๑๘. สุขสามเณร
ในอดีตกาล สุขสามเณร เกิดเป็นคนบ้านนอก มีฐานะยากจน ครั้งหนึ่งได้เห็น
เศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อ คันธะ กาลังบริโภคอาหารอันมีรสเลิศ แวดล้อมด้วยหญิงนักฟ้อนรา
ก็อยากจะบริโภคและแวดล้อมด้วยหญิงนักฟ้อนราอย่างนั้นบ้าง เมื่อได้โอกาสจึงเล่าความคิด
ของตนให้เศรษฐีฟัง เศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็ยินดีและจัดการให้ แต่มีข้อแม้ว่าเขาจะต้องรับจ้าง
ทางานในเรือนเศรษฐีเป็นเวลา ๓ ปี จึงจะได้อาหารอันมีรสเลิศอย่างนั้นหนึ่งถาด พร้อมทั้ง
แวดล้อมด้วยหญิงนักฟ้อนรา เขาตกลงตามเงื่อนไขที่เศรษฐียื่นเสนอ จึงไปสู่เรือนของเศรษฐี
ด้วยหมายใจว่า จะทาการรับจ้างตลอด ๓ ปี เพื่อประโยชน์แก่ถาดอาหารถาดหนึ่ง เขาเมื่อ
ทาการรับจ้างได้ทากิจทุกอย่างโดยเรียบร้อย การงานที่ควรทาในบ้าน ในป่า กลางวัน กลางคืน
ได้ปรากฏว่า เขาทาเสร็จเรียบร้อย
เมื่อมหาชนเรียกเขาว่า นายภัตตภติกะ คานั้นได้ปรากฏไปทั่วพระนคร กาลต่อมา
เมื่อวันรับจ้างของนายภัตตภติกะครบบริบูรณ์แล้ว พ่อครัวเรียนให้เศรษฐีทราบว่า นาย วัน
รับจ้างของนายภัตตภติกะครบบริบูรณ์แล้ว เขาทาการรับจ้างอยู่ตลอด ๓ ปี ทากรรมยาก
ที่คนอื่นจะทาได้แล้ว การงานแม้สักอย่างหนึ่งก็ไม่เคยเสียหาย
ครั้งนั้น ท่านเศรษฐีได้สั่งจ่ายทรัพย์ ๓ พัน แก่พ่อครัวนั้น คือ สองพันเพื่อประโยชน์
แก่อาหารเย็นและอาหารเช้าของตน พันหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่อาหารเช้าของนายภัตตภติกะ
นั้น แล้วสั่งคนใช้ว่า วันนี้ พวกเจ้าจงทาการบริหารที่พึงทาแก่เรา แก่นายภัตตภติกะนั้นเถิด
เมื่อได้เวลาอาหารเช้า พวกนักฟ้อนได้ยืนล้อมนายภัตตภติกะนั้น พวกคนใช้ยกถาดอาหาร
ถาดหนึ่งตั้งไว้ข้างหน้าของนายภัตตภติกะนั้นแล้ว
ครั้งนั้น ในขณะที่นายภัตตภติกะล้างมือ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งที่ภูเขาคันธมาทน์
ออกจากสมาบัติในวันที่ ๗ แล้ว ใคร่ครวญอยู่ว่า วันนี้ เราจะไปเพื่อประโยชน์แก่ภิกขาจารใน
ที่ไหนหนอ ก็ได้เห็นนายภัตตภติกะแล้ว ครั้งนั้น ท่านพิจารณาต่อไปอีกว่า นายภัตตภติกะนี้
ทาการรับจ้างถึง ๓ ปี จึงได้ถาดอาหาร ศรัทธาของเขามีหรือไม่หนอ ใคร่ครวญไปก็ทราบได้
ว่า ศรัทธาของเขามีอยู่ คิดไปอีกว่า คนบางพวกถึงมีศรัทธาก็ไม่อาจเพื่อทาการสงเคราะห์ได้
นายภัตตภติกะนี้อาจหรือไม่หนอเพื่อจะทาการสงเคราะห์เรา ก็รู้ว่า นายภัตตภติกะอาจ
ทีเดียว ทั้งจะได้มหาสมบัติเพราะอาศัยเหตุคือการสงเคราะห์แก่เราด้วย ดังนี้แล้ว จึงห่มจีวร
ถือบาตร เหาะขึ้นสู่เวหาสไปโดยระหว่างบริษัท แสดงตนยืนอยู่ข้างหน้าแห่งนายภัตตภติกะนั้นนายภัตตภติกะเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า คิดว่า เราได้ทาการรับจ้างในเรือนคนอื่นถึง
๓ ปี ก็เพื่อประโยชน์แก่ถาดอาหารถาดเดียว เพราะความที่เราไม่ได้ให้ทานในกาลก่อน บัดนี้
อาหารนี้ของเราพึงรักษาเราก็เพียงวันหนึ่งคืนหนึ่ง ถ้าเราถวายอาหารนั้นแก่พระคุณเจ้า
อาหารจะรักษาเราไว้มิใช่พันโกฏิกัลป์เดียว เราจะถวายอาหารนั้นแก่พระคุณเจ้า
นายภัตตภติกะนั้นทาการรับจ้างตลอด ๓ ปี ได้ถาดอาหารแล้ว ไม่ทันวางอาหาร
แม้ก้อนเดียวในปากเพื่อบรรเทาความอยากได้ ยกถาดอาหารขึ้นเดินไปสู่สานักของ
พระปัจเจกพุทธเจ้า ให้ถาดในมือของคนอื่นแล้ว ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เอามือซ้ายจับ
ถาดอาหาร เอามือขวาเกลี่ยอาหารลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้าได้เอามือปิดบาตรเสียในเวลาที่อาหารยังเหลืออยู่กึ่งหนึ่ง
ครั้งนั้น นายภัตตภติกะนั้นเรียนท่านว่า ท่านขอรับ อาหารส่วนเดียวเท่านั้นผมไม่
อาจเพื่อจะแบ่งเป็น ๒ ส่วนได้ ท่านอย่าสงเคราะห์ผมในโลกนี้เลย ขอจงทาการสงเคราะห์
ในปรโลกเถิด ผมจะถวายทั้งหมดทีเดียว ไม่ให้เหลือ
จริงอยู่ ทานที่บุคคลถวายไม่เหลือไว้เพื่อตนแม้แต่น้อยหนึ่ง ชื่อว่าทานไม่มีส่วนเหลือ
ทานนั้นย่อมมีผลมาก นายภัตตภติกะนั้น เมื่อทาอย่างนั้นจึงได้ถวายหมด ไหว้อีกแล้ว เรียนว่า
ท่านขอรับ ผมอาศัยถาดอาหารถาดเดียว ต้องทาการรับจ้างในเรือนของคนอื่นถึง ๓ ปี
ได้เสวยทุกข์แล้ว บัดนี้ ขอความสุขจงมีแก่กระผมในที่ที่บังเกิดแล้วเถิด ขอกระผมพึงมีส่วน
แห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้วเถิด
พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ขอจงสมคิดเหมือนแก้วสารพัดนึก ความดาริอันให้
ความใคร่ทุกอย่างจงบริบูรณ์แก่ท่าน เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญฉะนั้น
เมื่อจะทาอนุโมทนา จึงกล่าวว่า
สิ่งที่ท่านมุ่งหมายแล้ว จงสาเร็จพลันทีเดียว ความดาริทั้งปวง จงเต็มเหมือน
พระจันทร์เพ็ญ สิ่งที่ท่านมุ่งหมายแล้ว จงสาเร็จพลันทีเดียว ความดาริทั้งปวง จงเต็ม
เหมือนแก้วมณีโชติรส ฉะนั้น
ในกาลต่อมา แม้พระราชาทรงสดับกรรมที่นายภัตตภติกะนี้ทาแล้ว จึงได้รับสั่งให้เรียก
เข้ามาเฝ้า แล้วพระราชทานทรัพย์ให้พันหนึ่ง ทรงรับส่วนบุญ ทรงพอพระทัย พระราชทาน
โภคะเป็นอันมาก แล้วก็ได้พระราชทานตาแหน่งเศรษฐีให้ เขาได้มีชื่อว่า ภัตตภติกเศรษฐี
ภัตตภติกเศรษฐีนั้นเป็นสหายกับคันธเศรษฐี กินดื่มร่วมกัน ดารงอยู่ตลอดอายุแล้ว จุติจาก
อัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในเทวโลก เสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ ๑ พุทธันดรในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ถือปฏิสนธิในตระกูลอุปัฏฐากของพระสารีบุตรเถระ ในเมือง
สาวัตถี ครั้งนั้น มารดาของทารกนั้นได้ครรภบริหารแล้ว โดยล่วงไป ๒-๓ วัน ก็เกิดแพ้ท้องว่า
โอหนอ เราถวายโภชนะมีรส ๑๐๐ ชนิดแก่พระสารีบุตรเถระพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป นุ่งผ้า
ย้อมฝาดแล้ว ถือขันทองนั่งอยู่ ณ ท้ายอาสนะ พึงบริโภคอาหารที่เหลือเดนของภิกษุทั้งหลาย
นั้น ดังนี้แล้ว ทาตามความคิดนั้น บรรเทาความแพ้ท้องแล้ว
นางแม้ในกาลมงคลอื่น ๆ ถวายทานอย่างนั้นเหมือนกัน คลอดบุตรแล้ว ในวันตั้งชื่อ
จึงเรียนพระเถระว่า จงให้สิกขาบทแก่ลูกชายของฉันเถิด ท่านผู้เจริญ
พระเถระถามว่า เด็กนั้นชื่อไร
เมื่อมารดาของเด็กเรียนว่า ท่านผู้เจริญ จาเดิมแต่ลูกชายของฉันถือปฏิสนธิ ขึ้นชื่อ
ว่าทุกข์ ไม่เคยมีแก่ใครในเรือนนี้ เพราะฉะนั้น คาว่า สุขกุมาร นั่นแล ควรเป็นชื่อของเด็กนั้น
จึงถือเอาคานั้น เป็นชื่อของเด็กนั้น ได้ให้สิกขาบทแล้ว
ในกาลนั้น ความคิดได้เกิดแก่มารดาของเด็กนั้นอย่างนี้ว่า เราจะไม่ทาลายอัธยาศัย
ของลูกชายเรา แม้ในกาลมงคลทั้งหลาย มีมงคลเจาะหูเป็นต้น นางก็ได้ถวายทานอย่างนั้น
เหมือนกัน
ฝ่ายกุมาร ในเวลามีอายุ ๗ ขวบ ก็พูดว่า คุณแม่ ผมอยากออกบวชในสานักของ
พระเถระ นางตอบว่า ดีละ พ่อแม่จะไม่ทาลายอัธยาศัยของเจ้า ดังนี้แล้ว จึงนิมนต์พระเถระ
ให้ท่านฉันแล้ว ก็เรียนว่า ท่านผู้เจริญ ลูกชายของฉันอยากบวช ในเวลาเย็น จะนาเด็กนี้ไปสู่
วิหาร ส่งพระเถระไปแล้ว ให้ประชุมพวกญาติ กล่าวว่า ในเวลาที่ลูกชายของฉันเป็นคฤหัสถ์
พวกเราทากิจที่ควรทาในวันนี้แหละ ดังนี้แล้ว จึงแต่งตัวลูกชายนาไปวิหาร ด้วยสิริโสภาค
อันใหญ่ แล้วมอบถวายแก่พระเถระ
ฝ่ายพระเถระกล่าวกับสุขกุมารนั้นว่า พ่อ ธรรมดาการบวช ทาได้โดยยาก เจ้าอาจ
เพื่ออภิรมย์หรือ เมื่อสุขกุมารตอบว่า ผมทาตามโอวาทของท่าน ขอรับ จึงให้กัมมัฏฐาน
ให้บวชแล้ว
แม้มารดาบิดาของสุขกุมารนั้น เมื่อทาสักการะในการบวช ก็ถวายโภชนะมีรส
๑๐๐ ชนิดแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานในภายในวิหารนั่นเองตลอด ๗ วัน
ในเวลาเย็นจึงได้ไปสู่เรือนของตน
ในวันที่ ๘ พระสารีบุตรเถระ เมื่อภิกษุสงฆ์เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ทากิจที่ควร
ทาในวิหารแล้ว จึงให้สามเณรถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตขณะเดินไปนั้น ทั้งสองพระเถระและสามเณรก็ได้ไปพบชาวนากาลังไขน้าเข้านา
ไปพบช่างสรกาลังดัดลูกศร และไปพบช่างถากกาลังถากไม้เพื่อทาล้อเกวียนเป็นต้น เมื่อเห็น
บุคคลทาสิ่งเหล่านี้ สุขสามเณรได้เรียนถามพระสารีบุตรว่า สิ่งของที่ไม่มีชีวิตทั้งหลาย
คนสามารถทาให้เป็นไปตามปรารถนาได้ใช่หรือไม่ เมื่อพระเถระตอบว่าใช่ สุขสามเณรก็เกิด
ความคิดว่า หากเป็นเช่นนั้นจริง ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่คนเราถึงจะไม่สามารถฝึกจิตจนได้สมาธิ
และปัญญา สุขสามเณรจึงลาพระสารีบุตรเดินทางกลับวัดก่อน
ครั้งนั้น พระเถระให้ลูกกุญแจแก่สามเณรแล้ว ก็เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต สามเณรนั้น
ไปวิหารแล้ว เปิดห้องของพระเถระเข้าไป ปิดประตู นั่งหยั่งญาณลงในกายของตน
ด้วยเดชแห่งคุณของสามเณรนั้น อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน ท้าวสักกะ
พิจารณาดูว่า นี้เหตุอะไรหนอ เห็นสามเณรแล้ว ทรงดาริว่า สุขสามเณรถวายจีวรแก่
อุปัชฌาย์แล้ว กลับวิหารด้วยคิดว่า จะทาสมณธรรม ควรที่เราจะไปในที่นั้น จึงรับสั่งให้เรียก
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ แล้วทรงส่งไปด้วยดารัสสั่งว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงไป จงไล่นกที่มี
เสียงเป็นโทษใกล้ป่าแห่งวิหารให้หนีไป
ท้าวมหาราชทั้งหลาย กระทาตามนั้นแล้ว ก็พากันรักษาอยู่โดยรอบ
ท้าวสักกะทรงบังคับพระจันทร์และพระอาทิตย์ว่า พวกท่านจงยึดวิมานของตนๆ
หยุดก่อน แม้พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็กระทาตามนั้น
แม้ท้าวสักกะเอง ก็ทรงรักษาอยู่ที่สายยู วิหารสงบเงียบ ปราศจากเสียง
สามเณรเจริญวิปัสสนาด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง บรรลุมรรคและผล ๓ แล้ว
พระเถระอันสามเณรกล่าวว่า ท่านพึงนาโภชนะมีรส ๑๐๐ ชนิดมา ดังนี้แล้ว ก็คิดว่า
อันเราอาจเพื่อได้ในตระกูลของใครหนอ พิจารณาดูอยู่ ก็เห็นตระกูลอุปัฏฐากผู้สมบูรณ์ด้วย
อัธยาศัยตระกูลหนึ่ง จึงไปในตระกูลนั้น อันชนเหล่านั้นมีใจยินดีว่า ท่านผู้เจริญ ความดีอัน
ท่านผู้มาในที่นี้ในวันนี้กระทาแล้ว รับบาตรนิมนต์ให้นั่ง ถวายยาคูและของขบฉัน อันเขาเชิญ
กล่าวธรรมชั่วเวลาภัต จึงกล่าวสาราณียธรรมกถาแก่ชนเหล่านั้น กาหนดกาล ยังเทศนา
ให้จบแล้ว
คราวนั้น ชนทั้งหลายจึงถวายโภชนะมีรส ๑๐๐ ชนิดแก่พระเถระ เห็นพระเถระรับ
โภชนะแล้วประสงค์จะกลับ จึงเรียนว่า ฉันเถิดขอรับ พวกผมถวายโภชนะแม้อื่นอีก ให้พระเถระ
ฉันแล้ว ก็ถวายจนเต็มบาตรอีกพระเถระรับโภชนะแล้วก็รีบไปวิหาร ด้วยคิดว่า สามเณรของเราคงหิว
วันนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จออกประทับนั่งในพระคันธกุฎีแต่เช้าตรู่ ทรงราพึงว่า วันนี้
สุขสามเณรส่งบาตรและจีวรของอุปัชฌาย์แล้ว กลับไปแล้วตั้งใจว่า จะทาสมณธรรม กิจของ
เธอสาเร็จแล้วหรือ พระองค์ทรงเห็นความที่มรรคผลทั้ง ๓ อันสามเณรบรรลุแล้ว จึงทรง
พิจารณาแม้ยิ่งขึ้นไปว่า สุขสามเณรนี้อาจไหมหนอ เพื่อบรรลุพระอรหัตผลในวันนี้ ส่วนพระ
สารีบุตรรับภัตแล้ว ก็รีบออกด้วยคิดว่า สามเณรของเราคงหิว ถ้าเมื่อสามเณรยังไม่บรรลุ
อรหัตผล พระสารีบุตรนาภัตมาก่อน อันตรายก็จะมีแก่สามเณรนี้ ควรเราไปยึดอารักขาอยู่ที่
ซุ้มประตู
ครั้นทรงดาริแล้ว จึงเสด็จออกจากคันธกุฎี ประทับยืนยึดอารักขาอยู่ที่ซุ้มประตู
ฝ่ายพระเถระก็นาภัตมา ครั้งนั้น พระพุทธองค์ตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกับพระเถระนั้น
ในที่สุดแห่งการวิสัชนาปัญหา สามเณรก็บรรลุอรหัตผล
พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสว่า สารีบุตรจงไปเถิด จงให้ภัตแก่สามเณร
ของเธอ พระเถระไปถึงแล้วจึงเคาะประตู สามเณรออกมาทาวัตรแก่อุปัชฌาย์แล้ว
เมื่อพระเถระบอกว่า จงทาภัตกิจ ก็รู้ว่าพระเถระไม่มีความต้องการด้วยภัต เป็นเด็ก
มีอายุ ๗ ขวบ บรรลุพระอรหัตผลในขณะนั้นนั่นเอง ตรวจตราดูที่นั่งอันต่า ทาภัตกิจแล้ว
ก็ล้างบาตร
ในกาลนั้น ท้าวมหาราช ๔ องค์ ก็พากันเลิกการรักษา ถึงพระจันทร์พระอาทิตย์
ก็ปล่อยวิมาน แม้ท้าวสักกะก็ทรงเลิกอารักขาที่สายยู พระอาทิตย์ปรากฏคล้อยเลยท่ามกลาง
ฟ้าไปแล้ว
ภิกษุทั้งหลายพากันพูดว่า กาลเย็นปรากฏ สามเณรเพิ่งทาภัตกิจเสร็จเดี๋ยวนี้เอง
ทาไมหนอ วันนี้เวลาเช้าจึงมาก เวลาเย็นจึงน้อย
พระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมกันด้วย
เรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลว่า พระเจ้าข้า วันนี้ เวลาเช้ามาก เวลาเย็นน้อย สามเณร
เพิ่งฉันภัตเสร็จเดี๋ยวนี้เอง ก็แลเป็นไฉน พระอาทิตย์จึงปรากฏคล้อยเคลื่อนท่ามกลางฟ้าไป
จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาทาสมณธรรมของผู้มีบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นเช่นนั้น ก็ในวันนี้
ท้าวมหาราช ๔ องค์ยึดอารักขาไว้โดยรอบ พระจันทร์และพระอาทิตย์ได้ยึดวิมานหยุดอยู่
ท้าวสักกะทรงยึดอารักขาที่สายยู ถึงเราก็ยึดอารักขาอยู่ที่ซุ้มประตูวันนี้ สุขสามเณรเห็นคนไขน้าเข้าเหมือง ช่างศรดัดศรให้ตรง ช่างถาก ถากทัพ
สัมภาระทั้งหลาย มีล้อเป็นต้นแล้ว ฝึกตน บรรลุอรหัตผลแล้ว ดังนี้
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น