๑๓. พระอุบลวรรณาเถรี
พระอุบลวรรณาเถรี เป็นธิดาของเศรษฐีในกรุงสาวัตถี ได้ชื่อว่าอุบลวรรณา
เพราะมีผิวพรรณงามเหมือนสีกลีบดอกบัวเขียว
นางเคยตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของพระปทุมุตรพุทธเจ้าแล้วสั่งสมบุญ
มานาน มาในชาตินี้จึงสวยงามสง่า เป็นที่หมายตาของพระราชา มหาเศรษฐี คฤหบดี และ
หนุ่มทั่วไป
เมื่อนางเจริญวัยเข้าสู่วัยสาว นอกจากจะมีผิวงามแล้ว รูปร่างลักษณะยังงดงามยังสุด
เท่าที่จะหาหญิงอื่นทัดเทียมได้ จึงเป็นที่หมายปองต้องการของพระราชาและมหาเศรษฐี
ทั่วทั้งชมพูทวีป ซึ่งต่างก็ส่งเครื่องบรรณาการอันมีค่าไปมอบให้พร้อมกับสู่ขออภิเษกสมรสด้วย
ฝ่ายเศรษฐีผู้บิดาของนางรู้สึกลาบากใจด้วยคิดว่า เราไม่สามารถที่จะรักษาน้าใจ
ของคนทั้งหมดเหล่านี้ได้ เราควรจะหาอุบายทางออกสักอย่างหนึ่ง แล้วจึงเรียกลูกสาวมาถามว่า
แม่อุบลวรรณา เจ้าจะสามารถบวชได้ไหม นางได้ฟังคาของบิดาแล้วรู้สึกร้อนทั่วสรรพางค์
กายเหมือนกับมีคนเอาน้ามันที่เคี่ยวให้เดือด ๑๐๐ ครั้ง ราดลงบนศีรษะ ด้วยว่านางได้สั่งสม
บุญมาแต่อดีตชาติและการเกิดในชาตินี้ ก็เป็นชาติสุดท้าย ดังนั้น จึงรับคาของบิดาด้วยความ
ปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง
เศรษฐีผู้บิดาจึงพานางไปยังสานักของภิกษุสงฆ์ แล้วให้บวชเป็นที่เรียบร้อย
เมื่อนางอุบลวรรณาบวชได้ไม่นาน ก็ถึงวาระที่จะต้องไปทาความสะอาดโรงอุโบสถ เธอได้จุด
ประทีปเพื่อให้มีแสงสว่างแล้วกวาดโรงอุโบสถ เห็นเปลวไฟที่ดวงประทีปแล้วยึดถือเอาเป็น
นิมิต ขณะยืนอยู่นั้นได้เข้าฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ แล้วกระทาฌานนั้นให้เป็นฐานเจริญ
วิปัสสนา ก็ได้บรรลุอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญาทั้งหลาย ณ ที่นั้นนั่นเอง
ก็พระเถรี ในคราวที่พระพุทธเจ้า เสด็จเข้าไปยังโคนต้นมะม่วงของนายคัณฑะ
เพื่อทรงกระทายมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสาวัตถี ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้ว
ก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะกระทาปาฏิหาริย์ ถ้าหากว่า พระผู้มี
พระภาคทรงอนุญาตแล้วจะบันลือสีหนาท
พระพุทธเจ้าทรงทาเหตุนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ประทับนั่งท่ามกลางบริษัท
พระอริยะ ณ วัดพระเชตวัน ทรงสถาปนาพระภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะ
ตามลาดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีรูปนี้ไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศของเหล่าภิกษุณี
ผู้มีฤทธิ์และเป็นอัครสาวิกาเบื้องซ้าย ดังความในพระสูตรว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ออกบวชก็ขอจงเป็นเช่นเขมาภิกษุณีและอุบลวรรณา
ภิกษุณีเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณา
ภิกษุณี เป็นประมาณเช่นนี้
พระอุบลวรรณาเถรีนั้น ยับยั้งด้วยสุขในฌาน สุขในผล และสุขในนิพพาน วันหนึ่ง
พิจารณาถึงโทษ ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย เมื่อกล่าวย้าคาถาที่เห็นโทษของกาม
พระเถรีเกิดความสลดใจ เฉพาะการอยู่ร่วมสามีระหว่างมารดากับธิดา จึงได้กล่าว ๓ คาถานี้ว่า
เราทั้งสองคือมารดาและธิดาเป็นหญิงร่วมสามีกัน เรานั้นมีความสลดใจ ขนลุก ที่ไม่
เคยมี น่าตาหนิจริง ๆ กามทั้งหลาย ไม่สะอาด กลิ่นเหม็น มีหนามมาก ที่เราทั้งสองคือมารดา
กับธิดา เป็นภริยาร่วมสามีกัน เรานั้น เห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย เห็นเนกขัมมะ การบวช
เป็นทางเกษมปลอดโปร่ง จึงออกจากเรือน บวชไม่มีเรือน
เล่ากันว่า ในอดีตชาติได้เกิดเป็นภริยาของพ่อค้าคนหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ตั้งครรภ์ขึ้น
ในเวลาใกล้รุ่ง นางก็ไม่รู้เรื่องการตั้งครรภ์นั้น พอสว่างพ่อค้าก็บรรทุกสินค้าลงในเกวียน
เดินทางมุ่งไปในเวลาล่วง ครรภ์ของนางก็เติบโตจนแก่เต็มที่
ครั้งนั้น แม่ผัวพูดกับนางว่า ลูกชายเราก็จากไปเสียนานและเจ้าก็มีครรภ์ เจ้าไปทาชั่ว
มาหรือ นางกล่าวว่า นอกจากลูกชายของแม่ ข้าพเจ้าก็ไม่รู้จักชายอื่น
แม่ผัวฟังนางแล้วไม่เชื่อ จึงขับไล่นางออกไปจากเรือน นางก็ไปตามหาสามี ไปถึง
กรุงราชคฤห์ตามลาดับ ขณะนั้นลมกัมมัชวาตก็ปั่นป่วน นางก็เข้าไปยังศาลาหลังหนึ่ง
ใกล้ ๆ ทาง แล้วจึงคลอดลูก นางคลอดลูกชายคล้ายรูปทอง ให้นอนบนศาลาอนาถา แล้วออก
ไปหาน้าข้างนอกศาลา
ขณะนั้น นายกองเกวียนคนหนึ่ง เป็นคนไม่มีลูก เดินมาทางนั้น คิดว่าทารกของหญิง
ไม่มีสามี ควรเป็นลูกของเรา จึงเอาทารกนั้นมอบไว้ในมือนางนม
ต่อมา มารดาของทารก ทากิจเรื่องน้าแล้วกลับมา ไม่เห็นลูกก็เศร้าโศกคร่าครวญ
ไม่เข้าไปกรุงราชคฤห์แต่เดินทางต่อไป หัวหน้าโจรคนหนึ่ง พบนางในระหว่างเกิดจิตปฏิสัมพัทธ์
จึงเอานางเป็นภริยาของตน นางอยู่ในเรือนโจรนั้น ก็คลอดลูกหญิงออกมาคนหนึ่ง วันหนึ่ง
นางยืนอุ้มลูกหญิงอยู่ทะเลาะกับสามีก็โยนลูกลงเตียง ศีรษะของเด็กหญิงแตกหน่อยหนึ่ง
ต่อมา นางกลัวสามี ก็กลับไปกรุงราชคฤห์ท่องเที่ยวไปตามอาเภอใจ ลูกชายของ
นางโตเป็นหนุ่มไม่รู้ว่าเป็นมารดา ก็เอามารดาเป็นภาริยาของตนต่อมา เขาไม่รู้ว่าลูกสาวหัวหน้าโจรนั้นเป็นน้องสาวก็แต่งงานนามาเรือน เขานามารดา
และน้องสาวมาเป็นภริยาของตนอยู่กันมาอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น คนแม้ทั้งสองนั้นจึงอยู่กันอย่าง
พร้อมเพรียง
ต่อมาวันหนึ่ง มารดาแก้มวยผมของลูกสาวหาเหา เห็นแผลเป็นศีรษะคิดว่าหญิง
คนนี้คงเป็นลูกสาวเราแน่แล้วก็ถาม เกิดความสลดใจจึงไปสานักภิกษุณีแล้วบวช ก็พระเถรีนี้
กล่าวย้าคาถาที่หญิงนั้นกล่าวไว้แล้วเหล่านั้น โดยเห็นโทษในกามทั้งหลาย
เมื่อพระเถรีสาเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เที่ยวจาริกไปยังชนบทต่าง ๆ แล้วกลับมา
พักที่ป่าอันธวัน สมัยนั้น พระพุทธเจ้า ยังมิได้ทรงบัญญัติห้ามภิกษุณีอยู่ในป่าเพียงลาพัง
ประชาชนได้ช่วยกันปลูกกระท่อมไว้ป่าพร้อมทั้งเตียงตั่งกั้นม่านแล้วถวายเป็นที่พักแก่พระเถรี
ฝ่ายนันทมาณพ ผู้เป็นลูกชายของลุงของพระเถรีนั้น มีจิตหลงรักนางตั้งแต่ยังไม่บวช
เมื่อทราบข่าวว่าพระเถรีมาพักที่ป่าอันธวันใกล้เมืองสาวัตถี จึงได้โอกาสขณะเข้าไปบิณฑบาต
ในเมืองสาวัตถีนั้น ได้เข้าไปในกระท่อม หลบซ่อนตัวอยู่ใต้เตียง เมื่อพระเถรีกลับมาแล้ว เข้าไป
ในกระท่อมปิดประตูแล้วนั่งลงบนเตียง ขณะที่สายตายังไม่ปรับเข้ากับความมืดในกระท่อม
นันทมาณพก็ออกจากใต้เตียง ตรงเข้าปลุกปล้าข่มขืนพระเถรีถึงแม้พระเถรีจะร้องห้ามว่า
เจ้าคนพาล เจ้าอย่าพินาศฉิบหายเลย เจ้าคนพาลเจ้าอย่าพินาศฉิบหายเลย นันทมาณพ ก็ไม่
ยอมเชื่อฟัง ได้ทาการข่มขืนพระเถรีสมปรารถนาแล้วก็หลีกหนีไป พอเขาหลบหนีไปได้ไม่ไกล
แผ่นดินใหญ่มีอาการประหนึ่งว่าไม่สามารถรองรับน้าหนักของเขาเอาไว้ได้ จึงอ่อนตัวยุบลง
นันทมาณพก็จมดิ่งลงในแผ่นดิน ไปเกิดในอเวจีมหานรก ฝ่ายพระอุบลวรรณาเถรี ก็มิได้
ปิดบังเรื่องราวที่เกิดขึ้น ได้บอกแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นกับตนนั้นแก่นางภิกษุณีทั้งหลาย ต่อจากนั้น
เรื่องราวของพระเถรีก็ทราบถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า คนพาล
ย่อมร่าเริงยินดีในบาปกรรมลามกที่ตนกระทาประดุจว่า ดื่มน้าผึ้งที่มีรสหวานจนกว่า
บาปกรรมนั้นจะให้ผล จึงจะได้ประสบกับความทุกข์ เพราะกรรมนั้น
เมื่อกาลเวลาล่วงไป ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์ของ
พระอุบลวรรณาเถรี นั้นว่า ท่านทั้งหลาย เห็นทีพระขีณาสพทั้งหลาย คงจะยังมีความยินดี
ในกามสุข คงจะยังพอใจในการเสพกาม ก็ทาไมจะไม่เสพเล่า เพราะท่านเหล่านั้น มิใช่ไม้ผุ
มิใช่จอมปลวก อีกทั้งเนื้อหนังร่างกายทั่วทั้งสรีระก็ยังสดอยู่ ดังนั้น แม้จะเป็นพระขีณาสพ
ก็ชื่อว่ายังยินดีในการเสพกามพระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้วตรัสถาม ทรงทราบเนื้อความที่พวกภิกษุเหล่านั้นสนทนา
กันแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลายนั้นไม่ยินดีในกามสุข ไม่เสพกาม
เปรียบเสมือนหยาดน้าตกลงในใบบัวแล้วไม่ติดอยู่ ย่อมกลิ้งตกลงไป และเหมือนกับ
เม็ดพันธุ์ผักกาด ย่อมไม่ติดตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉันใด ขึ้นชื่อว่ากามก็ย่อมไม่
ซึมซาบ ไม่ติดอยู่ในจิตของพระขีณาสพ ฉันนั้น
ต่อมาพระพุทธเจ้า ทรงพิจารณาเห็นภัยอันจะเกิดแก่กุลธิดาผู้เข้ามาบวชแล้วพัก
อาศัยอยู่ในป่า อาจจะถูกคนพาลลามกเบียดเบียนประทุษร้าย ทาอันตรายต่อพรหมจรรย์ได้
จึงรับสั่งให้เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลมาเฝ้า ตรัสให้ทราบพระดาริแล้ว ขอให้สร้างที่อยู่อาศัย
เพื่อนางภิกษุณีสงฆ์ในที่บริเวณใกล้ ๆ พระนคร และตั้งแต่นั้นมาภิกษุณีก็มีอาวาสอยู่ในเมือง
เท่านั้น
พระอุบลวรรณาเถรี ดารงชนมายุสังขารอยู่สมควรแก่กาล ก็ดับขันธนิพพาน
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น