรมของตนให้ทรงทราบโดยลาดับ พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า
แม่น้าในมหาสมุทรทั้ง ๔ ก็ยังน้อยกว่าน้าตาของคนที่ถูกความทุกข์ความเศร้าโศก
ครอบงา ปฏาจารา เพราะเหตุไร เธอจึงยังประมาทอยู่
ปฏาจารา ฟังพระดารัสนี้แล้วก็คลายความเศร้าโศกลง พระพุทธเจ้า ทรงทราบว่า
นางหายจากความเศร้าโศกลงแล้วจึงตรัสต่อไปว่า
ปฏาจารา ขึ้นชื่อว่าบุตรสุดที่รัก ไม่อาจเป็นที่พึ่ง เป็นที่ต้านทาน หรือเป็นที่ป้องกัน
แก่ผู้ไปสู่ปรโลกได้ บุตรเหล่านั้น ถึงจะมีอยู่ก็เหมือนไม่มี ส่วนผู้รู้ทั้งหลาย รักษาศีล
ให้บริสุทธิ์แล้วควรชาระทางไปสู่พระนิพพานของตนเท่านั้น
ในกาลจบเทศนา นางปฏาจาราเผากิเลสมีประมาณเท่าฝุ่นในแผ่นดินใหญ่แล้ว ตั้งอยู่
ในพระโสดาปัตติผล ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผล
เป็นต้น
ฝ่ายนางปฏาจาราเป็นพระโสดาบันแล้ว ทูลขอบวช พระพุทธเจ้าส่งนางไปยังสานัก
ของพวกภิกษุณีให้บวชแล้ว นางได้บวชแล้วปรากฏชื่อว่า ปฏาจารา
วันหนึ่ง นางกาลังเอาภาชนะตักน้าล้างเท้า เทน้าลง น้านั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้ว
ก็ขาด ครั้งที่ ๒ น้าที่นางเทลง ได้ไหลไปไกลกว่านั้น ครั้งที่ ๓ น้าที่เทลง ได้ไหลไปไกลกว่า
แม้นั้น ด้วยประการฉะนี้ นางถือเอาน้านั้นเป็นอารมณ์ กาหนดวัยทั้ง ๓ แล้วคิดว่าสัตว์เหล่านี้ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้าที่เราเทลงครั้งแรก ตายเสียใน
มัชฌิมวัยก็มี เหมือนน้าที่เราเทลงในครั้งที่ ๒ ไหลไปไกลกว่านั้น ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี
เหมือนน้าที่เราเทลงครั้งที่ ๓ ไหลไปไกลแม้กว่านั้น
พระพุทธเจ้าประทับในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไป เป็นดังประทับยืนตรัสอยู่
เฉพาะหน้าของนาง ตรัสว่า
ปฏาจารา ข้อนั้นอย่างนั้น ด้วยความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็น
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี
ของผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้นหรือเสื่อมแห่งปัญจขันธ์ ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง
ธรรมจึงตรัสคาถานี้ว่า
ก็ผู้ใด ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่ พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่
วันเดียวของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น
นางครั้นบวชแล้วไม่นานก็บรรลุอรหัตผล เรียนพุทธวจนะ เป็นผู้ช่าชองชานาญ
ในพระวินัยปิฏก
ภายหลัง พระพุทธเจ้าประทับนั่ง ณ วัดพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณี
ไว้ในตาแหน่งต่าง ๆ ตามลาดับ จึงทรงสถาปนาพระปฏาจาราเถรีไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะ
เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงวินัย
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น